บริษัทยา Moderna แถลงเบื้องต้นของการทดสอบวัคซีน mRNA-1273 สำหรับป้องกันโรค COVID-19 จากกลุ่มผู้ทดสอบ 30,000 คนและตอนนี้มีผู้ติดโรค COVID-19 แล้ว 95 ราย พบว่าประสิทธิภาพวัคซีนสูงถึง 94.5%
อาสาสมัครเข้าร่วมการทดสอบครั้งนี้รวม 30,000 คน แบ่งเป็นกลุ่มผู้ได้รับวัคซีนจริงและยาหลอกอย่างละครึ่ง ระหว่างการทดสอบมีผู้กลับมารับวัคซีนโดสที่สองตามกำหนดรวม 25,654 คน
ผลเบื้องต้นรายงานจากการติดโรค 95 ราย เป็นกลุ่มที่ได้รับวัคซีนจริง 5 ราย และกลุ่มได้ยาหลอก 90 ราย ในจำนวนผู้ติดเชื้อนี้มี 11 รายมีอาการอย่างหนักโดยเป็นกลุ่มที่ได้รับยาหลอกทั้งหมด
ไมโครซอฟท์รายงานพบกลุ่มแฮกเกอร์ระดับชาติ (nation-state actor) จากรัสเซียและเกาหลีเหนือไล่โจมตีบริษัทยาหลายแห่งที่กำลังวิจัยยาหรือวัคซีน COVID-19 อยู่
กลุ่มแรกคือกลุ่ม Strontium จากรัสเซียอาศัยการโจมตีแบบ password spray กวาดสุ่มบัญชีและรหัสผ่านนับล้านครั้งเพื่อพยายามเข้าถึงบัญชีของพนักงานบริษัทเหยื่อ
กลุ่ม Zinc จากเกาหลีเหนือส่งเมลฟิชชิ่งอย่างเจาะจง (spear phishing) หลอกเอารหัสผ่าน บางครั้งส่งเมลหลอกว่าเป็นคนรับสมัครงานแชตไปหาเหยื่อ ขณะที่กลุ่ม Cerium จากเกาหลีเหนือเช่นกันหลอกเหยื่อว่าเป็นตัวแทน World Health Organization
Vladimir Putin ประธานาธิบดีรัสเซีย ประกาศว่ารัสเซียเป็นประเทศแรกในโลกที่อนุมัติการใช้วัคซีนรักษา COVID-19 แล้ว วัคซีนตัวนี้ถูกตั้งชื่อว่า Sputnik V ตามชื่อดาวเทียมในยุคสงครามเย็น ด้วยเหตุผลว่าการคิดค้นวัคซีนนี้สำเร็จ ถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่เทียบเท่าการยิงดาวเทียม Sputnik ได้เป็นประเทศแรกในประวัติศาสตร์
Putin ยืนยันว่าวัคซีนนี้ใช้งานได้จริง ปลอดภัย สร้างภูมิคุ้มกันที่ยั่งยืน วัคซีนพัฒนาโดยสถาบันวิจัย Gamaleya ในมอสโก ร่วมกับกระทรวงกลาโหมของรัสเซียและหน่วยงานภาครัฐอื่นๆ เขายังบอกว่าให้วัคซีนนี้กับลูกสาวคนหนึ่งของเขาแล้วด้วย โดยร่างกายมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงแรกที่รับวัคซีน
ปีที่แล้วกูเกิลประกาศโครงการความร่วมมือระหว่างกูเกิลและโรงพยาบาลราชวิถี ในการใช้ปัญญาประดิษฐ์มาวิเคราะห์ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (diabetic retinopathy - DR) ล่าสุดกูเกิลก็เผยแพร่รายงานวิจัย การประเมินผลโดยใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลาง (human-centered evaluation) ของการนำระบบปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการโรงพยาบาลจริงครั้งนี้
