อินเทลเตรียมเพิ่มประสิทธิภาพให้ซีพียูในกลุ่มแพลตฟอร์มแบบบางพิเศษ (ultra-thin) ตามรายละเอียดด้านล่างนี้ครับ
ตลาดของแพลตฟอร์มนี้จะอยู่ในกลุ่มแล็ปท็อปที่เน้นประสิทธิภาพและการพกพาในระดับสูง ซึ่งแตกต่างจากแพลตฟอร์ม Atom (Pine Trail) ที่จะทำตลาดในกลุ่มล่าง โดยคาดว่าน่าจะได้เห็นแล็ปท็อปที่ใช้ซีพียูเหล่านี้ได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปีนี้
Engadget (Exclusive) รายงานว่าจากงาน IDF ที่ผ่านมาที่อินเทลได้นำเสนอ Light Peak สายต่อยุคต่อไปที่สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ ด้วยความเร็วที่ 10Gbps ทำให้มันอาจจะเป็นสายต่อที่ใช้ต่ออุปกรณ์ทุกชนิดได้ตั้งแต่การเชื่อมต่อจอภาพไปจนถึงใช้แทนสาย LAN ได้
ในวันที่อินเทลได้ทำการโชว์ Light Peak เป็นครั้งแรกนั้น อินเทลได้ทดลองต่อมอนิเตอร์ที่มีความละเอียดสูงกว่า HD และเชื่อมต่อกับ SSD RAID ด้วยสายเพียงสายเดียว แต่ที่น่าแปลกคือทำไมเครื่องคอมที่นำมาใช้ทดสอบ Light Peak กลับเป็นเครื่อง Hackintosh
ผ่านไปแล้วกับงาน Intel Developer Forum (IDF) 2009 เรามาดูกันว่าอินเทลและพันธมิตรโชว์อะไรบ้างในงาน
เมื่อเดือนพฤษภาคม คณะกรรมการยุโรป (European Commission) สั่งปรับเงินอินเทล 1.45 พันล้านดอลลาร์ ข้อหาผูกขาดตลาดซีพียูด้วยวิธีผิดกฎหมาย (ข่าวเก่า) ความคืบหน้าของคดีนี้อยู่ระหว่างการอุทธรณ์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาอีกเป็นปี
หลังจากมีข่าวปรับอินเทลออกมา คณะกรรมการยุโรปก็โดนวิจารณ์ว่าไม่สามารถแสดงหลักฐานว่าอินเทลทำผิดอะไรบ้าง ตอนนี้หลักฐานที่ว่าถูกเผยออกมาบางส่วนแล้วครับ
บริษัท อินเทล ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) โดยนายเอกรัศมิ์ อวยสินประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ ได้กล่าวเกี่ยวกับ "Core i5" และ "Core 2 Duo" ไว้ว่า ในปี 2553 อินเทลจะพยายามเปลี่ยนซีพียูเป็น Core i5 แทนรุ่นเก่า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายเอกรัศมิ์ กล่าวต่อว่า ในประเทศไทย พบว่า Core 2 Duo ครองสัดส่วนในตลาดมากกว่า Duo Core และการซื้อคอมพิวเตอร์แบบประกอบเอง น่าจะมากกว่าซื้อยกเครื่อง โดยคิดเป็นสัดส่วน 70:30 และภายในเดือนกันยายน 2552 นี้ อินเทลจะประกาศตัว Core i5 ที่ใช้งานในโน๊ตบุ๊กด้วย
Core i7 นั้นแม้จะแรงสะใจใครต่อใครแค่ไหน แต่ด้วยราคาชิปตัวละเกือบสองหมื่นไปจนถึงเกือบสี่หมื่นทำให้เราไม่ได้เห็นชิปตัวนี้ถูกใช้งานกันมากเท่าใหร่ แต่เมื่อวานอินเทลก็เปิดตัวชิปชื่อรหัสว่า Lynnfield ออกมาเป็นชิป Core i7 ในสายการผลิต 800 ซึ่งใช้ซ็อกเก็ตแบบ LGA 1156 ขณะที่ Core i7 ตระกูล 900 ที่ออกมาก่อนนั้นใช้ซ็อกเก็ต LGA 1366
