Apple ขอจดสิทธิบัตรเทคนิคการใช้สัญญาณบลูทูธเพื่อค้นหาตำแหน่งของรถยนต์ รวมทั้งควบคุมการทำงานบางอย่างจากระยะไกลโดยใช้สมาร์ทโฟนเป็นเครื่องมือควบคุม
งานนี้ต้องใช้องค์ประกอบ 3 ส่วน ทั้งรถยนต์ที่ต้องเพิ่มชุดรับ-ส่งสัญญาณผ่านบลูทูธ, สมาร์ทโฟนที่ต้องมีแอพสำหรับใช้งานควบคู่กันพร้อมข้อมูลแผนที่ของพื้นที่จอดรถอย่างสมบูรณ์ และอย่างสุดท้ายคือภายในพื้นที่จอดรถซึ่งต้องมีเสาส่งสัญญาณกระจายเต็มบริเวณ พร้อมด้วยเซิร์ฟเวอร์ประมวลผลข้อมูล
ศึกยักษ์ชนกันในคดีเกี่ยวกับสิทธิบัตรระหว่าง Apple และ Motorola ได้บทสรุปมาอีกหนึ่งตอน เมื่อ ITC ตัดสินว่า Apple ไม่มีความผิดฐานละเมิดสิทธิบัตรเกี่ยวกับการใช้เซ็นเซอร์ proximity ใน iPhone ตามที่ Motorola ฟ้องร้อง
คดีนี้เกิดขึ้นเมื่อ Motorola ยื่นคำร้องว่าถูก Apple ละเมิดสิทธิบัตรตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งในเบื้องต้นผู้พิพากษามีความเห็นว่า Apple ผิดจริงดังคำร้อง ทว่าล่าสุดคณะกรรมาธิการของ ITC ก็ได้กลับคำตัดสินนั้นในที่สุด โดยให้ความเห็นที่น่าสนใจประเด็นหนึ่งว่าแนวคิดหลักในสิทธิบัตรของ Motorola นั้นเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปในวงการจนไม่เห็นควรจะได้รับการคุ้มครองในฐานะนวัตกรรม (the concept was too obvious to merit patent protection)
โนเกียยังคงเปิดศึกกับเอชทีซีอย่างต่อเนื่อง โดยคดีนี้เป็นคดีที่ 4 แล้วที่โนเกียเป็นฝ่ายฟ้องเอชทีซี ใจความสำคัญก็คือโนเกียได้ยื่นฟ้องต่อศาลเนเธอร์แลนด์ว่า HTC One ได้ละเมิดสิทธิ์การใช้งานฮาร์ดแวร์บางอย่างที่เป็นของตน ซึ่งนั่นก็คือ "ไมโครโฟน" ที่โนเกียพัฒนาร่วมกันกับ ST-Microelectronics เพื่อใช้งานในสมาร์ทโฟนของโนเกียหลายๆ รุ่น และอ้างต่อว่า เอชทีซีไม่มีสิทธิ์ที่จะนำเทคโนโลยีนี้ไปใช้งานครับ
เบื้องต้นโนเกียได้ขอให้ศาลทำการแบนการขาย HTC One ในประเทศเนเธอร์แลนด์ จนกว่าเอชทีซีจะเป็นฝ่ายเจรจากับโนเกีย หรือเอาเทคโนโลยีนี้ออกไปจากตัว HTC One แทนครับ
รอบ 2-3 ปีที่ผ่านมาเราเห็นไมโครซอฟท์ไล่เซ็นสัญญาคุ้มครองสิทธิบัตรกับผู้ขายฮาร์ดแวร์ Android อยู่เรื่อยๆ (ตัวอย่างข่าวเก่า)
ล่าสุด Hon Hai บริษัทแม่ของ Foxconn ในฐานะผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ Android/Chrome OS ก็ประกาศว่าเซ็นสัญญาสิทธิบัตรกับไมโครซอฟท์เรียบร้อยแล้ว งานนี้ไม่เปิดเผยมูลค่าหรือรายละเอียดของสัญญาเหมือนเคย
เรียกได้ว่าต่อให้ Windows Phone เจาะตลาด Android ไม่เข้า ไมโครซอฟท์ก็ยังได้เงินอยู่ดีนั่นเอง
ที่มา - Microsoft
มีผู้ไปพบว่าโนเกียได้จดสิทธิบัตร Apparatus Cover with Keyboard หรือฝาปิดแท็บเล็ตพร้อมจอภาพและคีย์บอร์ดที่สามารถปรับเปลี่ยนการจัดวางได้หลากรูปแบบ หน้าตาจะเป็นเช่นใดเชิญชมได้ที่ท้ายข่าว
โนเกียขอจดสิทธิบัตรนี้ตั้งแต่ตุลาคม พ.ศ. 2554
ที่มา: USPTO ผ่าน Unwired View
