สำนักข่าว Bloomberg รายงานว่าบริษัทใหญ่ที่พัฒนาปัญญาประดิษฐ์หลายราย เริ่มใช้แหล่งข้อมูลเพื่อเทรน AI ซึ่งเป็นข้อมูลคุณภาพสูงที่ไม่มีปรากฏในสาธารณะ นั่นคือฟุตเทจวิดีโอของครีเอเตอร์ที่ไม่ได้นำมาใช้งาน
รายงานระบุบริษัทที่พัฒนาปัญญาประดิษฐ์เช่น OpenAI, Google, Moonvalley ได้เจรจากับคอนเทนต์ครีเอเตอร์หลายร้อยราย เพื่อขอใช้ฟุตเทจวิดีโอที่ไม่ได้เผยแพร่สำหรับการเทรนโมเดล AI ในราคา 1-4 ดอลลาร์ต่อฟุตเทจยาว 1 นาที ราคาถูกหรือแพงขึ้นอยู่กับคุณภาพความละเอียด และการผลิต เช่น วิดีโอจากโดรนหรืออนิเมชัน 3D จะมีราคาสูงกว่า
Oxford ประกาศคำแห่งปี 2024 (Word of the Year) คือคำว่า "brain rot" หรือแปลเป็นภาษาไทยสมองเน่า โดยนิยามของ Oxford บอกว่าเป็นภาวะการเสื่อมถอยของสภาพจิตใจ หรือสติปัญญา จากการบริโภคเนื้อหาบางประเภท โดยเฉพาะเนื้อหาออนไลน์ คำนี้ถูกใช้มากขึ้นในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพื่อแสดงความกังวลจากการบริโภคเนื้อหาออนไลน์คุณภาพต่ำในโซเชียลมีเดียมากเกินไป
Andrew Przybylski ศาสตราจารย์แห่ง Oxford University บอกว่าการใช้คำ brain rot ที่มากขึ้น ก็สะท้อนภาพที่พวกเราทุกคนกำลังใช้ชีวิตอยู่นั่นเอง
Facebook ประกาศการเปลี่ยนแปลงสำคัญสำหรับครีเอเตอร์ที่สร้างคอนเทนต์บนแพลตฟอร์ม โดยจะเปลี่ยนมาใช้จำนวนวิว (Views) เป็นตัววัดหลักของประสิทธิภาพคอนเทนต์ (Primary Metric) มีผลทั้งโพสต์เนื้อหา, สตอรี, Reels และวิดีโอ
Views เป็นการนับว่าวิดีโอหรือ Reels ถูกเล่นกี่ครั้ง, โพสต์หรือรูปภาพถูกปรากฏบนหน้าจอกี่ครั้ง วิธีวัดผลด้วย Views นี้เป็นแนวทางเดียวกับ Instagram
Facebook บอกว่าการเปลี่ยนแปลงที่ครีเอเตอร์ต้องรับทราบนั้น สำหรับวิดีโอหรือ Reels วิธีวัด Views ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ Facebook จะเลิกใช้ตัววัดผลการเล่นซ้ำ (Replay) ทั้งหมดจะนับรวมใน Views เลย
The Wall Street Journal มีรายงานพิเศษเกี่ยวกับปัญหาในยุคโซเชียล-อินฟลูเอนเซอร์ เมื่อคู่รักที่แต่งงานและสร้างบัญชีโซเชียลสำหรับลงคอนเทนต์ร่วมกัน จนมีฐานแฟนผู้ติดตาม สามารถทำเงินได้จำนวนมาก แต่เมื่อทั้งคู่ตัดสินใจหย่าร้างกัน การแย่งชิงบัญชีโซเชียลที่เป็นเครื่องมือทำเงินสร้างรายได้จึงเกิดขึ้น
Otis Chandler ผู้ร่วมก่อตั้ง Goodreads แพลตฟอร์มชุมชนแนะนำอ่านหนังสือ เปิดตัวแอปใหม่ Smashing ซึ่งอธิบายได้ง่าย ๆ ว่าเป็น Goodreads เวอร์ชันรวมคอนเทนต์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น ข่าว บทความ โพสต์ในโซเชียล พอดคาสต์ หรืออื่น ๆ
