Nissan หนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่ขายดีมานับตั้งแต่เปิดตัว Nissan Leaf ได้ไอเดียในการเอาแบตเตอรี่ที่หมดอายุการใช้งานในรถยนต์มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างอื่นต่อ ด้วยโครงการ "The Reborn Light" คืนชีวิตให้แบตเตอรี่กำเนิดใหม่ ส่องแสงสว่างไสวให้ชุมชน
อันที่จริงคำว่า reborn ที่ว่าเกิดใหม่นั้น ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นการเอาแบตเตอรี่ไปทำลายแล้วสร้างขึ้นมาใหม่ หากแต่หมายถึงทำให้แบตเตอรี่ที่ดูเหมือนจะหมดประโยชน์ไร้ค่าแล้ว ให้กลับมาเป็นแหล่งเก็บพลังงานที่สร้างประโยชน์ได้อีกครั้งเสียมากกว่า
เราเห็นข่าวโปรเจ็คติดตั้งแบตเตอรี่สำหรับเมือง อย่าง Tesla Powerpack กันอยู่เรื่อยๆ ล่าสุดมีรายงานว่า Tesla ได้ติดตั้งแบตเตอรี่ดังกล่าวให้กับเทศบาลเมือง Paluan มีประชากรราว 16,000 คน ซึ่งประสบปัญหาไฟฟ้าดับบ่อยมาหลายปี และก่อนหน้านี้มีไฟฟ้าจากรัฐบาลใช้เพียงวันละ 16 ชั่วโมงเท่านั้น
โปรเจ็คนี้ทำโดย Tesla ร่วมกับบริษัทพลังงานทดแทนชื่อ Solar Philippines ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ที่ผลิตไฟได้รวม 2 เมกะวัตต์ และแบตเตอรี่ Tesla Powerpack ความจุ 2 เมกะวัตต์ชั่วโมง โดยแหล่งข่าวระบุว่าระบบนี้สามารถจ่ายไฟได้ตลอด 24 ชั่วโมง และจะลดค่าใช้จ่ายได้ 30 ล้านเปโซฟิลิปปินส์ต่อปี หรือราว 18 ล้านบาท
เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เกิดเหตุไฟไหม้แบตเตอรี่สำรองบนเครื่องบินเที่ยว CZ3539 ของสายการบิน China Southern Airlines ในระหว่างรอออกเดินทางจากกวางโจวไปเซี่ยงไฮ้ ทำให้ผู้โดยสารทั้งหมดต้องอพยพออกจากเครื่อง และส่งผลทำให้เที่ยวบินดังกล่าวต้องล่าช้าเกือบ 3 ชั่วโมง
มีผู้บันทึกวิดีโอระหว่างเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวไว้ได้ โดยในวิดีโอปรากฎว่ามีเปลวไฟลุกไหม้กระเป๋าที่ผู้โดยสารใส่ไว้ในช่องสัมภาระเหนือศีรษะภายในห้องโดยสาร ก่อนที่เจ้าหน้าที่และผู้โดยสารคนหนึ่งจะนำน้ำดื่มและน้ำผลไม้มารดเพื่อดับไฟ ทั้งนี้จากการสืบสวนทราบว่าไฟได้ลุกไหม้แบตเตอรี่สำรองที่ใส่อยู่ในกระเป๋า โดยในขณะนั้นไม่ได้มีการเปิดใช้งานแบตเตอรี่สำรองเพื่อชาร์จไฟให้แก่อุปกรณ์ใดในกระเป๋า
จากปัญหาแร่โคบอลต์และลิเทียมกำลังเป็นที่ต้องการสูงจากกระแสรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากเป็นแร่สำคัญในแบตเตอรี่ ทำให้แอปเปิลตัดสินใจข้ามคนกลาง และไปพูดคุยกับเหมืองโคบอลต์เองโดยตรง สำหรับป้อนแร่ให้กับแอปเปิลในระยะยาว
Bloomberg รายงานข่าวนี้โดยอ้างอิงจากแหล่งข่าวใกล้ชิด โดยเป้าหมายของแอปเปิลคือต้องการโคบอลต์ปีละหลายพันตัน เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 5 ปี ขณะที่แอปเปิลพยายามพูดคุยเจรจากับเจ้าของเหมืองมาได้ปีกว่าๆ แล้ว
