เพื่ออรรถรสในการรับชม ก็จะยกคำตอบมาสดๆ แบบไม่มีโฆษณามาคั่น (ส่วนที่ผมเสริมจะเป็นสีแดงแบบนี้) - mk
สวัสดีครับ ผมแอนครับ
คุณสัมพันธ์ บริษัท Open Source Development ที่ทำ Firefox Thai Community Edition และซีดี Chantra มีโครงการจะทำโปรแกรมบัญชีไทยที่เป็นโอเพนซอร์ส เลยต้องการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บ้านเราว่า อยากได้โปรแกรมแบบไหนอย่างไร เลยมาประชาสัมพันธ์ให้เข้าไปช่วยกันกรอกหน่อยครับ ถือซะว่าส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาโอเพนซอร์สในบ้านเรา
ที่สำคัญ 100 คนแรกเค้าแจกเพชร!!!
ที่มา - สำรวจการใช้งานโปรแกรมบัญชี
เมื่อก่อนใครเคยเจอปัญหาลง Eclipse แล้วอยากลงปลั๊กอินเสริมตัวอื่น เช่น WTP, VE แล้วพบว่าระบบต้องการไลบรารีเพิ่มเติมมากมาย อย่างไลบรารีด้านการแสดงผล GEF, GMF เป็นต้น ยิ่งกว่านั้นเนื่องจากช่วงเวลาของการออกโปรเจ็คแต่ละตัวไม่ตรงกัน ทำให้บางทีผู้ใช้จำเป็นต้องลงเลขรุ่นที่รับกันได้เท่านั้นอีกถึงจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหา
Callisto ออกมาเพื่อแก้ปัญหานี้ โดยมันได้รวม Eclipse โปรเจ็คหลักๆ ที่รับประกันความเข้ากันได้ 10 ตัวเข้าด้วยกัน
ตอนนี้อยู่ที่งานเขียนโปรแกรมมาราธอน (CodeFest) ของเนคเทคครับ มี Live Blogging ด้วย สนใจอยากดูบรรยากาศก็เข้าไปชมกันได้ (พื้นที่โฆษณา)
ตั้งแต่ปีที่แล้ว เวลาเราจะโหลดโปรแกรมใหม่ๆ จากไมโครซอฟท์ เราคงได้เห็นตรา WGA หรืือ Windows Genuine Advantage กันมาบ้าง โดยหลักๆ มันคือโปรแกรมที่ไมโครซอฟท์ขอลงที่เครื่องของเรา เพื่อตรวจสอบว่าวินโดวส์ที่เราใช้นั้นเป็นของแท้จากทางไมโครซอฟท์
เดิมทีไมโครซอฟท์ตั้งเป้าว่าจะออก Office 2007 แบบ OEM ให้ได้สิ้นเดือนตุลาคมนี้ และเวอร์ชันขายปลีกเดือนมกราคม 2007 ตอนนี้ก็เปลี่ยนเป็นปลายปี 2006 และ "early 2007" (ตีความกันเอาเองว่าเดือนไหนนะครับ) เหตุผลของการเลื่อนรอบนี้คือ ผลจากการทดสอบภายในและผลตอบรับจาก Beta 2 ในเรื่องประสิทธิภาพทำให้ต้องเลื่อนออกไปอีก
ไม่รู้เลื่อนเป็นเพื่อน Vista หรือเปล่า แต่ถ้าไม่มีตังซื้อของจริง หันมาใช้ OpenOffice กันดีกว่าครับ ผมคิดว่าคงไม่มีคนอ่าน Blognone ที่ใช้ VBA หรือ PivotTable ซักเท่าไร
IE 7 ออกเบต้า 3 มาแล้วครับ คราวนี้ปรับปรุงเรื่อง tab browsing, การพิมพ์เวบเพจ, ความสามารถในการค้นหา และสนับสนุน RSS ครับ ดาวน์โหลดได้ที่ Microsoft Download เน้อ ตัวเบต้า 3 นี้จะเป็นเบต้ารุ่นสุดท้าย อย่างไรก็ตามอาจมีรุ่น RC มาคั่นก็ได้ กำหนดออกตัวจริงช่วงปลายปี
ที่มา - Bink.nu
