HGST (ที่ตอนนี้อยู่ในเครือ Western Digital แล้ว) เปิดตัวฮาร์ดดิสก์ Hs14 ความจุ 14TB สำหรับศูนย์ข้อมูลที่ต้องการเก็บข้อมูลจำนวนมาก
ในตัวฮาร์ดดิสก์อัดฮีเลียมเอาไว้ โดยใช้ชื่อการค้าว่า HelioSeal ตัวดิสก์ใช้เทคโนโลยี shingled magnetic recording (SMR) รุ่นที่สอง อายุการใช้งานเฉลี่ย 2.5 ล้านชั่วโมง
ทาง HGST ยังไม่ได้แจ้งราคา และตอนนี้ตัวดิสก์ยังส่งมอบให้กับผู้ผลิตจำนวนหนึ่งเท่านั้น แม้ว่าราคาต่อความจุอาจจะแพงกว่ารุ่นที่ความจุต่ำกว่า แต่ทาง HGST ระบุว่าเมื่อคำนวณพื้นที่ศูนย์ข้อมูล, การใช้พลังงานต่อความจุ, ระบบหล่อเย็น, และค่าบำรุงรักษาแล้ว Hs14 ก็ยังคุ้มค่าอยู่
เคยมีข่าวแล้วว่า Seagate มีแผนทำฮาร์ดดิสก์ขนาด 12TB ไปจนถึง 16TB ล่าสุดตัว 12TB เปิดตัวแล้วในรุ่น BarraCuda Pro ขนาด 3.5 นิ้ว สำหรับผู้ใช้เดสก์ท็อปและ IronWolf / IronWolf Pro สำหรับติดตั้งกับ NAS
ความเร็วของจานหมุนทั้ง 3 รุ่นอยู่ที่ 7,200 rpm พร้อมแคชขนาด 256MB อินเทอร์เฟส SATA III ส่วนของ IronWolf รองรับ NAS สูงสุด 8 Bayและ IronWolf Pro ได้สูงสุด 16 Bay โดย BarraCuda Pro และ IronWolf Pro ประกันให้ 5 ปี ส่วน IronWolf ประกัน 3 ปี
สิ้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Western Digital ได้เปิดตัว SSD รุ่นใหม่สองตัวภายใต้ยี่ห้อ SanDisk และ WD เอง (WD ได้ซื้อกิจการ SanDisk ไปเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว) และทาง WD ได้ส่ง SSD ทั้งสองตัวนี้มาให้รีวิวครับ
หากจะให้พูดสั้นๆ ก็ต้องบอกว่า SSD ทั้งสองตัวนี้ต่างกันแค่ “สติกเกอร์ที่แปะอยู่” และ “บรรจุภัณฑ์” เท่านั้น ทั้งสเปก, ราคา และการรับประกันก็เหมือนกันทั้งหมด เรียกได้ว่าศรัทธายี่ห้อไหนก็หยิบอันนั้นได้เลย โดยผมได้รับรุ่นความจุขนาด 1TB แบบ SATA มาทดสอบนะครับ
เมื่ออุตสาหกรรมรถยนต์เริ่มเปลี่ยนผ่านและมีเทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องมากขึ้น บริษัทด้านเทคโนโลยีก็เริ่มเข้ามามีส่วนร่วมกันมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดซัมซุงเปิดตัวโซลูชันหน่วยความจำ Universal Flash Storage แบบฝังตัวในชื่อ eUFS (embeded UFS) สำหรับรถยนต์อัจฉริยะ
eUFS มีสองขนาดคือ 128GB และ 64GB รองรับแอปพลิเคชันอย่างระบบไร้คนขับ, แดชบอร์ดและระบบ infotainment ที่ฉลาดมากขึ้นบนรถยนต์รุ่นใหม่ๆ และรถยนต์ในอนาคต โดย eUFS มาตามมาตรฐาน JEDEC UFS 2.1 ทำให้ได้ความเร็วในการอ่านสูงสุด 850MBps และความเร็วในการอ่านแบบสุ่มสูงสุดที่ 45,000 IOPS
