ปัญหาการ์ดจอขาดแคลน และถูกแย่งชิงโดยบ็อตหรือ scalper ยังไม่ยุติลงง่ายๆ ซึ่งร้านค้าปลีกออนไลน์ก็มีวิธีการป้องกันที่แตกต่างกันไป
ล่าสุดมีคนพบว่าเว็บไซต์ของร้าน Best Buy ยังมีการ์ดจอหลายรุ่นในสต๊อก แต่จำกัดการขายเฉพาะคนที่เป็นสมาชิกโปรแกรม Totaltech แบบเสียเงินปีละ 199.99 ดอลลาร์เท่านั้น
Totaltech เป็นสมาชิกแบบพรีเมียมของ Best Buy ลักษณะเดียวกับ Amazon Prime โดยจ่ายเงินเพื่อได้สิทธิพิเศษบางอย่าง เช่น การส่งฟรี, การส่งเร็วภายใน 2 วัน, บริการขอคืนสินค้าได้นานขึ้นเป็น 60 วันหลังซื้อ หรือได้สินค้าราคาสมาชิก
ร้านค้าบนเว็บไซต์ Amazon.co.jp มีรายการลิสต์ขายกล่องสุ่มการ์ดจอ ราคาตั้งแต่ 100-125 ดอลลาร์ หรือ 3,300 ถึง 4,200 บาท มีทั้งตระกูล GeForce RTX 3000 สูงสุด RTX 3090 หรือตระกูล Radeon RX 6000 รุ่นสูงสุด RX 6900 XT ไล่ลงไปจนถึงตระกูล GTX 900 / RX 300 และรุ่นอื่นๆ ซึ่งแม้จะคืนสินค้าและขอคืนเงินไม่ได้ แต่กล่องสุ่มการ์ดจอเหล่านี้ก็ขายหมดอย่างรวดเร็ว
กล่องสุ่มมี 4 ระดับคือ “GOOD BOX” ที่ระบุว่ามีการ์ดจอ RTX 3090, RTX 3080 Ti, RTX 3070 Ti, RTX 3060 Ti, RX 6900 XT, RX 6800, RX 6700 XT, RX 6600 XT อยู่ด้วย โดยจะเป็นการ์ดจอใหม่ แต่รุ่นอื่นที่เหลือจะมีทั้งการ์ดจอใช้แล้ว และการ์ดจอใหม่ปนกัน
ซัมซุงเปิดตัว Exynos 2200 ใช้จีพียูใหม่ Xclipse สถาปัตยกรรม RDNA 2 โดยไม่มีเบนช์มาร์คใดๆ ออกมาพร้อมกัน ทำให้ประเมินได้ยากว่าประสิทธิภาพดีแค่ไหน
ล่าสุดมีเบนช์มาร์คโผล่ในฐานข้อมูล Geekbench ของมือถือรหัส SM-S908B (น่าจะเป็น Galaxy S22 Ultra รุ่นขายตลาดนานาชาติ) มีเฉพาะคะแนนฝั่งจีพียู Xclipse 920 ทดสอบการรัน OpenCL ออกมาดีที่ 9,143 คะแนน
หลังจากซัมซุงเลื่อนเปิดตัว Exynos 2200 โดยบอกว่าจะเปิดตัวพร้อม Galaxy S22 วันนี้ซัมซุงเปลี่ยนใจอีกรอบ เปิดตัว Exynos 2200 ผ่านหน้าเว็บไซต์โดยไม่มีงานแถลงข่าว
ของใหม่ที่สำคัญที่สุดของ Exynos 2200 คือจีพียู Xclipse ที่ใช้สถาปัตยกรรม AMD RDNA 2 ที่รอกันมานาน (เซ็นสัญญาตั้งแต่ปี 2019) รองรับฟีเจอร์ใหญ่ๆ ทั้ง ray tracing และ variable rate shading (VRS) ที่เคยมีเฉพาะบนพีซีกับคอนโซล
ซัมซุงบอกว่าชื่อ Xclipse มาจาก X (Exynos) + eclipse หมายความว่าจะเป็นจุดสิ้นสุดเกมมือถือยุคเดิม ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ที่น่าตื่นเต้น แต่ก็ยังไม่ได้เผยตัวเลขเบนช์มาร์คใดๆ ออกมา
Colette Kress ซีเอฟโอของ NVIDIA ไปพูดที่งานสัมมนา Needham Growth Conference ให้ความเห็นว่า สถานการณ์จีพียูขาดตลาดจะเริ่มกลับมาดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2022
