ธุรกิจยุคใหม่มีช่องทางที่เป็นดิจิทัลมากขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานผ่านแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ หรือเว็บ กระบวนการทำงาน-การสื่อสารทั้งภายในและภายนอกองค์กรล้วนปรับเปลี่ยนกลายเป็นการทำงานผ่านแอปพลิเคชันและไฟล์แทนกระดาษ
เมื่อองค์กรขยายตัว ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกมักเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว การจัดการข้อมูลเหล่านี้ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา มีความปลอดภัยสูง สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทันที โดยผู้ดูแลระบบต้องสามารถจัดการได้ง่าย จึงเป็นเรื่องท้าทาย
Seagate เปิดเผยสเปกของฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ Mach.2 Exos 2X14 ที่ครองแชมป์ฮาร์ดดิสก์เร็วที่สุดในโลก มีอัตราการส่งข้อมูล 524 MBps ที่อาจเร็วกว่า SSD รุ่นราคาถูกหลายๆ ตัว
ฮาร์ดดิสก์ Mach.2 ตัวนี้มีความจุรวม 14TB แต่จริงๆ แล้วมันคือฮาร์ดดิสก์ 7TB สองตัวอยู่ในไดรฟ์ขนาด 3.5" มาตรฐาน มีความเร็วการหมุนจานที่ 7200 RPM
Google Cloud ในฐานะผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ มีศูนย์ข้อมูลของตัวเอง และต้องใช้งานฮาร์ดดิสก์เป็นจำนวนมาก จับมือกับ Seagate พัฒนาเทคนิค machine learning เพื่อใช้พยากรณ์ว่าฮาร์ดดิสก์จะเสียหรือไม่
กูเกิลบอกว่ามีฮาร์ดดิสก์เป็นล้านๆ ตัว และมีข้อมูล metadata จำนวนมหาศาล เช่น SMART(Self-Monitoring, Analysis and Reporting Technology), Online Vendor Diagnostics (OVD), Field Accessible Reliability Metrics (FARM) ซึ่งไม่สามารถใช้มนุษย์อ่านได้อีกแล้ว จึงต้องใช้ machine learning มาช่วยอ่านข้อมูลแทน
ลูกค้าของ SUSE จำนวนหนึ่งได้รับแจ้งจากบริษัทว่ากำลำลังเลิกขาย SUSE Enterprise Storage (SES) ซอฟต์แวร์สตอเรจที่พัฒนามาจาก Ceph แต่จะหันไปทำตลาด Longhorn ซอฟต์แวร์สตอเรจแบบโอเพนซอร์สที่ได้มาจากการเข้าซื้อ Rancher
ทางฝั่ง Rancher นั้นมี Longhorn ที่เป็นสตอเรจสำหรับ Kubernetes โดยเฉพาะแม้จะรองรับการใช้งานแบบ iSCSI ด้วยก็ตาม จุดเด่นของ Longhorn อยู่ที่ความง่ายในการจัดการ และได้รับการยอมรับในวงการค่อนข้างดี ปัจจุบัน Longhorn เป็นโครงการระดับ Sandbox ของ CNCF
ทาง The Register ติดต่อ SUSE และทางบริษัทยืนยันว่าจะซัพพอร์ตลูกค้าเดิมของ SES ต่อไปแม้จะหยุดขายแล้ว นอกจากนี้ทางบริษัทกำลังพัฒนาโซลูชั่นสตอเรจสำหรับอนาคตต่อไป
Seagate เผยแผนการออกฮาร์ดดิสก์ในระยะยาว โดยคาดว่าจะออกฮาร์ดดิสก์ความจุระดับ 50TB ได้ในปี 2026 และขึ้นไปถึง 120TB ในปี 2030
เทคโนโลยีใหม่ในโลกฮาร์ดดิสก์ตอนนี้คือ Heat-Assisted Magnetic Recording (HAMR อ่านว่า แฮมเมอร์) เป็นการใช้ความร้อนช่วยเขียนข้อมูลบนจานเป็นระยะเวลาสั้นมากๆ (ระดับ 2 นาโนวินาที) ช่วยให้บันทึกข้อมูลได้หนาแน่นขึ้นกว่าเทคโนโลยี PMR แบบที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งจะตันที่ความจุระดับ 20TB
