โกดัก บริษัทผลิตฟิลม์ชื่อดังจากสหรัฐอเมริกาซึ่งได้ยื่นขอล้มละลายไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กำลังรอคำตัดสินจากศาลล้มละลายสหรัฐอเมริกาว่าจะยอมให้แอปเปิลยื่นฟ้องโกดักในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรหรือไม่ โดยเป็นสิทธิบัตรเกี่ยวกับกล้องดิจิตอล, กรอบรูปดิจิตอล และเครื่องพิมพ์ โดยถ้าศาลล้มละลายยอมให้แอปเปิลฟ้องแล้ว แอปเปิลก็จะเริ่มดำเนินเรื่องยื่นฟ้องศาลและขอให้โกดักหยุดขายผลิตภัณฑ์กลุ่มที่ละเมิดสิทธิบัตรต่อไป
สงครามกฎหมายระหว่าง Apple และ Motorola ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา Apple ได้ยื่นฟ้อง Motorola Mobility ต่อศาลแขวงแคลิฟอร์เนียใต้ ว่า Motorola ละเมิดสัญญาที่อนุญาตให้ Qualcomm ใช้สิทธิบัตร GPRS/UMTS
การฟ้องร้องครั้งนี้ ต่อเนื่องมาจากการที่ Motorola ฟ้องร้องต่อศาลในประเทศเยอรมนี ว่า Apple ละเมิดสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานเทคโนโลยี GPRS/UMTS จากการใช้ชิปของ Qualcomm ในสินค้าของ Apple (และต้องการค่าเสียหายจาก Apple 2.25%)
ต่อเนื่องจากข่าว กูเกิลใกล้ได้รับคำอนุมัติให้ซื้อโมโตโรลา จากรัฐบาลสหรัฐ-ยุโรป วันนี้ข่าวเป็นทางการมาแล้วครับ
แอปเปิลได้ขอให้ศาลแคลิฟอร์เนียสั่งห้ามขาย Galaxy Nexus เป็นการเบื้องต้น โดยมีเหตุผลว่า Galaxy Nexus ได้ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล 4 ใบได้แก่
หลังการพิจารณาคดีระหว่าง Eolas ที่ฟ้องสิทธิบัตรเว็บแบบโต้ตอบได้ คณะลูกขุนก็มีมติไม่ยอมรับสิทธิบัตร '906 ที่ทาง Eolas อ้างแล้ว โดย Tim Berners-Lee ได้ทวีตแจ้งข่าวนี้
บริษัท Eolas Technologies เป็นบริษัทผู้ถือสิทธิบัตรของ Michael Doyle นักชีววิทยาได้เขียนโปรแกรมเพื่อติดต่อระหว่างนักชีววิทยาในช่วงปี 1993 และจดสิทธิบัตรเอาไว้ ในตอนนี้เขากำลังใช้สิทธิบัตรเหล่านั้นเพื่อฟ้องบริษัทไอทีต่างๆ โดยอ้างว่าสิทธิบัตรครอบคลุมถึง เว็บแบบโต้ตอบได้ (interactive web) ทั้งหมด
Tim Berners-Lee ขึ้นให้การต่อศาลเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา เล่าถึงการสร้างเบราเซอร์ที่ชื่อว่า Viola ของนักเรียนที่ชื่อว่า Pei Wei ในช่วงปี 1991
เรื่องที่น่าสนใจคือ Doyle ไม่ได้อ้างว่าครอบครองเทคโนโลยีเว็บทั้งหมด แต่ครอบครองเทคโนโลยีเว็บโต้ตอบ ซึ่งจะหมายถึงเมื่อเว็บสามารถคลิกเพื่อดูวิดีโอ หรือมีการโต้ตอบแบบ AJAX ได้ก็จะกลายเป็นละเมิดไปทั้งหมด
รายงานจาก FOSS Patents บอกว่าโมโตโรล่าต้องการเรียกค่าไลเซ่นส์แอปเปิล 2.25% จากยอดขายสินค้าที่มีการใช้เทคโนโลยี 3G/UMTS ตามสิทธิบัตร FRAND ของโมโตโรล่าในคดีที่มาการฟ้องกันในประเทศเยอรมนี โดยหากตีราคาเป็นจำนวนเงินแล้ว แอปเปิลอาจจะต้องจ่ายเงินให้กับโมโตโรล่า 15 ดอลลาร์สำหรับเครื่อง iPhone 4S รุ่นที่มีราคาต่ำสุด