หัวใจหลักของรถยนต์ไฟฟ้ามีสองอย่างคือมอเตอร์และแบตเตอรี่ โดยมอเตอร์นั้นไม่ได้มีส่วนประกอบอะไรซับซ้อนมาก แต่กลับกันในการผลิตแบตเตอรี่ที่ต้องใช้แร่สำคัญอย่างโคบอลต์และลิเทียม ซึ่งโลหะเหล่านี้ล้วนมาจากการทำเหมือง เป็นการใช้ทรัพยากรจากธรรมชาติ และเมื่อรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอนาคต ผู้ผลิตรถยนต์ต่างก็พยายามหาแร่ที่จำเป็นดังกล่าวมาเป็นของตัวเองให้มากที่สุด
Tesla เป็นผู้เล่นสำคัญในตลาดรถยนต์ไฟฟ้า เมื่อเดือนธันวาคม 2017 มีรายงานว่า Elon Musk ซีอีโอของบริษัทเดินทางไปยังประเทศชิลี แต่ไม่ได้บอกวัตถุประสงค์ อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันว่าชิลีมีการทำธุรกิจเหมืองลิเทียมใหญ่มาก (เชื่อกันว่าชิลีมีแร่ลิเทียมมากที่สุดในโลก) เหตุผลที่ Elon เดินทางไปก็คงหนีไม่พ้นการเจรจาซื้อแร่ลิเทียมมาเป็นของตนเพื่อผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า
เป็นเรื่องอื้อฉาวส่งท้ายปีที่แล้ว กับกรณีที่แอปเปิลปรับ iPhone ให้ทำงานช้าลงถ้าแบตเตอรี่เริ่มเสื่อม จนบริษัทต้องออกมาขอโทษและปรับลดราคาค่าเปลี่ยนแบตเตอรี่ลง ล่าสุดแอปเปิลยอมถอยสุดๆ จากการเพิ่มฟีเจอร์ให้ผู้ใช้สามารถเลือกได้เองว่าจะปรับลดประสิทธิภาพ iPhone ลงหรือไม่ กรณีที่แบตเตอรี่เริ่มเสื่อม
มีรายงานว่าผู้ใช้ Galaxy Note 8 บางคน พบปัญหาเกี่ยวกับแบตเตอรี่ โดยหากใช้งานจนแบตเตอรี่ในโทรศัพท์หมดเกลี้ยงและเครื่องดับ จะไม่สามารถกลับมาเปิดเครื่องได้อีก แม้พยายามเสียบสายชาร์จไฟก็ตาม
ตัวแทนของซัมซุงยอมรับปัญหานี้ โดยบอกว่ามีลูกค้าร้องเรียนเข้ามาเกี่ยวกับปัญหาระบบชาร์จไฟ และบริษัทกำลังตรวจสอบ ทั้งระบุว่ามีเพียงส่วนน้อยมากๆ ที่พบปัญหา โดยยังไม่ให้รายละเอียดใดๆ เพิ่มเติม
ทางแก้ไขเบื้องต้นสำหรับผู้ใช้งานก็คืออย่าปล่อยให้เครื่องแบตเตอรี่หมดเกลี้ยงจน 0%
ที่มา: Engadget
ประเด็นแอปเปิลแอบทำให้ iPhone ช้าลง เป็นข่าวดังไปทั่วโลก และไม่น่าแปลกใจที่สื่อต่างๆ สอบถามไปยังผู้ผลิตสมาร์ทโฟนค่ายอื่นๆ ว่าได้ทำแบบเดียวกันหรือไม่
แอปเปิลออกจดหมายเปิดผนึกชี้แจง ประเด็น iPhone รุ่นเก่าที่ทำงานช้าลงกรณีแบตเตอรี่เริ่มเสื่อม ซึ่งหลายคนไม่พอใจ และผู้ใช้บางส่วนเริ่มฟ้องร้อง มีรายละเอียดดังนี้
แอปเปิลยอมรับว่าการสื่อสารออกไปของแอปเปิล ทำให้ลูกค้าหลายคนรู้สึกไม่ดี แอปเปิลขอโทษลูกค้าเรื่องนี้ โดยบอกว่ายังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในเรื่องดังกล่าวอยู่มาก ซึ่งชี้แจงทีละประเด็นคือ
เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา Tesla ได้ตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ที่รัฐ South Australia ประเทศออสเตรเลียได้สำเร็จภายใน 100 วันตามที่ Elon Musk พนันไว้ และได้เปิดใช้งานจริงเมื่อต้นเดือนธันวาคม
