WordPress.com บริการโฮสต์เว็บไซต์ที่สร้างด้วย WordPress ของบริษัท Automattic ประกาศหยุดรองรับฟีเจอร์แชร์โพสต์ลง Twitter โดยอัตโนมัติ (Twitter Auto-Sharing) หลังโดนบริษัท Twitter ปิดการเข้าถึง API รุ่นเก่า ตามนโยบาย API เวอร์ชันใหม่ที่คิดเงินแพงกว่าเดิม
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลทั้งเว็บที่ฝากโฮสต์ไว้บน WordPress.com และเว็บโฮสต์เองที่ติดตั้งปลั๊กอิน Jetpack Social ของ Automattic ด้วย เริ่มมีผลวันนี้ 1 พฤษภาคม
เราเพิ่งเห็นข่าว Microsoft Advertising หยุดรองรับการโพสต์ลง Twitter ด้วยเหตุผลว่า API ใหม่ของ Twitter มีราคาแพงมาก
นอกจาก Microsoft Advertising แล้ว ผลิตภัณฑ์ตัวอื่นของไมโครซอฟท์ก็หยุดรองรับการโพสต์ลง Twitter เช่นกัน ได้แก่ ฟีเจอร์โพสต์คลิปลงโซเชียลจากคอนโซล Xbox และ Game Bar ของวินโดวส์
บัญชี @xbox ไปตอบความเห็นของผู้ใช้รายหนึ่งที่ค้นพบว่าฟีเจอร์นี้หายไป ว่าจำเป็นต้องปิดการใช้งาน (we have had to) อย่างไรก็ตาม การแชร์คลิปเล่นเกมลง Twitter ยังสามารถทำได้อยู่ผ่านแอพ Xbox บนมือถือ Android/iOS ซึ่งคาดว่าเป็นการโพสต์ผ่านแอพ Twitter อีกที ไม่ใช่การเรียกผ่าน API
Microsoft Advertising แพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ของไมโครซอฟท์ ประกาศหยุดรองรับบริการจัดการโพสต์บน Twitter โดยจะมีผลในวันที่ 25 เมษายน 2023 โดยยังสามารถใช้เชื่อมต่อโซเชียลตัวอื่นๆ อย่าง Facebook, Instagram, LinkedIn ได้ตามปกติ
ไมโครซอฟท์ไม่ได้อธิบายเหตุผลของการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่คาดว่าสาเหตุมาจากแพ็กเกจราคา Twitter API แบบใหม่ ที่แพงขึ้นจากเดิมมาก ราคาแบบ enterprise เริ่มต้นที่ 42,000 ดอลลาร์ต่อเดือน และส่งผลให้บริการโซเชียลลักษณะเดียวกันหลายๆ ตัวเลือกหยุดรองรับ Twitter เช่นกัน
Twitter ประกาศว่าจะแปะป้ายเตือนและจำกัดการมองเห็นข้อความทวีตที่ผิดกฎการใช้งาน เช่น มีเนื้อหาแสดงความเกลียดชัง แทนแนวทางเดิมที่เลือกแบนบัญชี
Elon Musk เคยประกาศไว้ชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยกับการแบน Donald Trump และคืนบัญชีกลับมาให้ Trump
ในประกาศของ Twitter ระบุว่าแนวทางนี้จะรักษา Freedom of Speech, not Freedom of Reach นั่นคือตัวข้อความไม่ถูกลบหรือแบน แต่การมองเห็นจะลดน้อยลงแทน (visibility filtering) และรอบนี้จะเพิ่มป้ายเตือนว่าข้อความนี้ทำผิดกฎ จึงถูกจำกัดการมองเห็น เพื่อให้เกิดความโปร่งใสของแพลตฟอร์มมากขึ้น