คณะกรรมการการค้าระหว่างประเทศของสหรัฐ หรือที่เรียกกันโดยย่อว่า ITC มีคำตัดสินเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิบัตรระหว่าง Samsung และ Apple ออกมาเพิ่มเติม โดยประเด็นสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ITC พิจารณาแล้วว่า Samsung มีความผิดจริงฐานละเมิดสิทธิบัตรฟีเจอร์การเลือกข้อความ ซึ่งเป็นสิทธิบัตรที่ครอบครองโดย Apple
Google ได้สิทธิบัตรใหม่เกี่ยวกับการแสดงผลปุ่มกดบนหน้าจอที่ปรับตำแหน่งได้อัตโนมัติตามลักษณะการถืออุปกรณ์ของผู้ใช้งาน โดยปุ่มดังกล่าว หมายถึงภาพกราฟิกต่างๆ ทั้งแป้นพิมพ์ข้อความ, ปุ่มตอบโต้การใช้งานคำสั่งต่างๆ รวมไปถึงไอคอนของแอพพลิเคชัน
ด้วยเซ็นเซอร์ภายในตัวสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต ตัวอุปกรณ์จะรู้ได้ว่าในขณะนั้นมันถูกวางราบอยู่หรือไม่ ซึ่งในกรณีนั้น การแสดงภาพปุ่มกด, แป้นพิมพ์ และไอคอนบนหน้าจอ จะเป็นรูปแบบปกติ คือมีขนาดใหญ่ตามปกติ และมีการจัดวางเต็มหน้าจอแสดงผล
บริษัท Eduard and Astley Printing Publishing ซึ่งเป็นบริษัทสิ่งพิมพ์ขนาดใหญ่ในอเมริกา ฟ้องบริษัทไมโครซอฟท์ด้วยข้อหาลอกเลียนการออกแบบปฏิทินไปใส่ในหน้า Start screen แบบ Metro
ตัวแทนของบริษัทให้ความเห็นว่า การออกแบบหน้า Start screen ของไมโครซอฟท์นั้นมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขนาดเล็กๆ เท่าๆ กัน ซึ่งคล้ายกับการออกแบบปฏิทิน รวมถึงมีการใช้สีสันใน tile แต่ละช่อง ซึ่งเหมือนกับการเน้นสีวันหยุดในปฏิทิน
เทคโนโลยี VP8 เป็นกระบวนการบีบอัดวิดีโอที่กูเกิลไปซื้อมาจากบริษัท On2 โดยเป็นการซื้อทั้งบริษัท และพยายามทำให้เป็นฟอร์แมตมาตรฐานสำหรับอินเทอร์เน็ต (เสนอเป็น RFC6386) และตอนนี้โนเกียก็ยื่นเรื่องต่อ IETF ระบุว่าตัวเองเป็นเจ้าของสิทธิบัตรทั้งสิ้น 64 รายการ และคำขอรับสิทธิบัตรอีก 22 รายการที่คาบเกี่ยวกับ VP8
ทั้งที่เพิ่งเปิดตัวมายังไม่ครบสัปดาห์ และยังไม่ได้เริ่มวางจำหน่ายด้วยซ้ำ แต่ดูเหมือน Galaxy S4 ของ Samsung จะโดนรับน้องจาก LG อย่างไว เมื่อ LG ออกมากล่าวว่าฟีเจอร์ Smart Pause ในสมาร์ทโฟนรุ่นดังกล่าวอาจละเมิดสิทธิบัตรที่ LG ได้ยื่นจดไว้ตั้งแต่ปี 2009
ฟีเจอร์ Smart Pause เป็นการควบคุมการเล่นไฟล์วิดีโอในเครื่อง โดยสมาร์ทโฟนจะหยุดการเล่นวิดีโอไว้ชั่วคราวเมื่อผู้ใช้ละสายตาจากหน้าจอ
ก่อนอื่น... สิทธิบัตรตัวนี้ เป็นสิทธิบัตรคนละตัวกับที่แอปเปิลได้ไปเป็นของขวัญปีใหม่ให้กูเกิลในปีที่แล้ว
ย้อนไปเมื่อปี 2011 อดีตพนักงานโซนี่ Seijiro Tomita ได้ฟ้องนินเทนโดในสิทธิบัตรการแสดงผลสามมิติโดยไม่ต้องใช้แว่นตาช่วย และในที่สุดผลการตัดสินก็ออกมาแล้ว
โดยศาลสหรัฐฯ ประจำนิวยอร์กได้ตัดสินให้นาย Tomita ชนะคดีดังกล่าว และเรียกค่าเสียหายจากนินเทนโดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 30.2 ล้านเหรียญ แม้ว่าทางฝั่งนินเทนโดจะยืนยันว่าเครื่องเกม Nintendo 3DS ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีจากสิทธิบัตรดังกล่าวก็ตาม
