Sony ได้ยื่นจดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2009 เป็นระบบที่ถูกตั้งชื่อว่า "ระบบเปลี่ยนโฆษณาทีวี ให้เป็นเครือข่ายวิดีโอเกมแบบอินเตอร์แอ็กทีฟ" ก่อนที่เพิ่งได้รับการรับรองเมื่อปี 2021 ที่ผ่านมา
ภาพประกอบของสิทธิบัตร แสดงภาพของทีวี ที่เชื่อมต่อกับ Media Streaming Computer และ PS3 ที่เชื่อมกับ Interactive Commercial Service อีกที ที่คุยกับเซิร์ฟเวอร์ของเครือข่ายโฆษณาของบริการเคเบิลต่างๆ (ณ ตอนนั้น) เช่น NBC, CBS, Hulu หรือแม้แต่ MySpace
เมื่อโฆษณาขึ้นมา หากไม่ต้องการรับชม คนดูจะต้องเอ่ยชื่อของแบรนด์ที่ปรากฎในโฆษณานั้นออกมา เพื่อข้ามโฆษณาที่เหลือ
Harrity LLP ได้จัดอันดับบริษัทที่ได้รับอนุมัติสิทธิบัตรในอเมริกาของปี 2022 โดยประเด็นสำคัญคือ IBM ตกลงมาอยู่ในอันดับที่ 2 หลังจากที่บริษัทอยู่ในอันดับ 1 มาเป็นเวลา 29 ปี โดยซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 1 ที่ 8,513 รายการสิทธิบัตร
จำนวนสิทธิบัตรของ IBM ในปีที่ผ่านมามี 4,743 รายการ ลดลงถึง 44% เมื่อเทียบกับจำนวนในปี 2021
ก่อนหน้านี้ Dario Gil หัวหน้าฝ่ายวิจัย IBM Research เคยพูดถึงการเปลี่ยนกลยุทธ์บริษัท จากเดิมเน้นพัฒนาผลงานเพื่อจดสิทธิบัตรให้มากที่สุด มาเป็นโฟกัสต่อยอดทำเงิน จากรายการสิทธิบัตรซึ่งถือครองอยู่แล้วแทน ซึ่งที่ผ่านมายังทำได้ไม่มากพอ
สำนักสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสหรัฐอเมริกาเผยแพร่สิทธิบัตรที่ Apple ยื่นจดทะเบียนในเดือนพฤษภาคมปีนี้สำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีโครงสร้างกระจกบางส่วนที่สะท้อนแสงจากตัวอุปกรณ์
สิทธิบัตรระบุว่าเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ด้านหลังมีโลโก้หรือรูปอื่น ๆ ที่ทำด้วยกระจกเงาเพื่อป้องกันไม่ใช้เห็นชิ้นส่วนภายในของตัวเครื่อง ซึ่งกระจกนี้มีคุณสมบัติที่สามารถทำให้แสงจากตัวเครื่องอุปกรณ์ทะลุผ่านออกทางกระจกได้ กระจกนี้อาจมีสีเทาอ่อนหรืออาจจะเป็นสีที่ไม่ใช่สีพื้นอย่างเช่นสีทอง
Apple ใช้โลโก้ของบริษัทที่ทำด้วยกระจกที่สะท้อนแสงจากตัวเครื่องมาใช้ในปี 1999 เป็นครั้งแรกก่อนจะเลิกใช้ไปในปี 2015 แต่ในการยื่นสิทธิบัตรนี้ไม่ใช่เทคโนโลยีที่เคยมีมาแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีใหม่
ในช่วง 2-3 ปีมานี้ Samsung ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรต่อ USPTO หลายครั้งกับสิ่งประดิษฐ์ที่พวกเขาระบุในเอกสารว่า "Ring-Type Wearable Device" ซึ่งมีรายละเอียดว่าด้วยการประดิษฐ์แหวนอัจฉริยะที่มีเซ็นเซอร์วัดข้อมูลของร่างกายผู้ใช้งานหลากหลายประเภท พร้อมมีจอแสดงข้อมูลในตัว