ล่าสุดมีรายงานว่าประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากฟาร์มแบตเตอรี่นี้จริงๆ เป็นครั้งแรกแล้ว โดยโรงไฟฟ้าถ่านหิน Loy Yang ที่รัฐ Victoria เกิดหยุดทำงานด้วยเหตุบางอย่าง ซึ่งระบบของ Tesla Powerpack สามารถตรวจจับความผิดปกตินี้ได้ และเริ่มจ่ายไฟ 7.3 เมกะวัตต์เข้าไปทดแทนได้ภายในเวลาเพียง 140 มิลลิวินาที (0.14 วินาที)
มีทฤษฎีในหมู่ผู้ใช้กันมานานว่า แอปเปิลทำอะไรสักอย่างกับ iPhone เครื่องเก่าๆ ให้ทำงานช้าลง และเมื่อไม่นานมานี้ มีผู้ใช้รายหนึ่งใน Reddit พบว่า iPhone 6s ของเขาช้าลงมากผิดปกติ แต่เมื่อเขาเปลี่ยนแบตเตอรี่เป็นก้อนใหม่ เครื่องก็กลับมาทำงานปกติดังเดิม
Primate Labs เจ้าของซอฟต์แวร์เบนช์มาร์คชื่อดัง Geekbench ทดสอบเรื่องนี้ โดยการรันเบนช์มาร์คกับ iPhone 6s เครื่องหนึ่งที่ใช้ iOS เวอร์ชันแตกต่างกันไป พบว่าการรันบน iOS 10.2.0 ไม่พบอะไรผิดปกติ แต่ 10.2.1 เริ่มเจอคะแนนตกในบางครั้ง และอาการชัดเจนมากขึ้นเมื่อใช้ 11.2.0
Primate Labs ลองทดสอบแบบเดียวกันกับ iPhone 7 ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเวอร์ชันเหมือนกัน แต่ไม่พบอาการแบบเดียวกันแต่อย่างใด
Tom's Guide เว็บไซต์รีวิวแก๊ทเจ็ทและแนะนำการแก้ปัญหาต่างๆ ได้จับสมาร์ทโฟนเรือธงหลายรุ่นมาทดสอบความเร็วของฟีเจอร์ Fast Charge ที่แทบจะเป็นฟีเจอร์พื้นฐานบนสมาร์ทโฟนในปีนี้
การทดสอบจะแบ่งเป็นสองช่วงคือ % ของแบตเตอรี่ในช่วง 30 นาทีและ 60 นาทีนับจาก 0 โดยอาศัยที่ชาร์จที่แถมมาให้ในกล่อง ยกเว้น iPhone ทั้ง 3 รุ่นในปีนี้ที่ใช้อแดปเตอร์ 29 วัตต์ที่ซื้อเพิ่ม เนื่องจากอแดปเตอร์ที่แถมมาให้ในกล่องไม่รองรับฟีเจอร์ Fast Charge
สถาบันวิจัย SAIT (Samsung Advanced Institute of Technology) ของ Samsung ประสบความสำเร็จในการสังเคราะห์ "ลูกบอลกราฟีน" ซึ่งจะถูกนำมาใช้งานเสริมกับแบตเตอรี่ลิเทียม-ไอออน ช่วยให้แบตเตอรี่ทำงานดีขึ้นทั้งเรื่องการเก็บประจุ และการชาร์จไฟใหม่
ทีม SAIT ระบุว่าการใช้ลูกบอลกราฟีนจะช่วยให้แบตเตอรี่เก็บประจุไฟฟ้าได้มากขึ้น 45% และชาร์จไฟใหม่ได้เร็วกว่าเดิม 5 เท่า (ลดจาก 1 ชั่วโมงลงมาเหลือ 12 นาที) นอกจากนี้ การใช้ลูกบอลกราฟีนก็ยังทำให้สามารถรักษาระดับอุณหภูมิของแบตเตอรี่ในขณะใช้งานและชาร์จไฟไว้ไม่ให้เกิน 60 องศาเซลเซียส ผ่านตามเกณฑ์การใช้งานแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้าด้วย
หากยังจำกันได้ รัฐ South Australia ประเทศออสเตรเลียประสบปัญหาไฟดับบ่อยจนประชาชนเอือมระอา และแสดงความสนใจใช้แบตเตอรี่ Tesla Powerwall กันอย่างล้นหลาม มหาเศรษฐีชาวออสเตรเลีย Mike Cannon-Brookes ก็ได้ท้าพนันไปยัง Elon Musk ซึ่งเขาได้รับคำท้าว่าจะติดตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ขนาด 100 เมกะวัตต์ชั่วโมงให้ภายใน 100 วัน หากทำไม่ได้จะให้ฟรีไปเลย
