NTT DOCOMO ประกาศความร่วมมือกับมหาวิทยาลัย Meiji และบริษัท H2L เปิดตัวเทคโนโลยีต้นแบบที่สามารถสร้างรสชาติเลียนแบบขึ้นมาได้ โดยอาศัยข้อมูลของรสชาติอาหารที่เชื่อมต่อผ่านแพลตฟอร์ม FEEL TECH ของ DOCOMO
FEEL TECH เป็นแพลตฟอร์มที่จำลองการส่งต่อข้อมูลประสาทสัมผัสทั้ง 5 (รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส) ระหว่างผู้ใช้งาน ซึ่งเทคโนโลยีล่าสุดของ DOCOMO นี้ เป็นการส่งต่อรสชาติอาหาร โดยอาศัยข้อมูลประมาณ 25 ตำแหน่ง เพื่อจำลองการสร้างรสชาติขึ้นมาจาก 5 รสชาติพื้นฐาน (หวาน เปรี้ยว เค็ม ขม และอูมามิ) ด้วยของเหลว 20 ชนิด ทำให้ได้รสชาติที่ใกล้เคียงต้นแบบมากขึ้น และไม่ได้อาศัยแค่คำบรรยาย
การนำหุ่นยนต์มาใช้ในภาคส่วนบริการและร้านอาหารเป็นวิธีที่ภาคบริการมองว่าจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานและให้บริการได้เร็วขึ้น รวมทั้งช่วยให้พนักงานสามารถบริการลูกค้าได้อย่างเต็มที่เพราะมีหุ่นยนต์ช่วยทำงานอื่น ๆ เช่น เสิร์ฟอาหาร เก็บโต๊ะ นอกจากนี้ หุ่นยนต์ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้กับร้านนั้น ๆ ว่าเป็นร้านที่ทันสมัยและเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้
ข้อมูลจากสหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติเผยว่าหุ่นยนต์สำหรับส่วนการบริการขายได้ราว 121,000 เครื่องเมื่อปีที่แล้ว ตัวอย่างเช่น ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดที่ชื่อว่า White Castle ที่ใช้หุ่นยนต์ Flippy 2 ส่งอาหารในร้านค้ากว่า 350 สาขาและวางแผนจะใช้เพิ่มอีก 100 แห่ง
มหาวิทยาลัยเมจิและบริษัทเครื่องดื่มสัญชาติญี่ปุ่น Kirin ร่วมกันพัฒนาช้อนและชามที่ทำให้ผู้รับประทานอาหารรู้สึกว่าอาหารมีรสชาติเค็มขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ก็ได้ร่วมมือกันพัฒนาตะเกียบสร้างรสเค็มเสมือนไป
ช้อนและชามมีส่วนที่สร้างกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ซึ่งจะส่งผ่านพื้นผิวของช้อนและชามเพื่อเข้าไปสู่อาหารและแตกตัวเป็นไอออนอย่างโซเดียมคลอไรด์ที่ไปกระตุ้นการรับรสให้ผู้บริโภครู้สึกว่าอาหารมีรสชาติเค็มขึ้นกว่ารสชาติจริง 1.5 เท่าโดยไม่ต้องเติมเกลือลงในอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดการบริโภคเกลือ
ศาสตราจารย์ Homei Miyashita นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น ร่วมมือกับ Kirin บริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มรายใหญ่ พัฒนาตะเกียบคอมพิวเตอร์ ที่สามารถสร้างรสเค็มเสมือนขึ้นได้ ช่วยลดการบริโภคเกลือ
อุปกรณ์มีสองส่วนคือสายรัดข้อมือ ที่ทำหน้าที่เป็นคอมพิวเตอร์เล็กคอยประมวลผล และตะเกียบที่เชื่อมต่อกับสายรัด เพื่อสร้างกระแสไฟฟ้าแบบอ่อน ให้มีไอออนโซเดียมลงไปในอาหาร ทำให้เมื่อกินอาหารเข้าไปจะได้รสสัมผัสความเค็ม โดยผลวิจัยพบว่าได้ความเค็มมากขึ้น 1.5 เท่า
