Ariana Grande ศิลปินสาวและผู้ทรงอิทธิพลในโซเชียลมีเดียมากคนหนึ่งของโลก ประกาศจะใช้เวลากับ Instagram น้อยลงโดยบอกว่า ใน Instagram เป็นสิ่งแวดล้อมเป็นพิษ (toxic) ก่อนหน้านี้ก็มี Pete Davidson นักแสดงตลกชาวอเมริกันซึ่งมีฐานะเป็นคู่หมั้นของ Grande ประกาศเลิกใช้ Instagram ด้วย เขาบอกว่ามันทำให้เขารู้สึกไม่ดีเท่าไรนัก
Tik Tok แอปแชร์คลิปวิดีโอสั้น 15 วินาที หรือชื่อในประเทศจีนว่า Douyin เปิดเผยจำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (MAUs) เป็นครั้งแรก โดยบอกว่ามีจำนวนถึง 500 ล้านคนแล้ว ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมากสำหรับแอปที่เปิดตัวมาเพียง 2 ปี (เพิ่มเติม:
รู้จักกับ Tik Tok แอปวิดีโอจากจีน ว่าที่แอปยอดนิยมอันดับ 1 ของโลก ปี 2018
)
ตัวเลขผู้ใช้งาน 500 ล้านคนของ Tik Tok ถือว่าสูงมาก เมื่อเทียบกับเครือข่ายสังคมคู่แข่งในจีนอย่าง Weibo (411 ล้านคน) และ WeChat (1 พันล้านคน)
การขโมยตัวตนคนดังในโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะทำไปเพื่อจุดประสงค์หลอกเอาเงินหรืออะไรก็ตาม ถือเป็นเรื่องผิด แต่ก็ยังมีปรากฏการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นเรื่อยๆ และยากที่จะปราบหมด
Social Impostor ซึ่งเป็น บริษัทที่ปกป้องชื่อเสียงของผู้มีชื่อเสียงออนไลน์ได้ทำการสำรวจคนดังที่มีคนติดตามบนโซเชียลมากที่สุด 10 อันดับต้นๆ พบว่ามี 9,000 บัญชีทั่ว Facebook, Instagram และ Twitter ที่ขโมยตัวตนของ 10 คนดังดังกล่าว
นักฟุตบอลบราซิล Neymar มีบัญชีปลอมมากที่สุด 1,676 บัญชี รองลงมาเป็น Selena Gomez มี 1,389 บัญชี Beyoncé มี 714 บัญชี ส่วน Taylor Swift มี 223 บัญชี
Timehop แอปย้อนเวลาเพื่อดูโพสต์ในอดีตของโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เปิดเผยว่าเครือข่ายของระบบได้ถูกบุกรุก ทำให้ข้อมูลผู้ใช้งานบางส่วนหลุดรั่วออกไป กระทบกับผู้ใช้ทั้งหมด 21 ล้านคน ซึ่งจนถึงตอนนี้ Timehop ก็ยังตรวจสอบหาสาเหตุของปัญหาอยู่ แต่เพื่อให้ผู้ใช้งานและพาร์ทเนอร์ได้รับทราบสถานการณ์ล่าสุด Timehop ชี้แจงปัญหาล่าสุดว่าเป็นดังนี้
รัฐบาลยูกันดาผ่านกฎหมายเก็บภาษีโซเชียลมีเดีย โดยเป็นการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้งานรายวัน 5 เซนต์ สำหรับคนที่ใช้งาน Whatsapp, Facebook และ Twitter กฎหมายมีผล 1 กรกฎาคมนี้ อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายละเอียดชัดเจนว่าจะเก็บภาษีอย่างไร
ประธานาธิบดี Yoweri Museveni เป็นแกนนำสนับสนุนและสนับสนุนกฎหมายดังกล่าว เขาระบุว่าโซเชียลมีเดียกระตุ้นเกิดการซุบซิบนินทา
