Microsoft เปิดโครงการสมทบทุนให้กับมูลนิธิต่างๆ ผ่านทางการใช้างาน Windows Live Messenger ให้กับองค์กรและมูลนิธิต่างๆ ตามนี้ครับ:
โดยมีเงื่อนไขในการบริจาคก็คือ ทุกๆ ครั้งที่มีคนคุยผ่านทาง Windows Live Messenger แล้วมี Code ของมูลนิธิที่กำหนดแปะอยู่ Microsoft ก็จะบริจาคเงินจำนวนหนึ่งให้กับมูลนิธินั้นๆ ดูรายละเอียดได้ที่เว็บครับ นอกจากมูลนิธิของ Bill Gates แล้ว นานๆ ที MS จะมีโครงการแบบนี้ซักทีนะครับ
เป็นเรื่องราวใหญ่โต เมื่อไฟล์ดาวน์โหลดของ WordPress รุ่น 2.1.1 ที่เพิ่งออกมาถูกมือดีเข้าไปแก้ไฟล์สำหรับดาวน์โหลด ทำให้เกิดช่องโหว่ร้ายแรงสำหรับผู้ที่ดาวน์โหลด WordPress 2.1.1 ในช่วงสามถึงสี่วันที่ผ่านมา ทำให้เว็บจำนวนมากที่ใช้อัพเกรดในช่วงนี้ต้องพบกับช่องโหว่ที่แฮกเกอร์ใส่ไว้อย่างจงใจ
ทาง WordPress กำลังสืบสวนเรื่องนี้จากเซิร์ฟเวอร์ของตนอยู่ แต่ในตอนนี้ได้มีประกาศขอให้ผู้ใช้ทุกคนเร่งดาวน์โหลดและอัพเกรดเป็นรุ่น 2.1.2 อย่างด่วนที่สุด เพื่อความปลอดภัยของเว็บท่านเอง
เนื่องจากไฟล์เพิ่งถูกแก้ไปในไม่กี่วันที่ผ่านมาจึงเป็นไปได้ว่าใครที่อัพเกรดไปตั้งแต่วันแรกๆ จะไม่ถูกช่องโหว่เหล่านี้ และการโจมตีนี้ไม่เกี่ยวกับผู้ที่ยังไม่ได้อัพเกรดไปก่อนหน้า
ด้วยความที่ Ubuntu ลินุกซ์ยอดนิยมและมีกำหนดออกรุ่นใหม่อย่างชัดเจนทุก 6 เดือน ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดเราก็จะได้เจอกับ Ubuntu Feisty Fawn 7.04 ในเดือนเมษายา อย่างไรก็ตามก่อนที่จะออกตัวเต็มในอีกสองเดือนข้างหน้า เราก็ยังมีรุ่นอัลฟ่าเบต้ามาให้ลองกันไปก่อน ล่าสุด Herd 5 ก็ออกมาเมื่อคืน รุ่นนี้มีของใหม่น่าสนใจที่คือก็คือ Xorg 7.2 ที่พึ่งออกสดๆ ร้อนๆ และมาพร้อมกับความสามารถใหม่เพียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "ภาวะไร้ตัวตน" ไม่ต้องใช้ xorg.conf อีกต่อไป
สำหรับผู้ที่อยากทดลองก่อนเวลาอันควร มีข้อเตือนใจหลายอย่าง
* Nvidia อาจจะไม่รอด * VMware แทบจะรันไม่ได้ เหนื่อยหน่อย
ออกมาแล้วสำหรับ Apache Tomcat 6 Web Server และ Servlet Container แบบโอเพนซอร์สที่ได้รับความนิยมสำหรับการพัฒนาระบบด้วย Java โดยมีความสามารถใหม่ๆ ดังนี้
ใครสนใจก็ไปดาวน์โหลดที่ Apache ได้นะครับ อย่าลืมด้วยว่ามันทำงานกับ J2SE 5.0 ขึ้นไปเท่านั้นด้วย
การเรียกแบตเตอรี่คืนรอบสองกลับมาแล้ว Lenovo ได้เรียกแบตแบบ 9-cell ที่ขายแยกกับ ThinkPad บางรุ่นจำนวน 205,000 ก้อนคืนด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย หลังจากมีผู้ใช้จำนวนหนึ่งร้องเรียนว่าแบตมีความร้อนสูง คราวนี้เป็นแบตของซันโย ไม่ใช่โซนี่แต่อย่างใด
ในข่าวไม่มีลิงก์ไปยังหน้าตรวจสอบ serial number ของแบตเตอรี่ รุ่นที่เข้าข่ายคือ
ของใครเข้าข่ายก็ติดต่อ Lenovo ประเทศไทยกันเองนะครับ
ที่มา - ZDNet
