นอกจากมีธุรกิจอีคอมเมิร์ซและคลาวด์แล้ว Amazon ยังมีธุรกิจโฆษณา Amazon Advertising ด้วย ผู้ค้าภายนอกสามารถซื้อโฆษณาเพื่อให้สินค้าของตัวเองถูกแสดงบนแพลตฟอร์ม Amazon เป็นลำดับแรกๆ
ในไตรมาสแรกปีนี้ รายได้โฆษณาบน Amazon เพิ่มขึ้นถึง 44% เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ทะลุ 3.91 พันล้านเหรียญ
พื้นที่โฆษณาของงาน Super Bowl เป็นที่จับตามองทุกปีว่าแต่ละแบรนด์จะงัดไม้เด็ดอะไรมาลงโฆษณา ซึ่งโฆษณาของกูเกิล เลือกที่จะขาย Google Assistant ในแง่ผู้ช่วยที่ทำให้เราไม่ลืมความทรงจำดีๆ ของคนที่เรารัก ซึ่งเรียกน้ำตาได้ดีทีเดียว
ตัวคลิปเป็นหน้าจอค้นหาของกูเกิล หาวิธีที่จะไม่ลืม เล่าเรื่องโดยชายสูงอายุที่ไม่อยากลืมเรื่องของ Loretta คนรัก ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เช่น อายุมากความทรงจำเลือนราง หรือมีภาวะอัลไซเมอร์ เขาจึงใช้กูเกิลเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้ไม่ลืม ซึ่งกูเกิลก็จะมีข้อมูลรูปภาพเก่าๆ ของเขากับ Loretta ในอดีตเก็บไว้
ชาวเน็ตต่างก็แสดงความเห็นต่างๆ นานา เช่นว่า กูเกิลไม่ควรทำอย่างนี้เลย แทนที่จะได้ดูกีฬาสนุกๆ กลับต้องมาร้องไห้เพราะโฆษณา
ในงาน CES ที่ลาสเวกัส Spotify เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ที่ช่วยเรื่องการทำโฆษณาบนพอดคาสต์ คือ Streaming Ad Insertion (SAI) เป็นระบบหลังบ้านที่แทรกโฆษณาลงในพอดคาสต์อัตโนมัติ โดยทำโฆษณาอิงจากข้อมูลผู้ใช้แต่ไม่ระบุชื่ออย่าง อายุ เพศ อุปกรณ์ที่ใช้งาน ซึ่งปกติ Spotify ใช้ระบบแทรกโฆษณานี้ลงในเพลงอยู่แล้ว ล่าสุดคือขยายมายังพอดคาสต์ด้วย
นอกจากนี้ SAI ยังสามารถแสดงประสิทธิภาพของโฆษณาบนพอดคาสต์ได้ว่า ว่ามีคนเข้าถึงเท่าไร มีใครเข้าถึงบ้าง โดยไม่ได้ระบุชื่อแต่ระบุเพศ อายุ และอุปกรณ์ที่คนใช้ในการเข้าถึง โดยจะจำกัดการใช้งานเฉพาะพอดคาสต์ที่เป็นคอนเทนต์เอกซ์คลูซีฟก่อน
ปัจจุบัน Facebook และ Instagram มีนโยบายแบนโฆษณาปืนและบุหรี่ไฟฟ้าอยู่แล้ว แต่ล่าสุดทางแพลตฟอร์มได้ออกกฎใหม่เพื่อปิดช่องโหว่เพิ่มเติม
นโยบายใหม่ของ Facebook และ Instagram คือจะแบนคอนเทนต์จากสินค้า (branded content) ที่ influencer โพสต์เพื่อโปรโมตสินค้าประเภทอาวุธ, ยาสูบ และบุหรี่ไฟฟ้า โดยกฎใหม่นี้จะเริ่มบังคับใช้ในสัปดาห์หน้า
นอกจากนี้ Facebook จะพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มในการเคารพกฎใหม่นี้ด้วย อย่างเช่นกำหนดอายุขั้นต่ำของผู้ที่จะเห็นคอนเทนต์ เป็นต้น
กูเกิลออกนโยบายจำกัดโฆษณาการเมือง จะไม่แสดงโฆษณาการเมืองที่ระบุเป้าหมายด้วยเพศ อายุ ศาสนา สถานที่ในทุช่องทางทั้งช่อง search, YouTube และโฆษณาที่ปรากฏบนเว็บไซต์ภายนอกที่เป็น Google Ads แต่โฆษณาการเมืองทั่วไปที่ระบุกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้มีสิทธิโหวต ยังคงแสดงต่อไปได้
