Mastercard เปิด API ของเครือข่าย blockchain ของตัวเองให้นักพัฒนาและพาร์ทเนอร์ใช้งานแล้ว
ที่ผ่านมา Mastercard เปิด API ให้นักพัฒนาภายนอกใช้งานอยู่ก่อนแล้วบนเว็บไซต์ Mastercard Developers โดยมี API ครอบคลุมบริการหลายอย่าง เช่น ส่งเงินให้กัน, แจ้งเตือนการรูดบัตร, ตรวจสอบการปลอมบัตร ฯลฯ ข่าวนี้คือการเพิ่ม API สำหรับการใช้งาน blockchain เข้ามาอีกตัวหนึ่ง
เดเมียน วอง รองประธานและผู้จัดการทั่วไปประจำ Red Hat ในอาเซียน ระบุว่า ภาคอุตสาหกรรมการเงิน การประกันภัย ต้องขับเคลื่อนตัวเองโดยใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ และทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ๆ มากขึ้น เพราะมีความท้าทายใหม่ เกิดขึ้นมากมาย ลูกค้าคาดหวังกับอุตสาหกรรมการเงินมากขึ้น กฎระเบียบ เงื่อนไขสร้างรายได้มีระยะเวลายาวขึ้น ความกดดันจากการแข่งขัน ฟินเทค บล็อกเชนที่ลดความสำคัญของธนาคารลงไป เป็นปัจจัยบังคับให้สถาบันการเงินต้องเปลี่ยนตัวเอง
Microsoft Garage โครงการส่งเสริมให้พนักงานสร้างแอพนอกเวลางานปกติของไมโครซอฟท์ เปิดตัวโปรเจ็กต์ Script Lab เครื่องมือซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้กับการสร้างส่วนขยาย (Add-in) สำหรับแอพในตระกูล Microsoft Office ด้วยการเปิดให้นักพัฒนาได้ทดลอง JavaScript API ที่มีไว้ให้ Add-in ใช้สั่งงาน Excel, Word หรือ PowerPoint ได้จากหน้าต่างเขียนโค้ดของ Script Lab ภายในแอพข้างต้นแต่ละตัวโดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์เพิ่มเติมเลย
Script Lab จึงจะมีประโยชน์อย่างมากกับผู้ที่กำลังเรียนรู้วิธีการพัฒนา Office Add-in หรือจะนำไปใช้สร้าง Add-in ตัว prototype เพื่อทดสอบการทำงานต่างๆ ก่อนเริ่มพัฒนา Add-in ตัวจริงก็ทำได้เช่นกัน
Apple ได้ออก LivePhotoKit JavaScript API ซึ่งเป็น API สำหรับให้นักพัฒนาทำให้เว็บรองรับการเล่นไฟล์ภาพแบบ Live Photo บนเว็บไซต์
API นี้จะวางให้ player ของ Live Photo อยู่ใน DOM element ซึ่งสามารถปรับแต่งภาพหรือวิดีโอได้ โดยวิธีใช้งานเพียงแค่ฝัง LivePhotoKit ลงในเว็บเพจที่ต้องการ และเปิดใช้งาน JavaScript strict mode โดยภาพ Live Photo จะถูกส่งไปยังเบราว์เซอร์เป็นภาพ JPG และ MOV ไฟล์เดียว
LivePhotoKit API รองรับทั้ง Safari, Chrome และ Firefox บน macOS ส่วนบน Windows รองรับทั้ง Chrome, Firefox, Microsoft Edge และ Internet Explorer 11 โดยรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ API สามารถอ่านได้จากหน้าเว็บ Apple Developer