ล่าสุดฟาร์มแบตเตอรี่ดังกล่าวสร้างเสร็จแล้ว โดยเมื่อวันที่ 29 กันยายนที่ผ่านมา Elon Musk ได้เดินทางไปเปิดโปรเจ็คนี้อย่างเป็นทางการ และเริ่มนับวันจากวันนั้น ซึ่ง Elon ประกาศว่าจะสร้างเสร็จวันที่ 1 ธันวาคม อย่างไรก็ตามการก่อสร้างจริงๆ ได้เริ่มมาก่อนหน้านั้นประมาณครึ่งทางแล้ว แต่ก็ถือว่าทำได้ตามสัญญา
ในงานเดียวกับการเปิดตัว Tesla Semi และ Tesla Roadster 2.0 Tesla Motors ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์อีกตัวแบบเงียบๆ เป็นแบตเตอรี่สำรองในชื่อ Powerbank
ตัว Powerbank มีพอร์ทมาให้ทั้ง micro USB สำหรับแอนดรอยด์และ Lightning สำหรับ iOS โดยรูปทรงเหมือนกับสถานี Supercharger สำหรับชาร์จรถยนต์ โดยแบตเตอรี่ของ Powerbank เป็นรุ่น 18650 (รุ่นเดียวกับที่ใช้บน Model S และ Model X) เซลล์เดียว ความจุ 3,350 mAh และปล่อยไฟสูงสุด 5V/1.5A ราคา 45 ดอลลาร์
ที่มา - Tesla
ปลายเดือนที่แล้ว Elon Musk ออกมายอมรับว่าโรงงาน Gigafactory 1 ประสบปัญหาคอขวดในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับ Model 3 ล่าสุด Kazuhiro Tsuga ซีอีโอพานาโซนิค พาร์ทเนอร์ที่ช่วยแบตเตอรี่ให้ Tesla ออกมายอมรับแล้วว่าเป็นต้นเหตุของปัญหาคอขวดดังกล่าว
ซีอีโอพานาโซนิคระบุว่าปัญหาคือความล่าช้าในการผลิต เนื่องจากกระบวนการผลิตส่วนหนึ่งยังไม่ใช้เครื่องจักร ซึ่งทางบริษัทกำลังอยู่ระหว่างการนำเครื่องจักรมาใช้เพิ่มเติม และยืนยันว่าการผลิต Tesla Model 3 จะกลับมาเร็วมากขึ้น
LG เตรียมสร้างโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใหญ่ที่สุดในยุโรปในประเทศโปแลนด์ปีหน้า ในช่วงที่อุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจำนวนมากออกสู่ตลาด
แม้ว่าผู้ผลิตรถยนต์ยุโรปหลายรายอย่าง Volkswagen Group, Daimler, BMW, Volvo เตรียมจะออกรถยนต์ไฟฟ้า แต่ก็ยังขาดโรงงานขนาดใหญ่สำหรับผลิตแบตเตอรี่ป้อนให้รถยนต์ภายในยุโรป จึงต้องนำเข้าจากจีนและเกาหลีใต้แทน ดังนั้น LG Chem จึงจะลงทุนจำนวน 5,900 ล้าน Zloth (หน่วยเงินโปแลนด์) หรือคิดเป็นเงินกว่า 1,630 ล้านดอลลาร์ สร้างโรงงานใกล้กับเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของ Wroclaw เพื่อผลิตแบตเตอรี่ป้อนให้ในยุโรป
James Dyson ผู้ก่อตั้งบริษัทผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านแบรนด์ Dyson ทวีตข้อความว่าทางบริษัทเตรียมเข้าสู่ตลาดรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่ง Dyson กล่าวว่าเรื่องนี้เป็นสิ่งที่เขาคิดไว้แล้วกว่า 30 ปี
Dyson ได้ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่าตอนนี้เขาได้สร้างทีมพัฒนาแบตเตอรี่ขึ้นมาแล้ว โดยมีวิศวกรกว่า 400 คนอยู่ในทีมนั้น และแบตเตอรี่ของ Dyson พัฒนามาแล้วเป็นเวลากว่า 2 ปีครึ่ง ซึ่ง Dyson เตรียมจะจ้างผู้มีความสามารถเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งลงทุนในการพัฒนารถยนต์กว่า 2.7 พันล้านดอลลาร์ รวมถึงคาดหวังว่าจะเปิดตัวรถยนต์ให้ได้ในปี 2020
