Google พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้วิเคราะห์ภาพจากกล้องจุลทรรศน์ ด้วยการเรียนรู้ภาพเนื้อเยื่อเซลล์มะเร็งที่ผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์มาแล้วมากมาย มันสามารถมองภาพที่ถ่ายมาใหม่ๆ แล้วแยกแยะได้ว่าตรงไหนเป็นเนื้อร้ายที่กลายเป็นเซลล์มะเร็ง หรือเนื้อเยื่อส่วนไหนที่มีความผิดปกติ
สิ่งที่ปัญญาประดิษฐ์ของ Google ทำนี้ คือการช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของพยาธิแพทย์ เมื่อถาดใส่เนื้อเยื่อสำหรับการวิเคราะห์ถูกใส่เข้ามาในกล้องจุลทรรศน์ที่ได้รับการดัดแปลงพิเศษ ภาพของเนื้อเยื่อนั้นจะถูกสะท้อนด้วยกระจกไปยังหน่วยประมวลผลปัญญาประดิษฐ์ด้วย ในขณะที่โปรแกรมทำการวิเคราะห์ภาพเนื้อเยื่อที่อยู่ในกล้องจุลทรรศน์ มันจะแสดงผลเป็นภาพ AR ปรากฏบนหน้าจอสะท้อนไปยังตาของผู้ใช้ที่กำลังจับจ้องผ่านช่องส่องภาพของกล้องจุลทรรศน์
การใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยนั้นมีกันมาหลายปีแล้ว ทั้งในขั้นงานวิจัย และการใช้งานจริง แต่ที่ผ่านมาทั้งหมดยังต้องทำควบคู่กันไปกับการวิเคราะห์อาการโดยเแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อยืนยันผลการวินิจฉัยโดยปัญญาประดิษฐ์นั้นว่ามีความถูกต้องเชื่อถือได้มากเพียงไหน แต่ล่าสุด FDA (องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ) ได้รับรองให้สามารถใช้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อวินิจฉัยอาการป่วยได้โดยไม่ต้องอาศัยการตรวจทานโดยแพทย์เฉพาะทางแล้ว
สำนักข่าว CNBC เผย Facebook ทำโครงการวิจัยโดยใช้ข้อมูลบน Facebook กับข้อมูลการแพทย์ เป้าหมายคือเพื่อพัฒนาด้านการรักษาและการดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามโครงการวิจัยได้หยุดไปเมื่อเดือนที่แล้ว หรือช่วงที่ปัญหาข้อมูลระหว่าง Facebook และ Cambridge Analytica ปะทุขึ้น
Versa นาฬิการุ่นใหม่ของ Fitbit เพิ่มฟีเจอร์ติดตามรอบประจำเดือน เพื่อให้ผู้ใช้เข้าใจรูปแบบประจำเดือนของตน โดยตัวแอพจะถามผู้ใช้ก่อนว่าต้องการให้ระบบติดตามรอบประจำเดือนหรือไม่ นอกจาก Versa แล้ว แอพใหม่จะสามารถใช้ได้กับนาฬิการุ่น Ionic และในแอพพลิเคชั่น Fitbit ด้วย
เมื่อผู้ใช้ตอบตกลงอนุญาตให้ติดตามข้อมูลประจำเดือน ระบบจะให้ผู้ใช้คาดการณ์ช่วงที่จะมีประจำเดือน โดยระบบจะแสดงเป็นแถบสีชมพูบนปฏิทิน นอกจากนี้ระบบจะถามอาการข้างเคียงทางกายช่วงประจำเดือนโดยให้แตะที่ไอคอน เช่น ปวดหัว ปวดท้อง สิวขึ้น ถามกิจกรรมทางเพศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังถามลักษณะของตกขาวและปริมาณของประจำเดือนด้วย
นักวิจัยจาก Wyss Institue แห่งมหาวิทยาลัย Harvard คิดค้นวัสดุเพื่อใช้เป็นเทปปิดสมานแผลสำหรับแผลผ่าตัดอวัยวะภายในร่างกายได้