ทีมแพทย์มหาวิทยาลัย Minnesota ร่วมมือกับบริษัทขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ Digi-Key ร่วมกับทีมแพทย์มหาวิทยาลัย Minnesota ช่วยกันออกแบบเครื่องช่วยหายใจที่ต้นทุนต่ำและที่สำคัญคือผลิตได้จำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว
ทีมงานใช้ชิ้นส่วนที่หาได้ง่าย เช่น ใช้มอเตอร์ที่ปัดน้ำฝนกระจกรถแทนมอเตอร์เฉพาะทาง ทำให้คาดว่าสัปดาห์แรกจะผลิตเครื่องช่วยหายใจได้ระดับร้อยเครื่อง และสัปดาห์ต่อไปอาจจะผลิตได้นับหมื่นเครื่อง โดยต้นทุนอยู่ที่เครื่องละ 1,500 ดอลลาร์ ขณะที่เครื่องช่วยหายใจในตลาดราคาเริ่มต้นที่ 3,000 ดอลลาร์
ทั้งสองหน่วยงานจะนำเครื่องช่วยหายใจนี้ไปขออนุญาตใช้งานกับหน่วยงานกำกับดูแล ก่อนจะส่งมอบให้หน่วยแพทย์นำไปใช้งาน
เมื่อไม่กี่วันก่อน Elon Musk บอกว่า Tesla จะผลิตเครื่องช่วยหายใจเพื่อผู้ป่วย COVID-19 ถ้าโรงพยาบาลมีไม่พอ ล่าสุด GM ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของสหรัฐ (และคู่แข่งของ Tesla) ประกาศเข้ามาช่วยสนับสนุนการผลิตเครื่องช่วยหายใจแล้ว
GM จะเข้าไปสนับสนุน Ventec Life Systems บริษัทผู้ผลิตเครื่องมือการแพทย์ ขยายกำลังการผลิตเครื่องช่วยหายใจ โดยนำความเชี่ยวชาญของ GM ทั้งด้านลอจิสติกส์ การจัดซื้อ และการผลิต ผ่านความร่วมมือในโครงการ StopTheSpread.org ที่ระดมภาคเอกชนในสหรัฐเข้ามาแก้ปัญหาด้านต่างๆ ในตอนนี้
กองทัพบกอิตาลีส่งทหารช่าง 25 นาย เข้าช่วย Siare Engineering International Group s.r.l. บริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ปกติมีกำลังผลิตเครื่องช่วยหายใจเดือนละ 160 เครื่อง โดยทางรัฐบาลขอให้ Siare ส่งมอบเครื่องช่วยหายใจให้ได้ 2,000 เครื่องภายในสี่เดือน ทำให้ต้องเพิ่มกำลังผลิตมากกว่าสามเท่าตัว
นอกจาก Siare ที่เป็นผู้ผลิตโดยตรงแล้ว ทางกองทัพยังเตรียมทหารให้บริษัทต้นน้ำเรียกใช้งานได้ เนื่องจากตอนนี้อุปสาหกรรมเครื่องช่วยหายใจตึงตัวไปทั้งหมด เพราะปกติเป็นอุตสาหกรรมเฉพาะกำลังผลิตไม่มาก
iFixit เว็บแนะนำการซ่อมอุปกรณ์ไอทีประกาศสร้างฐานข้อมูลอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะเครื่องช่วยหายใจที่ถูกใช้งานอย่างหนักในประเทศที่โรค COVID-19 ระบาด โดยเครื่องจำนวนมากต้องทำงานต่อเนื่องยาวนาน ช่างเทคนิคที่ซ่อมจะพบภาวะงานล้นมือ
แนวทางของ iFixit คือขอให้ชุมชนช่วยรวบรวมคู่มือซ่อมสำหรับเครื่องช่วยหายใจรุ่นที่ยังมีการใช้งาน พร้อมกับขอให้บุคคลากรทางการแพทย์แนะนำการซ่อมบำรุง เช่นบางชิ้นส่วนสามารถพิมพ์สามมิติออกมาซ่อมแซมได้ จากนั้นชุมชนภายนอกสามารถช่วยกันแปลงไฟล์ PDF ให้อ่านบนเว็บได้ง่าย ค้นหาสะดวก รวมถึงแปลออกไปเป็นภาษาอื่นให้กว้างกว่าเดิม