เทคโนโลยี HAMR พัฒนาขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้ในห้องแล็บทำระดับ 40TB ได้แล้ว ส่วนผลิตภัณฑ์จริงเริ่มมีฮาร์ดดิสก์ HAMR รุ่น 20TB ออกวางขายตั้งแต่ปี 2020 และคาดว่าจะขายฮาร์ดดิสก์ 50TB ได้ในปี 2026
ในงาน CES ที่ผ่านมาผู้ผลิต SSD ต่างพากันอัพเดตสินค้าชุดใหม่ โดยตระกูลคอนซูมเมอร์ตัวท็อปมีความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือหลายแบรนด์หันมาใช้ PCIe 4.0 และทำความเร็วอ่านเขียนได้ระดับ 7GB/s กันแล้ว
ทั้งสามแบรนด์ยังไม่ประกาศช่วงเวลาวางขายแน่ชัด
อินเทลมีสินค้าแบรนด์ Optane อยู่ 2 ประเภท ได้แก่ Optane Memory หน่วยความจำ 3D XPoint ใช้คั่นระหว่างแรมกับสตอเรจเพื่อเร่งความเร็วจากแคช และ Optane SSD ที่เป็นการนำหน่วยความจำแบบนี้มาทำ SSD ในขนาดเดียวกับไดร์ฟ Flash SSD ทั่วไป (ซึ่งอินเทลก็มี Flash SSD อีกชุดที่ไม่ใช้แบรนด์ Optane)
ล่าสุดอินเทลเลิกทำตลาด Optane SSD สำหรับเดสก์ท็อปพีซีแบบเงียบๆ สินค้า Optane SSD กลุ่มนี้ (900, 905P, 800P, M10) ล็อตสุดท้ายจะส่งให้ผู้ขายปลีกในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ และไม่มีสินค้ารุ่นอื่นมาทดแทนแล้ว
โซนี่ทำสล็อตสำหรับใส่ NVMe M.2 SSD เสริมมาให้ภายใน ซึ่งก็ทำมาให้เข้าถึงได้ค่อนข้างง่าย แต่ถึงกระนั้นโซนี่ก็เพิ่งคอนเฟิร์มว่าการใส่ SSD เพื่อเพิ่มความจุ PS5 นั้นยังไม่สามารถทำได้ในช่วงแรกและต้องรออัพเดตในอนาคต
สาเหตุก็คาดว่าน่าจะหนีไม่พ้นการที่ยังไม่มี SSD รุ่นไหนที่ได้รับการรับรองจากโซนี่ ซึ่งจะต้องเข้ากันได้กับ PS5 ทั้งในแง่ความเร็ว, ขนาดและคอนโทรลเลอร์ I/O ที่โซนี่พัฒนาขึ้นมาเองด้วย โดย Mark Cerny หัวหน้าทีมวิศวกรออกแบบระบบของ PS5 ทั้งหมดเคยพูดในงาน Road to PS5 ครั้งแรกสุดของการเปิดเผยข้อมูลคอนโซลว่า การเพิ่ม SSD น่าจะทำได้หลังวางขายไปแล้ว
ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าทยอยย้ายฟีเจอร์จาก Control Panel หรือแอพตั้งค่ายุคเก่า มาอยู่ในแอพ Settings ยุคใหม่ (แม้ทำงานค่อนข้างช้าก็ตาม หลายปีแล้วไม่เสร็จสักที)
รอบนี้เป็นคิวของ Disk Management เครื่องมือที่ใช้จัดการดิสก์และพาร์ทิชัน ถูกเขียนขึ้นใหม่ใน Settings แล้ว ไมโครซอฟท์บอกว่ามันทำงานกับฟีเจอร์ยุคใหม่ๆ อย่าง Storage Spaces ได้ด้วย (แม้หน้าตาอาจไม่สวยเท่ากับของเดิมก็ตาม)
ฟีเจอร์นี้เริ่มเปิดใช้แล้วใน Windows 10 Insider Preview Build 20197 ส่วน Disk Management ตัวเดิมก็ยังคงอยู่ไม่ไปไหน
ที่มา - Microsoft
จากข่าว Xbox เผยข้อมูล Xbox Velocity Architecture ระบบ I/O ใหม่บน Xbox Series X ถึงแม้ไมโครซอฟท์ไม่ได้พูดออกมาเองตรงๆ แต่ก็มีคนมาคำนวณให้แล้วว่าระบบ I/O โดยรวมของ Xbox Sereis X จะเร็วกว่า PS5
Western Digital ประกาศขาย WD Gold 16TB และ 18TB ให้กับลูกค้าองค์กรโดยผ่านตัวแทนจำหน่ายระดับองค์กร หลังจากปีที่แล้วทางบริษัทขายดิสก์ทั้งสองรุ่นให้กับลูกค้าเฉพาะรายเช่นผู้ให้บริการคลาวด์เท่านั้น