แต่เดิมทีการปิดแผลห้ามเลือดแผลผ่าตัดบริเวณอวัยวะภายในร่างกายนั้นมีข้อจำกัดที่ซับซ้อนกว่าแผลผิวหนังภายนอก เทคนิคที่ใช้กันมีทั้งการเย็บแผลด้วยไหมหรือลวดเย็บสำหรับงานผ่าตัดโดยเฉพาะซึ่งต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัด และต้องใช้เวลาในการลงมือทำ ในขณะการใช้กาวสมานแผลซึ่งทำได้รวดเร็วกว่าและเป็นวิธีทั่วไปสำหรับการปิดแผลห้ามเลือดผิวหนังภายนอกนั้นก็ไม่ตอบโจทย์เรื่องความยืดหยุ่น เพราะเมื่อเนื้อกาวแข็งตัวมันจะเปราะจนแตกและหลุดออกจากแผลได้ง่ายเมื่อพื้นผิวเนื้อเยื่อที่มันยึดเกาะอยู่มีการเคลื่อนไหวปรับเปลี่ยนรูปทรงพื้นผิว ซึ่งคงเป็นไปไม่ได้ที่จะเติมกาวลงไปใหม่กับบาดแผลที่อวัยวะภายในร่างกาย
Natural Cycles แอพคำนวณระยะปลอดภัยที่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้โดยไม่ต้องป้องกัน ตัวแอพอาศัยข้อมูลอุณหภูมิร่างกายผู้ใช้ กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในขณะนี้หลังมีผู้ใช้ถึง 37 ราย จากทั้งหมด 668 รายระบุว่าพวกเธอตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์
Natural Cycles จะใช้ข้อมูลอุณหภูมิร่างกายระหว่างรอบประจำเดือน และจะแจ้งเตือนให้ผู้ใช้รู้ว่าระยะปลอดภัยของแต่ละคนคือช่วงวันไหน โดย Natural Cycle อ้างผลวิจัยที่ทำเองว่าการนับวันด้วยแอพได้ผลดีเท่ายาคุมกำเนิด
Carina Montin เจ้าหน้าที่ผดุงครรภ์ในโรงพยาบาล Södersjukhuset ระบุว่า หน้าที่ของโรงพยาบาลคือต้องรายงานผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นต่อหน่วยงานผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์หรือ Medical Products Agency ด้าน Natural Cycles แถลงตอบโต้ว่า การคุมกำเนิดไม่ได้ยืนยัน 100% ว่าจะไม่ก่อให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ และเทียบจำนวนผู้ใช้ 37 รายที่ตั้งครรภ์ คิดเป็น 5.5% ของผู้ใช้แอพทั้งหมด ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่บริษัทสื่อออกไปว่า แม้จะคุมกำเนิด แต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี
เราได้เห็นการนำปัญญาประดิษฐ์ มาประยุกต์ใช้ทางการแพทย์มาแล้วหลายโครงการ ทั้งการวินิจฉัยปอดบวม, การทำนายภาวะออทิสติก และตรวจหาเซลล์มะเร็ง ล่าสุด ทีมนักวิจัยจากบริษัท Human Longevity ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับพันธุศาสตร์มนุษย์ ได้รายงานผลงานวิจัยเรื่อง การทำนายรูปลักษณ์ภายนอกจากสารพันธุกรรม (DNA) โดยใช้ machine learning ลงในวารสาร Proceedings from the National Academy of Sciences (PNAS)
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) อนุมัติ KardiaBand (สายนาฬิกา) เป็นอุปกรณ์แรกที่สามารถตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) ภายใต้การออกแบบให้ใช้ร่วมกับ Apple Watch โดยบริษัท AliveCor
ฟีเจอร์ใหม่ของสายนาฬิกา KardiaBand ที่ใช้ในการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจมีชื่อที่ประกาศออกมาคือ SmartRhythm ซึ่งสามารถวิเคราะห์โรคภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation) โดย CEO ของ AliveCor ได้กล่าวว่า "การจับคู่ระหว่าง KardiaBand และ SmartRhythm จะเปลี่ยนแปลงชีวิตผู้ที่มีปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับโรคทางหัวใจ"
