Instagram ประกาศเตรียมซ่อมผลการค้นหาแฮชแท็กที่ใช้สำหรับกระจายข้อมูลข่าวปลอมเกี่ยวกับวัคซีน โดย Instagram ระบุว่าหากแฮชแท็ก เช่น #vaccines1234 มีสัดส่วนข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนเยอะ ก็จะบล็อคแฮชแท็กนั้นไปเลย
สำหรับข้อมูลเท็จนี้ ผู้ที่จะระบุว่าปลอมจะเป็นองค์กรการแพทย์อย่างเช่น World Health Organization หรือ the Centers for Disease Control ส่วนโพสต์ที่เกี่ยวกับมุมมองของวัคซีนแต่ไม่ยืนยันว่าเป็นข้อมูลเท็จจะยังคงอยู่ต่อไป
นักวิจัยจาก University of California, San Francisco (UCSF) พัฒนาอุปกรณ์สร้างเสียงพูดสังเคราะห์โดยอาศัยการอ่านคลื่นสมองของผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาในการพูด สามารถสื่อสารได้โดยใช้อุปกรณ์นี้พูดแทนปากของตนเอง
อุปกรณ์นี้มีแผงขั้วไฟฟ้ารูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่มีขนาดด้านละประมาณ 6.5 เซนติเมตร มีขั้วไฟฟ้าทั้งหมด 256 จุดที่จะต้องปลูกถ่ายเพื่อใช้สำหรับอ่านคลื่นไฟฟ้าจากสมองโดยตรง จากนั้นจึงจะนำเอาสัญญาณที่อุปกรณ์อ่านได้มาแปลผลแล้วสังเคราะห์เสียงพูดแทนผู้ใช้
ทีมแพทย์กู้ภัยที่ให้ความช่วยเหลือทีมฟุตบอลหมูป่า ที่ติดในถ้ำหลวงปีที่แล้ว ได้เขียนบทความรายงานสรุปการช่วยเหลือ ในชื่อบทความ "Prehospital Care of the 13 Hypothermic, Anesthetized Patients in the Thailand Cave Rescue" ลงในวารสาร New England Journal of Medicine
บทความระบุถึงการตัดสินใจใช้ ยาสลบ (anesthesia) ในกลุ่มเคตามีน (ketamine-based) ให้กับกลุ่มทีมฟุตบอลแล้วใส่หน้ากากออกซิเจนเต็มหน้าก่อนนำออกมา โดยระหว่างเส้นทางการนำตัวผู้ประสบภัยออกมา ทีมกู้ภัยต้องให้เคตามีนระหว่างทางเป็นระยะ ทำให้ตัวผู้ประสบภัยรู้สึกตัวไม่เท่ากันในแต่ละช่วง
แนวคิดอย่าง Telemedicine เป็นแนวคิดที่มีใช้กันบ้างมาระยะหนึ่งแล้ว และวันนี้โรงพยาบาลสมิติเวช ร่วมกับพันธมิตรจำนวน 6 ราย ประกาศเปิดตัว Samitivej Virtual Hospital โรงพยาบาลแบบเสมือนครบวงจรอย่างเป็นทางการ ผู้ป่วยสามารถพบแพทย์ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง พร้อมบริการตรวจเลือดนอกสถานที่ และการจ่ายยาถึงสถานที่ของผู้ป่วยโดยตรงครบวงจร
สำหรับพันธมิตรของโรงพยาบาลที่ร่วมเปิดตัวในครั้งนี้ประกอบด้วย AIS, LINE, เมืองไทยประกันชีวิต, แสนสิริ, ธนาคารไทยพาณิชย์ และกลุ่มซีเมนต์ไทย (SCG) ที่จะร่วมกันพัฒนาบริการดังกล่าวให้กลายเป็นบริการการแพทย์ทางไกลแบบครบวงจร
บริการ Virtual Hospital ประกอบไปด้วย
กลางปีที่แล้ว ระบบข้อมูลคนไข้ SingHealth ถูกแฮก ข้อมูลคนไข้กว่า 1.5 ล้านรายรวมนายกรัฐมนตรีหลุดออกไป ล่าสุดกระทรวงการสื่อสารและข้อมูลที่ดูแลเรื่องความปลอดภัยไซเบอร์ได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า เป้าหมายของแฮกเกอร์คือข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลผู้ป่วยนอกของนายกรัฐมนตรี ลี เซียน ลุง ที่เป็นมะเร็งต่อมลูกหมากและต่อมน้ำเหลืองและหายแล้ว