ภายในดิสก์อัดไว้ด้วยฮีเลียมที่ความหนาแน่นต่ำกว่าอากาศปกติเหลือเพียง 1 ใน 7 ทำให้สามารถวางดิสก์ความจุ 2TB ได้เป็น 8 จาน และ 9 จานตามลำดับ โดยดิสก์ทั้งสองรุ่นเป็นแบบ CMR ขณะที่รุ่น 20TB ที่ยังขายแบบจำกัดนั้นเป็น SMR
เซิร์ฟเวอร์สตอเรจ Ultrastar Data60 และ Data102 ก็รองรับดิสก์ทั้งสองรุ่นแล้วเช่นกัน ทำให้สามารถอัดสตอเรจได้ถึง 1.836 เพตาไบต์ในสตอเรจขนาด 4U
การมาถึงของเศรษฐกิจในยุคดิจิทัลไม่ได้ก่อให้เกิดเพียงแค่เปลี่ยนวิธีการทำงานขององค์กรที่หันมาใช้งานบริการออนไลน์ ลดขั้นตอนการทำงานต่างๆ ลง แต่ยังทำให้เกิดความคาดหวังของลูกค้าและพนักงานที่ต้องการการตอบสนองจากแอปพลิเคชั่นอย่างรวดเร็ว การที่แอปพลิเคชั่นทำงานได้ช้าไม่ตอบสนองต่อการทำงานอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานจนองค์กรขาดความสามารถในการแข่งขันในที่สุด
Dell EMC เปิดตัวสตอเรจเซิร์ฟเวอร์ตระกูลใหม่ PowerScale สำหรับงานเก็บข้อมูลแบบ unstructured data เข้ามาเสริมทัพในไลน์ของ Isilon เดิม
Dell EMC PowerScale เป็นสตอเรจแบบแฟลชล้วน (All-Flash) เช่นเดียวกับ Isilon ซีรีส์ F และใช้รหัสรุ่นเป็น F แบบเดียวกัน เบื้องต้น PowerScale เปิดตัวมา 2 รุ่นคือรุ่นล่าง F200 (All-Flash) และรุ่นกลาง F600 (All-NVMe) ยังเว้นที่ให้กับ Isilon F800/F810 ที่จับตลาดบนอยู่
ทั้ง PowerScale F200 และ F600 เป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาด 1U (ใช้บอดี้เดียวกับเซิร์ฟเวอร์ Dell PowerEdge) รองรับซีพียูสูงสุด 2 ซ็อคเก็ต (สำหรับรุ่น F600) ความจุเริ่มต้นที่ 11TB และสามารถต่อคลัสเตอร์กันให้สเกลไปสูงสุดที่ 60PB
Rancher Labs ผู้ผลิตดิสโทร Kubernetes ชื่อดังพัฒนาระบบซอฟต์แวร์สตอเรจของตัวเองในชื่อ Longhorn มาตั้งแต่ปี 2017 และเข้าไปอยู่ในความดูแลของ CNCF เมื่อปีที่แล้ว ตอนนี้ทางบริษัทก็ประกาศให้ Longhorn เข้าสู่สถานะ GA พร้อมใช้งานบนโปรดักชั่นและสามารถซื้อซัพพอร์ตกับทาง Rancher ได้ แต่ตัวซอฟต์แวร์ยังคงดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรีต่อไป
Longhorn ใช้สำหรับการสร้างสตอเรจบน Kubernetes ใดๆ แต่เป็นตัวเลือกที่ติดตั้งได้ง่ายหากใช้กับ Rancher เอง โดยตัวมันมีฟีเจอร์หลักๆ ค่อนข้างครบ ไม่ว่าจะเป็นการทำ snapshot, ขยาย volume, กู้คืน volume ข้ามคลัสเตอร์, อัพเกรดซอฟต์แวร์โดยไม่กระทบโหลดงาน, รองรับการควบคุมทั้ง kubectl และเว็บคอนโซล
รายงานข่าวที่ผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์หลายรายปรับเปลี่ยนดิสก์หลายรุ่นไปใช้เทคโนโลยี SMR เพื่อลดต้นทุนการผลิต ทำให้ Western Digital ต้องออกมาเปิดเผยรายชื่อดิสก์ที่ได้รับผลกระทบก่อนหน้านี้ ล่าสุดฝั่งโตชิบาก็ออกมาเปิดเผยรายชื่อดิสก์สำหรับผู้ใช้ทั่วไปที่ใช้เทคนิค SMR เช่นกัน
ดิสก์ที่กระทบได้แก่
ทั้งนี้ทางโตชิบายืนยันว่าดิสก์ตระกูล NAS อย่าง N300 ที่มีการเขียนข้อมูลสูงจะไม่มีการใช้ SMR
