ให้หลังจากการยุติการพรีวิวภาพ Instagram บน Twitter ตั้งแต่เมื่อปี 2012 ก็ยังมิอาจหยุดไม่ให้บรรดาผู้ใช้เลิกโพสต์ภาพ Instagram ได้อยู่ดี โดยเฉพาะบรรดาดาราทั้งหลาย
ล่าสุด Twitter เริ่มออกมาแนะนำให้บรรดาผู้ใช้กลุ่มดังกล่าวหันมาใช้การโพสต์ภาพด้วยบริการของ Twitter เอง เพื่อให้แฟนๆ สามารถเห็นได้โดยตรงจากในไทม์ไลน์ของ Twitter ซึ่งกระทบกับ Instagram ตรงๆ แม้ว่าจะไม่ได้เอ่ยถึง แต่ก็กระแทกกันด้วยภาพประกอบที่มาด้วยกัน
ก่อนหน้านี้ไม่นาน Instagram เพิ่งมีจำนวนผู้ใช้แซง Twitter ไป และยังเติบโตเร็วกว่ามาก
ที่มา - Mashable
จากก่อนหน้านี้ที่ Sony Pictures ขู่ฟ้องสื่อต่างๆ หากเผยแพร่เนื้อหาอีเมลที่ถูกแฮค คราวนี้เป็นคิวของทาง Twitter ที่ได้รับจดหมายจาก Sony Pictures ให้ลบทวีตที่เผยแพร่รูปภาพเอกสารของบริษัทที่ถูกแฮค พร้อมทั้งแบนแอคเคาท์นั้นด้วย มิเช่นนั้นทาง Sony Pictures จะดำเนินคดีกับ Twitter
เนื้อความสำคัญในจดหมายที่ถูกส่งในกับทาง Twitter เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาระบุว่า หากข้อมูลที่ถูกแฮคไป ยังคงถูกเผยแพร่ ไม่ว่าจะในรูปแบบใดบน Twitter ทาง Sony คงจะไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะให้ Twitter รับผิดชอบความเสียหายดังกล่าว
ศาลอุทธรณ์ของรัฐ Georgia ในสหรัฐอเมริกา ได้พิจารณาตัดสินคดีเกี่ยวกับการกระทำผิดทางอินเทอร์เน็ตที่มีเด็กชายคนหนึ่งได้ปลอมแปลงข้อมูลสร้างหน้า Facebook และสวมรอยเป็นเด็กที่ร่วมชั้นเรียนของเขา เพื่อทำการกลั่นแกล้งคนที่ถูกสวมรอยนั้น โดยศาลระบุว่าผู้ปกครองต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการกระทำดังกล่าว
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวานนี้ (14 ต.ค.) และฝากประเด็นให้กระทรวงไอซีที "ดูแลเรื่องสื่อโซเชียลมีเดีย" เพราะถ้าไม่มีการดูแลให้ดีจะกระทบกับความมั่นคง จึงขอให้ไอซีทีหารือกับกระทรวงอื่นๆ ว่าจะดูแลผู้ที่ใช้สื่อโซเชียลอย่างไร
พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข้อมูลในเรื่องนี้ว่านายกรัฐมนตรีเน้นว่าให้ "ดูแล" ไม่ใช่ "ควบคุม" โดยเน้นการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ละเมิดกัน นอกจากนี้นายกรัฐมนตรียังสนใจเรื่องการอ้างแหล่งข่าวของสื่อโซเชียลมีเดียที่ตรวจสอบที่มาไม่ได้ และอาจมีผลกระทบต่อความมั่นคงเช่นกัน
เกือบทศวรรษที่ผ่านมา เราเห็นการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของสื่อสังคมออนไลน์ โดยเฉพาะเฟซบุ๊ก ที่ทุกวันนี้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราๆ ท่านๆ ไปเสียแล้ว โดยเว็บไซต์ The Next Web ได้นำเอามุมมองและทฤษฎีทางจิตวิทยามาอธิบายการเสพติดของผู้ใช้นี้ ผมเห็นว่าน่าสนใจจึงเอามาแบ่งปันกันครับ