ถ้าเรียกตามตำแหน่ง Bill Hilf เป็น General Manager of Platform Strategy ของไมโครซอฟท์สำนักงานใหญ่ อันนี้ไม่มีอะไร แต่สิ่งที่ทำให้เขาน่าสนใจคือก่อนหน้านั้นเคยทำงานด้านลินุกซ์และโอเพนซอร์สให้กับ IBM มานานหลายปี ก่อนจะเข้ามาไมโครซอฟท์เพื่อ "สอนให้คนของไมโครซอฟท์รู้จักกับโอเพนซอร์ส" ปัจจุบันเขาเป็นหัวหน้า Open Source Software Lab ของไมโครซอฟท์ด้วย
Bill Hilf เคยมาเมืองไทยเมื่อปีที่แล้ว (ซึ่งผมก็ไปฟัง สนใจอ่านรายงานเก่าได้) วันที่ 11 มีนาคมนี้เขาจะมาอีกครั้ง และไมโครซอฟท์ประเทศไทยเชิญทุกคนที่สนใจไปคุยกับ Bill Hilf ใครอยากไปถามเรื่องสัญญากับ Novell หรือการสนับสนุน Mono นี่คงเป็นโอกาสทอง
COMPUTERWORLD ได้ศึกษาถึงเทคโนโลยีที่จะส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวงการคอมพิวเตอร์ในอีกหนึ่งปีข้างหน้า โดยเขาให้ความสำคัญถึงโอกาสที่เทคโนโลยีเหล่านี้จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของยูสเซอร์ทั่วไป ทั้งในระดับองค์กร และระดับส่วนบุคคลในระยะเวลาอันใกล้นี้ ซึ่งในที่สุดก็สรุปออกมาได้เทคโนโลยี 5 ตัว ที่จะเป็น hot เทคโนโลยีสำหรับปี 2007 ดังนี้ 1. Ruby on Rails
หลังอินเทลโชว์ชิป Terascale ไปก่อนหน้านี้โดยระบุว่าจะวางจำหน่ายในอีกห้าปีข้างหน้า เอเอ็มดีอาศัยความได้เปรียบที่มีเทคโนโลยี GPU จากทาง ATI อยู่ในมือ สร้างคอมพิวเตอร์จากชิปออปเทอรอน และการ์ดจอ ATI R600 ที่กำลังจะวางจำหน่ายในไม่นานนี้ สามารถเดโมให้ผู้สื่อข่าวเห็นถึงพลังประมวลผลขนาด 1 เทราฟลอปได้เป็นผลสำเร็จ ที่สำคัญคือเครื่องที่เดโมนี้รัน Windows XP Professional ธรรมดาๆ ที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน
เครื่องเดโมนั้นใช้การ์ด R600 ถึงสองใบ แต่การเดโมครั้งนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นว่าความแรงระดับเทราฟลอปไม่ใช่อะไรที่เราต้องรอไปอีกหลายปี แม้เครื่องจะแพงมหาศาลแต่ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่เราจะมีเครื่องแรงระดับนี้ในบ้านกันเร็วๆ นี้
หลังจากออกเคอร์เนลลินุกซ์รุ่น 2.6.20 มาได้ทาง LWN.net ได้ตีพิมพ์บทความวิเคราะห์ถึงผู้ที่ส่งแพตซ์เข้าไปในลินุกซ์ว่ามาจากไหนกันบ้าง ที่น่าสนใจคือจากจำนวนแพตซ์ทั้งหมด ลินุกซ์ถูกสร้างขึ้นจากนักพัฒนาอิสระที่ไม่มีผู้ว่าจ้างเพียงร้อยละ 7.7 เมื่อรวมเข้ากับอีกร้อยละ 25 ที่ไม่มีข้อมูล แสดงให้เห็นว่านักพัฒนาลินุกซ์ถึงสองในสาม มีงานทำและการพัฒนาลินุกซ์เป็นส่วนหนึ่งของงานอีกด้วย
บริษัทที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาอันดับหนึ่ง ในชั่วโมงนี้ยังคงเป็นเรดแฮท ขณะที่บริษัทที่มีส่วนร่วมอันดับรองๆ ลงมาก็เป็นที่เรารู้จักกันเป็นจำนวนมาก เช่น ไอบีเอ็ม โนเวลล์ อินเทล ออราเคิล กูเกิล โนเกีย เอชพี โซนี่(!!!)
