Wall Street Journal ระบุว่าได้รับรายงานของบริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ Finite State ที่ชี้ว่าอุปกรณ์เครือข่ายของ Huawei มีแนวโน้มจะถูกโจมตีจากแฮกเกอร์ได้มากกว่าแบรนด์คู่แข่งอื่นๆ ซึ่งรายงานชิ้นนี้ถูกส่งมอบให้รัฐบาลสหรัฐและสหราชอาณาจักรแล้วด้วย
นักวิจัยได้นำเฟิร์มแวร์สำหรับอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับองค์กรของ Huawei กว่า 10,000 ตัว มาทดสอบผ่านอุปกรณ์กว่า 500 ชิ้น ก่อนจะพบว่าเฟิร์มแวร์กว่า 55% มีช่องโหว่อย่างน้อยๆ 1 ช่องโหว่ ซึ่งถือว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่เจอในอุปกรณ์ของคู่แข่งค่อนข้างมาก โดยช่องโหว่เหล่านั้นรายงานระบุว่ามีสิทธิจะเป็น backdoor ก็ได้ด้วยซ้ำไป (potential backdoor)
Signify (ชื่อใหม่ของ Philips Lighting ธุรกิจหลอดไฟในเครือ Philips) เปิดตัวระบบส่งข้อมูลด้วยแสง (LiFi) ที่รองรับการส่งข้อมูลสูงสุดถึง 250 Mbps
เทคโนโลยีของ Signify ใช้ชื่อทางการค้าว่า Trulifi เบื้องหลังของมันเป็นการใช้คลื่นแสง (lightwave) ส่งข้อมูลแทนคลื่นวิทยุ ข้อดีคือแก้ปัญหาเรื่องสัญญาณคลื่นวิทยุตีกัน (เช่น พื้นที่ที่มี Wi-Fi หนาแน่น) หรือพื้นที่อับสัญญาณวิทยุ (เช่น ใต้ดิน) เพราะสามารถส่งข้อมูลได้ตราบเท่าที่แสงส่องไปถึง
ส่วนอุปกรณ์ฝั่งส่งสัญญาณ สามารถนำไปติดตั้งที่หลอดไฟเดิมได้โดยไม่ต้องเดินสายไฟใหม่ ขารับสัญญาณใช้ USB dongle ไปเสียบไว้ที่โน้ตบุ๊กเพิ่มได้
Google ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ และฟีเจอร์ที่เข้าสู่ GA ของระบบเครือข่ายบน Google Cloud หลายรายการ โดยของใหม่ในรอบนี้มี Traffic Director ระบบจัดการทราฟฟิกเพื่อ service mesh, HA VPN และ 100Gbps Interconnect
ฟีเจอร์แรกคือ Traffic Director เป็นระบบจัดการทราฟฟิกเพื่อ service mesh เนื่องจากปัจจุบัน service mesh กำลังเป็นที่นิยมขององค์กร โดย Traffic Director นี้จะเป็นระบบที่ managed โดย GCP มีการคอนฟิกมาพร้อมใช้งานภาคองค์กร และมีเครื่องมือสำหรับควบคุมทราฟฟิกขั้นสูงจำนวนมาก
สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวว่า ตอนนี้ NVIDIA กับอินเทลกำลังแย่งซื้อ Mellanox บริษัทออกแบบชิปสำหรับศูนย์ข้อมูลจากประเทศอิสราเอล
Mellanox ก่อตั้งในปี 1999 โดยอดีตพนักงานของอินเทล ปัจจุบันบริษัทอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ NASDAQ และย้ายสำนักงานใหญ่มาอยู่ที่เมือง Sunnyvale ในแคลิฟอร์เนีย ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สร้างชื่อให้ Mellanox คือสวิตช์ความเร็วสูง InfiniBand แต่ภายหลังก็ขยายมาออกแบบ SoC และซอฟต์แวร์สำหรับอุปกรณ์เครือข่ายด้วย
