หลายคนกังวลใจว่าการจ้องคอมพิวเตอร์นานๆ อาจทำให้ตาบอดเข้าสักวัน ความเชื่อนี้ไม่จริงเสมอไป แพทย์จากมหาวิทยาลัย Iowa บอกว่า ไม่ถึงกับทำให้ตาบอด แต่การใช้คอมพิวเตอร์นานทำให้ตาเจ็บแน่ๆ ถ้าใช้โดยไม่รู้วิธีถนอมสายตา จักษุแพทย์จึงแนะนำกฎการถนอมดวงตาระหว่างใช้คอมพิวเตอร์ด้วยกฎ 20-20-20
การใช้คอมพิวเตอร์นานส่งผลให้ตาเจ็บ แห้ง เพราะระหว่างใช้งานเราจะกระพริบตาน้อยกว่าที่ควรเป็น ค่าคอนทราสต์ระหว่างพื้นหลังและตัวอักษรก็มีผลให้ตาทำงานหนักกว่าอ่านจากกระดาษ
กฎการถนอมดวงตา 20-20-20 คือ เมื่อใช้คอมพิวเตอร์ครบ 20 นาที ให้พักสายตา 20 วินาที ด้วยการจ้องไปที่อย่างอื่นที่อยู่ห่างออกไป 20 ฟุต และหลังจากใช้งานติดต่อกัน 2 ชั่วโมง ต้องพักตา 15 นาที
มองข่าวนี้ให้เป็นเรื่องวงการแพทย์ก็จะมีประโยชน์มากทีเดียว เมื่อแบรนด์ Medical Electronic Systems เปิดตัว YO อุปกรณ์วิเคราะห์คุณภาพตัวอสุจิที่ใช้งานได้ผ่านสมาร์ทโฟน นับจำนวน และตรวจสอบคุณภาพได้ด้วย ในเวลาไม่กี่นาที
สิ่งนี้มากับตัวเครื่องที่สวมเข้ากับสมาร์ทโฟน iPhone และซัมซุงตระกูล Galaxy ได้ ใช้งานกับถ้วย แผ่นใส และผงสารเคมีทำละลาย ซึ่งในราคา 49.95 เหรียญสหรัฐฯ จะมากับชุดทดสอบได้สองครั้ง วิธีใช้ก็คือหยดอสุจิใส่ถาดและสอดเข้าเครื่องนั่นเอง
Philips ประกาศนำเสนอเทคโนโลยี AR เพื่อการผ่าตัดในพื้นที่เล็กๆ อย่างกระดูกสันหลัง ทำงานคู่กับการตรวจดูอวัยวะภายในร่างกายโดยใช้รังสี สามารถให้ภาพอวัยวะใต้ผิวหนังในรูปสามมิติแบบเรียลไทม์
ฟังก์ชั่น AR ของฟิลิปส์มาพร้อมกับกล้องที่ทำงานร่วมกับการฉายรังสีบนร่างกายผู้รับการผ่าตัด แสดงภาพสามมิติความละเอียดสูงบนจอภาพ แพทย์สามารถวางตำแหน่งสกรู และน็อตในการผ่าตัดรักษาได้ตรงจุดและแม่นยำ
จากการศึกษาความเป็นไปได้ช่วงแรก โดยทดลองใช้เทคโนโลยีนี้กับศพ พบว่า เทคโนโลยีนี้ช่วยให้แพทย์ระบุตำแหน่งผ่าตัดถูกต้อง 85% เมื่อเทียบกับการผ่าตัดแบบแมนนวล แพทย์ระบุตำแหน่งได้ถูกต้องเพียง 64%
บริษัท Rewalk Robotics Ltd. ผู้ทำเทคโนโลยีขาเทียมระบบหุ่นยนต์ให้กับทหารสหรัฐฯที่เป็นอัมพาต เผยเทคโนโลยีใหม่ soft exoskeleton ช่วยให้คนอัมพาตครึ่งล่างกลับมาเดินได้อีกครั้ง
soft exoskeleton ประกอบด้วยตัวเข็มขัดน้ำหนัก 8 ปอนด์ สายเคเบิล สายรัด แผ่นประคองเท้า ทำงานร่วมกับเทคโนโลยีที่คิดค้นโดยสถาบัน Wyss ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ช่วยให้คนอัมพาต (ที่ไขสันหลังยังดีอยู่) กลับมาเดินได้อีกครั้ง และ Rewalk ยังสามารถใช้ได้กับผู้ป่วยโรค MS (โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง) และโรคพาร์กินสันด้วย
ด้วยปัญหาจำนวนแพทย์ไม่เพียงพอต่อจำนวนคนไข้ในหลายประเทศ รวมทั้งจีน Baidu ได้เปิดตัว Melody แช็ทบ็อทบนแอพ Baidu Doctor เพื่อช่วยย่นระยะเวลาในการวินิจฉัยโรคลง ก่อนที่คนไข้จะได้พบแพทย์