หลังจากที่เปิดตัวมาเป็นเวลา 1 ปีกว่า แม้จะไม่ได้มีประกาศอะไร แต่วันนี้ที่หน้า About Twitter Blue ได้มีการเพิ่มประเทศอื่น ๆ ที่รองรับ Twitter Blue มากขึ้นแล้วโดนหนึ่งในนั้นมีประเทศไทยอยู่ด้วย
โดยฟีเจอร์ที่จะได้รับหลังจากสมัครสมาชิกจะได้ แก้ไขทวีต, เลิกทำทวีต, การอัปโหลดวิดีโอที่ยาวขึ้น, โพสทวีตได้ยาวมากขึ้น, SMS 2FA และอื่น ๆ อีกมากมายโดยสามารถอ่านได้ที่ลิงก์ท้ายข่าว
Tom Alison หัวหน้าฝ่าย Facebook ของ Meta ประกาศทิศทางใหม่ของ Facebook ที่จะเกิดขึ้นจากนี้ โดยมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ นำคุณสมบัติการส่งข้อความ Messenger กลับเข้ามาในแอป Facebook หลักอีกครั้ง หลังจาก Facebook แยกคุณสมบัตินี้ออกไป ผู้ใช้งานต้องโหลดแอปแยกมาตั้งแต่ปี 2014
Alex Kantrowitz ผู้ก่อตั้งสื่ออิสระ Big Technology ซึ่งเน้นรายงานข่าวเชิงลึกเกี่ยวบริษัท Tech ในอเมริกา ให้ความเห็นหลังจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย เริ่มออกบริการ Subscription เก็บค่าใช้จ่ายรายเดือนจากผู้ใช้งานกันมากขึ้น ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า หรือรูปแบบธุรกิจของโซเชียลมีเดียจะเปลี่ยนมาเป็นการใช้งานที่ต้องจ่ายเงิน
Instagram ประกาศฟีเจอร์ใหม่ชื่อว่า Broadcast Channels เพื่อให้ครีเอเตอร์สามารถส่งข้อความแบบบรอดแคสต์หรือแบบ one-to-many ไปยังผู้ติดตามที่มีจำนวนมากได้พร้อมกัน
โดยในการเปิดตัวนี้ Mark Zuckerberg ซีอีโอ Meta ได้สร้างแชนเนล Meta ขึ้นมา (ต้องเปิดด้วยแอปมือถือ) เพื่อทดสอบการส่งข้อความไปยังผู้ติดตาม ซึ่งรองรับทั้งข้อความ ภาพ เสียง และวิดีโอ ผู้ติดตามจะไม่สามารถแชตตอบข้อความได้ แต่สามารถกดรีแอคชันได้ ทั้งนี้ Instagram บอกว่าจะทยอยเพิ่มคุณสมบัติใหม่ในอนาคต เช่น สร้างห้องย่อยเพื่อระดมไอเดีย หรือทำ AMA (Ask Me Anything) รวมทั้งจะทดสอบบริการนี้ใน Facebook ต่อไปด้วย
We Are Social ดิจิทัลเอเจนซี่ ออกรายงานเพิ่มเติมต่อจาก Digital 2023 โดยรายงานนี้โฟกัสเฉพาะข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย Digital 2023: Thailand ซึ่งสะท้อนภาพรวมและรูปแบบพฤติกรรมการใช้งานในประเทศ
รายงานฉบับเต็มมี 125 หน้า ซึ่ง We Are Social เองก็ได้ทำสรุปประเด็นสำคัญที่น่าสนใจไว้ดังนี้
ประชากรอินเทอร์เน็ตของไทยมี 61.21 ล้านคน คิดเป็น 85.3% ของประชากรทั้งประเทศ (71.75 ล้านคน) เป็นข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2023 เพิ่มขึ้น 0.2% จากตัวเลขในปี 2022