รายงานจากบริษัทวิจัยทางการตลาด 3 แห่งออกมาให้ผลตรงกันว่า ตลาดเสิร์ชเอนจินในปี 2006 มีกูเกิลเพียงรายเดียวที่เติบโต ส่วนคู่แข่งรายอื่นถูกกูเกิลกินตลาดกันถ้วนหน้า
ถ้าเอาข้อมูลล่าสุด (มกราคม 2007) ส่วนแบ่งตลาดของกูเกิล, ยาฮู, ไมโครซอฟท์อยู่ที่ 53.7, 22.7 และ 10.6 ตามลำดับ อันนี้ผมอ้างข้อมูลของ Nielsen ถ้าใช้ของ ComScore ตัวเลขจะอยู่ที่ 47.5, 28.1 และ 8.75
คนที่อาการหนักสุดคือไมโครซอฟท์ ส่วนแบ่งตลาดเมื่อเดือนมกราคม 2006 อยู่ที่ประมาณ 11-12% ถ้าเอาข้อมูลของ ComScore ที่ลดลงมาเหลือ 8.75% แปลว่าเงินมากมายที่ลงทุนไปใน Windows Live Search ไม่เกิดผลอะไรเลย สำหรับยาฮูตัวเลขทรงตัวไม่เพิ่มไม่ลด กลุ่มผู้ใช้พอร์ทัลของยาฮูก็ยังเหนียวแน่นไม่เปลี่ยนใจไปไหน
AMD เปิดตัวชิปเซ็ตตัวแรกฝีมือ ATI หลังควบกิจการ
ชิปเซ็ต AMD 690G เดิมใช้รหัสว่า RS690 แต่เปลี่ยนมาใช้ชื่อทางการค้าตามแบบ AMD แทน ชิปเซ็ตตัวนี้จับกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป ใช้การ์ดจอออนบอร์ด ATI X1250 (ซึ่งผลการทดสอบถือว่าโอเค) ยังไม่สนับสนุน DirectX 10 แต่เป็นการ์ดจอออนบอร์ดตัวแรกที่ได้รับรองจาก Vista
องค์ประกอบอย่างอื่นก็ตามมาตรฐาน PCIe x16, SATA2, Gigabit Ethernet เราคงได้เห็นชิปเซ็ตตัวนี้บนเมนบอร์ดจากผู้ผลิตทั่วไปเร็วๆ นี้ อ่านรายละเอียดชิปเซ็ตอื่นๆ ในตระกูล 690 ได้ที่ Wikipedia
ผลสำรวจของ Nielsen พบว่า Google Docs & Spreadsheet กินตลาดชุดออฟฟิศออนไลน์ไปถึง 92% ซึ่งเหตุผลที่ทิ้งคู่แข่งอย่าง Zoho หรือ ThinkFree ไปไกลไม่ใช่เรื่องฟีเจอร์ แต่เป็นเพราะแบรนด์กูเกิลที่แข็งแกร่งมากนั่นเอง
อย่างไรก็ตามตัวเลขยอดผู้ใช้ชุดออฟฟิศออนไลน์ยังถือว่าน้อยมาก เมื่อเทียบกับชุดออฟฟิศแบบเก่า ผลการสำรวจยังพบว่ากลุ่มผู้ใช้ส่วนใหญ่เป็น early-adopter ที่มีรายได้ค่อนข้างสูง ตัวเลขนี้จะค่อยๆ ลดลงมาเมื่อฐานผู้ใช้กว้างขึ้นตามสภาพประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป
ในอีกแง่ Google Docs & Spreadsheet เป็นแค่จิ๊กซอชิ้นสำคัญในแผนการที่ใหญ่กว่าอย่าง Google Apps for Your Domain ซึ่งเราก็ต้องไม่ลืมว่าไมโครซอฟท์ก็มี Office Live ออกมาชนเหมือนกัน
อโดบีได้ประกาศออกมาว่าจะออก Photoshop online edition ที่เป็นการเอา Adobe Photoshop Elements มาลดความสามารถ และเอามาให้บริการตกแต่งภาพ บนอินเทอร์เน็ต โดยใช้ Flex platform ของอโดบี ภายใน 6 เดือนข้างหน้านี้ โดยทางอโดบีจะเปิดให้บริการฟรี และหารายได้จากการโฆษณา เหมือนกับบริการต่างๆ ของกูเกิล ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อโดบี ลงมาในตลาดออนไลน์แอพพลิเคชัน เพราะกลัวว่า กูเกิลจะออกบริการแบบนี้มาก่อนนั่นเอง