แอพ Baidu Doctor มีเอาไว้ให้คนไข้สามารถติดต่อ ถามคำถามและนัดคิวพบแพทย์ได้ ซึ่ง Melody จะมีหน้าที่พูดคุย สอบถามและรวบรวมอาการของคนไข้และจำกัด (narrow down) ขอบเขตของโรคและกลุ่มอาการที่คนไข้มีแนวโน้มจะเป็น ก่อนส่งให้แพทย์ในท้ายที่สุด โดย Andrew Ng หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของศูนย์วิจัย Baidu เน้นย้ำว่าแช็ทบ็อตตัวนี้ ไม่ได้ถูกพัฒนาออกมาเพื่อทดแทนแพทย์แต่อย่างใด
Rapid7 ออกรายงานแจ้งเตือนช่องโหว่ของ Animas OneTouch Ping ปั๊มอินซูลินพร้อมเครื่องวัดระดับกลูโคส โดยเครื่องวัดและตัวปั๊มแยกจากกันและสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุ
รายงานระบุว่าอุปกรณ์ทั้งสองชิ้นสื่อสารกันโดยไม่ได้เข้ารหัส และแฮกเกอร์สามารถปลอมข้อมูลจากเครื่องวัดระดับกลูโคสได้ ทำให้ตัวปั๊มอินซูลินทำงานผิดพลาด อย่างไรก็ดีความเสี่ยงที่จะมีการโจมตีเป็นวงกว้างค่อนข้างต่ำ
ช่องโหว่แบ่งเป็น 3 ช่องโหว่ ได้แก่ R7-2016-07.1 การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์ไม่มีการเข้ารหัส, R7-2016-07.2 กระบวนการจับคู่อุปกรณ์อ่อนแอ, และ R7-2016-07.3 ขาดระบบป้องกันการทวนซ้ำข้อความ
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร 5 แห่ง กำลังทดสอบวัคซีนรักษาโรคเอดส์กับผู้ป่วยจำนวน 50 คน ตอนนี้กระบวนการทดสอบยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น แต่ Mark Samuels กรรมการผู้อำนวยการของสถาบัน National Institute for Health Research Office for Clinical Research Infrastructure ก็ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า "คืบหน้าไปด้วยดี"
การรักษาเอดส์ในปัจจุบัน anti-retroviral therapies (Art) สามารถรักษาได้เฉพาะ T-cell ที่ติดเชื้อ HIV แต่ยังทำงานได้อยู่ แต่ไม่สามารถตรวจจับและรักษา T-cell ที่หยุดเติบโตได้
วันนี้ที่งานประชุมวิชาการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ประจำปีพุทธศักราช 2559 (BDMS Academic Annual Meeting 2016) มีการบรรยายในหัวข้อ Enabling Patient-Centered Care through Information & Technology: How the Better Use of Technology & Data Can Support and Enable the Developments Needed to Transform Outcomes for Patients & Citizens บรรยายโดย นพ.นวนรรน ธีระอัมพรพันธุ์ จากภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งผมมีโอกาสได้ไปนั่งฟังอยู่ และคิดว่ามีประเด็นที่น่าสนใจทั้งสำหรับคนที่อยู่โลกไอทีและแพทย์ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกัน จึงขออนุญาตถ่ายทอดมาเป็นสรุปสั้นๆ ให้ได้อ่านกันครับ
ที่งานประชุมวิชาการบริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ประจำปีพุทธศักราช 2559 (BDMS Academic Annual Meeting 2016) วันนี้ มีการประกาศสำคัญอยู่หนึ่งเรื่องคือ โรงพยาบาลกรุงเทพ ประกาศที่จะพัฒนาโซลูชั่นทางการแพทย์ร่วมกับ Apple, Samsung และ True
ศ. Robert MacLaren ศัลยแพทย์จากโรงพยาบาล John Radcliffe ในมหาวิทยาลัย Oxford ประสบความสำเร็จในการใ้หุุ่่นยนต์ผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อออกจากจอประสาทตาของผู้ป่วย