การแพ้คดีครั้งนี้แม้จะเสียเงินไม่มาก แต่ก็เป็นสัญญาณไม่ดีกับ 3DS ที่ยอดขายกำลังโตในช่วงนี้เท่าไร
ที่มา - Reuters
Jason Mackenzie, ผู้จัดการฝ่ายขายของเอชทีซี ได้ให้สัมภาษณ์กับ Fierce Wireless และได้เปิดเผยเรื่องราวที่สำคัญเรื่องหนึ่ง ถึงเทคโนโลยีกล้องที่ใช้ใน HTC ปี 2012 ทั้งหมด
Jason บอกว่า ตั้งแต่พวกเขาเปิดตัวเทคโนโลยี Burst Shot ใน HTC One 2012 เมื่อตอนเดือนกุมภาพันธ์ปี 2012 หลังจากนั้นไม่นาน ซัมซุงก็เปิดตัวเทคโนโลยีที่เหมือนกันออกมาใน Galaxy S III และไม่ใช่แค่ซัมซุงเท่านั้น โซนี่ และ LG ยังได้ลอกเลียนนวัตกรรม Burst Shot ไปใช้งานกับอุปกรณ์ของตนเอง เฉกเช่นเดียวกับซัมซุงเช่นกัน โดยเฉพาะโซนี่ ที่ลอกเลียนแม้กระทั่ง UI ของกล้อง ที่เอาปุ่มอัดวีดีโอมาวางไว้ข้างๆ ปุ่มชัตเตอร์เลยทีเดียว (ใน Xperia Z)
ศาลเขตแมนไฮม์ในเยอรมนี ตัดสินคดีโนเกียฟ้อง HTC ละเมิดสิทธิบัตร 2 รายการ (ฟ้องแยกเป็น 2 คดี) สรุปว่า HTC ไม่ได้ละเมิดสิทธิบัตรดังกล่าว
สิทธิบัตรในคำฟ้องเกี่ยวข้องกับการแถม Google Play ไปกับมือถือ และระบบเซ็นเซอร์วัดสภาพแสง นอกจาก HTC แล้ว โนเกียยังยื่นฟ้อง BlackBerry และ ViewSonic อีกด้วย
โนเกียออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับคำตัดสิน และทิ้งท้ายว่ากำลังเตรียมฟ้อง HTC ด้วยสิทธิบัตรอีกกว่า 30 รายการในเร็วๆ นี้
จากข่าว กูเกิลอ่วม MPEG LA ผนึกกำลัง 12 บริษัทเตรียมฟ้อง WebM ละเมิดสิทธิบัตร ล่าสุดกูเกิลสามารถยุติคดีกับ MPEG LA และบริษัทอื่นๆ ได้แล้ว
แอปเปิลจดสิทธิบัตรระบบการซื้อขายสินค้าดิจิทัลมือสอง ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ผู้ใช้สองคนสามารถยืม เช่า หรือขายความเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์โดยไม่ต้องผ่านระบบตลาด (marketplace intermediary)
ระบบนี้ เจ้าของสินค้าสามารถขายสินค้าผ่านกับบริษัทตัวกลาง (เช่นการเปิดหมวดสินค้าใช้แล้วผ่าน iBooks store) หรือขายระหว่างผู้ใช้สองคน โดยมีระบบควบคุมการตั้งราคา และข้อจำกัดในการขาย (เช่นการห้ามขายต่อหนังที่เพิ่งซื้อมาเป็นระยะเวลา 60 วัน นับจากวันที่ซื้อ) และระบบคิดค่าคอมมิชชันที่จะแบ่งให้กับเจ้าของคอนเทนต์ และบริษัทที่ดูแลระบบตามส่วนแบ่งที่กำหนด
ไมโครซอฟท์, EMC, และ NetApp แถลงในฐานะผู้เชี่ยวชาญที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับคดี (amici curiae) ในคดีลิขสิทธิ์ API จาวาระหว่างออราเคิลกับกูเกิล แสดงการสนับสนุนให้ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ตัวเอกสารยื่นเข้าสู่ศาลแล้วแต่ยังไม่ได้เปิดเผยออกมาสู่สาธารณะ (คาดว่าทางศาลจะเปิดเผยออกมาเร็วๆ นี้) แต่ The Register ได้สำเนาออกมาระบุว่าเนื้อหาวิจารณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าเป็นผลของการตีความกฎหมายลิขสิทธิ์ผิดพลาดอย่างมีนัยสำคัญหลายจุด และหากศาลอุทธรณ์ยังยืนยันคำตัดสินเช่นเดิม จะมีผลอันตรายต่อความคาดหวังที่รับรู้โดยทั่วไปในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