กฎหมายดังกล่าวถือว่าแปลกประหลาด ซึ่งมีการคาดกันว่าน่าจะเป็นเพราะเหตุผลทางการเมือง ถึงได้มีกฎหมายนี้ออกมา ก่อนหน้านี้ Musaveni ก็สั่งระงับการเข้าถึงแอพพลิเคชั่นและโซเชียลมีเดียช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศปี 2016
มีงานวิจัยใหม่จาก Pew Research Center ที่คอยสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตบ่อยๆ สำรวจวัยรุ่นอเมริกาว่าใช้โซเชียลมีเดียอะไร ผลปรากฏว่า จากที่ Facebook เคยครองโซเชียลอันดับหนึ่งที่วัยรุ่นเข้าใช้ ตอนนี้ไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว เพราะโดน YouTube แซง
ในการสำรวจปี 2014 - 2015 วัยรุ่น 71% ใช้ Facebook บ่อย รองลงมา 52% ใช้ Instagram และ 41% ใช้ Snapchat จนกระทั่งการสำรวจปี 2018 สามอันดับแรกไม่มี Facebook แต่เป็น YouTube (85%), Instagram (72%) และ Snapchat(ุ69%) ส่วน Facebook ลงไปอยู่อันดับที่สี่ โดยผู้ใช้วัยรุ่นที่ใช้บ่อยคิดเป็น 51% และ Twitter อยู่อันดับที่ห้า 32%
ตั้งแต่ Snapchat, Instagram, Facebook มีฟีเจอร์ Stories พฤติกรรมผู้ใช้โซเชียลมีเดียก็เปลี่ยนไป จากที่โพสต์สเตตัส อัพเดทความเคลื่อนไหวบน News Feed ก็ค่อยๆ เปลี่ยนมาโพสต์ลง Stories
ตัวเลขล่าสุดจาก Block Party บริษัทที่ปรึกษาธุรกิจ เผยว่า นับจากปี 2016 จนถึงตอนนีคนแชร์ผ่าน Stories เพิ่มขึ้น 842 % ตัวเลขผู้ใช้งาน Stories จากแพลตฟอร์มต่างๆ เผยว่า ใน WhatsApp มีผู้ใช้ต่อวัน 450 ล้านราย Instagram มี 300 ล้านราย Facebook Messenger มี 70 ล้านราย Snapchat มี 150 ล้านราย (ตัวเลขเดือนกันยายน)
Block Party คำนวณว่าการใช้ Stories โตขึ้น 15 เท่านับจากปี 2016 ซึ่งเป็นอัตราที่เร็วกว่าการแชร์ลง feed และนี่ยังไม่นับ Stories แสดงข่าวของ Google หรือ AMP Stories for news, Stories ของ Netflix และ Stories ของ YouTube
สหรัฐอเมริกาเสนอปรับเกณฑ์การขอวีซ่าเข้าประเทศใหม่ โดยผู้ยื่นขอวีซ่าจะต้องกรอกข้อมูลโซเชียลมีเดียของตัวเองด้วย
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลในแบบฟอร์มการขอวีซ่า (สำหรับคนทั่วไปคือ DS-160 ที่กรอกผ่านอินเทอร์เน็ต) จะมีคำถามเพิ่มเติมดังนี้
Sadiq Khan นายกเทศมนตรีลอนดอน ขึ้นพูดคีย์โน้ตในงานเทศกาล SXSW (South by Southwest) เขาระบุว่า ถ้าโซเชียลยังไม่สามารถแก้ปัญหาสังคมเป็นพิษ ไม่ว่าจะเป็นข่าวปลอม, การกลั่นแกล้งคุกคามออนไลน์, คำพูดเกลียดชัง, เนื้อหาล่วงละเมิดผู้อื่นได้ บริษัทโซเชียลอาจต้องเจอกับสถานการณ์ที่ถูกควบคุมโดยรัฐบาล (อย่างที่เคยเกิดขึ้นตอนโซเชียลถูกสอบสวนเรื่องข่าวปลอมรัสเซีย)
Khan บอกว่า Facebook, Twitter และ YouTube ยังแก้ปัญหาได้ไม่มากพอ เมื่อเทียบกับความสามารถต่างๆ ที่แต่ละบริษัทมี เขาชื่นชมแนวคิดของโซเชียลมีเดียที่สามารถเชื่อมต่อผู้คนเข้าหากัน ให้ผู้คนที่มีความชอบคล้ายกันได้มาเจอกัน แต่พวกเขาต้องไม่ลืมว่า โซเชียลมีเดียก็สามารถถูกนำมาใช้สร้างความแตกแยกได้เช่นกัน