หลังจากที่ปล่อยให้คู่แข่งอย่าง D-Wave นำหน้าไปหนึ่งก้าวด้วยการเปิดตัวคอมพิวเตอร์ควอนตัมขนาด 2,000 คิวบิต ก็ถึงทีของ IBM ที่จะออกมาเผยถึงโครงการด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมของตัวเองถึง 2 หัวข้อด้วยกัน
กูเกิลประกาศหยุดซัพพอร์ต Google+ Hangouts API ที่เดิมใช้สำหรับวิดีโอคอลล์ในระบบ Hangouts ยุคผูกกับ Google+ ในวันที่ 25 เมษายน 2017 ส่งผลให้แอพที่เรียกใช้ API ตัวนี้จะไม่สามารถใช้งานได้
ตัวแอพ Hangouts ของกูเกิลเองจะยังงานได้ตามปกติ แต่กูเกิลก็ระบุชัดว่าจะเริ่มขยับกลุ่มเป้าหมายของ Hangouts จากลูกค้าคอนซูเมอร์ ไปเน้นการใช้ประชุมในองค์กรแทน
ทิศทางนี้สอดคล้องกับท่าทีก่อนหน้าของกูเกิล ที่ยกเลิก Hangouts on Air ให้ไปใช้ YouTube Live แทน และการไม่บังคับพรีโหลด Hangouts บน Android หลังมีแอพใหม่ Duo/Allo มาแทน
ไมโครซอฟท์เปิดให้ทดสอบ Payment Request API สำหรับ Microsoft Edge เพื่อการใช้จ่ายบนหน้าเว็บทั้งบนพีซีและโทรศัพท์ ผ่านระบบ Microsoft Wallet
ไมโครซอฟท์ชูว่า การเชื่อมต่อระบบจ่ายเงินกับ Microsoft Wallet จะทำให้ผู้ซื้อประหยัดเวลาในการกรอกข้อมูลต่างๆ ด้านตัวระบบ API ได้ถูกออกแบบโดยไมโครซอฟท์และสมาชิกกลุ่ม W3C Web Payments Working Group (รายละเอียดเต็มๆ สามารถดูได้ในที่มาท้ายข่าว)
ผู้ที่ต้องการลองใช้จะต้องติดตั้ง Windows 10 รุ่นทดสอบ 14986 ขึ้นไป ส่วนตัว API รุ่นเสถียร จะมาพร้อม EdgeHTML 15 ใน Windows Creators Update ที่จะมาในปีหน้า
Google Slides แอพสร้างเอกสารนำเสนอของกูเกิล เปิด API ให้เราสามารถนำเข้าข้อมูลจากแอพทางธุรกิจหลายๆ ตัว เช่น Trello, Conga, Lucidchart, Zapier แล้วแปลงเป็นสไลด์ให้เราโดยอัตโนมัติ (จากนั้นค่อยนำไปทำสวยอีกที) ช่วยประหยัดเวลาเรื่องการแปลงข้อมูลด้วยมือลงสไลด์ได้มาก (ในกรณีของ Zapier ที่เป็นคู่แข่งของ IFTTT เราสามารถสร้าง workflow จากแอพอื่นๆ เข้ามาที่ Google Slides ได้เลย)
สำหรับคนที่มีแอพภายในองค์กรอยู่แล้ว และต้องการเชื่อมต่อกับ Google Slides ก็สามารถเขียนโปรแกรมติดต่อกับ API เองได้ รายละเอียดดูได้จาก Google Slides API
ที่มา - The Keyword
บนอินเทอร์เน็ต นอกจากภาพยนตร์ผู้ใหญ่แล้วเราต่างรู้ว่ามีบริการโชว์เว็บแคมออนไลน์ ที่ให้สตรีวาดลวดลายท่าทางต่างๆ ให้ผู้ใช้อีกมุมโลกชมแบบสดๆ ซึ่งสตรีแต่ละนางก็จะมีบุคลิกต่างกันออกไป ล่าสุด เว็บไซต์เสิร์ชเอนจินหาเว็บแคมสดสัญชาติเบลเยี่ยม (ขออนุญาตไม่บอกชื่อ) มีคุณสมบัติการค้นหาคลิปวิดีโอเหล่านี้จากรูปใบหน้าได้แล้ว ในกรณีจำชื่อไม่ได้ เพิ่มเติมจากตัวเลือกการค้นหาอื่น เช่น สัญชาติ สีผม ขนาดหน้าอก กระทั่งรูปแบบการดูแลขนรอบอวัยวะสืบพันธุ์ วิธีการค้นหาคือให้ผู้ใช้อัพโหลดใบหน้าเข้าระบบไปค้นหาได้เลย โดยยืนยันว่าภาพเหล่านั้นจะไม่ถูกเก็บไว้หลังบ้าน
