วันนี้ Common Voice ของ Mozilla ซึ่งเป็นโครงการรับบริจาคเสียงเพื่อทำชุดข้อมูลเสียงสาธารณะสำหรับระบบรู้จำเสียง ได้เปิดรับบริจาคเสียงภาษาลาวแล้ว โดยภาษาลาวเป็นภาษาในตระกูลภาษาขร้า-ไท (Kra–Dai languages) ภาษาที่สองถัดจากภาษาไทยใน Common Voice
คนไทย/คนลาว ที่สามารถอ่านข้อความอักษรลาวได้ สามารถเข้าไปร่วมบริจาคได้ครับ โดยเข้าไปที่ https://commonvoice.mozilla.org/lo
สำหรับวิธีการบริจาคเสียงง่าย ๆ เพียงแค่กดปุ่มไมโครโฟน จะเห็นข้อความให้อ่าน ให้กดอัด แล้วพูดตามข้อความกำหนด แล้วกดหยุด หากประโยคที่ได้มาไม่ถูกใจสามารถกดข้ามได้ เสร็จแล้วกด ส่ง ได้
หลังจากที่ภาษาไทย เราได้ช่วยกันผลักดันให้โครงการ Common Voice ของ Mozilla เปิดรับบริจาคเสียงภาษาไทยได้เป็นที่สำเร็จเมื่อ 1 ปีก่อน มาวันนี้ขอเชิญชวนคนไทย/คนลาวที่อ่านหรือพิมพ์ภาษาลาวได้ มาช่วยกันผลักดันให้ Common Voice เปิดรับบริจาคเสียงภาษาลาวกัน
Common Voice เป็นโครงการที่ Mozilla ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ได้สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนชุดข้อมูลเสียงที่เป็นสาธารณสมบัติ (ไม่มีลิขสิทธิ์) ที่ทุกคน ทุกหน่วยงาน สามารถมีส่วนร่วมและใช้เพื่อสอนระบบ AI ต่าง ๆ เช่นระบบพิมพ์ด้วยเสียงได้
ปัจจุบันในภาษาไทยมีจำนวนเสียงที่บันทึกแล้ว 393 ชั่วโมง แต่ตรวจสอบไปเพียง 154 ชั่วโมง (ไม่ถึงครึ่งของจำนวนเสียงที่บันทึกไว้ทั้งหมด) ในขณะที่ชุดข้อมูลรอบถัดไปจะตัดรอบในวันที่ 7 กันยายน 2565 นี้ เราจึงต้องการให้ทุกคนเข้ามาร่วมตรวจสอบเสียงง่าย ๆ โดยไม่ต้องโหลดแอปใด ๆ ตามขั้นตอนด้านล่างนี้
หลังจากที่ผมเขียนมาร่วมกันบริจาคเสียงพูดภาษาไทยด้วย Mozilla Common Voice ลง Blognone ครบ 1 ปี บทความนี้ผมจะมาเขียนบทความว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง เมื่อได้รับเสียงภาษาไทยบริจาคจำนวนมากถึง 300 กว่าชั่วโมง แต่ก็ยังคงต้องการรับบริจาคเสียงกับตรวจเสียงเพิ่มเติม
หลังจากที่ทาง Mozilla ปล่อยชุดข้อมูล Common Voice รุ่นที่ 7 ออกมา ทางสถาบันวิจัยปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ได้เทรนโมเดล Automatic Speech Recognition ภาษาไทยโดยวัดประสิทธิภาพจาก Common Voice ที่แบ่งใหม่พบว่า มีความแม่นยำทัดเทียมกูเกิลแล้ว ซึ่งถือเป็นโมเดล Automatic Speech Recognition ภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพมากตัวหนึ่ง
