ข่าวนี้ต่อจากข่าวเก่าเมื่อปีที่แล้ว แอปเปิลฟ้อง Kodak กลับฐานละเมิดสิทธิบัตร (ซึ่งเป็นการโต้กลับของแอปเปิลหลัง Kodak ฟ้องแอปเปิลและ RIM - สรุปว่าเรื่องนี้มี 2 คดีนะครับ)
ล่าสุดทางผู้พิพากษาของ ITC ได้ตัดสินแล้วว่า Kodak ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของแอปเปิล ซึ่งเป็นการปูทางให้ Kodak สามารถตกลงยุติคดีกับแอปเปิลได้ง่ายขึ้น (ก่อนหน้านี้ Kodak เคยเจรจายุติคดีกับ Samsung และ LG ในลักษณะคล้ายๆ กัน ซึ่งก็ได้เงินมาหลายร้อยล้านดอลลาร์)
ความคืบหน้าล่าสุดของคดีออราเคิลฟ้องกูเกิลข้อหา Android ละเมิดสิทธิบัตร Java
เดิมทีนั้น ออราเคิลได้ยื่นฟ้องกูเกิลว่าละเมิดสิทธิบัตรจำนวน 132 ชิ้น แต่เนื่องจากศาลประเมินว่าการพิสูจน์สิทธิบัตรว่าละเมิดหรือไม่นั้นกินเวลามาก จึงสั่งให้ออราเคิลลดจำนวนสิทธิบัตรที่จะฟ้องลงเหลือ 3 ชิ้น เพื่อที่ปริมาณงานของศาลจะลดลง
ข่าวนี้ฟังดูดีต่อฝ่ายกูเกิลมาก แต่เอาจริงก็ไม่ใช่แบบนั้น เพราะออราเคิลถูกบังคับให้ฟ้องเฉพาะสิทธิบัตรที่มั่นใจว่าผิดเน้นๆ จำนวน 3 ชิ้นเท่านั้น ถ้าศาลตัดสินว่าผิดจริงกูเกิลก็ผิดอยู่ดี แต่ในอีกมุม กูเกิลก็สู้คดีง่ายขึ้นด้วย เพราะมีเป้าหมายชัดเจนว่าต้องป้องกันตัวและหาหลักฐานมาหักล้างสิทธิบัตรชิ้นใดบ้าง
ความวุ่นวายในประเด็นสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ Java ยังไม่จบลงง่ายๆ โดยระหว่างการดำเนินคดีในชั้นศาลนี้ทางออราเคิลก็ขอให้ศาลมีคำสั่งให้ Apache Foundation เปิดเผยการสื่อสารกับกูเกิลและ Open Handset Alliance ตลอดจนพนักงานอื่นๆ ของกูเกิล โดยเฉพาะในประเด็นสัญญาอนุญาตของ Java SE และ Apache Harmony
เนื่องจาก Android นั้นใช้ไลบรารีจำนวนมากจาก Apache Harmony ซึ่งไม่เคยได้รับการรับรองว่าผ่าน Java TCK เนื่องจากติดข้อสัญญาอนุญาตของตัว TCK เอง การที่ออราเคิลดึง Apache เข้ามาเกี่ยวข้องในกรณีนี้เป็นไปได้ว่าออราเคิลกำลังพยายามชี้ให้ศาลเห็นว่า Apache Harmony เองก็ละเมิดสิทธิบัตรของออราเคิล ซึ่งทำให้ Android ละเมิดไปด้วย (ดูข่าวเก่า)
เมื่อวานนี้ Huawei เพิ่งจะฟ้อง ZTE ไปหยกๆ วันนี้ ZTE เอาคืนบ้าง ฟ้องกลับ Huawei ว่าละเมิดสิทธิบัตรเทคโนโลยี 4G (LTE)
หวง หลีปิง นักวิเคราะห์จากสถาบันการเงินโนมุระ ให้ความเห็นว่า "เป็นเพราะ ZTE เติบโตดีเกินไป Huawei เลยพยายามที่จะใช้สิทธิ์ทางด้านสิทธิบัตรเพื่อไปขัดขวางการโตของ ZTE แต่ท้ายสุดแล้วคดีความด้านสิทธิบัตรแบบนี้ ก็มักจะจบลงที่การเจรจาและผลประโยชน์ที่จะจ่ายกันเองภายหลัง"
ทาง ZTE แถลงว่า "เราจะดำเนินการตามกฏหมายเพื่อที่จะปกป้องสิทธิบัตรของเราที่มีอยู่ทั่วโลกไม่ให้โดนละเมิดสิทธิ์โดยใครก็ตาม อย่างไรก็ดีเรารู้สึกว่าการแข่งขันทางสิทธิบัตรไม่ควรที่จะมาเป็นประเด็นหลักในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้"