อุปสรรคสำคัญในการผ่าตัดครั้งนี้ คือเนื้อเยื่อที่มีความบางเพียง 1 ส่วน 100 มิลลิเมตร ออกโดไไม่ทำลายหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อจอประสาทตาผู้ป่วย ซึ่ง MacLaren ยอมรับว่าเกินความสามารถของมนุษย์ไปมาก ขณะที่ความสำเร็จในครั้งนี้ เกิดจากการเคลื่อนไหวที่แม่นยำและละเอียดอ่อนของหุ่นยนต์ โดยมีศัลยแพทย์ควบคุมผ่าน joystick และหน้าจอสัมผัส
บอร์ดพัฒนาอุปกรณ์ IoT จำนวนมากมักเป็นการตรวจวัดสภาพแวดล้อม เช่น อุณหภูมิหรือความชื้น แต่ชุด BITalino (r)evolution จับกลุ่มนักพัฒนาสายสุขภาพโดยเฉพาะ
ชุดเซ็นเซอร์พื้นฐานประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ Electromyography (EMG), Electrocardiography (ECG), (Electrodermal Activity) EDA, Electroencephalography (EEG), accelerometer, ปุ่มกด, และเซ็นเซอร์แสง พร้อมแผ่นอิเล็กโทรด 5 แผ่น
บอร์ดมี 6 เวอร์ชั่น แบ่งตามการเชื่อมต่อ Bluetooth และ Bluetooth LE และการประกอบบอร์ด แบบบอร์ดเดียว, บอร์ดแยก, และบอร์ดแยกพร้อมสายเชื่อมต่อ ราคาเริ่มต้น 149 ยูโร
หลังจากที่ CMS ได้สั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ดำเนินการห้องปฏิบัติการของ Theranos ใน California เมื่อเดือนก่อน ล่าสุด Theranos ก็ยังไม่ยอมแพ้ และเตรียมแผนการปรับปรุงการดำเนินงานเพื่อยื่นอุทธรณ์คำตัดสินดังกล่าวอีกครั้ง อย่างไรก็ตามแม้ในช่วงวิกฤตที่การกอบกู้ความน่าเชื่อถือของห้องปฏิบัติการเป็นเรื่องสำคัญยิ่งยวดเช่นนี้ ก็มีข่าวว่า Theranos โดนตรวจสอบพบความหละหลวมในการทำงาน จนถึงขนาดทำให้ Theranos เองต้องยอมถอยยกเลิกการขออนุมัติใช้เครื่องมือตรวจหาไวรัสซิก้า
ด้วยรูปแบบที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของแต่ละคนที่ไม่ซ้ำกัน (แม้แต่ฝาแฝดที่หน้าตาเหมือนกันก็ตาม) ลายนิ้วมือจึงกลายมาเป็นข้อมูลชีวมาตรที่นิยมใช้เพื่อการระบุตัวตนของบุคคล ซึ่งที่ผ่านมาก็เป็นที่รู้กันว่าลายนิ้วมือของคนเราจะคงเดิมอยู่เช่นนั้นตราบจนชั่วชีวิต แต่นั่นหมายถึงเฉพาะในบุคคลที่มีสุขภาวะร่างกายตามปกติเท่านั้น เพราะล่าสุดมีงานวิจัยออกมาว่าในบางกรณีผลข้างเคียงจากการรักษาทางการแพทย์ อาจทำให้ลายนิ้วมือคนเราหายไปได้
จากผลการวิจัยในประเทศเนเธอร์แลนด์พบว่า กระบวนการรักษาทางการแพทย์แบบเคมีบำบัดที่ใช้สาร capecitabine (ซึ่งนิยมใช้ในการรักษาโรคมะเร็งหลายประเภท) อาจส่งผลให้ลายนิ้วมือของผู้ป่วยเลือนหายไปแทบสิ้นเชิงเป็นระยะเวลาชั่วคราวราว 2-4 สัปดาห์
หลังกูเกิลปรับบริษัทเป็น Alphabet บริษัทหนึ่งที่แยกออกมาคือ Verily Life Sciences LLC ที่วิจัยด้านสุขภาพ ตอนนี้ Verily ก็ประกาศร่วมทุนกับบริษัทยายักษ์ใหญ่อย่าง GSK ในชื่อว่า Galvani Bioelectronics
Galvani Bioelectronics จะถือหุ้นโดย GSK 55% และ Verily 45% จะมีการนำทรัพย์สินทางปัญญามารวมกันพร้อมกับเงินลงทุนอีก 540 ล้านปอนด์ตลอดช่วงเวลา 7 ปีข้างหน้าหากบริษัทใหม่สามารถพัฒนาและวิจัยตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้