เทคโนโลยีการรู้จำเสียง (Speech Recognition) เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยให้เราสื่อสารหรือสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งระบบดังกล่าวเป็นที่นิยมกันอย่างเผยแพร่ ตัวอย่างเช่น ใช้งานในระบบผู้ช่วยอัจฉริยะ, ใช้สร้างคำบรรยายในวิดีโอ และใช้พิมพ์ข้อความตามเสียง เป็นต้น อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการรู้จำเสียงทุกภาษาต้องการชุดข้อมูลเสียงขนาดใหญ่สำหรับมาทำเทคโนโลยีดังกล่าว ยิ่งมีข้อมูลมากเท่าไร ความแม่นยำยิ่งสูงขึ้น แต่ชุดข้อมูลเสียงขนาดใหญ่จำนวนมากที่ถูกสร้างโดยบริษัทใหญ่ ๆ เราไม่สามารถใช้งานได้ เนื่องจากราคาที่แพงหรือติดลิขสิทธิ์ จึงทำให้บริษัทเล็ก ๆ หรือนักพัฒนาไม่สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลดังกล่าวได้
ซัมซุงเปิดบริการ SmartThings Find สำหรับค้นหาตำแหน่งของอุปกรณ์ Galaxy (สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต สมาร์ทวอทช์ และหูฟัง) ด้วย Bluetooth LE และ ultra-wideband (UWB)
สิ่งที่ทำให้ SmartThings Find แตกต่างจากบริการค้นหาอุปกรณ์อื่นๆ ในท้องตลาด (เช่น Find My ของแอปเปิล หรือ Find My Device ของกูเกิล) คือ
ผลคือ SmartThings Find มีโอกาสค้นหาอุปกรณ์ที่หายไปได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่หายนอกบ้าน และในพื้นที่นั้นมีคนที่ใช้มือถือและแท็บเล็ตของซัมซุงอยู่ด้วย
กูเกิลพัฒนาฟีเจอร์ให้อุปกรณ์ Android ทั่วโลกสามารถกลายเป็นเครื่องวัดการสั่นไหว (seismometer) โดยใช้ประโยชน์จากเซ็นเซอร์วัดความเร่ง (accelerometer) ที่มีอยู่แล้ว หากพบสัญญาณที่มีแพทเทิร์นเหมือนกับแผ่นดินไหว ให้แจ้งเตือนตำแหน่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล เพื่อแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านระบบ Android Earthquake Alerts System ได้ทันท่วงที
กูเกิลบอกว่าข้อมูลจากโทรศัพท์จะวิ่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ด้วยความเร็วแสง แข่งกับความเร็วของแผ่นดินไหวที่ช้ากว่ามาก ทำให้การแจ้งเตือนผู้คนในบริเวณห่างไกลออกไปสามารถเกิดก่อนแผ่นดินไหว และช่วยให้รับมือกับความเสียหายได้
Star Citizen อภิมหาโปรเจคต์สร้างเกมด้วยการระดมทุน crowdsourcing มาตั้งแต่ปี 2011 ยังลากยาวมาเรื่อยๆ แม้ว่าแยกเกมเป็น 2 ส่วนคือ Star Citizen แบบมัลติเพลเยอร์ตามแผนเดิม และเตรียมออก Squadron 42 โหมดเล่นคนเดียวแบบมีเนื้อเรื่องมาให้เล่นกันก่อนก็ตาม
