ข่าวล่า(ช้า)ไปหน่อยครับ ตั้งแต่ปลายเดือนที่แล้ว จากที่มีข่าวว่าทีมงานบางส่วนของ Wikileaks แยกตัวออกมาตั้งองค์กรใหม่นั้น ตอนนี้องค์กรดังกล่าวคือ OpenLeaks เปิดเว็บไซต์ของตัวเองอย่างเป็นทางการแล้ว
หลักการของ OpenLeaks ที่จะปรับปรุงจุดอ่อนที่ทีมงานเห็นจาก Wikileaks ก็คือ จะไม่เผยแพร่ข้อมูลลับต่าง ๆ เอง แต่จะทำหน้าที่เป็น "ตัวกลาง" เชื่อมโยงระหว่างแหล่งข่าวกับสื่อ ทำให้แหล่งข่าวเลือกช่องทางและวิธีการเผยแพร่ข้อมูลได้ พร้อมกับไม่ต้องเปิดเผยตนเองต่อสื่อ และบุคลากรในองค์กรไม่ต้องเสี่ยงถูกคุกคามอย่างที่ Julian Assange โดน
วันนี้ (3 ก.พ.) Vodafone ได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงกรณีที่ประชาชนอียิปต์ได้รับข้อความชักชวนให้ต่อต้านการประท้วงที่กำลังดำเนินอยู่ ว่าเป็นคำสั่งของรัฐบาลตามกฎหมายโทรคมนาคม
ทั้งนี้ บริษัทยังชี้แจงอีกว่าได้ทำการประท้วงรัฐบาลแล้วว่าข้อความดังกล่าวเป็นเรื่องที่ "รับไม่ได้"
ตัวอย่างของข้อความก็คือ "กองทัพขอให้ประชาชนอียิปต์ผู้ซื่อตรงและจงรักภักดีออกมาเผชิญหน้ากับพวกคนทรยศและพวกโจร เพื่อปกป้องประชาชนและเกียรติยศของแผ่นดินอียิปต์อันเป็นที่รักของพวกเรา" (ต้นฉบับในที่มา)
จะว่าไปตอนมีการชุมนุมที่ราชประสงค์ ศอฉ. ก็เคยส่ง SMS จำนวนมากนะ
ข่าวหมายเลข IPv4 หมดโลกอาจจะสร้างความตกใจให้กับหลายๆ คนว่าวันพรุ่งนี้เราจะใช้งานอินเทอร์เน็ตกันไม่ได้หรืออย่างไร เรามาดูกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นหลังจากนี้
หลังจากรอกันมานานทางกูเกิลก็แจ้งข่าวว่าบั๊กหมายเลข 43951 นั้นเข้าสู่สถานะ Fixed เป็นที่เรียบร้อย โดยแพตซ์นั้นได้เข้าไปยังโครงการ WebKit ในรุ่น 77504 ซึ่งหากมีอัพเดตรอบหน้า ทุกคนก็น่าจะได้รับการแก้ปัญหานี้เป็นที่เรียบร้อย
งานนี้ถ้าใครใช้รุ่น Daily Build ก็รอสักวันสองวันน่าจะได้รับอัพเดตครับ ส่วนใครไปใช้โครงการ chromium-thai-ppa ก็ถอน PPA ออกก่อนแล้วกลับไปใช้รุ่นมาตรฐานต่อไปได้เลย
UPDATE: chrome-browser รุ่น 11.0.659 แก้ไขบั๊กนี้เรียบร้อยแล้วครับ
ที่มา - Bug 43951
เมื่อคืนที่ผ่านมาได้มีการเปิดตัว The Daily หนังสือพิมพ์ดิจิทัลตัวใหม่ ที่ว่ากันว่าเป็น Game Changer ของหนังสือพิมพ์ในโลกยุค 2.0 กันเลยทีเดียว ใช้เวลาพัฒนากว่า 6 เดือนเริ่มสร้างทุกอย่างจากศูนย์ ลงทุนลงแรงไปมาก The Daily หนังสือพิมพ์ที่เกิดมาเพื่อ Tablet โดยเฉพาะนั้นจะมีหน้าตา รูปแบบการใช้งาน รวมทั้งความน่าสนใจแค่ไหน เราลองมาดูกัน
ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถืออันดับ 1 ในอเมริกา Verizon เริ่มเปิดให้ลูกค้าสามารถจอง iPhone 4 แล้ววันนี้โดยจะได้รับสินค้าตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์เป็นต้นไป ปัญหาของ iPhone 4 กับ Verizon ที่หลายคนกังวลก็คือความต้องการสินค้านั้นอาจจะสูงมากจนใครก็คาดไม่ถึง และอาจกระทบต่อการส่งมอบ iPhone 4 ไปยังที่อื่นด้วย (Tim Cook ซีโอโอของแอปเปิลเคยบอกไว้ในงานแถลงผลประกอบการ)
HP ประกาศล่วงหน้ามานานว่าจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์สาย webOS ใหม่ในวันที่ 9 ก.พ. นี้ เมื่อเหลือเวลาอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์ HP จึงเริ่มโปรโมทด้วยการปล่อยวิดีโอพรีวิวอุปกรณ์ที่จะเปิดตัว
วิดีโอนี้สั้นๆ แต่ก็ทำให้เราเห็นตัวเครื่องบางมุม พร้อมกับสโลแกน "Think Beyond" ที่ HP น่าจะใช้โปรโมทผลิตภัณฑ์สาย webOS ในปีนี้
ภาคก่อนหน้านี้ ไมโครซอฟท์โต้กูเกิล "ไม่ได้ก็อปปี้ แค่นำข้อมูลจากผู้ใช้มาปรับปรุงระบบ"
Yusuf Mehdi ผู้บริหารฝ่ายออนไลน์ของไมโครซอฟท์เขียนความเห็นลงบล็อกของ Bing ยืนยันว่าไม่ได้ก็อปปี้ผลการค้นหาจากคู่แข่ง และบอกว่าคำกล่าวหาของกูเกิลถือเป็น "การดูถูก"
ไมโครซอฟท์ยืนยันว่าปรากฎการณ์ "ผลการค้นหาเหมือนกัน" เป็นผลมาจากไมโครซอฟท์นำข้อมูลการคลิก (click stream) มาเป็นปัจจัยจัดอันดับผลการค้นหาด้วย ซึ่งไมโครซอฟท์ประกาศนโยบายนี้มาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2009
หลังจาก MySpace ขายกิจการให้กับกลุ่มสื่อขนาดยักษ์ News Corporation ในปี 2005 เว็บก็ดูจะไม่ประสบความสำเร็จดังเดิม และตกต่ำลงมาเรื่อยๆ (ดูข่าวเก่าในหมวด MySpace ประกอบ) แม้จะปรับโฉม ปรับแนวคิดของเว็บใหม่ แต่ก็ต้องปลดพนักงานลงไปเกือบครึ่งเพื่อลดค่าใช้จ่าย
วันเดียวกับที่กูเกิลประกาศ In-App Billing ใน Android Market ฝั่ง BlackBerry ก็ไม่ยอมน้อยหน้า ประกาศฟีเจอร์เดียวกัน (แต่เรียก In-App Payment) ใน BlackBerry App World 2.1 แล้ว
ตอนนี้ App World 2.1 รองรับการซื้อเนื้อหาผ่านแอพแล้ว ที่เหลือก็เป็นหน้าที่ของนักพัฒนาแอพแต่ละตัว จะปรับแอพของตัวเองให้รองรับฟีเจอร์นี้ต่อไป โดย RIM เองก็ออก Payment Service software development kit มาให้แล้วเช่นกัน
