ที่งานแถลงข่าวของ Apple วันนี้ ทางบริษัทได้แถลงเปิดตัวชุดเครื่องมือทางด้านสุขภาพอันใหม่ต่อเนื่องจาก ResearchKit โดยเรียกว่า CareKit สำหรับแอพและอุปกรณ์ของสาย iOS อย่างเป็นทางการ
CareKit เป็น framework สำหรับแอพในการช่วยให้แพทย์ พยาบาล และผู้ดูแลสุขภาพของผู้ป่วย สามารถติดตามความเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของผู้ป่วย โดยการใช้เซนเซอร์ต่างๆ ของอุปกรณ์ ในการตรวจวัดค่าต่างๆ แล้วแจ้งให้กับผู้ดูแลผู้ป่วย พยาบาล หรือสามารถแชร์ผลความคืบหน้าให้แพทย์ เพื่อปรับแนวทางการดูแลรักษาได้ทันที
แอพที่ใช้ ResearchKit หลายตัว เริ่มประกาศแล้วว่าจะใช้ CareKit อย่างเป็นทางการ แต่ยังไม่ระบุว่าจะเริ่มใช้กันเมื่อใด (น่าจะแล้วแต่แอพด้วย)
หลัง Theranos โดน CMS สั่งปรับปรุงมาตรฐานห้องปฏิบัติการที่ Newark รัฐ California เป็นการด่วน และส่งรายงานการตรวจสอบให้ Theranos รับทราบรายละเอียดของสิ่งที่ต้องแก้ไข แหล่งข่าววงในรายหนึ่งปูดข้อมูลมาว่าในรายงานได้ระบุว่ามีลูกค้าจำนวน 81 ราย ได้รับผลตรวจเลือดทั้งที่ Theranos รู้อยู่แล้วว่าผลการตรวจนั้นไม่ถูกต้องและเชื่อถือผลการวิเคราะห์ไม่ได้
วันนี้ตามเวลาท้องถิ่นที่สหรัฐอเมริกา IBM ร่วมกับสมาคมโรคหยุดหายใจสหรัฐอเมริกา (American Sleep Apnea Association: ASAA) เปิดตัวแอพที่มีชื่อว่า SleepHealth สำหรับ iPhone และ Apple รวมไปถึงการศึกษาที่เป็นชื่อเดียวกันด้วย
ตัวแอพและโครงการศึกษานี้จะศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้ ตลอดจนถึงภาวะการนอนหลับและการหยุดหายใจกะทันหันขณะหลับ (obstructive sleep apnea) โดยจะใช้เซนเซอร์จำนวนมากทั้งใน iPhone และ Apple Watch ในการวิเคราะห์พฤติกรรม ทั้งหมดจะใช้ ResearchKit ที่เป็นชุดคำสั่ง API และ framework ในการทำการศึกษาทางการแพทย์ของ Apple ส่วนระบบประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล จะใช้ Watson Health Cloud เป็นเทคโนโลยีเบื้องหลัง (แบบเดียวกับที่ใช้ในกรณีของโรคมะเร็ง)
Independent Security Evaluators บริษัทวิจัยด้านความปลอดภัยของสหรัฐอเมริกา เปิดเผยรายงานวิจัยด้านความปลอดภัยของโรงพยาบาลและสถานประกอบการด้านสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกา โดยระบุว่ามีความเสี่ยงที่จะโดนโจมตีจากภัยคุกคามทางคอมพิวเตอร์ได้ในทุกมิติ
DeepMind บริษัทลูกของ Google ที่อยู่ในอังกฤษ (มีผลงานคือ AlphaGo ที่เตรียมจะแข่งกับแชมป์โกะโลกในเดือนหน้า) ประกาศว่าจะเข้าสู่ตลาดการแพทย์อย่างเป็นทางการ โดยเริ่มต้นตั้งแผนกใหม่ที่มีเจ้าหน้าที่ประมาณ 15 คน และให้ชื่อว่า DeepMind Health
