Sundar Pichai ในฐานะซีอีโอของกูเกิลและ Alphabet บริษัทแม่ ประกาศว่าบรษัทได้สมาชิกบอร์ดคนใหม่คือ ผู้ชนะรางวัลโนเบลสาขาเคมีในปี 2018 Frances Arnold
Arnold เป็นวิศวกรเคมีและศาสตราจารย์ที่สถาบัน California Institute of Technology โดยรางวัลโนเบลได้มาจากการที่เธอศึกษาเรื่องวิวัฒนาการของเอนไซม์ ถือเป็นผู้หญิงคนที่ 5 ที่ได้รางวัลโนเบลสาขาเคมี เธอเติบโตในเพนซิลเวเนีย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกลและการบินและอวกาศจากมหาวิทยาลัย Princeton University และปริญญาเอกด้านวิศวกรรมเคมีจาก University of California
Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิล ให้สัมภาษณ์ Nikkei Asian Review พูดถึงประเด็นน่าสนใจหลายอย่างทั้งเรื่องหัวเว่ย ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล, GDPR รวมถึงการสอบสวนเรื่องการผูกขาดทราฟิก
Donald Trump เปิดฉากถล่มกูเกิล โดยทวีตข้อความหา Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลโดยตรง และเล่นงานกูเกิลในหลายประเด็น
คำถามน่าสนใจที่ Sundar Pichai ซีอีโอ Google ตอบข้อสงสัยต่อหน้าสภาคองเกรสคือ Zoe Lofgren ส.ส.พรรคเดโมแครตถาม Pichai ว่าทำไมเวลาพิมพ์คำว่า idiot ในช่องค้นหาแล้วผลการค้นหาแสดงรูปโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มันเกิดขึ้นได้อย่างไร
Pichai ตอบว่า Google คำนวณลำดับการค้นหาจากหลายปัจจัย ทั้ง ความเกี่ยวข้อง, ความสดใหม่, ความนิยม, และการใช้งานของผู้ใช้คนอื่นๆ ดังนั้นในแต่ละช่วงเวลาการแสดงผลจึงให้ลำดับต่างกันไป
สาเหตุที่มีคำถามนี้ผุดขึ้นมาเพราะ ประเด็นที่สมาชิกสภาคองเกรสสนใจใน Google คือ ผลการแสดงการค้นหาที่โน้มเอียง กดเสียงอนุรักษ์นิยมเอาไว้ และ โดนัลด์ ทรัมป์ เคยโพสต์ Twitter วิจารณ์ Google ว่าแสดงแต่ข่าวที่ไม่ดีและข่าวปลอมเกี่ยวกับเขาด้วย
Sundar Pichai ซีอีโอ Google เข้าตอบข้อสงสัยต่อหน้าสภาคองเกรสเป็นเวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง โดยสิ่งที่สภาคองเกรสถาม Pichai ไม่ผิดจากที่คาดการณ์ไว้คือ วิธีที่ Google เก็บและใช้ข้อมูลเพราะกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของโซเชียลมีเดียในขณะนี้ ความโน้มเอียงของผลการค้นหา
ต่อจาก Mark Zuckerberg และ Jack Dorsey แห่ง Twitter ก็ถึงคราว Sundar Pichai ซีอีโอ Google ที่จะเข้าให้การและตอบข้อสงสัยต่อหน้าสภาคองเกรสในวันอังคารนี้ตามเวลาท้องถิ่น (11 ธันวาคม 2018) เน้นพูดคุยเรื่องความโปร่งใส, ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนตัว และวิธีที่บริษัทเก็บข้อมูลผู้ใช้งาน