เงื่อนไขของ RIM ก็เหมือนๆ กับเจ้าอื่นคือ แอพจะต้องขายหรือแจกผ่าน App World และโดนหักค่าหัวคิวจำนวนหนึ่ง
หลังจากมีข่าวมาก่อนหน้านี้ The Daily หนังสือพิมพ์ดิจิทัลเต็มตัวบน iPad ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวเมื่อคืนนี้ตามเวลาในไทย โดยงานนี้ Rupert Murdoch เจ้าพ่อวงการสื่อแห่ง News Corporation มาร่วมแถลงด้วยตนเอง โดย The Daily จะเน้นการผสมผสานระหว่างเนื้อหาข่าว ภาพ และวิดีโอเข้าด้วยกันและ The Daily จะเป็นโอกาสที่ดีในการปฏิรูปแนวทางธุรกิจของวงการสื่อครั้งใหญ่
The Daily เป็นหนังสือพิมพ์รายวันโดยส่งฉบับใหม่เข้ามาใน iPad ทุกเช้า คิดค่าบริการเพียง 99 เซนต์ต่อสัปดาห์หรือถ้าคิดเป็นเงินไทยก็เพียง 4 บาทกว่าต่อวันเท่านั้น
สงครามวิดีโอ H.264 vs WebM ยังผลัดกันรุกรับอยู่เรื่อยๆ ไมโครซอฟท์ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน H.264 รายใหญ่ เคยออกส่วนเสริม H.264 สำหรับ Firefox มาก่อนแล้ว คราวนี้เป็นคิวสำหรับ Chrome บ้าง
ส่วนเสริมตัวนี้มีชื่อเต็มๆ ว่า Windows Media Player HTML5 Extension for Chrome ใช้ได้กับ Chrome 8.0 ขึ้นไป และใช้ได้บน Windows 7 เท่านั้น หลักการทำงานของมันจะเหมือนกับรุ่นของ Firefox คือใช้ความสามารถในการเล่น H.264 ที่ฝังมากับตัว Windows 7 มาเล่นวิดีโอให้แทน ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดได้จาก เว็บไซต์ Interoperability Bridges ของไมโครซอฟท์
สรุปงานแถลงข่าว Android Honeycomb เมื่อคืนนี้ กูเกิลโชว์ของดังนี้
เมื่อเทียบกับ Android 3.0 SDK ที่เพิ่งปล่อยออกมาไม่กี่วันก่อน ก็แทบไม่มีอะไรใหม่มากนัก กูเกิลเน้นโชว์ System Bar/Action Bar เป็นหลัก อย่างอื่นๆ ได้แก่
Mirco Wilhelm ช่างภาพและบล็อกเกอร์จากสวิตเซอร์แลนด์ รายงานว่าจู่ๆ เขาก็เข้า Flickr ของตัวเองไม่ได้ และเมื่อติดต่อ Flickr ก็พบว่าข้อมูลทั้งหมดถูกลบทิ้ง ซึ่งรวมถึงภาพถ่ายกว่า 4,000 ภาพที่เขาใช้เวลากว่า 5 ปีสะสมเอาไว้
Wilhelm บอกว่าก่อนหน้านั้นไม่กี่วัน เขาได้แจ้ง Flickr ว่าพบบัญชีของผู้ใช้คนหนึ่งที่เขาสงสัยว่าขโมยภาพของคนอื่นมา แต่คาดว่า Flickr คงเข้าใจผิด เลยลบบัญชีของ Wilhelm แทน
ตัวแทนจาก Flickr ส่งคำขอโทษมายัง Wilhelm และบอกว่ากู้คืนข้อมูลใดๆ ไม่ได้เลย และเสนอการชดเชยเป็นบัญชีผู้ใช้แบบ Pro เป็นเวลา 4 ปี ส่วน Wilhelm บอกว่าถ้าเขาใช้บัญชีแบบฟรีก็ยังพอรับได้ แต่นี่เขาก็ใช้บัญชีแบบ Pro อยู่แล้ว