The Next Web อธิบายว่าเฟซบุ๊กได้กลายเป็น "ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์" ในลักษณะเดียวกับที่ร้านสะดวกซื้อเป็น เพียงแต่ไม่ใช่ในเชิงกายภาพ แต่เป็นความต้องการทางด้านจิตใจหรือจิตใต้สำนึกของเรา โดยความต้องการเหล่านี้ถูกแบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้
- การสร้าง"ความเชื่อมั่นและความภาคภูมิใจในตัวเอง (Self-esteem)"
Dick Costolo ซีอีโอของทวิตเตอร์ได้ทวีตข้อความว่า ทางทวิตเตอร์ได้แบนและกำลังไล่แบนแอคเคาท์ที่ทวีตภาพหรือวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่กลุ่มก่อการร้าย ISIS (Islamic State of Iraq and Syria) ตัดหัว James Wright Foley นักข่าวอิสระชาวอเมริกัน
James Foley เป็นนักข่าวอิสระและถูกจับตัวไปจากซีเรียตั้งแต่ปลายปี 2555 โดยในวิดีโอที่ถูกเผยแพร่ออกมาก่อนหน้านี้ James ถูกบังคับให้พูดประนามสหรัฐในการโจมตีกลุ่ม ISIS ก่อนจะถูกบั่นคออย่างโหดเหี้ยมโดยชายชุดดำที่ยืนอยู่ข้างๆ ที่อ้างว่าเป็นกลุ่ม ISIS พร้อมทั้งกำชับว่าห้ามสหรัฐแทรกแซงการสถาปนารัฐอิสลาม
ทวิตเตอร์ประกาศนโยบายใหม่ว่าจะลบรูปและวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียชีวิต ตามคำขอของครอบครัวหรือผู้มีอำนาจ แต่ก็อาจไม่สามารถตอบรับคำขอได้ทุกกรณี
เรื่องราวนี้เป็นประเด็นจากการที่ Zelda Williams บุตรสาวของดาราฮอลลีวูด Robin Williams ที่เพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ประกาศเลิกเล่นทวิตเตอร์ เพราะมีคนตัดต่อรูปภาพพ่อเธอและส่งมาให้เธอ ซึ่งทางทวิตเตอร์ก็จัดการบล็อคแอคเคาท์ที่ส่งรูปภาพเหล่านั้น และปรับนโยบายปกป้องผู้ใช้ใหม่ขึ้นมา
เฟซบุ๊กเตรียมเพิ่มลูกเล่นในคอมเมนท์เพิ่มเติม หลังจากที่สามารถอัพรูปเข้าไปในคอมเมนท์ได้โดยตรง โดยขณะนี้ทางเฟซบุ๊กกำลังทดสอบระบบใส่สติ๊กเกอร์เข้าไปในคอมเมนท์อยู่
ทาง The Next Web ได้สอบถามไปทางเฟซบุ๊กเกี่ยวกับข่าวนี้ และก็ได้รับคำยืนยันว่ากำลังทดสอบฟีเจอร์ใหม่นี้อยู่จริง โดยระบบใหม่นี้ จะเพิ่มแท็บสติ๊กเกอร์เข้าไปข้างๆ แท็บรูปถ่ายในคอมเมนท์ และน่าจะปล่อยอัพเดตฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้ทั่วไปเร็วๆ นี้
ที่มา - The Next Web
เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สภานิติบัญญัติของรัสเซียได้ผ่านร่างกฎหมายห้ามเว็บไซต์ที่ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตเก็บข้อมูลของชาวรัสเซียไว้นอกประเทศ โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการปกป้องข้อมูล ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญด้านอินเทอร์เน็ตของรัสเซียวิจารณ์ว่า รัฐบาลต้องการจะปิดกั้นการเข้าสื่อโซเชียลมีเดียโดยตรง