ในขณะเดียวกัน แอปเปิลกล่าวว่าการที่แอปเปิลได้เลือกซื้อชิ้นส่วน 3G/UMTS จาก Qualcomm ที่ต่างก็มีข้อตกลงแลกเปลี่ยนสิทธิบัตรกับโมโตโรล่าอยู่แล้วทำให้แอปเปิลมีสิทธิในการใช้เทคโนโลยีดังกล่าวได้
ต่อเนื่องจากข่าวศาลเยอรมนีตัดสิน iCloud ละเมิดสิทธิบัตร Motorola ซึ่งทำให้ทางแอปเปิลต้องถอด iPhone (ไม่นับ iPhone 4S) และ iPad ออกจาก Apple Store ตอนนี้ ศาลเยอรมนีได้พักคำตัดสินชั่วคราวแล้ว ทำให้แอปเปิลสามารถกลับมาขายสินค้าดังกล่าวได้อีกครั้งหนึ่ง
สาเหตุที่ทำให้ศาลเยอรมันนีพักคำตัดสินนั้น เพราะแอปเปิลยื่นอุทธรณ์พร้อมกับให้เหตุผลว่า Motorola คอยปฏิเสธที่จะให้แอปเปิลใช้สิทธิบัตรในคดีนี้ ทั้งๆ ที่สิทธิบัตรนี้ได้ถูกประกาศเป็นสิทธิบัตรมาตรฐานอุตสาหกรรมตั้งแต่เมื่อ 7 ปีที่แล้ว
ข่าวนี้ต่อจาก แอปเปิล "อาจ" แพ้คดีสิทธิบัตรโมโตโรลาในเยอรมนี ในประเด็นเรื่อง iCloud และ Mobile Me
วันนี้ศาลเยอรมนีตัดสินแล้วว่าแอปเปิลละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับ push notification ของ Motorola จริง อย่างไรก็ตาม แอปเปิลยังมีสิทธิอุทธรณ์คดีได้ต่อไป
จากที่เราทราบกับดีในหนังสือชีวประวัติของสตีฟ จ็อบส์ ว่าจ็อบส์ไม่พอใจใน Android อย่างมาก และพร้อมที่จะทุ่มเงินสดที่แอปเปิลมีอยู่ในมือทั้งหมด (ที่มากกว่าเงินคงคลังของรัฐบาลสหรัฐฯ) เพื่อจะกำจัด Android ให้สำเร็จ ล่าสุดคอลัมนิสจาก Newsweek นาย Dan Lyons อ้างว่าแอปเปิลใช้เงินกว่า 100 ล้านดอลลาร์ในการฟ้อง HTC เพียงรายเดียว
รายงานของ Lyons ยังกล่าวว่าแอปเปิลจ้างแต่ทนายที่เก่งและแพงที่สุดในโลกเกี่ยวกับคดีสิทธิบัตร แต่แอปเปิลก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อทุกบริษัทที่แอปเปิลฟ้องต่างก็ฟ้องกลับ และแอปเปิลก็เริ่มแพ้คดีต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่นคดีระหว่างแอปเปิลกับโนเกีย ที่สุดท้ายแล้วแอปเปิลต้องจ่ายค่าไลเซ่นส์ให้กับโนเกียเป็นจำนวนมาก
ความคืบหน้าของคดีออราเคิลฟ้องกูเกิลว่า Android ละเมิดทั้ง "สิทธิบัตร" และ "ลิขสิทธิ์" ของ Java ครับ
ความคืบหน้าของคดีระหว่างแอปเปิลและซัมซุงในเยอรมนี สำหรับคดีที่แอปเปิลฟ้องซัมซุง ศาลตัดสินให้แอปเปิลชนะซัมซุงไปแล้ว ซึ่ง
บริษัทมือถืออันดับสามของเกาหลี Pantech กำลังเจรจากับไมโครซอฟท์เพื่อเซ็นสัญญาสิทธิบัตร Android เป็นรายถัดไป
โฆษกของ Pantech ยอมรับว่ากำลังคุยกับไมโครซอฟท์เรื่องการใช้งานสิทธิบัตร แต่ยังไม่เปิดเผยรายละเอียดมากกว่านี้
Pantech ถือเป็นบริษัทมือถือรายใหญ่ในเกาหลีใต้ แต่ยังไม่ค่อยออกมาลุยตลาดนอกประเทศมากนัก ส่วนในสหรัฐใช้วิธีผลิตเครื่องและขายผ่านเครือข่าย AT&T หรือ Verizon แทน
คดีของแอนดรอยด์ที่ใหญ่ที่สุดในตอนนี้ คงเป็นคดีสิทธิบัตรจาวาที่ออราเคิลฟ้องกูเกิล แต่ก่อนที่จะมีการพิจารณาคดี ผู้พิพากษา William Alsup ก็สั่งเลื่อนการพิจารณาคดีออกไป จนกว่าออราเคิลจะหากระบวนการคิดค่าเสียหายที่ยอมรับได้มาเสนอต่อศาลเสียก่อน