หลังจากสัปดาห์นี้มีข่าวว่าฮาร์ดดิสก์หลายรุ่นถูกเปลี่ยนเทคโนโลยีการอ่านเขียนจาก CMR แบบเดิมๆ กลายเป็น SMR ที่ต้นทุนถูกกว่า ล่าสุดทาง Western Digital ก็ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่าดิสก์รุ่นใดเป็น SMR บ้าง
ตารางรายชื่อรุ่นของ Western Digital แสดงให้เห็นว่าบริษัทใช้ SMR กับฮาร์ดดิสก์ความจุขนาดกลาง โดยในดิสก์ 3.5 นิ้วความจุ 8TB ขึ้นไปนั้นยังคงเป็น CMR ทั้งหมด โดยรายชื่อที่เปิดออกมามีเฉพาะกลุ่มตลาดคอนซูมเมอร์ที่ซื้อปลีก ได้แก่ WD Red, WD Red Pro, WD Blue, WD Black, และ WD Purple ตระกูลที่ไม่มี SMR เลยคือ WD Red Pro และ WD Purple
ผู้ใช้ฮาร์ดดิสก์เริ่มรายงานถึงดิสก์ล็อตใหม่ๆ เช่น WD RED, Seagate Barracuda, หรือ Toshiba ที่รหัสใหม่ๆ กลับเป็นดิสก์ที่ใช้เทคโนโลยี SMR (shingled magnetic recording) ที่ประสิทธิภาพต่ำกว่าดิสก์แบบเดิมๆ มาก ทำให้ประสิทธิภาพรวมต่ำลง จนบางคนพบว่าระบบ storage array ตัดดิสก์ออกจากระบบ
ลูกค้าองค์กรแต่ละที่มีการเก็บข้อมูลที่แตกต่างกัน ใช้แอปพลิเคชั่นที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องการสตอเรจที่แตกต่างกันในเรื่องความเร็ว ขนาดข้อมูล การเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ฟีชเจอร์ฟังก์ชั่นและความทนทาน
ซีเกตระบุกับเว็บ ArsTechnica ว่าบริษัทเตรียมวางตลาดฮาร์ดดิสก์ที่ใช้เทคโนโลยี Heat Assisted Magnetic Recording (HAMR) ขนาด 20TB ภายในปีนี้ หลังจากบริษัทประกาศวิจัยเทคโนโลยี HAMR มาตั้งแต่ปี 2002
ประกาศของซีเกตครั้งนี้ใกล้เคียงกับ Western Digital ที่ประกาศวางขายฮาร์ดดิสก์ขนาด 20TB ภายในปีนี้เช่นกัน แม้ว่าทาง Western Digital นั้นจะส่งมอบฮาร์ดดิสก์ให้ลูกค้าบางรายไปก่อนแล้ว
ซัมซุงเปิดตัวไดรฟ์ SSD แบบพกพา Portable Solid State Drive T7 Touch มีจุดเด่นตรงที่อ่านลายนิ้วมือบนตัวไดรฟ์ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูล
Samsung Portable SSD T7 Touch มีให้เลือก 3 ความจุคือ 500GB/1TB/2TB, เชื่อมต่อผ่าน USB 3.2 (Gen 2, 10 Gbps), ความเร็วการอ่านข้อมูล 1050MBps, ความเร็วการเขียน 1000Mbps, มีระบบเข้ารหัส AES 256 บิต, น้ำหนักเบาเพียง 58 กรัม, ประกันนาน 3 ปี
ราคาขายอยู่ที่ 129.99 ดอลลาร์สำหรับรุ่น 500GB (ประมาณ 4 พันบาท), 299.99 ดอลลาร์สำหรับรุ่น 1TB และ 399.99 ดอลลาร์สำหรับรุ่น 2TB
เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของระบบไอทีในอนาคต การจัดเก็บข้อมูลที่มหาศาล ให้มีประสิทธิภาพ ระบบ storage จึงนับเป็นหัวใจหลักในการจัดการเงื่อนไขนี้ ทาง Metro Connect ได้จัดโปรโมชั่นส่งท้ายปลายปีให้กับองค์กรธุรกิจ ที่กำลังมองหาระบบจัดเก็บข้อมูล โดยจะแถม Cache ฟรี 2 เท่า มูลค่ากว่า 40,000 บาท เมื่อซื้อ IBM Storwize V5010E โปรโมชันหมดเขตภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2019 นี้เท่านั้น!