วิกฤติจากโรค COVID-19 นั้นความน่ากังวลสำคัญคือเมื่อผู้ป่วยมีอาการหนัก ผู้ป่วยมักต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (ventilator) หรือเครื่องช่วยพยุงการทำงานของปอดหรือเครื่องเอคโม (ECMO) ซึ่งเครื่องเหล่านี้มีจำนวนจำกัดโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนาหรือในสหรัฐฯ เองก็มีความกังว่าเครื่องจะไม่พอหากโรค COVID-19 ระบาดมาจริงๆ ตอนนี้ก็เริ่มมีกลุ่มนักออกแบบฮาร์ดแวร์มาช่วยกันออกแบบเครื่องช่วยหายใจจากเครื่องช่วยหายใจแบบมือบีบ (Ambu bag) กันแล้ว
Transportation and Security Administration (TSA) หน่วยงานควบคุมความปลอดภัยการบินเปลี่ยนกฎการนำของเหลวขึ้นเครื่องบินจากเดิมอนุญาตขวดละไม่เกิน 3.4 ออนซ์ หรือประมาณ 100 มิลลิลิตร โดยหากเป็นน้ำยาล้างมือจะอนุญาตให้นำขวดขนาด 12 ออนซ์ หรือ 350 มิลลิลิตรขึ้นเครื่องได้
อย่างไรก็ดี น้ำยาล้างมือขวดขนาดใหญ่กว่าปกติจะถูกแยกตรวจเป็นพิเศษ และทาง TSA เตือนว่าหากพกขวดใหญ่การตรวจความปลอดภัยก่อนขึ้นเครื่องอาจจะช้าลง
ที่มา - The Washington Post
ธนาคารไทยพาณิชย์ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดตัว Rama App แอปพลิเคชั่นใช้บริการโรงพยาบาลที่ทำได้ตั้งแต่การทำประวัติอย่างง่าย, นัดหมายแพทย์, เลื่อนนัด, และการชำระเงิน พร้อมกับตู้ชำระเงินอัตโนมัติ
การใช้แอปนี้จะทำให้ผู้ป่วยลดขั้นตอนและลดเวลาในการรอรับบริการลง จากเดิมที่หลายคนเวลาไปโรงพยาบาลต้องรอคิวหลายขั้นตอนทั้งรอคิวจ่ายเงินและรอคิวรับยากับเภสัชกร การจ่ายเงินผ่านแอปได้ก็จะช่วยลดขั้นตอนไปได้ ส่วนขั้นตอนที่ต้องรอรับบริการก็มีหมายเลขคิวแสดงในแอปโดยตรง
ที่มา - จดหมายข่าวธนาคารไทยพาณิชย์
เมื่อปี 2015 บิลล์ เกตส์ ไปบรรยายในงาน TED หัวข้อ "The next outbreak? We're not ready" โดยระบุว่าที่ผ่านมามีการเตรียมพร้อมรับสงคราม แต่ที่จริงแล้วความเสี่ยงสูงสุดของมนุษชาติกลับเป็นโรคระบาดที่อาจคร่าชีวิตเหยื่อได้นับล้าน
เขาเตือนว่าตอนนี้เราไม่มีระบบรองรับโรคระบาด โดยกระบวนการส่งต่อข้อมูลยังล่าช้าและขาดความแม่นยำ ไม่มีกำลังคนที่เตรียมพร้อม แม้จะมีองค์การอนามัยโลกก็ทำได้เพียงตรวจตราว่าเกิดโรคระบาดขึ้นหรือไม่ แต่ไม่มีโครงสร้างรับมือที่พร้อม และเหตุการณ์ที่ผ่านมาอย่างโรคอีโบล่านั้นการระบาดไม่หนักมากเพราะตัวโรคทำให้ผู้ป่วยล้มป่วยหนักได้รวดเร็ว และโรคไม่แพร่เข้าเมืองใหญ่ แต่ครั้งต่อๆ ไปหากโรคติดไปกับคนเดินทางทางเครื่องบินก็จะพาโรคไปได้กว้างขวาง
IBM ร่วมมือกับมูลนิธิด้านการแพทย์ CHDI Foundation ในการฝึก AI ให้สามารถติดตามความคืบหน้าของโรคฮันติงตันได้ เพื่อจะได้คาดการณ์ได้ว่าคนไข้จะเข้าสู่อาการของโรคเมื่อไร และจะติดตามการรักษาต่อไปได้อย่างไร