การที่กูเกิลออกนโยบายนี้ เป็นการกดดันเฟซบุ๊กอีกทาง ที่ยังคงยืนยันจะไม่แบนโฆษณาการเมือง ในขณะที่ทวิตเตอร์, TikTok ส่วน Snapchat ตามคำพูดของซีอีโอระบุว่าจะใช้วิธีตรวจสอบข้อเท็จจริงของโฆษณา แต่ไม่แบน
เรียกว่าบังเอิญจริงๆหลังจาก YouTube Premium ดูวิดีโอแบบไม่มีโฆษณา เปิดบริการในประเทศไทย กูเกิลก็เปิดตัวโฆษณาแบบใหม่ที่เรียกว่า Shopping ที่เปิดให้แบรนด์ลงโฆษณาสินค้าของตัวเองในหน้าโฮมฟีดและหน้าผลการค้นหา
Puma จะเป็นแบรนด์แรกที่ได้ใช้โฆษณารูปแบบนี้ หากค้นหา "Puma shoes" ใน YouTube จะแสดงโฆษณาสินค้าของ Puma บนสุดในหน้าผลการค้นหาเหนือวิดีโอ และบางครั้งจะขึ้นในหน้าโฮมฟีดของเรา
กูเกิลอธิบายเพิ่มว่าโฆษณารูปแบบนี้โชว์ตามความสนใจของผู้ใช้ จากตัวอย่างข้างต้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ว่า "Puma" ตรงๆ ก็ได้ แค่ผู้ใช้ "แสดง" ความสนใจ ก็อาจจะทำให้เจอโฆษณาของ Puma ที่นำเสนอรองเท้าวิ่งให้
Adriel Hampton นักเคลื่อนไหวพยายามต่อต้านนโยบายเฟซบุ๊กที่อนุญาตให้มีโฆษณาจากนักการเมือง และจะไม่ลบแม้ว่าเนื้อหาจะเป็นเท็จ โดย Hampton จะลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนียในปี 2022 จุดประสงค์ไม่ใช่ตำแหน่ง แต่เพราะเขาจะได้ซื้อโฆษณาการเมืองเสียเอง และจะเผยแพร่ข้อมูลเท็จด้วย
Hampton บอกว่าเขาจะเผยแพร่ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับ โดนัลด์ ทรัมป์, มาร์ก ซักเคอเบิร์ก และผู้บริหารคนอื่นในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ด้วย เป้าหมายของเขาคืออยากให้เฟซบุ๊กหยุดนโยบายนี้เสีย เขายังบอกด้วยว่า ในความคิดเห็นของเขา โซเชียลมีเดียมีอิทธิพลมาก มากพอจะเปลี่ยนผลการเลือกตั้งได้
จากกรณีเฟซบุ๊กจะไม่ลบโฆษณาจากนักการเมืองที่เผยแพร่ข้อมูลปลอม พนักงานเฟซบุ๊กกว่า 250 ราย เขียนจดหมายเปิดผนึกถึง มาร์ค ซักเคอเบิร์ก แสดงเจตจำนงไม่เห็นด้วยต่อนโยบายนี้
กลุ่มพนักงานให้เหตุผลว่า ถ้าเฟซบุ๊กปล่อยให้มีข้อมูลปลอมบนเฟซบุ๊ก แม้จะเป็นข้อมูลจากนักการเมืองจริงก็ตาม จะทำลายความน่าเชื่อถือของเฟซบุ๊กลงไปอีก แนะนำว่าให้โฆษณาการเมืองอยู่ในมาตรฐานเดียวกันกับโฆษณาอื่นๆ ในเฟซบุ๊ก ต้องจำกัดกลุ่มเป้าหมายของโฆษณาการเมือง และต้องมีนโยบายที่ชัดเจนกว่าโฆษณาทั่วไป