ต้นเดือนมิถุนายนปีที่แล้ว สตีฟ จ็อบส์ประกาศช็อกโลกกลางเวทีงาน WWDC 2005 ว่าแอปเปิลจะใช้ชิปของอินเทล ตอนนี้เวลาได้ผ่านมาครบ 1 ปีแล้ว ทางนิตยสาร MacWorld จึงมีสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ซึ่งสรุปว่าแอปเปิลทำได้ค่อนข้างดี
ฝั่งฮาร์ดแวร์นั้นเริ่มด้วย iMac intel และ MacBook Pro ตามมาด้วย Mac mini และ MacBook ซึ่งในสายผลิตภัณฑ์นั้นเหลือแต่ PowerMac เดิม และเซิร์ฟเวอร์ XServe เท่านั้น ส่วนด้านซอฟต์แวร์ก็มี Boot Camp ทำให้เรารันวินโดวส์ได้ แต่ยังขาด Universal Binary ของโปรแกรมสำคัญอีกหลายตัว (เช่น Adobe)
รุ่นปรับปรุงตามธรรมเนียม อย่าไปคิดว่ามันเพิ่มทีละ .0.x แล้วจะอัพเดตน้อย จริงๆ มีเพียบ (อ่านใน Release Notes) ดาวน์โหลดจากมิเรอร์ในประเทศได้ที่ mirror.in.th ครับ
คุณ Kirk Allen แนะนำไว้ครับ
คุณ Jeroen van den Bos เขียนไว้ บล๊อคของเค้า ว่า Vista ควรจะรวม Visual Studio Express มาให้ด้วย เหมือนกับที่รวม Windows media player หรือ IE มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ
เค้าให้เหตุผลว่านักพัฒนาเก่งๆ หลายๆ คนสมัยนี้เริ่มจากภาษา Basic ที่มีมากับเครื่อง Commodore 64s(อะไรหว่า) หรือในปัจจุบันนักพัฒนาบน Linux ก็มี Compiler มาให้พร้อม ดังนั้น Vista ก็ควรจะมีเครื่องมือและ Compiler อย่าง Visual Studio Express มาให้ด้วยเช่นกัน ซึ่งจะทำให้เกิดนักพัฒนาหน้าใหม่ๆ ขึ้นมาได้รวดเร็วครับ
ยุคหลังๆ นี่เป็นยุคนักพัฒนาครองเมืองกันเสียจริงๆ ที่ไม่ว่าจะออกซอฟต์แวร์อะไรมาสักตัวก็ต้องเปิดช่องให้นักพัฒนาภายนอกเข้ามาช่วยพัฒนาด้วยเป็นดี
กูเกิลนั้นนับได้ว่าเป็นหนึ่งในแม่แบบของแนวคิดอย่างนี้อยู่แล้ว (ผมเห็นครั้งแรกตอน Blogger API) ช่วงหลังๆ เมื่อไม่กี่วันก่อนเราเพิ่งเห็นยาฮูเปิดให้นักพัฒนาสร้างปลั๊กอินสำหรับ Yahoo! Messenger 8.0
ส่วนทางด้าน Google Desktop นั้นแม้จะมีการเปิดและสนับสนุนให้นักพัฒนาเข้าไปพัฒนาปลั๊กอินกันมากๆ แต่นี่เป็นครั้งแรกที่กูเกิลพัฒนาถึงขั้น IDE มาให้ใช้กัน อีกหน่อยเราคงได้เห็นเจ้าอื่นๆ มีอะไรคล้ายๆ อย่างนี้กันออกมาเรื่อยๆ
Xen เทคโนโลยีในการทำ Virtualization ที่ร้อนแรงในขณะนี้ ทางซันก็ไม่พลาดที่จะร่วมวงด้วยครับ โดยวางแผนว่าโซลาริส 10 จะสนับสนุน Xen ประมาณกลางปีหน้า(2007)
ซันจะปล่อย โอเพนโซลาริส ที่มี Xen ออกมาทดลองก่อนประมาณเดือนกรกฏาคม ซึ่งจะสนับสนุนโซลาริสเองและลินุกซ์ครับ
ที่มา - OSNews
หลังจากออก Core Duo ทั้งสามรุ่นมาตั้งแต่ต้นปี อินเทลก็ไม่ได้โชว์ของใหม่ให้ชื่นชมกันเท่าใหร่ ตอนนี้ก็ตอบกระแสเรียกร้องของคนกระเป๋าหนักกันแล้วด้วย T2700 ที่ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 2.33 GHz
ราคาตัวละ 600 ดอลลาร์ที่หน้าโรงงาน (ขั้นต่ำพันตัว) ราคาเครื่องคงไม่ต้องมองให้เสียเวลา
ว่าแต่ T2300 ราคาจะตกลงมากันบ้างมั๊ยนี่