Khan ระบุเพิ่มเติมว่าหากโซเชียลมีเดียยังไม่แก้ปัญหาอย่างจริงจังก็จะเจอกับการดำเนินการทางกฎหมาย โดย Khan ระบุถึงกฎหมายเยอรมนี [ปรับโซเชียลมีเดียที่ไม่ลบ Hate Speech สูงสุด 50 ล้านยูโร (https://www.blognone.com/node/93660) ซึ่งเขาหวังว่าสิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้น เนื่องจากเขาเชื่อว่ากฎหมายประเภทนี้กระทบสิทธิเสรีภาพในการพูด
EU ออกคำแนะนำเพิ่มเติมโดยเน้นเนื้อหาส่งเสริมก่อการร้ายโดยเฉพาะ ให้เว็บไซต์โซเชียลมีเดียลบเนื้อหาดังกล่าวออกภายใน 1 ชั่วโมงหลังจากเนื้อหานั้นได้รับการรายงาน นอกจากนี้ยังระบุให้บริษัทในประเทศสมาชิกติดตามผลด้านเนื้อหาก่อการร้ายและรายงานต่อคณะกรรมาธิการ EU ทุก 3 เดือน
ปีที่แล้ว Vimeo กระโดดเข้าสู่แพลตฟอร์มไลฟ์สตรีม โดยเปิดตัวฟีเจอร์ Vimeo Live ล่าสุดเพิ่มฟีเจอร์ขึ้นมาสองตัวที่ทำให้ Vimeo อาจกลายเป็นศูนย์กลางจัดการวิดีโอของผู้สร้างได้ โดยเปิดตัวฟีเจอร์ Simulcast ให้คนไลฟ์ สตรีมวิดีโอสดจาก Vimeo ไปยัง แพลตฟอร์มอื่น เช่น Facebook, YouTube, Twich โดยใช้โปรโตคอล RTMP (real-time messaging protocol) และอีกฟีเจอร์คือ Publish to Social อัพโหลดวิดีโอตัวเองไปยังโซเชียลอื่นภายในคลิกเดียว
ในระยะหลังมานี้เราได้ยินกระแสบริษัทเทคโนโลยีต้องรับผิดชอบต่อสังคมทั้งจากกรณีข่าวปลอม, ทำสังคมแตกแยก อยู่เนืองๆ ยังมีอีกความคิดด้วยว่าการทำให้ผู้คนเสพติดการใช้โซเชียลมีเดียและสมาร์ทโฟนนั้น บริษัทเทคโนโลยีก็ต้องรับผิดชอบด้วย ล่าสุดมีกลุ่มผู้ทำงานในบริษัทเทคโนโลยีรวมตัวกันเป็น Center for Humane Technology แสดงจุดยืนว่าภาคส่วนเทคโนโลยีโดยเฉพาะรายใหญ่ ควรแก้ปัญหาเสพติดสมาร์ทโฟน
สมาชิกหัวหอกของกลุ่มประกอบด้วย Tristan Harris ผู้ก่อตั้ง Time Well Spent องค์กรที่มีเป้าหมายให้ภาคเทคโนโลยีผลิตสินค้าโดยคำเคารพผู้ใช้งาน ไม่ใช่แค่จะทำยอดขายเพิ่มตัวเลขอย่างเดียว Harris ยังเป็นอดีตพนักงานของ Google นอกจากนี้ยังมี Roger McNamee นักลงทุนที่ได้ลงทุนใน Facebook, Aza Raskin ผู้เคยร่วมทำ Mozilla
กลุ่ม Center for Humane Technology เสนอให้ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนเช่น Apple, Samsung และ Microsoft ออกแบบหรือทำโซลูชั่นที่ป้องกันการเสพติด เช่น ลดการใช้เวลาบนหน้าจอ เปิดให้มีการแข่งขันทางแอพพลิเคชั่นบน App Store เพื่อสร้างประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน เป็นต้น
We Are Social ดิจิทัลเอเจนซี่ และ Hootsuite แพลตฟอร์มจัดการโซเชียลมีเดีย ออกรายงานสถานการณ์การใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วโลกในปี 2018 พบว่า มีคนใช้งานอินเทอร์เน็ต 4 พันล้านคนแล้ว และในประเทศที่อินเทอร์เน็ตเข้าถึงช้าอย่างแอฟริกาใต้ ก็มียอดผู้ใช้โต 20% ต่อปี