Hitachi Data Systems (HDS) บริษัทลูกด้านผลิตภัณฑ์สตอเรจองค์กรของฮิตาชิ ประกาศเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็น Hitachi Vantara
การเปลี่ยนชื่อครั้งนี้ไม่ได้เป็นแค่การรีแบรนด์ แต่ยังเป็นการผนวกเอาบริษัทในเครืออีก 2 รายคือ Hitachi Insight Group และ Pentaho บริษัทซอฟต์แวร์ Business Intelligence ที่ซื้อมาในปี 2015 เข้ามารวมเป็นบริษัทเดียวกันด้วย
ธุรกิจของ Hitachi Vantara ยังจะเน้นเรื่อง "ข้อมูล" เช่นเดิม โดยเป็นโซลูชันครบวงจรตั้งแต่การจัดการข้อมูล (data management) ไปจนถึงการวิเคราะห์ข้อมูล (data analytics) แถมบริษัทยังประกาศขยายตลาดไปยังข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT ผ่านซอฟต์แวร์ Lumada 2.0 อีกด้วย
ช่วงนี้ Western Digital มีความเคลื่อนไหวเรื่องซื้อกิจการอย่างคึกคัก หลังจากซื้อบริษัทคลาวด์ Upthere ก็ตามมาด้วยการประกาศซื้อ Tegile Systems บริษัทด้านสตอเรจแบบแฟลชสำหรับตลาดองค์กร
Tegile ก่อตั้งเมื่อปี 2012 มีจุดเด่นที่ผลิตภัณฑ์สตอเรจแบบ persistent memory ที่แบ่งระดับของสตอเรจตามการใช้งาน (มีทั้งแบบหน่วยความจำ แฟลช และฮาร์ดดิสก์) สินค้าของบริษัทใช้แบรนด์ IntelliFlash ทำตลาด โดยมีทั้งแบบแฟลชล้วน, แบบ NVMe ที่เน้นประสิทธิภาพสูงสุด และแบบไฮบริดที่เน้นราคาคุ้มค่า ปัจจุบันบริษัทมีลูกค้าอยู่ประมาณ 1,700 ราย
Tegile จะถูกผนวกเข้าในส่วนของ Western Digital Data Center Systems (DCS) ที่ทำตลาดศูนย์ข้อมูลองค์กร
Western Digital เปิดตัวหน่วยความจำแบบ 3D NAND SSD ที่มีการจัดเรียงแผ่นชิป NAND ใหม่ ช่วยทำลายข้อจำกัดของหน่วยความจำแบบ 2D NAND โดยการวางแผ่น 3D NAND ของ WD จะเป็นแบบ 64 เลเยอร์ มาใน 2 แบรนด์คือ WD Blue และ SanDisk Ultra
ด้านสเปคทั้ง WD Blue และ SanDisk มีสเปคใกล้เคียงกันคือใช้อินเทอร์เฟสแบบ SATA III 6GB/s โดย WD Blue มีตัวเลือกเป็น M.2 มาให้ด้วย อัตราการอ่านเขียนอยู่ที่ 560/530 MB/s ส่วนอัตราการอ่านเขียนแบบสุ่มอยู่ที่ 95K/84K ยกเว้นรุ่นความจุ 250GB ที่ความเร็วอ่านเขียนอยู่ที่ 550/525 MB/s และอัตราการเขียนสุ่มจะอยู่ที่ 81K
ราคาทั้งสองรุ่นจะเท่ากันในแต่ละความจุดังนี้
Samsung Electronics เตรียมลงทุนจำนวน 7 พันล้านดอลลาร์ในเวลา 3 ปีข้างหน้า เพื่อขยายกำลังการผลิตชิพเมมโมรี่ NAND flash ในเมืองซีอาน ประเทศจีน โดยตอนนี้ได้อนุมัติเงินจำนวน 2.3 พันล้านดอลลาร์แล้ว