ที่งาน Ignite ไมโครซอฟท์โชว์โครงการวิจัย Project Silica สตอเรจถาวรสำหรับเก็บข้อมูลระยะยาว เช่น แสกนฟิล์มต้นฉบับ ที่ต้องการเก็บข้อมูลป้องกันความเสียหายระยะยาว
แผ่นแก้วควอตซ์ขนาด 75x75x2 ลูกบาศก์มิลลิเมตร ใช้เก็บข้อมูลขนาด 75.6 กิกะไบต์พร้อมข้อมูลแก้ไขความผิดพลาด โดยไมโครซอฟท์หวังว่าจะมันจะทนทานระดับร้อยปี แต่ละบิตจะถูกเข้ารหัสเป็น voxel สามมิติ ที่ความหนา 2 มิลลิเมตรสามารถเก็บ voxel ได้ 100 ชึ้น
การเก็บข้อมูลระยะยาวเป็นค่าใช้จ่ายที่สูง ฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปต้องการอัพเดตสตอเรจทุกๆ 3-5 ปี หรือเทปแม่เหล็กต้องเปลี่ยนม้วนเทปทุกๆ 5-7 ปี บริษัทภาพยนตร์อย่าง Warner Bros. ระบุว่าบริษัทต้องเปลี่ยนสตอเรจทุกๆ 3 ปีก่อนที่สื่อเก็บข้อมูลจะเสื่อม
เมื่อสองวันก่อนไมโครซอฟท์เปิดตัว Azure Synapse บริการคิวรีข้อมูลขนาดใหญ่ ที่อัพเกรดมาจาก Azure SQL Data Warehouse ที่งาน Ignite ผมมีโอกาสพูดคุยกับ John Macintyre ผู้จัดการกลุ่มสินค้า Azure Synapse ได้ข้อมูลเพิ่มเติมถึงบริการตัวนี้
ความนิยมในการเก็บข้อมูลแบบ key-value (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระแส NoSQL) เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลัง ตัวอย่างฐานข้อมูลแบบ key-value ที่ได้รับความนิยมอย่างสูงคือ Redis ที่ถูกนำไปใช้โดยบริการคลาวด์ยักษ์ใหญ่ทั้ง AWS, Azure, GCP
ในฝั่งของกลุ่มอุตสาหกรรมเองก็เกิดความเคลื่อนไหวสร้างมาตรฐานของ key-value ขึ้นมา โดยกลุ่ม Storage Networking Industry Association (SNIA) ออกมาตรฐาน Key Value Storage API Specification เวอร์ชัน 1.0 และกลายเป็นว่าฝั่งผู้ผลิตฮาร์ดแวร์สตอเรจอย่างซัมซุง ได้พัฒนา SSD ที่ออกแบบมาสำหรับเก็บข้อมูล key-value แล้ว
Western Digital ประกาศความพร้อมในการผลิตฮาร์ดดิสก์ Ultrastar DC HC550 ความจุ 18TB และ Ultrastar DC HC650 ความจุ 20TB โดยจะเริ่มส่งมอบให้กับลูกค้าบางรายภายในสิ้นปีนี้
ตอนนี้สายการผลิตฮาร์ดดิสก์ระดับองค์กรของ Western Digital ประกอบไปด้วย