ที่มา - ZDNet
ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 4-5 ปีก่อน Struts นับเป็นเว็บ MVC เฟรมเวิรกที่เป็นทางเลือกหลักของนักพัฒนา ในยุครุ่งเรืองสมัยนั้นเป็นเรื่องยากมากที่จะหาเฟรมเวิรกตัวอื่นมาเทียบเคียงต่อกรได้ แต่ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา Struts เข้าสู่ยุคเสื่อมความนิยมอย่างรุนแรงอันเนื่องจากปัญหาการออกแบบที่สะสมมานานตั้งแต่ยุคแรกเริ่ม เกิดการแข็งข้อในหมู่นักพัฒนาอย่างแพร่หลาย เฟรมเวิรกใหม่ๆ มากกว่า 20 ชื่อผุดขึ้นราวดอกเห็ด ต่างก็พยายามนำเสนอแนวคิดจุดเด่นของตัวเองเพื่อแย่งชิงตลาดและความนิยม อ่านต่อ...
หลังจากที่กูเกิลได้ออก Google Apps Premier edition เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว (อ่านข่าวก่อนหน้าจาก blognone) ก็ได้รับเสียงตอบรับจากทางผู้บริหารด้านไอทีจำนวนมากถึงโอกาสที่จะได้ใช้งานซอฟท์แวร์ออฟฟิศที่มีราคาถูก
แต่ก็ยังมีกลุ่มผู้บริหาร และนักวิเคราะห์จำนวนหนึ่งที่ให้ความเห็นว่าข้อเสนอของกูเกิลที่คิดค่าบริการ £26 ต่อยูสเซอร์ต่อคนต่อปี (ราคาในสหราชอาณาจักร) ยังไม่เพียงพอที่จะมาเป็นทางเลือกแทนไมโครซอฟท์ได้
เกมระดับตำนานอย่าง SimCity จะตามคุณไปในทุกหนทุกแห่งแล้วในที่สุด เมื่อทาง Electronic Arts (EA) ประกาศเตรียมวางตลาดในฤดูร้อนที่จะถึงนี้ ที่น่าสนใจคือการพอร์ตลงเครื่อง Nintendo DS ครั้งนี้ทาง EA ระบุว่าจะมีการรองรับฟีเจอร์ทั้งหมดของเครื่อง DS กันอย่างเต็มรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้จอภาพสองจอ การใช้ไมโครโฟนในกรณีที่เกิดไฟไหม้ หรือจะเป็นการเซ็นอนุมัติเอกสารที่ต้องเซ็นกันลงจอจริงๆ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเครื่องอื่นๆ ผ่านทางระบบไร้สายของ DS
กำลังคิดอยู่ว่าจะซื้อ DS หรือ Wii ดี งานนี้คงตัดสินใจลำบากขึ้นอีกเยอะ
ที่มา - IGN
Xbox 360 นั้นมีระบบรักษาความปลอดภัยที่เรียกได้ว่าดีเยี่ยม ด้วยเวลาวางตลาดนานกว่าปี ยังไม่มีแฮกเกอร์กลุ่มใดสามารถเจาะทะลวงได้อย่างเต็มรูปแบบ ด้วยการป้องกันโหมด Hypervisor ไว้ได้ค่อนข้างสมบูรณ์กว่า Xbox รุ่นแรกที่มีช่องโหว่จำนวนมาก
แต่หลังจากทนทานแรงเจาะของแฮกเกอร์มาได้เป็นเวลานาน ระบบปฎิบัติการรุ่น 4532 ที่ทางไมโครซอฟท์เป็นผู้ปล่อยออกมาเองในช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กลับมีช่องโหว่ให้ผู้ใช้สามารถนำโค้ดไปรันในโหมด Hypervisor ได้ ซึ่งทำให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงฮาร์ดแวร์ทั้งหมดของ Xbox 360 ได้อย่างสมบูรณ์ นั่นหมายถึงเราอาจจะได้เห็นลินุกซ์บน Xbox 360!!!