นอกจากนี้ S Iswaran รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสื่อสารและข้อมูลยืนยันว่าจะไม่มีการเปิดเผยชื่อของแฮกเกอร์รายนี้ ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติ พร้อมยืนยันว่าข้อมูลที่ถูกแฮกไป ไม่ได้หลุดออกไปสู่เว็บมืดไม่ว่าจะในรูปแบบไหนก็ตาม
ที่ผ่าน World AI Conference ที่เซี่ยงไฮ้ กูเกิลนำเสนอเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่บริษัทได้ทำมาและแนวทางที่กำลังทำต่อไป คนหนึ่งที่มาร่วมนำเสนอด้วย คือ Lily Peng ผู้จัดการโครงการ (product manager) ของกูเกิลที่ดูแลการวิจัยโครงการทำนายเบาหวานได้จากภาพดวงตา และโครงการนี้กำลังทำวิจัยอยู่ในประเทศไทยอยู่ด้วย และผมได้มีโอกาสสัมภาษณ์เธอถึงความคืบหน้าโครงการและการนำเทคโนโลยีเช่นนี้มาใช้งานจริง
เมื่อประมาณ 2 ปีที่แล้ว Blognone เคยมีการรายงานสรุปการบรรยายเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการแพทย์โดย นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ จากคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาแล้ว ในครั้งนั้น อาจารย์ระบุอย่างชัดเจนว่าในเรื่องของเทคโนโลยีกับการแพทย์จำเป็นต้องยึดคนไข้เป็นศูนย์กลาง ก่อนที่จะคิดถึงเทคโนโลยี (อ่านสรุปการบรรยายครั้งที่แล้วได้ที่นี่)
ผ่านมาวันนี้ ที่งานประชุมวิชาการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ประจำปี พ.ศ. 2561 อาจารย์นวนรรนกลับขึ้นเวทีมาพูดอีกครั้งหนึ่งในหัวข้อ Digital Health Transformation: What's Next? ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปร่วมฟังการบรรยายในครั้งนี้ตามคำเชิญของคณะทำงานการประชุมวิชาการ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) และโรงพยาบาลสมิติเวช จึงขออนุญาตถ่ายทอดมาเป็นสรุปสั้นๆ ให้ได้อ่านกันครับ
DeepMind ประกาศความร่วมมือกับโรงพยาบาลจักษุ Moorefields มาตั้งแต่ปี 2016 ตอนนี้ทั้งสองหน่วยงานก็ประกาศผลของความร่วมมือในเฟสแรกออกมาแล้ว โดยเป็นการรับภาพจากเครื่อง optical coherence tomography (OCT) เพื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคร้ายแรงใดในดวงตาหรือไม่ โดยตอนนี้โรงพยาบาล Moorefields ต้องอ่านผลสแกน OCT ถึงวันละกว่า 1,000 ชุด
สถาปัตยกรรมของ DeepMind แบ่งเครือข่ายนิวรอนออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกคือการระบภาพสแกนดิบจากเครื่องสแกนแล้วระบุว่าส่วนใดน่าจะเป็นอาการของโรค เช่น มีเลือดออก, มีของเหลว, หรือมีรอยแผล จากนั้นจึงส่งผลเข้าไปยังเครือข่ายนิวรอนอีกชุดเพื่อระบุโรคที่เป็นไปได้ พร้อมคำแนะนำว่าควรส่งต่อไปหาแพทย์อย่างรีบด่วนเพียงใด