ชิปตัวเล็กที่สุดในตระกูลตอนนี้กลายเป็น Core i5-750 ที่ใช้ซ็อกเก็ต LGA 1156 เหมือนกับ Core i7 ตระกูล 800 แต่ราคานั้นอยู่ที่ 200 ดอลลาร์เท่านั้น
หลายๆ คนคงลืมกันไปหมดแล้วว่า Atom นั้นอินเทลออกแบบมาเพื่อขายในเครื่อง MID ที่กินไฟต่ำและราคาแพง แต่ทุกวันนี้มันกลับถูกใช้อย่างไม่โดนใจอินเทลนัก เพราะมันถูกนำมาใช้ในเน็ตบุ๊กที่สุดท้ายแล้วกลับไปกินตลาดโน้ตบุ๊กของอินเทลเสียเอง
แต่ความนิยมใน Atom ที่สูงอย่างต่อเนื่องก็มีข้อดีอีกอย่างคือ เริ่มมีเสียงเรียกหาโทรศัพท์มือถือที่ใช้ชิป Atom กันแล้ว แต่การกินไฟในช่วงเวลาไม่ใช้งานของระบบ x86 นั้นยังสูงเกินไปที่จะใช้ในโทรศัพท์มือถือได้ แต่ปัญหานี้อาจจะถูกแก้ไปแล้วใน Moorestown
อินเทลอ้างว่า Moorestown นั้นจะกินพลังงานในช่วงที่ไม่มีการใช้งานเพียง 1 ใน 50 ของ Menlow ที่วางจำหน่ายอยู่ในตอนนี้ ซึ่ง Menlow เองก็กินพลังงานเพียง 1.6 วัตต์เท่านั้น
เมื่อปลายปีที่แล้ว อินเทลเปิดตัวซีพียู Core i7 หรือที่เราเรียกกันในชื่อ Nehalem และสร้างความฮือฮาได้พอสมควรเพราะประสิทธิภาพดีกว่าซีพียูตระกูล Core 2 เดิมมาก (รวมถึงคู่แข่งอย่างเอเอ็มดีด้วย) จากนั้นอินเทลได้ทิ้งระยะห่างการออกซีพียูตระกูล Nehalem ตัวอื่นๆ เพื่อวางให้ Core i7 จับตลาดพรีเมียม กินส่วนต่างราคาไป ส่วนตลาดกลางถึงล่างยังใช้ซีพียูชุดเดิมๆ ทำตลาดไปก่อน
ผ่านมาครึ่งปีกว่าก็ได้เวลาที่อินเทลจะออก Nehalam สำหรับตลาดโน้ตบุ๊กเสียที
Clarkfield
อินเทลเพิ่งวางตลาด SSD สองรุ่นคือ X25-M และ X18-M ไปได้ไม่กี่วันก่อน ก็พบว่ามีบั๊กร้ายแรงทำให้ข้อมูลเสียหาย ผู้ใช้สามารถพบปัญหานี้ได้ด้วยการตั้งรหัสผ่านบน BIOS ของตัว SSD หลังจากนั้นก็เปลี่ยนรหัสและบูตเครื่อง จะพบว่าตัว SSD ก์ทำงานไม่ได้ และข้อมูลก็ไม่สามารถนำกลับออกมาได้เช่นกัน
SSD ทั้งสองรุ่นผลิตด้วยเทคโนโลยี 34 นาโนเมตร และได้รับการตอบรับที่ค่อนข้างดีในช่วงแรก เนื่องจากความเร็วที่ดีมาก และราคาตกลดลงจากรุ่นเดิมที่ใช้เทคโนโลยี 50 นาโนเมตรค่อนข้างชัดเจน
การเรียกคืนนี้จำกัดเฉพาะร้านค้าใหญ่ๆ เช่น NewEgg เท่านั้น ส่วนผู้ใช้ทั่วไปนั้นหากไม่ล็อกรหัสใดๆ ก็จะไม่พบปัญหานี้
อินเทลยื่นคำอุทธรณ์ต่อการตัดสินปรับ 1 พันล้านยูโรหรือประมาณ 50,000 ล้านบาทไปเมื่อสองเดือนก่อน โดยมีใจความสำคัญว่าการสั่งปรับนั้นเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน
ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลคำอุทธรณ์นี้แต่อย่างใด แต่โดยสรุปแล้วประเด็นที่อินเทลร้องต่อการตัดสินนั้นคือคณะกรรมการที่สอบสวนคดีนี้เป็นหน่วยงานทางการปกครอง ขณะที่การปรับมูลค่ามากๆ แค่นี้ควรถูกตัดสินด้วยกระบวนการทางศาล