จากประเด็นล่วงละเมิดทางเพศใน Google จนพนักงาน Google ประท้วงทั่วโลก ไม่พอใจที่บริษัทปกป้อง Andy Rubin ทั้งที่เขาคุกคามเพศ ซีอีโอ Google หรือ Sundar Pichai เขียนอีเมลถึงพนักงาน พูดถึงการยกเครื่องระบบและเปลี่ยนแปลงกระบวนการตรวจสอบคดีในองค์กรใหม่ ดังนี้
จากข่าว The New York Times ออกมาเปิดเผยเบื้องหลังการลาออกจาก Google ของ Andy Rubin ว่ามาจากพฤติกรรมคุกคามทางเพศลูกน้องในที่ทำงาน โดยอ้างแหล่งข่าวในบริษัทไม่เปิดเผยชื่อหลายราย ทำให้พนักงาน Google ทั่วโลก ร่วมกันประท้วงหยุดงานไม่พอใจที่บริษัทปกป้อง Andy Rubin มากเกินไป
ขณะนี้การประท้วงหยุดงานเริ่มต้นในหลายสำนักงานทั่วโลกคือ โตเกียว, สิงคโปร์, อิสราเอล, สวิตเซอร์แลนด์, เยอรมัน, อังกฤษ, ไอร์แลนด์, นิวยอร์ค, ซานฟรานซิสโก และที่สำนักงานใหญ่ Mountain View ด้วย
จากคดี Andy Rubin บิดาแอนดรอยด์ที่มีพฤติกรรมคุกคามทางเพศจนต้องลาออกจาก Google แต่ยังได้รับค่าตอบแทนจาก Google สูงถึง 90 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้พนักงาน Google ไม่พอใจหยุดงานประท้วง และที่ Google Plex ซานฟรานซิสโก ก็มีใบปลิวชักชวนให้หยุดงานประท้วงไม่เห็นด้วยกับแนวทางของ Google ที่ปกป้อง Rubin ถึงขนาดนี้
ล่าสุด Sundar Pichai ขึ้นเวทีสัมมนา DealBook จัดโดย The New York Times (ผู้เปิดเผยเรื่องราวของ Andy Rubin) เขาพูดถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า พวกเราสัมผัสได้ว่ามีความไม่พอใจในบริษัท แสดงให้เห็นว่า Google ไม่ได้ทำทุกอย่างได้ถูกต้องเสมอไป และเราให้สัญญาว่าจะทำให้มันดีกว่า
Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิลให้สัมภาษณ์บนเวที WIRED 25 ถึงประเด็นโครงการ Dragonfly ที่ให้บริการค้นหาในจีน ว่าในการทดสอบสามารถแสดงผลค้นหาให้ผู้ใช้ได้ถึง 99% และบริการยังสามารถแสดงข้อมูลที่มีประโยชน์ให้กับผู้ใช้ แทนที่จะต้องไปเสี่ยงกับข้อมูลสุขภาพปลอมๆ
Sundar ระบุว่าเป้าหมายของกูเกิลคือการนำข้อมูลไปให้ทุกคน และจีนเองมีประชากรถึง 20% ของประชากรโลก พร้อมกับระบุว่าเราต้องสร้างสมดุลระหว่างสิ่งต่างๆ ทั้งการเข้าถึงข้อมูล, เสรีภาพการแสดงออก, และความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ขณะเดียวกันกูเกิลก็ต้องเคารพกฎหมายของแต่ละประเทศด้วย
อย่างที่ทราบกันแล้วว่า Google+ บริการโซเชียลของกูเกิล ที่เคยหมายมั่นปั้นมาเป็น Social Network ตัวใหม่ ได้ประกาศปิดตัวในปีหน้า สิ่งน่าสนใจคือหลายคนก็ยังใช้งาน Google+ อยู่ เพียงแต่เมื่อไปดูผู้บริหารระดับสูงของกูเกิล ... พวกเขาเลิกใช้มาระยะหนึ่งแล้ว
Business Insider รวบรวม Google+ ของผู้บริหารระดับสูงในกูเกิล พบว่าทุกคนเลิกใช้ Google+ (โพสต์แบบสาธารณะ) มาเป็นเวลาพอสมควรแล้ว