เอกสารสิทธิบัตรของ Samsung มีภาพวาดของแหวนที่แสดงให้เห็นโครงสร้างอันประกอบไปด้วยโครงแหวนวงนอก, ปลอกแหวนด้านใน และชุดเซ็นเซอร์พร้อมวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ตรงกลางระหว่างโครงด้านนอกกับปลอกด้านใน
สำนักสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าสหรัฐอเมริกาได้รับรองสิทธิบัตร Apple ที่ทำให้อุปกรณ์บางอย่างที่รองรับการชาร์จไร้สายมีความสามารถทั้งการส่งและรับสัญญาไร้สาย ทำให้อุปกรณ์หนึ่งสามารถทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์ชาร์จไร้สายที่ส่งพลังงานไปยังอุปกรณ์อื่นได้
หมายความว่า iPhone เครื่องหนึ่งจะสามารถชาร์จ iPhone เครื่องอื่น ๆ ได้โดยการหันด้านหลังเครื่องชนกัน หรือแม้แต่ใช้ iPhone ชาร์จ Apple Watch หรือ AirPods ได้ นอกจากนี้ จะสามารถใช้ MacBook และ iPad ชาร์จ iPhone และ Apple Watch ได้แบบเดียวกับที่ Android บางรุ่นทำได้
ก่อนหน้านี้ ได้มีข่าวลือมาว่า Apple จะเพิ่ม Reverse Charging มาตั้งแต่ iPhone 11 แต่ปัจจุบัน iPhone 14 ก็ยังไม่รองรับการชาร์จด้วยวิธีนี้
Xiaomi Auto Technology บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของ Xiaomi ได้รับการจดทะเบียนสิทธิบัตรจากสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาของจีน (CNIPA) สำหรับระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
Xiaomi ยื่นจดทะเบียนว่าเป็น “อุปกรณ์ วิธีการ เครื่องมือชาร์จ ยานพาหนะ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และตัวเก็บข้อมูล” (charging device, method, apparatus, vehicle, electronic device and storage medium) ระบบชาร์จของ Xiaomi อาจติดตั้งในบ้านหรือสำนักงานได้
Apple ยื่นคำขอจดสิทธิบัตรเทคนิคการประเมินว่าผู้ใช้ชอบเพลงที่ได้ฟังมากน้อยแค่ไหน โดยอาศัยเซ็นเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหวร่างกายของผู้ใช้ตามจังหวะเสียงเพลง ซึ่งมาจากไอเดียที่ว่าการที่ผู้ใช้เต้นตามเพลง หรือโยกศีรษะเบาๆ หรือแม้กระทั่งกระทืบเท้าไปตามจังหวะ เหล่านี้เป็นสิ่งบ่งบอกว่าผู้ใช้รู้สึกพอใจกับเพลงที่กำลังฟังอยู่ในขณะนั้น
Apple ยื่นขอจดสิทธิบัตรใหม่ว่าด้วยการสร้างระบบเชื่อมต่อมือถือ (หรืออุปกรณ์พกพาอื่นซึ่งอาจเป็นแท็บเล็ต หรือนาฬิกา) เข้ากับระบบของอุปกรณ์อื่นที่มีปุ่มกด อาทิ ลิฟต์, ตู้ ATM, ไฟจราจรข้ามถนน ฯลฯ เพื่อให้ผู้ใช้มือถือสามารถควบคุมอุปกรณ์เหล่านั้นได้ด้วยการสั่งงานผ่านมือถือของตนเองแทนการใช้มือกดปุ่มจริง หรืออธิบายให้ง่ายขึ้น มันก็คือระบบที่เปลี่ยนมือถือให้เป็นรีโมทคอนโทรลอเนกประสงค์นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น เมื่อผู้ใช้เดินไปถึงสัญญาณไฟจราจรสำหรับคนข้ามถนน ก็เพียงนำเอามือถือมาเชื่อมต่อกับเสาไฟจราจรด้วยระบบรับส่งข้อมูลแบบไร้สาย จากนั้นหน้าจอมือถือก็จะปรากฏปุ่มขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้กดแล้วเปลี่ยนสัญญาณไฟให้รถหยุดเพื่อเดินข้ามถนนได้