Kress ไม่ได้ระบุเหตุผลชัดเจนว่าทำไมสถานการณ์ของ NVIDIA ถึงจะเริ่มดีขึ้น แต่เว็บไซต์ Tom's Hardware ประเมินว่าน่าจะมาจากปัจจัยการเปิดตัว GeForce RTX 40 (โค้ดเนม Lovelace) ซึ่งควรจะเปิดตัวครึ่งหลังของปี 2022 ตามรอบการออกจีพียูใหม่ทุก 2 ปีของ NVIDIA
Tom's Hardware คาดว่า Lovelace จะใช้กระบวนกาผลิต N5 ของ TSMC ที่ลงทุนสร้างโรงงานเพิ่มมาตั้งแต่ปีที่แล้ว (GeForce RTX 30 Ampere ใช้โรงงานซัมซุง) ทำให้เราน่าจะได้เห็นจำนวนสินค้าของ Lovelace มีพร้อมขายมากขึ้นในช่วงปลายปีนี้
Fidelity Super Resolution หรือ FSR เป็นระบบอัพสเกลภาพของ AMD ที่ใช้อัลกอริทึมในการอัพเสกลก่อนหน้านี้ระบบยังมีข้อจำกัดคือยังต้องทำงานร่วมกับผู้พัฒนาเพื่อปรับใช้ระบบนี้กับเกมโดยเฉพาะ แต่ AMD ก็เตรียมออกระบบใหม่ ชื่อ Radeon Super Resolution หรือ RSR ที่จะรองรับเกมมากขึ้น และโชว์วิดีโอใหม่ ที่เปิดเผยประสิทธิภาพเพิ่มเติม และระบุช่วงที่จะเปิดตัวระบบนี้ เป็นภายในไตรมาสแรกของปี 2022
NVIDIA เปิดตัวการ์ดจอ RTX 3080 รุ่นแรม (GDDR6X) 12GB เพิ่มจากก่อนหน้านี้ที่แรมสูงสุด 10GB แถมเพิ่มแกน CUDA เป็น 8960 แกน จากเดิม 8704 แกน และมีแบนด์วิธเพิ่มขึ้นเป็น 912 GB/s จากเดิม 760.3 GB/s เนื่องจาก Memory Bus ที่เพิ่มเป็น 384 bit จาก 320 bit ด้านการกินไฟ NVIDIA ยังแนะนำซัพพลาย 750W อยู่ แต่ตัวการ์ดเองจะใช้ไฟ 350W เพิ่มจากรุ่นเดิมที่ 320W
AMD เพิ่งเปิดตัว Radeon RX 6500 XT การ์ดจอรุ่นเล็กราคา 199 ดอลลาร์ หวังมาแก้ปัญหาการ์ดจอขาดตลาดในปัจจุบัน
ประเด็นที่น่าสนใจคือ 6500 XT ถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพด้านขุดเหมืองน้อยลงตั้งแต่แรก เพื่อให้ชาวเหมืองไม่สนใจซื้อไปใช้งาน การเปลี่ยนแปลงสำคัญมี 2 เรื่องคือ
สองปัจจัยนี้ทำให้การ์ดไม่เหมาะกับการขุดเหมือง ซึ่งต้องใช้หน่วยความจำเยอะและมีแบนด์วิดท์กว้าง (การขุด Ethereum ต้องใช้หน่วยความจำมากกว่า 4GB) ในขณะที่แรม 4GB นั้น AMD บอกว่าเพียงพอสำหรับเกม AAA ส่วนใหญ่แล้ว
NVIDIA โชว์ภาพการ์ดจอ GeForce RTX 3090 Ti ก่อนเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในเดือนมกราคมนี้ ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลราคาและสเปกละเอียดออกมา
ข้อมูลที่ NVIDIA เปิดเผยคร่าวๆ คือสมรรถนะของการประมวลผลทศนิยม (FP32) อยู่ที่ 40 TFLOPS หรือเพิ่มขึ้น 12% จาก 3090 รุ่นท็อปสุดในปัจจุบัน, อัพเกรดมาใช้แรม GDDR6X แบนด์วิดท์สูงขึ้นเป็น 21 Gbps แต่ยังมีขนาด 24GB เท่าเดิม
ในงาน CES เมื่อคืนนี้ AMD เปิดตัวการ์ดจอโน้ตบุ๊กในตระกูล AMD Radeon RX เพิ่มอีกสองชุด ชุดแรกเป็นตระกูล RX 6000S ออกแบบมาเพื่อโน้ตบุ๊กรุ่นบางเบา เน้นด้านประหยัดพลังงาน และประสิทธิภาพต่อวัตต์