เมื่อช่วงปลายสัปดาห์ที่แล้ว รัฐบาลอียิปต์ตัดอินเทอร์เน็ตทั้งประเทศ เนื่องจากความไม่สงบภายใน
เวลาผ่านไปเกือบสัปดาห์ วันนี้มีรายงานว่าอินเทอร์เน็ตในอียิปต์กลับมาใช้บ้างได้แล้ว โดยช่วงเวลาประมาณ 11.29 น ตามเวลาท้องถิ่น เว็บไซต์สำคัญๆ หลายแห่งของอียิปต์กลับมาออนไลน์บนโลกอินเทอร์เน็ตอีกครั้ง อย่างไรก็ตามยังมีเว็บไซต์บางแห่งที่ต้องรอการฟื้นระบบกลับมา
รายละเอียดเรื่องระบบโครงสร้างเครือข่ายของ ISP ในอียิปต์ เขียนไว้ละเอียดในลิงก์ครับ
ที่มา - Renesys
เครือข่ายมือถือที่ใหญ่เป็นอันดับต้นๆ ในสหรัฐอเมริกาคือ Verizon และ AT&T ซึ่งสองค่ายนี้ก็เป็นคู่กัดกันมาตลอด
เมื่อปี 2007 เบอร์สองอย่าง AT&T จับมือกับแอปเปิลเพื่อขาย iPhone แต่ผู้เดียวในสหรัฐ ซึ่งเวลาก็พิสูจน์แล้วว่าเป็นยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องของ AT&T ส่วนฝั่ง Verizon เมื่อไม่มี iPhone ขายก็ต้องมาหนุน Android ด้วยมือถือตระกูล Droid ซึ่งก็ประสบความสำเร็จไม่ใช่น้อย
แต่มาถึงปี 2011 Verizon สามารถเจรจากับแอปเปิลและขาย iPhone ได้สำเร็จ ทำให้ AT&T ถึงกับสะเทือนเพราะไม่ใช่ผู้ขาย iPhone เพียงรายเดียวอีกต่อไป คำถามก็คือ AT&T จะทำอย่างไรกับสถานการณ์แบบนี้ ซึ่งวันนี้ซีอีโอของ AT&T ก็ให้คำตอบชัดเจนแล้วว่า "Android"
มีรายงานอย่างไม่เป็นทางการมาจากชุมชนนักแฮ็กชื่อ Jailbreak Scene ว่าเฟิร์มแวร์ 3.56 รุ่นล่าสุดของ PS3 แอบฝังโค้ดที่ใช้ตรวจสอบระบบมาด้วย ทำให้โซนี่สามารถตรวจสอบได้ว่า PS3 เครื่องนี้แอบลงเฟิร์มแวร์รุ่นปรับแต่งเอง หรือลงแอพพลิเคชันที่พัฒนาเอง (homebrew application) หรือไม่
ตามข่าวบอกว่าโซนี่สามารถสั่งรันโค้ดนี้ได้ตลอดเวลาที่ PS3 เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานว่าโซนี่เคยสั่งใช้โค้ดนี้แล้วจริงๆ และไม่มีข้อมูลว่าถ้าโซนี่ตรวจพบอะไรผิดปกติ แล้วจะมีมาตรการอะไรบ้าง (เช่น อาจจะแบน PS3 เครื่องนั้นออกจาก PlayStation Network)
เมื่อหลายปีก่อน โซนี่เคยมีกรณีแอบฝัง rootkit มาในแผ่นซีดีเพลงของตัวเองเพื่อป้องกันก็อปปี้ จนเป็นข่าวใหญ่โตมาแล้ว