We Are Social ดิจิทัลเอเจนซี่ เผยแพร่รายงานประจำปี Digital 2023 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก โซเชียลมีเดีย สื่อโฆษณาออนไลน์ ตลอดจนประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งจากการรวบรวมของ We Are Social เอง และผ่านพาร์ตเนอร์ต่าง ๆ
รายงานฉบับเต็มมี 465 หน้า และเป็นการนำเสนอภาพรวมทั่วโลก ซึ่ง We Are Social ได้สรุปประเด็นที่น่าสนใจมาบางส่วนดังนี้
แอปพลิเคชัน Bondee กำลังได้รับความนิยมบนอินเทอร์เน็ตจนขึ้นอันดับ 1 ในหมวดแอปฟรีในไทย ทั้ง iOS และ Android หลังเพิ่งปล่อยให้ดาวน์โหลดบน App Store และ Play Store ของประเทศในเอเชียวันที่ 24 มกราคมที่ผ่านมา
Bondee เป็นแอปโซเชียลมีเดียจากบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ Metadream ที่ผู้ใช้สามารถสร้างตัวอวตารในโลกเสมือนจริงที่ให้ผู้ใช้ได้ออกแบบและแต่งตัวอวตารตามหน้าตา เสื้อผ้า เครื่องประดับที่มีหลากหลายแบบ
หน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคของอินเดีย ประกาศแนวทางเพื่อกำกับดูแลอินฟลูเอนเซอร์ในโซเชียลมีเดีย ให้ต้องเปิดเผยข้อมูล หากคอนเทนต์ที่นำเสนอได้รับการสนับสนุนจากลูกค้าหรือเอเจนซี หากไม่สามารถปฏิบัติตามและตรวจสอบพบ จะมีโทษปรับสูงสุด 1 ล้านรูปีอินเดีย หรือประมาณ 4 แสนบาท และมีค่าปรับที่มากขึ้นหากกระทำความผิดซ้ำ
ข้อบังคับดังกล่าวมีผลทั้งกับบุคคลมีชื่อเสียง อินฟลูเอนเซอร์ ตลอดจนคาแรกเตอร์เสมือน (Virtual) โดยการเปิดเผยข้อมูลว่าได้รับการสนับสนุน ต้องแสดงให้เห็นชัดเจน ไม่ใช่แค่ในแฮชแท็กหรือคำบรรยาย (Description) โดยยกตัวอย่างเช่นการไลฟ์ จะต้องแสดงข้อความบนวิดีโอเป็นระยะ
Tumblr ประกาศขายเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าเพื่อแสดงตัวว่าเป็น "คนสำคัญ" (Important Blue Internet Checkmarks) โดยระบุว่าใช้ทำอะไรอย่างอื่นไม่ได้เลย นอกจากการแปะหลังชื่อตัวเองในระบบ Tumblr ให้ดูว่าสำคัญ ในราคา 7.99 ดอลลาร์ (แถมบอกด้วยว่าราคาถูกกว่า "ที่อื่น" นะ)
ถ้าแปะป้ายในโลกออนไลน์แล้วยังไม่พอใจ อยากเป็นคนสำคัญในโลกจริงๆ ด้วย Tumblr ยังขายสติ๊กเกอร์ติ๊กถูกในราคา 3 ดอลลาร์ และเข็มกลัดติ๊กถูกในราคา 6 ดอลลาร์ด้วย
สำนักข่าว BBC สัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างผู้เลิกใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คถึงประสบการณ์ช่วงที่ติดและเหตุผลที่เลิก