บริษัทจีนที่ร้อนแรงที่สุดแห่งยุค 2 รายคือ Huawei และ ZTE ต้องมาสู้กันเองเสียแล้ว
Huawei เป็นฝ่ายยื่นฟ้อง ZTE ในข้อหาละเมิดสิทธิบัตรของ data card (ซึ่งเราเรียกกันว่าแอร์การ์ด) และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ LTE อีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ Huawei ยังกล่าวหาว่า ZTE ละเมิดเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับ data card ด้วย
Huawei บอกว่าพยายามเจรจากับ ZTE แล้วแต่ไม่เกิดผล จึงต้องใช้ไม้ตายสุดท้ายคือการฟ้องร้องนั่นเอง (Huawei ยื่นฟ้องใน 3 ประเทศคือเยอรมนี ฝรั่งเศส ฮังการี)
ส่วน ZTE ก็ตอบโต้ด้วยประโยคมาตรฐานว่าไม่ได้ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ และบริษัทให้ความเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของคนอื่นมาโดยตลอด
กลุ่มบริษัทและองค์กรที่สนับสนุน WebM จำนวน 17 ราย ประกาศตั้งกลุ่ม WebM Community Cross-License (CCL) ซึ่งจะทำหน้าที่รวบรวมสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ WebM จากสมาชิก และให้สิทธิการใช้งานสิทธิบัตรแก่สมาชิกรายอื่นๆ ทั้งหมด
ไอเดียของ WebM CCL จะคล้ายๆ กับ Open Invention Network (เพิ่งเป็นข่าวไป) ซึ่งเป็นกลุ่มที่แลกสิทธิบัตรกันระหว่างสมาชิก เพื่อป้องกันภัยคุกคามจากการฟ้องละเมิดสิทธิบัตรอื่นนั่นเอง การที่สมาชิกถือสิทธิบัตรไว้ในมือเยอะๆ ก็มีโอกาสจะฟ้องกลับได้ง่ายกว่า ส่งผลให้ในระยะยาว สมาชิกมีโอกาสถูกฟ้องสิทธิบัตรลดลง (เพราะฝ่ายตรงข้ามคำนวณโอกาสการถูกฟ้องกลับแล้ว มองว่าไม่คุ้มที่จะฟ้อง)
ระหว่างการรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสของแอปเปิลในวันนี้ Tim Cook ยังได้ทำการพูดถึงปัญหาที่แอปเปิลมีกับซัมซุง โดย Tim Cook ได้ออกมาบอกว่าแอปเปิลเป็นลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของซัมซุง และทั้งสองบริษัทก็จะพยายามที่จะสร้างสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันต่อไป
Tim Cook ยังได้บอกอีกว่า ก่อนหน้านี้แอปเปิลได้พยายามที่จะไกล่เกลี่ยกับซัมซุงในเรื่องนี้แล้ว แต่สุดท้ายก็จำเป็นที่ต้องนำเรื่องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม เนื่องจากส่วนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอุปกรณ์พกพาของซัมซุงนั้นได้ล่วงเกินแอปเปิลมามากเกินไปเสียแล้ว