สมาร์ทโฟนของ Oppo และ OnePlus ถูกศาลเยอรมนีสั่งแบนห้ามขาย หลังมีคดีความเรื่องสิทธิบัตร 5G กับ Nokia
ศาลชั้นต้นของเยอรมนีตัดสินว่า Oppo และ OnePlus ละเมิดสิทธิบัตร 5G ของ Nokia จริง และเมื่อทั้งสองฝ่ายไม่สามารถเจรจาค่าเสียหายกันได้ (Nokia เรียกค่าเสียหาย 2.5 ยูโรต่อเครื่อง) ทำให้ Oppo และ OnePlus ต้องถูกสั่งแบนห้ามขายมือถือไปก่อน
ตอนนี้ Oppo อยู่ระหว่างการยื่นอุทธรณ์ และหน้าเว็บของ Oppo เยอรมนี ถอดข้อมูลโทรศัพท์ออกทั้งหมดแล้ว ในเมนูหลักเหลือแค่เพียงหน้า About, ColorOS, Support เท่านั้น
ศาลอุทธรณ์ว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา (Federal Circuit Court) เพิ่งมีคำพิพากษาออกมาว่าสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมที่เกิดจากการคิดค้นของ AI ไม่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้ เพราะตามกฎหมายสิทธิบัตร (Patent Act) ระบุไว้ชัดเจนว่า “มนุษย์” ต้องเป็นผู้คิดค้นเท่านั้น
เรื่องนี้เกิดจากการที่นาย Stephen Thaler นำรูปที่ AI ที่ชื่อว่า Creativity Machine วาดขึ้นไปจดสิทธิบัตรกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาเมื่อปี 2019 และถูกปฏิเสธ รวมถึงนวัตกรรมจากฝีมือ AI ของ Thaler อีกตัวที่ชื่อว่า DABUS ก็ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้เมื่อปี 2020
กรณีแบบนี้เกิดขึ้นคล้ายกันในยุโรป จากคำตัดสินของสำนักงานจดสิทธิบัตรของ EU และศาลสูงของออสเตรเลีย ที่ไม่อนุญาตให้ผลงานของ AI สามารถใช้จดสิทธิบัตรได้
แอปเปิลตัดสินใจไกล่เกลี่ยยอมยุติคดีที่ Koss ฟ้อง ว่าหูฟัง AirPods และ Beats ของแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรของบริษัท ซึ่งเดิมศาลนัดไต่สวนคดีวันนี้ แต่ศาลประกาศว่าคู่กรณีได้เจรจาและขอถอนการฟ้อง
ทั้งนี้ศาลไม่ได้ให้รายละเอียดการเจรจาไกล่เกลี่ยว่ามีอะไรบ้าง
Koss ยื่นฟ้องแอปเปิลเมื่อปี 2020 ระบุว่าบริษัทละเมิดสิทธิบัตรหูฟังไร้สายหลายรายการ ซึ่ง Koss บอกว่าได้ออกแบบและพัฒนา กระบวนการส่งข้อมูลเสียงมายังอุปกรณ์ไร้สาย ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2000 โดยเรียกค่าเสียหายจากแอปเปิลเป็นส่วนแบ่งจากยอดขาย AirPods และหูฟัง Beats ซึ่งตอนนั้นแอปเปิลไม่เห็นด้วยกับคำฟ้อง และบอกว่าไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรแต่อย่างใด