อย่างที่ทราบกันดีกว่าการรีทวีตในทวิตเตอร์มีสองแบบคือรีทวีตเฉยๆ และรีทวีตแบบโควท ที่สามารถใส่ความเห็นของเราเพิ่มเข้าไปได้ แต่ปัญหาคือการโควททวีตนั้น จะถูกจำกัดอยู่ภายใต้ 140 ตัวอักษรที่ทางทวิตเตอร์กำหนด ทำให้ค่อนข้างยากที่จะเพิ่มความคิดเห็นของเราไปได้แบบเต็มๆ ล่าสุดทวิตเตอร์กำลังทดสอบฟีเจอร์ใหม่ที่ดูเหมือนจะแก้ปัญหานี้โดยตรง ฟีเจอร์นี้เรียกว่า "รีทวีตพร้อมคอมเมนต์ (retweet with comment)" และคาดว่าจะมาแทนที่โควททวีตเลย
การรีทวีตพร้อมคอมเมนต์นี้ จะทำให้ทวีตต้นทางที่เรารีทวีต อยู่ในรูปของทวิตเตอร์การ์ด (Twitter card) ขณะเราสามารถใส่ความคิดเห็นเพิ่มเติมลงไปได้เต็มๆ 140 ตัวอักษร (หากนึกไม่ออก ลองนึกภาพการแชร์ที่มีการใส่ความคิดเห็นบนเฟซบุ๊ก การแสดงผลจะคล้ายๆ กัน)
สำหรับยุคที่กระแสความนิยมของสื่อสังคมออนไลน์เพิ่มสูงขึ้นจนเรียกได้ว่าผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของใครหลายคนไปแล้ว พฤติกรรมหนึ่งของผู้คนที่แพร่หลายเห็นกันได้มากก็คือการถ่ายภาพแบบ selfie ซึ่งก็คือการถ่ายรูปตนเองแล้วแบ่งปันกับผู้ใช้อื่นผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ และสำหรับคนที่คลั่งไคล้การถ่ายภาพแบบดังกล่าว ก็น่าจะถูกใจสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่กล่าวได้ว่ามันคือกระจกวิเศษที่จะช่วยถ่ายภาพ selfie ให้ผู้ใช้ได้แบบอัตโนมัติ
หลังจากที่ Recep Tayyip Erdoğan นายกรัฐมนตรีของตุรกีสั่งบล็อคการเข้าถึงเว็บไซต์ของ Twitter จากในประเทศตุรกีทั้งหมด ตอนนี้ได้เกิดกระแสต่อต้านมาตรการดังกล่าวอย่างเห็นได้ชัด ดังที่ปรากฎว่าแม้จะมีคำสั่งห้ามบริการ Twitter แล้ว ยังคงมีข้อความทวีตถูกส่งจากผู้ใช้ในประเทศตุรกีสูงถึง 1.2 ล้านข้อความ เล็ดรอดผ่านช่องทางต่างๆ
ซัมซุง ในฐานะสปอนเซอร์หลักของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในครั้งนี้ ได้ขอให้นักกีฬาผู้เข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ไม่ให้ใช้ หรือพูดถึงสินค้ายี่ห้ออื่นที่ไม่ใช่ซัมซุง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ไอโฟน” ในช่วงพิธีเปิดกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว แต่เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยน ซัมซุงได้แจก Galaxy Note 3 ให้กับนักกีฬาทุกคน ซึ่งจะถูกบรรจุรวมอยู่ในถุงที่นักกีฬาทุกคนจะได้รับ
รัฐบาลเวียดนามเพิ่งออกกฎหมายใหม่ลงโทษผู้ที่แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งมีบทปรับเป็นเงินจำนวน 100 ล้านดอง (ประมาณ 150,000 บาท)