Sundar Pichai ให้สัมภาษณ์รายการทีวีจัดโดย MSNBC และ Recode เว็บไซต์พี่น้องของ The Verge เขาพูดถึง AI ว่า เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่มนุษยชาติกำลังดำเนินการอยู่ และอาจมีความลึกซึ้งกว่าไฟและไฟฟ้าด้วยซ้ำ
Pichai กล่าวว่า คนเรียนรู้ที่จะใช้ไฟ-ไฟฟ้าเพื่อประโยชน์ต่อมนุษย์ ในขณะเดียวกันมันก็ฆ่าคนได้ ดังนั้นจึงต้องเอาชนะข้อเสียของมันให้ได้ด้วย AI ก็เช่นกัน
พิธีกรถามถึงบทบาท AI จะมาทดแทนแรงงานคน และข้อคิดเห็นที่ว่า บริษัทในซิลิคอนวัลเล่ย์มีอนาคตสดใสสำหรับการทำเทคโนโลยีมา disrupt ชีวิตคน Pichai ยอมรับว่าทุกคนมีสิทธิ์ที่จะกังวล แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะยอมรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยี AI ทำประโยชน์ได้หลากลาย เช่น แก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือรักษามะเร็งได้ Pichai บอกเพิ่มเติมว่า ประวัติศาสตร์สอนเราว่าประเทศที่ปิดกั้น จะทำได้ไม่ดีเมื่อมีโอกาสทางเทคโนโลยีมาถึง ดังนั้นจึงต้องยอมรับความเปลี่ยนแปลง
เมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว James Damore ที่ขณะนั้นเป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ของกูเกิลได้ส่งจดหมายเวียนเรื่องความหลากหลายทางเพศจนเกิดกระแสขึ้นมา ส่งผลให้เขาถูกไล่ออกจากบริษัทกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต เมื่อสัปดาห์ก่อนเขาและวิศวกรชายอื่นๆ ก็ได้ฟ้องกูเกิลที่เขาโดนไล่ออก โดยให้เหตุผลว่าละเมิดสิทธิตามกฎหมาย
ล่าสุด Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิลและ Susan Wojcicki (อ่านว่า โว-ชิส-กี้) ซีอีโอยูทูบได้ให้สัมภาษณ์กับ Recode และ MSNBC ว่าเหตุผลที่ไล่ Damore ออกเป็นเพราะต้องการทำให้ผู้หญิงในองค์กรมั่นใจว่าการทำงานที่กูเกิลนั้นให้ความรู้สึกอบอุ่น
เรื่องมีอยู่ว่านักเขียนชื่อ Thomas Baekdal ได้ทวีตตั้งคำถามว่า emoji รูปเบอร์เกอร์ที่กูเกิลใช้อยู่นั้น วางตำแหน่งแผ่นชีสไม่ถูกต้องโดยอยู่ใต้ชิ้นเนื้อ เมื่อเทียบกับของแอปเปิลที่วางไว้บนเนื้อ
เมื่อไปดูเพิ่มเติมที่เว็บ Emojipedia ก็จะพบว่ารูปเบอร์เกอร์ของทุกค่ายนั้น แผ่นชีสล้วนวางอยู่เหนือชิ้นเนื้อทั้งสิ้น มีเพียงกูเกิลรายเดียวที่วางไว้ด้านล่าง ซึ่งตามหลักแล้วชีสควรวางไว้บนเนื้อเพื่อให้สัมผัสความร้อนและละลาย พอชาวเน็ตถกเถียงกันอยู่นาน Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิลก็เลยออกมาพูดถึงเรื่องนี้เอง
โดยเขาทวีตตอบ Baekdal ว่า เขาจะหยุดทุกเรื่องแล้วมาดูปัญหานี้ในวันจันทร์ เพื่อหาข้อสรุปว่ากูเกิลต้องทำอย่างไรต่อไป