Samsung ได้รับสิทธิบัตรเครื่องเล่นเพลงดิจิทัล ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนเครื่องดนตรีอีกหนึ่งชิ้นที่ผู้ใช้งานสามารถสั่งการและร่วมบรรเลงเพลงที่เล่นอยู่ในขณะนั้นได้
ลองจินตนาการว่าในขณะที่กำลังฟังเพลงจากเครื่องเล่นเพลงดิจิทัลชนิดพิเศษนี้ ผู้ใช้งานถือมันด้วยมือซ้าย จากนั้นเลื่อนมือซ้ายเข้า-ออก พร้อมทั้งใช้นิ้วกดปุ่มต่างๆ ที่อยู่บนเครื่องเล่น ซึ่งเปรียบเสมือนการจับคอร์ดกีตาร์ ในขณะเดียวกันก็ใช้มือขวาสะบัดขึ้นลงตามจังหวะที่ต้องการ แทนการตีคอร์ดหรือดีดสายกีตาร์นั่นเอง ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือเพลงที่ฟังอยู่ในขณะนั้นจะมีเสียงกีตาร์ที่ผู้ใช้ร่วมบรรเลงแทรกอยู่ด้วย
คำขอจดสิทธิบัตรของ Apple ฉบับหนึ่งแสดงให้เห็นว่า Apple พยายามพัฒนาระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่ใช้ข้อมูลจากเซ็นเซอร์หลายตัวเพื่อติดตามการเคลื่อนไหวและการเปลี่ยนแปลงของทุกอย่าง...และทุกคน
สิ่งที่ Apple พยายามพัฒนาคือระบบที่เชื่อมต่อทุกสิ่งทุกอย่างเข้าด้วยกัน โดยอาศัยข้อมูลจากเซ็นเซอร์ชนิดพิเศษ ซึ่งข้อมูลในคำขอจดสิทธิบัตรระบุว่าเซ็นเซอร์ดังกล่าวจะสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหว, อุณหภูมิ, ความชื้น, การเปลี่ยนแปลงทางเคมี, อัตราการเต้นของหัวใจ, ชีพจร, ความดัน, ความเครียด, น้ำหนัก รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ ภายนอก และสภาพความเป็นพิษของสิ่งแวดล้อม
Apple ได้สิทธิบัตรเกี่ยวกับการประดิษฐ์แป้นสัมผัสสำหรับรองรับการป้อนคำสั่งของผู้ใช้งาน โดยการออกแบบใช้แผงตัวนำไฟฟ้าฝังไว้ใต้แป้นสัมผัส ซึ่งแผงตัวนำชุดเดียวกันนี้จะทำหน้าที่ดูดซับพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อนำไปหมุนเวียนเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ภายในตัวอุปกรณ์ด้วย
ประโยชน์สำคัญประการแรกที่ได้รับจากเทคโนโลยีนี้ คือสามารถลดขนาดของอุปกรณ์ให้เล็กลงได้ เนื่องจากพื้นที่รับการสั่งงานด้วยการสัมผัสและพื้นที่รับพลังงานแสงถูกนำมาซ้อนทับเป็นบริเวณเดียวกัน
มีคนไปเห็นว่าโนเกียได้จดสิทธิบัตรการออกแบบสมาร์ทโฟนและเพิ่งได้รับการอนุมัติเมื่อไม่กี่วันก่อน แต่ที่น่าประหลาดเหมือนกับคราวก่อนคือภาพร่างในสิทธิบัตรดันไปเกือบจะเหมือนกับภาพ Windows Phone ที่หลุดมาเมื่อสองปีก่อน ลองดูความเหมือนของภาพร่างในสิทธิบัตรและภาพหลุดได้ที่ท้ายข่าว
Apple ยื่นจดสิทธิบัตรเทคนิคการปลดล็อคอุปกรณ์เพื่อใช้งาน ด้วยวิธีการตอบคำถาม หรือระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพให้ถูกต้อง