ล่าสุด Chris Roberts ผู้กำกับและผู้สร้างเกมนี้ ประกาศว่าเขาระดมทุนได้เพิ่มอีก 46 ล้านดอลลาร์ แลกกับหุ้นประมาณ 10% ของบริษัท Cloud Imperium (แปลว่าบริษัทมีมูลค่าประมาณเกือบ 500 ล้านดอลลาร์แล้ว) พร้อมประกาศเป้าหมายว่าจะสร้างเนื้อหาและฟีเจอร์ของ Squadron 42 ให้สมบูรณ์ภายในปี 2019 และเปิดทดสอบเกมรุ่นอัลฟ่า/เบต้า จนออกเกมตัวจริงได้ภายในครึ่งแรกของปี 2020
เมือง Toronto ในแคนาดาได้ประกาศร่วมมือกับ Alphabet ในการพัฒนาเมืองสมาร์ทซิตี้มาแล้ว ล่าสุดก็ทาง Toronto ก็เริ่มกระบวนการแชร์ข้อมูลการจราจรกับ Waze ผู้ให้บริการแผนที่และระบบนำทางภายใต้บริษัท Google แล้ว
การแชร์ข้อมูลการจราจรระหว่าง Toronto และ Waze นี้จะเป็นแบบสองทาง คือทั้งสองฝ่ายจะนำข้อมูลที่มีอยู่มาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน โดยเป้าหมายคือต้องการปรับปรุงระบบการนำทางภายในเมือง
dtac ทำโครงการ Flip for Site เปิดให้กลุ่มคนเสนอพื้นที่ตั้งเสาสัญญาณมายัง dtac เพื่อแจ้งให้ทางบริษัททราบว่าพื้นที่ที่เสนอมาสามารถตั้งเสาสัญญาณได้ ไม่ติดขัดปัญหาเรื่องผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน
dtac ระบุว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่บริษัทเจอเวลาระบุพื้นที่ตั้งเสา คือหาผู้ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริงและมีอำนาจตามกฎหมายที่จะเป็นผู้ให้เช่าพื้นที่ติดตั้งเสาไม่เจอ dtac จึงทำโครงการ Flip for Site ขึ้นมา เป็นรูปแบบขอความร่วมมือจากกลุ่มคนจำนวนมากหรือ Crowdsourcing ให้แจ้งพิกัดพื้นที่ที่สามารถตั้งเสาผ่านเว็บไซต์ ทีมงาน dtac จะนำพิกัดที่เสนอมา มาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาแผนขยายพื้นที่เสาสัญญาณ เพื่อให้สามารถตั้งเสาได้เร็วขึ้น
นายบุญชัย ตันติวุฒิพงศ์ พนักงานดีแทค หนึ่งในทีมที่คิดริเริ่มโครงการ Flip for Site ระบุว่า มีผู้เสนอจุดติดตั้งเสาสัญญาณเกือบ 8,000 แห่ง ผู้เสนอพื้นที่ยังได้รับเงิน 10,000 บาท หากพื้นที่นั้นได้เป็นส่วนหนึ่งของการติดตั้งเสาสัญญาณดีแทคอีกด้วย
Cards Against Humanity เกมไพ่สุดแหวกแนวที่เคยสร้างชื่อบน Kickstarter เมื่อหลายปีก่อน ฉลองเทศกาล Black Friday ด้วยแคมเปญพิเศษชื่อ Holiday Hole
แคมเปญนี้ Cards Against Humanity จ้างรถขุดดินมาหนึ่งคัน แล้วให้ขุดหลุมไปเรื่อยๆ โดยไม่มีจุดหมายอะไร พร้อมถ่ายทอดสดผ่านเว็บ และขอให้ผู้ชมบริจาคเงินเข้ามาตามจำนวนที่ต้องการ การขุดดินมีค่าจ้างวินาทีละ 0.7 ดอลลาร์ และจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ยอดเงินบริจาคยังมากกว่าศูนย์
Google ปล่อยแอพใหม่ชื่อ Crowdsource เมื่อไม่กี่วันมานี้ แอพดังกล่าวเป็นแอพที่สร้างขึ้นเพื่อขอให้ผู้ใช้ช่วยกันปรับปรุงข้อมูลสำหรับการพัฒนาแอพอื่นๆ ของ Google