กระแสตีกลับเมื่อธุรกิจใดธุรกิจหนึ่งกำลังรุ่งเรืองและขยายกิจการครอบคลุมทุกพื้นที่ จนทำให้รู้สึกว่าธุรกิจนั้นๆ มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคส่วนใหญ่จนดูเหมือนเป็นการผูกขาดจนเกิดกระแสตีกลับขึ้นมา ปรากฏการณ์แบบนี้กำลังเกิดขึ้นกับบริษัทเทคโนโลยี หรือที่ตามหน้าสื่อต่างประเทศเรียกว่า Tech Backlash บริษัทที่อยู่อันดับบนของปรากฏการณ์นี้ก็หนีไม่พ้น Facebook, Google, Twitter ที่รายล้อมด้วยปัญหาข่าวปลอม Hate Speech คอนเทนต์รุนแรง รวมถึงเป็นแหล่งแพร่กระจายความเชื่อและชักชวนให้เข้าร่วมกลุ่มก่อการร้าย
เว็บไซต์ Bloomberg ได้สัมภาษณ์ Sundar Pichai ถึงปัญหาที่ปะทะ Google ในระยะนี้ ตั้งแต่ โฆษณาแฝงจากรัสเซีย ข่าวปลอม ไปจนถึงเรื่องบันทึกข้อความจากพนักงาน Google แสดงความเห็นเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และบรรดาแบรนด์สินค้าบอยคอต YouTube เพราะแบนเนอร์โฆษณาไปปรากฏคู่กับคอนเทนต์รุนแรง
จากเหตุการณ์ขบวนคนขาวเดินประท้วงที่ชาร์ลอตวิลส์ และเหตุก่อการร้ายที่บาร์เซโลนา ที่มีรถแวนพุ่งเข้าใส่ฝูงชนในย่านรัมบลาส จนมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 คน ทำให้ Sundar Pichai ต้องออกมาเขียนอีเมลถึงพนักงานและโพสต์ลงทวิตเตอร์ว่า เหตุการณ์ทั้งสองชั้ให้เห็นว่าการก่อการร้ายมีเป้าหมายชัดเจนคือเพื่อแยกเราออกจากกัน
Sundar ระบุอีกว่าไม่เพียงเหตุการณ์ที่ ชาร์ลอตวิลส์ และบาร์เซโลนา ยังมีเหตุการณ์ก่อการร้ายที่บูร์กินาฟาโซเมื่อสัปดาห์ที่แล้วด้วย เหตุการณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงผลร้ายที่ตามมาของความเกลียดชัง เป็นเรื่องยากที่จะหาจุดร่วม และหาทางออกที่ดีที่สุดท่ามกลางกระแสความเกลียดชังนี้ แต่ประวัติศาสตร์บอกเราแล้วว่า อย่างไรก็ต้องทำ
จากกรณีมีจดหมายเวียนจากพนักงาน Google เนื้อหาตั้งคำถามถึงประเด็นเพศในองค์กร จนเป็นประเด็นให้พูดถึงกันพอสมควรช่วงไม่กี่วันมานี้ ล่าสุด Google ปลด James Damore พนักงานตำแหน่งวิศวกรคอมพิวเตอร์ที่เขียนจดหมายเวียนดังกล่าวแล้ว
Damore เขียนอีเมลระบุว่าเขาถูกไล่ออก และกำลังมองหาช่องทางกฎหมายที่จะช่วยเยียวยาเรื่องนี้ และเมื่อวาน ซีอีโอ Sundar Pichai เขียนอีเมลถึงพนักงาน และมีเผยแพร่ผ่านบล็อกด้วย เนื้อหาส่วนหนึ่งระบุว่า เราสนับสนุนการแสดงความคิดเห็นของพนักงานอย่างเต็มที่ แต่เนื้อหาในจดหมายเวียนดังกล่าว "ละเมิดหลักจริยธรรมของเรา และการกำหนดรูปแบบระหว่างเพศก็ไม่สอดคล้องต่อสังคมการทำงานในบริษัทของเรา" อย่างไรก็ตาม Sundar ไม่ได้ระบุมาตรการต่อคนเขียนจดหมายเวียนว่าจะทำอย่างไรต่อไป จนกระทั่งมีข่าวปลดพนักงานคนนั้นออก
