The New York Times รายงานอ้างอิงคนวงในว่า เฟซบุ๊กกำลังพิจารณามาตรการแบนโฆษณาการเมืองช่วงเลือกตั้งประธานาธิบดี ที่กำลังจะเกิดขึ้นช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่มาตรการนี้ยังอยู่ระหว่างการพูดคุยและชั่งน้ำหนักเพื่อตัดสินใจ
การพูดคุยถึงมาตรการนี้เริ่มมีตั้งแต่ปีที่แล้ว โดยทางเฟซบุ๊กได้พูดคุยกับกลุ่มการเมืองและแคนดิเดตที่ลงสมัครเพื่อรับฟังฟีดแบ็คด้วย แต่เรื่องนี้กลับมาถูกให้ความสำคัญอีกครั้งหลังไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เฟซบุ๊กเจอมรสุมอีกรอบจากท่าทีที่นิ่งเฉยของ Mark Zuckerberg ต่อโพสต์ของทรัมป์ โดยการถกเถียงภายในอยู่ที่ประเด็นว่า การแบนโฆษณาการเมืองเป็นการปิดปากกลุ่มคนบางกลุ่ม หรือปล่อยให้โฆษณา แต่อาจเป็นการเผยแพร่ข้อมูลเท็จและส่งผลต่อการออกเสียงเลือกตั้ง
จากข่าว แอป iOS จำนวนมากเปิดไม่ติด คาดเกิดจาก Facebook SDK
ตอนนี้ Facebook แก้ปัญหาเรียบร้อยแล้ว โดยให้คำอธิบายสั้นๆ ว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงโค้ด ทำให้แอพบางตัวที่เรียกใช้ SDK แครช ซึ่ง Facebook ค้นพบปัญหานี้อย่างรวดเร็วและแก้ไขเรียบร้อยแล้ว พร้อมขอโทษที่ทำให้เกิดความไม่สะดวกขึ้น
เว็บไซต์ The Verge รายงานว่าเหตุการณ์ลักษณะนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก เพราะเคยมีการล่มลักษณะเดียวกันในวันที่ 6 พฤษภาคม 2020 มาแล้ว ทำให้เริ่มมีเสียงเรียกร้องให้นักพัฒนาแอพ "ถอด" Facebook SDK ที่นิยมใช้เพื่อเก็บข้อมูลในแง่การตลาดผ่าน Facebook เพื่อไม่ให้แอพต้องพึ่งพา Facebook มากเกินไป
เมื่อวันที่ 8 ก.ค. ที่ผ่านมา Facebook ออกรายงาน Civil Rights Audit หรือผลการตรวจสอบจากหน่วยงานภายนอกครอบคลุมนโยบายสำคัญของ Facebook เช่น สิทธิพลเมือง, ความเป็นส่วนตัว, ความโน้มเอียงของอัลกอริทึม, Free Speech & Hate Speech
Laura W. Murphy อดีตผู้อำนวยการ ACLU และเป็นผู้นำการสืบสวนทำรายงานชิ้นนี้ร่วมกับ Megan Cacace ทนายความด้านสิทธิพลเมืองสรุปได้ว่า Facebook มีความคืบหน้าที่จะแก้ปัญหาต่างๆ เปรียบเทียบการทำงานของ Facebook กับการปีนเขาเอเวอเรสต์ แต่ก็ไม่ได้ลงทุนมากพอในการหาวิธีรับมือกับความท้าทายทางด้านสิทธิพลเมือง
เว็บไซต์ Recode สรุปประเด็นสำคัญจากรายงาน Civil Rights Audit ไว้ 5 ข้อ
จนถึงตอนนี้ Facebook ถูกบอยคอตจากแบรนด์สินค้าร่วม 900 แบรนด์ แล้ว จากปัญหา Hate Speech โดยชนวนสำคัญมาจากท่าทีของ Facebook ที่นิ่งเฉยต่อโพสต์สนับสนุนความรุนแรงและคุกคามประชาชนของ โดนัลด์ ทรัมป์
ผู้มีบทบาทสำคัญในการชักชวนแบรนด์ให้บอยคอตคือกลุ่มสิทธิพลเมือง เช่น NAACP, Anti-Defamation League รวมตัวกันสร้างแคมเปญ #StopHateForProfit ล่าสุดผู้บริหารระดับสูงของ Facebook อย่าง มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก, Sheryl Sandberg (COO), Chris Cox (CPO), Nick Clegg (รองประธานฝ่ายการสื่อสาร) ก็ได้เข้าพูดคุยกับกลุ่มผู้สร้างแคมเปญแล้วผ่านการประชุมออนไลน์