แม้บริษัทรายนี้จะไม่เปิดเผยว่าใช้กลไกใด แต่เท่าที่ TechCrunch พอทราบคือเป็น API นั้นชื่อ Cognitive Services ของ Microsoft ที่สามารถตรวจจับ จดจำ จัดกลุ่มรูปแบบใบหน้ามนุษย์ได้ ซึ่งคิดค่าใช้จ่ายอยู่ที่ใช้ฟรี 30,000 ครั้งต่อเดือน เกินกว่านั้นคิด 1.50 เหรียญสหรัฐฯ ต่อการหา 1,000 ครั้ง รองรับการใช้งาน 10 ครั้งต่อวินาที
บทความนี้มีการทดลองใช้ด้วย ผู้เขียนของ TechCrunch ซึ่งเป็นสุภาพสตรีลองอัพโหลดภาพตนเองขึ้นไป พบว่าเจอผลการค้นหาที่มีความคล้ายคลึงกันถึง 47% เลยทีเดียว
ที่มา - TechCrunch
กูเกิลประกาศซื้อบริษัท Apigee ซึ่งให้บริการสร้าง API ให้กับภาคธุรกิจ รูปแบบของ Apigee คือเข้าไปช่วยองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่อยากเปิด API ให้คนภายนอกเข้าถึงข้อมูลภายในองค์กร สามารถสร้าง API ที่เสถียรและบริหารจัดการได้ง่าย
ตัวอย่างลูกค้าของ Apigee คือร้านค้าปลีก Walgreens ที่เปิด API ให้แอพภายนอกสามารถส่งภาพเข้าไปพิมพ์ที่ร้าน Walgreens สาขาใดก็ได้ (ลูกค้าส่งภาพจากแอพแล้วไปรับที่สาขาได้เลย) และ Prescription API ที่ให้ลูกค้าสามารถซื้อยาเพิ่มผ่านแอพได้ ส่วนลูกค้ารายอื่นๆ ของ Apigee ได้แก่ AT&T, Burberry, BBC เป็นต้น
บริการสร้าง API ของ Apigee จะเข้ามารวมกับ Google Cloud Platform
Yi Technology ผู้ผลิกล้องแอคชั่น Yi ประกาศเปิด API สำหรับการสร้างแอปด้วยตัวเอง โดยเปิด SDK ให้ทั้ง Swift และจาวา
ตัว API สามารถควบคุมการทำงานทั่วไปของตัวกล้อง เช่น การบันทึก/หยุด, เปิด/ปิดจอภาพ, ตั้งเวลา, ตั้งความละเอียดภาพ, ตรวจสถานะของกล้อง
แนวทางการเปิด API เช่นนี้น่าสน เพราะบางคนอาจจะไม่ชอบแอปจากผู้ผลิตในจีนนัก การเปิด API เช่นนี้น่าจะเปิดให้นักพัฒนาภายนอกพัฒนาแอปคุณภาพดีๆ ออกมาได้อีกมาก
ตัว API อยู่ใน GitHub
ที่มา - CNX Software
AIS เปิดโครงการ The StartUp Connect เปิดให้บริษัทใดๆ ก็ได้มาเป็นพาร์ทเนอร์กับ AIS โดยไม่ต้องเสนอผลงานผ่านการประกวด โดยบริษัทต้องมีสินค้าหรือบริการอยู่แล้ว และต้องการเข้ามาต่อยอดธุรกิจกับ AIS ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของ AIS และ Singtel Group กว่า 550 ล้านรายในภูมิภาค