LG ประกาศถอนตัวจากธุรกิจสมาร์ทโฟนไปตั้งแต่ปีที่แล้ว แต่บริษัทยังมีสิทธิบัตรในมืออีกจำนวนมาก ที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยีการเชื่อมต่อไร้สาย 4G และ 5G ซึ่ง LG กำลังหาทางทำเงินจากส่วนนี้
มีรายงานจาก The Elec ว่า LG ประเมินค่าใช้จ่ายในการรักษาสิทธิบัตรเหล่านี้ ที่มีจำนวนมากกว่า 20,000 รายการ ซึ่งรวมทั้งพนักงานที่เกี่ยวข้อง สูงถึงกว่า 2 หมื่นล้านวอนต่อปี (ประมาณ 540 ล้านบาท) จึงจำเป็นต้องหารายได้มาสำหรับส่วนนี้ โดยแนวทางคือการขายไลเซนส์สิทธิบัตรนั่นเอง
BlackBerry หยุดทำธุรกิจสมาร์ทโฟนมาตั้งแต่ปี 2016 (ขายไลเซนส์ให้ TCL, ปัจจุบันไลเซนส์อยู่กับ OnwardMobility บริษัทลูกของ Foxconn) และเพิ่งปิดฉากหยุดซัพพอร์ต BlackBerry OS และ BlackBerry 10 ไปเมื่อต้นปีนี้
ล่าสุด BlackBerry ถอนตัวจากตลาดสมาร์ทโฟนอย่างถาวร โดยขายสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับสมาร์ทโฟน การส่งข้อความแชท (BBM) การเชื่อมต่อไร้สาย ให้กับบริษัท Catapult IP Innovations Inc. ในราคารวม 600 ล้านดอลลาร์
กูเกิลมีคดีกับแบรนด์เครื่องเสียง Sonos มาตั้งแต่ปี 2020 โดย Sonos ฟ้องกูเกิลว่าขโมยทรัพย์สินทางปัญญาหลังพัฒนาลำโพงอัจฉริยะร่วมกัน แล้วภายหลังกูเกิลออกลำโพง Google Home/Nest Mini ของตัวเอง ซึ่งมีฟีเจอร์แบบเดียวกับของ Sonos
วันนี้คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (ITC) ของสหรัฐอเมริกา ตัดสินว่ากูเกิลละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของ Sonos เป็นสิทธิบัตร 5 รายการ และสั่งห้ามกูเกิลนำเข้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรชุดนี้เข้ามาขายในสหรัฐอเมริกา (อำนาจของ ITC เป็นเรื่องนำเข้าสินค้าเข้าประเทศ)
EA ออกแถลงการ Accessibility First Patent Pledge ร่วมแบ่งปันเทคโนโลยีที่บริษัทจดสิทธิบัตรไว้ ให้บริษัทอื่นใช้ได้ฟรี เพื่อผลประโยชน์แก่การใช้งานและเล่นเกมของผู้พิการ โดย 5 สิทธิบัตรที่ EA ปลดล็อกชุดแรกมีดังนี้
สถาปัตยกรรมซีพียูแบบคอร์เล็ก+ใหญ่ผสมกัน หรือ big.LITTLE ที่เราเห็นจากซีพียูฝั่ง Arm กลายเป็นมาตรฐานในโลกอุปกรณ์พกพา ด้วยเหตุผลว่าประหยัดพลังงานกว่า แยกโหลดงานตามขนาดคอร์ได้
เทรนด์นี้กำลังเริ่มลามมายังซีพียูตระกูล x86 แล้ว ฝั่งอินเทลมีซีพียู Lakefield เปิดตัวในปี 2020 ข้างในเป็น Core 1 คอร์ + Atom 4 คอร์ และซีพียูสายหลักรุ่นหน้า Gen 12 ที่จะออกปลายปีนี้ Alder Lake ก็ใช้แนวทางเดียวกัน (8+8 คอร์)
ย้อนกลับไปในปี 2015 บริษัท PMC (Personalized Media Communications) ผู้ออกใบอนุญาตสิทธิบัตรเดิมฟ้องแอปเปิลอ้างว่าบริษัทละเมิดสิทธิบัตร 7 รายการ นำมาใช้ในเทคโนโลยี FairPlay หรือระบบตรวจสอบสิทธิ์ (DRM) แอปที่ซื้อผ่าน iTunes, App Store และ Apple Music ซึ่งล่าสุดศาลเท็กซัสตัดสินว่าแอปเปิลผิด และต้องจ่าย 308.5 ล้านเหรียญ