โรคฮันติงตันเป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมซึ่งสร้างความเสียงหายแก่สมอง กระทบต่อกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ทั้งความคิด พฤติกรรม และการเคลื่อนไหวที่มีลักษณะเต้นกระตุก ซึ่งปกติจะแสดงอาการออกมาเมื่ออายุ 30-50 ปี ยังไม่มีวิธีรักษา และอาการจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ
เป้าหมายของการใช้ AI เข้ามาช่วยคือ จะได้รู้ล่วงหน้าว่าคนไข้คนไหนจะเป็นโรค และจะได้รู้ว่าอาการของโรคจะพัฒนาไปเร็วขนาดไหน ในการฝึกอบรม AI จะใช้สัญญาณจากสสารสีขาวบนภาพสแกน เพื่อติดตามความเปลี่ยนแปลงของสมองเมื่อเวลาผ่านไป
ทีมวิจัยจาก Google Health เผยแพร่รายงานลงในวารสาร Nature รายงานถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ตรวจจับมะเร็งเต้านมจากภาพแมมโมแกรมจากชุดข้อมูลผู้ป่วยในสหรัฐฯ และในสหราชอาณาจักร โดยผลการทดสอบพบว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถอ่านภาพได้แม่นยำกว่ารังสีแพทย์ทั้ง false positive (อ่านผลว่าเป็นมะเร็งแม้ไม่เป็น) และ false negative ความแม่นยำ AUC-ROC แม่นยำกว่ารังสีแพทย์เฉลี่ย 11.5%
กูเกิลร่วมกับโรงพยาบาล Apolllo สร้างชุดข้อมูลภาพเอกซเรย์พร้อมป้ายกำกับ โดยภาพจากทางโรงพยาบาลอยู่ในบันทึกการรักษาที่ไม่ได้ติดป้ายกำกับพร้อมสำหรับการใช้ฝึกปัญญาประดิษฐ์
แนวทางของกูเกิลคือการใช้ปัญญาประดิษฐ์อ่านข้อความไปอ่านบันทึกการรักษาเพื่อสร้างป้ายกำกับภาพเอกซเรย์ปอดอีกที กระบวนการนี้ทำให้ได้ภาพพร้อมป้ายกำกับถึง 560,000 ภาพ จากนั้นนำภาพบางส่วนให้รังสีแพทย์มาตรวจสอบอีกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าคุณภาพชุดข้อมูลดีพอ
AWS เปิดตัวบริการ Amazon Transcribe Medical เป็นบริการแปลงเสียงเป็นข้อความสำหรับงานด้านการแพทย์โดยเฉพาะ โดยระบุว่าเป้าหมายว่าต้องการลดระยะเวลาที่แพทย์ใช้ในการกรอกบันทึกการรักษา (electronic health record - EHR) ที่มีรายงานว่าแพทย์ในสหรัฐฯ ใช้เวลาถึงวันละ 6 ชั่วโมงในการกรอก
ทาง AWS แนะนำการใช้งาน เช่น การสร้างบันทึกของแพทย์เองเป็นตัวอักษร, ใช้แปลงบันทึกระหว่างแพทย์กับคนไข้ จากเดิมแพทย์ต้องนั่งจด, หรือใช้แปลงเสียงโทรศัพท์ระหว่างคนไข้ถึงแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อหาชื่อยาที่ถูกพูดถึง
คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาระบบ Smart Connected Healthcare ร่วมกับ Cisco ผ่านศูนย์พัฒนาเทคโนโลยีแพทยศาสตรศึกษาที่เพิ่งก่อตั้งขึ้น (Medical Technology Education Center – MTEC) ประกอบด้วยโซลูชั่นการแพทย์คือ Live surgery, Tele-consult