Urvashi Agarwal ผู้ก่อตั้งแบรนด์ชา JP's Originals เผยว่าการเล่นโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องเสียเวลาและไม่มีความเป็นส่วนตัวทำให้เลิกใช้ Twitter และ Facebok ซึ่งทำให้มีเวลาในการอ่านหนังสือก่อนนอน
Kashmir เจ้าหน้าที่ PR ที่ทำงานในเมืองโรเชสเตอร์ เผยว่าได้เลิกเล่น Instagram มาเป็นระยะเวลา 10 เดือนแล้วหลังจากที่ก่อนหน้านี้ก็ได้เลิกเล่น Snapchat ไปเพราะการเล่นโซเชียลมีเดียทำให้เห็นชีวิตของคนอื่น ๆ จนนำมาเปรียบเทียบและกดดันตัวเอง Kashmir เผยว่าตนเองยังคงใช้ LinkedIn อยู่เพื่อหางาน
โซเชียลเน็ตเวิร์ค Tumblr ปรับนโยบายกลับมาอนุญาตให้โพสต์ภาพเปลือยอีกครั้ง หลังยกเลิกไปเมื่อปี 2018
แนวทางใหม่ของ Tumblr คือสนับสนุนการเผยแพร่งานศิลปะ แต่การตัดสินว่างานประเภทใด "เหมาะสม" เป็นเรื่องยาก จึงพัฒนาฟีเจอร์ชื่อ Community Labels ให้ผู้โพสต์และชุมชนผู้ใช้งานสามารถแปะป้ายแยกประเภทของเนื้อหาได้ (เช่น โป๊เปลือย รุนแรง เล่าประสบการณ์ติดเหล้าหรือยาเสพติด) ฝั่งของผู้ใช้เองสามารถตั้งค่าแสดงผลเนื้อหาตามความต้องการได้หลายระดับ เช่น ไม่แสดงเลย หรือเบลอภาพเอาไว้
แนวทางของ Elon Musk ในฐานะเจ้าของใหม่ของ Twitter ประกาศเอาไว้ว่าอยากให้เป็นพื้นที่ถกเถียงทางความคิดที่แตกต่างกัน และจะตั้งกรรมการกำกับดูแลเนื้อหา เพื่อตัดสินว่าควรแบนหรือไม่แบนใคร ในทางตรงข้าม เขาไล่ซีอีโอ และหัวหน้าฝ่ายกำกับดูแลเนื้อหาที่ตัดสินใจแบน Donald Trump ออก
ท่าทีของ Musk ทำให้คนจำนวนมากจับตาดูว่าแนวทางกำกับดูแลเนื้อหาของ Twitter จะเป็นอย่างไรต่อไป ในโลกยุคที่เต็มไปด้วยปัญหา fake news มากมาย
และ Musk ก็ไม่ทำให้ทุกคนรอนาน ด้วยการโพสต์ลิงก์จากเว็บรวมข่าวปลอมด้วยตัวเอง ก่อนลบออกไปในภายหลัง
Elon Musk ประกาศแนวทางด้านเนื้อหาของ Twitter ว่าจะตั้ง "คณะกรรมการกำกับดูแลเนื้อหา" (content moderation council) ที่มีมุมมองหลากหลาย (diverse viewpoints) มาตัดสินใจเรื่องการแบน-ไม่แบนบัญชีหรือเนื้อหาต่างๆ
แนวทางนี้เหมือนกับ Facebook ที่มี Oversight Board เป็นคณะกรรมการ 20 คน แต่งตั้งบุคคลภายนอก ทำหน้าที่ตัดสินใจเรื่องการแบนเนื้อหาประเภทต่างๆ ที่ขัดแย้ง เช่น โพสต์เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม หรือ COVID-19
ผลงานสำคัญของ Oversight Board คือตัดสินใจแบนบัญชีของ Donald Trump เป็นเวลานาน 2 ปี