ทางกลุ่มสิทธิพลเมืองแถลงการณ์ความคืบหน้าการพูดคุยว่ายังคงผิดหวังต่อท่าทีของ Facebook และยังคงไม่ได้รับความมั่นใจว่า Facebook จะแก้ปัญหาและทำตามข้อเรียกร้องของกลุ่มสิทธิฯ และจากการประชุมนี้ ไม่มีอะไรนอกเหนือจากการแสดงออกในเชิงประชาสัมพันธ์
เฟซบุ๊กประกาศแผนการตั้ง Oversight Board ขึ้นมาเพื่อคานอำนาจกับเฟซบุ๊กในแง่ของการกำหนดเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียมาตั้งแต่ปี 2019 ก่อนจะประกาศสมาชิกบอร์ด 20 คนแรก เมื่อกลางปีที่ผ่านมา โดยมีกำหนดเริ่มงานเร็ว ๆ นี้
อย่างไรก็ตามล่าสุด Oversight Board ประกาศว่าจำเป็นต้องเลื่อนการเริ่มงานออกไปจนถึงช่วงราวสิ้นสุดฤดูใบไม้ร่วง (ราวเดือนพฤศจิกายน) โดยไม่ได้ระบุเหตุผล
ปัญหาคือ Oversight Board จะเริ่มงานหลังผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐไปแล้ว (ต้นพฤศจิกายน) ซึ่งเป็นช่วงที่หลายฝ่ายคาดหวังว่าบอร์ดจะเข้ามาช่วยเฟซบุ๊กดูแลเรื่องคอนเทนท์โฆษณาการเมือง หลังเฟซบุ๊กมีปัญหาเรื่องนี้ในการเลือกตั้งปี 2016 ที่ผ่านมา
เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, และเทเลแกรม เริ่มให้สัมภาษณ์กับสื่อต่างๆ ว่าจะหยุดส่งข้อมูลตามคำขอหน่วยงานรัฐบาลฮ่องกง หลังจาก WhatsApp ที่อยู่ใต้เฟซบุ๊กได้ระบุแนวทางนี้เมื่อวานนี้
ทวิตเตอร์ระบุเหตุผลที่ต้องหยุดทำตามคำขอจากฮ่องกงว่ากฎหมายความมั่นคงของฮ่องกงนั้นเพิ่งเปิดเผยออกมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทำให้บริษัทต้องใช้เวลาในการตรวจสอบผลกระทบของกฎหมาย โดยแสดงความกังวลต่อคำหลายคำในตัวกฎหมายว่ากำกวม ตลอดจนกระบวนการผ่านกฎหมายและจุดมุ่งหมายของกฎหมายเองก็น่าวิตก
เทเลแกรมระบุว่าความเป็นส่วนตัวสำคัญต่อคนฮ่องกงในช่วงเวลาเช่นนี้ และจะไม่ส่งข้อมูลผู้ใช้ให้รัฐบาลฮ่องกงจนกว่าจะมีความเห็นร่วมกันต่อความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในฮ่องกงในระดับนานาชาติ
Facebook ร่วมมือกับหน่วยงานดูแลโรงเริียนเอกชนและรัฐบาลในอินเดียหรือ Central Board of Secondary Education (CBSE) เปิดตัวหลักสูตรดิจิทัล ว่าด้วยความปลอดภัยบนโลกดิจิทัล, digital wellbeing และ augmented reality
เฟซบุ๊กเปิดชุดข้อมูล Adversarial Natural Language Inference (ANLI) ชุดข้อมูลสำหรับการทดสอบปัญญาประดิษฐ์ว่าเข้าใจถึงประโยคที่กำลังอ่านอยู่จริงหรือไม่ โดยตัวอย่างประโยคอินพุดนั้นเป็นการลำดับตรรกะ เช่น "โสเครติสเป็นมนุษย์ และมนุษย์ทุกคนต้องตาย" ปัญญาประดิษฐ์ที่ทำงานถูกต้องจะสามารถบอกได้ว่าประโยค "โสเครติสเป็นอมตะ" นั้นขัดแย้งกับประโยคก่อนหน้า ขณะที่ประโยคว่า "โสเครติสต้องตาย" เป็นประโยคที่เห็นพ้องกับประโยคอินพุต
สหรัฐฯ มีผู้ติดโรค COVID-19 เพิ่มสูงอีกครั้ง จนดารา, นักการเมืองออกมาโพสต์รูปสนับสนุนให้ประชาชนสวมใส่หน้ากากอนามัยผ่านทางโซเชียลมีเดีย