ในรายงานมีตัวเลขน่าสนใจดังนี้
ปลายปี 2017 Facebook เปิดตัว Messenger Kids แอพแชทสำหรับเด็ก ผู้ปกครองควบคุมการใช้งานได้ และไม่มีโฆษณา ข้อมูลเด็กจะไม่ถูกนำไปใช้เพื่อการโฆษณาเช่นกัน อย่างไรก็ตามยังเกิดเสียงต้านจากองค์กนด้านเด็กว่าแอพพลิเคชั่นทำนองนี้ ไม่ควรมีอยู่ตั้งแต่แรก
CCFC หรือ Campaign for a Commercial-Free Childhood กลุ่มรณรงค์จำกัดการใช้ข้อมูลเด็กในเชิงพาณิชย์ ออกจดหมายเปิดผนึกถึง Facebook เรียกร้องให้ระงับแอพ Messenger Kids เพราะมีงานวิจัยออกมามากมายว่าการใช้โซเชียลมากมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก และอาจส่งผลอันตรายต่อจิตใจเด็กด้วย ในจดหมายแถลงการณ์มีบริษัทและบุคคลที่ทำงานด้านเด็กร่วมลงชื่อกว่า 100 รายชื่อ เช่น ACLU of Massachusetts, Badass Teachers Association, Inc, Centre for Child Honouring
ในงาน World Economic Forum 2018 ที่เมือง Davos นอกจากที่ George Soros ให้สัมภาษณ์พูดถึง Facebook และ Google เป็นภัยคุกคามต่อความเป็นอิสระ ซึ่งก็ไม่ใช่มีแต่ Soros เท่านั้น แต่ซีอีโอบริษัทไอทีรายใหญ่อีกแห่งก็คิดเหมือนกัน
โดย Marc Benioff ซีอีโอ Salesforce ให้สัมภาษณ์ในงานนี้เช่นเดียวกัน บอกว่าหน่วยงานรัฐควรดูแล Facebook ในลักษณะเดียวกับที่กำกับดูแลบริษัทบุหรี่ กล่าวคือมันทำให้เกิดการเสพติด คนรู้ว่ามากไปไม่ดี ฉะนั้นจึงควรมีการควบคุมดูแล
นอกจากนี้เขายังบอกทิ้งท้ายว่าอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเองควรได้รับการกำกับดูแลจากรัฐ ในลักษณะเดียวกับที่ดูแลอุตสาหกรรมอื่นอย่าง สุขภาพ หรือการเงิน ซึ่งเขามองว่าที่รัฐควบคุมตอนนี้ยังไม่มากพอ
George Soros เศรษฐีนักลงทุน เจ้าของ Open Society Institute (สถาบันสังคมเปิด) และ Soros Foundation เข้าร่วมการประชุม World Economic Forum ในสวิตเซอร์แลนด์
ในงานประชุม Soros พูดวิจารณ์ Facebook และ Google อย่างจัดหนักจัดเต็ม โดยระบุว่าทั้งคู่เป็นบริษัทที่ผูกขาดความสนใจของคน สร้างความเสพติด ทำร้ายสังคมตลอดจนทำร้ายประชาธิปไตย
เริ่มที่ประเด็นผูกขาด Soros บอกว่าบริษัท Facebook และ Google ควบคุมความสนใจของผู้ใช้ และใช้ข้อมูลนั้นมาสร้างรายได้ให้บริษัท และยังบอกด้วยว่ามีความคล้ายคลึงกันระหว่างบริษัทโซเชียลมีเดียกับบริษัทการพนัน โดยคาสิโนจะดึงดูดผู้ใช้เข้ามาเล่นพนัน เอาเงินของพวกเขามาวางเดิมพัน