แพทย์ผิวหนังจาก Boston University School of Medicine ได้เผยแพร่บทความทางการแพทย์ผ่านทาง JAMA Facial Plastic Surgery กล่าวถึงอาการอย่างหนึ่งที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “Snapchat dysmorphia” ซึ่งหมายถึงปรากฏการณ์ที่การใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจผู้ใช้งานจนก่อให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจในรูปร่างหน้าตาของตนเอง
สาเหตุที่เรียกชื่อว่า “Snapchat dysmorphia” นั้นก็เพราะว่า Snapchat เป็นหนึ่งในสื่อสังคมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมมากในสังคมสหรัฐฯ ผู้ใช้สามารถส่งต่อภาพหน้าตาที่ผ่านการปรับแต่งด้วยฟิลเตอร์ต่างๆ ที่ทำให้ผู้ใช้งานรู้สึกว่าตนเองดูดีขึ้น
WebMD เว็บไซต์รวบรวมข้อมูลด้านการแพทย์รายใหญ่ของโลก ประกาศความร่วมมือกับ Tencent บริษัทอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของจีน เพื่อนำเนื้อหาจาก WebMD ไปแปลและเผยแพร่เป็นภาษาจีนผ่านแพลตฟอร์มต่าง ๆ ของ Tencent ทั้ง WeChat และ QQ
WebMD บอกว่า ประชากรบนอินเทอร์เน็ตจีนถึง 2 ใน 3 มีการค้นหาข้อมูลด้านสุขภาพผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ข้อมูลที่คนจีนได้มานั้นมักไม่ถูกต้อง, ไม่สมบูรณ์ หรือให้คำแนะนำที่ผิด ความร่วมมือนี้จึงทำให้ชาวจีนได้แหล่งข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น ผ่านแพลตฟอร์มใหญ่ที่คนจีนใช้กัน
ปัจจุบัน Tencent ให้ทุนสนับสนุนบริษัทด้านสุขภาพทั่วโลกหลายสิบแห่ง รวมทั้ง WeDoctor แพลตฟอร์มนัดหมายและขอคำปรึกษาแพทย์ออนไลน์ ที่มีแผนจะเข้าตลาดหุ้นเร็ว ๆ นี้
เครือโรงพยาบาล National Healthcare Group (NHG) และ National University Health System (NUHS) ประกาศตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้ว หลังจาก SingHealth ประกาศยืนยันว่าถูกแฮกตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา
ตัวระบบ SingHealth เองตัดการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไปตั้งแต่วันพฤหัสที่ผ่านมา ส่วนการตัดการเชื่อมต่อของโรงพยาบาลครั้งนี้จะทำให้บางระบบใช้งานไม่ได้ไปด้วยเพราะจำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต เช่นระบบส่งต่อข้อมูลที่เชื่อมต่อระหว่างห้องแล็บกับโรงพยาบาล, ระบบเชื่อมต่อทะเบียนราษฎร์, ระบบเคลมเงินประกัน
กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ระบุว่ากำลังติดตั้งคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมให้กับแผนกที่จำเป็นต้องใช้งานอินเทอร์เน็ต
รัฐบาลสิงคโปร์จัดแถลงข่าว ยอมรับว่าระบบข้อมูลคนไข้กลาง SingHealth ถูกแฮก โดยเชื่อว่าเป็นการแฮกที่ได้รับการสนับสนุนระดับรัฐ (state sponsor attack) และมุ่งเป้าคนสำคัญบางรายเป็นพิเศษ เช่น ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และรัฐมนตรีบางคน
ฐานข้อมูลทั่วไปผู้ใช้ทั่วไป เช่น ชื่อ, ที่อยู่, เพศ, วันเกิด ถูกดาวน์โหลดออกไป ขณะที่ฐานข้อมูลผลแล็ป, การวินิจฉัย, และบันทึกแพทย์ไม่ได้ถูกดาวน์โหลดออกไปด้วย ข้อมูลทั้งหมดกระทบคนไข้ 1.5 ล้านคน ข้อมูลการจ่ายยาผู้ป่วยนอกอีก 160,000 คน