เป้าหมายของการสร้างศูนย์ MTEC คือเป็นแหล่งสนับสนุนด้านเทคโนโลยีการศึกษาทางการแพทย์ ให้นักศึกษาแพทย์ที่ไปประจำยังโรงพยาบาลร่วมสอนท้องถิ่นในภาคเหนือ 6 แห่ง (โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลลำพูน โรงพยาบาลลำปาง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ โรงพยาบาลน่าน โรงพยาบาลแม่สอด)ได้เข้าถึงเนื้อหาอย่างเท่าเทียมกันผ่านระบบปรึกษาแพทย์ทางไกล, สอบออนไลน์พร้อมกันได้โดยไม่ต้องเดินทางเข้ามาที่คณะ นอกจากนี้ยังนำ Live surgery ถ่ายทอดสดการผ่าตัดด้วยระบบเสียงและภาพสมบูรณ์เข้ามาใช้ในการศึกษาประจำวันด้วย
ทางคณะมีการสาธิตการใช้งานให้ดู Blognone ได้เข้าร่วมด้วย จึงเก็บรูปภาพและรายละเอียดการทำงานของศูนย์ MTEC มาฝาก
คนเรียนรู้ทักษะใหม่โดยดูคลิปสอนใน YouTube ไม่เว้นแม้แต่หมอและนักศึกษาแพทย์ที่ดูคลิปเคสผ่าตัดต่างๆ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมและใช้เพื่อการฝึกอบรมแพทย์ ซึ่งใน YouTube เองก็มีให้ดูเยอะแยะมากมาย แต่ก็ยังพบความกังวลเรื่องข้อมูลเชิงเทคนิคแพทย์ ที่ไม่ได้ตรงตามมาตรฐาน 100%
รัฐแคนซัสรายงานถึงผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้ารายแรกของรัฐ และนับเป็นรายที่หกในสหรัฐฯ โดยนอกจากผู้เสียชีวิตแล้ว ในรัฐแคนซัสเองตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมาจนถึงเมื่อวันจันทร์ มีผู้ป่วยในรัฐ 6 คน ยอมรวมผู้ป่วยในสหรัฐฯ ในกลุ่มเดียวกันรวม 450 คนใน 33 รัฐ
ทางรัฐแคนซัสทำหน้าเว็บแจ้งเตือน โดยแจ้งเตือนให้หยุดใช้งานบุหรี่ไฟฟ้าทั้งหมด พร้อมระบุว่าผลสำรวจของรัฐเมื่อปี 2017 พบนักเรียนมัธยมเคยลองบุหรี่ไฟฟ้าถึง 34.8% ขณะที่ผู้ใหญ่ใช้งานบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ถึง 4.6%
กูเกิลรายงานการสร้างปัญญาประดิษฐ์ SMILY ที่เป็นโมเดล deep learning สำหรับการค้นหาภาพเนื้อเยื่อจากฐานข้อมูลมะเร็ง The Cancer Genome Atlas โดยความพิเศษคือ SMILY นั้นไม่ได้ฝึกด้วยภาพเนื้อเยื่อมะเร็งหรือภาพทางการแพทย์แต่อย่างใด
SMILY เป็นโมเดล deep learning ที่สร้างจากภาพทั่วไป เช่น ต้นไม้, สุนัข ฯลฯ จำนวนมากถึง 5,000 ล้านภาพ โดยโมเดลมีเอาท์พุตเป็นข้อมูลสรุปย่อของภาพ หรือ embedding
การหักค่าธรรมเนียม 30% จากการซื้อสินค้าใน App Store กลับมาเป็นประเด็นอีกครั้ง เมื่อนักพัฒนาจีน ร้องเรียนว่าแอปขอคำปรึกษากับแพทย์ผ่านสมาร์ทโฟน DingXiang Doctor ถูกแอปเปิลบังคับให้ต้องมีระบบสั่งซื้อ ผ่าน In-App Purchase ซึ่งจะต้องถูกหักค่าธรรมเนียม 30% แต่นักพัฒนามองว่าไม่ควรถูกหักค่าธรรมเนียมนี้
ทั้งนี้แอปเปิลมีข้อกำหนดว่าการซื้อสินค้าเสมือน (Virtual Goods) ผ่านแอปนั้น จะต้องทำผ่าน In-App Purchase ซึ่งแอปเปิลจะหักค่าธรรมเนียม 30% แต่ถ้าเป็นการซื้อสินค้าหรือบริการจริง ก็ไม่ต้องทำผ่าน In-App และไม่ถูกหักค่าธรรมเนียม
