Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta ประกาศผ่าน Broadcast ใน Instagram ของเขาว่า Instagram กำลังเริ่มทดสอบฟีเจอร์ใหม่ตามที่มีผู้ใช้งานร้องขอ โดยสามารถสั่งปิดการทำงาน "เห็นแล้ว" หรือ Read Receipts ใน DM ได้
Read Receipts เป็นฟีเจอร์พื้นฐานใน DM ของ Instagram ที่เป็นการบอกผู้ส่งข้อความว่าผู้รับได้เห็นข้อความนั้นแล้ว ซึ่ง Zuckerberg ก็บอกตรง ๆ ว่า ฟีเจอร์นี้ออกมาเพื่อช่วยเหลือคนที่ไม่ต้องการตอบข้อความแม้ได้อ่านข้อความไปแล้ว ฟีเจอร์นี้จะเป็นส่วนหนึ่งของ Privacy ในการตั้งค่า
สถานะของฟีเจอร์นี้ยังเป็นขั้นตอนทดสอบ และจะเปิดกับผู้ใช้งานทุกคนในอนาคต คราวนี้ก็ไม่ต้องลำบากโยกบัญชีไปไว้ Restrict เพื่อหลบการแสดงข้อความ Seen อีกแล้วนั่นเอง
จากคดีต่อต้านการผูกขาดของ Google ที่กำลังดำเนินอยู่ในสหรัฐฯ ล่าสุดมีสไลด์การนำเสนอภายในของ Apple เมื่อปี 2013 ปรากฏขึ้น ซึ่ง Apple เรียก Android ว่าเป็น อุปกรณ์ติดตามตัวอย่างหนักหน่วง (Android is a massive tracking device)
แพลตฟอร์มโชเชียลมีเดียชื่อดังในจีน เช่น WeChat, Weibo, Douyin, Bilbili ตลอดจนเว็บค้นหา Baidu และแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ช Xiaohongshu พากันปรับนโยบายการใช้งานพร้อมกัน ว่าจะบังคับให้บัญชีที่มีผู้ติดตามเกิน 500,000 บัญชีต้องแสดงชื่อจริงไม่เช่นนั้นจะถูกจำกัดสิทธิ์ต่างๆ
นโยบายนี้กระทบคนดังในโลกออนไลน์นับพันคน ก่อให้เกิดความกังวลว่าคนดังเหล่านี้จะถูกติดตามตัว ทางด้าน Bytedance นั้นระบุว่าจะจำกัดเฉพาะผู้ใช้ที่ยืนยันตัวตนแล้ว จึงจะมองเห็นชื่อจริงของบัญชีเหล่านี้ ขณะที่ Weibo ก็สัญญาว่าจะไม่ขยายนโยบายไปบัญชีที่เล็กกว่านี้แล้ว
มาตรการบังคับของแพลตฟอร์มต่างกันไป บางแพลตฟอร์มระบุว่าหากไม่ยอมลงชื่อจริงจะเริ่มบีบการมองเห็น หรือบางแพลตฟอร์มก็บีบรายได้
Google Play ประกาศนโยบายใหม่ 3 ข้อที่จะบังคับใช้เพิ่มเติมกับแอพในระบบ
Cloudflare ปล่อยโครงการโอเพนซอร์ส HAR File Sanitizer สำหรับล้างข้อมูลสำคัญก่อนแชร์ไฟล์ request จากเบราว์เซอร์ หลังเกิดช่องโหว่ในระบบซัพพอร์ตของ Okta จนมีองค์กรถูกแฮกจำนวนมาก
ISRG ผู้ให้บริการ Let’s Encrypt ร่วมกับ Mozilla ประกาศเริ่มใช้งานโปรโตคอล Distributed Aggregation Protocol (DAP) สำหรับเก็บข้อมูลสถิติการใช้งานเบราว์เซอร์ Firefox หลังพัฒนาโปรโตคอลร่วมกันมานานกว่าหนึ่งปี
DAP พัฒนาต่อจาก Prio ที่ Firefox ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2018 แนวทางสำคัญคือการรายงานข้อมูลผ่านตัวกลางที่เห็นข้อมูลเพียงบางส่วน ตัวไคลเอนต์ที่รายงานสามารถกระจายข้อมูลแยกกันรายงานไปยังเซิร์ฟเวอร์หลายตัว ผู้ที่อ่านสถิติสุดท้ายจะเห็นแต่ภาพรวมเท่านั้น ตัว DAP นั้นเป็นโปรโตคอลเท่านั้น ทาง ISRG ยังเปิดบริการ Divvi Up ที่สำหรับให้บริการโครงการต่างๆ ที่ต้องการเก็บสถิติ ตอนนี้ยังไม่เปิดให้บริการโครงการอื่นๆ แต่ให้ลงชื่อแสดงความสนใจไว้ได้
Firefox เพิ่งออกเวอร์ชั่น 118 เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยฟีเจอร์สำคัญตัวหนึ่งคือการเข้ารหัสข้อความเริ่มต้นเชื่อมต่อ TLS ตามมาตรฐาน Encrypted Client Hello (ECH) ที่เข้ารหัสข้อมูลแทบทั้งหมด ทำให้การดักฟังการเชื่อมต่อไม่สามารถมองเห็นได้ว่าผู้ใช้กำลังเชื่อมต่อไปยังโดเมนอะไร