แผนกใหม่ดังกล่าวนี้จะถูกกำกับและดูแลโดยแพทย์สองคนของบริษัท หนึ่งในนั้นคือ Dominic King แพทย์เจ้าของสตาร์ทอัพ Hark ที่เป็นระบบจัดการงานของแพทย์ผ่านโทรศัพท์มือถือ โดย DeepMind จะร่วมมือกับ Imperial College London และมูลนิธิ Royal Free London NHS ในการพัฒนาโซลูชั่นต่างๆ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ศูนย์การแพทย์ Hollywood Presbyterian ซึ่งเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ตั้งอยู่ในเมือง Los Angeles มลรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐอเมริกา ออกมาเปิดเผยว่าถูกโจมตีจาก ransomware ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล โดยการโจมตีเริ่มในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ และขยายไปทุกส่วนของโรงพยาบาล
ระบบที่ได้รับผลกระทบมีตั้งแต่ระบบเวชระเบียนคนไข้อิเล็กทรอนิกส์ (EMR) ไปจนถึงระบบ CT scans, งานด้านห้องปฏิบัติการ รวมไปถึงห้องฉุกเฉินก็ได้รับผลกระทบไปด้วย เจ้าหน้าที่ต้องกลับไปใช้เวชระเบียนและเอกสารบนกระดาษอีกครั้ง และร้องขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานอย่าง LAPD และ FBI เพื่อจัดการกับปัญหานี้ ส่วนคนไข้ก็ถูกส่งต่อไปยังโรงพยาบาลอื่นๆ
เรียกว่าเป็นการเดินหน้าอย่างต่อเนื่องของ IBM ในการขยายตัวด้านสุขภาพ โดยเฉพาะกับแผนก IBM Watson เมื่อทางบริษัทประกาศเข้าซื้อบริษัท Truven Health Analytics บริษัทที่ทำธุรกิจด้านข้อมูลทางการแพทย์ (แพทย์และเภสัชกรหลายคนอาจจะเคยใช้แอพอย่าง Micromedex Drug Reference) ด้วยตัวเลขการเข้าซื้อสูงถึง 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 92,000 ล้านบาท)
การเข้าซื้อดังกล่าวจะทำให้ IBM ได้ทั้งลูกค้าของบริษัทกว่า 8,500 ราย, พนักงานกว่า 2,500 คน ไปจนถึงข้อมูลของ Truven ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก ผู้บริหารของ IBM ระบุว่าการเข้าซื้อในครั้งนี้จะช่วยเสริมความแข็งแกร่งของแพลตฟอร์ม IBM Watson ในตลาดการแพทย์ได้เป็นอย่างดี
ในเวลานี้ที่เทคโนโลยีงานพิมพ์ 3 มิติกำลังมาแรงสุดๆ งานค้นคว้าวิจัยใช้ประโยชน์งานพิมพ์นั้นมีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นงานออกแบบ, งานผลิตชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย ทั้งการสร้างบ้าน, สร้างรถ หรือจะเพื่อการแพทย์อย่างใช้การพิมพ์ 3 มิติสร้างเนื้อเยื่อตับไว้ทดสอบยา, สร้างกระดูกเทียมก็ยังมี แน่นอนว่าสร้างหุ่นยนต์ก็ย่อมได้ แต่วันนี้เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติที่ก้าวหน้ามากขึ้นจนสามารถทำชิ้นงานขนาดเล็กในระดับนาโนเมตร ส่งผลให้นักวิจัยสามารถสร้างหุ่นยนต์อสุจิได้แล้ว
หลังจากที่พัฒนาระบบของ Watson ด้านสุขภาพในฝั่งของวิทยามะเร็ง (Oncology) ไปแล้ว ล่าสุด IBM ได้แถลงความร่วมมือกับโรงพยาบาลเด็กบอสตัน (Boston Children's Hospital) เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบของ Watson ให้รองรับในสาขาการแพทย์เฉพาะทางเพิ่มเติม ซึ่งก็คือสาขากุมารเวช (Pediatrics) หลังจากมีความร่วมมือในการสร้างแพลตฟอร์มด้านคลาวด์ OPENPediatrics ไปแล้วเมื่อปี 2013
Tim Cook ซีอีโอแอปเปิล ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ The Telegraph ของอังกฤษ ประเด็นที่น่าสนใจคือเขาบอกใบ้ว่าแอปเปิลกำลังจะขยายไปยังอุปกรณ์ด้านการแพทย์ แต่ไม่ใช่การนำ Apple Watch ไปใช้งาน เพราะเขาไม่ต้องการนำสินค้าคอนซูเมอร์ไปใช้กับอุตสาหกรรมการแพทย์ ที่ต้องผ่านการรับรองจาก FDA (อย.ของสหรัฐ)