มีรายงานว่า Apple ได้รับสิทธิบัตรซอฟแวร์ตัวใหม่ล่าสุดที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีการสร้างภาพหมู่เสมือน ( Generating Synthetic Group Selfies) ทำให้ผู้ใช้งานสามารถถ่ายภาพเซลฟี่ร่วมกันได้แม้ไม่ได้อยู่ด้วยกัน โดย Apple ได้ขอจดสิทธิบัตรซอฟแวร์ดังกล่าวไปตั้งแต่ปี 2018 และได้รับสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 2 มิถุนายนที่ผ่านมา
สำนักงานสิทธิ์บัตรสหรัฐฯ มอบสิทธิบัตรการออกแบบหน้ากากกันฝุ่นอัจฉริยะให้ Xiaomi เป็นหน้ากากกันฝุ่นที่มีความสามารถตรวจวัดคุณภาพอากาศขณะที่สวมใส่ได้
สิทธิบัตรระบุว่าเซ็นเซอร์ในหน้ากากสามารถตรวจวัดคุณภาพ เช่น ปริมาณฝุ่น, โอโซน, คาร์บอนมอนอกไซด์ นอกจากนี้ยังมีเซ็นเซอร์ความเคลื่อนไหว เพื่อให้รู้ว่าผู้ใช้เคลื่อนตัวเร็วเพียงใด จะได้สามารถคำนวณปริมาณอากาศที่หายใจได้ถูกต้อง แปลผลเป็นปริมาณมลพิษที่จะได้รับหากไม่ได้ใส่หน้ากาก
ใบขอสิทธิบัตรนี้ขอไว้ตั้งแต่ปี 2016 และเพิ่งได้รับเป็นสิทธิบัตรจริง โดยสิทธิบัตรจำนวนมากก็ไม่ได้แปลว่าบริษัทจะผลิตสินค้าออกมา แต่ปัญหาฝุ่นควันในช่วงหลังนี้ทำให้ไอเดียในสิทธิบัตรนี้น่าสนใจทีเดียว
ศาลแคลิฟอร์เนียได้ตัดสินคดีที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย (California Institute of Technology - CalTech) ฟ้องแอปเปิลและ Broadcom ฐานละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยี Wi-Fi โดยให้ CalTech เป็นฝ่ายชนะ และแอปเปิลกับ Broadcom ต้องจ่ายค่าเสียหายรวม 1,100 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 34,000 ล้านบาท
คดีดังกล่าวมีการยื่นฟ้องตั้งแต่ปี 2016 โดยมีผลกับสินค้าแอปเปิลที่ใช้ชิปของ Broadcom
ทั้งนี้แอปเปิลจะต้องจ่ายค่าเสียหาย 837.8 ล้านดอลลาร์ ส่วน Broadcom จ่ายค่าเสียหาย 270.2 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตามทั้งสองบริษัทระบุว่าจะมีการอุทธรณ์คดีนี้ต่อไป
Sonos แบรนด์เครื่องเสียงและลำโพงชื่อดัง ยื่นฟ้องกูเกิลข้อหาขโมยทรัพย์สินทางปัญญาด้านลำโพงอัจฉริยะ หลังทำงานร่วมกับกูเกิล แล้วกูเกิลทำลำโพง Google Home ออกมาแข่งในภายหลัง
ความสัมพันธ์ของ Sonos กับกูเกิลเริ่มต้นในปี 2013 จากการที่กูเกิลนำบริการ Google Play Music มาอยู่บนลำโพงของ Sonos โดย Sonos แชร์เทคโนโลยีด้านลำโพงให้กูเกิลรับรู้ด้วย เพราะไม่คิดว่ากูเกิลจะลงมาทำลำโพงแข่งกับตัวเอง
แต่หลังจากกูเกิลนำ Google Home เข้าสู่ตลาด Sonos พบว่ากูเกิลละเมิดสิทธิบัตรของตัวเองหลายอย่าง เช่น การซิงก์ลำโพงไร้สาย และหลังจากพยายามเจรจาเรียกค่าเสียหายไม่เป็นผล จึงตัดสินใจยื่นฟ้องกูเกิลในที่สุด