Reddit ประกาศการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน โดยหนึ่งในประเด็นสำคัญคือผู้ใช้งานไม่สามารถ opt-out สำหรับการเก็บข้อมูล เพื่อนำไปยิงโฆษณาแบบ personalised แล้ว
Jutta Williams หัวหน้าทีมความเป็นส่วนตัวของ Reddit ให้เหตุผลว่า ปกติ Reddit แทบไม่เก็บข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานมากมายเท่าไหร่อยู่แล้ว และการทำแบบนี้ทำให้ประสบการณ์โฆษณาบนแพลตฟอร์มของผู้ใช้ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม Reddit ยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับวิธีการเก็บหรือแบ่งปันข้อมูลผู้ใช้งานใดๆ ผู้ใช้งานจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับโฆษณา รวมถึงคนที่เคยเลือก opt-out ก่อนหน้านี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเห็นโฆษณามากขึ้น หรือข้อมูลโปรไฟล์ถูกนำไปขายให้กับนักโฆษณา
กูเกิลตกลงจ่ายเงิน 93 ล้านดอลลาร์ ให้กับรัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อยอมความในคดีที่ถูกฟ้องว่ามีการเก็บข้อมูลพิกัดผู้ใช้งาน แม้ผู้ใช้งานเลือกให้ปิดการเก็บข้อมูลแล้ว ซึ่งรัฐแคลิฟอร์เนียบอกว่ากูเกิลได้ประโยชน์จากการทำโฆษณาแบบเจาะกลุ่ม
คดีนี้เป็นคดีเก่าที่กูเกิลถูกฟ้องจากหลายรัฐ และกูเกิลเลือกจ่ายเงินยอมความมาตลอด ที่เป็นเงินก้อนใหญ่คือการยอมความรวมกัน 40 รัฐ ในปี 2022 จำนวน 391.5 ล้านดอลลาร์ โดยกูเกิลบอกว่าเกิดจากผลิตภัณฑ์เก่า ซึ่งตอนนี้ได้แก้ไขปัญหาทั้งหมดแล้ว
ในข้อตกลงของการยอมความนี้ รัฐแคลิฟอร์เนียยังกำหนดให้กูเกิลต้องเพิ่มรายละเอียดบอกผู้ใช้งาน ว่าเก็บข้อมูลพิกัดไปใช้ทำอะไรบ้าง รวมทั้งโฆษณาผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ
กูเกิลประกาศเปิดใช้งาน Privacy Sandbox ระบบตามรอยผู้ใช้งานที่มาแทนคุกกี้ ใน Chrome อย่างเป็นทางการ หลังเริ่มเสนอแนวคิดนี้มาตั้งแต่ปี 2019 และทยอยปรับปรุงมาเรื่อยๆ จนลงตัว
แนวทางของ Privacy Sandbox คือเลิกเก็บคุกกี้เพื่อตามรอยว่าผู้ใช้เข้าเว็บไหนบ้าง แต่เพื่อเปิดโอกาสให้ธุรกิจโฆษณายังอยู่ได้ ตัวเบราว์เซอร์ Chrome เปลี่ยนมาเก็บหัวข้อความสนใจของผู้ใช้ (Topics) เช่น รถยนต์ ภาพยนตร์ กีฬา ท่องเที่ยว ดนตรี ฯลฯ แบบกว้างๆ แทน เมื่อเราเข้าเว็บไซต์ที่ฝังโฆษณา ระบบโฆษณาจะขอหัวข้อความสนใจจากเบราว์เซอร์เพื่อเลือกแสดงโฆษณาในหมวดที่เราน่าจะสนใจ แทนการยิงโฆษณาแบบหว่านๆ ที่อาจไม่เข้าเป้าเลย
มีรายงานเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อกำหนดความเป็นส่วนตัวในการใช้งาน ของแพลตฟอร์ม X หรือ Twitter จากก่อนหน้านี้ มีผู้พบการเปลี่ยนแปลง โดยระบุว่าจะเก็บข้อมูล Biometric และข้อมูลการสมัครงานผ่าน X Hiring คราวนี้เป็นเรื่องของ AI
โดยเนื้อหาที่แก้ไขในข้อ 2.1 เกี่ยวกับการปรับปรุงเนื้อหาเฉพาะผู้ใช้งานแต่ละคน บอกว่าแพลตฟอร์มอาจรวบรวมข้อมูลที่เป็นสาธารณะ มาใช้เทรนโมเดล Machine Learning หรือ AI ตามวัตถุประสงค์ในขอบเขตที่ระบุในข้อกำหนดนี้
We may use the information we collect and publicly available information to help train our machine learning or artificial intelligence models for the purposes outlined in this policy.