บริษัทใหม่จะมีสำนักงานอยู่ที่ศูนย์วิจัยของ GSK ในอังกฤษ และศูนย์วิจัยที่สองอยู่ที่สำนักงาน Verily ในซานฟรานซิสโก พนักงานชุดแรกรวม 30 คน
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Indiana, California และ Los Angeles ทดลองใช้แอพ Grindr (แอพนัดหมายของเพศทางเลือกโดยเฉพาะเกย์) เป็นตัวกลางในการเชิญชวนให้เหล่าเพศทางเลือกทดลองใช้อุปกรณ์ตรวจเชื้อ HIV
วิธีการคือให้แอพปล่อยโฆษณาเกี่ยวกับอุปกรณ์ดังกล่าว ผู้ใช้สามารถทดลองใช้ฟรี เมื่อตอบตกลงจะได้รับคูปองผ่านอีเมล สามารถนำไปแลกเป็นอุปกรณ์ตรวจเชื้อได้ที่ร้านขายยา หรือรับได้ที่ตู้อุปกรณ์ตรงลานจอดรถใน Los Angeles Gay and Lesbian Center ปรากฏว่ามีผู้สนใจ 56 คนตอบรับทดลองใช้อุปกรณ์ตรวจเชื้อ และมี 2 คน ที่พบว่าตัวเองมีเชื้อ HIV
DeepMind ทำงานร่วมกับภาคสาธารณสุขของอังกฤษอย่างรวดเร็ว หลังจากเมื่อกลางเดือนที่แล้วเพิ่งประกาศความร่วมมือกับ NHS ตอนนี้ DeepMind ก็ประกาศความร่วมมือกับโรงพยาบาลจักษุ Moorefields
ภายใต้ความร่วมมือนี้ DeepMind จะเข้าถึงข้อมูลภาพสแกนดวงตากว่าล้านรายการโดยไม่ระบุตัวตน แต่มีข้อมูลสภาวะของดวงตาและโรค โดยทางโรงพยาบาลยืนยันว่าข้อมูลเหล่านี้ไม่สามารถค้นหาตัวตนของคนไข้ได้ และจะไม่กระทบต่อการรักษาของผู้ป่วยในตอนนี้
ความร่วมมือครั้งนี้หาความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาระบบวินิจฉัยโรคจากภาพสแกน และอาจจะนำไปถึงการวินิจฉัยโรคได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนมีอาการ
แพทย์จากมหาวิทยาลัย Indiana ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติสร้างกรามล่างให้ผู้ป่วยรายนึ่งที่ต้องสูญเสียกรามจากการรักษามะเร็งตรงลิ้น ซึ่งเบากว่า และเหมือนของจริงกว่าอวัยวะปลอมที่ทำด้วยดิน
Shirley Anderson ผู้ป่วยและผู้รอดชีวิตจากโรคมะเร็งตรงลิ้น แต่ผลจากการรักษาทำให้เขาต้องสูญเสียพื้นที่กรามล่างทั้งหมด เขาต้องใช้หน้ากากปิดปากตลอดเวลา Dr. Travis Bellicchi และทีมสังกัดมหาวิทยาลัย Indiana จึงใช้เครื่องพิมพ์สามมิติสร้างกรามออกมา โดยใช้เบ้าหล่อจากใบหน้าของผู้ป่วย สิ่งที่ได้จากเครื่องพิมพ์ที่นอกจากจะเบากว่าแล้ว ผู้ป่วยยังหายใจสะดวก และดูเป็นธรรมชาติกว่าอวัยวะปลอมแบบดั้งเดิม
ที่มา - Engadget
ผู้ที่รักษามะเร็งเต้านมจนหาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีทำคีโม หรือตัดเต้านมออก แม้ได้ชื่อว่าเป็นผู้รอดชีวิต แต่ยังต้องกังวลกับการเลือกคอร์สตรวจรักษา ทุกคนต้องเจอกับคอร์สการดูแลเยียวยา ซึ่งก็คือ Mammogram เอ็กซเรย์เต้านม และ breast MRI เอ็กซเรย์เต้านมด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า อะไรที่ทำให้พวกเขากังวลน่ะหรือ? ก็คือกลัวว่าจะเจอก้อนมะเร็งอีกน่ะสิ
เมื่อต้องเลือกระหว่าง Mammogram และ breast MRI คนไข้อาจหาเอกสารมาอ่าน ฟังคำแนะนำจากแพทย์ นำใบปลิวจากโรงพยาบาลมาอ่าน แต่นั่นเพียงพอกับการตัดสินใจและคลายความกังวลผู้เข้ารับการรักษาได้มากแค่ไหน?