วิธีการทำงานของระบบ คือ ตัวอุปกรณ์จะสุ่มเลือกรูปภาพจากอัลบั้ม จากนั้นผู้ใช้งานต้องระบุชื่อของบุคคลหรือสิ่งของที่ปรากฏในภาพให้ถูกต้อง ซึ่งหากต้องการความปลอดภัยที่แน่นหนายิ่งขึ้น ก็สามารถตั้งให้ระบบใช้วิธีสุ่มเลือกรูปภาพมาให้ตอบคำถามแบบต่อเนื่องกันหลายรูปได้
การป้อนคำตอบสำหรับระบุข้อมูลหรือตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับรูปภาพ ยังสามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้เพื่อให้ครอบคลุมการประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์หลากหลายประเภท เช่น การกดแป้นพิมพ์, การสัมผัสหน้าจอ หรือการสั่งงานด้วยเสียง เป็นต้น
Apple เพิ่งได้สิทธิบัตรการทำชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับใช้เป็นฝาหุ้มของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ซึ่งคาดกันว่าน่าจะเป็น iPhone รุ่นต้นทุนต่ำที่มีข่าวลือว่าจะเน้นราคาถูกกว่ารุ่นก่อนๆ
ตามข้อมูลในสิทธิบัตร ระบุถึงชิ้นส่วนพลาสติกแบบชิ้นเดียวตลอดตัวเครื่อง (unibody) โดยเว้นพื้นที่สำหรับหน้าจอ และกล้องพร้อมไฟแฟลชด้านหลังเครื่อง ทั้งนี้หากภาพประกอบคือแนวทางการออกแบบจริงของผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ ก็ชัดเจนว่าจะไม่มีปุ่ม home และกล้องหน้าอยู่อีกต่อไป นอกจากนี้ในเอกสารยังระบุอีกด้วยว่าพลาสติกที่ใช้จะเป็นพลาสติกแบบโปร่งแสง
Google ได้สิทธิบัตรใหม่เกี่ยวกับการใช้งานหลอดไฟ LED แบบหลายดวงสำหรับสมาร์ทโฟน ซึ่งไม่ได้มีดีเป็นแค่ไฟฉายหรือแฟลชถ่ายภาพเท่านั้น แต่ยังโยงไปถึงกระบวนการวิเคราะห์และแก้ไขภาพถ่ายด้วย
แน่นอนว่าอรรถประโยชน์ขั้นต้นที่จะได้จากหลอดไฟส่องสว่าง LED จำนวนหลายดวงนี้ สามารถใช้งานเป็นไฟฉาย หรือใช้เป็นแฟลชประกอบการถ่ายภาพได้สว่างใกล้เคียงกับหลอดซีนอนมากยิ่งขึ้น แต่การใช้พลังงานน้อยและขนาดที่เล็กกว่ายังถือเป็นข้อดีที่เหนือกว่าหลอดซีนอนอยู่มาก
ในคำบรรยายสิทธิบัตรยังกล่าวถึงการใช้หลอด LED ที่มีอยู่หลายดวงซึ่งจะวางตำแหน่งกระจัดกระจายกัน และให้แสงในทิศทางที่แตกต่างกัน โดยอุปกรณ์จะเลือกใช้หลอดไฟ LED เพียงบางดวงเพื่อชดเชยแสงจริงของสภาพแวดล้อมให้โดยอัตโนมัติ
Google ยื่นคำขอจดสิทธิบัตรการสร้างแป้นพิมพ์เสมือนโดยการฉายแสงเลเซอร์ลงบนพื้นผิวต่างๆ เพื่อใช้งานควบคู่กับอุปกรณ์ Google Glass
ในขณะนี้ที่แว่นตา Google Glass ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ตัวอุปกรณ์มีไมโครโฟนสำหรับรับคำสั่งเสียงจากผู้ใช้งาน, มีปุ่มกดสำหรับถ่ายภาพ และยังอยู่ในช่วงการทดสอบแป้นสัมผัส ทว่าดูเหมือนจะยังขาดวิธีป้อนข้อความจากผู้ใช้งานโดยการพิมพ์อยู่ ซึ่งบางครั้งกลายเป็นสิ่งจำเป็น เมื่อผู้ใช้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง หรือต้องการป้อนข้อความยาวๆ ในลักษณะที่การสั่งงานด้วยเสียงอาจทำงานได้ไม่ถูกต้อง