Elon Musk ซีอีโอ X หรือ Twitter อัพเดตล่าสุด เกี่ยวกับแผนการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง ซึ่งบางอย่างก็เคยมีรายงานมาแล้วก่อนหน้านี้
ของใหม่อย่างแรกคือระบบสนทนาวิดีโอคอล และคุยเฉพาะเสียง Musk ยังไม่ได้ให้รายละเอียดของบริการว่าจะมาเมื่อใด แต่บอกจุดเด่นว่า รองรับทุกแพลตฟอร์ม (iOS, Android, PC, Mac) ไม่ต้องใช้เบอร์โทรศัพท์ และ X นั้นถือเป็นบริการที่รวมช่องทางติดต่อทั่วโลกไว้อยู่แล้ว (Global address book)
Mozilla ประกาศผนวกเอา Firefox Relay บริการอีเมลแบบใช้ครั้งเดียวเพื่อความเป็นส่วนตัว เข้ามาอยู่ในตัวเบราว์เซอร์ Firefox โดยตรง
แนวคิดของ Relay คือการสร้างอีเมลแบบสุ่มสำหรับใช้ครั้งเดียว (random email mask) ให้สมัครบริการบนเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเลี่ยงการให้อีเมลจริง (ที่อาจถูกสแปมถล่มหรือข้อมูลรั่วไหลหากเว็บนั้นถูกแฮ็ก) จากนั้นข้อมูลการสมัครบริการจะถูกส่งต่อ (relay ตามชื่อบริการ) มายังอีเมลจริงของเราอีกที
Zoom ประกาศแก้ไขรายละเอียดของเงื่อนไขการให้บริการ (term of service) อีกครั้ง หลังจากเนื้อหาที่ปรับปรุงก่อนหน้านี้ ระบุว่า Zoom มีสิทธินำข้อมูลผู้ใช้งานไปเทรน AI ได้ โดยข้อมูลสำคัญคือ เสียง วิดีโอ และแชท ต้องได้รับการยินยอมก่อน (consent)
ถึงแม้ประกาศนี้จะระบุชัดเจนว่าผู้ใช้งานต้องเป็นฝ่ายอนุญาตให้นำข้อมูลไปใช้งานก่อน แต่ข้อมูลส่วนอื่นนั้น Zoom บอกว่าสามารถนำไปเทรนได้เลย ก็ทำให้กระแสตอบกลับมาไม่ดีนัก
เว็บเบราว์เซอร์อย่าง Chrome มีฟีเจอร์แปลภาษาหน้าเว็บมานานมาก เบื้องหลังการทำงานของมันคือส่งข้อความบนหน้าเว็บไปยังบริการ Google Translate บนเซิร์ฟเวอร์กูเกิล โดยเบราว์เซอร์ตัวอื่น (เช่น Edge) ก็มีการทำงานแบบเดียวกัน แต่ใช้บริการแปลภาษาต่างกันไป
Firefox เป็นเบราว์เซอร์ที่ยังไม่มีฟีเจอร์แปลภาษาอัตโนมัติมานาน ด้วยเหตุผลว่าการส่งข้อความไปแปลบนเซิร์ฟเวอร์อื่นจะกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ แต่ปัญหานี้กำลังจะหมดไป เพราะ Firefox 117 (ตอนนี้เป็น Beta) เพิ่มฟีเจอร์แปลภาษาในเครื่องของผู้ใช้เองมาให้แล้ว
Zoom ประกาศปรับแก้เงื่อนไขการให้บริการ (term of service) เพิ่มเนื้อหาว่าบริษัทมีสิทธินำข้อมูลของผู้ใช้ไปเทรน AI ได้ ยกเว้นข้อมูลเสียง วิดีโอ แชท ที่ต้องขอความยินยอม (consent) จากผู้ใช้ก่อน
ประกาศนี้ของ Zoom แปลว่าข้อมูลอื่นๆ ที่ไม่ใช่ 3 อย่างข้างต้น เช่น telemetry, diagnostic data ที่ใช้วิเคราะห์ระบบ ข้อมูลเหล่านี้เป็นของ Zoom ที่นำไปใช้งานได้ทันที แต่หากเป็นข้อมูลของผู้ใช้โดยตรง Zoom ยืนยันว่าจะขอความยินยอมก่อนเสมอ