จุดเด่นที่สำคัญประการหนึ่งของเทคนิคการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยการพิมพ์ 3 มิติ คือการขึ้นรูปที่มีความซับซ้อนเชิงมิติ ที่การหล่อหรือเทคนิคตัดแต่งวัสดุแบบอื่นอาจทำไม่ได้ ที่สำคัญด้วยความก้าวหน้าด้านวัสดุศาสตร์ที่ตอบรับงานพิมพ์ ทำให้มีวัสดุหลากหลายประเภทที่สามารถนำมาขึ้นรูปเป็นชิ้นงานด้วยการพิมพ์ 3 มิตินี้ได้ และด้วยข้อดีเหล่านี้เอง จึงมีผู้คิดใช้การพิมพ์ 3 มิติสร้างชิ้นส่วนจำลองแทนชิ้นส่วนอวัยวะร่างกายคน ซึ่งได้ประโยชน์ทั้งเพื่อการศึกษา และงานทดสอบเครื่องมือทางการแพทย์
การศึกษาด้านการแพทย์ในแง่ของการลงมือปฏิบัติจริง และการทดสอบเครื่องมือแพทย์นั้น ลำพังแค่การใช้งานหุ่นจำลองก็ยังไม่เพียงพอ บางครั้งก็ต้องพึ่งพาอาจารย์ใหญ่ ในขณะที่บางครั้งก็ต้องนำสัตว์มาใช้เพื่อการศึกษาทดแทน แต่นั่นอาจยังไม่เพียงพอที่จะมอบประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับงานจริงๆ ที่ผู้ศึกษาอาจจะต้องเจอเข้าสักวัน เพราะกายวิภาคของสัตว์ก็ยังแตกต่างจากร่างกายมนุษย์ และต่อให้มีการใช้ร่างของอาจารย์ใหญ่มาศึกษา แต่ความผิดปกติของอวัยวะบางประการ เช่นกล้ามเนื้อหัวใจที่มีความผิดปกติมาแต่กำเนิด ก็ใช่ว่าจะหาได้จากร่างของอาจารย์ใหญ่ได้เสมอไป
Stanford ได้เผยแพร่งานวิจัยด้านการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อวินิจฉัยอาการเจ็บป่วยชื่อว่า CheXNet ซึ่งสามารถวิเคราะห์ภาพถ่าย X-ray ทรวงอก และตรวจหาอาการโรคปอดบวมได้ดีกว่านักรังสีวิทยาด้วย
ทีมวิจัยซึ่งนำโดย Andrew Ng ได้สร้างอัลกอริธึมปัญญาประดิษฐ์แบบ deep learning และใช้ข้อมูลภาพถ่าย X-ray ทรวงอกกว่า 112,000 ภาพ มาเทรนให้กับ CheXNet โดยนอกจากมันจะสามารถตรวจสอบโรคปอดบวมแล้ว CheXNet ยังสามารถตรวจสอบอาการเจ็บป่วยอื่นๆ ในช่องอกได้อีก 13 โรค
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพัฒนาระบบวิเคราะห์ภาพ CheXNet ที่เป็น deep learning ลึกถึง 121 ชั้น วิเคราะห์ภาพเอ็กซ์เรย์ปอดโดยฝึกจากฐานข้อมูล 112,120 ภาพ (ชุดข้อมูล ChestX)
CheXNet สามารถตรวจพบโรค 14 โรคจากภาพเอ็กซ์เรย์ ChestX ได้ดีกว่าระบบอัตโนมัติอื่นที่เคยมีการพัฒนามาก่อนหน้านี้ ความแม่นยำต่ำสุดคือ Infiltration สามารถตรวจได้ถูกต้อง 72.04% แต่ก็ยังดีกว่างานวิจัยก่อนหน้านี้มาก
ทีมวิจัยทดสอบภาพเอ็กซ์เรย์ตัวอย่างอีก 420 ภาพกับรังสีแพทย์ 4 คนที่มีประสบการณ์ทำงาน 4, 7, 25, และ 28 ปี พบว่าเมื่อ CheXNet และแพทย์วิเคราะห์ภาพด้วยข้อมูลเท่าๆ กัน (เห็นภาพด้านหน้าอย่างเดียว, ไม่รู้ประวัติคนไข้) CheXNet มีความสามารถในการวิเคราะห์ภาพได้แม่นยำกว่า
ในวงการแพทย์ยังมีข้อถกเถียงกันเรื่องข้อมูลการใช้ยาของคนไข้ ควรจะมีนโยบายมากำกับดูแลอย่างไรได้บ้าง ล่าสุด FDA หรือ Food and Drug administration องค์การอาหารและยาสหรัฐฯให้การรับรองตัวยาดิจิทัลตัวแรกที่สามารถติดตามข้อมูลการใช้ยาของคนไข้ได้ผ่านแอพพลิเคชั่น เป็นยารักษาอาการทางจิตเวช