ล่าสุด Facebook, Instagram ก็จะแสดงคำเตือนในโพสต์แรกของหน้าฟีด เตือนให้ผู้ใช้งานสวมใส่หน้ากากอนามัยเสมอ พร้อมลิงค์ข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสจาก CDC ด้วย โดยการแสดงคำเตือนนี้จะมองเห็นเฉพาะผู้ใช้งานในสหรัฐฯ เท่านั้น
PlayStation เป็นรายล่าสุดที่เข้าร่วมแคมเปญ #StopHateForProfit และประกาศบอยคอตศการจ่ายเงินโฆษณาบน Facebook และ Instagram โดยนอกจากโฆษณาแล้ว PlayStation ยังระงับการทำกิจกรรมบนทั้ง 2 แพลตฟอร์ม ซึ่งรวมถึงการโพสต์คอนเทนท์ปกติด้วย และการบอยคอตของ PlayStation จะมีไปจนถึงสิ้นเดือนนี้
แม้ตอนนี้ Facebook จะกำลังถูกกดดันอย่างหนักจากแบรนด์ใหญ่ไม่น้อยกว่า 400 แบรนด์ จากการเพิกเฉยต่อโพสต์ Hate Speech ของทรัมป์โดยอ้าง Free Speech ทว่า The Information รายงานอ้างอิงพนักงาน Facebook ระบุว่า Mark Zuckerberg มองว่าการบอยคอตนี้จะสิ้นสุดและโฆษณาจากบริษัทเหล่านี้จะกลับมาในไม่ช้า
Facebook แถลง พบแอปพลิเคชั่นภายนอกยังสามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานได้ แม้ผู้ใช้จะไม่ได้เข้าใช้แอปภายนอกนั้นๆ มาเกิน 90 วัน และทางบริษัทแก้ไขปัญหาแล้ว
Facebook ซุ่มพัฒนาและเปิดตัวแอปพลิเคชั่น Lasso แอปลิปซิงค์ที่ตั้งใจปั้นมาแข่งกับ TikTok ได้ปีครึ่ง ล่าสุด Facebook จะปิดแอปนี้ลงในวันที่ 10 ก.ค. นี้
Lasso เปิดใช้งานมาแล้วหลายประเทศ คือ โคลอมเบีย, เม็กซิโก, สหรัฐอเมริกา, อาร์เจนตินา, ชิลี, เปรู, ปานามา, คอสตาริก้า, เอลซัลวาดอร์, เอกวาดอร์และอุรุกวัย ข้อมูลจาก Sensor Tower ยังระบุด้วยว่า Facebook ยังเพิ่มการรองรับภาษาฮินดีที่พูดกันมากในอินเดียเข้าไปใน Lasso ด้วย แสดงให้เห็นว่ามีแผนจะขยายอินเดีย ซึ่ง Facebook ยังไม่ออกมาพูดอะไรถึงสาเหตุที่ปิดแอป
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของสหราชอาณาจักร (Competition and Markets Authority หรือ CMA) ออกรายงานผลการศึกษาแพลตฟอร์มออนไลน์และโฆษณาดิจิทัล (online platforms and digital advertising) พบว่า Google และ Facebook มีอำนาจเหนือตลาดโฆษณาดิจิทัล แต่กฎหมายในปัจจุบันไม่สามารถจัดการได้
รายงานของ CMA ระบุว่าตลาดโฆษณาดิจิทัลของสหราชอาณาจักรในปี 2019 มีมูลค่า 14 พันล้านปอนด์ (ประมาณ 5.4 แสนล้านบาท) ซึ่ง 80% ของเม็ดเงินธุรกิจนี้ถูกครอบครองโดย Google และ Facebook
หากแยกย่อยตามประเภทธุรกิจ Google ครองสัดส่วนโฆษณา search ราว 90% (มูลค่าตลาด 7.3 พันล้านปอนด์) และ Facebook ครองสัดส่วนโฆษณาแบบแสดงผล (display ads) ราว 50% (มูลค่าตลาด 5.5 พันล้านปอนด์)
จนถึงตอนนี้ มีธุรกิจแห่บอยคอต Facebook จากปัญหา Hate Speech ร่วมกว่า 400 แบรนด์แล้ว ตัวอย่างแบรนด์ใหญ่ๆ คือ Coca-Cola, Starbucks, Verizon ชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดการบอยคอตในวงกว้างคือ Facebook นิ่งเฉยต่อโพสต์คุกคามผู้ประท้วงของ โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ไม่ลบออก และไม่แปะป้ายเตือนว่าเป็นเนื้อหารุนแรง