ไม่กี่วันก่อน Sundar Pichai ทวิตข้อความและรูปภาพ ระบุว่า Google เตรียมขยายทักษะงานดิจิทัลให้แก่ชาวแอฟริกันให้ได้ 10 ล้านคนภายใน 5 ปี พร้อมติดแฮชแท็ก #GoogleforNigeria วันเดียวกันนี้ Google ก็แถลงรายละเอียดโครงการผ่านบล็อกว่านอกจากจะฝึกอบรมทักษะงานแล้ว ยังรวมถึงการลงทุนในสตาร์ทอัพ ทำโครงการบ่มเพาะ รวมถึงปรับปรุงฟีเจอร์การใช้งาน Google และ YouTube ในภูมิภาคนี้ด้วย
Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2/2017 รายได้เพิ่มขึ้น 21% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 26,010 ล้านดอลลาร์ ส่วนกำไรสุทธิลดลง 28% อยู่ที่ 3,524 ล้านดอลลาร์ สาเหตุหลักจากเหตุการณ์ที่สหภาพยุโรปสั่งจ่ายค่าปรับราว 2,740 ล้านดอลลาร์ หากไม่รวมรายการนี้ กำไรสุทธิ Alphabet จะอยู่ที่ 6,260 ล้านดอลลาร์
กลุ่มธุรกิจใหม่ Other Bets มีรายได้ 248 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 34% แต่ยังขาดทุนอยู่ 772 ล้านดอลลาร์
ถึงแม้ในทางธุรกิจเป็นคู่แข่งกัน แต่ในแง่สายสัมพันธ์ระหว่างบุคคลก็ยังคบหาได้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีคนพบเห็น Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิล ไปนั่งทานข้าวกับ Tim Cook ซีอีโอแอปเปิลแบบ 1:1 ที่ร้านอาหารในเมือง Palo Alto ไม่ไกลจากสำนักงานใหญ่ของทั้งสองบริษัท
ไม่มีใครรู้ว่าการพูดคุยกันระหว่างสองซีอีโอระดับโลกมีเรื่องอะไรบ้าง แต่สำหรับคนที่อยากตามรอยไปกินบ้าง ร้านอาหารนี้ชื่อว่า Tamarine Restaurant เป็นร้านอาหารเวียดนาม
อ่านข่าวน่ารักๆ กันบ้างนะครับ เด็กหญิง Chloe Bridgewater อายุ 7 ขวบ จากเมือง Hereford ประเทศอังกฤษ เขียนจดหมายด้วยลายมือไปหากูเกิล เธอเล่าว่าโตขึ้นอยากทำงานที่กูเกิลเพราะมีเบาะเม็ดโฟมให้นั่ง รวมถึงมีสไลเดอร์ให้เล่น เธอบอกว่าอยากเป็นนักกีฬาว่ายน้ำโอลิมปิกเช่นกัน โดยเธอไปว่ายน้ำทุกวันเสาร์และอังคาร แต่เธอก็ชอบคอมพิวเตอร์ด้วย
เธอเล่าว่าพ่อให้เล่นเกมหุ่นยนต์ฝึกสมองในแท็บเลต เพราะจะช่วยเรื่องการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และจะซื้อคอมพิวเตอร์ให้ในอนาคต รวมถึงบอกเธอว่าถ้าตั้งใจเรียนและเป็นเด็กดีจะทำให้เข้าทำงานที่กูเกิลได้
สุดท้ายเธอเล่าว่าพ่อให้ส่งใบสมัครงานไปที่กูเกิล เธอไม่รู้ว่ามันคืออะไร พ่อจึงบอกว่าตอนนี้เขียนจดหมายไปก็โอเคแล้ว ซึ่งนี่เป็นจดหมายฉบับที่ 2 ในชีวิตที่เธอเคยเขียน โดยครั้งแรกเธอเคยเขียนให้พ่อในวันคริสต์มาส