ปัจจุบัน Samsung นั้นมีรายได้จากการผลิตคิดเป็น 38.3% ของรายได้จากการผลิตชิพเมมโมรี่ NAND flash ทั่วโลกในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน โดยการลงทุนครั้งนี้ โฆษกของ Samsung Electronics ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับกำลังการผลิตที่จะเพิ่มขึ้นว่าจะเพิ่มขึ้นได้เท่าไร
ที่มา - Reuters
PureStorage แถลงผลประกอบการประจำไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ 2018 (นับตามปฏิทินคือ พ.ค.-ก.ค. 2017) และประกาศเปลี่ยนตัวซีอีโอด้วย
Scott Dietzen ซีอีโอที่อยู่ในตำแหน่งนี้มาตั้งแต่ปี 2010 จะขยับขึ้นเป็นประธานบอร์ด และดึงเอา Charles Giancarlo อดีตผู้บริหารของ Cisco และอดีตซีอีโอของ Avaya มาดำรงตำแหน่งแทน ส่วนเหตุผลที่เปลี่ยนตัวก็มาจากตัวของ Dietzen เองที่รู้สึกว่าทำงานมานานพอแล้วและต้องการลงจากตำแหน่ง กระบวนการสรรหาซีอีโอคนใหม่เริ่มมาได้สักพักและคาดว่าจะต้องใช้เวลานาน 1 ปี แต่พอมาได้ Giancarlo ที่คุณสมบัติลงตัว ทำให้การเปลี่ยนผ่านรวดเร็วขึ้นมาก
Cisco ประกาศซื้อกิจการบริษัท Springpath ด้วยมูลค่า 320 ล้านดอลลาร์
Springpath เป็นบริษัทที่ทำซอฟต์แวร์สำหรับสตอเรจแบบ hyperconverged ที่ใช้ฮาร์ดแวร์ทั่วไปมาทำเป็นระบบสตอเรจสำหรับองค์กร บริษัทก่อตั้งในปี 2012 และเคยรับเงินลงทุนจาก Cisco มาครั้งหนึ่งแล้วในปี 2015 ทั้งสองบริษัทเคยมีสัมพันธ์ต่อกันในการพัฒนา HyperFlex ผลิตภัณฑ์สตอเรจแบบ hyperconverged ของ Cisco ที่เกิดจากซอฟต์แวร์ของ Springpath กับฮาร์ดแวร์ Cisco UCS
เป้าหมายในการซื้อกิจการของ Cisco ก็ชัดเจนว่าความร่วมมือกับ Springpath เป็นไปด้วยดี และต้องการนำ Springpath ไปต่อยอดในสินค้ากลุ่มสตอเรจของตัวเองนั่นเอง
Raghunath Nambiar ผู้บริหารฝ่ายเซิร์ฟเวอร์ UCS ของ Cisco ให้สัมภาษณ์กับ The Register ถึงแนวโน้มของการใช้สตอเรจแฟลชแบบ NVMe ในโลกของเซิร์ฟเวอร์
Nambiar บอกว่าเมื่อพูดถึง NVMe คนมักพูดถึงความเร็วที่เหนือกว่า แต่จริงๆ แล้วข้อดีของ NVMe คือเรื่องความจุที่เหนือกว่า SSD แบบดั้งเดิมต่างหาก ปัจจุบันไดรฟ์ SSD ขนาด 2.5 นิ้วจะมีความจุตันที่ 7TB ในขณะที่ NVMe จะขยายไปถึง 32TB ในไม่ช้า และเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กของ Cisco ก็จะมีความจุ 64TB หรือใหญ่กว่านั้นเป็นมาตรฐาน
ความเห็นของ Nambiar คือปริมาณข้อมูลที่ต้องเก็บและต้องประมวลผลจะเพิ่มขึ้นอีกมาก จนเครือข่าย Ethernet 100G ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย สิ่งที่โลกไอทีต้องการคือออกแบบระบบที่ throughput โดยรวมสูงขึ้น เพราะการพึ่งพาแต่สมรรถนะของซีพียูหรือจีพียูที่ดีขึ้นเพียงอย่างเดียว จะไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน
ผลิตภัณฑ์สตอเรจในปัจจุบันที่เป็นยุคของคลาวด์ จำเป็นต้องตอบสนองรูปแบบการใช้งานใหม่ๆ โดยเฉพาะการเก็บข้อมูลแบบ unstructured data ที่มีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งการที่ข้อมูลมีปริมาณเติบโตอย่างรวดเร็ว การขยายขีดความสามารถของสตอเรจให้รองรับข้อมูลได้อย่างเพียงพอ ก็ถือเป็นความท้าทายอีกประการหนึ่ง
ยักษ์ใหญ่ของวงการสตอเรจองค์กร Dell EMC มีผลิตภัณฑ์ออกแบบมาเพื่อจับลูกค้ากลุ่มนี้ นั่นคือ Isilon
การนำข้อมูลขนาดใหญ่ย้ายขึ้นคลาวด์ยังเป็นอุปสรรคสำคัญของการเปลี่ยนมาใช้คลาวด์อยู่เสมอ บางครั้งการนำข้อมูลใส่ฮาร์ดดิสก์แล้วส่งไปยังศูนย์ข้อมูล อาจเร็วกว่าการอัพโหลดผ่านเครือข่ายด้วยซ้ำ
ในอดีตเราเคยเห็น อเมซอนเปิดตัว Snowball ฮาร์ดดิสก์พร้อมส่งไปรษณีย์สำหรับโหลดข้อมูลเข้า AWS และล่าสุดฝั่งกูเกิลก็ประกาศทำแบบเดียวกันกับ Google Cloud Platform
Pure Storage เป็นบริษัทผู้ขายฮาร์ดแวร์สตอเรจองค์กรแบบ all-flash (ทั้งหมดเป็นแฟลช ไม่ใช้ฮาร์ดดิสก์) อีกรายที่มาแรงในช่วงหลัง ล่าสุด Pure Storage เริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทย และทาง Blognone ก็มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้บริหารของ Pure Storage ในระดับเอเชียแปซิฟิกคือคุณ Micheal Alp และ Jason Nadeau
Pure Storage เพิ่งจัดงานสัมมนาใหญ่ประจำปี Pure//Accelerate 2017 ไปเมื่อเดือนมิถุนายน ส่งผลให้ผู้บริหารนำข้อมูลจากงานใหญ่มาเล่าต่อที่ประเทศไทยได้แบบสดใหม่ไม่ทิ้งช่วงจนนานเกินไป
Viking Technology เปิดตัวไดรฟ์ SSD รุ่น UHC-Silo ความจุมโหฬาร 50TB ในขนาดไดรฟ์ 3.5 นิ้ว ต่อกับเมนบอร์ดด้วย SAS 6Gb เหมาะกับดาต้าเซ็นเตอร์ที่อาจมีข้อจำกัดเรื่องการติดตั้งไดรฟ์
ด้านสเปคอาจไม่โดดเด่นเรื่องความเร็วนัก เพราะมีอัตราอ่านเขียนที่ 500/350 MB/s อัตราอ่าน/เขียนแบบสุ่มที่ 60K/10K IOPS ใช้ชิปแฟลชแบบ MLC กินไฟ 16 วัตต์ ไม่ระบุว่าใช้ชิปคอนโทรลเลอร์ของใครครับ
Micron Technology ผู้ผลิตอุปกรณ์เก็บข้อมูลได้ประกาศยกเลิกธุรกิจการขายปลีกอุปกรณ์ทุกชนิดในแบรนด์ Lexar อย่างเป็นทางการ และเตรียมขายธุรกิจแบรนด์ Lexar ไม่ว่าจะเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดให้กับผู้ที่สนใจจะเข้ามาซื้อ