เฟซบุ๊กออก Hobbi แอปทดลองที่เก็บงานศิลปะหรืองานอดิเรกต่าง ๆ คล้ายกับ Pinterest เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ล่าสุดเฟซบุ๊กปิดบริการแอปนี้ไปแล้ว
แอปนี้ออกโดยทีม New Production Experimentation (NPE) และทดสอบให้บริการเฉพาะในสหรัฐ ทว่าข้อมูลจาก Sensor Tower บริษัทวิเคราะห์แอปมือถือคาดว่า Hobbi มียอดดาวน์โหลดแค่ราว 7,000 ครั้งเท่านั้น ขณะที่ Apptopia ระบุว่ายอดดาวน์โหลดแอปนี้ต่ำกว่า 1 หมื่นครั้ง
ก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กก็เคยออกมาบอกว่าผลิตภัณฑ์จาก NPE จะมีการเปลี่ยนแปลงเร็วมาก และพร้อมจะปิดทิ้งหากเสียงตอบรับจากผู้บริโภคไม่ค่อยดี
เว็บไซต์ Axios อ้างว่าได้เห็นเอกสารภายในของไมโครซอฟท์ ที่ระบุว่าบอยคอตการลงโฆษณาใน Facebook มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคมแล้ว
เอกสารนี้อ้างอิงโพสต์ของ Chris Capossela ประธานฝ่ายการตลาด (CMO) ของไมโครซอฟท์ที่โพสต์ในระบบ Yammer ภายในบริษัท ระบุว่าไมโครซอฟท์หยุดจ่ายเงินโฆษณาในสหรัฐอเมริกาให้ Facebook/Instagram ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม และจะขยายนโยบายนี้ไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลกด้วย
Capossela ยังระบุในโพสต์ว่าไมโครซอฟท์หารือไปยังฝ่ายบริหารของ Facebook ถึงวิธีแก้ไขปรับปรุงตัวเอง เพื่อให้ไมโครซอฟท์กลับไปลงโฆษณาอีกครั้ง ซึ่ง Capossela คาดว่าไมโครซอฟท์จะหยุดลงโฆษณาไปจนถึงอย่างน้อยเดือนสิงหาคม
Facebook เปิดตัวบริการ fan subscription ในสหรัฐฯ และอังกฤษ มาสองปีแล้ว เป็นช่องทางสร้างรายได้เพิ่มให้บล็อกเกอร์และครีเอเตอร์ โดยแฟนๆ จ่ายค่าสมาชิกรายเดือน 4.99 ดอลลาร์ เพื่อเข้าถึงเนื้อหาพิเศษและได้ badge ติดบนโปรไฟล์ด้วย ล่าสุด Facebook ขยายบริการนี้ไปยังประเทศอื่นเพิ่มคือ ออสเตรเลีย, บราซิล, แคนาดา, เม็กซิโก และ ไทย
Viber แอพแชท-วิดีโอคอลล์ยอดนิยมอีกตัว (เป็นบริษัทลูกของ Rakuten มาตั้งแต่ปี 2014) เข้าร่วมการบอยคอต Facebook แต่ไม่ใช่แค่เพียงถอดโฆษณาออกจาก Facebook/Instagram เหมือนแบรนด์อื่นๆ เท่านั้น เพราะ Viber ถึงขั้นถอดฟีเจอร์หรือการเชื่อมต่อ Facebook ทั้งหมดออกจากแอพตัวเองด้วย
Viber บอกว่าก่อนหน้านี้ใช้เทคโนโลยีของ Facebook หลายอย่าง เช่น Facebook Connect, Facebook SDK รวมถึง GIPHY ที่ Facebook เพิ่งซื้อกิจการมาหมาดๆ ซึ่งฟีเจอร์เหล่านี้จะถูกถอดออกจากแอพ Viber ทั้งหมด
รอกันมานานสำหรับ Facebook dark mode บนมือถือ ล่าสุดเริ่มปล่อยให้ใช้บนมือถือ iOS แล้ว หลังจากเปิดให้ใช้บนเวอร์ชั่นเดสก์ทอปมาร่วมเดือน อย่างไรก็ตาม ยังมีแค่ผู้ใช้ iOS จำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้ใช้ dark mode โดยสามารถมองเห็นได้ที่เมนู Settings & Privacy
ก่อนหน้านี้ Facebook ปล่อย dark mode ใน WhatsApp มือถือ และ Messenger แล้ว