ผู้ที่รักษามะเร็งเต้านมจนหาย ไม่ว่าจะด้วยวิธีทำคีโม หรือตัดเต้านมออก แม้ได้ชื่อว่าเป็นผู้รอดชีวิต แต่ยังต้องกังวลกับการเลือกคอร์สตรวจรักษา ทุกคนต้องเจอกับคอร์สการดูแลเยียวยา ซึ่งก็คือ Mammogram เอ็กซเรย์เต้านม และ breast MRI เอ็กซเรย์เต้านมด้วยเครื่องแม่เหล็กไฟฟ้า อะไรที่ทำให้พวกเขากังวลน่ะหรือ? ก็คือกลัวว่าจะเจอก้อนมะเร็งอีกน่ะสิ
สถาบันวิจัย GHRI หรือ Group Health Research Institute ตั้งอยู่ที่ซีแอตเทิล ร่วมกับ Artefact บริษัทดีไซน์ที่อยู่ในซีแอตเทิลเหมือนกัน สร้างแอพพลิเคชั่น SIMBA อันเป็นตัวช่วยตัดสินใจเลือกหนทางตรวจรักษามะเร็งเต้านม (เฉพาะผู้ที่ไม่ได้ผ่าตัดเต้านมออก) ให้อดีตคนไข้คลายกังวลและมั่นใจมากขึ้นเวลาเข้าคอร์ส
คาดว่าผู้อ่านคงเคยมีประสบการณ์ค้นหาอาการป่วยจาก Google และผลลัพธ์คือ "ไม่ได้ผลลัพธ์อะไรเลย" เพราะมีบทความปรากฏขึ้นมาเยอะมากเกินกว่าจะรู้ว่าอันไหนเกี่ยวข้องกับอาการที่คุณเป็นอยู่จริงๆ หรือไม่ก็พบว่าคุณอาจเกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงน่ากลัวจากการค้นหาด้วยคำว่า "ปวดหัว"
ล่าสุด Google ออกมาบอกว่าการค้นหาอาการป่วยจะดีขึ้นกว่าเดิม Google ร่วมมือกับทีมแพทย์ทั้งแพทย์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด และ Mayo Clinic ในด้านคอนเทนต์อาการป่วย เพื่อให้ผลการค้นหามีประสิทธิภาพและเกี่ยวข้องกับอาการจริงมากขึ้น แสดงอาการที่พบบ่อย และเสนอหนทางรักษาเบื้องต้นด้วย (Google ยังยืนยันว่าเป็นประโยชน์ด้านข้อมูล การพบแพทย์ยังจำเป็นอยู่)
Google Search อยู่ในระห่างอัปเดต ใช้ได้ช่วงอาทิตย์หน้า และใช้ได้แค่ภาษาอังกฤษเท่านั้น โดยอนาคตจะพัฒนาให้ครอบคลุมอาการป่วยอื่นและภาษาอื่นๆด้วย
ที่มา - Google Official Blog
ทีมวิจัยจาก Beth Israel Deaconess Medical Center (BIDMC) และ Harvard Medical School (HMS) ร่วมมือกันพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ให้สามารถตรวจหาเซลล์มะเร็งจากการอ่านภาพทางพยาธิวิทยาได้ โดยใช้วิธี Deep Learning ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันในการฝึกให้ปัญญาประดิษฐ์เข้าใจภาษา ศิลปะ และอื่นๆ
ทีมวิจัยป้อนข้อมูลรูปภาพทางพยาธิวิทยาเป็นร้อยๆสไลด์ให้ปัญญาประดิษฐ์วินิจฉัยว่า ภาพใดเป็นภาพปกติ และภาพใดมีเซลล์มะเร็งกำลังก่อตัว ปรากฏว่าปัญญาประดิษฐ์สามารถวินิจฉัยถูกต้องถึง 92% แม้จะยังไม่เทียบเท่าได้กับนักพยาธิวิทยาที่สามารถวินิจฉัยได้มากกว่าคือ 96% แต่ทีมวิจัยระบุว่าถือเป็นสัญญาณที่ดี