จุดขายหนึ่งของ Smashing คือระบบปัญญาประดิษฐ์ Smashing AI ที่ช่วยให้ผู้อ่านทำความเข้าใจเนื้อหานั้นได้มุมมองที่แตกต่างออกไป เช่น สรุปข้อดีข้อเสีย, นำเสนอในมุมมองคนละด้านหากเป็นบทความการเมือง เป็นต้น
Smashing ยังอาศัยระบบการแนะนำเนื้อคอนเทนต์จากชุมชน ว่ามีคนแนะนำหรือไม่แนะนำบทความนี้จำนวนเท่าใด
ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย Gavin Newsom ลงนามในกฎหมาย AB 2426 กำหนดให้ร้านค้าระบุชัดว่าผู้ซื้อไม่ได้เป็นเจ้าของสื่อดิจิทัลที่ซื้อมาอย่างแท้จริง ครอบคลุมทั้งวิดีโอเกม ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ อีบุ๊ก เพลง และสื่อดิจิทัลอื่นๆ มีผลบังคับใช้ปีหน้า โดยบริษัทที่ละเมิดอาจถูกปรับข้อหาโฆษณาเท็จ
กฎหมายดังกล่าวห้ามไม่ให้ใช้คำโฆษณาที่สื่อถึงการได้ครอบครองเป็นเจ้าของจริง ๆ เช่น ซื้อ แต่ไม่รวมถึงเกมที่โหลดเก็บไว้ได้ถาวร หรือระบุชัดว่าเป็นใบอนุญาตให้เข้าถึงเนื้อหาที่อาจหมดอายุได้ในอนาคต
นิตยสารและเว็บไซต์เกม Game Informer ประกาศปิดตัวถาวร หลังเปิดมาตั้งแต่ปี 1991 (33 ปีที่แล้ว)
Game Informer เริ่มต้นจากเป็นจดหมายข่าวของ FuncoLand ร้านขายเกมในยุคนั้น แล้วพัฒนามาเป็นนิตยสารเกมรายเดือน แต่เมื่อธุรกิจของ FuncoLand ตกต่ำลงในปลายทศวรรษ 90s จนต้องขายกิจการให้กับเครือร้านหนังสือ Barnes & Noble ที่นำ FuncoLand ไปรวมกับร้านขายปลีกซอฟต์แวร์ชื่อ Babbage's และเปลี่ยนชื่อเป็น GameStop
GameStop แยกตัวจาก Barnes & Noble มาเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2002 เจ้าของปัจจุบันของ Game Informer ยังเป็น GameStop ซึ่งช่วงหลังก็ประสบปัญหาเรื่องธุรกิจขายปลีกเกมที่ตกต่ำลง เพราะเกมเมอร์หันไปซื้อเกมแบบดิจิทัลมากขึ้น
YouTube รายงานสถิติของแพลตฟอร์มวิดีโอสั้น Shorts ที่ตอนนี้ตัวเลขการรับชมเฉลี่ยอยู่ที่ 7 หมื่นล้านวิวต่อวัน โดยส่วนโปรแกรมพาร์ทเนอร์ (YouTube Partner Program - YPP) ที่สร้างรายได้ให้กับครีเอเตอร์ ได้เพิ่ม Shorts เข้ามาให้ส่วนแบ่งตั้งแต่ปีที่แล้ว
ปัจจุบัน 25% ของของครีเอเตอร์ที่อยู่ในโปรแกรม YPP นี้ มีรายได้จากโฆษณาบน Shorts สะท้อนการเติบโตอย่างรวดเร็ว ของช่องทางรายได้จากวิดีโอสั้นแนวตั้งนี้ในเวลาเพียง 1 ปี