ตัวอย่างสตาร์ตอัพที่ AIS สนใจคือเกม, ระบบชำระเงิน, สังคมออนไลน์, แพลตฟอร์ม on-demand economy, เทคโนโลยีเพื่อธุรกิจท่องเที่ยว (travel tech), ระบบ IoT และ Smart Living เป็นต้น
Red Hat ประกาศซื้อกิจการบริษัท 3scale เจ้าของเทคโนโลยีบริหารจัดการ API สำหรับแอพพลิเคชันทางธุรกิจ (API Management Platform)
บริการของ 3scale จะเป็นคลาวด์สำหรับให้บริการ API ของแอพพลิเคชันที่มีอยู่แล้ว นอกจากช่วยเรื่องการขยายตัว (scaling) รองรับผู้ใช้งานจำนวนมาก องค์กรยังสามารถควบคุมการเข้าถึง API ได้จากทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น สามารถจำกัดการเรียก API ตามสถานะบัญชี, การคิดเงินค่าใช้งาน API, การวิเคราะห์การใช้ API ได้ด้วย
นอกจากการทำลินุกซ์ Red Hat ยังมีธุรกิจด้านแอพพลิเคชันสำหรับองค์กรคือ JBoss, Red Hat Mobile Application Platform และ OpenShift อยู่แล้ว การซื้อ 3scale จึงเข้ามาช่วยต่อยอดธุรกิจเหล่านี้ ให้ทันยุคสมัยที่องค์กรขนาดใหญ่จำเป็นต้องเปิด API ให้กับพาร์ทเนอร์หรือลูกค้าภายนอกองค์กรมากขึ้นเรื่อยๆ
เว็บไซต์ TechCrunch รายงานว่า Facebook ได้เพิ่มความสามารถให้กับ Facebook Live สามารถถ่ายทอดสดได้ 24 ชั่วโมง จากเดิมที่จำกัดไว้เพียง 90 นาที โดยผ่าน API ที่มีชื่อว่า Continuous Live Video
API เหล่านี้จะอนุญาตให้ผู้ผลิตเนื้อหาและออกอากาศมืออาชีพ สามารถถ่ายทอดสดรายงานหรือรายการต่างๆ ผ่านอุปกรณ์มืออาชีพได้ทันที โดยมีบางเว็บเช่น explorer.org เริ่มเอาไปใช้งานถ่ายทอดสดชีวิตของเหยี่ยว Bald Eagle แล้ว
อย่างไรก็ตาม Continuous Live Video API ตัวนี้มีข้อจำกัดคือไม่สามารถกลับมาเล่นซ้ำได้หลังจากจบการถ่ายทอดสด (non-replayable) ดังนั้นจึงอาจไม่เหมาะกับบางสถานการณ์ที่ต้องการการถ่ายทอดสดนานๆ และสามารถนำกลับมาเล่นซ้ำได้ใหม่อยู่ดี (เช่น งานเสวนา เป็นต้น)
ธนาคาร OCBC ของสิงคโปร์ ประกาศเปิด API เพื่อให้นักพัฒนาสามารถเข้าใช้งาน (แบบเดียวกับ Visa) โดยเรียกว่า Connect2OCBC
OCBC ระบุว่า API ที่จะเปิดให้ใช้มี 4 อันหลักในตอนนี้คือ Branch Locator API สำหรับการหาสาขา, ATM Locator API สำหรับการหาตู้ ATM, Smart Card Advisor API สำหรับการแนะนำใช้บัตรเครดิตให้เหมาะสมกับที่ใช้ (เช่น ใช้ที่ร้านอาหาร A จะได้ส่วนลดสูงสุด เป็นต้น) และ Foreign Exchanges Rates API ไว้สำหรับเรียกใช้หาข้อมูลอัตราแลกเปลี่ยน
OCBC ระบุว่ากำลังพิจารณาที่จะเปิด API ใหม่ๆ เรื่อยๆ ใครสนใจสามารถเข้าดูรายละเอียดเพิ่มได้จากเว็บไซต์ของธนาคารครับ