นายกรัฐมนตรีเวียดนาม Nguyen Tan Dung เพิ่งลงนามในกฎหมายดังกล่าวเพื่อประกาศบังคับใช้ในสัปดาห์นี้ โดยในส่วนรายละเอียดได้ระบุว่าการแสดงความเห็นในเชิงกล่าวหาโจมตีรัฐบาลนั้นอาจเข้าข่ายการกระทำความผิดทางอาญาซึ่งมีโทษถึงขั้นจำคุก ในขณะที่การโพสต์ข้อความที่มีลักษณะโฆษณาชวนเชื่อให้ต่อต้านอำนาจรัฐหรือเผยแพร่แนวคิดอุดมการณ์อนุรักษ์นิยมนั้นก็มีโทษปรับเป็นเงินจำนวนมาก
Google+ บนฝั่งเว็บไซต์เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ช่วยแปลภาษาในโพสต์ และความเห็นได้แล้ว โดยจะทำงานเมื่อมีโพสต์ที่ไม่ใช่ภาษาหลักของผู้ใช้ขึ้นมา
วิธีการแสดงผลการแปลภาษาของ Google+ จะแปลกกว่าเจ้าอื่นตรงที่คำใหม่ที่แปลแล้วจะแสดงผลแทนตำแหน่งคำต้นฉบับเลย (Facebook และ Twitter จะแสดงผลด้านล่างคำต้นฉบับ)
ทีมงานของกูเกิลบอกว่ากำลังทยอยปล่อยฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้ฝั่งเว็บไซต์ก่อน เท่าที่ผมลองค้นดูยังไม่เจอปุ่มให้แปลขึ้นมา ดังนั้นใครที่อยากเห็นตัวอย่างก็ดูจากท้ายข่าวกันไปก่อนครับ
ที่มา - + Ed Chi
มีรายงานว่าขณะนี้ Vine ขึ้นแท่นเป็นแอพพลิเคชันสำหรับแชร์ภาพบนทวิตเตอร์มากกว่าเจ้าตลาดเดิมอย่าง Instagram แล้ว หลังเปิดตัวเวอร์ชันสำหรับ Android ไปได้เพียงแค่ 5 วันเท่านั้น
โดยรายงานจาก Topsy ระบุว่า ในช่วงเวลาที่ Vine ปล่อยเวอร์ชันสำหรับ Android ยอดผู้ใช้งาน Instagram เริ่มลดลงทีละน้อย ในขณะที่ฝั่ง Vine เพิ่มมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด ทำให้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา สามารถสรุปยอดลิงค์การแชร์ภาพได้ว่า vine.co ถูกแชร์ออกไปถึง 2.5 ล้านครั้ง ในขณะที่ instagram.com ถูกแชร์ออกไปเพียงแค่ 2.2 ล้านครั้ง
OfficeAbility (ออฟฟิศอะบิลิตี้) เป็นซอฟแวร์ที่ทำงานผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ถูกพัฒนามาเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานให้กับบุคลากรในองค์กร โดย OfficeAbility นั้นมีการทำงานแบบพร้อมใช้ผ่านระบบ Cloud ทำให้มั่นใจได้ถึงระดับความปลอดภัยทั้งเรื่องการเข้าสู่ระบบและการสำรองข้อมูลที่ค่อนข้างหนาแน่นและมีประสิทธิภาพสูง ตัวซอฟต์แวร์นั้นมีการรวมเครื่องมือที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อการทำงานและการแบ่งปันประสบการณ์อื่น ๆ ร่วมกันได้อย่างครบถ้วน
บริษัทวิจัยสื่อ Media Measurement เข้าไปสำรวจความคิดเห็นในโลก social network หลังคณะลูกขุนมีมติตัดสินให้แอปเปิลชนะคดีซัมซุง ผลออกมาพบว่าภาพลักษณ์ของแอปเปิลกลับแย่ลง
Media Measurement สำรวจข้อมูลระหว่างวันที่ 3-30 สิงหาคม มีการสนทนาเกี่ยวกับคดีนี้ 700,000 ครั้ง ส่วนใหญ่อยู่บน Twitter แต่ก็มีส่วนที่เป็นคอมเมนต์สาธารณะบน Facebook อยู่บ้าง (ประมาณ 58,000 ครั้ง) ส่วนที่นำมาเปิดเผยละเอียดมีเฉพาะคอมเมนต์ใน Facebook Page ของแอปเปิล ที่แยกแยะออกมาได้ในทางลบกับแอปเปิลมากกว่าทางบวกอย่างมีนัยสำคัญ (ดูกราฟประกอบ)
