เว็บข่าว UDN ในจีนรายงานโดยอ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตน ระบุว่าอินเทลได้ตกลงกับ TSMC เพื่อใช้สายการผลิตเทคโนโลยี 3 นาโนเมตรเรียบร้อยแล้ว โดยระบุว่า Intel จะใช้กระบวนการผลิต 3 นาโนเมตรของ TSMC ผลิตชิปสำหรับเซิฟเวอร์และจีพียู
ก่อนหน้านี้มีข่าวลือจาก Digitimes อ้างอิงแหล่งข่าวในซัพพลายเชน ว่า Apple น่าจะเป็นลูกค้ารายแรกที่ใช้กระบวนการผลิต 3 นาโนเมตรของ TSMC ในการผลิตชิปตระกูล A รุ่นต่อไปสำหรับ iPhone และในขณะเดียวกัน AMD ก็ใช้ไลน์การผลิตของ TSMC ในการผลิตทั้งซีพียูและจีพียู และน่าจะมีความต้องการใช้กระบวนการผลิต 3 นาโนเมตรในอนาคตเช่นกัน
อินเทลเพิ่งประกาศชื่อลูกค้าของโรงงานผลิตชิป 2 รายคือ Qualcomm กับ AWS แต่หลังจากนั้นไม่นาน Pat Gelsinger ซีอีโออินเทลก็ให้สัมภาษณ์กับ Yahoo Finance ว่าธุรกิจรับจ้างผลิตชิป Intel Foundry Services มีลูกค้าอยู่ในคิวแล้วมากกว่า 100 ราย
Gelsinger ให้เหตุผลว่าปัญหาชิปขาดตลาดเป็นปัจจัยช่วยหนุนให้ทุกคนมาสนใจอินเทล เพราะมีเทคโนโลยีการผลิตที่ก้าวหน้า ถัดจากนี้เป็นหน้าที่ของเขาในการขยายโรงงานผลิตชิปของอินเทล เพื่อรองรับลูกค้าเหล่านี้ให้ได้
เมื่อต้นปีนี้ อินเทลประกาศแผน IDM 2.0 เปิดโรงงานของตัวเองรับผลิตชิปให้คนอื่น ในงานแถลงข่าวของอินเทลเมื่อคืนนี้ บริษัทเปิดชื่อลูกค้าแล้ว 2 รายคือ Qualcomm และ AWS
Qualcomm ซึ่งปัจจุบันใช้บริการโรงงานของ TSMC ผลิตชิป Snapdragon ระบุว่าสนใจเทคโนโลยีการผลิต 20A ระดับอังสตรอมของอินเทล ที่จะเริ่มผลิตจริงในปี 2024
ส่วนกรณีของ Amazon ที่ช่วงหลังออกแบบชิป Graviton ของตัวเอง ก็ระบุว่าจะใช้เทคโนโลยีด้านแพ็กเกจชิปที่เพิ่งเปิดตัว แต่ก็ไม่บอกว่าตัวไหนและช่วงเวลาใด
ในงาน Intel Accelerate วันนี้นอกจากการประกาศแผนเทคโนโลยีการผลิตชิปแล้ว อินเทลยังประกาศแผนแพ็กเกจแยกจากกัน โดยวางแผนการลดระยะห่างระหว่างขา (bump pitch) ให้ลดลงไปจนถึงระดับต่ำกว่า 10 ไมครอนภายในปี 2023 (ไมครอนคือ 1 ใน 1000 ของมิลลิเมตร) โดยเทคโนโลยีที่อยู่ในแผนได้แก่
อินเทลแถลงข่าวประกาศแผนการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต เปลี่ยนชื่อเทคโนโลยีการผลิตให้กลายเป็นแบรนด์อินเทลแทนเลขนาโนเมตรเช่นเดิม และภาพใหญ่ที่สุดคือการเตรียมพร้อมสู่เทคโนโลยีระดับอังสตรอม โดยเทคโนโลยีที่ประกาศออกมาแล้วได้แก่
GlobalFoundries หรือ GF บริษัทผู้ผลิตชิปที่แยกตัวจาก AMD ในปี 2009 ประกาศขยายโรงงานเดิมในรัฐนิวยอร์ก ใช้เงินลงทุน 1,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มความสามารถในการผลิต (นับเป็นจำนวนแผ่นเวเฟอร์) อีก 150,000 แผ่นต่อปี
นอกจากนี้ GF ยังประกาศสร้างโรงงานใหม่ที่นิวยอร์กด้วย โดยระบุว่าจะช่วยจ้างงานเพิ่ม 1,000 ตำแหน่ง แต่ไม่บอกกำลังการผลิต บอกแค่ว่าจะขอระดมทุนจากหน่วยงานภาครัฐด้วย ตามนโยบายการสร้างซัพพลายเชนของการผลิตชิปบนแผ่นดินอเมริกา