ก่อนหน้านี้เคยมีรายงานว่า อินเทลเสนอซื้อ Mellanox ในมูลค่า 6 พันล้านดอลลาร์ แต่ล่าสุด NVIDIA เข้ามาเสนอราคาแข่งแล้ว คาดกันว่าเสนอราคาแพงขึ้นอีก 10%
IDC รายงานภาพรวมของตลาดสินค้าโครงสร้างพื้นฐานไอที (IT Infrastructure) สำหรับคลาวด์ ได้แก่ เซิร์ฟเวอร์, สตอเรจระดับองค์กร และสวิตช์อีเธอร์เน็ต ของไตรมาสที่ 3 ปี 2018 พบว่ามีการเติบโต 47.2% จากช่วงเดียวกันในปี 2017 มีรายได้รวมมากกว่า 16,800 ล้านดอลลาร์ ทั้งนี้ตัวเลขดังกล่าวรวมทั้งการขายอุปกรณ์สำหรับคลาวด์แบบ Public และ Private หากคิดตัวเลขรวมไปถึงระดับผู้ให้บริการคลาวด์ รายได้รวมจะอยู่ที่ 65,200 ล้านดอลลาร์
คลาวด์แบบ Public เป็นรายได้ส่วนใหญ่ของตลาดอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐาน คิดเป็น 68.8%
สวัสดีครับ พอดีผมได้มีโอกาสได้เข้าร่วมกิจกรรมของทาง Overclockzone ที่จัดร่วมกับ Synology และ WD ทำการสอนการใช้งาน NAS ในด้านต่างๆ เลยอยากจะมาแบ่งปันความประทับใจที่ได้ใช้งานเจ้า Synology DS218+ ซึ่งเป็น NAS ของทาง Synology จากไต้หวัน ที่มีชื่อเสียงเลื่องลือมายาวนานหลายสิบปีครับ
ในงาน Huawei Asia Pacific ISP Summit 2018 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว Huawei ได้เปิดตัวโซลูชันฝั่งองค์กรใหม่ 3 ตัวนำมาด้วย CloudCampus Solution โซลูชันสำหรับจัดการ, วางแผน ติดตั้งและจัดการเรื่อง O&M บนอุปกรณ์เครือข่ายของ Huawei ผ่านระบบคลาวด์
Huawei บอกว่า CloudCampus ทำให้สามารถติดตั้งอุปกรณ์และใช้งานได้เลย ช่วยลดระยะเวลาในการติดตั้งอุปกรณ์จากหลักสัปดาห์มาเหลือเพียงหลักวัน รวมถึงลดค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 80% โดยตัวแพลตฟอร์มมีระบบการจัดการด้วยตัวเอง (self-operated) ในการจัดการอุปกรณ์ได้นับล้านชิ้น รวมถึงการรวมเครือข่าย Wi-Fi ที่กระจัดกระจายให้เป็นเครือข่ายเดียว
Cloudflare ได้เปิดตัวบริการใหม่ Cloudflare Mobile SDK เครื่องมือฟรีสำหรับนักพัฒนาแอพเพื่อการมอนิเตอร์ในระดับเครือข่าย ให้นักพัฒนาสามารถตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายได้ดียิ่งขึ้น
เครื่องมือของ Cloudflare นี้ เพียงใส่โค้ดไม่กี่บรรทัดลงไปในแอพ iOS หรือ Android ก็สามารถมอนิเตอร์เครือข่ายได้ทันที ซึ่งข้อมูลจะแสดงบนเว็บคอนโซล โดยจะเน้นการแสดงปัญหาให้เห็นชัด เช่นแพคเก็ตที่ถูกดรอปเนื่องจากสัญญาณเครือข่ายที่ไม่เสถียรทำให้แอพแครช, คำขอที่ช้าหรือมีโอกาสล้มเหลวสูง เป็นต้น
Aruba Network บริษัทในเครือ HPE ที่ดูแลผลิตภัณฑ์ฮาร์ดแวร์เครือข่ายเปิดตัว HPE OfficeConnect OC20 โซลูชัน Access Point สำหรับธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ที่มาพร้อมฟีเจอร์ระดับใกล้เคียงองค์กรขนาดใหญ่