พนักงานกูเกิลกว่า 2,000 คนรวมตัวประท้วงที่สำนักงานทั่วโลก แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับนโยบายแบนผู้อพยพจากประเทศมุสลิม 7 ประเทศเป็นการชั่วคราว โดยผู้ประท้วงต่างโพสต์รูป วิดีโอ และข้อความบนทวิตเตอร์ โดยใช้แฮชแทกว่า #GooglersUnite
การประท้วงเกิดขึ้นหลังจากพนักงานร่วมกันระดมทุนกว่าสองล้านดอลลาร์ จ่ายให้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อสนับสนุนการทำงานเรื่องผู้อพยพโดยเฉพาะ มีรายงานว่า Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิลก็อยู่ในเหตุการณ์ประท้วงที่สำนักงานใหญ่ในเมือง Mountain View ด้วย โดยเขากล่าวกับพนักงานว่าการต่อสู้ของเราต้องดำเนินต่อไป
เรียกแขกได้มากจริงๆ สำหรับนโยบายปิดกั้นผู้อพยพจากประเทศมุสลิม 7 ประเทศไม่ให้เข้าประเทศเป็นการชั่วคราว ผู้บริหารบริษัทไอทีเองก็มีปฏิกิริยาต่อต้านนโยบายดังกล่าว แม้ส่วนใหญ่เคยเข้าร่วมประชุมเป็นส่วนตัวกับทรัมป์มาแล้วเรื่องทิศทางเศรษฐกิจและบริหารประเทศ แต่ดูเหมือนนโยบายผู้อพยพจะล้ำเส้นจนต้องคนไอทีต้องออกมาแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วย
ไล่เรียงเหตุการณ์หลังจากเซ็นคำสั่งอนุมัติ ซีอีโอ Google เรียกตัวพนักงานที่เข้าข่ายกลับสหรัฐฯ Airbnb ประกาศบริการที่พักพิงฟรีให้ผู้อพยพที่ได้รับผลกระทบต่อมาผู้บริหารไอทีทยอยส่ง memo ให้พนักงาน สำนักข่าว Buzzfeed ไปรวบรวมมามีดังนี้
เมื่อวานนี้ ประธานาธิบดี Donald Trump เซ็นคำสั่งห้ามผู้อพยพเข้าประเทศ สร้างเสียงวิจารณ์มากมาย แต่ผลกระทบคือชาวต่างชาติจากประเทศมุสลิมที่ระบุในคำสั่งทั้งหมด 7 ประเทศ จะถูกห้ามเข้าสหรัฐอเมริกาชั่วคราว 90 วัน (ยกเว้นผู้อพยพจากซีเรียที่ถูกสั่งห้ามแบบไม่มีกำหนด)
หลังคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ หน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของสหรัฐก็ห้ามคนจากประเทศเหล่านี้เดินทางเข้าสหรัฐทันที และคนที่จะเดินทางเข้าสหรัฐจะไม่ได้รับการอนุญาตให้ขึ้นเครื่องจากต้นทาง แม้ว่ามีวีซ่าหรือกรีนการ์ดแล้วก็ตาม (ข้อมูลยังสับสนว่าผู้ถือกรีนการ์ดเข้าประเทศได้หรือไม่)
แอคเคาท์ Quora ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่เปิดพื้นที่ให้ผู้ใช้ได้ตั้งคำถามในประเด็นต่างๆ และร่วมกันตอบ ของ Sundar Pichai ซีอีโอ Google ถูกแฮ็กโดยกลุ่ม OurMine ที่เคยแฮ็กแอคเคาท์ทวิตเตอร์และ Pinterest ของ Mark Zuckerberg
เว็บไซต์ The Next Web ได้อีเมลสอบถามไปยังกลุ่ม OurMine และได้รับการตอบกลับมาว่าที่ทางกลุ่มทำไปนั้น เพื่อทดสอบกระบวนการรักษาความปลอดภัยเท่านั้น และไม่ได้เปลี่ยนพาสเวิร์ดหรือข้อมูลใดๆ ทั้งสิ้น โดยการแฮ็กครั้งนี้ OurMine อาศัยช่องโหว่ของ Quora ที่ทางกลุ่มเคยแจ้งไปยัง Quora แล้วแต่ไม่ได้รับการตอบกลับ