Cook พูดถึงยอดขายของ Apple TV รุ่นใหม่ว่าไปได้สวย และตอบคำถามที่ว่าแอปเปิลสนใจเปิดบริการสตรีมมิ่งของตัวเองหรือไม่ โดยเขาบอกว่าถ้าบริษัทมองว่ามันจะช่วยเป็นตัวเร่งยอดขายได้ เขาก็จะตัดสินใจทำ แต่เขาไม่ต้องการทำด้วยเหตุผลแค่ว่าเลือกทำเพราะคนอื่นทำ
บริษัทสตาร์ตอัพที่ร้อนแรงที่สุดรายหนึ่งในรอบ 1-2 ปีที่ผ่านมาคือ Theranos บริษัทด้านอุปกรณ์ตรวจเลือด ที่ก่อตั้งโดย Elizabeth Holmes ซีอีโอหญิง (ปัจจุบันอายุ 31 ปี แต่ก่อตั้งบริษัทตั้งแต่ปี 2003 ตอนอายุ 19 ปี)
จุดเด่นของ Theranos คือผลิตภัณฑ์ด้านการตรวจเลือดแนวใหม่ที่ไม่ต้องเจาะเลือดแบบเดิม แต่ใช้อุปกรณ์ขนาดเล็กที่เป็นสิทธิบัตรของบริษัท เก็บตัวอย่างเลือดเพียงไม่กี่หยด และได้ผลตรวจสอบอย่างรวดเร็ว ถือเป็นการปฏิวัติวงการตรวจเลือดไปอย่างสิ้นเชิง โซลูชันของ Theranos อ้างว่าลดค่าใช้จ่ายด้านการตรวจเลือดลงได้มาก บริษัทเซ็นสัญญากับร้านขายยารายใหญ่อย่าง Walgreens และระบุว่ามีสัญญากับบริษัทยารายใหญ่ของโลกอย่าง Pfizer
สำนักข่าว BBC ของอังกฤษ รายงานว่า นักวิจัยจาก Imperial College London ได้ตีพิมพ์รายงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่พบว่าแอพของ NHS (National Health Service หรือ หน่วยงานบริการสาธารณสุขแห่งชาติของอังกฤษ) มีช่องโหว่ในกระบวนการส่งข้อมูลบางอย่างซึ่งไม่ได้เข้ารหัส และทำให้สามารถถูกขโมยข้อมูลได้
เราอาจจะคุ้นเคยกับ Makerspace ที่เปิดตามสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบเอกเทศ (อย่างเช่น The Edge ที่ Brisbane ออสเตรเลีย) หรือแบบที่เป็นส่วนหนึ่งของห้องสมุด (เช่น Carnegie Public Library ที่เมือง Pittsburgh สหรัฐอเมริกา) แต่ล่าสุด มหาวิทยาลัยเท็กซัส ของสหรัฐอเมริกา ประกาศเปิดตัว MakerHealth Space อย่างเป็นทางการ ในโรงพยาบาล John Sealy ของมหาวิทยาลัย
เราอาจจะเคยเห็นแอพในโทรศัพท์ต่างๆ ที่เป็นฝั่งของโรงพยาบาลเอกชนมาหลายแห่งแล้ว แต่ตอนนี้โรงพยาบาลของรัฐก็เริ่มปรับตัวและมีแอพกับเขาบ้างเหมือนกันครับ
โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เปิดตัวแอพบนโทรศัพท์มือถือ (มีทั้งของ iOS และ Android) ชื่อว่า Rama Appointment แอพดังกล่าวจะเป็นตัวกลางให้ผู้ป่วยของโรงพยาบาลรามาธิบดีทั้งหมด สามารถลงทะเบียนเพื่อดูนัดหมายของตัวเองได้ว่ามีนัดอยู่กับแผนกใดบ้าง และเมื่อใด รวมทั้งยังขอเลื่อนนัดผ่านทางแอพได้ด้วย ข้อมูลของโรงพยาบาลจะเชื่อมต่อกับระบบฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกรมการปกครองโดยใช้เลขบัตรประจำตัวประชาชน ชื่อ นามสกุล และชื่อบิดามารดาในการยืนยันตัว
บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยด้วยโรคปวดแบบเรื้อรัง (chronic pain) อย่างเช่น โรคข้ออักเสบ (arthritis) มักจะประสบปัญหาในการดำเนินชีวิตเสมอ ซึ่งนอกจากการใช้ยาหรือครีมเพื่อบรรเทาอาการปวดแล้ว ยังมีการใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้าอย่าง TENS (transcutaneous electrical nerve stimulation) เพื่อบรรเทาอาการปวดร่วมด้วย แต่ก็ยังพกพาใช้ในชีวิตประจำวันได้ยากอยู่ดี