NVIDIA เปิดตัว GeForce RTX 3080 Ti และ RTX 3070 Ti สำหรับโน้ตบุ๊ก หลังจากเปิดตัวเวอร์ชันเดสก์ท็อปไปตั้งแต่กลางปี 2021
การเปิดตัว 3080 Ti ทำให้เราได้เห็นจีพียูสาย NVIDIA ที่แรงที่สุดบนโน้ตบุ๊ก (ก่อนหน้านี้ตัวแรงสุดคือ 3080 ธรรมดาไม่มี Ti) แต่เบนช์มาร์คของ NVIDIA ใช้เทียบกับจีพียูเจนก่อนหน้าคือ 2080 Super แทน คงต้องรอผลการเบนช์มาร์คจากที่อื่นๆ ว่าเทียบกันระหว่าง 3080 และ 3080 Ti แล้วต่างกันอย่างไร
ส่วน 3070 Ti นั้น NVIDIA บอกว่าเร็วขึ้นจาก 2070 Super ถึง 1.7x และสามารถเล่นเกม FPS ความละเอียด 1440p ตั้งค่า Ultra ได้ที่ 100 FPS
อินเทลประกาศในงาน CES 2022 ว่าเริ่มส่งมอบชิป Arc ที่เป็นชิปกราฟิกแยกให้กับผู้ผลิตแล้ว นับว่าเป็นไปตามแผนที่เคยประกาศไว้ว่าจะเริ่มทำตลาดชิป Arc ต้นปี 2022
การประกาศครั้งนี้อินเทลระบุว่ามีคอมพิวเตอร์กว่า 50 รุ่นทั้งเดสก์ทอปและโน้ตบุ๊กเตรียมใช้งานชิป Arc โดยมีผู้ผลิตรายหลักๆ เข้าร่วมครบถ้วน เช่น Lenovo ก็ระบุว่าจะเริ่มใช้ชิป Arc กับ Lenovo Yoga 7i แต่ยังไม่ได้ระบุเวลาวางจำหน่ายจริง
ที่มา - Intel
AMD เปิดตัวการ์ดจอ RDNA 2 รุ่นเล็ก RX 6500 XT รองรับเทคโนโลยี ray tracing ผลิตบนเทคโนโลยี 6nm ของ TSMC ต่างจาก Radeon RX 6000 ตัวอื่นที่ผลิตบนเทคโนโลยี 7nm ของ TSMC พร้อมระบุกับเว็บไซต์ PC World ว่า RX 6500 XT จะเป็นการ์ดจอ RDNA 2 รุ่นสุดท้ายของเจ็นเนอเรชั่นนี้
RX 6500 XT สัญญาณนาฬิกาอยู่ที่ 2.6GHz มี Compute Unit พร้อม Ray Accelerators 16 ตัว วีแรม GDDR6 ความจุ 4GB แคช อยู่ที่ 16MB (Infinity Cache) มุ่งเป้าเล่นเกมความละเอียด 1080p รองรับ real-time ray tracing ที่น่าจะต้องใช้งานคู่กับ FidelityFX Super Resolution (FSR) หรือระบบ Radeon Super Resolution ระบบอัพสเกลใหม่ที่ทำงานในระดับไดรเวอร์ของ AMD ที่จะรองรับจำนวนเกมมากกว่า FSR
NVIDIA เปิดตัวจีพียูรุ่นเล็กสำหรับโน้ตบุ๊ก 3 รุ่นคือ GeForce RTX 2050 (อ่านไม่ผิดครับ เป็นซีรีส์ 20 ไม่ใช่ 30) และ GeForce MX570/MX550
จีพียูตัวเด่นที่สุดของชุดนี้คือ GeForce RTX 2050 มี CUDA core จำนวน 2048 คอร์, แรม GDDR6 4GB คาดว่ามันคือการนำเอาชิป Turing TU106 เดิมมาวนขายใหม่ กระบวนการผลิตยังเป็น 12 นาโนเมตรของเก่า เพื่อจับตลาดล่างลงมาจาก GeForce RTX 3050 สำหรับโน้ตบุ๊กราคาประมาณ 25,000 บาท แต่ยังได้ฟีเจอร์กลุ่ม RTX อย่างการทำ ray tracing และ DLSS อยู่ด้วย
ไมโครซอฟท์ประกาศฟีเจอร์ใหม่ของ DirectX 12 คือ Video Encoder เปิด API ให้ใช้จีพียูช่วยเร่งความเร็วการเข้ารหัสวิดีโอได้แล้ว ส่งผลให้แอพจำพวกตัดต่อหรือแปลงไฟล์วิดีโอทำงานได้เร็วขึ้น