ที่มา - Engadget
รัฐสภาสเปนผ่านกฎหมายเอาผิดผู้ใช้ P2P ถึงแม้ว่าจะเป็นการใช้ส่วนตัวก็ตาม และรัฐยังสามารถเอาผิดกับ ISP ที่ยอมให้มีการใช้งาน P2P อีกด้วย นั่นแปลว่าปิดช่องมันทุกทางเลย
ร่างกฎหมายเดิมในเดือนพฤษภาคมนั้น ถ้าเป็นการใช้ส่วนตัวถือว่าไม่ผิด แต่ฉบับจริงนั้นเปลี่ยนแล้ว
นอกจากเรื่อง P2P สเปนยังเพิ่มภาษีกับอุปกรณ์เก็บข้อมูลเปล่า (เช่น CD, พวกการ์ดต่างๆ) เพื่อเอาเงินนี้ไปชดเชยให้กับผู้เสียหายจากการถูกละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย
ที่มา - Slashdot
รายชื่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุด 500 เครื่อง หรือรู้จักกันในนาม TOP500 (ออกปีละ 2 ครั้ง) ประจำเดือนมิถุนายน 2006 ออกแล้ว แชมป์เก่า 3 สมัยอย่าง IBM BlueGene/L ยังครองแชมป์เป็นครั้งที่ 4
รองแชมป์เก่า IBM BGW ที่ Thomas J. Watson Research Center (ตั้งชื่อตามผู้ก่อตั้ง IBM) ก็ยังเกาะติดที่สองไม่ปล่อยเช่นกัน ทั้งสองเครื่องไม่ได้มีการอัพเกรดแต่อย่างใด ส่วนรายใหม่ที่เข้ามาใน Top 10 คือ Bull SA Tera-10 จากฝรั่งเศส ใช้ Itanium 2 เข้ามาเป็นที่ห้า, ที่เจ็ด เครื่อง TSUBAME จากญี่ปุ่น ใช้ Sun Fire Opteron และที่แปด JUBL จากเยอรมัน ซึ่งใช้ IBM eServer แบบเดียวกับแชมป์
เราคงคุ้นเคยกับชื่อ DirectX เวลาไปซื้อเกมแล้วมันแปะข้างกล่องว่าต้องการการ์ดจอที่สนับสนุน DirectX รุ่น X.X แต่แท้จริงแล้ว มันคืออะไรกันแน่?
ถ้ามองในแง่โปรแกรมมิ่งแล้ว มันเป็นชุด API สำหรับการเขียนเกมบนวินโดวส์ เพื่อว่าโปรแกรมเมอร์จะได้ไม่ต้องติดต่อกับฮาร์ดแวร์โดยตรง (เหมือนสมัยดอส) แต่ให้ DirectX ทำหน้าที่นี้ให้แทน ตัว DirectX เองมี API เฉพาะเรื่องหลายอัน เช่น DirectSound, DirectDraw, DirectInput แต่ตัวดังสุดก็คือ Direct3D ที่เอาไว้ทำ 3D ตามชื่อ (เทียบเท่า OpenGL)
ขีดจำกัดขนาด 2 กิกะไบต์ของ SD ในปัจจุบันเริ่มจะไม่เพียงพอกับกล้องดิจิตอลความละเอียดสูงกันแล้ว ทางโตชิบาซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุน SD มาตั้งแต่ต้นๆ ก็ประกาศเปิดตัวการ์ดขนาด 4 กิกะไบต์ ที่ใช้ได้กับอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน SDHC และจะวางขายในเดือนกันยายนนี้
มาตรฐาน SDHC จะรองรับความจุได้สูงสุด 32 กิกะไบต์ น่าสงสัยเหมือนกันว่ามาตรฐานนี้จะรองรับความต้องการไปได้อีกนานแค่ไหน
ที่มา - DPreview
BSA (Business Software Alliance) กลับมาอีกแล้ว คราวนี้นอกจากจะจับซอฟต์แวร์เถื่อนแล้ว BSA ยังเริ่มหันมาจับฟอนต์เถื่อนด้วย
บริษัทที่โดนแจ็คพ็อตในคราวนี้คือ Campden Publishing บริษัทสิ่งพิมพ์ในลอนดอน ซึ่งแจ้งว่าใช้งานฟอนต์เพียงฟอนต์เดียวเท่านั้น แต่จากการตรวจสอบของ BSA (เค้าใช้คำว่า audit เหมือนบัญชี) พบว่ามีฟอนต์ละเมิดลิขสิทธิ์ถึง 11,000 ตัว มีมูลค่ารวมกันถึง 80,000 ปอนด์ (คูณกันเอาเองนะ)