เครือข่าย Open Invention Network (OIN) เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากการฟ้องร้องสิทธิบัตรลินุกซ์ของ SCO เมื่อหลายปีก่อน โดยการเอาสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับลินุกซ์จากทุกบริษัทมาเทกองรวมกัน แล้วให้สิทธิทุกบริษัทสมาชิกว่าหากถูกฟ้องเมื่อใด ให้สามารถหยิบสิทธิบัตรใดๆ ในเครือข่ายไปฟ้องกลับได้ เมื่อวานนี้ทางเครือข่ายก็ได้ประกาศสมาชิกเพิ่มเติมอีกจำนวนมาก โดยบริษัทที่เรารู้จักกันดีก็เช่น Facebook, HP, Symantec โดยรวมไตรมาสแรกของปี 2011 OIN มีสมาชิกเพิ่มขึ้น 74 หน่วยงาน
สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าอเมริกาได้เปิดเผยสิทธิบัตรล่าสุดของแอปเปิล ซึ่งเป็นภาพของอุปกรณ์หน้าตาอย่าง iPhone แต่เพิ่มจอแสดงผลขนาดเล็กๆ ไว้รอบตัวเครื่อง โดยให้รายละเอียดว่าส่วนรอบๆที่เพิ่มเข้ามาเป็นส่วนแสดงผลแบบแผ่นเรืองแสงอิเล็กทรอนิกส์ที่คอยแนะนำผู้ใช้งานใน input ที่จำเป็น หรืออาจทำตัวเป็นส่วนรับ input เองเลย
ในรายละเอียดของสิทธิบัตรนี้บอกว่าแต่เดิมของอุปกรณ์จะมีแค่หน้าจอเดียว และทำหน้าที่เป็นส่วนแสดงผลและรับ input ในเวลาเดียวกัน บางครั้งส่วนที่คอยแนะนำผู้ใช้งานก็เข้ามากินพื้นที่ในหน้าจอมากเกินไป โดยเฉพาะถ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีพื้นที่จำกัดอย่าง iPhone จึงแก้ปัญหาโดยขยายปุ่มออกไปรอบตัวเครื่อง
หลังจาก Nortel ล้มละลายไปในปี 2009 สิทธิบัตรจำนวนมหาศาลก็เป็นทรัพยสินที่คาดกันว่าหลายบริษัทจะเข้ามาแย่งชิงกันอย่างหนัก และวันนี้กูเกิลก็ประกาศตัวเข้าร่วมประมูลสิทธิบัตรอย่างเป็นทางการแล้ว โดยเสนอราคาแรกที่ 900 ล้านดอลลาร์
หลังจากที่ International Trade Commission หรือ ITC ได้ตัดสินว่าแอปเปิลมิได้มีความผิดในการละเมิดสิทธิบัตรของโนเกียแต่อย่างใดในคราวที่แล้ว คราวนี้โนเกียก็ได้ตัดสินที่จะยื่นคำร้องถึง ITC อีกรอบ โดยในคราวนี้ได้อ้างสิทธิบัตรของโนเกียที่ไม่ได้พูดถึงในการยื่นคำร้องคราวที่แล้วกว่าเจ็ดอย่าง ในฮาร์ดแวร์ที่แอปเปิลขายทั้งหมดตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นดนตรีพกพา คอมพิวเตอร์ และ แท็ปเล็ต
โดยสิทธิบัตรกลุ่มนี้ รวมไปถึงระบบปฏิบัติการที่สามารถใช้งานมัลติทาสกิ้งได้, การ Sync ข้อมูลผู้ใช้, โทรศัพท์และการเชื่อมต่อและใช่้งานอุปกรณ์ Bluetooth
จากศึกที่โนเกียได้ร้องต่อคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ (ITC) ว่าแอปเปิลได้ละเมิดสิทธิบัตรของตนและให้ ITC ห้ามการนำเข้าสินค้าของแอปเปิล ก่อนที่แอปเปิลจะฟ้องโนเกียด้วยโทษฐานละเมิดสิทธิบัตรเช่นกัน (ดูรายชื่อสิทธิบัตร)
ล่าสุด คณะกรรมการการค้าได้มีคำตัดสินในคดีหนึ่งออกมาแล้วว่า แอปเปิลไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรห้าชุดของโนเกีย โดยคำวินิจฉัยนี้จะต้องรอผ่านการตรวจสอบจากคณะกรรมการ ก่อนที่จะดำเนินการต่อไป