The Wall Street Journal รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง ว่าอินเทลกำลังเจรจาเพื่อซื้อกิจการ GlobalFoundries บริษัทผู้ผลิตชิป ที่มูลค่าราว 30,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตชิปของอินเทลจากความต้องการทั่วโลกที่สูงขึ้น
ตัวแทนของอินเทลปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว ส่วนตัวแทนของ GlobalFoundries บอกว่าบริษัทไม่ได้มีการพูดคุยใด ๆ กับอินเทล
GlobalFoundries เป็นบริษัทผลิตชิปที่แยกออกมาจาก AMD เมื่อปี 2009 ปัจจุบันเจ้าของคือกองทุนเพื่อความมั่งคั่งของรัฐบาลอาบูดาบี
Pat Gelsinger ซีอีโออินเทล ให้สัมภาษณ์กับ Financial Times ถึงแผนการขยายโรงงานผลิตชิปในยุโรป ว่าจะลงทุนเป็นเงิน 2 หมื่นล้านดอลลาร์ ตอนนี้ยังไม่ตัดสินใจว่าจะตั้งที่ประเทศไหน แต่อาจอยู่ในหลายประเทศได้ เช่น ผลิตที่ประเทศหนึ่ง และประกอบแพ็กเกจในอีกประเทศ ส่วนประเทศที่เล็งไว้คือเยอรมนี เนเธอร์แลนด์ ฝรั่งเศส เบลเยียม
เบื้องต้น อินเทลมีแผนตั้งโรงงาน 2 โรงบนพื้นที่เดียวกันก่อน (มูลค่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์) และอาจลงทุนเพิ่มขยายเป็น 8 โรงในระยะยาว
Nikkei Asia อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนระบุว่า Intel และ Apple กำลังทดสอบผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี 3 นาโนเมตรของ TSMC คาดเริ่มผลิตสำหรับการค้าได้ภายในครึ่งหลังของปี 2022 โดย TSMC ระบุว่าเทคโนโลยยี 3 นาโนเมตร นี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลได้ 10% และลดการใช้พลังงานลง 25-30%
แหล่งข่าวระบุว่าว่าชิปที่ผลิตด้วยเทคโนโลยี 3 นาโนเมตร จะถูกใช้กับ iPad ก่อน เนื่องจากกำลังผลิตยังไม่เพียงพอสำหรับอุปกรณ์อื่นๆ ของ Apple
Micron ประกาศขายโรงงานผลิตหน่วยความจำแบบ 3D XPoint ที่ร่วมพัฒนากับอินเทลเป็น Optane (ประกาศเลิกทำเมื่อต้นปี) ให้กับ Texas Instrument แล้ว ถือเป็นการปิดฉากการลงทุนในหน่วยความจำ non-volatile memory ที่ล้มเหลวของ Micron
ฝั่งของอินเทลยังไม่มีท่าทีชัดเจนว่าจะเอายังไงกับ Optane ต่อไป แต่เมื่อหน่วยความจำที่ใช้ใน Optane ต้องผลิตจากโรงงานของ Micron ก็ไม่น่าจะไปต่อได้ง่ายนัก
โรงงานผลิตหน่วยความจำแห่งนี้อยู่ที่เมือง Lehi ในรัฐ Utah ของสหรัฐ มูลค่าการขายกิจการรวมทั้งหมด 1.5 พันล้านดอลลาร์ แบ่งเป็นเงินสด 900 ล้านดอลลาร์ และการตีมูลค่าจากเครื่องมือและทรัพย์สินต่างๆ อีก 600 ล้านดอลลาร์
GlobalFoundries บริษัทผลิตชิปที่แยกตัวจาก AMD ในปี 2009 เตรียมเปิดโรงงานผลิตชิปแห่งใหม่ในประเทศสิงคโปร์ ที่มีความสามารถผลิตชิปเวเฟอร์ 300 มิลลิเมตรได้ 450,000 แผ่นต่อปี เป็นโรงงานเฟสแรกจากโครงการขยายภาคการผลิตสามเฟส มูลค่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ได้รับการอุดหนุนจากคู่ค้าและรัฐบาลสิงคโปร์