ฟีเจอร์ใหม่เกี่ยวข้องกับแบตเตอรี่บน iPhone X และ iPhone 8, 8 Plus เมื่อคืนนี้ นอกจากรองรับการชาร์จไร้สายแล้ว ทั้งสามรุ่นยังรองรับฟีเจอร์ชาร์จเร็ว (Fast-Charging) ด้วย ซึ่งแอปเปิลระบุว่าสามารถชาร์จได้สูงสุด 0 ถึง 50% ได้ในครึ่งชั่วโมง
แต่ทว่าอแดปเตอร์และสาย USB-A ที่ให้มาในกล่อง กลับไม่สามารถจ่ายไฟได้ตามความเร็วข้างต้น ต้องอาศัยหัวชาร์จอแดปเตอร์ที่เป็นพอร์ท USB-C และสาย USB-C to Lightning ที่ขายแยก โดยบนเว็บแอปเปิลสหรัฐ อแดปเตอร์ USB-C มีถึง 3 รุ่นย่อยคือ 87W, 61W และ 29W
ถึงแม้เรื่องราวปัญหาแบตเตอรี่ของ Galaxy Note 7 จะผ่านไปหนึ่งปี แต่ไม่มีวิธีใดดีกว่าสร้างความเชื่อมั่น เมื่อตอนเปิดตัว Galaxy S8/S8+ ซัมซุงได้เปิดเผยการตรวจสอบแบตเตอรี่ 8 รายการ และสำหรับ Galaxy Note 8 นั้น ซัมซุงได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบอีก
ซึ่งซัมซุงได้ให้หน่วยงานอิสระ Underwriters Labs เข้ามาร่วมตรวจสอบกระบวนการเพิ่มขึ้นอีก โดย Sajeev Jesudas ประธานของ Underwriters Labs ยืนยันว่าจากการร่วมตรวจสอบกระบวนการทั้งหมดกับซัมซุงนั้น Note 8 ผ่านเกณฑ์ความปลอดภัยทั้งหมด และสามารถใช้งานได้อย่างสบายใจ
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีประเด็นว่า Elon Musk ทวีตจะติดตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ในรัฐ South Australia ให้ได้ภายใน 100 วัน ไม่งั้นก็จะไม่คิดเงิน เพื่อแก้ปัญหาไฟดับที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง จนเกิดการพูดคุยเจรจาไม่ว่าจะด้านกฎหมาย เงินทุนหรือพาร์ทเนอร์ของภาคส่วนต่างๆ ขึ้น
ล่าสุดการเจรจาลุล่วงแล้ว โดยทาง Tesla ร่วมกับพาร์ทเนอร์ Neoen บริษัทด้านพลังงานจากฝรั่งเศส เซ็นสัญญากับรัฐบาลออสเตรเลีย เพื่อติดตั้ง Powerpack หรือฟาร์มแบตเตอรี่ Lithium-ion ขนาด 129 เมกะวัตต์ชั่วโมง ใกล้กับเมือง Jamestown รัฐ South Australia ร่วมกับฟาร์มพลังงานลมของ Neoen ภายใต้เงื่อนไขติดตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ให้เสร็จภายใน 100 วันตามที่ Musk เคยลั่นวาจาเอาไว้ด้วย
หลังการระเบิดของ Galaxy Note 7 มีสาเหตุสำคัญมาจากแบตเตอรี่ ที่มี Samsung SDI เป็นผู้ผลิตหลัก ล่าสุดผู้บริหารระบุว่าบริษัทกำลังพยายามแก้ปัญหานี้ ทำให้ Samsung SDI จะสามารถผลิตแบตเตอรี่แบบ Solid-State ป้องกันการระเบิดได้ในอีก 1 ถึง 2 ปี
กลไกของแบตเตอรี่ Solid-State คือจะใช้สารอิเล็กโทรไลต์แบบแข็ง (solid) แทนของเหลวที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการจุดประกายไฟหรือระเบิด จากการรั่วไหลของอิเล็กโทรไลต์ ซึ่งผู้บริหาร Samsung SDI ระบุด้วยว่าคู่แข่ง (LG Chemical) ก็กำลังพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ใกล้เคียงกันนี้อยู่ด้วย