งานวิจัยนี้เกิดจากปัญหาการบริโภคเค็มในญี่ปุ่น ซึ่งมีค่าเฉลี่ยที่ 10 กรัมต่อวัน สูงกว่าตัวเลขที่องค์การอนามันโลกแนะนำสองเท่า ทั้งนี้ศาสตราจารย์ Miyashita และ Kirin คาดว่าจะเริ่มขายตะเกียบต้นแบบนี้ได้ในปีหน้า
นักวิจัยที่มหาวิทลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลีย นำโดยศาสตราจารย์ Matthew Hill, ด็อกเตอร์ Mahdokht Shaibani และศาสตราจารย์ Mainak Majumber ทำการปรับปรุงแผ่นคั่นสำหรับแบตเตอรีลิเธียม-ซัลเฟอร์ ได้สำเร็จ โดยทำให้การถ่ายโอนลิเธียมไออนทำได้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพรวมถึงอายุการใช้งานของแบตเตอรี
ศาสตราจารย์ Matthew Hill ระบุว่าการใช้แผ่นคั่นแบบ nanoporous interlayer ทำให้ส่งผ่านลิเธียมได้เร็วขึ้น ส่งผลให้การชาร์จและปล่อยกระแสทำได้เร็วขึ้นและแก้ปัญหาเดิมที่ทำให้แบตเตอรีชนิดนี้มีอายุสั้น โดยทำให้สารโพลีซัลไฟด์ที่เกิดจากปฏิริยาเคมีและทำให้อายุการใช้งานสั้นลง เดินทางระหว่างแอโนดและแคโทดไม่ได้
ศาสตราจารย์ Homei Miyashita นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเมจิ ประเทศญี่ปุ่น ผลิตทีวีลิ้มรสได้ Taste the TV (TTTV) ที่มาพร้อมกับสเปรย์รสชาติสังเคราะห์ 10 รสชาติ ที่จะพ่นรสชาติผสมกันออกมาบนฟิล์มอนามัยบนหน้าจอ ให้คล้ายกับอาหารตามที่ตั้งค่าไว้ แล้วให้ผู้ใช้งานสามารถเลียเพื่อชิมรสบนหน้าจอได้ (หรือจริงๆ เอานิ้วป้ายมาชิมก็น่าจะเวิร์ค)
ศาสตราจารย์ Miyashita ระบุว่าหน้าจอนี้จะสามารถสร้างรูปแบบปฏิสัมพันธ์ใหม่ของผู้คนในช่วงโควิด-19 จุดประสงค์คือให้ผู้คนสามารถรับประสบการณ์เหมือนทานอาหารที่ร้านในอีกซีกโลกด้วยตัวเอง แม้อยู่แต่บ้านก็ตาม แต่ไม่ได้พูดถึงการระบาดของโรคจากการเลียหน้าจอต่อกันแต่อย่างใด
นักวิทยาศาสตร์หญิงชาวเยอรมัน Rebecca Weiss ชนะรางวัลออกแบบ Dyson Awards ด้วยไอเดียเครื่อง COSO เครื่องอุ่นไข่เพื่อคุมกำเนิดชายชั่วคราว หลังเธอตรวจพบสารตั้งต้นของมะเร็งปากมดลูกที่อาจเกิดจากการใช้ยาคุมกำเนิดฝ่ายหญิงและปรึกษาว่าจะให้ฝ่ายชายคุมกำเนิดแทน
เธอพบว่านอกจากถุงยางแล้ว ผู้ชายยังมีตัวเลือกการคุมกำเนิดที่จำกัดกว่าผู้หญิง ที่มียาคุมกำเนิดทั้งแบบทานปกติ แบบฉุกเฉิน และแบบฝัง เธอจึงอยากเพิ่มทางเลือกคุมกำเนิดให้ผู้ชาย และแบ่งเบาภาระการคุมกำเนิดที่ตกอยู่กับฝ่ายหญิง โดยออกแบบเครื่อง COSO ขึ้นมา
AIS Business และ AIS The StartUp จัดงาน NATIONAL DIGITAL CTO FORUM 2022 รวมผู้นำวงการเทคโนโลยีและสตาร์ทอัพ อัพเดตเทรนด์เทคโนโลยี โอกาสและความท้าทายของวงการสตาร์ทอัพที่กำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่สอง