คนร้ายเข้าสู่ระบบได้ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน จนถึงวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา ข้อมูลในฐานข้อมูลนั้นมีข้อมูลย้อนไปถึงปี 2015
ทุกวันนี้เราคงรู้จักการถ่ายภาพด้วยรังสี X กันดี ด้วยประโยชน์ในการช่วยให้มองเห็นสิ่งที่ถูกบดบังจากสายตา ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพดูสิ่งต่างๆ ภายในร่างกายของคนหรือสัตว์เพื่องานวินิจฉัยทางการแพทย์ หรือการตรวจวัตถุในกระเป๋าสัมภาระต่างๆ ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อเหตุผลด้านความปลอดภัย ภาพที่ถ่ายมาได้ด้วยสีขาว-ดำ ประกอบกับการวิเคราะห์รูปร่างของเงาดำ-ขาวที่ปรากฎในภาพ ทำให้เราเข้าใจว่าเรากำลังมองอะไรที่รังสี X ถ่ายมาได้
Zhejiang Huahai ผู้ผลิตส่วนประกอบยา (active pharmaceutical ingredient - API) พบการปนเปื้อนในยา Valsartan ว่าปนเปื้อนสาร N-nitrosodimethylamine (NDMA) ที่เป็นสารก่อมะเร็ง ทำให้ผู้ผลิตยาที่ใช้สารจากผู้ผลิตรายนี้ต้องเรียกคืนยา
ในไทยเองมีผู้ผลิตหรือนำเข้า Valsartan ทั้งหมด 7 ราย แต่ได้รับผลกระทบ 2 ราย คือ สีลมการแพทย์ และยูนีซัน ทางอย. ขอให้ผู้ป่วยที่ใช้ยาจากบริษัทดังกล่าวให้ส่งยาคืนสถานพยาบาลเพื่อทำลาย
ที่มา - สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, FDA
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย Waterloo, ทีมฮาร์ดแวร์จาก Infineon และทีมปัญญาประดิษฐ์จากกูเกิล ร่วมกันสร้างระบบตรวจจับระดับน้ำตาลโดยไม่ต้องเจาะผิวหนังแม้แต่น้อย แต่ใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงเข้าไปสำรวจระดับน้ำตาลในของเหลวแทน
เรดาร์ยิงคลื่นวิทยุกว่า 500 รูปแบบเข้าไปยังของเหลวแล้วจับเวลาที่คลื่นสะท้อนกลับออกมา จากนั้นสร้างซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์มาหาระดับน้ำตาลจากผลลัพธ์ที่จับมาได้ ผลที่ได้ตอนนี้มีความแม่นยำที่ 85% ของการวัดระดับน้ำตาลจากของเหลวโดยตรง
ทีมวิจัยของ ดร.Denise Faustman แห่ง Massachusetts General Hospital ในสังกัดของ Harvard University ได้แถลงข่าวเกี่ยวกับความสำเร็จเบื้องต้น Clinical trial Phase I ในการยับยั้งภาวะน้ำตาลในเลือดสูงของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 1 โดยใช้เพียงวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) ซึ่งใช้กันมายาวนานและมีราคาถูก
ทีมนักวิจัยซึ่งนำโดย Adam Heller จาก University of Texas ได้ทำการตรวจสอบตัวอย่างตับอ่อนจากผู้บริจาคและพบความเกี่ยวโยงกันระหว่างผลึกของสาร Titanium Dioxide (TiO2) ซึ่งเป็นสารให้สีขาวสำหรับใช้ในอาหารและอาการเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 Diabetes (T2D)) โดยจากการทดสอบตัวอย่างจำนวน 11 ตัวอย่าง ซึ่งนำมาจากผู้บริจาคสุขภาพดี 3 คน และผู้บริจาคที่เป็นโรค T2D 8 คน พบว่า ในตัวอย่างของผู้มีสุขภาพดี ตรวจไม่พบผลึก TiO2 ในขณะที่ตัวอย่างจากผู้ป่วย T2D ตรวจพบผลึกสาร TiO2 มากกว่า 200 ล้านผลึกต่อกรัมของ TiO2 ที่พบ