โรงงานนี้จะเน้นการผลิตชิปที่มีกระบวนการผลิตค่อนข้างใหญ่ เช่นกระบวนการ BiCMOS ขนาด 55nm สำหรับชิปสัญญาณวิทยุ (RF) และกระบวนการผลิต 40nm สำหรับชิปหน่วยความจำและสัญญาณวิทยุรูปแบบอื่น รวมถึงมีบางส่วนเล็กๆ สำหรับกระบวนการผลิตขนาด 90nm อีกด้วย เครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานจะสามารถปรับเปลี่ยนตามอุปสงค์และย้ายไปมาระหว่างไลน์การผลิตได้
SK hynix ผู้ผลิตแรมรายใหญ่ออกมายอมรับว่าสายการผลิตแรมมีปัญหาบางสาย โดยยังไม่สามารถระบุปริมาณแรมที่มีปัญหาได้
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมามีข่าวลือว่ามูลค่ารวมของแรมที่มีปัญหามีปริมาณถึง 240,000 เวเฟอร์ คิดเป็นสัดส่วนถึง 13% ของกำลังผลิต 1.8 ล้านเวเฟอร์ต่อเดือนของ SK hynix มูลค่ารวมถึงหกหมื่นล้านบาท แม้ว่าทางบริษัทจะไม่สามารถระบุมูลค่าความเสียหายได้แต่ระบุว่าตัวเลขนี้เกินความเป็นจริงไปมาก และได้แจ้งความต่อตำรวจเพื่อหาต้นตอข่าวลือนี้
SK hynix มีรายได้เกือบทั้งหมดจากการผลิตแรมและหน่วยความจำแฟลช คิดเป็นกำลังผลิต 80% ของโรงงาน รายได้ไตรมาสแรกของปี 2021 สูงถึง 8.5 ล้านล้านวอน หรือประมาณ 240,000 ล้านบาท
เดือนที่ผ่านมา Blognone มีโอกาสได้สัมภาษณ์ Santhosh Viswanathan รองประธานและผู้จัดการทั่วไปของอินเทลเอเชียแปซิฟิก ถึงประเด็นการกระจายชิปในภูมิภาคนี้ โดยยืนยันว่ากระบวนการกระจายชิปยังเท่าเทียมกันทั่วโลก ไม่ได้ดึงชิปไว้กับภูมิภาคใดเป็นพิเศษ
การเปิดตัวซีพียูยุคใหม่ในช่วงหลังๆ มักเห็นพันธมิตรเช่นผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ อย่าง AWS, Azure, หรือ Google Cloud ได้รับชิปก่อนอยู่เสมอๆ และผู้ให้บริการเหล่านี้ก็มักจะนำชิปไปใช้งานในศูนย์ข้อมูลหลัก เช่น สหรัฐฯ หรือยุโรปก่อน
C.C. Wei ซีอีโอของ TSMC ให้ข้อมูลว่าเริ่มก่อสร้างโรงงานผลิตชิปขนาด 5 นาโนเมตรในรัฐแอริโซนาแล้ว โรงงานจะเสร็จและพร้อมเดินเครื่องผลิตชิปในปี 2024
TSMC ประกาศตั้งโรงงานที่แอริโซนาตั้งแต่กลางปี 2020 สอดคล้องกับทิศทางของบริษัทเซมิคอนดักเตอร์อื่นๆ ที่ขยายการตั้งโรงงานในสหรัฐอเมริกา เช่น ซัมซุง และอินเทล และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลสหรัฐที่ต้องการนำโรงงานผลิตชิปกลับมาอยู่บนแผ่นดินอเมริกา
Wei ยังบอกว่าการผลิตชิป 3 นาโนเมตรที่โรงงาน Fab 18 ในไต้หวันยังเดินหน้าตามกำหนดเดิม คือช่วงครึ่งหลังของปี 2022
จากปัญหาชิปขาดแคลนยืดเยื้อยาวนาน บริษัทวิจัยตลาด NPD ประเมินตัวเลขว่าราคาของทีวีจอใหญ่ๆ เริ่มปรับตัวสูงขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบกับราคาช่วงกลางปีที่แล้ว และคาดว่าสินค้าอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ จะปรับตัวขึ้นตามในไม่ช้า
ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายรายก็เคยเตือนปัญหาราคาพุ่งมาก่อนแล้ว เช่น ASUS หรือ Synaptics ที่ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับใช้ในสินค้า ระบุว่าชิ้นส่วนขาดแคลนตั้งแต่ต้นน้ำอาจทำให้สินค้าราคาแพงขึ้น ส่วนเว็บไซต์ขายชิ้นส่วน Monoprice ก็ยอมรับว่าเจอปัญหาสต๊อกขาดแคลนแล้ว บริษัทยืนยันว่าไม่ขึ้นราคา แต่ก็อาจต้องเลิกโปรโมชั่นหรือส่วนลดแทน
ซัมซุงประกาศลงทุนสร้างโรงงานผลิตชิปเพิ่มเพื่อแก้ปัญหาเซมิคอนดักเตอร์ขาดแคลน เดิมทีซัมซุงเคยประกาศในปี 2019 ว่าจะลงทุน 133 ล้านล้านวอน (ประมาณ 3.7 ล้านล้านบาท) ในระยะเวลาอีก 10 ปีข้างหน้า (นับถึงปี 2030) แต่ล่าสุดปรับตัวเลขใหม่เป็น 171 ล้านล้านวอน (ประมาณ 4.7 ล้านล้านบาท) เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้น
ซัมซุงยังประกาศเริ่มสร้างไลน์การผลิตใหม่ที่เมือง Pyeongtaek ในเกาหลี เพื่อผลิตแรม DRAM ขนาด 14nm และชิปขนาด 5nm ซึ่งใช้เทคโนโลยีใหม่ EUV ทั้งคู่ โรงงานใหม่จะเสร็จในครึ่งหลังของปี 2022
Nikkei Asia มีบทความประเมินสถานการณ์ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ของซัมซุง ที่ตามหลังคู่แข่ง TSMC และช่องว่างเริ่มถ่างออกเรื่อยๆ
ปัญหาของธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ของซัมซุงเกิดจากหลายสาเหตุประกอบกัน เช่น ภัยธรรมชาติ (โรงงานในเท็กซัสต้องปิดเพราะปัญหาไฟดับเป็นวงกว้าง), การเปิดโรงงานใหม่ในเกาหลีใต้ล่าช้า ทำให้ซัมซุงตามหลัง TSMC ในเรื่องการผลิต 5nm ไปหลายเดือน
จากปัญหาชิปเซมิคอนดักเตอร์ขาดตลาด ส่งผลการผลิตรถยนต์นั้น Bloomberg รายงานว่า ผู้ผลิตบางราย ถึงขั้นต้องยอมตัดฟีเจอร์ด้านเทคโนโลยีออกบางรายการในการผลิต เพื่อให้สามารถผลิตออกมาได้ทันความต้องการ
Nissan ตัดระบบนำทางออกจากสินค้าหลายรายการ Ram แบรนด์รถกระบะ ตัดการมองกระจกหลังอัจฉริยะ กระทบรถ 1,500 คัน ด้าน Renault ก็ตัดหน้าจอแสดงผลขนาดใหญ่หลังพวงมาลัยใน Arkana SUV ออก แม้เทรนด์โลกจะมุ่งไปทางรถ EV ที่มาพร้อมฟังก์ชั่นอัจฉริยะต่างๆ แต่ปัญหาชิปก็ทำให้ไม่สามารถผลิตได้ตามที่คาดหวังไว้
IBM ประกาศความสำเร็จในการผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี nanosheet ระดับ 2 นาโนเมตร นับเป็นเทคโนโลยีที่ดีทีสุดในอุตสาหกรรมตอนนี้ โดยหากใช้งานจริงได้ชิปจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น 45% แต่กินพลังงานลดลง 75% เทียบกับเทคโนโลยีการผลิต 7 นาโนเมตรที่ใช้งานเชิงการค้ากันทุกวันนี้
เทคโนโลยีการผลิต nanosheet เป็นเทคโนโลยีที่ไอบีเอ็มร่วมพัฒนากับผู้ผลิตชิปรายใหญ่ เช่น GLOBALFOUNDRIES และซัมซุง รวมถึงผู้ผลิตเครื่องจักรผลิตชิป โดยความก้าวหน้าครั้งล่าสุดคือการผลิตชิปที่เทคโนโลยี 5 นาโนเมตรเมื่อปี 2017