ศาลนัดฟังคำตัดสินในเรื่องนี้ในปี 2010 ขณะที่การยื่นคำอุทธรณ์ในรูปแบบเดียวกันนี้ยังไม่เคยมีครั้งใดที่สำเร็จ
ที่มา - ArsTechnica
Softpedia ได้อ้างรายงานจาก HKEPC ว่าอินเทลได้ปรับเปลี่ยนข้อจำกัดของความละเอียดหน้าจอเน็ตบุ๊ก โดยให้อนุญาตให้ผู้ผลิตใช้ความละเอียดที่ 1366 x 768 พิกเซลได้ จากความละเอียดสูงสุดเดิมคือ 1024 x 600 พิกเซล นอกจากนั้นอินเทลยังยอมให้โซนี่ใส่หน้าจอความละเอียดดังกล่าวลงใน VAIO W-series รุ่นใหม่ที่มีหน้าจอ 10.1 นิ้วได้อีกด้วย (ดูข่าวเก่า โดยคุณ toandthen)
พอดีผมได้รับแจ้งจากทางอินเทลมานะครับ ว่า ISPP (Intel Software Partner Program) ที่เป็นโครงการผลักดันให้ให้ผู้ผลิตซอฟต์แวร์เริ่มใช้งานเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้มากขึ้น ได้เปิดหน้าเว็บ Facebook เพื่อแจกทั้งเอกสาร และวีดีโอการสัมมนาที่โครงการนี้จัดขึ้นมาให้คนทั่วไปเข้าใช้ได้ฟรี
แม้เอกสารจะผูกกับซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีหลายตัวของอินเทล แต่แนวคิดหลักเช่นการวิเคราะห์และการออกแบบซอฟต์แวร์ให้ทำงานบนหลายคอร์ได้เต็มที่ ไปจนถึงพื้นฐานเช่นเทคโนโลยีในการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบมัลติเธรดนั้นก็สามารถอ่านเป็นพื้นฐานได้ดีพอควรครับ (ผมเองเคยจับ OpenMP จริงๆ ก็งานสัมมนาของโครงการนี้ล่ะ)
ในข่าว กูเกิลเปิดเผยรายชื่อพันธมิตร Chrome OS ชื่อของอินเทลนั้นตกหล่นไปจากพันธมิตรของกูเกิล แต่โฆษกของอินเทลได้เปิดเผยแล้วว่าอินเทลเข้าร่วมกับโครงการนี้ก่อนเปิดเผยข้อมูลสู่สาธารณะได้สักระยะหนึ่งแล้ว
Chrome OS เน้นใช้งานกับเน็ตบุ๊ก ซึ่งซีพียู Atom ของอินเทลครองตลาดอยู่ อย่างไรก็ตามอินเทลเองก็มีระบบปฏิบัติการ Moblin สำหรับเน็ตบุ๊กและ MID ส่วนระบบปฏิบัติการอีกตัวของกูเกิลคือ Android ก็มีหลายค่ายเตรียมนำไปลงเน็ตบุ๊กเช่นกัน
ที่มา - PC World
Moblin ซึ่งเป็นลินุกซ์ดิสโทรที่ทางอินเทลพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ใน MID และเน็ตบุ๊กนั้นจะเป็นลินุกซ์ดิสโทรแรกที่ระบบกราฟิก (X Server) ไม่รันในสิทธิ root อีกต่อไป ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของลินุกซ์นั้นน่าจะดีขึ้นในภาพรวม
X Server เป็นซอฟต์แวร์สำคัญที่ทำให้ลินุกซ์สามารถแสดงหน้าจอแบบกราฟิกได้ โดยตัวมันจะรับข้อมูลจากซอฟต์แวร์เพื่อนำมาแสดงบนหน้าจอ อย่างไรก็ตามที่ผ่านมานั้นตัว X Server ทำงานในสิทธิ root เสมอมา เนื่องจากความจำเป็นที่จะต้องติดต่อกับฮาร์ดแวร์โดยตรง ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยกันเรื่อยมา
ลินุกซ์บางดิสโทรเช่น Ubuntu และ Debian นั้นไม่ติดตั้งระบบกราฟิกเป็นมาตรฐานหากติดตั้งแบบเซิร์ฟเวอร์เพื่อความปลอดภัย