แต่ก่อนจะมีการเปิดเผยรายละเอียดของช่องโหว่นี้ทางไมโครซอฟท์ก็ได้ออกแพตซ์ไปแล้วตั้งแต่ต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา
อีเอ ประเทศไทย แถลงข่าวเปิดตัวเกม "เดอะซิมส์ 2 สี่ฤดูแสบ (ภาคเสริม)" หรือชื่อภาคภาษาอังกฤษ "Seasons" พร้อมการปรากฏตัวของ ทาทา ยัง ซูเปอร์สตาร์ระดับโลกชาวไทย ซึ่งเกมภาคนี้จะมีตัวละคร ทาทา ยัง ให้ดาวน์โหลดไปเล่นภายในเกม ทั้งยังมีเพลง Zoom เวอร์ชันภาษา Simlish (ภาษาชาวซิมส์) อีกด้วย
ที่มา - Online-Station, เว็บบอร์ด อีเอ ประเทศไทย
ยักษ์ใหญ่วงการไอทีหลายบริษัท ซึ่งได้แก่ Microsoft, Dell, AMD, HP, IBM, Intel, VMWare (รายชื่อ) ได้รวมตัวกันในชื่อ The Green Grid ซึ่งมีเป้าหมายจะลดการบริโภคพลังงานของบรรดาเซิร์ฟเวอร์ใน data center ลง
ทิ้งระยะห่างจากภาคก่อนไปเกือบสิบปี ในที่สุดแฟนๆ ก็ใกล้จะได้เล่น Command & Conquer 3: Tiberium Wars กันแล้ว โดยทาง EA ได้เปิดให้ดาวน์โหลดเดโมตัวแรกที่เล่นได้ 2 แผนที่มายั่วน้ำลายกันก่อน
ถ้านับเวลาในเกม C&C3 ห่างจากภาค 2 ประมาณ 17 ปี โดยโลกอยู่ในภาวะที่สาร Tiberium แพร่กระจายอย่างหนักและส่งผลต่อสภาวะแวดล้อม จู่ๆ ฝ่าย NOD ก็โจมตีฝ่าย GDI แบบสายฟ้าแลบ Kane กลับมาอีกครั้ง และภาคนี้มีฝ่ายที่สามซึ่งเป็นเอเลี่ยนจากต่างดาวด้วย
นักวิเคราะห์จาก Goldman Sachs ได้สำรวจความคิดเห็นในสหรัฐ, สหราชอาณาจักร, อินเดีย และจีนเกี่ยวกับ iPhone และใช้ข้อมูลเหล่านี้ทำนายยอดขายของ iPhone
ปี 2007 ทำนายว่า iPhone จะขายได้ 4 ล้านเครื่อง และปี 2008 ได้อีก 10.5 ล้านเครื่อง ซึ่งยอดขายนี้จะส่งผลให้อัตราการเติบโตของแอปเปิลขึ้นไป 4-5% เรียกได้ว่าเป็นช่วงขยายตัวอีกช่วงของแอปเปิลได้เลย
ตัวเลขอื่นๆ ในผลสำรวจคือ 75% ของคนอเมริกันที่ตอบแบบสอบถามสนใจใน iPhone และแอปเปิลเป็นแบรนด์มือถือที่คนต้องการซื้อเป็นอันดับ 4 ในสหรัฐ (แหล่งข่าวไม่บอกว่า 3 อันดับแรกมีอะไรบ้าง)
ที่มา - Ars Technica
Gigabyte เปิดตัว M57SLI-S4 เมนบอร์ดตัวแรกที่ใช้ LinuxBIOS (BIOS แบบโอเพนซอร์สที่ใช้เคอร์เนลลินุกซ์เป็นพื้นฐาน)