World Poker Tour หรือ WPT ผู้จัดการแข่งขันไพ่โป๊กเกอร์รายใหญ่ของโลก ประกาศความร่วมมือกับ Papercup บริษัท AI ที่เชี่ยวชาญการพัฒนาระบบพากย์เสียงทับอัตโนมัติ ที่ยังคงจังหวะคำพูดและน้ำเสียงไว้ได้เหมือนต้นฉบับ โดยจะนำบันทึกการแข่งขันโป๊กเกอร์มาพากย์เสียง เพื่อเจาะกลุ่มผู้ชมในลาตินอเมริกา
Papercup บอกว่าคอนเทนต์การแข่งขัน World Poker Tour ที่จะนำมาแปลและพากย์เสียงนี้มีทั้งหมด 184 ตอน ตอนละ 44 นาที รวมกว่า 140 ชั่วโมง โดยจะพากย์เสียงในภาษาโปรตุเกสแบบบราซิล
ก่อนหน้านี้กระบวนการพากย์เสียงทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 6 เดือน แต่ Papercup บอกว่าระยะเวลาในการใส่เสียงด้วย AI จะสั้นลงมาก ทำให้คอนเทนต์การแข่งขัน สามารถเผยแพร่ไปยังต่างประเทศในช่องทางต่าง ๆ ด้วยภาษาท้องถิ่นเร็วมากขึ้นกว่าเดิม
MrBeast ยูทูบเบอร์ชื่อดัง เปิดตัวเลขจำนวนเงินที่เขาได้จากการนำคอนเทนต์ของเขาเอง มารีโพสต์ลงใน X ตามคำชวนของ Elon Musk ซึ่งออกมาสูงน่าสนใจทีเดียว
Jimmy Donaldson หรือ MrBeast โพสต์รายงานสถิติของคลิป $1 Car vs $100,000,000 Car ได้ส่วนแบ่งรายได้โฆษณาที่ 263,655 ดอลลาร์ หรือกว่า 9.3 ล้านบาท มี Impressions 156.7 ล้าน และ Engagements 5.2 ล้าน
อย่างไรก็ตาม Donaldson ให้ความเห็นว่าตัวเลขนี้ค่อนข้างดีเกินกว่าที่ควรเป็น (a bit of a facade) โดยเชื่อว่าผู้ลงโฆษณาเห็นกระแสที่เกิดขึ้น เลยเลือกลงโฆษณาในวิดีโอของเขาโดยเฉพาะ รายได้ที่ได้จึงน่าจะสูงกว่าที่ผู้ใช้งานคนอื่นได้รับกัน
MrBeast ยูทูบเบอร์ชื่อดัง ได้อัปโหลดคลิปรายการของเขาลงใน X เป็นครั้งแรก โดยเลือกคลิป $1 Car vs $100,000,000 Car ที่เคยลง YouTube แล้วมาลงซ้ำ ซึ่งเขาบอกว่าเพื่อตอบคำถามว่าเขาสามารถทำเงินส่วนแบ่งโฆษณาจากการลงวิดีโอใน X ได้มากแค่ไหน จึงทดลองดู และจะแชร์ตัวเลขให้ดูในสัปดาห์หน้า
MrBeast ยูทูบเบอร์ชื่อดัง ตอบโพสต์ของ Elon Musk บน X หลังจากเขาบอกว่าได้อัปโหลดวิดีโอตอนล่าสุดแล้ว โดย Musk สนับสนุนให้เขาอัปโหลดวิดีโอลงแพลตฟอร์ม X ด้วยอีกแห่ง
Jimmy Donaldson หรือ MrBeast ตอบโพสต์ของ Musk แบบตรง ๆ ว่า ต้นทุนการผลิตวิดีโอของเขาอยู่ที่หลายล้านดอลลาร์ ต่อให้ได้ยอดวิวเป็นพันล้านครั้งบน X ส่วนแบ่งที่ได้ก็คิดเป็นเงินเล็กน้อยเท่านั้น เขาจะยอมร่วมทดสอบก็ต่อเมื่อผลตอบแทนมากกว่านี้เท่านั้น
ที่ผ่านมา X มีโครงการจ่ายเงินส่วนแบ่งโฆษณาให้กับครีเอเตอร์ ซึ่งตัวเลขเมื่อเดือนกันยายน X จ่ายเงินไปแล้วรวมกว่า 20 ล้านดอลลาร์
บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บริษัท ไทยบรอดคาสติ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย จะเข้าซื้อหุ้นของบริษัท โคตรคูล จำกัด โดยเป็นการซื้อหุ้นสามัญเดิม และหุ้นสามัญเพิ่มทุน วงเงินรวมไม่เกิน 216 ล้านบาท
หลังจบดีลดังกล่าว เวิร์คพอยท์จะเป็นผู้ถือหุ้นโคตรคูล 49% ส่วนผู้ถือหุ้นเดิมส่วนของโคตรคูลจะถือหุ้นรวม 51%
โคตรคูลเป็นบริษัทผู้ผลิตคอนเทนต์ทางออนไลน์ในแพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยมีศิลปิน ปราโมทย์ ปาทาน เป็นซีอีโอ ซึ่งช่องหลักโคตรคูล มีผู้ติดตามทาง YouTube มากกว่า 3 ล้านบัญชี
YouTube ประกาศขยายการรองรับฟีเจอร์ใส่เสียงพากย์ในภาษาต่าง ๆ ลงคลิปวิดีโอ มีผลกับครีเอเตอร์ทั่วโลก หลังจากทดสอบในกลุ่มจำกัดมาหลายเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งหนึ่งในช่องที่ร่วมทดสอบคือ MrBeast ยูทูบเบอร์ชื่อดัง
การใส่เสียงพากย์ลงในวิดีโอ ครีเอเตอร์สามารถทำได้ทั้งกับวิดีโอใหม่ และวิดีโอที่เคยอัปโหลดไปแล้ว ช่วยให้วิดีโอสามารถเข้าถึงผู้ชมในภาษาต่าง ๆ ง่ายขึ้น ซึ่ง MrBeast บอกว่าจากเดิมทางเลือกคือทำคลิปแยกเป็นเสียงในภาษาต่าง ๆ ตอนนี้สามารถทำได้เลยในคลิปเดียวซึ่งเป็นข้อดีกว่า ส่วน YouTube ก็ให้ข้อมูลว่าหลังการทดสอบ พบว่าวิดีโอที่ใส่เสียงพากย์ภาษาอื่น มีการรับชมเพิ่มขึ้น 15% จากการเลือกชมในภาษาท้องถิ่นนั้น ๆ
The Wall Street Journal รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่า Meta ได้ทำข้อตกลงพิเศษมูลค่าราว 10 ล้านดอลลาร์ ในปีที่ผ่านมากับ BuzzFeed เว็บคอนเทนต์ชื่อดัง เพื่อสร้างคอนเทนต์ลง Facebook และ Instagram รวมทั้งร่วมในการสอนครีเอเตอร์เพื่อพัฒนาคอนเทนต์อีกด้วย
รายงานดังกล่าวสะท้อนว่าแม้ท่าที Facebook จะลดความสำคัญกับเว็บคอนเทนต์ เช่น การหยุดสนับสนุน Instant Articles แต่บริษัทก็ยังร่วมมือกับผู้ผลิตเนื้อหาในรูปแบบอื่นต่อไป
Yahoo! ประกาศซื้อหุ้น 25% ใน Taboola แพลตฟอร์มโฆษณาในรูปแบบการแนะนำคอนเทนต์ สำหรับผู้ผลิตเนื้อหา โดยผลจากดีลดังกล่าว Yahoo! จะให้ Taboola มาเป็นพาร์ตเนอร์ของระบบโฆษณา โดยมีสัญญาเป็นระยะเวลา 30 ปี
ผู้อ่านหลายคนอาจคุ้นเคยหรือเคยผ่านตาบริการของ Taboola อยู่บ้าง โดยจะเป็นชุดลิงก์แนะนำเนื้อหา วางตำแหน่งอยู่ที่ท้ายเนื้อหาในเว็บข่าวหรือเว็บคอนเทนต์
Jim Lanzone ซีอีโอปัจจุบันของ Yahoo! กล่าวว่าบริการของ Taboola จะเข้ามาเติมเต็มรูปแบบบริการโฆษณาที่หลากหลาย และทำให้บริการรวมของ Yahoo! แตกต่าง แต่ผู้ผลิตเนื้อหาได้ประโยชน์ร่วมกัน
ที่มา: Yahoo!