ย้อนกลับไปราวปี 2011 ถือเป็นช่วงเวลาเริ่มต้นของวงการสตาร์ทอัพในไทย เรามองเห็นการจัดการแข่งขันประชันไอเดีย สร้างโมเดลธุรกิจเพื่อตอบโจทย์ pain point ของลูกค้าและสังคม เรามองเห็นการระดมทุนอย่างคึกคักและไทยก็ถือว่ามีศักยภาพเป็นศูนย์กลางของสตาร์ทอัพในอาเซียนได้
แนวคิดของหน่วยงาน AIS the StartUp เองเริ่มก่อตั้งขึ้นในปลายปี 2011 ซึ่งเป็นช่วงระยะแรกของวงการสตาร์ทอัพพอดี โดยเอไอเอสเล็งเห็นแล้วว่าประเทศไทยไม่สามารถขับเคลื่อนด้วยสินค้าอย่างเดียว แต่ขับเคลื่อนด้วยบริการและต้องเป็นบริการดิจิทัลด้วย จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ผู้บริหารเริ่มโครงการ Startup ขึ้นมา
จนถึงตอนนี้ผ่านมาสิบปี ก้าวสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพ มีการเปลี่ยนแปลงจากสิบปีที่แล้วอย่างไร และต้องเตรียมความพร้อมเข้าสู่ทศวรรษที่สองของสตาร์ทอัพได้อย่างไร Blognone จะพาไปหาคำตอบที่งานเสวนาออนไลน์ครั้งนี้
The Verge เว็บไซต์ข่าวเทคโนโลยีชื่อดังได้รวบรวมความล้มเหลวของสิ่งประดิษฐ์และเรื่องราวต่างๆ ในโลกเทคโนโลยีในรอบทศวรรษนี้ไว้ 84 อย่าง ผมเห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอา 10 อันดับแรกมาให้อ่านกัน ดังนี้
ทรูมูฟ เอช เตรียมนำเครือข่ายสู่ 5G ที่ให้ความเร็วได้สูงถึงระดับกิกะบิต ประกาศลงทุน 57,000 ล้านบาทด้านโครงข่าย เตรียมความพร้อมสู่ยุค 5G
ในงานสัมมนา F8 ของ Facebook ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 - 19 เมษายนที่ผ่านมามีการพูดถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่ทาง Facebook กำลังพัฒนาอยู่ หนึ่งในโปรเจ็กต์ที่ผมคิดว่าน่าทึ่งมากจนอยากบอกต่อคือ "ระบบคำพูดไร้เสียง" (Silent Speech System) ซึ่งอาศัยเซ็นเซอร์ในการรับและส่งสัญญาณข้อมูลให้สมองโดยไม่ต้องออกเสียงเลย
Solar Roadways หรือถนนจากแผงโซลาร์เป็นนวัตกรรมจากบริษัท Solar Roadways มีฐานที่ไอดาโฮ ทางบริษัทหมายมั่นปั้นมือจะให้เป็นถนนแห่งอนาคตชนิดที่จะทำให้ลืมถนนแอสฟัสต์แบบเดิมๆ ล่าสุดทำสัญญากับหน่วยงานจราจรในเมือง Missouri มีแผนจะสร้างถนนแผงโซลาร์นี้ที่ Route 66 เป็นที่แรก
ตัวถนนเป็นแผงทำจากแก้วเทมเปอร์ ประกอบด้วยโมดุลเล็กๆ รวมกัน ออกแบบมาให้สามารถสัญจรได้ รับน้ำหนักได้ และเดินบนถนนได้ มีความร้อนในตัว แก้ปัญหาหิมะกองสูงตามท้องถนนได้ นอกจากนี้ยังมีไฟ LED ในตัว ใช้แทนการตีเส้นถนนแบบเดิม ในแต่ละโมดุลมีตัวประมวลผล หรือ microprocessor ที่จะเชื่อมต่อกับโมดุลอื่นๆ ตัวควบคุมกลาง หรือแม้แต่รถที่สัญจรไปมา
คงไม่ต้องปวดหัวกับการตรวจสอบกระเป๋าแบรนด์เนมว่าของแท้ หรือของก๊อปเกรดเออีกต่อไป เมื่อ NEC บริษัทเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นโชว์ระบบตรวจสอบกระเป๋าแบรนด์เนม โดยอาศัยอาศัยเลนส์ติดสมาร์ทโฟนและเทคโนโลยีของ บริษัทในการตรวจสอบ