Elizabeth Warren ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจากพรรคเดโมแครต ผู้มีโยบายลดอิทธิพลบริษัทไอทีขนาดใหญ่ ทดสอบเฟซบุ๊กด้วยการซื้อโฆษณาที่มีเนื้อหาว่า เฟซบุ๊ก สนับสนุนการกลับมาลงเลือกตั้งอีกครั้งของโดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐในตอนนี้ และยังแนบภาพที่ทรัมป์ และ มาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก จับมือพบปะกันที่ทำเนียบขาวด้วย
เนื้อหาดังกล่าวไม่เป็นความจริง ซึ่ง Warren ก็รู้ในจุดนี้ แต่เธอกำลังทดสอบว่า เฟซบุ๊กจะมีท่าทีอย่างไรกับโฆษณาการเมืองที่มีข้อมูลปลอม
เบราว์เซอร์ Brave รายงานการสอบสวนพฤติกรรมของบริการขายโฆษณาของกูเกิล ที่รู้จักในชื่อ DoubleClick หรือ Authorized Buyers ที่สร้างรีเควสจากเบราว์เซอร์ของผู้ใช้แล้วยิงไปยังเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ โดยเมื่อผู้ใช้เข้าหน้าเว็บที่ติดตั้งบริการโฆษณาของกูเกิล จะโหลดไฟล์ html จากโดเมน pagead2.googlesyndication.com
ที่ภายในมีโค้ดสร้างสตริงระบุตัวตนผู้ใช้
หลังจากนั้นสตริงนี้จะถูกเติมเข้าไปยังรีเควสของเว็บอื่นๆ เป็นพารามิเตอร์ google_push
ต่อท้าย URL ของผู้ซื้อโฆษณา เปิดทางให้ผู้ซื้อโฆษณาเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเข้าด้วยกันในอนาคต หากผู้ซื้อเหล่านี้ไปเชื่อมโยงฐานข้อมูลเข้าด้วยกัน
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์ออกโฆษณา Surface Laptop 2 ตัวใหม่ใช้พรีเซนเตอร์เป็นนาย Mac Book เนื้อหาเน้นเปรียบเทียบกับคุณสมบัติของ Surface Laptop กับ MacBook ของแอปเปิลกันแบบตรง
ล่าสุดฝั่งกูเกิลก็ออกโฆษณา Chromebook ของตัวเอง ใช้ Bill Nye นักวิทยาศาสตร์ภูมิศาสตร์มาเป็นพรีเซนเตอร์ แคมเปญน่าสนใจคือ “Switch to Chromebook” หรือเปลี่ยนมาใช้ Chromebook นั่นเอง
ตามที่ Facebook เคยประกาศก่อนหน้านี้ โดยเมื่อผู้ใช้งานเห็นโฆษณาในหน้าฟีด แล้วเลือกปุ่ม Why am I seeing this? จากเดิมที่เราจะเห็นข้อมูลคร่าว ๆ ว่า ข้อมูลส่วนตัวใดของเราที่ทำให้เป็นปัจจัยถูกแสดงโฆษณาแบบเจาะกลุ่มนี้ คราวนี้ Facebook ขยายข้อมูลให้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
โดยข้อมูลใหม่ที่เพิ่มเข้ามา จะระบุไปถึงระดับว่าพาร์ทเนอร์หรือบริษัทใด ที่อัพโหลดข้อมูลของเราไปให้ รวมทั้งแบรนด์หรือบริษัทโฆษณาใดที่ใช้ข้อมูลเหล่านี้ ซึ่งมีระบุว่าข้อมูลส่วนตัวเรานั้น มาจากพฤติกรรมใด (เช่นกดไลก์เพจไหน เข้าชมเว็บอะไร) และเราสามารถเลือกกำหนดการตั้งค่าข้อมูลเหล่านี้ได้
Google เปิดตัวฟอร์แมทในการแสดงผลโฆษณาบนเว็บแอปแบบใหม่ที่เรียกว่า Swirl บน Display & Video 360 แพลตฟอร์มการตลาดของ Google ซึ่งช่วยให้แบรนด์และนักการตลาดสามารถนำเสนอโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าได้แบบ 3 มิติที่สามารถกดหรือเลื่อนดูได้ (interactive)