อีกหนึ่งปรากฏการณ์บนโซเชียลมีเดียแห่งปี 2017 คือ การคุกคามทางเพศจนเป็นที่มาของแฮชแท็ก #MeToo ที่เริ่มต้นจากมีการเปิดโปงพฤติกรรมของโปรดิวเซอร์ใหญ่ในวงการฮอลลีวูด Harvey Weinstein ว่ามีพฤติกรรมคุกคามทางเพศดาราหญิงและลูกจ้างหลายราย คนแรกที่เริ่มเปิดโปงพฤติกรรมของ Weinstein คือ Ashley Judd นักแสดงสาว เธอบอกว่า Weinstein เชิญเธอไปที่โรงแรม Peninsula Beverly Hills เพื่อนัดทานอาหารเช้า แต่กลายเป็นว่าเขาเชิญเธอไปบนห้อง และปรากฏตัวด้วยชุดคลุมอาบน้ำแทน และยังถามเธออีกว่าเธอสามารถมองดูเขาอาบน้ำได้ไหม หลังจากนั้นก็มีอีกหลายคนออกมาเปิดโปงด้วย บางคนเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Weinstein effect
ขณะนี้กระแสไวรัลอันตราย Tide pod challenge เป็นคลิปที่วัยรุ่นโพสต์คลิปตนกำลังกินน้ำยาซักผ้า ที่มีสีสันสวยงามเหมือนลูกกวาดและเยลลี่ จากนั้นก็ค่อยอาเจียนออกมาเป็นฟอง
Tide pod คือผลิตภัณฑ์ซักผ้า ที่บรรจุมาในถุงเล็กๆ สีสันสวยงามเหมือนลูกกวาดจริงๆ ซึ่งกระแสไวรัลอันตรายนี้ไม่ได้เพิ่งมาเกิด แต่มีมาระยะหนึ่งแล้ว แม้เด็กๆ จะทำทีว่ากิน แต่ก็ไม่ได้กินเข้าไปจริงๆ เป็นการเล่นกันสนุกๆ เท่านั้น
นอกจากนี้ยังมีมีมที่เป็นไวรัลในอินเทอร์เน็ต ตัดต่อภาพ Tide pod เข้ากับอาหารอื่นๆ
จึงไม่น่าแปลกใจที่หลายฝ่ายทั้งแพทย์ ผู้ปกครอง และแม้แต่ตัวบริษัทที่ผลิตก็ออกมาแถลงการณ์แสดงความกังวลเกี่ยวกับกระแสไวรัลในขณะนี้ เพราะมันอาจส่งผลถึงแก่ชีวิต ถ้ามีใครเข้าใจผิดและกิน Tide pod เข้าไปจริงๆ แม้ตัวผลิตภัณฑ์จะระบุชัดเจนว่ามันคือน้ำยาซักผ้าและต้องเก็บไว้ให้พ้นมือเด็ก
เยอรมนีผ่านกฎหมาย Network Enforcement Act ไปเมื่อกลางปี 2017 หากโซเชียลมีเดียไม่ยอมลบข้อความ Hate Speech ภายใน 24 ชั่วโมงจะต้องถูกปรับสูงสุด 60 ล้านดอลลาร์ ล่าสุดกฎหมายดังกล่าวมีผลแล้วตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2018
กฎหมายระบุว่าโซเชียลมีเดียซึ่งมีผู้ใช่งานเกิน 2 ล้านคน เมื่อมีเนื้อหาที่ถูกรายงานว่าเป็น Hate Speech แล้วไม่ลบออกภายใน 24 ชั่วโมง จะต้องถูกปรับถึง 60 ล้านดอลลาร์ ซึ่งไม่เพียงมีผลต่อ Facebook, Twitter, Google แต่รายเล็กอย่าง Reddit, Tumblr, Vimeo, Flickr ก็ได้รับผลกระทบด้วย
Farhad Manjoo คอลัมนิสต์ด้านเทคโนโลยี และผู้เขียนหนังสือ "True Enough: Learning to Live in a Post-Fact Society" ว่าด้วยความพยายามครอบโลกธุรกิจของ Apple, Amazon, Facebook และ Google โดย Farhad Manjoo เขียนบทความว่าปี 2017 เป็นปีแห่งจุดเปลี่ยนของบริษัทเทคโนโลยี โดยปี 2017 มีหลายเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าบริษัทเทคโนโลยีต้องมีส่วนรับผิดชอบสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกออฟไลน์ ไม่ว่าบริษัทจะเต็มใจหรือไม่ก็ตาม
Facebook ออกแถลงการณ์ตอบโต้คำกล่าวของ Chamath Palihapitiya อดีตผู้บริหารฝ่ายดูแลการเติบโต ที่บอกว่าโซเชียลมีเดียเป็นอันตรายต่อสังคมโลก โดยมีรายละเอียดดังนี้