NEC เรียกระบบนี้ว่า Object Fingerprint Identification ซึ่งตรวจสอบจากรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็นเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเปรียบเสมือนลายนิ้วมือที่ยากแก่การปลอมแปลง เช่น รอยตะเข็บ ตัวซิป เนื้อผ้า ฯลฯ โดยตัวเลนส์ที่ติดกับกล้องสมาร์ทโฟนจะช่วยให้เห็นรายละเอียด (super-detailed) ของพื้นผิวส่วนต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับฐานข้อมูล
นาย Lars Hard ผู้ก่อตั้ง Expertmaker บริษัทที่เชี่ยวชาญเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หรือ artificial intelligence จากประเทศสวีเดนได้ออกมาบอกว่า การที่แอปเปิลได้เปลี่ยนมาใช้ UI แบบสามมิติใน iOS 7 ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่ก่อให้เกิดประสบการณ์การใช้งานรูปแบบใหม่
UI สามมิติที่เขาพูดถึงนี้ คือเอฟเฟค parallax ที่สามารถเห็นได้บนหน้า home screen ที่ยังสามารถเห็นได้ว่ามันยังเคลื่อนไหวและทำงานอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าจะมีการรัน semi-transparent layer อื่นทับอยู่ เช่น notifications center โดยวิธีนี้สามารถนำไปต่อยอดในการทำฟีเจอร์ที่ซับซ้อนกว่านี้ได้ และวิธีนี้ จำเป็นต้องใช้เซ็นเซอร์บนอุปกรณ์มากมาย ที่เรายังไม่เห็นอุปกรณ์อื่น ๆ นำมาใช้ทุกวันนี้
Jason Mackenzie, ผู้จัดการฝ่ายขายของเอชทีซี ได้ให้สัมภาษณ์กับ Fierce Wireless และได้เปิดเผยเรื่องราวที่สำคัญเรื่องหนึ่ง ถึงเทคโนโลยีกล้องที่ใช้ใน HTC ปี 2012 ทั้งหมด
Jason บอกว่า ตั้งแต่พวกเขาเปิดตัวเทคโนโลยี Burst Shot ใน HTC One 2012 เมื่อตอนเดือนกุมภาพันธ์ปี 2012 หลังจากนั้นไม่นาน ซัมซุงก็เปิดตัวเทคโนโลยีที่เหมือนกันออกมาใน Galaxy S III และไม่ใช่แค่ซัมซุงเท่านั้น โซนี่ และ LG ยังได้ลอกเลียนนวัตกรรม Burst Shot ไปใช้งานกับอุปกรณ์ของตนเอง เฉกเช่นเดียวกับซัมซุงเช่นกัน โดยเฉพาะโซนี่ ที่ลอกเลียนแม้กระทั่ง UI ของกล้อง ที่เอาปุ่มอัดวีดีโอมาวางไว้ข้างๆ ปุ่มชัตเตอร์เลยทีเดียว (ใน Xperia Z)
Wall Street Journal รายงานถึงการสัมภาษณ์ Steve Wozniak (หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Woz) กับ BBC ซึ่งเขาได้เอ่ยในระหว่างการสัมภาษณ์ว่าสังคมที่ไม่ยอมรับพฤติกรรมที่แย่และลงโทษคนเหล่านี้อย่างหนัก และสังคมที่ไม่สอนให้คนคิดด้วยตัวเอง ทำให้ประเทศสิงคโปร์เสียเปรียบเมื่อถึงเวลาที่ต้องการกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ และบริษัทอย่างแอปเปิลก็ไม่มีวันเกิดขึ้นได้ในประเทศแบบนี้
ดูที่ตัวอย่างสังคมสิงคโปร์สิครับ สังคมนี้เป็นสังคมที่ไม่ยอมรับพฤติกรรมแย่ ๆ และคุณก็จะถูกลงโทษอย่างหนัก ลองหาดูสิว่าหัวคิดสร้างสรรค์ในประเทศนี้อยู่ไหน? ศิลปินต่าง ๆ หายไปไหนหมด? นักร้องนักดนตรีล่ะ? นักเขียนล่ะ?