Starbucks คือแบรนด์ใหญ่ล่าสุดที่ร่วมบอยคอตโซเชียลมีเดียจากปัญหา Hate Speech โดยประกาศหยุดลงโฆษณาบนโซเชียลทุกแพลตฟอร์ม ไม่ใช่แค่ Facebook เท่านั้น
Starbucks เขียนในคำแถลงการณ์ว่า เราต้องทำมากกว่านี้ เพื่อที่จะสร้างชุมชนออนไลน์ที่เป็นมิตร ผู้นำธุรกิจและผู้กำหนดนโยบายต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นได้จริง ทางบริษัทจะหยุดการโฆษณาบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียทั้งหมดชั่วคราว และจะพูดคุยกับพันธมิตรสื่อ, องค์กรณ์สิทธิต่างๆ เพื่อหาทางหยุดยั้ง Hate Speech
สัปดาห์ที่ผ่านมาเราเห็นข่าว แบรนด์สินค้าหลายราย เช่น North Face, Patagonia, Verizon ระงับการลงโฆษณาใน Facebook ประท้วงที่ไม่สามารถจัดการปัญหา hate speech ได้
รอบวันที่ผ่านมา มีอีก 2 แบรนด์ยักษ์ใหญ่ของโลกคือ Unilever และ Coca-Cola ที่ประกาศหยุดลงโฆษณาในโซเชียลทั้งหมด (ไม่ใช่แค่ Facebook) เพื่อประท้วงเช่นกัน
Unilever ใช้มาตรการแรงคือจะหยุดจ่ายเงินโฆษณาบนโซเชียล (ที่ระบุชื่อคือ Facebook, Instagram, Twitter) ไปจนถึงอย่างน้อยสิ้นปีนี้ (มีผลเฉพาะงบโฆษณาของ Unilever ในสหรัฐ) โดยจะนำงบโฆษณาเหล่านี้ย้ายไปลงสื่อประเภทอื่นแทน
หลังจาก Mark Zuckerberg ยืนยันเสียงแข็งไม่ลบโพสต์ของ Donald Trump มานานเกือบเดือน โดยอธิบายแนวทางของ Facebook ว่ามีแค่ 2 ทางคือลบ-ไม่ลบเท่านั้น ไม่มีแปะป้ายเตือนแบบ Twitter
วันนี้ Zuckerberg ประกาศนโยบายใหม่ของ Facebook ว่าจะแปะป้ายให้กับคอนเทนต์ที่มีปัญหา แต่บริษัทตั้งใจไม่ลบเพราะเป็นคอนเทนต์ที่ควรค่าแก่การเป็นข่าวให้สาธารณชนรับทราบ (newsworthy content) ถือเป็นทางการเลือกตรงกลางระหว่างการลบ-ไม่ลบ ที่ถูกวิจารณ์อย่างหนัก
Verizon ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรคมนาคมรายใหญ่ในอเมริกาเข้าร่วมขบวนการบอยคอต ระงับการลงโฆษณาบน Facebook ประท้วงที่ Facebook ไม่จัดการ Hate Speech ได้ดีพอ
โดย Verizon ถือเป็นบริษัทรายล่าสุด และเป็นรายใหญ่ที่สุดที่เข้าร่วมบอยคอต โดยก่อนหน้านี้ที่บอยคอต Facebook ไปแล้วมี The North Face, Eddie Bauer แบรนด์เสื้อผ้า, ค่ายหนัง Magnolia Pictures, แบรนด์ไอศครีม Ben & Jerry, Patagonia, REI
Facebook ออกฟีเจอร์ใหม่ จะแสดงหน้าต่างแจ้งเตือน หากกำลังจะแชร์บทความที่มีอายุมากกว่า 3 เดือน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ใช้มีข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเนื้อหานั้นๆ ก่อนที่จะแชร์ออกไปจริงๆ
ปัญหาเรื่องความหลากหลายทางเชื้อชาติของบุคลากรในบริษัทไอทีนับเป็นประเด็นที่ถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด และยิ่งถูกจับตามองมากขึ้นหลังจากเหตุการณ์ของ George Floyd
แม้ว่าบริษัทไอทีพยายามโปรโมทความหลากหลายของบุคลากรในบริษัท รวมไปถึงประกาศเพิ่มพนักงานผิวดำมาหลายครั้ง แต่หากพิจารณาจากรายงานความหลากหลายทางเชื้อชาติของแต่ละบริษัท เราจะพบว่า สัดส่วนคนผิวดำในบริษัทไอทียังถือว่าน้อย โดยเฉพาะในตำแหน่งระดับสูง