วารสาร Journal of the American Medical Association (JAMA) ซึ่งเป็นวารสารทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่งานวิจัยที่ระบุเกี่ยวกับความปลอดภัยและการจัดเก็บข้อมูลเวชระเบียนของผู้ป่วย โดยระบุว่าในช่วงปี 2010 ถึง 2013 มีข้อมูลเวชระเบียนจำนวนกว่า 29 ล้านชุด ได้รับผลกระทบจากการรั่วไหลของข้อมูล โดยกว่าร้อยละ 67 เป็นเวชระเบียนที่จัดเก็บอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นด้วย
หลังจากเปิดตัวแพลตฟอร์ม ResearchKit ไปเมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา วันนี้ทาง Apple ได้เปิดให้นักวิจัยทางการแพทย์ สามารถเข้าใช้งาน ResearchKit ได้อย่างเป็นทางการแล้ว โดยนักวิจัยสามารถสร้างแอพหรือโปรแกรม เพื่อนำข้อมูลจากแพลตฟอร์มดังกล่าว มาใช้ประกอบการวิจัยได้แล้ว
ทั้งนี้ Apple ยังเปิดเผยตัวเลขว่าสำหรับแอพชุดแรก ที่เปิดตัวไปพร้อมๆ กับการเปิดตัว ResearchKit มีการใช้งานกับ iPhone แล้วกว่า 60,000 เครื่องทั่วโลก
ช่วงที่ผ่านมา IBM พยายามที่จะเข้าสู่ตลาดของวงการแพทย์อยู่เรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ่านบริการประมวลผลของ Watson ที่ให้บริการอยู่บนคลาวด์ของตัวเอง เช่น Watson for Oncology (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่) แต่ระยะหลังก็กระจายไปยังสาขาแพทย์ด้านอื่นมากขึ้น จนในที่สุด IBM ตัดสินใจตั้งแผนก IBM Watson Health และเปิดบริการ Watson Health Cloud อย่างเป็นทางการสำหรับเจาะตลาดนี้
เมื่อวานนี้ (ตามเวลาในประเทศไทย) IBM ประกาศเข้าลงทุนใน Modernizing Medicine สตาร์ทอัพสายไอทีด้านการแพทย์ ที่มีผลิตภัณฑ์หลักเป็นระบบจัดเก็บเวชระเบียนคนไข้แบบอิเล็กทรอนิกส์บนคลาวด์ โดยการลงทุนครั้งนี้ (เป็นรอบ D) IBM ได้เข้าร่วมลงทุนเป็นจำนวนเงินกว่า 20 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
IBM ระบุว่า เงินที่ลงทุนไปนั้น เพื่อให้ Modernizing Medicine สามารถนำเอาไปพัฒนาแอพ schEMA ซึ่งเป็นแอพที่สามารถเข้าถึงเวชระเบียนของคนไข้ และสามารถใช้ IBM Watson เข้ามาวิเคราะห์ เพื่อเสนอทางเลือกให้แก่แพทย์ผู้ทำการรักษา (แบบเดียวกับ Watson for Oncology) โดยเริ่มใช้แล้วในสายการแพทย์โรคผิวหนัง ขยายตัวไปยังสายการแพทย์เฉพาะทางอื่นๆ เพิ่มเติมด้วย
เมื่อคืนนี้ Apple ได้เปิดตัว Research Kit โดยโฆษณาว่ามันเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยนักวิจัยด้านการแพทย์ (Medical Research -- บางทีเราจะใช้คำว่า Clinical Research ในกรณีที่เก็บคนไข้ที่เป็นคนจริงๆ เพราะ Medical Research นี่รวมทดลองทางการแพทย์ที่ทำในห้องทดลองและสัตว์ทดลองด้วย) เพื่อนำไปในการเก็บข้อมูล และเพิ่มจำนวนคนไข้ที่สมัครใจเข้าร่วมงานวิจัย ผมในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับวงการวิจัยทางการแพทย์ ขอแสดงความเห็นส่วนตัวจากคนที่เคยทำงานวิจัยมาบ้างเล็กน้อยดังนี้ครับ