ข่าวนี้ต่อเนื่องจากปีก่อนซึ่งเริ่มจาก คณะกรรมาธิการการค้าระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาหรือ ITC จะเข้าสอบสวนแอปเปิลและ RIM ฐานละเมิดสิทธิบัตรตามคำร้องขอของ Kodak แล้วทาง ITC ก็ตัดสินว่าไม่ได้ละเมิด แต่ล่าสุด ITC กล่าวว่าจะเริ่มทำการสอบสวนคดีนี้อีกครั้ง และจะออกคำตัดสินในวันที่ 23 พฤษภาคม
Antonio Perez ประธานและซีอีโอของ Kodak กล่าวว่าหากทางบริษัทชนะคดีนี้ก็น่าจะได้เงินจากสองบริษัทราว 1 พันล้านดอลลาร์ โดยบริษัทจะโต้แย้งในผลการตัดสินครั้งก่อนของผู้พิพากษา Paul Luckern ที่ตัดสินว่าไม่ได้ละเมิด โดยอ้างจากกรณีที่แอลจีและซัมซุงต่างยอมจ่ายค่าสิทธิบัตรให้กับ Kodak ก่อนหน้านี้
แนวทางการไล่ฟ้องพันธมิตรฝั่งแอนดรอยด์แทนที่จะฟ้องกูเกิลโดยตรงของไมโครซอฟท์ ทำให้กูเกิลเริ่มอยู่เฉยๆ ไม่ได้จนต้องออกมาวิจารณ์การกระทำของไมโครซอฟท์ แม้จะไม่ใช่คู่กรณีโดยตรงก็ตาม แต่ในฐานะผู้ดูแลโครงการกูเกิลก็ออกมาวิจารณ์เรื่องนี้ว่าไมโครซอฟท์ทำเช่นนี้เท่ากับข่มขู่ไม่ให้ผู้อื่นสามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ได้
แนวทางการฟ้องร้องพันธมิตรที่อ่อนแอกว่าเป็นแนวทางเดียวกับที่ SCO เคยใช้ในการไล่ฟ้องบริษัทผู้ใช้ลินุกซ์ให้ยอมจ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้งาน แต่ตอนนั้น SCO ฟ้องไอบีเอ็มไปพร้อมกัน ผลคือโดนไอบีเอ็มไล่บี้จนน่วม สุดท้ายต้องขอรับความคุ้มครองจากศาลล้มละลาย และต้องขายบริษัทให้กับ UnXis
สำนักงานสิทธิบัตรแห่งสหรัฐอเมริกาได้อนุมัติสิทธิบัตรให้กับกูเกิลสำหรับ Doodle หรือการที่โลโก้ของกูเกิลในหน้าแรกเปลี่ยนไปตามเทศกาลสำคัญต่างๆแล้ว ซึ่งกูเกิลยื่นคำขอสิทธิบัตรรายการนี้ตั้งแต่ปี 2001 และในที่สุดการรอคอย 10 ปีก็เป็นผล เอกสารสิทธิบัตรนี้ได้หมายเลข 7,912,915 ลงชื่อผู้ประดิษฐ์คือ Sergey Brin โดยมีคำอธิบายว่ามันคือ "ระบบขั้นตอนที่เปลี่ยนรูปแบบโลโก้ของบริษัทให้เข้ากับเนื้อเรื่องหรือเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้กับผู้ใช้งานเว็บ โด
ไมโครซอฟท์มักพูดเสมอๆ ว่าโลกโอเพนซอร์สนั้นละเมิดสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์แต่ก็ไม่ยอมฟ้องอย่างเป็นทางการนักนอกจากการสนับสนุนทางอ้อมให้กับบริษัทอื่นๆ แต่วันนี้เป้าหมายแรกของไมโครซอฟท์กลับอยู่ที่ Android เมื่อไมโครซอฟท์ได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Commission - ITC) และศาลเขตตะวันตกของเมืองวอชิงตัน ว่าเครื่อง Nook และ Nook Color ของ Barnes & Noble นั้นละเมิดสิทธิบัตรของไมโครซอฟท์
สงครามสิทธิบัตรระหว่าง LG กับโซนี่ เริ่มเห็นผลกระทบแล้ว หลังจาก LG ประสบความสำเร็จในการขอให้ทางการยุโรปสั่งห้ามขาย PS3 เป็นการชั่วคราว