Elon Musk โพสต์อธิบายเหตุผลที่เขาซื้อ Twitter อย่างละเอียด ว่าเหตุผลหลักคือเขาต้องการสร้าง "ลานคนเมืองดิจิทัล" (a common digital town square) เพื่อให้คนที่มีความคิดแตกต่างกันได้มาถกเถียงกันในพื้นที่ตรงกลาง ลดความจำเป็นในการใช้ความรุนแรงเมื่อมีความเห็นไม่ตรงกัน
Musk บอกว่าสิ่งนี้จำเป็นต่ออารยธรรมของมนุษย์ (it is important to the future of civilization) และทิศทางของโซเชียลมีเดียในปัจจุบัน เริ่มแยกสาขาเป็นบริการสำหรับแนวคิดฝ่ายซ้ายสุดและขวาสุด เกิดภาวะ echo chamber ที่คุยกันเองเฉพาะกลุ่ม ยิ่งสร้างความเกลียดชังและความแตกแยกในสังคมเข้าไปอีก
LinkedIn ประกาศเพิ่มคุณสมบัติการใช้งานใหม่ เพื่อป้องกันปัญหาบัญชีปลอม ที่พยายามติดต่อกับคนในชุมชนผู้ใช้งาน ซึ่งเป็นปัญหาที่ LinkedIn ได้รับการร้องเรียนเพิ่มขึ้นช่วงที่ผ่านมา
คุณสมบัติแรกคือ About this profile โดยในหน้าโปรไฟล์แต่ละคน จะแสดงข้อมูลพื้นฐานเพิ่มเติม ว่าบัญชีนี้สร้างขึ้นเมื่อใด และมีการอัพเดตข้อมูลล่าสุดเมื่อใด รวมทั้งมีการยืนยันด้วยเบอร์โทรศัพท์ และ/หรือ อีเมลที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจตอบรับคำเชิญในการสนทนา เฉพาะส่วนอีเมล LinkedIn ช่วงแรกจะจำกัดเฉพาะบางหน่วยงาน แล้วจะทยอยเพิ่มอีเมลองค์กรที่รองรับต่อไป
ไม่ได้มีแต่ Twitter ที่มีปัญหาบัญชีปลอมระบาด เพราะโซเชียลมีเดียอย่าง LinkedIn ก็มีปัญหาบัญชีปลอมเพื่อหลอก scam ด้วยเช่นกัน
ล่าสุด LinkedIn เพิ่มมาตรการตรวจสอบตัวตนของผู้ใช้เพิ่ม โดยต้องยืนยันอีเมลทำงาน (work email) หรือหมายเลขโทรศัพท์ ซึ่งจะถูกนำไปแสดงในหน้า About this Profile ว่ายืนยันตัวตนเรียบร้อยแล้วจริงๆ และยังเพิ่มการระบุวันที่สร้างบัญชี เพื่อให้ตรวจเช็คได้ง่ายขึ้นว่าเป็นบัญชีสร้างใหม่หรือไม่
ฟีเจอร์ตรวจสอบตัวตนยังทยอยปล่อยให้ผู้ใช้ในวงจำกัด และจะค่อยๆ ขยายในวงกว้างขึ้นต่อไป
YouTube เปิดตัว handles เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใส่ @ ตามด้วยชื่อบัญชีที่ตั้งขึ้นมา สำหรับใช้เมนชันหรือระบุถึงช่องในวิดีโอ โดยมีผลกับทุกวิดีโอในแพลตฟอร์ม ซึ่งเรื่องนี้อาจไม่ใหม่สำหรับคนที่ใช้แพลตฟอร์มวิดีโอแนวตั้งค่ายอื่น แต่ถือว่าใหม่สำหรับ YouTube
การเมนชัน @ รองรับทั้งคอมเมนต์, คำบรรยายวิดีโอ, ชื่อวิดีโอ, และในคลิป Shorts ซึ่งช่วยให้ช่องวิดีโอสามารถเข้าถึงคนได้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น
การเปลี่ยนแปลงนี้ YouTube จะทยอยให้กับช่องต่าง ๆ เนื่องจากเป็นค่า unique โดยช่องที่มี URL ปรับแต่งอยู่แล้ว จะได้ชื่อ @ นั้นเป็นค่าเริ่มต้น การทยอยได้ฟีเจอร์นี้ใช้หลายปัจจัยเช่นจำนวนผู้ติดตาม สถานะของช่อง และอื่น ๆ นอกจากนี้ URL จะเพิ่มเติมในรูปแบบ youtube.com/@handle อีกด้วย