DirectX 12 มี API สำหรับถอดรหัสวิดีโอ (Video Decoder) อยู่ก่อนแล้ว การเพิ่ม API สำหรับเข้ารหัสวิดีโอด้วยจีพียูมา ย้ายงานประมวลผลไปที่ฮาร์ดแวร์ ย่อมช่วยทำให้ประสิทธิภาพของแอพเพิ่มขึ้น
เบื้องต้นยังรองรับ codec สองตัวคือ H264 และ HEVC ใช้งานได้กับจีพียู 2 ค่ายคือ Intel (Ice Lake ขึ้นไป) และ NVIDIA (GeForce GTX 10 ขึ้นไป) ส่วนจีพียูฝั่ง AMD จะตามมาในไตรมาส 2/2022
เว็บไซต์ The Verge สัมภาษณ์ Larry และ Stu (ไม่ระบุนามสกุล) เจ้าของบัญชีทวิตเตอร์ @Falcodrin และแอดมินชุมชน Discord ชื่อเดียวกัน ที่รันบ็อตค้นหาสต๊อกซีพียู, จีพียู GeForce/Radeon, เครื่องเกมคอนโซล PS5/Xbox Series X ที่หาซื้อได้ยากมากในปัจจุบัน
โมเดลธุรกิจของ Falcodrin คือรันบ็อตหาข้อมูลสต๊อกสินค้าจากหน้าร้านออนไลน์ต่างๆ แล้วแจ้งเตือนสมาชิกในชุมชน โดยเป็นลิงก์ affiliate ที่ Falcodrin จะได้ส่วนแบ่งเล็กน้อยจากยอดซื้อ
เอเอ็มดีเปิดตัวการ์ดกราฟิกตระกูลสำหรับเซิร์ฟเวอร์ AMD Instinct MI200 โดยชุดแรกมีสองรุ่นย่อยได้แก่ MI250 และ MI250X เป็นแบบโมดูล (MI210 แบบการ์ด PCIe จะเปิดตัวภายหลัง) มีจุดเด่นอยู่ที่การรองรับแรม HBM แบบ ECC ความจุถึง 128GB ใหญ่กว่ารุ่นปัจจุบันถึง 4 เท่าตัว
เอเอ็มดีระบุว่าการ์ดตระกูล MI200 มีความเปลี่ยนแปลงสำคัญ 3 อย่าง ได้แก่
อินเทลมีแผนการใหญ่กับจีพียูตระกูล Xe โดยแบ่งมันออกเป็น 4 รุ่นย่อยตามแต่ละตลาด ได้แก่
ไมโครซอฟท์จับมือ AMD ออกการ์ด Radeon RX 6900 XT รุ่นพิเศษ Halo Infinite Limited Edition เป็นลายเกราะทหาร Mjolnir รุ่นใหม่ของเนื้อเรื่องในเกมภาคนี้ พร้อมตัวเลข 117 รหัสประจำตัวของ Master Chief อย่างไรก็ตาม การ์ดตัวนี้ไม่มีขายทั่วไป แต่จะใช้เป็นรางวัลสำหรับแคมเปญเปิดตัวเกมช่วงนี้เท่านั้น
เมื่อพูดถึง Halo ทุกคนคงนึกถึง Xbox เป็นหลัก แต่ช่วงหลังไมโครซอฟท์ปรับนโยบายการออกเกมให้ลงทั้ง Xbox และพีซี ออกเกมชุด Halo: The Master Chief Collection ลงพีซีครบทุกภาค และพอมาถึง Halo Infinite (นับเป็นภาค 6) ก็จะออกทั้งบน Xbox และพีซีพร้อมกัน
NVIDIA ประกาศอัพเกรดเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการคลาวด์เกมมิ่ง GeForce Now เพิ่มตัวเลือกเป็นจีพียู RTX 3080 ให้เล่นเกมภาพสวยๆ ได้ลื่นๆ กว่าใคร
NVIDIA ระบุว่ารองรับการเล่นเกมความละเอียด 1440p ที่ 120FPS บนพีซีและแมค ถ้าหากต้องการ 4K ที่ 60 FPS จำเป็นต้องใช้บนเครื่อง NVIDIA Shield เท่านั้น ส่วนซีพียูก็อัพเกรดเป็น AMD Ryzen Threadripper Pro เพื่อให้ได้สมรรถนะสูงสุดเช่นกัน