ที่มา - Engadget
หลังจาก DeepMind เข้าสู่ตลาดการแพทย์ และประกาศความร่วมมือกับมูลนิธิ Ryal Free London NHS หรือบริการสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร เคยร่วมกันสร้างซอฟต์แวร์ Streams ที่ช่วยให้แพทย์ผู้ปฏิบัติงานสามารถดูผลแล็บของผู้ป่วยได้ในไม่กี่วินาที (เป็นโปรเจกต์เก่าปัจจุบันไม่ได้ใช้งานแล้ว) ล่าสุดทั้งสองมีโครงการใหม่ร่วมกันคือ นำระบบปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรคให้ได้ภายใน 5 ปี ทำ MOU แล้วเมื่อต้นปีที่ผ่านมา
บริษัท Sandstone Diagnostics ได้ผลิต Trak ชุดทดสอบนับจำนวนอสุจิในน้ำเชื้อเพื่อตรวจภาวะเจริญพันธุ์เพศชาย ซึ่งล่าสุดได้รับการรับรองจาก FDA ให้สามารถวางจำหน่าย Trak ได้แล้ว โดยชุดทดสอบนี้จะสามารถทำงานเชื่อมต่อกับแอพในสมาร์ทโฟนได้
ชุดทดสอบ Trak ที่ว่านี้ประกอบไปด้วยกระเปาะเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อ และแท่นเหวี่ยงกระเปาะ ตัวกระเปาะที่ว่ามีลักษณะเป็นกระจกใสและถูกออกแบบให้มีปลายกระเปาะเรียวแคบ และมีเครื่องหมายบอกจำนวนอสุจิกำกับอยู่ด้านข้าง เมื่อเก็บตัวอย่างน้ำเชื้อได้แล้ว ก็เพียงนำกระเปาะนั้นไปวางบนแท่นเหวี่ยงเพื่อทำการเหวี่ยงให้เกิดการแยกชั้นของน้ำเชื้อ
Kansas Heart Hospital โรงพยาบาลเฉพาะทางด้านโรคหัวใจประจำมลรัฐแคนซัส กลายเป็นเหยื่อรายล่าสุดที่โดน ransomware ของแฮกเกอร์เข้าโจมตีระบบของโรงพยาบาล ด้วยการเข้ารหัสข้อมูลของโรงพยาบาล ที่ซ้ำร้ายกว่านั้นคือทางโรงพยาบาลได้จ่ายค่าถอดรหัสให้กับกลุ่มแฮกเกอร์แล้ว แต่ถูกเรียกเงินเพิ่มเป็นครั้งที่สอง พร้อมกับข้อมูลบางส่วนที่ยังถูกเข้ารหัสอยู่
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว IBM ประกาศว่าได้เพิ่มโครงการ OpenZika ซึ่งเป็นโครงการประมวลผลข้อมูลเพื่อวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัส Zika เข้า World Community Grid (WCG) โครงการประมวลผลแบบกระจาย (grid computing) เพื่องานที่ไม่แสวงหาผลกำไร
โครงการ OpenZika เป็นความร่วมมือระหว่าง Federal University of Goias ของบราซิล ร่วมกับมูลนิธิ Oswalso Cruz, Rutgers University's New Jersey Medical School, Collaborations Pharmaceuticals และ Skaggs School of Pharmacy and Pharmaceutical Sciences ของ University of California San Diego ซึ่งจะร่วมกันหาการดื้อยาของไวรัส Zika
โครงการนี้เปิดแล้วบน WCG โดยไม่จำกัดแพลตฟอร์มที่ใช้รันสำหรับการประมวลผล ใครสนใจสามารถเพิ่มเข้าไปได้ทันทีครับ