TigerMobiles.com เว็บรวมสมาร์ทโฟนราคาพิเศษเผยภาพสิทธิบัตรกล้องหน้าดีไซน์ใหม่ของ Xiaomi ที่ยื่นขอจดทะเบียนเอาไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศจีน หรือ CNIPA ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2018 ที่ผ่านมา คือทางบริษัทจะดีไซน์กล้องหน้าแบบสไลด์เป็นแถบยาวเอาไว้ที่ด้านบนของตัวเครื่องพร้อฝังกล้องไว้ 5 ตัว
อย่างไรก็ตาม ทาง South China Morning Post เห็นว่าสิทธิบัตรนี้เป็นการขอจดทะเบียนเอาไว้สักพักหนึ่งแล้วและยังไม่ได้นำมาใช้จริง ซึ่งตามปกติแล้วสิทธิบัตรอาจไม่ได้เอามาใช้จริงทุกฉบับเสมอไป
หลังจากที่ OPPO โชว์สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ที่ซ่อนกล้องใต้จอแบบมองไม่เห็น ไปแล้ว ตอนนี้ก็มีภาพสิทธิบัตรใหม่ที่ทาง Xiaomi ไปยื่นจดไว้กับหน่วยงานทรัพย์สินทางปัญญาของจีน (China National Intellectual Property Administration - CNIPA) ว่าด้วยกล้องหน้าคู่ที่ซ่อนใต้จอแบบมองไม่เห็น และทาง CNIPA ก็รับรองสิทธิบัตรนี้เมื่อ 30 กันยายนที่ผ่านมา
ทาง GSMArena ออกความเห็นว่าสังเกตในภาพจะเห็นว่าขอบบนล่างของตัวเครื่องจะบางมากและไม่มีติ่งกล้องหรือรูเจาะมากวนใจ แต่ปัญหาต่อไปคือกล้องมีชั้นหน้าจอคั่นเอาไว้ทำให้คุณภาพของกล้องหน้าลดลง ดังนั้นส่วนนี้ก็จะเป็นการบ้านของผู้ผลิตต่อไปว่าจะทำให้กล้องหน้ามีคุณภาพภาพดีเท่าแบบไม่มีจอคั่นได้อย่างไร
กล้องของสมาร์ทโฟนยุคนี้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อย ๆ แต่หลายรุ่นก็จะมีชุดเลนส์ที่นูนขึ้นมาจนขัดตาบ้าง แต่จากสิทธิบัตรล่าสุดที่แอปเปิ้ลยื่นขอจดทะเบียนไปตั้งแต่ปี 2017 แล้วเพิ่งได้รับเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2019 ที่ผ่านมา แสดงให้เห็นระบบเลนส์ที่เรียกว่า Folded lens system ใช้กระจกเลนส์ 3 หรือ 5 ตัว สะท้อนภาพกับตัวปริซึมที่อยู่ด้านหลังจะทำให้ชุดกล้องด้านหลังบางลง ไม่นูนขึ้นมาจากตัวเครื่องเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและซูมระยะได้ไกลขึ้นด้วย
เชื่อว่าหลายคนคงชอบสัมผัสการพิมพ์บนแป้นคีย์บอร์ด แต่จากสิทธิบัตรล่าสุดของ Apple ที่ทางเว็บไซต์ Engadget นำมารายงาน จะเห็นว่าทาง Apple ได้จดสิทธิบัตรวิธีการสร้างสัมผัสการพิมพ์บนหน้าจอให้คล้ายกับแป้นคีย์บอร์ดจริง ๆ อยู่ และอาจจะนำมาใช้งานกับสินค้าที่จะเปิดตัวในอนาคต
หลักการทำงานคือผสานการทำงานระหว่าง Haptic motor เข้ากับการปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต โดยแต่ละปุ่มจะปล่อยประจุของตัวเองด้วยตัวเองและสร้างแรงสั่นตอบสนองกับนิ้วของเรา หรือจะใช้วิธีพิมพ์แบบแตะตามปกติก็ได้เช่นกัน