กูเกิลประกาศปิดแผนก YouTube Originals ที่ทำคอนเทนต์เอ็กซ์คลูซีฟ ซีรีส์ สารคดี ภาพยนตร์ ที่มีเฉพาะบน YouTube
YouTube Originals เริ่มต้นในปี 2016 เพื่อเป็นจุดขายให้คนมาสมัครบริการพรีเมียม YouTube Red (ชื่อในตอนนั้นก่อนเปลี่ยนมาเป็น YouTube Premium) ตัวอย่างรายการในยุคแรกๆ ได้แก่ เรียลลิตี้โชว์ของ PewDiePie ไปเจอเหตุการณ์น่ากลัว, ซีรีส์ตลก Sing It!, ซีรีส์โรแมนติก Single by 30 เป็นต้น
รายการที่ดังที่สุดของ YouTube Originals น่าจะเป็นซีรีส์ Cobra Kai (ภายหลังย้ายไปอยู่ Netflix) นอกจากนี้ยังมีรายการพิเศษของ Barack Obama และวง BTS ด้วย
Substack บริการสมัครสมาชิกรับอีเมลข่าวสารแบบเสียเงิน ที่ผู้อ่านต้องจ่ายเงิน ส่วนนักเขียนก็สร้างรายได้โดยตรงผ่านแพลตฟอร์ม ประกาศหลักไมล์สำคัญว่ามีสมาชิก subscription แล้วมากกว่า 1 ล้านคน
แนวคิดของ Substack คือให้ผู้เขียนผู้สร้างคอนเทนต์ โฟกัสที่การสร้างเนื้อหา ส่วนการหาสมาชิกเสียเงิน และการจัดการระบบเทคโนโลยีหลังบ้าน ให้เป็นเรื่องของ Substackk เอง ซึ่งการที่แพลตฟอร์มสื่อมีคนจ่ายเงินให้กว่า 1 ล้านคนนั้น เป็นตัวเลขที่สูงมาก
เป้าหมายถัดไปของ Substack คือการหาสมาชิกให้ได้ 10 ล้านคน โดยจะปรับปรุงเครื่องมือสำหรับผู้สร้างเนื้อหา เชื่อมต่อบริการเสริมต่าง ๆ และสร้างเครือข่ายของผู้สร้างเนื้อหาร่วมกัน
ที่มา: Substack
Alibaba ประกาศเข้าลงทุนใน Qutoutiao ผู้พัฒนาแอปรวมคอนเทนต์สำหรับดูบนมือถือ เป็นเงิน 171 ล้านดอลลาร์ ซึ่งจะทำให้ Alibaba มีหุ้นในบริษัทนี้ราว 4% โดยเป็นการลงทุนในรูปเงินกู้ยืมแปลงสภาพ โดยหลังประกาศข่าวดังกล่าวหุ้นของ Qutoutiao ที่ซื้อขายในตลาดหุ้น Nasdaq อเมริกา ก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น 12%
อินเทลเปิดผลการศึกษา ที่ร่วมมือกับบริษัทวิจัยตลาดโทรคมนาคม Ovum ถึงผลกระทบของเทคโนโลยี 5G กับอุตสาหกรรมบันเทิง โดยประเมินว่า 5G จะสร้างผลกระทบต่อธุรกิจสื่อบันเทิงอย่างมากใน 10 ปีข้างหน้า และสื่อที่ปรับตัวไม่ทันก็จะอยู่ในความเสี่ยง
ผลการศึกษาประเมินว่าแบนด์วิดท์ของ 5G นั้นจะเป็นของวิดีโอถึง 90% และด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นมาก ทำให้คอนเทนต์ที่ใช้ปริมาณข้อมูลสูงจะได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น อาทิ AR, VR และสื่อรูปแบบใหม่ที่จะเกิดขึ้น โดยประเมินว่า 5G จะสร้างรายได้ใหม่ให้กลุ่มสื่อบันเทิงราว 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ จากส่วนแบ่งของรายได้ใหม่ทั้งหมดราว 3 ล้านล้านดอลลาร์