Chamath Palihapitiya อดีตผู้บริหารใน Facebook บอกว่าโซเชียลมีเดียเป็นอันตรายต่อสังคมโลก แบ่งแยกสังคมออกจากกัน เขายังบอกอีกว่าเขารู้สึกผิดอย่างร้ายแรงที่เป็นส่วนหนึ่งของการก่อตั้งโซเชียลมีเดียด้วย
Chamath Palihapitiya เข้ามาทำงานใน Facebook ตั้งแต่ปี 2007 ในหน้าที่ดูแลการเติบโตของจำนวนผู้ใช้งาน
เขาไปพูดบรรยายที่ Stanford Graduate School of Business ในหัวข้อการเงิน ในตอนหนึ่งเขาบอกว่าเขารู้สึกผิดอย่างร้ายแรง ที่เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างโซเชียลมีเดียเป็นอันตรายต่อสังคม ไม่เพียง Facebook แต่รวมถึงโซเชียลมีเดียทุกราย และไม่ใช่แค่เรื่องของข่าวปลอมในสังคมอเมริกัน แต่รวมถึงสังคมทั่วโลก
เขายกตัวอย่างข้อมูลผิดๆ ที่แชร์กันในอินเดียจนนำไปสู่การทำร้ายร่างกายคนในชีวิตจริง และวิกฤตชาวโรฮิงญาในพม่าที่ข้อมูลปลอมใน Facebook มีส่วนช่วยกระตุ้นให้วิกฤตรุนแรงขึ้น
เมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาเฟซบุ๊กทดสอบการแยกโพสจากสื่อต่างๆ ออกจากโพสของเพื่อนทำให้สื่อที่มีช่องทางเข้าถึงผู้อ่านได้รับผลกระทบอย่างหนัก ข่าวร้ายสำหรับสื่อที่ใช้ช่องทางสื่อสังคมออนไลน์คือ Snapchat ก็ดำเนินการตามแนวทางนี้ และประกาศแยกโพสสองประเภทออกจากกันให้ชัดเจนขึ้น
ใน Snapchat เวอร์ชั่นใหม่ เมื่อเปิดแอปขึ้นมาจะมีกล้องเป็นหน้าจอแรก และแยกเมื่อปัดซ้ายจะเป็นหน้าจอเพื่อนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นแชตหรือ story ส่วนหน้าจอทางขวาจะเป็นเรื่องราวจากแบรนด์, สื่อ, หรือผู้สร้างสรรค์อื่นๆ
Facebook ได้ส่งอีเมลแจ้งยังผู้ลงโฆษณาหลายราย ระบุว่าต่อจากนี้ Facebook จะเพิ่มความเข้มงวดสำหรับโฆษณาที่ระบุกลุ่มเป้าหมายอิงตาม การเมือง, ศาสนา, เชื้อชาติ และหัวข้อทางสังคม โดยใช้คนตรวจเนื้อหาโฆษณาก่อนทุกครั้ง (human review) ซึ่งจะส่งผลให้การอนุมัติโฆษณาประเภทนี้ช้าลงด้วย
ปัจจุบันโฆษณาของ Facebook ใชระบบอัตโนมัติในการตรวจสอบ แต่จากปัญหาโฆษณาจากบัญชีปลอม ทำให้ Facebook เตรียมจ้างคนเพิ่มราว 1 พันคน เพื่อดูแลเรื่องนี้โดยเฉพาะ
อย่างไรก็ตาม Facebook บอกว่าแม้จะเปลี่ยนมาใช้คนตรวจสอบ แต่ก็จะพยายามปรับปรุงขั้นตอนให้เร็วขึ้นต่อไป
หลังเฟซบุ๊กประสบปัญหาใหญ่จากโฆษณาจากบัญชีปลอมที่อาจส่งผลต่อการเมืองสหรัฐ ตอนนี้เฟซบุ๊กเพิ่มมาตรการใหม่ด้วยการจ้างคนเพิ่มราว 1,000 คน เพื่อตรวจสอบและลบโฆษณาโดยเฉพาะ
โฆษกเฟซบุ๊กชี้แจงด้วยว่าจะลงทุนด้าน Machine Learning สำหรับการตรวจสอบและลบโฆษณามากขึ้นด้วย รวมถึงขยายกรอบของนโยบายโฆษณาให้ครอบคลุมโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงผ่านสื่อสารและแสดงออกอย่างเป็นนัย (subtle) และหากเป็นโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ผู้โฆษณาก็จะต้องเตรียมเอกสารต่างๆ เพิ่มขึ้นด้วย