สำหรับสินค้าภายใต้แบรนด์ Lexar มักจะเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลแบบถอดได้ ปัจจุบันมีหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น แฟลชไดรฟ์, เครื่องอ่านการ์ด, SSD, เมมโมรี่การ์ดหลายประเภท ทั้ง SD, CompactFlash, microSD, CFast, XQD
ในงาน Dell EMC World 2017 วันแรก ได้มีการประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่หลายอย่าง รวมทั้งเผยยุทธศาสตร์สำคัญของ Dell Technologies ซึ่งคำสำคัญที่ Dell Techonologies คือการเตรียมพร้อมสู่โลกยุค Digital Transformation
ซีอีโอ Michael Dell กล่าวเปิดงานโดยเริ่มจากการย้ำว่าทุกธุรกิจกำลังเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงในยุคใหม่ ตั้งแต่วิธีดำเนินธุรกิจ ไปจนถึงวิธีติดต่อกับลูกค้า ทำให้กระบวนการของไอทีแบบดั้งเดิมไม่สามารถรองรับได้ ซึ่งเดลล์มีโซลูชันรองรับการเปลี่ยนผ่านนี้ที่ครบทุกส่วน
Micron คืออีกหนึ่งผู้ผลิตชิปแฟลชเมมโมรีที่ล่าสุดเขาเปิดตัวสถาปัตยกรรม SSD แบบใหม่ ชื่อ SolidScale ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ SSD ระดับดาต้าเซ็นเตอร์ โดยระบุว่าปัจจุบันนี้เราใช้งานประสิทธิภาพของ SSD แบบ NVMe แค่ 30-40% ของประสิทธิภาพจริงเท่านั้นทั้งอัตรา IOP และความจุ
SolidScale จะเข้ามาเพิ่มความสามารถให้ SSD ทำงานแชร์ทรัพยากรไปยังเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่นในกลุ่มเดียวกันได้ สเกลขยายขนาดได้ผ่านซอฟท์แวร์ โดยพัฒนาต่อยอดจาก NVMe over Fabric (NVMeoF) เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์เครื่องอื่นๆ ด้วยโปรโตคอล RDMA over Converged Ethernet (RoCE) ดูคลิปประกอบน่าจะเข้าใจได้มากขึ้นครับ โดยตัวเลขความเร็วที่ Micron เคลมอยู่ที่ 10.9M IOPS เมื่อวัดกับโนด SolidScale ขนาด 2U จำนวน 3 ตัว พร้อมจำหน่ายจำนวนมากในปี 2018
ตามหลังเหตุการณ์อื้อฉาวของ Huawei ที่ออกมายอมรับว่า P10/P10 Plus มีสเปกหน่วยความจำหลายชนิด ล่าสุดฝั่งเรือธงของซัมซุง คือ Galaxy S8/S8+ ก็ดูท่าจะมีปัญหาคล้ายๆ กันแล้ว หลังมีผู้ใช้จากต่างประเทศพบว่าชิปหน่วยความจำที่ใช้ในมือถือรุ่นดังกล่าว มีทั้ง UFS 2.0 และ 2.1
หน่วยความจำที่ใช้ใน Galaxy S8/S8+ มาจากผู้ผลิตสองเจ้า คือซัมซุงผลิตเอง และจากโตชิบา โดยตามรายงานระบุว่าหน่วยความจำที่ผลิตโดยโตชิบามีทั้ง UFS 2.0 และ 2.1 ซึ่งตรวจสอบได้ด้วยการใช้แอพ Terminal Emulator แล้วพิมพ์คำสั่ง