ถ้าใครอยู่ในอุตสาหกรรมอิเลกทรอนิกส์อาจจะสังเกตว่าโรงงานที่ตั้งๆ กันในแถบบ้านเรานั้นล้วนแต่เป็นโรงงานบรรจุไอซีแทบทั้งสิ้น แต่กลับไม่มีโรงงานผลิตชิปกันจริงๆ เท่าใหร่ ทางจีนนั้นแม้จะมี Fab 68 ของทางอินเทลตั้งอยู่ แต่เทคโนโลยีการผลิตก็อยู่ที่ระดับ 90 นาโนเมตรเท่านั้น เนื่องจากข้อกำหนดการส่งออกเทคโนโลยีของสหรัฐฯ แต่กฏดังกล่าวก็ถูกผ่อนปรนลงแล้วในที่สุด ทำให้อินเทลเตรียมเปิดสายการผลิต 65 นาโนเมตรในปีหน้าได้
เทคโนโลยี 65 นาโนเมตรนั้นนับว่าตามหลังเทคโนโลยีที่อยู่ในท้องตลาดไปอีกสองขั้นคือ 45 และ 32 นาโนเมตร ส่วนเทคโนโลยี 28 นาโนเมตรนั้นหลายบริษัทกำลังเร่งแข่งกันเพื่อเปิดสายการผลิตให้ได้ก่อนคู่แข่ง โดยซีพียูที่ใช้เทคโนโลยี 65 นาโนเมตรนั้นคือซีพียูตระกูล Core 2 รุ่นแรกๆ
IntoMobile ได้อ้างข่าวจากสำนักข่าว Bloomberg ว่า โนเกียได้ติดต่อไปยังบริษัท Quanta Computer Inc. และ Compal Electronics Inc. สองบริษัทใหญ่ผู้ผลิตเน็ตบุ๊กเกือบทั้งหมดที่มีในท้องตลาดให้ทำการผลิตอุปกรณ์ที่มีชื่อเรียกว่า "สมาร์ทบุ๊ก" โดยใช้หน่วยประมวลผลกลางเป็น Intel Atom และคาดว่าจะวางขายในช่วงไตรมาสสามของปีนี้
เรียกได้เลยว่า "ไฟแรงจริงๆ ดูโอ้คู่ใหม่ Intel + Nokia"!
วันนี้อินเทลได้ลงนามข้อตกลงร่วมมือกับโนเกียเพื่อร่วมกันพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่สำหรับ MID (Mobile Internet Device หรือเรียกง่ายๆ คือเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา) ครับ
โดยข้อตกลงระยะยาวดังกล่าวจะรวมถึงการเอาซอฟต์แวร์ Linux ที่ต่างฝ่ายต่างพัฒนาสำหรับ MID (ฝั่งอินเทลคือ Moblin ส่วนฝั่งโนเกียคือ Maemo) เข้าด้วยกันด้วย โดยทั้งอินเทลและโนเกียเชื่อว่าการรวมเทคโนโลยีระหว่าง Moblin และ Maemo เข้าด้วยกันนั้นจะทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์นั้นทำได้เร็วขึ้น
นอกจากนี้แล้วอินเทลนั้นยังได้ซื้อเทคโนโลยี HSPA/3G modem IP จากโนเกียอีกด้วย
เรื่องหนึ่งที่ผมคิดว่าอินเทลทำได้แย่มากๆ มาตลอดคือการตั้งชื่อซีพียูที่นับวันจะสับสนขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถึงวันนี้ดูเหมือนอินเทลจะรู้ตัวในเรื่องนี้และเตรียมการรวมแบรนด์ซีพียูทั้งหมดกลับไปเป็น Core เพียงอย่างเดียวแล้ว พร้อมกับแบ่งตระกูลซีพียูด้วยตัวเลข เช่น i7 ที่ออกมาแล้ว, i5 ที่กำลังจะวางตลาดเร็วๆ นี้ และ i3 ที่จะวางตลาดในปีหน้า
แบรนด์ที่ยังอยู่รอดไม่เข้าไปรวมกับแบรนด์ Core นั่นคือ Celeron และ Atom ส่วน Centrino ที่อินเทลทุ่มเงินโปรโมทไปมหาศาลแล้วนั้นจะกลายเป็นแบรนด์สำหรับชิปการเชื่อมต่อไร้สายทั้ง WiFi และ WiMAX ไปแทน
แต่ผมว่าผมคิดถึงวันที่มันเป็น x86 นะจำง่ายดี 486 ก็ดีกว่า 386 จบข่าว...