OC20 รองรับ Wi-Fi มาตรฐาน AC 2x2 MIMO รองรับการจ่ายไฟแบบ PoE ผ่านพอร์ท RJ-45 สามารถรองรับไคลเอนท์ได้สูงสุด 100 ไคลเอนท์ต่อ AP หนึ่งตัว มาพร้อมแอป OfficeConnect ที่ควบคุมการใช้งาน OC20 ทุกอย่างตั้งแต่ตั้งค่า คอนฟิกต่างๆ ไปจนถึงแดชบอร์ดสำหรับติดตามดูไคลเอนท์ที่เชื่อมต่อกับ AP แต่ละตัว
Cisco เปิดตัวสวิตช์รุ่นใหม่ Catalyst 9000 Series ที่ออกแบบมาสำหรับเครือข่ายยุคใหม่ที่บริษัทเรียกว่า intent-based networking
แนวคิดของ Cisco คือการจัดการเครือข่ายยุคหน้าจะต้องฉลาดกว่าเดิม โดยดูจากเจตนา (intent) และบริบท (context) ของทราฟฟิกว่ามาจากไหนและมีเป้าหมายอย่างไร สวิตช์รุ่นใหม่ถูกออกแบบให้ผสานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์ (ASIC) และซอฟต์แวร์ (iOS XE) เข้าด้วยกันให้จัดการทราฟฟิกได้ฉลาดขึ้น
ฟีเจอร์เด่นของ Cisco Catalyst 9000 คือสามารถตรวจจับมัลแวร์ได้จากทราฟฟิกที่เข้ารหัส โดย Cisco คุยว่าอัตราความแม่นยำสูงถึง 99% โดยที่ไม่ต้องถอดรหัสข้อมูลด้วยซ้ำ
Cloudflare เปิดตัวบริการใหม่ Argo ที่เปรียบเทียบตัวเองว่าเป็นเหมือนแอพ Waze ที่ช่วยวิเคราะห์สภาพจราจรแบบเรียลไทม์ แต่เปลี่ยนจากท้องถนนมาเป็นลิงก์อินเทอร์เน็ตแทน
ที่ผ่านมา การเลือกเส้นทาง (routing) ของอินเทอร์เน็ตอยู่บนเทคโนโลยีอย่าง BGP (Border Gateway Protocol) ที่เริ่มเก่าแล้ว มันไม่ได้ออกแบบมาสำหรับเครือข่ายในปัจจุบันที่ใหญ่และซับซ้อนมาก
แต่เนื่องจาก Cloudflare เป็น CDN รายใหญ่ มองเห็นทราฟฟิกอินเทอร์เน็ตสัดส่วน 10% (ของ HTTP/HTTPS) และเก็บสถิติเหล่านี้มาโดยตลอด รู้ว่าตอนไหนเส้นทางไหนมีปัญหาหรือมีทราฟฟิกคับคั่ง ส่งผลให้ Cloudflare Argo ที่มีฟีเจอร์ Smart Routing จึงสามารถเลือกเส้นทางที่ดีกว่า BGP แบบดั้งเดิมได้ การเรียกใช้งานเว็บไซต์จึงรวดเร็วและสม่ำเสมอมากขึ้น
ทุกวันนี้หลายคนคงได้ยินคำว่า SD-WAN หรือชื่อเต็มๆ software-defined wide area networking ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเครือข่ายที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุบัน โดยบริษัทวิจัย International Data Corp (IDC) ได้พยากรณ์ไว้ว่าในปี 2020 ตลาดของ SD-WAN จะมีมูลค่าสูงถึง 6 พันล้านดอลลาร์เลยทีเดียว
จากข่าว Cisco เข้าซื้อ Viptela สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีเครือข่ายองค์กร อยากขอวิเคราะห์เหตุผลของการซื้อกิจการครั้งนี้ ซึ่งจะส่งผลต่อยุทธศาสตร์ software-defined wide area network (SD-WAN) ของ Cisco ในอนาคต
SD-WAN คือเทคโนโลยีการจัดการเครือข่ายเชื่อมหลายสาขาแบบใหม่ ที่นำแนวคิดของ SDN (sofware-defined networking) เข้ามาใส่เพื่อให้บริหารจัดการง่ายขึ้นและลดต้นทุนการดูแลรักษาลง ทุกวันนี้ Cisco มีผลิตภัณฑ์ตระกูล SD-WAN อยู่แล้วสองตัวคือ Cisco Intelligent WAN (IWAN) และ Meraki SD-WAN ที่ได้จากการซื้อ Meraki ในปี 2012