เมื่อวานนี้ Elon Musk และ Neuralink บริษัทของเขาได้เปิดเผยต่อสาธารณชนว่ากำลังสร้างสายสื่อประสาทเพื่อเชื่อมสมองมนุษย์เข้ากับคอมพิวเตอร์ สร้างความฮือฮาให้ทั้งโลกเป็นอย่างมาก
ในงานแถลงข่าว Elon ระบุว่าวัตถุประสงค์ทางการแพทย์เป็นเป้าหมายระยะสั้นเท่านั้น กล่าวคือเป็นการช่วยผู้ป่วยโรคสมองหรือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่กระดูกสันหลังหรือเป็นโรคแต่กำเนิดให้สามารถใช้ชีวิตได้สะดวกขึ้น เช่นสามารถกลับมาขยับตัวหรือรับความรู้สึกได้เหมือนคนทั่วไป
Neuralink เป็นบริษัทอีกแห่งที่ก่อตั้งโดย Elon Musk เมื่อปี 2017 มีเป้าหมายเชื่อมสมองเข้ากับคอมพิวเตอร์เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ แต่ก็ไม่มีข่าวคราวอะไรออกมาเลย มาวันนี้ Neuralink ได้จัดแถลงข่าวว่าบริษัทได้ทำอะไรไปบ้างในเวลาสองปีที่ผ่านมา
ทีมวิจัยร่วมระหว่างมหาวิทยาลัย Curtin และมหาวิทยาลัย Queensland สร้างปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถจำแนกโรคทางเดินหายใจจากเสียงไอในเด็กได้ โดยหากใช้เสียงอย่างเดียวมีความแม่นยำสูงกว่าทีมแพทย์ที่ฟังเสียงไออย่างเดียวเหมือนกัน
ปัญญาประดิษฐ์สามารถแยกโรค หอบหืด (asthma), ปอดบวม (pneumonia), โรคครูป (croup), โรคหลอดลมอักเสบ (bronchiolitis), และโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง (lower respiratory tract disease) โดยทีมแพทย์และปัญญาประดิษฐ์ได้ฟังเสียงไออย่างเดียวเหมือนๆ กัน
กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุ 29 วันถึง 12 ปี จำนวน 585 คน ทุกโรคปัญญาประดิษฐ์สามารถวินิจฉัยได้แม่นยำกว่าแพทย์ เช่นโรคหอบหืด ทำนายได้แม่นถึง 97% เทียบกับแพทย์ 91% โดยรวมอยู่ในช่วง 83-97% ขณะที่แพทย์วินิจฉัยได้แม่น 81-91%
กูเกิลเผยแพร่งานวิจัยประกาศความสำเร็จในการสร้างโมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่สามารถวินิจฉัยการถ่ายภาพรังสีส่วนตัดอาศัยคอมพิวเตอร์ (computerized tomography - CT) เพื่อหามะเร็งปอด ที่เป็นระบบอัตโนมัติที่ดีที่สุดในตอนนี้ สามารถวินิจฉัยจากชุดข้อมูล National Lung Cancer Screening Trial เป็นภาพ CT ปอดจากผู้ป่วย 45,856 คน ได้แม่นยำ 94.4%
การวินิจฉัยมะเร็งปอดอาศัยรังสีแพทย์อ่านภาพ CT นับร้อยภาพ โดยมะเร็งระยะเริ่มต้นอาจมีขนาดเล็กจนยากจะหาจากในภาพได้ โมเดลของกูเกิลมองภาพทั้งหมดเป็นโมเดลสามมิติ นอกจากทำนายมะเร็งได้แล้ว ยังสามารถตรวจพบเนื้อเยื่อผิดปกติ และสามารถรับภาพสแกนเดิมเพื่อวินิจฉัยจากความเปลี่ยนแปลงของภาพสแกน