ตัวยาดังกล่าวมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่มีชื่อว่า Abilify MyCite เป็นการฝังเซนเซอร์ชนิดกินได้ลงไปในตัวยา ทำจากทองแดงแมกนีเซียมและซิลิโคน ตัวเซนเซอร์จะส่งวันที่และเวลาเมื่อตรวจพบสัญญาณการกินยาไปยังแอพพลิเคชั่น เลือกแชร์ข้อมูลนั้นให้กับแพทย์หรือสมาชิกในครอบครัวได้
การติดตามยาแบบดิจิทัลมีความเป็นไปได้ว่าจะช่วยป้องกันการใช้ยามากเกินไปจนพัฒนาไปสู่การเสพติดยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยจิตเวช
กระทรวงสาธารณสุขสิงคโปร์ประกาศแผนผลักดันกฎหมายบังคับให้สถานพยาบาลทั้งหมดต้องส่งข้อมูลเข้าฐานข้อมูลกลาง (National Electronic Health Record - NEHR) หลังจากเปิดระบบให้สถานพยาบาลส่งข้อมูลตามสมัครใจมาตั้งแต่ปี 2011 แต่ไม่ได้รับความนิยม โดยมีสถานพยาบาลเอกชนเพียง 3% ที่เข้าร่วม จากทั้งหมดกว่า 4,000 แห่ง
แผนนี้จะเป็นการเสนอกฎหมายแก้พรบ.บริการสาธารณสุข เพิ่มข้อกำหนดว่าสถานพยาบาลต้องส่งข้อมูลกลับไปยังกระทรวง โดยร่างกฎหมายจะเข้าสู่สภาปีหน้า และหากกฎหมายผ่านก็จะให้เวลาอีก 2-3 ปีในการปรับปรุงระบบ โดยทางกระทรวงเตรียมงบประมาณไว้ 20 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์สำหรับการสนับสนุนให้สถานพยาบาลอัพเกรดระบบให้เชื่อมต่อกับกระทรวง
ในช่วงสิบปีหลังมีความพยายามในการเอาหุ่นยนต์มาช่วยศัลยแพทย์ในการผ่าตัดมากขึ้น (ในเมืองไทยเองก็มีหลายแห่ง) หุ่นยนต์เหล่านี้ได้ผลดีในการผ่าตัดบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ความหวังในการเอาหุ่นยนต์ราคาแพงมาช่วยในการผ่าตัดตลอดเวลานั้นอาจจะเริ่มต้องมาคิดกันใหม่ เมื่องานวิจัยล่าสุดพบว่ามันอาจจะไม่ได้ช่วยทุกเรื่อง
GE Healthcare ผู้บริการด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ นำเสนอระบบตรวจเต้านมหรือทำแมมโมแกรมแบบใหม่ ให้ผู้เข้ารับการตรวจสอบควบคุมการบีบอัดเต้านมผ่านรีโมทคอนโทรลด้วยตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดโดยไม่พึงประสงค์ ทางคณะแพทย์คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะให้คนทั่วไปที่กลัวการตรวจแมมโมแกรม จะเข้ารับการตรวจมากขึ้น
ตัวรีโมทมีชื่อว่า Dueta คือเทคโนโลยีล่าสุดในระบบตรวจเต้านมหรือ Senographe Pristina ที่ GE เปิดตัวไปเมื่อปีที่แล้ว ทีมแพทย์ระบุว่า ผู้เข้ารับการตรวจจะรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เมื่อผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลาย จะได้ภาพฉายรังสีที่ดีและง่ายต่อการวินิจฉัย
มีผลสำรวจระบุว่า คนอเมริกันที่มีสิทธิ์เข้ารับการตรวจแมมโมแกรม หนึ่งในสามของคนเหล่านี้ไม่เข้ารับการตรวจ การทำแมมโมแกรมให้ง่ายและสบายต่อผู้เข้ารับการตรวจมากขึ้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่จะควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองไม่ได้ และมักจะหกล้มเพราะทรงตัวไม่ได้ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Houston ทำผลงานวิจัยช่วยให้ผู้ป่วยพาร์กินสันเคลื่อนไหวได้อย่างมั่นคงมากขึ้น โดยพัฒนาแอพพลิเคชั่นควบคุมเข็มขัดเพื่อช่วยการทรงตัวในชื่อว่า Smart Balance System ตัวเข็มขัดมีระบบที่สามารถชี้นำการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยได้เรียลไทม์ผ่านการแสดงผลเป็นจุดต่างๆ บนหน้าจอสมาร์ทโฟน