อย่างไรก็ตาม คอมเมนต์ในทางลบต่อแอปเปิลไม่ได้แปลว่าซัมซุงได้รับคอมเมนต์ทางบวกมากกว่า เพราะทั้งสองบริษัทมีอัตราคอมเมนต์ทางลบใกล้เคียงกันคือ 62%
ในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ที่สหรัฐอเมริกาจะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสื่อบนโลกดิจิทัลก็ต่างมีความสำคัญมากในการหาเสียงและการติดต่อสื่อสาร รวมถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง
นับตั้งแต่ Thunderclap ได้รับการเปิดตัวไปในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ก็ได้รับความสนใจจากสื่ออยู่พอสมควรเหมือนกัน ในฐานะที่เป็น Crowdspeaking Platform (แพลตฟอร์มระดมเสียงสนับสนุน) ตัวแรกของโลก
แนวคิดของ Thunderclap คือการช่วยให้สารหรือข้อความที่ "น่าสนใจ" หรือ "มีคุณค่า" ถูกขยาย (amplify) ให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้าง ด้วยการให้ผู้ใช้งานที่เห็นด้วยกับข้อความนั้นเข้ามาลงชื่อสนับสนุน เมื่อได้จำนวนผู้สนับสนุนครบตามที่ต้องการ ก็จะให้ทุกคนที่มาสนับสนุนร่วมแชร์ข้อความนั้นไปพร้อมกันตามเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อสร้างกระแสให้เกิดขึ้น
เว็บไซต์ Schools.com ได้จัดทำ infographic ที่น่าสนใจเกี่ยวกับผลกระทบของ social media กับตัวของเราใน "โลกของความเป็นจริง" ซึ่งข้อมูลจาก infographic ดังกล่าวนี้ ล้วนเป็นเรื่องที่น่าสนใจทั้งสิ้น เช่น 24% ของกลุ่มคนที่ผ่านการสำรวจมานั้น ต้องพลาดช่วงเวลาพิเศษในชีวิตของเขา เพราะมัวแต่พยายามแชร์ช่วงเวลาเหล่านั้นลงไปบน social network ส่วนอีกสถิติหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ ผู้คนทั่วโลกใช้เวลารวมกันกว่า 10.5 พันล้านนาทีต่อวัน (ประมาณ 20,000 ปีต่อวัน) ไปกับการใช้งานเว็บไซต์ Facebook ซึ่งนี่ยังไม่ได้รวมคนที่ใช้ Facebook จากโทรศัพท์มือถือเสียด้วยซ้ำ
บริษัทจากฝรั่งเศส Semiocast ซึ่งทำวิจัยด้าน social media ประเมินผู้ใช้ Twitter ตามแหล่งที่อยู่ในประเทศต่างๆ พบว่าสหรัฐยังเป็นแชมป์ในแง่จำนวนบัญชีผู้ใช้ 107.7 ล้านราย คิดเป็น 28.1% ของผู้ใช้ทั้งหมด 383 ล้านราย (นับถึง 1 ม.ค. 2012)
ที่น่าสนใจคืออันดับสอง บราซิลสามารถแซงหน้าญี่ปุ่นได้แล้ว โดยบราซิลมี 33.3 ล้านบัญชี และญี่ปุ่นมี 29.9 ล้านบัญชี
ส่วนอัตราการใช้งานโดยคิดตามเงื่อนไขว่า บัญชีต้องโพสต์ข้อความอย่างน้อย 1 ครั้งระหว่างเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2011 ประเทศที่มีคะแนนส่วนนี้ที่สุดคือเนเธอร์แลนด์ 33%, ญี่ปุ่น 30%, สเปน 29%