ออราเคิลเคยอ้างว่าบริษัทเสียหายจากการใช้จาวาของกูเกิลไปถึง 6,100 ล้านดอลลาร์ แต่ผู้พิพากษาก็ปฎิเสธคำอ้างนั้นก่อนจะมีการประเมินรอบล่าสุดเหลือเพียง 1,160 ล้านดอลลาร์ แต่ผู้พิพากษาก็ยังไม่พอใจเพราะออราเคิลไม่ได้เสนอกระบวนการคำนวณที่ดีพอ
ความคืบหน้าของคดีที่แอปเปิลยื่นฟ้องต่อ ITC ในปี 2010 ว่าโมโตโรลาละเมิดสิทธิบัตรสมาร์ทโฟนของตัวเอง ปรากฏว่าผู้พิพากษาของ ITC ตัดสินในชั้นต้นแล้วว่าโมโตโรลาไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิลแต่อย่างใด
ขั้นต่อไปคือคณะกรรมการ ITC จำนวน 6 คนจะพิจารณาคำตัดสินของผู้พิพากษา และตัดสินใจอีกครั้งว่าจะยืนตามคำพิพากษานี้หรือไม่
แอปเปิลปฏิเสธจะให้ความเห็นในคดีนี้ ส่วนตัวแทนของโมโตโรลาก็ออกมาแสดงความยินดีตามความคาดหมาย
ฝั่งโมโตโรลาเองก็มีคดีฟ้องแอปเปิลต่อ ITC ว่าละเมิดสิทธิบัตร 18 รายการของตัวเองเช่นกัน
IFI Claims เปิดเผยรายชื่อ 50 บริษัทที่ได้รับสิทธิบัตรมากที่สุดในปี 2011 โดยยักษ์สีฟ้า ไอบีเอ็ม คว้าอันดับหนึ่งไปครองด้วยจำนวนสิทธิบัตรใหม่ทั้งหมด 6,180 รายการ ตามมาด้วยซัมซุง แคนอน พานาโซนิคและโตชิบา
ถึงแม้ว่าในปีที่แล้วจะเป็นปีที่ยากลำบากของซัมซุงจากสงครามสิทธิบัตรกับแอปเปิลในหลายประเทศ แต่ซัมซุงเองก็ได้สิทธิบัตรใหม่มาถึง 4,894 รายการ โดยแอปเปิลนั้นมีเพียง 676 รายการเท่านั้น
ข้อมูลที่ใช้ในการจัดอันดับมาจากสำนักงานสิทธิบัตรของสหรัฐ (USPTO) ซึ่ง 50 อันดับนี้แบ่งตามประเทศได้เป็น
LG เป็นผู้ผลิตฮาร์ดแวร์รายล่าสุดที่ตกลงเซ็นสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตรกับไมโครซอฟท์ โดยสัญญารอบนี้จะครอบคลุมผลิตภัณฑ์ของ LG หลายชนิด ทั้งมือถือ แท็บเล็ต และสินค้าอื่นๆ ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Android หรือ Chrome OS
รายละเอียดของสัญญาก็ไม่เปิดเผยเหมือนเดิมว่ามีสิทธิบัตรอะไรบ้าง และ LG ต้องจ่ายเงินให้ไมโครซอฟท์เท่าไร
ไมโครซอฟท์บอกว่าตอนนี้มีคู่สัญญาด้านสิทธิบัตร Android มากกว่า 10 รายแล้ว และถ้านับรวม LG ด้วย ก็แปลว่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ Android ในตลาดสหรัฐนับเป็น 70% ของจำนวนเครื่องทั้งหมด เซ็นสัญญากับไมโครซอฟท์หมดแล้ว
ที่มา - Microsoft Press
มีข่าวแว่ว ๆ มาว่า Kodak จะล้มละลาย (MEconomics) แต่คราวนี้ ขอฮึดสู้อีกครั้งด้วยสิทธิบัตรที่ยังมีเหลือ ด้วยการฟ้อง 2 ผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือรายใหญ่อย่าง HTC และ Apple
มีรายงานว่าในสัปดาห์สุดท้ายของปี 2011 กูเกิลได้รับการโอนสิทธิความเป็นเจ้าของสิทธิบัตรจาก IBM ในสหรัฐจำนวน 217 รายการ โดยแบ่งเป็นสิทธิบัตรที่ผ่านการอนุมัติแล้ว 188 รายการ และสิทธิบัตรที่รอการอนุมัติอีก 29 รายการ
สิทธิบัตรชุดนี้ครอบคลุมเทคโนโลยีหลายประเภท เช่น การกระจายโฆษณาบนอุปกรณ์พกพา, การหาพิกัดของผู้ใช้จากเครือข่ายโทรคมนาคม, การย้ายเว็บแอพข้ามอุปกรณ์, VoIP เป็นต้น