หลายคนคงรู้กันมาบ้างว่าหากไม่มีเราท์เตอร์อยู่ใกล้ๆ และต้องการส่งไฟล์ผ่านคอมพิวเตอร์นั้นเราสามารถสร้างวงเครือข่ายแบบ Ad Hoc ได้แต่ปัญหาคือถ้าเครื่องของเราต่ออินเทอร์เน็ตอยู่ เราต้องตัดการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเสียก่อนเพื่อสร้างเครือข่าย Ad Hoc แต่ถ้าใครใช้โน้ตบุ๊กที่ใช้ชิปของอินเทลรุ่น WiFi Link ตัว 5300, 5100 และ 1000 แล้วซอฟต์แวร์ของอินเทลในชื่อ My WiFi Technology ก็ถูกเปิดตัวมาเพื่อแก้ปัญหานี้
โดยตัวซอฟต์แวร์นี้จะมีความสามารถในการ "แตก" การ์ดไวร์เลสของเราให้กลายเป็นทั้งตัวลูกข่ายของแอกเซสพอยต์ไปพร้อมๆ กับเป็นแอกแอกเซสพอยต์ให้อุปกรณ์ตัวอื่นๆ ได้อีก 8 ตัวทำให้สามารถโอนถ่ายไฟล์ได้โดยตรง
คนใช้อาจจะชอบ แต่งานนี้ผมว่าคนดูและด้านความปลอดภัยอาจจะร้องกันระงม
ก่อนหน้านี้มีข่าวเกี่ยวกับ Atom N450 ที่เป็นตัวแทนของ Atom N270 และ 280 โดยจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนตุลาคม แต่ ณ ขณะนั้นก็ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับข้อมูลแต่อย่างใด
ในวันนี้ได้มีข้อมูลของ Atom รุ่นใหม่อีกสองตัวที่ใช้รหัส Pineview ที่ผลิตในขนาด 45 นาโนเมตร เช่นเดียวกับ N450 โดยทั้งสองรุ่นนี้มีชื่อว่า Atom D410 และ Atom D510 ที่จะมาแทน Atom 230 และ 330
โดยทั้งสามรุ่นจะมีความเร็วอยู่ที่ 1.66GHz ทั้งสิ้น แต่มีส่วนต่างจากรุ่นเก่าคือ รองรับ 64 บิตแล้ว (มีรูปประกอบ)
Atom N450 จะวางจำหน่ายก่อนใคร ในช่วงเดือนตุลาคม ตามด้วย Atom D510 ในช่วงปลายปี และ Atom D410 ในช่วงต้นปีหน้า
ข่าวร้ายสำหรับเจ้าของเครื่องแมคบนพาวเวอร์พีซี เมื่อเสป็คของ Mac OS X 10.6 หรือที่เรียกว่า Snow Leopard นั้นเขียนเอาไว้ชัดเจนว่าต้องทำงานบนเครื่องแมคที่ใช้ชิปของอินเทลเท่านั้น
โดยถ้าหากลองเปรียบเทียบความต้องการของระบบระหว่าง Leopard กับ Snow Leopard นอกจากเรื่องของชิปประมวลผลแล้ว Snow Leopard ยังต้องการแรมที่มากกว่าเดิมคือ 1GB จากเดิม 512MB แต่ขนาดพื้นที่บนฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการกลับลดลง จากเดิม 9GB เหลือเพียง 5GB เท่านั้น
Transition Complete !