Facebook ยังคงเติบโตขึ้นอยู่เรื่อย ๆ แต่ว่าในระยะเวลา 13 ปีที่ผ่านมา Facebook ยังคงใช้งานเครือข่ายเดิม ๆ ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเพิ่มฟีเจอร์อย่างภาพหรือวิดีโอเข้ามาก็ตาม
การที่เครือข่ายมีผู้ใช้บริการมากจนเกินไป จะมีผลลัพธ์กับทราฟฟิกของผู้ใช้ในทางลบ ดังนั้น Facebook จึงสร้างเครือข่ายแบบใหม่ที่เรียกว่า Express Backbone (EBB) โดยไอเดียของเครือข่ายลักษณะนี้คือการแยกทราฟฟิกภายในและระหว่างศูนย์ข้อมูล กับทราฟฟิกของอินเทอร์เน็ตออกจากกัน
Cloudflare ผู้ให้บริการ CDN และ DDoS Protection สำหรับเซิร์ฟเวอร์ เปิดตัวบริการใหม่ Orbit สำหรับป้องกันการยิง DDoS ใส่อุปกรณ์ IoT ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ
Cloudflare บอกว่าโมเดลการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยในโลกของพีซี (เช่น Patch Tuesday ของไมโครซอฟท์) ไม่สามารถนำมาใช้กับโลกของ IoT ได้ เพราะผู้ผลิตอุปกรณ์ IoT ไม่มีแรงจูงใจในการออกแพตช์ และอุปกรณ์ IoT หลายประเภทก็ต้องทำงานตลอดเวลา ไม่สามารถหยุดมันเพื่ออัพเดตแพตช์ได้ ผลคือเราเห็นข่าวอุปกรณ์ IoT ถูกแฮ็กและนำมาใช้เป็น Botnet อยู่เรื่อยๆ
วันนี้ลูกค้า AIS เห็นสัญญาณเครือข่ายบนหน้าจอโทรศัพท์เปลี่ยนไปก็ไม่ต้องตกใจ เพราะผลจากความร่วมมือของ AIS กับ TOT เพื่อใช้งานเครือข่าย TOT 3G 2100MHz ตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนปีที่แล้ว จะเริ่มเห็นผลวันนี้
ลูกค้าสามจี AIS ในบางพื้นที่อาจเห็นว่าเครือข่ายของตนเปลี่ยนไป ผู้ใช้ไอโฟนจะเห็นเป็นตัวอักษร AIS-T ส่วนผู้ใช้แอนดรอยด์จะเห็นเป็น AIS-T I AIS นั่นแปลว่าถูกสลับไปใช้เครือข่ายของ TOT 3G แทน ข้อดีคือความกว้างคลื่นมากขึ้น (มีคลื่น 2100MHz ให้เลือกใช้งาน 2 ย่าน) ความคับคั่งในการใช้อินเทอร์เน็ตลดลง ส่วนการสลับเครือข่ายจะทำโดยอัตโนมัติ ผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มจากเดิม
ส่วนลูกค้า TOT 3G เดิมก็มีสิทธิมาใช้เครือข่ายของ AIS ส่งผลให้มีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมมากขึ้นเช่นกัน
Amazon ได้จดสิทธิบัตรเป็นเจ้าของเครือข่ายเน็ตเวิร์คบนท้องถนน ที่สามารถควบคุมและติดต่อสื่อสารกับรถไร้คนขับ สำหรับการแก้ไขสถานการณ์ ในกรณีที่รถต้องเผชิญกับถนนหรือสถานการณ์ที่ไม่เคยถูกโปรแกรมหรือพบเจอมาก่อน