ตัวแอพจะสอบถามว่าผู้ใช้สามารถใช้ภาษาใดได้บ้าง จากนั้นในตัวแอพ จะปรากฏเมนูให้ผู้ใช้เลือกว่าจะช่วย Google ทำอะไรได้บ้าง โดยฟังก์ชั่นงานที่ว่านั้นมีดังนี้
สมัยเรียนใครเคยคิดว่าอาจารย์ตัดเกรดให้คะแนนแบบไม่แฟร์บ้าง? เวลาอาจารย์สั่งงานเราเคยเปรียบเทียบงานของเรากับเพื่อนคนอื่นไหม? แน่ใจไหมว่างานของเราทำดีแล้วยากจะหาจุดปรับปรุงเพิ่มเติมได้? Peergrade คือแพลตฟอร์มเพื่อการศึกษาที่ทำให้เรื่องเหล่านี้คลี่คลายทำได้ง่ายขึ้น มันคือแพลตฟอร์มที่เปิดให้เหล่านักเรียนมีโอกาสได้ตัดสินให้คะแนนสำหรับงานของพวกเขาเองได้
ที่กรุงเตหะราน เมืองหลวงของอิหร่านตอนนี้มีหนึ่งแอพกำลังฮิต ชื่อว่า "Gershad" ที่ให้ผู้ใช้ร่วมกันบอกและแจ้งเตือนตำแหน่งของ Gesht-e Ershad หรือตำรวจศาสนา ผู้ดูแลความประพฤติ ที่กระจายอยู่ทั่วเมือง ผู้คอยดูแลผู้คนให้ปฏิบัติตามหลักการศาสนาอย่างเคร่งครัด เช่น การแต่งหน้ามากเกินไป หรือใช้ฮิญาบผิดประเภท ก็อาจถูกปรับและลงโทษได้
แอพแนว crowdsourcing แอพนี้ถูกดาวน์โหลดแล้วกว่า 16,000 ครั้งหลังจากเปิดตัวไปเมื่อสัปดาห์ก่อนบน Play Store (ยังไม่มีบน iOS) และมีคนเข้าไปรายงานแล้วกว่า 1,500 ครั้งครับ
ที่มา - The Verge
แนะนำโครงการระดมทุนที่น่าสนใจบน Indiegogo ครับ โครงการ Unseen Art เป็นความพยายามที่จะนำงานศิลปะชื่อก้องโลก มาทำเป็นโมเดล 3 มิติแล้ว "พิมพ์" ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อให้งานศิลปะแบนๆ แบบเดิมกลายเป็นงานศิลปะที่จับต้องได้มากขึ้น
เป้าหมายของโครงการคือเปิดโอกาสคนทั่วโลกจะได้จับและสัมผัสงานศิลปะชื่อก้องโลกด้วยมือ จากเดิมที่อย่างมากก็แค่ดูด้วยตาเพียงอย่างเดียว รวมถึงคนที่มีปัญหาทางสายตา ไม่เคยเห็นว่าภาพเขียนชื่อดังเหล่านี้หน้าตาเป็นอย่างไร ก็สามารถใช้วิธีสัมผัสแทนได้
ภาพตัวอย่างที่โครงการนำเสนอคือ Mona Lisa ของ Leonardo Da Vinci (ดูคลิปประกอบ) การระดมทุน 30 ดอลลาร์จะได้โมเดลใบหน้าของ Mona Lisa และถ้าระดมทุน 100 ดอลลาร์จะได้โมเดลเต็มตัว
เครือข่าย T-Mobile ของสหรัฐอเมริกา เปิดบริการแผนที่การให้บริการ (network coverage map) แนวใหม่ที่นำข้อมูลการใช้งานของลูกค้ากว่า 200 ล้านจุดต่อวันมาร่วม crowdsource ด้วย
ผลของการนำข้อมูลการใช้งานจริงจากลูกค้ามาใช้งาน ช่วยให้ข้อมูลถูกต้องแม่นยำขึ้น เพราะแต่เดิมนั้นแผนที่ให้บริการของโอเปอเรเตอร์ใช้ข้อมูลคาดการณ์ (predictive coverage estimations)