จากกรณี แอปเปิลปรับนโยบายใหม่ ปฏิเสธแอพจาก Sony Reader ไม่ให้เข้า App Store โฆษกของแอปเปิลได้ชี้แจงกับเว็บไซต์ AllThingsD ว่า แอปเปิลไม่ได้เปลี่ยนเงื่อนไขของการนำแอพเข้า App Store แต่อย่างใด เพราะเงื่อนไขเขียนไว้แต่แรกแล้วว่า "ถ้าแอพเปิดให้ผู้ใช้ซื้อหนังสือจากแหล่งอื่นได้ จะต้องซื้อหนังสือผ่านระบบ In App Purchase API ของแอปเปิลได้ด้วย" ซึ่งแน่นอนว่าโดนแอปเปิลหัก 30%
วันนี้ลองพยายามจัดกลุ่มของช่วงไอพีที่ APNIC จัดสรรให้แก่ประเทศไทยดูทำให้พอรู้คร่าวๆ ว่าใครถือไอพีอยู่เท่าไหร่บ้าง ต้องออกตัวก่อนว่าข้อมูลนี้ใช้อ้างอิงไม่ได้เพราะเป็นการจัดด้วยมือ โอกาสพลาดสูง ถือว่าเล่าสู่กันฟังนะครับ
ผู้ครอบครอง IPv4 อันดับหนึ่งของไทยคือ True ที่มีไอพีอยู่ประมาณ 1.36 ล้านไอพี (รวมทั้งกลุ่มนะครับ ไม่ว่าจะ Dial-up, ADSL, Mobile) ตามมาติดๆ ด้วย TOT ที่มี 1.02 ล้านไอพี อันดับสามได้แก่ Tripple T มี 786,944 ไอพี ซึ่งในกลุ่มเหล่านี้มีไอพีหลายช่วงมาก เช่น True มีอยู่ถึง 42 ช่วงด้วยกัน
ลำดับถัดลงมาเป็น AIS มี 428,032 ไอพี TTT Maxnet มี 419,840 ไอพี และ CAT 299,008 ไอพี
ประเด็นเรื่องยอดขายของ Galaxy Tab ยังเป็นที่สนใจของสื่อ หลังจากข่าวก่อนหน้านี้ Galaxy Tab ขายได้น้อยกว่าที่ประกาศเอาไว้? ก็มีบริษัท ITG Investment Research ตามดูสถิติยอดขายของ Galaxy Tab ตามร้านของเครือข่ายมือถือในสหรัฐกว่า 6,000 แห่ง พบว่านับจากเริ่มขายในเดือนพฤศจิกายน 2010 จนถึง 15 มกราคม 2011 มีลูกค้าที่ซื้อ Galaxy Tab จำนวน 16% นำเครื่องมาคืนเนื่องจากไม่พอใจในผลิตภัณฑ์
อัตรานี้ถือว่าสูงมากเมื่อเทียบกับ iPad ที่มีอัตราคืนเครื่อง 2% อย่างไรก็ตาม เราต้องไม่ลืมด้วยเช่นกันว่ากูเกิลก็พูดไว้เองว่า Froyo ไม่เหมาะกับแท็บเล็ต
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2010 ไมโครซอฟท์ได้เปิดบริการ Azure Services Platform อย่างเป็นทางการ (ซึ่งเราคุ้นกับมันในชื่อ Windows Azure มากกว่า แต่ชื่ออย่างเป็นทางการคือ Azure Services Platform นะครับ เพราะมีอย่างอื่นอย่าง SQL Azure ด้วย)
เวลาผ่านมาแล้ว 1 ปี ไมโครซอฟท์รายงานว่ามีลูกค้าแบบเสียเงินจำนวน 31,000 ราย (เข้าใจว่านับเป็นองค์กรนะครับ ข่าวไม่ได้บอกละเอียด) และมีองค์กรใหญ่ๆ อย่าง T-Mobile (ทำแอพบน WP7 ด้วย Azure) และ Xerox (ทำระบบ cloud print) มาเข้าร่วมด้วย
คนแถวนี้คงรู้จัก Hadoop ซอฟต์แวร์สำหรับกระจายการประมวลผลแบบขนาน ที่ยาฮูสร้างขึ้นมาเพื่อต่อกรกับกูเกิล (ซึ่งมี MapReduce ต้นกำเนิดของซอฟต์แวร์ตระกูลนี้)