ผู้ใช้ Ubuntu 9.04 หลายคนที่ใช้ชิพเซ็ทของอินเทลนั้นคงจะพบปัญหาการใช้งานสำหรับ Ubuntu 9.04
ตอนนี้ได้มีการประกาศจาก Bryce Harrington หนึ่งในทีมงานผู้พัฒนา Ubuntu ว่า
ทีมงานได้มีการปรับปรุงแก้ไขปัญหาชิพเซ็ทกราฟฟิคของ Intel และเปิดให้ผู้ทดสอบหลายคนลองแล้วใช้งานได้ แต่ยังมีขอบกพร่องบางประการ ทางทีมงานจะแก้ไขข้อผิดพลาดและนำไปใช้งานอย่างเป็นทางการใน Ubuntu 9.10
ตั้งแต่ที่อินเทลผลิต Atom ขึ้นมาโดยคาดหวังว่าจะให้เป็นซีพียูสำหรับเน็ตบุ๊คนั้น ตอนนี้ดูท่าจะไม่ใช่แล้ว เพราะอินเทลกำลังวางแผนที่จะทำให้ Atom เข้าไปอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กโทรนิกส์ขนาดเล็กจำนวนมาก
โดยทางผู้บริหารระดับสูงได้กล่าวถึงการซื้อ Wind River เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่าเป็นการพยายามที่จะทำให้ซีพียูกินพลังงานน้อยได้เข้าไปอยู่ในอุปกรณ์อื่นๆ ที่ไม่ใช่คอมพิวเตอร์เช่น โทรศัพท์และ MIDs
ถ้าหากโทรศัพท์ใช้งาน Atom จริงๆ คงจะดีเป็นแน่แท้ แต่ทว่าเรื่องของการบริโภคพลังงานก็เป็นส่วนที่ทำให้ผู้ใช้ต้องตัดสินใจเช่นกัน ว่าแต่พวก ARMS นี่กินไฟเท่าไหร่กันหนอ ในเมื่อ Atom เองก็กินไฟแค่ 2-4 วัตต์
ทุกคนคงลืมกันไปแล้วว่าครั้งแรกที่อินเทลออกแบบ Atom นั้นเพื่ออุปกรณ์ที่เรียกว่า MID เป็นหลัก แต่จนวันนี้แล้วอนาคตของ MID ที่วางไว้ว่า เล็กกว่าเน็ตบุ๊ก และใหญ่กว่าโทรศัพท์นั้นดูจะไม่มีที่ยืนในตลาดเท่าใดนัก เพราะแพลตฟอร์ม Menlow ที่ออกมาตั้งแต่ปีที่แล้วนั้นมียอดการผลิตต่ำกว่า 30,000 ชุดจากที่ตั้งเป้าไว้ 150,000 ถึง 200,000 ชุด
เพื่อแก้ปัญหาชิปที่ผลิตออกมาแล้วนั้นอินเทลได้ส่งชิปไปขายให้กับผู้ผลิตเน็ตบุ๊ก แต่อินเทลยังคงตั้งความหวังว่าจะบุกตลาดนี้ต่อไปด้วยแพลตฟอร์ม Moorestown ที่จะวางตลาดปลายปีนี้ พร้อมกับให้คำมั่นกับผู้ผลิตว่าแพลตฟอร์มจะไม่ทาบเกี่ยวกับเน็ตบุ๊กอีกต่อไป
อินเทลเข้าซื้อกิจการของบริษัท Wind River ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวกับ Embedded Linux ด้วยมูลค่ารวม 884 ล้านดอลลาร์
อินเทลแจ้งว่าซื้อ Wind River เข้ามาเสริมทัพสาย embedded ของตัวเอง เนื่องจากอินเทลต้องการขยายตลาดจากฐานที่มั่นพีซีและเซิร์ฟเวอร์ไปยังตลาดอื่นๆ ด้วย Wind River จะกลายเป็นบริษัทลูกของอินเทลเต็มตัว และยังดำเนินธุรกิจตามแนวทางเดิมของตัวเองต่อไป
ผลิตภัณฑ์ของ Wind River ที่คนรู้จักกันเยอะหน่อยคือ VxWorks ระบบปฏิบัติการแบบเรียลไทม์
ที่มา - อินเทล