PS3 ถูกส่งเข้ายุโรปทางเรือที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ แต่ตอนนี้ศุลกากรของท่าเรือร็อธเธอร์ดัมได้ยึด PS3 ล็อตล่าสุดจำนวน "หลักพัน" เอาไว้ชั่วคราวจนกว่าคดีจะสิ้นสุด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อยอดขาย PS3 ในยุโรปอย่างแน่นอน เพราะร้านเกมต่างๆ ทั่วยุโรปมีเครื่องสต็อกไว้พอขายประมาณ 1-2 สัปดาห์เท่านั้น
ที่มา - GigaOm
สงคราม codec ระหว่างค่าย MPEG LA และ WebM ยังต่อสู้กันอย่างดุเดือด ความเคลื่อนไหวล่าสุดของฝั่ง MPEG LA คือสอบถามไปยังคู่ค้าของตนว่ามีสิทธิบัตรทางวิดีโอชิ้นใดบ้าง เพื่อสร้างชุดของสิทธิบัตร (patent pool) ไปไล่ฟ้องคู่แข่ง (ไม่ได้ระบุนามแต่เข้าใจตรงกันหมดว่าหมายถึง VP8 และ WebM)
ความเคลื่อนไหวนี้ทำให้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐลงมาสืบสวนเรื่องนี้ เพราะอาจเข้าข่ายเจ้าตลาด (H.264 และ MPEG LA) ใช้อิทธิพลกีดกันคู่แข่งหน้าใหม่ไม่ให้เข้าสู่ตลาด
นอกจากกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในฐานะตัวแทนรัฐบาลกลาง ทางสำนักงานอัยการของรัฐแคลิฟอร์เนียก็เตรียมสืบสวนเรื่องนี้เช่นกัน
ที่มา - Wall Street Journal
หลังจากที่กูเกิลเข้าซื้อบริษัท On2 เพื่อเปิดมาตรฐาน VP8 ให้ทุกคนใช้งานได้ฟรีแม้บริษัทต่างๆ จะมีท่าทีต่างกันไป แต่บริษัทที่เสียผลประโยชน์อย่างชัดเจนคือ MPEG LA ที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าให้กับเจ้าของสิทธิบัตร โดยตอนนี้ MPEG LA เป็นผู้เรียกเก็บค่าใช้งานสิทธิบัตรจากมาตรฐาน H.264 อยู่ ล่าสุด MPEG LA ก็เรียกให้บริษัทผู้ถือสิทธิบัตรออกมาเสนอสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับ VP8 เพื่อรวมเข้ากองกลาง
LG ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการด้านการค้าระหว่างชาติ (ITC) ของสหรัฐ ว่าโซนี่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของ LG หลายชิ้น และขอให้ ITC สั่งโซนี่ให้หยุดขายสินค้าเหล่านี้ในตลาดสหรัฐ
คำร้องของ LG ระบุว่าโซนี่ละเมิดสิทธิบัตรด้านทีวีจำนวน 4 ชิ้น และสิทธิบัตรด้าน Blu-ray จำนวน 4 ชิ้น ซึ่งหมายถึงทีวีตระกูล Bravia และ PlayStation 3 นั่นเอง (ในคำร้องไม่ได้พูดถึงเครื่องเล่น Blu-ray ชัดเจน แต่พูดถึง PS3)
การยื่นคำร้องของ LG คราวนี้เป็นการตอบโต้คำร้องของโซนี่ต่อ ITC ว่ามือถือของ LG ละเมิดสิทธิบัตรโซนี่ 7 ชิ้น เมื่อเดือนธันวาคม 2010
ข่าวนี้ต้องย้อนถึงข่าวเมื่อต้นปีที่แล้ว ITC จะเข้าสอบสวนแอปเปิลและ RIM ตามคำขอของ Kodak ว่าละเมิดสิทธิบัตรของตัวเองหรือไม่ ทางผู้พิพากษาของ ITC หรือคณะกรรมการพาณิชย์ของสหรัฐ ได้ตัดสินแล้วว่าแอปเปิลและ RIM ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรของโกดักแต่อย่างใด