แถวนี้มีคนจาก f0nt.com เข้ามาอ่านเยอะ แนะนำว่าหาความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ ทรัพย์สินทางปัญญา พวกนี้ติดหัวไว้เป็นอันดีครับ
SUSE Linux Enterprise Desktop 10 เป็นผลสรุปของกลยุทธลินุกซ์ที่ Novell เริ่มมาตั้งแต่ซื้อ SUSE และ Ximian เมื่อ 2 ปีที่แล้ว SLED 10 เป็นการเอาของดีที่สุดของทั้ง SUSE, Ximian และ Novell เอง (เช่น GroupWise) มายำรวมกัน และมีกลุ่มลูกค้าคือตลาดองค์กรตามชื่อ
ตอนนี้ SLED 10 ออกรุ่น Preview ให้ดาวน์โหลดแล้ว ของใหม่คือ GUI ใหม่แบบวินโดวส์ (มี Start Menu, Control Panel เป็นเรื่องเป็นราว), ปรับแต่ง OpenOffice.org ให้ใช้ VBA Macro ได้, โปรแกรมใหม่ๆ จากโครงการ Mono และเปิด XGL มาตั้งแต่ต้น
Wired Issue 14.07 - July 2006 ประกาศรายชื่อ 40 บริษัทเทคโนโลยี(ตามใจตัวเอง)ดังนี้
1: Google, Apple, Samsung, Genentech, Yahoo, Amazon, Toyota, GE, News Corp, SAP, 11: Infosys, Cisco, EA, Netflix, Salesforce.com, Medtronic, Sunpower, IBM, Ebay, Infospace, 21: Nvidia, Verizon, Flextronics, Intel, Monsanto, EMC, Dupont, Jetblue, Lenovo, TSMC, 31: BP, Li & Fung, Exelon, Costco, Gen-probe, Microsoft, L3, Citigroup, Comcast, Pfizer
ที่หลุดจาก 40 อันดับแรกคือ Dell, Fedex, Nokia, Pixar, TD Ameritrade, Vodafone
Apple ออก Mac OS X 10.4.7 ดาวน์โหลดได้จาก support website (ใช้ "Software Update..." จาก Apple Menu จะดีกว่าหากไม่แน่ใจว่าจะโหลดอะไร)
ที่มา - จำไม่ได้แล้ว แต่อัพเดตเป็น 10.4.7 ไปแล้ว ยังดูดีอยู่ เดิมทีก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร
อินเทลมีทีท่าแสดงให้เห็นชัดเจนว่าต้องการทิ้งซีพียูสถาปัตยกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่ x86 ออกไปให้หมด ในตลาดบน Itanium ซึ่งใช้สถาปัตยกรรม IA-64 ถูกลดความสำคัญลงไปมาก ส่วนตลาดพกพาและอุปกรณ์ฝังตัว อินเทลได้ขายกิจการส่วน XScale ให้กับ Marvell Technology Group ในราคา 600 ล้านเหรียญไปเรียบร้อยแล้ว
XScale เป็นซีพียูตระกูล ARM ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในพีดีเอ พ็อกเก็ตพีซี สมาร์ทโฟนรวมไปถึงไอพ็อด หลังการขายกิจการครั้งนี้ นักวิเคราะห์หลายค่ายจึงตั้งข้อสังเกตว่า อินเทลอาจพัฒนา Core ให้มาจับตลาดอุปกรณ์ขนาดเล็กในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า เพื่อชดเชยช่องว่างที่หายไป
จากข่าว พานาโซนิคออก DSLR แล้ว ตอนนี้เจ้า DMC-L1 นั่นเปิดเผยรายละเอียดออกมาแล้ว สเปคดังนี้ครับ