เมื่อวานนี้ (1 พฤษภาคม 2560) ตัวแทนผู้บริโภคที่ใช้สมาร์ทโฟน Huawei รุ่น Mate 9 ที่ระบุว่าได้รับผลกระทบกรณีสงสัยว่าโทรศัพท์มือถือรุ่นดังกล่าวใช้ชิ้นส่วนหน่วยความจำไม่ตรงสเปกที่โฆษณาไว้หรือไม่ ได้เดินทางไปที่สำนักงานของ สคบ. เพื่อทดสอบสมาร์ทโฟนร่วมกับพยานหลายฝ่าย
ผู้ที่เข้าร่วมการทดสอบประกอบไปด้วยตัวแทนผู้บริโภค, เจ้าหน้าที่ของ สคบ. รวมถึงกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ทั้งจาก NECTEC, กสทช., คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยในการทดสอบ ผู้บริโภคได้นำโทรศัพท์ Huawei Mate 9 มาด้วยจำนวน 7 เครื่อง และ Mate 9 Pro จำนวน 4 เครื่อง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้สุ่มออกมาทดสอบรุ่นละ 3 เครื่อง
ผลการทดสอบออกมาว่าโทรศัพท์ทุกเครื่องผ่านเกณฑ์มาตรฐานของหน่วยความจำ UFS 2.1 ซึ่งบริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) ได้ยึดมาตรฐานความเร็วที่ 500 MB/s อย่างไรก็ตาม สคบ. ไม่ได้เปิดเผยวิธีทดสอบความเร็วแต่อย่างใด
เดี๋ยวนี้แหงนมองฟ้าก็เจอแต่โดรน และการเก็บภาพนิ่งและวิดีโอก็ต้องพึงพาสื่อบันทึกข้อมูล ล่าสุด Seagate ร่วมมือกับ DJI เปิดตัว Fly Drive ไดรฟ์พกพาความจุสูงสุด 2TB ซึ่งสามารถเก็บวิดีโอ 4K 30FPS ได้ 60 ชั่วโมง มากับสล็อตอ่าน microSD รองรับสปีด UHS-II ในตัว ใช้พอร์ต USB-C รับทั้งมาตรฐาน USB3.1 และ Thunderbolt 3.0 มีขอบยางกันกระแทก และมี Adobe Premier Pro CC ให้ใช้ฟรี 2 เดือน ราคาจำหน่าย 119.99 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 4,150 บาท) คาดวางจำหน่ายในฤดูร้อนของสหรัฐฯ
จากเหตุการณ์ Huawei P10/P10 Plus ใช้แรมและหน่วยความจำหลายชนิด รวมถึงเกิดความสงสัยว่า Mate 9 มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวด้วยหรือไม่ ล่าสุด Huawei ประเทศไทยได้แถลงผ่านหน้าเฟซบุ๊กของบริษัทแล้ว
Huawei ประเทศไทยระบุว่ามาตรฐาน UFS 2.1 และ 2.0 มีความเร็วเท่าเทียมกัน ระหว่าง 249.6 - 583.04 MB/s และใน Huawei Mate 9 เป็นไปตามมาตรฐาน UFS 2.1
ส่วนในรุ่น P10/P10 Plus ได้บอกเหมือนกับที่ Huawei ต่างประเทศได้แถลงมาก่อนหน้านี้ คือบริษัทฯ มีมาตรฐานในการเลือกใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือทั่วโลก เพื่อให้มีปริมาณการผลิตที่เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค พร้อมยืนยันว่าทั้ง P10/P10 Plus และ Mate 9 ใช้แรม LPDDR4 (โพสต์ต้นทางใช้คำว่า DDR4)
นอกจากนี้หากลูกค้ามีข้อสงสัย สามารถติดต่อศูนย์บริการลูกค้าที่ MBK Center ได้ระหว่างเวลา 10.30 - 19.30 น.