ด้านแบรนด์หรือนักการตลาดสามารถสร้างหรือปรับแต่งโมเดล 3 มิติของสินค้าได้ผ่านทาง Poly แพลตฟอร์ม 3 มิติของ Google โดยเครื่องมือใหม่นี้เริ่มเปิดให้ใช้งานแล้ว
ที่มา - The Keyword
หลังจากที่ลองนำระบบ AR มาแสดงในผลเสิร์ชไปแล้ว ล่าสุด Google เตรียมจะนำเทคโนโลยีนี้มาควบรวมกับการโฆษณาแล้วโดยเริ่มที่ YouTube ก่อนด้วยฟีเจอร์ AR Beauty Try-On
AR Beauty Try-On ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถทดลองลิปสติกบนหน้าตัวเองได้เลยผ่านระบบ AR และกล้องหน้า โดย Google ระบุว่าผลิตภัณฑ์นำมาให้ทดลองผ่าน AR Beauty Try-On จะมีความเหมือนผลิตภัณฑ์จริง เบื้องต้นมีแค่แบรนด์ M·A·C ที่เข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์ ขณะที่ฟีเจอร์นี้ยังเป็นแค่เวอร์ชันอัลฟาและจะถูกนำมาใช้งานกับอินฟลูเอนเซอร์บน Famebit แพลตฟอร์มแบรนด์คอนเทนท์ของ YouTube
เกิดกระแสทำโฆษณาแล้วตีกลับมายังแบรนด์อีกครั้ง เมื่อ Oppo Reno จ้างเพจข่าวสดไลฟ์วิดิโอที่ออกมาในรูปของการรายงานข่าว ท้าพิสูจน์ว่า ศ.ดร.เอกนันท์ ใช้โทรจิตเรียก UFO มาให้ชม ก่อนจะกลายเป็นการขายโฆษณาพลังซูม 60 เท่าของ Oppo Reno รุ่นล่าสุด
แม้ทางเพจจะพยายามเขียนแคปชันให้ขำขัน ดูไม่ซีเรียส แต่ทว่าผู้ชมส่วนใหญ่กลับไม่เห็นด้วย รู้สึกถูกหลอก บ้างก็บอกว่าเสียเวลาชีวิต บ้างก็บอกถูกหลอกให้มาปั่นยอดวิว บางคนถึงกับตั้งข้อสงสัยว่าผิด พรบ. คอม ฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จด้วยหรือไม่เลยด้วยซ้ำ
ทั้งนี้ก่อนการไลฟ์ราว 1 ชั่วโมง ทางเพจข่าวสดมีโพสต์ภาพเชิญชวนให้ชมการไลฟ์สดเรียก UFO นี้ด้วย
เป็นแคมเปญโฆษณาที่อาจเรียกได้ว่า หาเหาใส่หัว พอสมควรกับกรณีแบรนด์เสื้อผ้าชื่อดัง The North Face ร่วมมือกับเอเจนซี่ Leo Burnett Tailor Made ทำแคมเปญให้แบรนด์ The North Face ติดอันดับค้นหาในอินเทอร์เน็ตด้วยการไปเปลี่ยนรูปสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญในวิกิพีเดียให้เป็นรูปที่มีสัญลักษณ์ The North Face อยู่ในรูปด้วย แต่ก็ยังคงเป็นรูปที่มาจากสถานที่เดียวกัน
เช่น ถ้าผู้ใช้งานค้นหาสวิตเซอร์แลนด์ ผู้ใช้ก็จะเจอรูปสวิตเซอร์แลนด์ในวิกิพีเดีย แต่มีนางแบบนายแบบสวมใส่ผลิตภัณฑ์ของ The North Face อยู่ในนั้นด้วย ถือเป็นแคมเปญที่ทำให้แบรนด์มีคนเจอในหน้า Google โดยที่ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มเติมเลย
เวียนมาอีกปีกับการประกาศรางวัล YouTube Ads Leaderboard หรือรางวัลโฆษณาที่ได้รับความนิยมบน YouTube ประเทศไทย ปีนี้มีโฆษณา 10 เรื่องี่มีจำนวนการเข้าชมรวมกันมากกว่า 90 ล้านครั้งในปีที่ผ่านมา ดังนี้คือ