การอัพเกรดเครื่องของ GeForce Now รอบนี้ทำให้บริการคลาวด์เกมมิ่งของ NVIDIA มีสมรรถนะสูงที่สุด เหนือกว่าคู่แข่งทั้ง xCloud ของไมโครซอฟท์และ Google Stadia โดย NVIDIA โฆษณาว่าเป็นวิธีอัพเกรดกราฟิกเครื่องที่สะดวกที่สุด และสเปกเหนือกว่าค่าเฉลี่ยโน้ตบุ๊กจากสถิติของ Steam ถึง 70 เท่า
เราเห็น NVIDIA เปิดตัว GeForce RTX 3050/3050 Ti สำหรับโน้ตบุ๊กมาได้สักพักใหญ่ๆ แต่การ์ดสำหรับเดสก์ท็อปยังไร้วี่แวว แม้มีข่าวลือมาตั้งแต่ปีที่แล้ว สาเหตุน่าจะมาจากข้อจำกัดซัพพลายเชน ทำให้ NVIDIA ตัดสินใจเลื่อนการ์ดรุ่นราคาต่ำออกไป หันไปผลิตการ์ดราคาแพงขายให้ทันก่อน
ล่าสุดเริ่มมีข่าวลือจากบัญชี @kopite7kimi ที่เคยมีประวัติปล่อยข่าวสาย NVIDIA แม่นยำมาหลายครั้ง ระบุว่าเราจะได้เห็น GeForce RTX 3050/3050 Ti กันในเร็วๆ นี้
หลังจาก ซัมซุงเซ็นสัญญากับ AMD ในปี 2019 เราก็เห็นข้อมูลออกมาเรื่อยๆ ว่า Exynos รุ่นเรือธงปี 2022 จะใช้จีพียู AMD ที่เป็นสถาปัตยกรรม RDNA 2 รุ่นใหม่ล่าสุดในปัจจุบัน
ล่าสุด ซัมซุงประเทศจีนออกมาโพสต์ข้อมูลเองผ่าน Weibo ว่า Exynos รุ่นหน้าจะรองรับ Ray Tracing ด้วย ซึ่งจะเป็นการรองรับ Ray Tracing ครั้งแรกบนสมาร์ทโฟน
NVIDIA ออกไดรเวอร์จีพียู GeForce สำหรับ Windows 11 อย่างเป็นทางการ เตรียมรับ Windows 11 ตัวจริงที่จะปล่อยในวันที่ 5 ตุลาคมนี้
ไดรเวอร์ตัวนี้รองรับ DirectX 12 Ultimate ซึ่งมีใช้ทั้งบน Windows 10/11, รองรับฟีเจอร์ Auto HDR ของ Windows 11, ฟีเจอร์การจัดการหน้าต่างและหลายหน้าจอของ Windows 11, การรัน CUDA บน Windows Subsystem for Linux (WSL)
อินเทลประกาศฟีเจอร์ด้านการ upscaling กราฟิกด้วย AI ของตัวเองชื่อ XeSS (Xe Super Sampling) ในลักษณะเดียวกับ DLSS ของฝั่ง NVIDIA (ฝั่ง AMD มี FidelityFX Super Resolution แต่ไม่ได้เป็น AI ช่วย)
XeSS ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ภาพพิกเซลข้างเคียง ภาพจากเฟรมก่อนหน้า มาช่วยสร้างภาพที่ความละเอียดสูงขึ้นเป็น 4K โดยใช้เทคนิค neural network ไม่ต้องประมวลผลแบบเนทีฟ 4K ที่กินแรงเครื่อง
อินเทลยืนยันข่าวจีพียูตัวใหม่ Intel Arc จะจ้าง TSMC ผลิต ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์ IDM 2.0 ที่มีทั้งการจ้างคนอื่นผลิต และเปิดโรงงานของตัวเองรับจ้างผลิตให้คนอื่น
ข่าวนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะจีพียูเซิร์ฟเวอร์รหัส Ponte Vecchio (Xe-HPC) ก็มีบางส่วนที่จ้าง TSMC ผลิตอยู่ก่อนแล้ว การที่ Intel Arc (Xe-HPG) จะจ้าง TSMC ผลิต "ชิ้นส่วนจำนวนหนึ่ง" (significant elements) ก็ไปในทิศทางเดียวกัน กระบวนการผลิตมีทั้งแบบ 5 และ 6 นาโนเมตร (N6/N5)