Go-Jek บริการเรียกรถแท็กซี่รายใหญ่จากอินโดนีเซีย (ที่ทำการตลาดในไทยชื่อ GET) ประกาศเข้าลงทุนในสตาร์ทอัพ Kumparan ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผยผ่านกองทุน Go-Ventures โดยบอกว่าเป็นกลยุทธ์ขยายสู่ธุรกิจคอนเทนต์
Kumparan เป็นเว็บไซต์ข่าวและเครือข่ายสังคมของอินโดนีเซีย มีแนวคิดผสมผสานข่าวที่ผู้อ่านร่วมสร้างเนื้อหาขึ้นมาเอง เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สนใจในหัวข้อนั้น ๆ
Go-Jek อาจเริ่มต้นด้วยธุรกิจแชร์รถโดยสาร แต่บริษัทก็ขยายการลงทุนในธุรกิจคอนเทนต์มากขึ้น มีการตั้งสตูดิโอเพื่อผลิตภาพยนตร์ขึ้นมา และเตรียมสร้างแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งไว้รับชมคอนเทนต์ของตนโดยเฉพาะ
YouTube ประเทศไทยเผยงานวิจัยโดยเน้นสื่อสารและให้คำแนะนำไปถึงผู้ประกอบการโทรทัศน์ ระบุผู้ให้การสำรวจส่วนใหญ่ อยากเห็นคอนเทนต์รายการทีวีมาลง YouTube เพิ่ม และจากการทดสอบรายการโทรทัศน์ส่วนหนึ่ง มียอดผู้ชมทางทีวีเพิ่มขึ้น โดยตัวเลขที่เพิ่มขึ้นมาจากคนดูที่เจอคอนเทนต์นั้นบน YouTube
สำนักพิมพ์ New York Times ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์ชื่อดังในสหรัฐฯ ประกาศปรับเปลี่ยนรูปแบบหนังสือพิมพ์ใหม่ โดยจะเอาข้อความจาก Twitter ของผู้รายงานข่าว และเรื่องราวออนไลน์อื่น ๆ มาลงด้วย
NYT ได้ปรับปรุงหน้า A2 และ A3 ของหนังสือพิมพ์ใหม่ ซึ่งแต่เดิมทั้งสองหน้านี้จะเป็นหน้าสรุปข่าวโดยย่อและหัวข้อข่าวตามลำดับได้ถูกย้ายออกไปอยู่หน้าอื่น แทนที่ด้วยข้อความจากโซเชียลมีเดีย, ใจความสำคัญของเรื่องราวต่าง ๆ, คำพูดเด็ดที่ทางสำนักข่าวจะเลือกมาให้ประจำวัน และอื่น ๆ
Facebook, Microsoft, Twitter และ YouTube ร่วมมือกันกำจัดคอนเทนต์ส่งเสริมการก่อการร้ายออกจากแพลตฟอร์ม โดยทำฐานข้อมูลร่วมกันที่จะใช้ระบุเนื้อหา รูปภาพ วิดีโอที่มีลักษณะเข้าข่ายส่งเสริมก่อการร้าย เป็นข้อมูลที่เคยถูกลบออกจากแพลตฟอร์มเหล่านี้มารวมไว้ด้วยกัน เพื่อง่ายต่อการค้นหาและเปรียบเทียบ
วิธีการทำงานของดาต้าเบสนี้ใช้ระบบ digital fingerprint ง่ายต่อการระบุว่าคอนเทนต์นี้เข้าข่ายหรือไม่ และสามารถลบออกได้เร็ว คล้ายกับ PhotoDNA ของไมโครซอฟต์ที่ช่วยระบุว่าภาพใดเป็นภาพอนาจารเด็ก และยังนำไปสู่การสืบสวนคดีอนาจารเด็กได้อีกด้วย
Pew Research สำนักวิจัยสื่อชี้ คนอายุน้อย หรือช่วงอายุระหว่าง 18-29 ปีในสหรัฐฯ จำนวน 42% นิยมเสพข่าวผ่านตัวอักษร (จากออนไลน์) มากกว่าดูคลิปข่าว รองลงมา 38% ชอบดูข่าว และ 19% จะใช้การฟังข่าว
ส่วนคนช่วงอายุ 30-49 ปี อ่านข่าวจากออนไลน์ 40% ดูข่าว 39% ฟังข่าว 20% คนช่วงอายุ 50 - 64 อ่านข่าว 29% ดูข่าวมากถึง 52% และฟังข่าว 17% ส่วนคนอายุ 65 ปีขึ้นไป อ่านข่าวเพียง 27% ดูข่าวมากถึง 58% และฟังข่าว 10%