หลังเกิดเหตุอื้อฉาวจากกรณีของ Galaxy Note 7 จนต้องเรียกคืนทั่วโลก ทำให้ Galaxy S8/S8+ ที่ออกตามมาเพื่ออย่างน้อยก็กู้ชื่อเสียงที่เสียหายไปก่อนหน้านี้ ซึ่งซัมซุงเองก็เข้มงวดกวดขันเรื่องการทดสอบและความปลอดภัยของ Gaalaxy S8/S8+ มากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเรื่องของแบตเตอรี่
Sangkyu Lee ผู้บริหารซัมซุงระบุว่ามีการปรับปรุงตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบแบตเตอรี่ให้มีพื้นที่มากขึ้นเป็นต้น รวมไปถึงปรับปรุงซอฟต์แวร์ที่ควบคุมแบตเตอรี่ใหม่เช่นกัน ขณะที่ขั้นตอนการทดสอบและตรวจสอบแบตเตอรี่ก็เข้มงวดขึ้นด้วย โดยซัมซุงได้เปิดเผย 8-Point Battery Safety Check ซึ่งเป็นกระบวนการใหม่ที่ถูกนำมาใช้
หลังเหตุการณ์ปัญหาแบตเตอรี่ระเบิดใน Samsung Galaxy Note 7 ทางซัมซุงก็ให้สัญญาว่าจะนำบทเรียนครั้งนี้ไปปรับปรุงกระบวนการผลิตครั้งใหญ่ เริ่มจากเพิ่มการตรวจสอบความปลอดภัยของแบตเตอรี่ 8 ขั้นตอน (8-Point Battery Safety Check) ตั้งแต่การผลิต เพื่อยกระดับความปลอดภัยในสมาร์ทโฟนรุ่นถัดไป
กระบวนการตรวจสอบมีทีมนักวิจัยกว่า 700 คน ทดสอบสมาร์ทโฟนกว่า 2 แสนเครื่อง แบตเตอรี่กว่า 3 หมื่นชิ้น ผลการตรวจสอบปัญหาแบตเตอรี่โดยคนในซัมซุงและผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก พบว่า ปัญหาเกิดจากทั้งการออกแบบและกระบวนการผลิตแบตเตอรี่จากผู้ผลิตแบตเตอรี่สองราย (ไม่เปิดเผยชื่อ)
รัฐ South Australia ที่ประเทศออสเตรเลียประสบปัญหาไฟดับอยู่บ่อยครั้ง จนคนเอือมระอาและเริ่มหาพลังงานทางเลือกมาใช้อย่างจริงจัง โดยเมื่อเดือนตุลาคม 2016 รัฐนี้ได้เกิดเหตุการณ์ไฟดับครั้งใหญ่ บ้านเรือนราว 10,000 หลังคาเรือนไม่มีไฟฟ้าใช้นานกว่า 24 ชั่วโมง จนมีข่าวว่าความต้องการแบตเตอรี่ Tesla Powerwall พุ่งสูงขึ้น 30 เท่าเลยทีเดียว
ล่าสุด Lyndon Rive รองประธานฝ่ายผลิตภัณฑ์พลังงานของ Tesla ได้ให้สัมภาษณ์ว่าจะดำเนินการติดตั้ง "ฟาร์มแบตเตอรี่" (battery farm) หรือที่ Tesla เรียกว่า Powerpack ที่สามารถเก็บไฟได้ 100 ถึง 300 เมกะวัตต์ชั่วโมง ภายใน 100 วัน
หลังจากนั้น Mike Cannon-Brookes มหาเศรษฐีและซีอีโอของ Atlassian บริษัทซอฟต์แวร์ของออสเตรเลียได้ทวีตถามเชิงท้าไปยัง Elon Musk ซีอีโอของ Tesla ว่าเขาจริงจังกับประเด็นนี้มากแค่ไหน ซึ่ง Elon ก็รับคำท้าโดยการตอบกลับไปว่า Tesla จะติดตั้งฟาร์มแบตเตอรี่ความจุรวม 100 เมกะวัตต์ชั่วโมงให้รัฐ South Australia ภายใน 100 วันนับตั้งแต่วันเซ็นสัญญา และถ้าทำไม่ได้จะให้ฟรีไปเลย โดยประโยชน์ของระบบนี้ก็ชัดเจนว่าเป็นแหล่งจ่ายไฟสำรองเวลาไฟดับ หรือช่วยแบ่งเบาภาระของระบบไฟฟ้าหลักเวลามีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงนั่นเอง