เกิดเหตุปะทะคารมอีกแล้ว คราวนี้เป็นทีอดีตผู้บริหารของไมโครซอฟท์กับไมโครซอฟท์เอง
เมื่อสามวันก่อน คุณ Dick Brass อดีตรองประธานของไมโครซอฟท์ ได้เขียนบทความลง New York Times หัวข้อ "การทำลายความคิดสร้างสรรค์ของไมโครซอฟท์" (Microsoft’s Creative Destruction) โดยกล่าวว่า
คำถามที่สำคัญกว่าคือทำไมไมโครซอฟท์ไม่เคยนำพวกเรา [ผู้ใช้งาน]* ไปสู่อนาคตได้เลย ต่างกับผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆ ของคู่แข่ง ทั้งแท็บเล็ตอย่าง iPad, เครื่องอ่านอีบุ๊กอย่าง Kindle, สมาร์ทโฟนอย่างไอโฟนหรือแบล็คเบอร์รี่, บริการค้นหาข้อมูลอย่างกูเกิล, เครื่องเล่นเพลงอย่างไอพอดและบริการอย่างไอทูน หรือเว็บชุมชนออนไลน์อย่างเฟสบุ๊กหรือทวิตเตอร์
ดูเหมือนว่าในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาจะไม่มีเทคโนโลยีพัดลมใหม่ ๆ เลยจนกระทั่งวันนี้ Dyson บริษัทที่มีชื่อเสียงในด้านเครื่องดูดฝุ่นและที่เป่าผมได้ออกมาเปิดตัวพัดลมยุคใหม่ที่ไม่มีใบพัด
เมื่อเห็นรูปแล้ว (คลิกเข้ามาอ่านต่อ) หลาย ๆ คนก็อาจจะมานั่งคิดว่าเขาทำได้อย่างไร แต่ถ้าหากดูดี ๆ แล้ว ตัวใบพัดจริง ๆ ก็ยังมีอยู่ เพียงแต่มันย้ายไปอยู่ตรงฐานของพัดลมนั่นเอง การทำงานทั้งหลายว่าง่าย ๆ คล้ายกับที่ดูดฝุ่นแบบกลับด้านนั่นเอง
นักวิจัยที่มหาวิทยาลัยแห่งรัฐวอชิงตันในกรุงซีแอทเทิล ได้พัฒนาคอนแทคเลนส์ที่สามารถวางแผงวงจรและ LED เข้าไปได้
เลนส์ที่ผลิตมานี้สามารถใช้ใส่ได้ปกติ จากการทดสอบกับกระต่ายที่ได้สวมเลนส์ชนิดนี้เป็นเวลา 20 นาทีแล้วยังไม่พบปัญหาแต่อย่างใด แม้ว่าตัวต้นแบบที่ได้นำไปทดลองนั้นจะมี LED สีแดงติดอยู่ด้วยก็ตาม แต่มันยังไม่ถูกใช้งานแต่อย่างใด
แต่หากสามารถใช้งานได้จริงในอนาคต เป็นไปได้ว่าเราสามารถที่จะเล่นอินเทอร์เน็ตหรือเช็คอีเมลล์โดยไม่ต้องมองจอภาพอีกต่อไปก็ได้ (ประมาณเรามีการมองเห็นแบบหุ่นใน The Terminator เลยล่ะ เห็นตัวหนังสือวิ่ง ๆ)
นอกจากนี้แล้วยังเป็นการเปิดโอกาสให้กับผู้ที่มีปัญหาทางด้านสายตาอีกด้วย ที่เลนส์ชนิดนีี้อาจจะมีส่วนช่วยในด้านใดด้านหนึ่ง
The World's Thinnest Laptop อาจจะเป็นเพียงแค่คำที่ใช้อ้างในการขาย MacBook Air จากแอปเปิลเท่านั้น เมื่อในความจริงแล้วโน้ตบุคที่บางที่สุดในโลกนั้นผลิตโดย Sharp
ในปี 2003 คอมพิวเตอร์รุ่น Actius MM10 Muramasa จาก Sharp เป็นคอมพิวเตอร์ที่บางที่สุด ที่มีความหนาอยู่ที่ 13.7 มิลลิเมตร โดยเครื่องมาพร้อมกับ 1 GHz CPU จาก Transmeta และแรมขนาด 256MB, ฮาร์ดดิสก์ขนาด 15 GB พร้อมกับ Wi-Fi
ถ้านับโน้ตบุค Pedion จากมิซูบิชิที่มีความหนา 18.3 มิลลิเมตรแล้วละก็ MacBook Air นั้นเป็นอันดับที่สาม อยู่ที่ 19.3 มิลลิเมตร