การเปิดให้ใช้แอปฟรี โดยหาเงินผ่านโฆษณาวิดิโอ โดยแลกกับของหรือเงินในแอป เป็นหนึ่งในวิธีที่นักพัฒนาใช้กันเยอะ ล่าสุด Google กระโดดลงมาทำระบบหาเงินผ่านโฆษณาในแอปนี้ด้วยตัวเองแล้วบน Play Console ในชื่อ Reward Products
ฟอร์แมทแรกบน Reward Products คือวิดีโอ ทำให้ผู้ใช้แอปสามารถเลือกได้ว่า จะกดดูวิดิโอหรือไม่ หากดูจนจบจะได้ของรางวัลภายในแอปเป็นการแลกเปลี่ยน โดยแพลตฟอร์มโฆษณาที่ใช้คือ AdMob ร่วมกับพาร์ทเนอร์โฆษณาในเครือข่ายของ Google
นักพัฒนาที่ต้องการใช้ Reward Products สามารถเพิ่มเข้าไปในแอปได้เลยผ่าน Google Play Billing Library หรือเพิ่ม API บางตัวผ่านทาง AIDL ก็ได้ ไม่ต้องใช้ SDK เพิ่มเติม
กูเกิลออกโฆษณาชุดใหม่เพื่อโปรโมต Google Assistant โดยฉายในช่วงการประกาศรางวัลออสการ์ เนื้อหาเป็นการสมมติว่า หากฉากเด่นจากภาพยนตร์ในความทรงจำ มีผลิตภัณฑ์ของ Google Assistant เข้ามาเป็นตัวช่วย สถานการณ์จะเป็นอย่างไร
ภาพยนตร์ที่ถูกเลือกมานำเสนอมีทั้ง 2001: A Space Odyssey, The Hangover, Lady Bird, Scream, Jerry Maguire และ Deadpool โดยต่างนำเสนอฟีเจอร์ตัวช่วยต่าง ๆ ที่กูเกิลมีให้บริการ
ก่อนหน้านี้กูเกิลเคยออกโฆษณาที่ล้อเลียนภาพยนตร์ Home Alone เมื่อปลายปีที่แล้ว เพื่อโปรโมต Google Home
ที่มา: People
Facebook กำลังทำฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้งานสามารถรู้ได้ว่าบริษัทใดที่อัพโหลดชื่อและข้อมูลเบอร์โทรและอีเมลของผู้ใช้เพื่อทำการโฆษณาแบบเจาะกลุ่ม หรือ targeted ad
โดยหน้าตาใหม่ของฟีเจอร์นี้จะมาในปุ่ม Why am I seeing this? เมื่อกดเข้าไปดูจะเห็นรายละเอียดว่า เพราะอะไรเราถึงเห็นโฆษณาชิ้นนี้ พาร์ทเนอร์หรือบริษัทรายใดเป็นคนอัพโหลดข้อมูลของเราให้เขา และอัพโหลดเมื่อไร จากเดิมที่สามารถมองเห็นแค่ว่าแบรนด์อะไรที่ใช้ข้อมูลไปทำโฆษณาเจาะกลุ่ม ด้าน โฆษก Facebook ระบุว่าฟีเจอร์ใหม่นี้มีวัตถุประสงค์คือให้ผู้ใช้เข้าใจการทำงานของผู้ลงโฆษณาว่าเขาสามารถนำข้อมูลผู้ใช้ไปทำอะไรบ้าง ดูภาพหน้าจอการใช้งานได้ที่แหล่งข่าวต้นทาง
Facebook มีวิธีแบ่งประเภทผู้ใช้งานขึ้นอยู่กับความสนใจ เพื่อจะได้นำข้อมูลไปเสนอให้กับผู้ลงโฆษณาเพื่อยิงโฆษณาให้ตรงกับความสนใจของผู้ใช้งาน โดย Facebook มีหน้าเพจ Your ad preferences ให้ผู้ใช้ระบุความสนใจของตัวเอง และยังปิดการตั้งค่าส่วนนี้ได้ด้วย (แต่ก็จะเจอโฆษณาอื่นที่เราไม่สนใจแทน)
ความน่าสนใจคือ ผลวิจัยจากสำนัก Pew พบว่าคนอเมริกันถึง 74% ไม่รู้ว่า Facebook เสนอโฆษณาให้ตรงกับความสนใจ และไม่รู้ว่า Facebook มีอัลกอริทึมแบบนี้อยู่ด้วย