ที่มา - Facebook: Huawei Mobile
หลังจากที่ Huawei ถูกวิจารย์อย่างหนักจากกรณีทีP10/P10 Plus มีสเปกแรมและหน่วยความจำหลายชนิด ผู้ใช้ไม่มีโอกาสทราบก่อนซื้อเลยนั้น ล่าสุด Huawei ประเทศไทยออกคำแถลงการณ์ผ่าน Facebook page ของบริษัทฯ แล้ว
โดยสรุป Huawei ชี้แจงว่า interface หน่วยความจำมาตรฐาน UFS 2.1 (JEDEC Standard No.220C) และ UFS 2.0 (JEDEC Standard No.220 B) มีอัตราความเร็วเท่าเทียมกัน ระหว่าง 249.6 - 583.04 MB/วินาที หรือ 2496 - 5830.4 Mb/วินาที และใช้ ram DDR4 ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ศูนย์บริการลูกค้าหัวเว่ย สาขา เอ็มบีเค เซ็นเตอร์
อย่างไรก็ตาม จากคำแถลงการณ์ดังกล่าวไม่มีการกล่าวถึงหน่วยความจำ eMMC 5.1 และ ram DDR3 ที่เป็นประเด็นแต่อย่างใด
ที่มา: Huawei Mobile ผ่าน TechXcite
นาทีนี้เรื่องฉาวสุดในวงการโทรศัพท์มือถือคงเป็นกรณีที่ Huawei P10/P10 Plus ใช้แรมและหน่วยความจำหลายชนิด ซึ่ง Huawei อ้างว่าไม่ได้หลอกลวงเพราะไม่ได้บอกตั้งแต่แรกแล้ว ต่างกับรุ่น Mate 9 สมาร์ทโฟนเรือธงของปลายปี 2016 ที่หน้าเว็บบอกชัดว่าใช้หน่วยความจำแบบ UFS 2.1
ล่าสุด มีคนตาดีไปเจอว่า Huawei ได้นำคำว่า UFS 2.1 ออกจากหน้าเว็บของ Mate 9 แล้วอย่างเงียบๆ คงเหลือไว้เฉพาะแรมที่ยังบอกว่าเป็น LPDDR4 จึงทำให้น่าสงสัยว่า Mate 9 ถูก "เนียน" ใช้ชิปหน่วยความจำแบบอื่นด้วยหรือไม่ และขณะนี้ Huawei ยังไม่ได้ออกมาให้ข้อมูลใดๆ
อย่างไรก็ตาม จากเหตุการณ์ของ P10/P10 Plus ทาง Huawei ระบุว่าตัวเลขการทดสอบไม่สามารถบอกอะไรได้ในการใช้งานจริง เพราะมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่กระทบกับความเร็วของหน่วยความจำ
ดูภาพเปรียบเทียบหน้าเว็บ Huawei Mate 9 ได้ท้ายข่าว
ที่มา - Android Authority
หนึ่งในสมาร์ทโฟนยอดฮิตในขณะนี้ย่อมหนีไม่พ้น Huawei P10 และ P10 Plus ที่เพิ่งเปิดตัวและวางจำหน่ายไปไม่นาน และก็มีข่าวว่าผู้ใช้พบว่าการทดสอบเบนช์มาร์กด้านความเร็วหน่วยความจำในหลายๆ เครื่องได้ผลต่างกันมาก ล่าสุด Huawei ออกมายอมรับแล้วว่า P10 และ P10 Plus ที่วางจำหน่ายอยู่จะมาพร้อมสเปกแรมและหน่วยความจำที่แตกต่างกันไป
Huawei ระบุว่าแรมของ P10 และ P10 Plus จะมีทั้งแบบ LPDDR3 และ LPDDR4 และหน่วยความจำจะมีทั้ง UFS 2.0, UFS 2.1 และ eMMC 5.1 เลยทีเดียว โดยแรม LPDDR3 และ LPDDR4 ตามสเปกแล้วมีแบนด์วิดท์ต่างกันถึงเท่าตัว คือ 12.8GB/s และ 25.6GB/s และใช้ไฟที่ 1.2 และ 1.1 โวลต์ตามลำดับ ส่วนหน่วยความจำ UFS 2.0 กับ 2.1 ไม่ค่อยต่างกัน แต่ทั้งสองแบบนั้นเร็วกว่า eMMC 5.1 อย่างมาก ตามตารางด้านล่าง