T-Mobile ระบุว่าใช้ข้อมูลของลูกค้าโดยไม่ระบุตัวตน (แต่ไม่บอกว่าดึงข้อมูลอย่างไร) และยังดึงข้อมูลจากแอพของบริษัทอื่นๆ ที่ตกลงซื้อข้อมูลกันมาร่วมวิเคราะห์ด้วย
ใครสนใจทดสอบลองเข้าไปดูได้ที่ T-Mobile Coverage Map
แฟนเกม Half-Life อาจหงุดหงิดใจ (หรือเลิกสนใจไปแล้ว?) ว่าทำไมข่าวคราวของ Half-Life 3 ถึงเงียบหายไปและไม่มีความคืบหน้าใดๆ ออกมาเลย แฟนเกมกลุ่มหนึ่งจึงทำแคมเปญระดมทุนผ่าน Indiegogo ชื่อ We Want Half-Life 3 กระตุ้นให้ต้นสังกัด Valve หันมาใจเรื่องนี้
แผนการระดมทุนเบื้องต้นตั้งเป้า 3,000 ดอลลาร์เพื่อลงโฆษณา AdWords ตั้งเป้าหมายพนักงาน 300 คนของ Valve โดยเฉพาะ ถ้าแผนการนี้ระดมทุนได้สำเร็จ พนักงานของ Valve จะถูกถล่มด้วยโฆษณา We Want Half-Life 3 ทุกครั้งที่เข้าเว็บ
คนที่เคยใช้ Google Translate คงคุ้นเคยกันว่ากูเกิลเปิดให้ผู้ใช้ "แนะนำคำแปลที่ถูกต้อง" โดยกดส่งไปที่กูเกิลแล้วจบกันไป ไม่รู้ว่าคำแปลของเราจะถูกนำไปใช้หรือไม่
ล่าสุดกูเกิลปรับปรุงกระบวนการด้านการปรับปรุงคำแปลให้เปิดกว้างมากขึ้น โดยเปิดเซคชั่นใหม่ชื่อ Translate Community ซึ่งผู้ใช้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมช่วยกูเกิลปรับปรุงคำแปลในภาษาต่างๆ ให้ดีขึ้น
สิ่งที่ผู้ใช้สามารถช่วยกูเกิลได้คือ แปลข้อความ, ให้คะแนนการแปลที่มีอยู่แล้ว, เปรียบเทียบคำแปลสองเวอร์ชัน ผมลองเล่นดูแล้วพบว่าถ้าเลือกภาษา
บริษัทภาพถ่ายดาวเทียม DigitalGlobe เผยสถิติว่ามีคนมากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก ร่วมกันสแกนภาพถ่ายดาวเทียมในคลังภาพของบริษัท เพื่อค้นหาเครื่องบิน Malaysia Airlines MH370 ที่หายสาบสูญไป
DigitalGlobe มีแพลตฟอร์มสำหรับ crowdsourcing แผนที่ดาวเทียมชื่อ Tomnod สำหรับงานทั่วไปอยู่แล้ว พอเกิดเหตุเครื่องบินหาย ทีมงาน Tomnod จึงตั้งโครงการค้นหาเครื่องบินขึ้น โดยระบบจะสุ่มพิกัดมาให้เราคอยดูว่าภาพที่ขึ้นมาบนจอ มีอะไรที่น่าจะเป็นร่องรอยของเครื่องบินลำนี้หรือไม่
DigitalGlobe บอกว่านับถึงวันนี้มีคนเข้ามาช่วยกันค้นหามากกว่า 2 ล้านคน มีภาพถ่ายดาวเทียมล่าสุดครอบคลุมพื้นที่ 24,000 ตารางกิโลเมตร ถือเป็นแคมเปญ crowdsourcing ครั้งใหญ่ที่สุดที่ Tomnod เคยมีมา
(คัดลอกจาก ข่าวเก่า) การค้นหาตำแหน่ง-พิกัดของอุปกรณ์พกพาในปัจจุบัน นอกจากการใช้ GPS วัดค่าจากดาวเทียมโดยตรง ยังมีเทคนิคการวิเคราะห์ตำแหน่งจาก Wi-Fi access point, สถานีฐานของมือถือ หรือหมายเลขไอพี โดยผู้ให้บริการค้นหาพิกัดอย่างกูเกิลหรือไมโครซอฟท์จะเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้เพื่อใช้งานเวลาตรวจสอบพิกัด