โรงพยาบาลในประเทศฝรั่งเศสเริ่มทดลองให้ผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินสวมใส่แว่น VR เพื่อให้ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดแทนการใช้ยา โดยการใช้งานระบบ VR จะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจของผู้ป่วยออกจากอาการบาดเจ็บทำให้รู้สึกเจ็บน้อยลง
ผู้ป่วยจะได้รับชมภาพวิวทิวทัศน์ในบรรยากาศผ่อนคลาย และถูกพาท่องไปในโลก VR เพื่อให้รู้สึกเพลิดเพลินจนลืมเจ็บ โดยสิ่งที่ผู้ใช้สามารถทำได้ภายในโลก VR นั้นจะไม่จำกัดเพียงแค่การมองภาพวิวบรรยากาศโดยรอบ แต่จะมีระบบที่โต้ตอบกับผู้ใช้ ให้ผู้ใช้เล่นเกมปริศนา, เล่นดนตรี หรือวาดรูปได้ด้วย
ตามที่เราเรียนกันมา หรือเชื่อกันมา ว่าการรับประทานวิตามินและอาหารเสริมเกลือแร่ต่างๆ จะช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพิ่มเติมจากที่ได้รับจากมื้ออาหารที่รับประทานเข้าไปในแต่ละวัน และทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหรือมีอาการเจ็บป่วย ทว่าผลการวิจัยศึกษาพบว่ามันอาจไม่เป็นอย่างที่คิดเสมอไป
งานวิจัยนี้เป็นความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาล St. Michael's Hospital และ University of Toronto ซึ่งได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ใน Journal of the American College of Cardiology เมื่อสัปดาห์ก่อน
เรารู้กันดีว่าเทคโนโลยีวิทยาการสมัยใหม่ทั้งปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์มีส่วนช่วยในการวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยรวมทั้งการรักษาต่างๆ มากแค่ไหน ในส่วนของการใช้หุ่นยนต์นั้นก็อาศัยประสิทธิภาพการเคลื่อนที่อย่างแม่นยำ เที่ยงตรง เข้ามาช่วยเสริมการปฏิบัติงานหัตถการต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะงานศัลยกรรมที่ละเอียดอ่อน แต่ยังไม่เคยมีการใช้หุ่นยนต์ช่วยในการผ่าตัดบริเวณกระดูกสันหลังมาก่อน จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้ว
ทีมแพทย์แห่ง Penn (หมายถึง University of Pennsylvania) ได้ประกาศข่าว เรื่องการผ่าตัดให้กับผู้ป่วยรายหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า Noah Pernikoff โดยใช้หุ่นยนต์แขนกล da Vinci มาช่วยในการผ่าตัดเอาเนื้องอกออกจากกระดูกสันหลังได้สำเร็จ
กูเกิลเปิดงาน Google I/O ด้วยการแถลงถึงงานวิจัยปัญญาประดิษฐ์ด้านการแพทย์ที่กำลังตีพิมพ์ ทำให้สามารถทำนายข้อมูลของคนไข้ได้ละเอียดและแม่นยำมากขึ้น