ของขวัญปีใหม่สำหรับ Google จริงๆ ครับ เพราะเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมที่ผ่านมา USPTO ได้อนุมัติการจดสิทธิบัตรเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยของแอปเปิ้ลจำนวน 1 ใบ สิทธิบัตรใบนั้นก็คือ "ระบบจดจำผู้ใช้งานด้วยใบหน้า" ครับ
หลักการทำงาน... ขอใช้คำว่าเหมือนกับ Face Unlock บน Android 4.0 เลยดีกว่า คือผู้ใช้เอาหน้าไปยิ้มแฉ่งใส่กล้องหน้า แล้วระบบจะทำการปลดล็อกให้ครับ แต่กรณีของแอปเปิ้ลจะมีขั้นตอนแตกต่างกันเพียง 1 ขั้นตอน คือระบบจะเลือกใบหน้าจากฐานข้อมูลขึ้นมา แล้วสั่งปลดล็อกให้เครื่องเข้าสู่สภาวะที่ผู้ใช้งานคนนั้นเป็นเจ้าของครับ (มีรูปหลักการทำงานไว้ท้ายเบรคครับ เผื่ออธิบายตรงนี้แล้วยังไม่เข้าใจ)
มีข่าวอย่างไม่เป็นทางการจาก DigiTimes ว่าบริษัทผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จากจีนจำนวนหนึ่ง ที่ระบุชื่อได้คือ Lenovo, ZTE, TCL, Coolpad, Konka จับมือเป็นพันธมิตรกันเพื่อปกป้องตัวเองจากสงครามสิทธิบัตรจากนอกประเทศ
ตลาดมือถือจีนเติบโตอย่างรวดเร็วและกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของโลก ทำให้ผู้ผลิตสัญชาติจีนมีความเสี่ยงจะโดนแอปเปิล ไมโครซอฟท์ และโนเกียฟ้องสิทธิบัตร
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดว่าบริษัทเหล่านี้จะจับมือร่วมกันอย่างไร แต่เบื้องต้นคาดว่าแลกเปลี่ยนสิทธิในการใช้สิทธิบัตร (patent pool) ระหว่างกัน เพื่อเพิ่มจำนวนอาวุธที่แต่ละรายสามารถนำไปใช้ป้องกันตัวหรือฟ้องกลับได้
ที่มา - DigiTimes
ความคืบหน้าของคดีสิทธิบัตรระหว่างออราเคิล-กูเกิลครับ ต้องย้อนความสักนิดก่อนว่าหลังจากที่สองบริษัทเจรจากันเองไม่สำเร็จ คดีก็เดินหน้าต่อไป
กลยุทธของกูเกิลคือใช้ "เทคนิค" ยื่นคำร้องให้สำนักงานสิทธิบัตรของสหรัฐ (USPTO) ตีความสิทธิบัตรที่ออราเคิลใช้ฟ้องว่าเป็นสิทธิบัตรที่สมเหตุสมผลหรือไม่ (เรียกว่า re-examination) ซึ่งเป็นเทคนิคมาตรฐานที่ใช้กันในคดีสิทธิบัตรของสหรัฐ
ปรกติเรามักจะได้ยินชื่อบริษัท Nielsen และ comScore ในช่วงต้นไตรมาสที่สองบริษัทจะออกมารายงานสถิติภาพรวมของตลาดกันเสมอๆ แต่ที่ไม่ค่อยเป็นข่าวคือสองบริษัทนี้เองก็มีคดีสิทธิบัตรระหว่างกันมาตั้งแต่ต้นปี โดย Nielsen ฟ้อง comScore ว่าละเมิดสิทธิบัตร 5 ใบ และในอีกไม่กี่วันต่อมา comScore ก็ฟ้องกลับ จนกระทั่งได้ข้อตกลงร่วมกันในวันนี้
ข้อสรุปที่ได้มาคือ comScore จะซื้อสิทธิบัตรทั้ง 5 ใบจาก Nielsen โดยให้สิทธิการใช้งานกับ Nielsen ไว้ พร้อมกับให้สิทธิการใช้งานสิทธิบัตรอื่นๆ ของ comScore แก่ Nielsen ด้วย ทั้งสองบริษัทตกลงจะไม่ฟ้องสิทธิบัตรกันอีกในสามปีข้างหน้า และ Nielsen จะซื้อหุ้น comScore มูลค่า 19 ล้านดอลลาร์และถือไว้อย่างน้อย 1 ปี
ต่อเนื่องจากข่าวเมื่อปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ฟ้องโมโตโรล่าเพราะโทรศัพ
ข่าวต่อเนื่องจาก แอปเปิลชนะคดี HTC ที่ศาล ITC, คำสั่งห้ามนำเข้าโทรศัพท์แอนดรอย