สิทธิบัตรมีการพูดถึงระบบจัดการท้องถนน (Roadway Management System) ที่มีไว้เพื่อกำหนดเลนของถนนให้กับรถไร้คนขับ ตามจุดหมายปลายทางของรถคันนั้นด้วย ขณะที่การจดสิทธิบัตรครั้งนี้ ช่วยเพิ่มน้ำหนักให้กับข่าวลือที่ว่า Amazon กำลังซุ่มพัฒนารถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ สำหรับขนส่งสินค้านอกเหนือจากโดรนมากยิ่งขึ้น
ที่มา - South China Morning Post
ZTE เป็นบริษัทด้านเครือข่ายโทรคมนาคมอีกรายที่มาแรงในช่วงหลัง ถือเป็นบริษัทที่มีอุปกรณ์เกี่ยวกับเครือข่ายครบถ้วน ตั้งแต่ต้นน้ำพวก fiber และ carrier switching ที่ใช้กับโอเปอเรเตอร์ ไปจนถึงอุปกรณ์ปลายน้ำระดับสมาร์ทโฟนยี่ห้อของตัวเอง (เรือธงรุ่นล่าสุดคือ ZTE Axon 7)
ในประเทศไทยเอง ถึงแม้ ZTE ยังเพิ่งเริ่มกับตลาดสมาร์ทโฟน แต่ในตลาดอุปกรณ์เครือข่ายต้องบอกว่าแข็งแกร่งมาก โอเปอเรเตอร์ในไทย (ทั้งมีสายและไร้สาย) ล้วนแต่เป็นลูกค้าของ ZTE ด้วยกันทั้งนั้น
เพื่อให้เข้าใจยุทธศาสตร์ของ ZTE มากขึ้น และเรียนรู้ว่านวัตกรรมของบริษัทจีนที่ผลักดันตัวเองขึ้นมาได้ขนาดนี้เป็นอย่างไรบ้าง Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณ Wang Helin กรรมการผู้จัดการ ZTE Thailand ในประเด็นเหล่านี้
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปี 2015 Facebook เปิดตัวสวิตช์ขนาดกลางของตัวเองในชื่อ 6-pack โดยเกิดจากการนำสวิตช์ขนาดมาตรฐาน Wedge ที่ออกแบบภายใต้โครงการ Open Compute จำนวน 6 ตัวมาต่อกัน
ปีนี้ Facebook กลับมาอีกครั้งด้วยสวิตช์รุ่นที่สองต่อจาก 6-pack โดยใช้ชื่อว่า "Backpack" ที่ออกแบบมารองรับศูนย์ข้อมูลยุค 100 กิกะบิต (100G) จุดเด่นของมันคือการออกแบบช่องเสียบเป็นโมดูล (รองรับ Wedge 100 ซึ่งเป็น Wedge รุ่นที่สองจำนวน 12 ตัว) แยกส่วนข้อมูล การควบคุม และการจัดการ รวมถึงออกแบบเรื่องระบายความร้อนให้ดีขึ้นด้วย
ฝั่งของซอฟต์แวร์ Backpack จะใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส FBOSS และ OpenBMC ที่เขียนขึ้นเองและใช้มาตั้งแต่ 6-pack คอยบริหารจัดการ ตอนนี้ Backpack ถูกใช้งานจริงภายใน Facebook แล้ว และทางทีมงานก็ส่งเอกสารกำหนดสเปกเข้าโครงการ Open Compute เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณะแล้วเช่นกัน
ที่มา - Facebook Code
อีเธอร์เน็ตทุกวันนี้การ์ดที่ซื้อใหม่ๆ มักจะเป็นทำงานที่ความเร็ว 1Gbps กันเป็นส่วนใหญ่ สำหรับการเชื่อมต่อระดับแกนกลางของหน่วยงานก็มักใช้ไฟเบอร์ที่ความเร็ว 10Gbps แต่มาตรฐาน IEEE 802.3bz ที่กำลังออกมาจะเปิดทางให้องค์กรอัพเกรดความเร็วได้โดยใช้สายเดิมที่ติดตั้งไปแล้ว
IEEE 802.3bz ทำงานบนสาย CAT5e และ CAT6 ตัวมาตรฐานเสนอโดยกลุ่ม NBASE-T Alliance ตั้งแต่ปลายปี 2014 ขณะที่มาตรฐาน 10GBASE-T หรือ IEEE 802.3ae นั้นต้องใช้สาย CAT6a ที่ไม่ได้รับความนิยมแม้จะออกมาตรฐานมาแล้วกว่าสิบปี