ผู้พัฒนาคอมพิวเตอร์ทั้งหลายต่างเห็นพ้องเป็นเสียงเดียวกันมานานแล้วว่าต่อให้ระบบทุกอย่างจะดีและเร็วขึ้นมากเท่าไหร่ก็ตาม สุดท้ายมันก็จะมีคอขวดอยู่ที่ฮาร์ดไดรว์ที่ความเร็วส่วนใหญ่แล้วต่ำกว่า 10000 rpm
ล่าสุดนักวิจัยที่มหาวิทยาลัย Radboud Nijmegan ในเนเธอร์แลนด์ก็ได้เจอวิธีใหม่ที่ดีกว่าในการเข้าถึงข้อมูลในฮาร์ดไดรว์ที่เร็วขึ้นถึง 100 เท่า โดยใช้วิธีเขียนและอ่านข้อมูลด้วยลำแสงเลเซอร์แทนการใช้แม่เหล็กในการเขียนและอ่านข้อมูลไบนารี
เป็นเวลาหลายสิบปีที่เราใช้ใบพัดลมเพดานที่มีใบพัดสามถึงห้าปีก มีความเร็วในการหมุนให้เลือกได้หลายระดับ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้เราลืมพัฒนาสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของพัดลมเพดานไป นั่นก็คือลักษณะและรูปทรงของใบพัดนั่นเอง
ใบพัดลมที่เลียนแบบรูปทรงของฝักของต้น Sycamore ซึ่งพัฒนาโดยบริษัทจากประเทศออสเตรเลียนั้น ได้รับการออกแบบมาให้มีความสวยงามแปลกตา และให้สามารถบังคับทิศทางลมได้ดีขึ้น ถึงแม้ว่าพัดลมนี้จะมีใบพัดเพียงใบเดียว
นวัตกรรมชิ้นนี้สามารถให้แรงลมได้เท่ากับพัดลมที่เราใช้กันอยู่ ในขณะที่มีความเร็วในการหมุนที่ต่ำกว่าเดิมครึ่งหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าทำให้เกิดเสียงรำคาญน้อยลง และประหยัดพลังงานมากขึ้น
บริษัท Given Imaging Ltd. จากประเทศอิสราเอลได้ทำการออกสินค้าชนิดใหม่ ชื่อว่า PillCam™ ESO2 ซึ่งเป็นแคปซูลที่บรรจุกล้องภายในทั้งด้านหัวและท้ายเพื่อใช้ในทางการแพทย์
กล้องขนาดเล็กนี้สามารถถูกกลืนได้โดยคนไข้ และสามารถถ่ายภาพที่สำคัญทางการแพทย์ในระหว่างที่มันเดินทางอยุ่ในช่องอาหารของผู้ป่วย จากนั้นภาพถ่ายที่ถ่ายได้นั้นจะถูกส่งกลับไปยัง Sensor Arrays ที่ติดอยู่กับหน้าอกของผู้ป่วยด้วยความเร็ว 18 เฟรมต่อวินาที ซึ่งเพียงพอที่จะเป็นประโยชน์แก่แพทย์ในการรักษา และต่อตัวคนไข้เองในการเข้าใจโรคที่เกิดขึ้น
แคปซูลดังกล่าวมีจำหน่ายในประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านบริษัทในเครือ Johnson and Johnson
สงสัยว่ามันจะนำมารียูสได้ไหม ถ้าได้ละก็ผมไม่ใช้จริงๆนะ
นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยยูทาห์ (University of Utah) ได้พัฒนาอุปกรณ์ที่จะช่วยเปลี่ยนพลังงานความร้อนจากเครื่องใช้ไฟฟ้าไปเป็นคลื่นเสียง และจากนั้นจึงทำการแปรสภาพเสียงนั้นกลับเป็นพลังงานไฟฟ้าที่ใช้งานได้
ในการทดลอง ผู้คิดค้นได้ทำการแปลงพลังงานความร้อนไปเป็นพลังงานเสียง โดยผ่านเครื่องมือ thermoacoustic ชนิดหนึ่งซึ่งเมื่อให้ความร้อนแก่อุปกรณ์ชิ้นนั้น ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือคลื่นความถี่เสียงความถี่หนึ่งเช่นเดียวกับคลื่นความถี่ของขลุ่ย
เมื่อนำความถี่ที่ได้ไปใช้กับเครื่องมือประเภท piezoelectric แรงดันที่เกิดจากความถี่ของเสียงนั้นจะถูกเปลี่ยนไปเป็นพลังงานไฟฟ้าที่เราต้องการ