บริษัทโฆษณา Clear Channel ในสต็อกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เป็นเจ้าของป้ายโฆษณาดิจิทัลกว่า 1,000 จุด และตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2018 ที่บริษัทได้ร่วมมือกับรัฐบาลท้องถิ่นและองค์กรอื่นๆ ในเมือง ทำป้ายโฆษณาดิจิทัลให้เป็นช่องทางหนึ่งในการประชาสัมพันธ์สถานที่ให้คนไร้บ้านหาที่พักพิงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาว
ในคืนที่อุณหภูมิหนาวจัด ระบบจะแสดงข้อความบนหน้าจอประชาสัมพันธ์ที่พักพิงได้ เช่น ศูนย์ชุมชน โบสถ์ ซึ่งขอความร่วมมือจากสถานที่ดังกล่าวไว้ก่อนที่จะมีการประชาสัมพันธ์ โดยแบ่งเป็นสองช่วงคือ ประชาสัมพันธ์ที่พักพิงใกล้เคียง กับ เปิดรับอาสาหน่วยงานที่จะเอื้อเฟื้อสถานที่เพิ่มเติม
งานแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ CES 2019 กำลังจะมีขึ้นในสัปดาห์หน้าที่ลาสเวกัส ซึ่งแม้แอปเปิลจะไม่ได้เข้าร่วมงานปีนี้ (และไม่เคยเข้าร่วมด้วย) แต่แอปเปิลก็ขอมีส่วนร่วมนิด ๆ โดยซื้อป้ายโฆษณาบนอาคารสูงในลาสเวกัส พร้อมคำโฆษณาว่า What happens on your iPhone, stays on your iPhone. และปิดท้ายด้วย url เว็บไซต์แนะนำข้อมูลความเป็นส่วนตัว
ประโยคดังกล่าวเป็นการเลียนแบบประโยคที่เมืองลาสเวกัสใช้ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวว่า What happens in Vegas stays in Vegas.
ก็ไม่รู้ว่าแอปเปิลต้องการส่งสาส์นไปหาใครกันแน่
กูเกิลเผยได้ร่วมมือกับดิสนีย์อย่างเป็นทางการด้านโฆษณา ส่งผลให้โฆษณารูปแบบดิจิทัลทั้งหมดของดิสนีย์จะมาอยู่ในกูเกิลโดยมีเทคโนโลยี Google Ad Manager เป็นตัวขับเคลื่อนและกระจายโฆษณาของดิสนีย์ในแพลตฟอร์มต่างๆ ของกูเกิล และช่วยการโฆษณาให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย
ส่วนหนึ่งของข้อตกลงนี้ดิสนีย์และกูเกิลยังวางแผนที่จะทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาโซลูชันการโฆษณาใหม่ๆ ในรูปแบบวิดีโอทั้งบนมือถือและจอเดสก์ทอปซึ่งอาจแตกต่างจากโฆษณาที่ปรากฏบนจอทีวี นอกจากโฆษณาจากดิสนีย์โดยตรงแล้วยังมีโฆษณาจากแบรนด์ ABC, ESPN, Marvel, Pixar และ Star Wars ด้วย
YouTube จะทดลองระบบโฆษณาใหม่ในปี 2019 เป็นการรวมโฆษณาไว้เป็นก้อนเดียวกัน หรือ Ad pod ลดการขึ้นโฆษณารบกวนหลายๆ ครั้งระหว่างคลิป โดยเฉพาะคลิปยาว นั่นหมายความว่า โฆษณาที่ปรากฏก่อนคลิปจะเล่น หรือ Pre- roll ads นั้นจะมีปริมาณมากขึ้น แต่โฆษณาคั่นคลิปจะลดลง
Khushbu Rathi ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ของ YouTube เผยในบล็อกว่า จากการวิจัยพบว่าผู้ใช้มีความรู้สึกเซนซิทีฟ (หรืออาจตีความได้ว่า ไม่ชอบ) กับโฆษณาที่โผล่มากลางคลิป ซึ่งระบบโฆษณาใหม่ที่กำลังจะทดลองนี้จะช่วยให้ผู้ใช้เจอโฆษณาคั่นกลางคันน้อยลง 40% โดยที่ผู้ลงโฆษณาก็ยังคงได้รับประโยชน์อยู่