วันนี้ Visa หนึ่งในบริษัทด้านการรับชำระเงินรายใหญ่ของโลก ประกาศเปิดตัว Visa Developer ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่รวมเอา API ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงินทุกประเภทของบริษัท (เท่าที่จะเปิดให้ใช้งานได้) มาให้นักพัฒนาได้ใช้งาน
API ที่เปิด มีตั้งแต่เรื่องของการโอนเงิน การรับชำระ ไปจนถึงอัตราแลกเปลี่ยน ตำแหน่งตู้เอทีเอ็ม และกระบวนการยืนยันการชำระเงินเพื่อป้องกันการโกง (fraud prevention) ต่างๆ
นักพัฒนาสามารถเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ Visa Developer ครับ
หลายเดือนมาแล้วที่ Google เปิดให้ใช้งาน Google Maps Embed API ทำให้การฝังภาพแผนที่ Google Maps ลงในหน้าเว็บทำได้ง่ายๆ หากแต่ยังมีข้อจำกัดว่าไม่สามารถฝังภาพ Google Street View อันเป็นส่วนหนึ่งของ Google Maps ให้แสดงผลบนหน้าเว็บโดยตรงได้ ทว่าตอนนี้ Google ได้ปรับปรุง API ดังกล่าวและทลายข้อจำกัดนั้นแล้ว
ไม่เพียงแต่ภาพถ่าย Google Street View ที่ได้มาจากการเก็บภาพโดยรถยนต์ถ่ายภาพของ Google เองเท่านั้น แต่การฝังภาพถ่าย Photo Sphere ที่มีคนอัพโหลดขึ้นให้ชมได้แบบสาธารณะก็ทำได้เช่นกัน
หลังจากเปิดตัวมากว่า 5 เดือนในงาน Google I/O ที่ผ่านไป วันนี้กูเกิลได้เปิด API ของ Android Auto ให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาแอพลงระบบปฏิบัติการในรถยนต์ของกูเกิลได้แล้วครับ
ณ ตอนนี้ Android Auto รองรับเฉพาะแอพที่ใช้เสียงและข้อความเท่านั้น (audio and messaging apps) โดยในอนาคต ถึงจะรองรับแอพหลากหลายประเภทมากขึ้น
ที่มา - Android Developer Blog via The Next Web
ไมโครซอฟท์เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสาย Windows เข้ามาขอ API ที่ต้องการใช้ในการพัฒนาแอพสำหรับ Windows Store ผ่านหน้าเว็บ Windows Dev Feedback บนหัวข้อ Missing Platform APIs
API ที่ขอนั้นสามารถเป็นได้ตั้งแต่ Windows API เดิมที่ยังไม่อนุญาตให้ใช้บนแอพ Windows Store จนไปถึง API ที่มีอยู่บนระบบปฏิบัติการอื่นแต่ไม่มีให้ใช้บน Windows นอกจากนี้หากต้องการให้ API ตัวไหนได้สิทธิรันนอก sandbox เพื่อให้นำไปใช้งานได้มีประสิทธิผลมากขึ้นก็สามารถขอได้เช่นกัน
หวังว่าโครงการนี้จะทำให้แพลตฟอร์มฝั่งไมโครซอฟท์กลับมาตีตื้นด้านจำนวน/คุณภาพของแอพได้บ้างนะครับ ส่วนนักพัฒนาก็คงจะได้หายอึดอัดกันซักที
กูเกิลเผยว่า Google APIs Client Library for .NET ไลบรารีโอเพ่นซอร์สที่ให้นักพัฒนาสามารถทำแอพบนเดสก์ท็อป แอพแบบ Metro (Windows Store apps) และแอพบน Windows Phone เชื่อมกับบริการของบริษัทได้ เข้าสู่สถานะ GA (general availability) แล้ว หลังจากเปิดให้นักพัฒนาทดสอบรุ่น Beta และ RC (release candidate) มาสักพัก