รายงานแรกเป็นการอ่านข้อมูลจากภาพดวงตา กูเกิลสร้างโมเดลทำนายข้อมูลคนไข้จากภาพเรตินาอย่างเดียว ได้ข้อมูลถึง 6 อย่าง ได้แก่ อายุ, เพศ, สูบบุหรี่, เบาหวาน, อัตราส่วนน้ำหนักและส่วนสูง, ความดันเลือด
โรงพยาบาลศิริราชแถลงข่าวความสำเร็จการผ่าตัดปลูกถ่าย 3 อวัยวะให้ผู้ป่วยในคราวเดียวได้สำเร็จเป็นรายแรกของเอเชีย โดยผู้ป่วยได้รับหัวใจ, ตับ และไตใหม่ ถือเป็นรายที่ 15 ของโลกที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะใหม่เช่นนี้สำเร็จ
ผู้ป่วยรายดังกล่าวเป็นชายวัย 26 ปี ชื่อนายรชานนท์ มีอาการป่วยด้วยโรคไตตั้งแต่อายุ 8 ขวบ แม้จะพยายามควบคุมอาการด้วยยาจนอาการทรงตัวได้ระยะหนึ่ง แต่ภายหลังก็เกิดไตวายระยะร้ายแรงจนต้องรักษาด้วยการฟอกเลือดอยู่เสมอ ต่อมาผู้ป่วยรายนี้ถูกตรวจพบว่ามีภาวะหัวใจล้มเหลวเนื่องจากกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแรง ซึ่งส่งผลกระทบจนเกิดภาวะตับแข็งตามมาด้วย
เชื่อว่าทุกคนที่มีประสบการณ์เคยไปพบแพทย์ คงจะคุ้นเคยกับอุปกรณ์ stethoscope หรือที่หลายคนเรียกว่าหูฟังแพทย์กันดี มันคืออุปกรณ์ที่ช่วยให้แพทย์ได้ยินเสียงจากภายในร่างกายของผู้ป่วยได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตอนนี้มีอุปกรณ์น่าสนใจที่จะเปลี่ยน iPhone ให้ทำหน้าที่ช่วยในการฟังเสียงในร่างกายคนได้เหมือน stethoscope ชื่อของมันคือ Steth IO
Steth IO มีลักษณะเป็นเคสสำหรับสวมให้กับ iPhone โดยมีหน้าไดอะแฟรมไว้สำหรับทาบเพื่อฟังเสียงอยู่บริเวณส่วนล่างด้านหลังของตัวเครื่อง ในการใช้งานผู้ใช้เพียงเปิดแอพ Steth IO แล้วทาบหน้าไดอะแฟรมเข้ากับร่างกายผู้รับการตรวจ เช่นเดียวกับการใช้ stethoscope ทั่วไปที่ต้องทาบหน้าไดอะแฟรมลงบนตำแหน่งของร่างกายเพื่อฟังเช่นกัน
ดร.แอนดริว ลี (Andrew Lee) และทีมศัลยแพทย์จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ (Johns Hopkins University) รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ได้ทำการผ่าตัดองคชาติและถุงอัณฑะแก่ทหารผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการก่อการร้ายในประเทศอัฟกานิสถาน โดยทีมศัลยแพทย์ได้นำองคชาติ ถุงอัณฑะ และผนังช่องท้องบางส่วนของผู้บริจาคที่ได้แสดงความจำนงในการบริจาคอวัยวะหลังจากตนได้เสียชีวิตไปแล้ว โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ป่วยได้ฟื้นสมรรถภาพทางเพศกลับมาดังเดิม ซึ่งเป็นไปไม่ได้ในการสร้างองคชาติขึ้นมาใหม่
การที่คนเราต้องสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายไปย่อมเป็นเรื่องที่ไม่ดีแน่ ทั้งในแง่ของสภาพจิตใจและการใช้ชีวิตประจำวัน ยิ่งเป็นอวัยวะสืบพันธุ์นั่นย่อมกระทบต่อจิตใจและชีวิตครอบครัวอย่างใหญ่หลวง ซึ่งนับเป็นเรื่องโชคร้ายของทหารสหรัฐฯ นายหนึ่งที่ประสบเหตุจากการปฏิบัติภารกิจที่อัฟกานิสถานจนทำให้เขาบาดเจ็บและสูญเสียอวัยวะสำคัญที่ว่า แต่นับว่ายังมีข่าวดี เพราะมหาวิทยาลัย Johns Hopkins สามารถปลูกถ่ายองคชาติและถุงอัณฑะใหม่ให้เขาได้เป็นผลสำเร็จ