ยาฮูเปิดซอร์ส Hadoop แล้วยกให้โครงการ Apache ดูแล แต่ยาฮูเองก็ทำ Yahoo! Hadoop เวอร์ชันของตัวเองขนานไปด้วย ล่าสุดยาฮูประกาศหยุดทำ Yahoo! Hadoop และหันไปร่วมมือกับ Apache Hadoop โดยตรงแล้ว
สาเหตุก็ตรงไปตรงมาคือการทำงานสองที่นั้นซ้ำซ้อนและเปลืองทรัพยากร สุดท้ายทางยาฮูจึงยกโค้ดส่วนของตัวเองไปรวมกับ Apache และนำเสนอเป็นฟีเจอร์ใหม่ต่อ Apache Hadoop
Net Applications เผยสถิติส่วนแบ่งตลาดเว็บเบราว์เซอร์ประจำเดือนมกราคม 2011 ปรากฎว่า Chrome เดินมาถึงจุดสำคัญคือมีส่วนแบ่งตลาดแตะหลัก 10% เรียบร้อยแล้ว (อยู่ที่ 10.70%)
เจ้าตลาดอย่าง IE มีส่วนแบ่งตลาดเหลือ 56% ถือว่าต่ำที่สุดในรอบหลายปี ส่วน Firefox เองก็ลดลงเล็กน้อย มาอยู่ที่ 22.75%, Safari เพิ่มขึ้นพอสมควรเป็น 6.30% และ Opera ค่อนข้างคงที่ที่ 2.28%
เมื่อเดือนเมษายนปีที่แล้ว Chrome มีส่วนแบ่งตลาด 6%
เราลองมาดูกันว่าในโค้งสุดท้ายก่อนที่ IPv4 จะถูกจัดสรรไปจนหมดนั้น แต่ละประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้รับการจัดสรร IPv4 กันไปประเทศละเท่าไหร่
จากข้อมูลของเมื่อวานนี้ (1 ก.พ. 54) APNIC ซึ่งเป็นนายทะเบียนของภูมิภาคนี้ได้จัดสรรไอพีไปแล้วทั้งหมด 17,610 ช่วง คิดเป็น 769,631,744 ไอพี โดยขนาดที่จัดสรรในแต่ละช่วงมีตั้งแต่ /24 (256 ไอพี) ไปจนถึง /8 (16,777,216 ไอพี) แน่นอนว่าประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลกอย่างจีนได้ครองตำแหน่งประเทศที่ได้รับการจัดสรร IPv4 ไปมากที่สุดถึงประมาณ 293 ล้านไอพีใน 1,875 ช่วง คิดเป็น 38% ของไอพีที่ได้รับการจัดสรรในภูมิภาคนี้เลยทีเดียว
กระแส location-based service (LBS) มาแรงไม่น้อยตั้งแต่ปีก่อน ผู้นำในตลาดนี้คือ Foursquare แต่ก็ต้องพบกับคู่แข่งมากมาย ไม่ว่าจะเป็นหน้าใหม่เหมือนกันอย่าง Gowalla หรือ Loopt รวมถึงบริการใกล้เคียงอื่นๆ ที่เปิดให้ "เช็คอิน" เพิ่มทีหลังอย่าง Yelp หรือ Facebook Places
ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลอาจจะขยับตัวช้าไปบ้างในเรื่องนี้ แต่ล่าสุดกูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ให้กับ Google Latitude ให้ "เช็คอิน" สถานที่ได้แล้ว (จากเดิมทำได้แค่บอกว่าอยู่ตรงไหน แต่เช็คอินไม่ได้) ฟีเจอร์นี้จะถูกรวมเข้ามาใน Google Maps 5.10 บน Android ก่อน ส่วนแพลตฟอร์มอื่นๆ คงตามมาในไม่ช้า