LinuxBIOS เป็นความพยายามที่จะลดการผูกขาดของเฟิร์มแวร์ใน BIOS ที่เป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ โดยเริ่มพัฒนาจาก Los Alamos National Laboratory และได้เงินสนับสนุนจากเอเอ็มดีและกูเกิล ตัวโค้ดเป็น GPL ถึงแม้ว่าชื่อมันจะมีคำว่า Linux แต่จริงๆ เป็นซอฟต์แวร์ BIOS เหมือนปกติ ใช้บูตระบบปฏิบัติการอะไรก็ได้ โครงการ OLPC ก็ใช้ LinuxBIOS ครับ
ส่วนตัวบอร์ดอันนี้เป็นซ็อคเก็ต AM2 ใช้ชิปเซ็ต nForce 570 SLI ฟีเจอร์อื่นๆ ก็ตามมาตรฐานเมนบอร์ดทั่วไป
ปัญหาหลักตอนผมย้ายมาใช้ลินุกซ์เมื่อครึ่งปีก่อนคือการตั้งค่าภาษาไทยที่มึนเอาพอสมควร แต่ความง่ายของ Ubuntu ที่มีฐานผู้ใช้อยู่เยอะก็ช่วยชีวิตมาได้ ตอนนี้ LinuxTLE 8.0 ที่รวมเอาสองพลังซักเข้าด้วยกันอาจจะช่วยให้คนที่กำลังอยากจะลองลินุกซ์ตัดสินใจกันได้ง่ายขึ้น
จากที่อ่านโดยทั่วไปแล้ว LinuxTLE 8.0 ก็ไม่ต่างจาก Ubuntu แต่ที่เด่นมากๆ คือด้านภาษาไทยที่ติดตั้ง libthai มาให้แต่แรก มีพจนานุกรมภาษาไทย Lexitron มาให้ในตัว ตลอดจนการตั้งค่าการแสดงฟอนต์ภาษาไทย
ใครสนใจจะรีวิวลงชื่อจองได้เลยครับ
ที่มา - OpenTLE, Release Note
Creative Commons ได้ออกเวอร์ชัน 3.0 มาแล้ว โดยมีสิ่งที่เพิ่มมาจากเวอร์ชัน 2.5 หลายอย่างเช่น แยกสัญญาอนุญาตแบบ generic ออกจาก สัญญาอนุญาตของสหรัฐอเมริกา แล้วเรียกว่า “unported” license หรือในกรณีที่เอาผลงานที่ติด CC BY-SA มาใช้ สามารถเผยแพร่ต่อ โดยใช้สัญญาอนุญาตอื่นที่เทียบเท่าแทนได้ เป็นต้น รายละเอียดทั้งหมดอ่านได้จากที่มาครับ
ที่มา - Creative Commons
ช่วงหลังๆ โครงการโอเพนซอร์สจำนวนมากจำเป็นต้องมีหน่วยงานไม่หวังผลกำไรเอาไว้ในซัพพอร์ตโครงการกันเป็นเรื่องปรกติ อย่างที่เราเห็นๆ กันก็เช่น OSDL ของลินุกซ์ หรือ Mozilla Foundation ของไฟร์ฟอกซ์ งานนี้่ CMS ที่ทาง Blognone ใช้งานมานานอย่าง Drupal ก็ถึงเวลาตั้ง Drupal Association กันบ้าง
การตั้งหน่วยงานขึ้นมาซัพพอร์ตในครั้งนี้ทำให้ทาง Drupal สามารถรับเงินบริจาค สร้างพัธมิตรกับภาคธุรกิจ และจ่ายค่าตอบแทนให้กับผู้ร่วมงานได้ ซึ่งน่าจะสร้างความแข็งแกร่งให้กับ Drupal มากขึ้นในระยะยาว
หลังๆ ใช้ไปใช้มา ผมก็เริ่มติดแล้วนะเนี่ย เริ่มขี้เกียจอ่านตัวอื่น
ที่มา - Drupal Association