งานเข้าต่อเนื่องสำหรับแร็ปเปอร์คนดัง Kanye West เริ่มจากบัญชี Instagram ของเขาโดนจำกัด (restricted) หลังเขาโพสต์วิจารณ์เพื่อนแร็ปเปอร์ Diddy (Sean Combs) ว่าถูกควบคุมโดย "ชาวยิว"
เรื่องเกิดจาก Diddy แชทคุยส่วนตัวกับ Kanye แสดงความไม่เห็นด้วยกับเสื้อยืด "White Lives Matter" ที่ Kanye ใส่ออกงานแฟชั่นโชว์ ว่าขัดแย้งกับแนวทาง Black Lives Matter ที่เขาสนับสนุน จึงเรียกร้องให้แฟนๆ ไม่ซื้อ ไม่ใส่ ไม่สนใจเสื้อลายนี้ของ Kanye
หลังจากที่ Elon Musk แจ้งกลต. สหรัฐฯ ยืนยันว่าจะซื้อ Twitter ก็ได้ทวิตว่าการซื้อ Twitter เป็นตัวเร่งให้สร้างแอปพลิเคชันที่ Musk เรียกว่า “X, the everything app” ก่อนหน้านี้ยังเคยพูดว่าจะทำให้ Twitter ใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
เป็นไปได้ว่าหาก Musk สร้างแอปพลิเคชัน X ขึ้นมาจริง ๆ ก็อาจจะเป็นซุปเปอร์แอปเหมือน WeChat ที่ใช้งานได้ตั้งแต่การเป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเพื่อการสื่อสารไปจนถึงการเรียกรถ การจองสถานที่ และการชำระเงิน
ก่อนหน้านี้ เมื่อ Musk ถูกถามว่าอยากสร้างโซเชียลมีเดียเป็นของตนเองหรือไม่ เขาก็ตอบแค่ว่า X.com
บริษัทวิจัย Pew Research Center เผยรายงาน 2 ฉบับเรื่องช่องทางการติดตามข่าวสารและการใช้โซเชียลมีเดียในการติดตามข่าว โดยสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างวัยผู้ใหญ่ 12,147 รายในสหรัฐฯ ระหว่างวันที่ 18 มิถุนายนถึง 21 สิงหาคม โดยวัดระดับความบ่อยของการใช้ 4 ระดับ ได้แก่ บ่อย (Often) บางครั้ง (Sometimes) แทบจะไม่ (Rarely) และ ไม่เคย (Never) พบว่าการใช้บ่อยและใช้บางครั้งรวมกันยังอยู่ที่ 50% เพิ่มขึ้นจากปี 2021 เล็กน้อย แต่อัตราการใช้บ่อยกลับลดลงต่อเนื่อง
TikTok เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ชื่อ TikTok Now จำกัดการแชร์วันละ 1 ครั้ง โดยต้องถ่ายภาพ-วิดีโอภายในเวลาที่กำหนด เพื่อให้ได้ "ความเรียล" เป็นภาพที่สะท้อนชีวิตจริงแบบไม่ปรุงแต่ง
ถ้าฟีเจอร์นี้คุ้นๆ ก็ต้องบอกว่า ลอก ได้แรงบันดาลใจมาจากแอพ BeReal ที่กำลังมาแรงอยู่ในช่วงนี้ ซึ่งก่อนหน้านี้เพิ่งมีข่าวว่า Instagram กำลังพัฒนาฟีเจอร์แบบเดียวกัน
TikTok บอกว่าจะเริ่มทดสอบ TikTok Now กับผู้ใช้ในสหรัฐจากแอพหลักของ TikTok โดยตรง แต่ในภูมิภาคอื่นๆ อาจใช้วิธีออกแอพแยก TikTok Now ต่างหากแทน