ไลบรารีนี้รองรับ OAuth 2.0 การอัพโหลดและดาวน์โหลดสื่อมีเดีย และการส่งคำสั่งคราวละมากๆ (batching request)
ใครสนใจสามารถดาวน์โหลดไลบรารีรุ่นล่าสุด 1.8.1 ได้จาก NuGet และศึกษาคู่มือการใช้งาน API ชุดนี้ได้จากเว็บไซต์ Google Developers
Google เดินหน้าพัฒนา Fitness API รองรับการใช้งานอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบสวมใส่เพื่อติดตามสภาพร่างกาย
Fitness API นี้จะทำให้นักพัฒนาสามารถเข้าดูหรือแก้ไขระบบการติดตามสภาพร่างกาย และข้อมูลการทำกิจกรรมออกกำลังกายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านหรือเขียนข้อมูลทั้งข้อมูลดิบและข้อมูลที่ผ่านการแปลงแล้ว
อย่างไรก็ตามยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมอื่นใดว่า Google ตั้งใจจะปล่อย API นี้ออกมาเมื่อไหร่ และยังไม่แน่ว่าจะมาพร้อม Android รุ่นถัดไปหรือมาใน Google Play Service กันแน่
ที่มา - Ubergizmo
YouTube เพิ่มสิทธิการใช้ data API ให้แก่นักพัฒนาภายนอกเพิ่มเป็น 10 เท่า ช่วยเพิ่มโอกาสให้อัพโหลดวิดีโอได้มากขึ้นเป็น 100 เท่าจากเดิม
ตามปกติแล้ว YouTube จำกัดสิทธิการใช้ data API สำหรับนักพัฒนาภายนอก ซึ่งหมายถึงการจำกัดจำนวนครั้งในการอัพโหลดวิดีโอ รวมทั้งจำนวนครั้งเขียนและอ่านข้อมูลของวิดีโอ โดยแต่เดิมนั้น YouTube ให้สิทธิในการใช้งานส่วนนี้นับเป็นหน่วยได้ไม่เกิน 5,000,000 หน่วยต่อวัน แต่ล่าสุด YouTube ได้ปรับเพิ่มตัวเลขดังกล่าวเป็น 50,000,000 หน่วยต่อวัน หรือเพิ่มขึ้น 10 เท่านั่นเอง
วันนี้โซนี่ประกาศเปิดตัว Illumination API สำหรับใช้ควบคุมแถบแสงไฟโปร่งใส (ที่บางรุ่นทำหน้าที่เป็น Transparent Antenna) ที่โซนี่ใส่ไว้ใน Xperia NXT หลายๆ รุ่น เช่น Xperia SP, ZL, ZR, UL, A U, L, S, SL, P, sola, ion, acro HD, go, M, และ M dual ครับ
โดย API ส่วนนี้ ณ ปัจจุบันยังคงมีสถานะเป็น experimental และเอกสารโซนี่ยังปล่อยออกมาไม่มาก (หรือก็คือจำกัดนั่นเอง) อีกทั้งยังไม่มีการสนับสนุนจากโซนี่โดยตรงครับ ถ้าใครเอาไปใช้ก็ต้องลองผิดลองถูกกันเอง
ถ้าจะถามว่าเอาไปทำอะไรได้บ้าง ตัวอย่างที่โซนี่ยกมาคือ เอา Illumination API ไปทำเป็นตัวควบคุมจังหวะของแอพฯ สำหรับเล่นเพลงครับ โดยให้แถบไฟกระพริบตามจังหวะของเพลงครับ
บริการออนไลน์สัญชาติไทย Longdo.COM ซึ่งมีบริการ เช่น Longdo Dict, Longdo Map ได้ปล่อยของหลายอย่างในช่วงปลายปี สรุปรวมได้ดังนี้