ตำรวจเคนยาบุกค้นโกดังของ Worldcoin บริษัทคริปโตที่ก่อตั้งโดย Sam Altman ซีอีโอของ OpenAI หลัง Worldcoin ประกาศเชิญชวนให้คนมาลงทะเบียนเพื่อสร้าง World ID แต่ทางรัฐบาลเคนยาระบุว่าการเก็บข้อมูลทำโดยไม่ได้รับอนุญาต และสั่งให้หยุดเก็บข้อมูลไป หลังจากการค้นตำรวจก็ยึดคอมพิวเตอร์ที่น่าจะใช้เก็บภาพม่านตาของประชาชนที่ลงทะเบียนไปแล้ว
กูเกิลประกาศเพิ่มฟีเจอร์ชื่อ Results about you ให้เราตรวจสอบได้ง่ายขึ้นว่ามีข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล ปรากฏอยู่ในผลการค้นหาของ Google Search หรือไม่
ฟีเจอร์นี้เปิดตัวมาได้สักระยะแล้ว แต่ยังจำกัดเฉพาะผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น ล่าสุดกูเกิลเพิ่มระบบ alert แจ้งเตือนให้เราทราบหากมีข้อมูลใหม่ติดเข้ามาในผลการค้นหา และเราสามารถยื่นขอลบข้อมูลเหล่านี้ออกได้
รัฐบาลของประเทศเคนยา ออกคำสั่งให้โครงการเหรียญคริปโต Worldcoin ของ Sam Altman ซีอีโอของ OpenAI หยุดรับสมัครผู้ใช้ใหม่ หลังจาก Worldcoin ไปตั้งซุ้มเชิญชวนให้คนมาสแกนม่านตาเพื่อยืนยันตัวตน เพื่อแลกกับเหรียญคริปโตเทียบเป็นมูลค่า 50 ดอลลาร์
แนวคิดของ Worldcoin คือสร้างอุปกรณ์สแกนม่านตาที่เรียกว่า Worldcoin Orb ไปวางไว้ตามจุดต่างๆ ทั่วโลก ตอนนี้บอกว่ามี 1,500 จุด (ยังไม่มีไทย) แล้วเชิญชวนให้คนเข้ามาใช้งานสร้าง World ID ของตัวเอง แลกกับเหรียญ Worldcoin เอาไว้ทำธุรกรรมออนไลน์ผ่านบล็อกเชน
Chrome ประกาศเพิ่มแนวทางการให้สิทธิ์เว็บไซต์เข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติม เช่น การขอเข้าถึงกล้อง, การเข้าถึงพิกัดผู้ใช้ จากเดิมที่ผู้ใช้อนุญาตเว็บครั้งเดียวแล้วเว็บจะใช้สิทธิ์ได้ตลอดไป มาเป็นการเพิ่มตัวเลือกให้สิทธิ์ขณะที่ใช้เว็บในครั้งนั้นเท่านั้น
ตัวเว็บไซต์จะมีสิทธิ์เรียก API ตลอดช่วงเวลาที่ผู้ใช้ยังใช้งานเว็บอยู่ ซึ่งแนวทางนี้เบราว์เซอร์ต่างๆ ก็เคยใช้งานกันมาก่อนแต่ไม่ได้เปิดตัวเลือกว่าจะเป็นการให้สิทธิ์ชั่วคราวหรือถาวร เช่น Safari การให้สิทธิ์เข้าถึงพิกัดผู้ใช้จะจำกัดเวลา 24 ชั่วโมง หรือ Firefox ก็จำกัดว่าต้องขอสิทธิ์เป็นครั้งๆ กับ การขอพิกัด, เข้าถึงกล้องและไมโครโฟน เหมือนกัน
Google ประกาศผ่านบล็อกว่าจะชะลอการปล่อยฟีเจอร์แจ้งเตือนหากมี AirTag ถูกติดตามตัว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Find My Device ออกไปก่อน จนกว่า Apple ยืนยันสเปคกลาง และเริ่มใช้ฟีเจอร์นี้ใน iOS เพื่อปกป้องผู้ใช้งานจากการติดตามตำแหน่งที่ไม่ต้องการ
แม้ว่า Find My Device จะเป็นฟีเจอร์ที่มีประโยชน์มาก แต่เป็นฟีเจอร์ที่เปิดการติดตามตำแหน่งที่ผู้ใช้งานไม่ต้องการด้วย ตัวอย่างเช่น มีคนจงใจทิ้งผลิตภัณฑ์ที่มีเครือข่าย Find My Device ในกระเป๋าของผู้ใช้ แล้วสามารถติดตามตำแหน่งของคุณผ่านผลิตภัณฑ์นั้นได้