ถึงแม้ว่าปัจจุบันบริการลักษณะนี้ (เช่น Google Location Services) จะใช้งานได้ฟรี แต่ก็ไม่มีอะไรการันตีว่าในอนาคตมันจะสามารถใช้งานได้ฟรีต่อไป เพราะผู้ให้บริการทุกรายต่างก็เป็น "บริษัท" หวังผลกำไรด้วยกันทั้งสิ้น
หลังจากที่เมื่อเดือนก่อน มีข่าวว่า ทำเนียบขาวปฏิเสธไม่สร้าง Death Star เพราะต้องใช้งบมากถึง 850 ล้านล้านล้านดอลลาร์ เมื่อวานนี้ (วันที่ 4 ก.พ.) ก็เกิดมีโครงการใหม่บน Kickstarter ชื่อว่า "Kickstarter Open Source Death Star"
Kickstarter อาจเป็นสรวงสวรรค์สำหรับบรรดานักออกแบบ และโปรแกรมเมอร์ แต่อาจไม่ใช่ที่ๆ ดีสำหรับคนจ่ายเงินมากนัก เมื่อ CNNMoney รวบรวมโปรเจคใหญ่ที่สุด 50 อันดับแรกของ Kickstarter มาตรวจสอบ และพบว่ามีเพียง 8 เท่านั้นที่ส่งของตรงเวลา
ตัวเลข 8 จาก 50 อาจฟังดูเลวร้ายไปเสียหน่อย แต่เมื่อมองดูอีกกว่า 26 รายการที่ส่งของช้าไปนิดหน่อยก็พอดูดีขึ้นบ้าง ส่วนที่เลวร้ายจริงๆ คือจนถึงตอนนี้ยังมีอีก 16 รายการที่ยังไม่ได้ส่งของด้วยซ้ำ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีนาฬิกาอีเปเปอร์อย่าง Pebble รวมอยู่ด้วย
KickStarter เว็บไซต์ระดมทุนสำหรับโครงการที่มีไอเดียแต่ขาดเงิน ประกาศปรับนโยบายครั้งใหญ่แล้ว หลังจากที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน
การเปลี่ยนแปลงนโยบายในครั้งนี้เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจ KickStarter ไม่ใช่หน้าร้านขายของ แต่เป็นช่องทางที่คนมีไอเดีย จะมาพบกับผู้ซื้อ โดยการเปลี่ยนแปลงอย่างแรกคือเพิ่มส่วน "Risks and Challenges" เพื่อให้เจ้าของโครงการระบุความเสี่ยงที่จะเจอในระหว่างพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นตัวเลือกให้ผู้ซื้อตัดสินใจลงเงิน
ผู้ใช้ Google Maps คงคุ้นเคยกับฟีเจอร์แสดงสภาพจราจร (ซึ่งมีข้อมูลจราจรของกรุงเทพมานานแล้ว) ในโอกาสที่วันนี้กูเกิลประกาศเพิ่มข้อมูลจราจรในเมืองใหญ่ๆ ของสหรัฐและละตินอเมริกาอีกหลายเมือง (Google Lat Long) ผู้บริหารของกูเกิลก็เผยข้อมูลกับเว็บไซต์
เมื่อปีที่แล้ว YouTube ร่วมกับผู้กำกับ Ridley Scott และ Kevin Macdonald เปิดโครงการภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Life in a Day โดยเปิดให้คนทั่วโลกส่ง "คลิปวิดีโอของวันที่ 24 กรกฎาคม 2010" เข้ามาเป็นฟุตเตจ จากนั้นทีมงานจะคัดเลือกและนำฟุตเตจมาตัดต่อเป็นภาพยนตร์ Life in a Day ที่กล่าวถึงชีวิตของคนทั่วโลกในวันเดียว ถือเป็นภาพยนตร์ที่สร้างด้วยแนวคิด crowdsourcing นั่นเอง (