เวลาที่คนส่วนมากพูดถึงการเชื่อมต่อเน็ตเวิร์ค มักจะนึกถึงการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในบ้านหรือสำนักงานออกสู่อินเทอร์เน็ต แต่สำหรับองค์กรที่มีสำนักงานหลายแห่ง การเชื่อมต่อหลายครั้งอาจจะต้องการทำให้เหมือนอยู่ในสำนักงานเดียวกัน เพื่อการใช้งานหลาย ๆ อย่าง เช่น เว็บภายในองค์กร, บริการแชร์ไฟล์ ไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์และเครื่องพิมพ์ที่ไม่สามารถเปิดการเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ตได้
เป็นประเด็นดราม่าที่สืบเนื่องจากการประกาศยุติการจำหน่าย TP-Link ของ King I.T. และการถูกถอดออกจากตัวแทนจำหน่าย
ทางเพจเฟซบุ๊กของ King I.T. ได้ออกมาปฏิเสธหลังมีข่าวว่า King I.T ฉ้อโกงเงินมูลค่าถึง 60 ล้านบาท จากการหยุดจำหน่ายสินค้า TP-Link (เพจไม่ได้ระบุยี่ห้อ) พร้อมออกมาชี้แจงว่ามีหนี้ 60 ล้านบาทจริง โดยให้สาเหตุของการยังไม่ชำระหนี้ว่า เกรงว่าจะเสียเปรียบทางธุรกิจ โดยเฉพาะเรื่องการเคลมสินค้า ที่เวลาประกันสินค้ายังเหลืออีกมาก ประกอบกับการที่คู่ค้ารายเก่า (TP-Link) เสียมารยาททางธุรกิจในหลายประเด็น สามารถอ่านรายละเอียดทั้งหมดได้จากที่มาครับ
ต่อจากข่าว King I.T. ยุติการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ TP-LINK และ TP-LINK ประกาศถอด คิงส์ ไอ.ที. อย่างเป็นทางการ
ทาง King I.T. ได้ส่งแถลงการณ์เพิ่มเติมมาให้ Blognone โดยมีใจความสำคัญดังนี้ (แถลงการณ์ฉบับเต็มท้ายข่าว)
ต่อประเด็นจากข่าว ถึงเวลาเปลี่ยนมือ บ. King I.T. ยุติการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ TP-LINK ล่าสุดมีประกาศจาก บริษัท ทีพี-ลิงค์ เอ็นเตอร์ไพรส์ (ประเทศไทย) จำกัด บนเพจของตน ในเนื้อความเดียวกัน ว่าบริษัท คิงส์ อินเทลลิเจ้นท์ เทคโนโลยี จำกัด มีการทำผิดเงื่อนไขทางธุรกิจเป็นเวลานาน จึงเป็นหตุให้ถอดสิทธิ์การจำหน่ายสินค้าของตน และจะชี้แจงรายละเอียดภายหลัง
และให้ Synnex และ STrek ดิสทริบิวเตอร์อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ดูแลการจำหน่ายและการบริการหลังการขายต่อไปครับ
ที่มา - TP-Link Facebook Page
บริษัท คิงส์ ไอ.ที. จำกัด (บริษัท คิงส์ อินเทลลิเจ้นท์ เทคโนโลยี จำกัด) ประกาศยุติการจำหน่ายสินค้าแบรนด์ TP-LINK อย่างเป็นทางการ อ้างอิงจากโพสต์บนหน้าเพจวันนี้ แต่ยังรับผิดชอบการรับประกันแบบ Lifetime ของตนอยู่ครับ
ในโพสต์เล่าถึงที่มาที่ไปของการเปลี่ยนแปลงองค์กรของ TP-LINK จากจีน ที่มาตั้งสำนักงานในประเทศไทยเองภายหลัง และแต่งตั้งตัวแทนขายเพิ่มนอกเหนือสัญญาในเวลาต่อมา จนเกิดความขัดแย้งกับบริษัทคิงส์ฯ ทั้งด้านนโยบายการรับประกันและการกำหนดราคา จึงต้องยุติการจัดจำหน่ายสินค้าแบรนด์นี้
ที่มา - KING I.T. Facebook Page