แอปเปิลประกาศมาตรการป้องกันการติดตามตัวผู้ใช้ด้วยดูข้อมูลที่เกี่ยวข้อง (fingerprinting) ด้วยการบังคับให้ทุกแอปที่เรียก API ที่เข้าข่ายต้องประกาศเหตุผลที่ใช้ API เหล่านี้
API ที่อ่านข้อมูลที่เข้าข่ายต้องประกาศเหตุผล ได้แก่
นักพัฒนาจะเริ่มได้รับอีเมลแจ้งเตือนการเข้าใช้งาน API เหล่านี้ภายในปีนี้ และหากไม่อัพเดตข้อมูลก็จะไม่สามารถส่งแอปขึ้นสโตร์ได้ โดยตอนนี้เส้นตายยังเป็นช่วงกว้างๆ ระหว่างมีนาคม-พฤษภาคม 2024
กูเกิลประกาศว่าคุณสมบัติการแจ้งเตือน หากถูก AirTag หรืออุปกรณ์แทร็กเกอร์บลูทูธอื่นติดตามโดยไม่รู้ตัว จะเริ่มใช้งานได้ผ่าน Find My Device ที่อัพเดตใน Android 6.0 ขึ้นไป เริ่มตั้งแต่วันนี้
ฟีเจอร์ดังกล่าว กูเกิลประกาศตั้งแต่งาน Google I/O เมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นความร่วมมือกับแอปเปิล เพื่อออกรูปแบบการตรวจจับ การแจ้งเตือน หากมีการใช้ AirTag หรืออุปกรณ์บลูทูธติดตามประเภทเดียวกันอย่างไม่พึงประสงค์
Find My Device จะแจ้งเตือนหากตรวจพบอุปกรณ์บลูทูธที่ไม่รู้จักติดตามผู้ใช้งานอยู่ สามารถกดดูข้อมูลเส้นทางแผนที่ซึ่งอุปกรณ์นี้ติดตามกับผู้ใช้งานได้ สามารถกดดูข้อมูลเลขซีเรียลหรือชื่อเจ้าของ (หากระบุ) สั่งให้อุปกรณ์ส่งเสียงเพื่อค้นหา
OpenAI ประกาศเพิ่มเครื่องมือให้ ChatGPT โดยสามารถกำหนดข้อมูลผู้ใช้งานพื้นฐานได้ (Preferences) ทำให้ไม่ต้องอธิบายข้อมูลเหล่านี้ซ้ำในทุกครั้งที่เริ่มบทสนทนาใหม่
ตัวอย่างข้อมูลพื้นฐาน ที่สามารถตั้งค่าไว้ก่อนเลย เช่น เป็นครูสอนระดับชั้นป. 3 เป็นโปรแกรมเมอร์ภาษา Golang ครอบครัวมีสมาชิก 6 คน เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้ทำให้ไม่ต้องพิมพ์อธิบายเพิ่ม เมื่อต้องการไอเดียหรือขอข้อมูลบางอย่าง ช่วยลดขั้นตอนและความยาวของ prompt โดยได้ผลลัพธ์ที่ต้องการทันที ในแง่การสร้างปลั๊กอินก็ช่วยให้มีข้อมูลพื้นฐานเพิ่มเข้าไปได้ทันที
คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) อนุมัติกรอบความร่วมมือว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของข้อมูล (EU-U.S. Data Privacy Framework) เปิดทางให้บริษัทเทคโนโลยีสามารถถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของชาวยุโรปไปยังเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐอเมริกาได้แล้ว
คณะกรรมาธิการยุโรปให้เหตุผลว่า รายละเอียดของการปกป้องข้อมูลและความเป็นส่วนตัวภายใต้กรอบนี้ ถือว่ามีความปลอดภัยเพียงพอ และตอบโจทย์ข้อกังวลและข้อเสนอแนะของศาลยุติธรรมยุโรป (European Court of Justice) เช่น จำกัดการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐเท่าที่จำเป็น หรือการตั้งศาล Data Protection Review Court ที่ชาวยุโรปสามารถเข้าถึงข้อมูลได้