ที่สหรัฐอเมริกา เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ The Columbus Dispatch รายงานข่าวโดยอ้างจากรายงานข่าวของทางสำนักข่าว Bloomberg อีกทีหนึ่งว่า IBM กำลังอยู่ระหว่างการผลักดันการแก้ไขกฎหมายบางฉบับ ที่จะทำให้ระบบประมวลผลข้อมูล Watson ของตัวเอง ไม่ต้องอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐฯ (FDA: Food and Drug Administration) ซึ่งทาง IBM พยายามผลักดันมานานกว่า 2 ปีแล้ว
Cellscope บริษัทที่ทำอุปกรณ์ด้านการแพทย์แบบอิเล็กทรอนิกส์ เปิดตัวที่ตรวจหู (otoscope) อัจฉริยะ โดยประกอบร่างรวมเข้ากับเคสสำหรับสมาร์ทโฟนโดยเฉพาะ พร้อมแอพสำหรับใช้คู่กับที่ตรวจหูเป็นการเฉพาะ
หลักการของที่ตรวจหูตัวนี้ ทำงานเหมือนที่ตรวจหูทั่วไป โดยใช้เลนส์ชุดพิเศษในการเชื่อมเข้ากับกล้อง เพื่อส่องเข้าไปในรูหูของคนไข้ แต่ที่พิเศษกว่าตรงที่มีแอพทำงานคู่ด้วย ซึ่งหากใช้กับที่บ้าน ตัวแอพดังกล่าวก็จะสามารถส่งข้อมูลไปให้แพทย์ที่มีข้อตกลงกับบริษัท ช่วยวินิจฉัยอาการได้ด้วย โดยตั้งเป้าว่าจะวินิจฉัยอาการภายใน 2 ชั่วโมง เมื่อได้รับภาพจากที่ตรวจหูเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
กูเกิลเผยกับเว็บไซต์ Engadget ว่า กำลังทดสอบบริการให้ผู้ค้นหาอาการของโรคสามารถปรึกษาแพทย์ผ่านวิดีโอคอลล์ได้โดยตรง
ในหน้าผลลัพธ์การค้นหา (ดูตัวอย่างที่ท้ายข่าว) ระบุว่ากูเกิลออกค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับแพทย์ในช่วงทดสอบการให้บริการ เข้าใจว่าการทดสอบนี้เฉพาะในสหรัฐฯ เท่านั้นครับ
ที่มา: jasonahoule บน Reddit ผ่าน Engadget
นับวันกูเกิลเริ่มที่จะสอดผสานเอาเทคโนโลยีที่มีในมือเข้ากับเรื่องต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้น หนึ่งในนั้นก็คือเรื่องเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีรายงานมาว่ากูเกิลเริ่มเก็บข้อมูลทางการแพทย์จากกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครกว่า 175 คน และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ โดยใช้ชื่อโครงการว่า Project Baseline ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการภายใต้หน่วยงาน "กูเกิลเอ็กซ์ (Google X)" ที่เน้นการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านอื่นนอกเหนือจากเรื่องที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
การพัฒนาของเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติที่ก้าวกระโดดในระยะหลัง ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมงานออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังเป็นทางเลือกในการพัฒนาวิทยาการด้านอื่นๆ ซึ่งก็รวมถึงด้านการแพทย์ด้วย ดังเช่นผลงานการค้นคว้าของเหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการนำการพิมพ์ 3 มิติมาช่วยในการสร้างอวัยวะเทียมให้แก่มนุษย์ และล่าสุดก็สามารถหาทางสร้างหลอดเลือดเทียมด้วยการพิมพ์เป็นผลสำเร็จ