เป้าหมายของนักวิจัยในการพัฒนา Smart Balance System ไม่เพียงช่วยให้ผู้ป่วยเคลื่อนไหวได้มั่นคงขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยแก้ปัญหาลดช่องว่างระหว่างหมอ นักบำบัดและผู้ป่วย เนื่องจากข้อมูลผู้ป่วยจะถูกอัพเดตผ่านระบบเซิร์ฟเวอร์ออนไลน์ ที่ซึ่งแพทย์สามารถเข้าไปวิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจด้านการรักษาต่อไปได้โดยผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาล
Dawn Jewell จิตแพทย์ในโคโลราโด ใช้เทคโนโลยี VR รักษาผู้ป่วยที่เคยประสบอุบัติเหตุรถยนต์ ส่งผลให้คนไข้กลัวการขับรถ Jewell จึงให้คนไข้สัมผัสประสบการณ์การขับรถอีกครั้งผ่านการสวมแว่น VR
Jewell ไม่ใช่จิตแพทย์รายเดียวที่ใช้วิธีนี้ เพราะ VR มีประโยชน์มากขึ้นในการบำบัดผู้ป่วยทางจิต Jewell ใช้ผลิตภัณฑ์ VR จากสตาร์ทอัพ Limbix ที่ให้การบำบัดรักษาด้วย VR จาก Daydream View ของ Google จิตแพทย์ Jewell ให้เหตุผลว่า VR ให้การบำบัดที่คนไข้ยังรู้สึกปลอดภัย ทั้งคนไข้และหมอสามารถไปยังสถานที่เดียวกัน คนไข้จะบอกความรู้สึก ความคิด อาการให้หมอวิเคราะห์ได้ทันที
WebMD เว็บไซต์ข้อมูลด้านข้อมูลการแพทย์รายใหญ่ของโลก ขายกิจการให้กับ Internet Brands บริษัทเจ้าของเว็บไซต์เฉพาะทางรายใหญ่ ด้วยมูลค่า 2.8 พันล้านดอลลาร์
WebMD เป็นเว็บไซต์ด้านข้อมูลการแพทย์ยุคแรกๆ โดยก่อตั้งในปี 1996 และปัจจุบันเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ ด้วย อย่างไรก็ตาม ช่วงหลัง WebMD เริ่มมีรายได้จากการโฆษณาของบริษัทยาลดลง ทำให้บริษัทต้องมองหาทางเลือกอื่นๆ ในการอยู่รอดต่อไป (การขายกิจการครั้งนี้จะทำให้ WebMD ออกจากตลาดหลักทรัพย์)
กลุ่มสตาร์ทอัพสายสุขภาพประเทศไทย ประกาศจะจัดตั้งสมาคม Health Startup Network (HSN) เพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดทางกฎหมาย อำนวยความสะดวกในการสร้างนวัตกรรมใหม่ และลดความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจของสตาร์ทอัพสายนี้ HSN มาจากการรวมกลุ่มสตาร์ทอัพสุขภาพหลายๆ บริษัท
หนึ่งในนั้นคือ Ooca แพลตฟอร์มสื่อกลางระหว่างจิตแพทย์ นักจิตวิทยา และคนไข้ หรือคนทั่วไปที่มีปัญหาในใจ และอยากคุยกับแพทย์ ซึ่ง Blognone ได้สัมภาษณ์ผู้ก่อตั้งคือ ทพญ.กัญจน์ภัสสร สุริยาแสงเพ็ชร์ หรือ หมออิ๊ก และพบว่าเป็นการสัมภาษณ์ที่สนุกและได้ความรู้มาก
คณะที่ปรึกษาเรื่องโรคเอดส์แก่ประธานาธิบดี หรือ The Presidential Advisory Council on HIV/AIDS (PACHA) คือหน่วยงานที่รับผิดชอบในการให้คำแนะนำและข้อมูลนโยบายสุขภาพตลอดจนดูแลยุทธศาสตร์การต่อสู้กับโรคเอดส์ ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า 6 คนในคณะ PACHA ลาออก โดยสมาชิกที่ลาออกเขียนบทความลงใน Newsweek ว่า พวกเขาไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ประธานาธิบดีที่ดูเหมือนจะไม่แคร์ได้ ("president who simply does not care.")