YouTube รายงานถึงการออกแบบชิปบีบอัดวิดีโอด้วยตัวเอง หลังจากกูเกิลพยายามผลักดันการบีบอัดวิดีโอแบบ VP9 มาเป็นเวลานานแต่พบว่าหากใช้ซีพียูบีบอัดแล้ว VP9 ใช้ซีพียูเปลืองกว่า H.264 ถึง 5 เท่าตัว แม้ว่า VP9 ภาพจะดีกว่าและประหยัดแบนวิดท์กว่า H.264 ก็ตาม
ชิปที่ทีม YouTube ออกแบบเป็น system-on-chip เรียกว่า VCU (video coding unit) มีซีพียูในตัวพร้อมหน่วยบีบอัดวิดีโอ 10 ชุดต่อชิป แต่ละหน่วยสามารถบีบอัดวิดีโอที่ความละเอียด 2160p 60fps ได้ตามเวลาจริง ต้องส่งข้อมูลเข้าออกไปยังแรมที่แบนวิดท์ 27-37 GB/s
บริษัทผลิตอุปกรณ์ไอทีต่างลดกำลังการผลิต ซึ่งเป็นผลกระทบจากปรากฏการณ์ชิปเซมิคอนดักเตอร์ขาดตลาด กระทบทั้งสายการผลิตตั้งแต่รถยนต์ ไปจนถึงเครื่องปิ้งขนมปัง ล่าสุด Chuck Robbin ซีอีโอ Cisco บอกว่า วิกฤตินี้จะอยู่กับเราไปอีก 6 เดือน แต่หลังจากนั้นจะดีขึ้นในช่วง 12-18 เดือน เพราะบริษัทเทคโนโลยีต่างเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตและพัฒนา
Financial Times รายงานว่าปัญหาชิปขาดตลาดที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมไอทีและรถยนต์ กำลังลุกลามไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างทีวี เครื่องซักผ้าและเครื่องปิ้งขนมปัง เพราะเจอปัญหาไมโครคอนโทรลเลอร์ขาดตลาด
การที่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในภาพรวมมีปัญหาเรื่องซัพพลาย ส่งผลให้ชิปที่ราคาถูกๆ มีกำไรต่ำอย่างไมโครคอนโทรลเลอร์ ถูกจัดอันดับการผลิตไว้ท้ายๆ เพราะต้องเอาโรงงานไปผลิตชิปราคาแพงก่อน บวกกับการแบนบริษัทจีนของสหรัฐอเมริกา ยิ่งทำให้บริษัทจีนเร่งกว้านซื้อชิปล่วงหน้า ซัพพลายยิ่งน้อยลงไปอีก
อินเทลยืนยันข่าวว่าซีอีโอ Pat Gelsinger จะเดินสายไปยุโรปในสัปดาห์หน้า เพื่อเจรจาสร้างโรงงานผลิตชิปในยุโรป ตามแผน IDM 2.0 ที่เพิ่งประกาศไว้เมื่อเดือนมีนาคม แต่ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่า Gelsinger จะไปประเทศใดบ้าง
ช่วงหลัง ยุโรปเองก็พยายามผลักดันให้เกิดอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในภูมิภาค โดยมีเป้าหมายว่า 20% ของชิปที่ใช้งานในยุโรป ควรผลิตจากในยุโรปเอง (ปัจจุบันยุโรปมีสัดส่วนผลิตชิปประมาณ 10% ของโลก) ซึ่งอินเทลถือเป็นผู้ผลิตชิปรายสำคัญๆ ของโลกรายแรกที่ประกาศว่าจะไปตั้งโรงงานในยุโรปเพิ่มด้วย
TSMC เตรียมสู้ภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 50 ปีในไต้หวัน หลังรัฐสั่งลดการใช้น้ำเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ด้วยการสร้างโรงบำบัดน้ำเสียที่เมืองไถหนาน เมืองที่มีโรงงานผลิตชิปสถาปัตยกรรม 5nm สำหรับ iPhone และ Macbook ของบริษัท เพื่อนำน้ำเสียจากกระบวนการอุตสาหกรรมกลับมาใช้ซ้ำในกระบวนการผลิต
TSMC ระบุว่าโรงงานนี้จะแล้วเสร็จภายในปี 2021 และจะบำบัดน้ำกลับมาใช้ได้ถึง 67,000 ตัน ภายในปี 2024 หรือเกือบครึ่งของความต้องการใช้น้ำต่อวันในกระบวนการผลิตชิปของ TSMC ที่อยู่ที่ราวๆ 156,000 ตันเลยทีเดียว