ผู้พิพากษา Paul Luckern ให้เหตุผลว่าสิทธิบัตรของโกดักเป็นการต่อยอดจากสิทธิบัตรอื่นๆ ที่มีอยู่แล้ว ทำให้สิทธิบัตรชิ้นนี้ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง แอปเปิลและ RIM จึงไม่มีความผิดแต่อย่างใด ผลการตัดสินนี้จะต้องให้คณะกรรมการ ITC รับรองอีกครั้งหนึ่งจึงจะมีผลอย่างเป็นทางการ
Free Software Foundation องค์กรที่สนับสนุนแนวคิดซอฟต์แวร์เสรี (เรามักรู้จักซอฟต์แวร์ใต้โครงการ GNU) ประกาศสนับสนุน WebM ของกูเกิลว่าเป็นทางออกที่ดีที่สุดของวิดีโอบนเว็บ
FSF บอกว่า Flash นั้นเป็นซอฟต์แวร์ปิด ส่วน H.264 ก็ติดสิทธิบัตร ดังนั้น WebM จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะไม่มีปัญหาเรื่องสิทธิบัตรมากวนใจ และเป็นซอฟต์แวร์เสรีด้วย
FSF ยังเปลี่ยนชื่อแคมเปญ PlayOgg ที่รณรงค์ให้คนใช้ฟอร์แมต Ogg มาเป็น PlayFreedom ไปพร้อมๆ กัน
ที่มา - FSF
เห็นได้ว่าช่วงหลังนี้อินเทลเริ่มมีการเคลื่อนไหวในความพยายามที่จะยัด GPU ลงไปบนชิปซีพียูตั้งแต่ที่ออกซีพียู Core i เป็นต้นมา แม้ว่าประสิทธิภาพจะยังไม่สู้ดีเท่าไหร่นัก แต่ก็ได้รับการปรับปรุงมาเรื่อยอย่างที่ได้เห็นล่าสุดในชิปรุ่น Sandy Bridge ที่เรียกได้ว่าพอใช้ได้แล้ว
เรื่องปวดหัวประจำงานเทศกาลของหลายๆ คนคงเป็นเรื่องของการเลือกของขวัญให้ถูกใจคนรับซึ่งไม่ว่าจะเลือกดีอย่างไรก็มักจะพลาดเอาจนได้เสมอๆ ทางออกที่ง่ายกว่าคือการให้คูปองเงินสดไปแทน แต่ก็ดูน่าประทับใจน้อยกว่า ล่าสุดของ Amazon ก็ได้รับสิทธิบัตรใหม่ที่เป็นทางออกที่ดูดีกว่าให้กับทุกฝ่ายแล้ว ด้วยการอนุญาตให้ผู้รับสามารถขอเปลี่ยนของขวัญได้ทันทีแม้จะยังไม่ได้รับของก็ตาม
เมื่อผู้รับรู้ว่าตัวเองกำลังจะได้รับอะไรแล้วไม่ต้องการของชิ้นนั้น ผู้รับสามารถขอเปลี่ยนของ, เพิ่มเงิน, หรือขอคูปองเงินสดมาเก็บไว้ ก่อนที่ของจะถูกส่งมาถึงบ้าน โดย Amazon จะให้เลือกได้ว่าจะส่งคำขอบคุณกลับไปยังผู้ให้ของขวัญแล้วแจ้งว่าได้เปลี่ยนของไปแล้ว หรือจะปล่อยให้คนให้ไม่รับรู้
อดีตยักษ์ใหญ่แห่งโลกเครือข่ายคอมพิวเตอร์อย่าง Nortel อาจจะเหลือเพียงตำนานให้เราคิดถึงว่าโลกไอทีนั้นไม่ยั่งยืนเพียงใด แต่วันนี้ก็มีข่าวออกมาว่าสิทธิบัตรกว่า 4,000 ใบของ Nortel กำลังถูกนำออกประมูลโดยเป็นทรัพย์สินชิ้นท้ายๆ หลังจากส่วนอื่นๆ ถูกขายทอดตลาดไปหมดแล้ว
สิทธิบัตรของ Nortel มีมูลค่ากว่าพันล้านดอลลาร์ จะถูกประมูลอย่างเป็นความลับ โดยแหล่งข่าวของทาง Reuters ระบุว่าสิทธิบัตรจะถูกแยกออกเป็น 6 ชุด แยกตามหมวดหมู่ตั้งแต่เทคโนโลยีการสื่อสารพื้นฐานไปจนถึงการโฆษณาออนไลน์ ทำให้บริษัทเช่น แอปเปิล, กูเกิล, และ RIM ล้วนต้องการสิทธิบัตรเหล่านี้ทั้งสิ้น