แพทย์และนักวิทยาศาสตร์จากสถาบันแพทย์จำนวนหนึ่ง รวมทั้งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดและสถาบัน MIT เผยว่า การกินขี้มูกดีต่อสุขภาพ เป็นแหล่งรวมแบคทีเรียดี ไม่เป็นของสกปรกที่ร่างกายต้องกำจัดออกอีกต่อไป
คณะแพทย์ระบุว่าการกินขี้มูกช่วยกำจัดแบคทีเรียที่เกาะตามฟัน และยังสามารถป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจ แผลในกระเพาะอาหาร และแม้แต่เชื้อ HIV คณะวิจัยยังทดลองสร้างยาสีฟันและหมากฝรั่งที่มีสารสกัดจากน้ำมูกเพื่อพิสูจน์การทดลอง
บริษัทซอฟต์แวร์ Scopis ที่ทำเรื่อง VR,AR และเทคโนโลยีสามมิติ เปิดตัวแพลตฟอร์มสำหรับ Microsoft HoloLens เพื่อช่วยในการผ่าตัดเส้นประสาทบริเวณไขสันหลัง (Holographic Navigation Platform)
Scopis ระบุว่าแพลตฟอร์ม Holographic Navigation จะฉายภาพซ้อนกันของกระดูกไขสันหลังของผู้ป่วย และภาพจำลองที่มองเห็นผ่าน Microsoft HoloLens หรือที่เรียกอีกอย่างว่า mixed-reality ช่วยให้แพทย์สามารถผ่าตัดตามขั้นตอนและติดตามการทำการผ่าตัดว่าตอนนี้ผ่าตัดไปถึงส่วนไหนของกระดูกแล้ว ประกอบกับเทคโนโลยีสามมิติของ Scopis จะทำให้แพทย์ผ่าตัดเร็วขึ้นและลดความเสี่ยงจากการฉายรังสีตอนส่องกล้องทำการผ่าตัดด้วย
Elon Musk ประกาศตั้งบริษัท Neuralink เป็นบริษัทอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อการเชื่อมต่อสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยตรง หลังจากที่ก่อนหน้านี้เคยตั้งบริษัท OpenAI เพื่อการวิจัยปัญญาประดิษฐ์มาก่อนแล้ว
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสมองโดยตรงมีประโยชน์ทางการแพทย์หลายอย่าง เช่น การรักษาผู้พิการ ไปจนถึงการรักษาความเครียด แต่ความฝันระยะยาวของ Elon Musk คือการพัฒนามนุษย์ที่จะสามารถแข่งขันกับคอมพิวเตอร์ได้ เช่น การอัพโหลดความคิดไปเก็บไว้ และดาวน์โหลดกลับมาใช้งานใหม่
GRAIL สตาร์ทอัพด้านการแพทย์จากซานฟรานซิสโก ทำโซลูชั่นตรวจจับมะเร็ง ระดมทุนในซีรี่ส์ B ได้ถึง 900 ล้านดอลลาร์ เรียกได้ว่าเม็ดเงินระดมทุนเยอะขนาดนี้ มีให้เห็นไม่บ่อยนักสำหรับบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2016 นี้เอง
GRAIL รวมกลุ่มโดยวิศวกรคอมพิวเตอร์และแพทย์ ทำเทคโนโลยีตรวจจับมะเร็งโดยเน้นไปที่ระยะเริ่มต้นเพื่อให้ทันต่อการรักษา พัฒนาเทคโนโลยีทดสอบเลือด พัฒนาเครื่องมือตรวจสอบยีน ศึกษาด้านคลีนิกและวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อให้ระบบสามารถตรวจจับมะเร็งได้ตั้งแต่ระยะแรก
เงินลงทุนที่ได้มารอบนี้ทางบริษัทจะนำไปทำการศึกษาต่อยอดเรื่องการไหลเวียนของเซลล์หรือ Circulating Cell-free Genome Atlas (CCGA) ในสเกลที่ใหญ่ขึ้น
ปัจจุบันกว่าแพทย์จะสามารถตรวจพบภาวะออทิสติกในเด็กเจอ อายุเด็กต้องอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไป การตรวจออทิสติกให้เจอตั้งแต่ยังเล็กทำได้ยาก แต่ปัญหานี้สามารถใช้ AI ทำได้
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา (University of North Carolina) พัฒนาอัลกอริทึมที่สามารถคาดการณ์ภาวะโรคออทิสติกในทารก ผลที่ได้คือความถูกต้อง 81% และความเร็ว 88%
ทีมนักวิจัยป้อนข้อมูลภาพสแกนสมอง และตรวจสอบระบบด้วยการให้ AI ระบุปัจจัยสามอย่างเกี่ยวกับสมองเด็กๆ คือพื้นผิวสมอง ระดับสมอง และเพศของเด็ก (เด็กชายมีความเป็นไปได้จะเป็นออทิสติกมากกว่าเด็กหญิง)