Uber กำลังถูกฟ้องในข้อหาเลือกปฏิบัติต่อผู้ขับขี่ที่ไม่ใช่คนผิวขาว ตัวคำฟ้องเน้นที่ระบบจัดเรตติ้งให้ดาวคนขับที่มีตั้งแต่ 1-5 ดาว ซึ่งถ้าคนขับได้เรตติ้งไม่ดีนานๆ เข้าจะนำไปสู่การระงับไม่อนุญาตให้มาขับ Uber อีกต่อไป ซึ่งคนขับที่ไม่ใช่คนขาวมักถูกระงับอยู่เรื่อยๆ จึงเป็นสาเหตุนำมาสู่การฟ้องเรื่องเลือกปฏิบัติ และเหยียดเชื้อชาติ สีผิว
ในคำฟ้องระบุว่า การใช้ระบบให้ดาวของ Uber ในการยุติสถานะผู้ขับขี่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากมีผลกระทบที่แตกต่างกันต่อผู้ขับขี่ที่ไม่ใช่คนผิวขาว และ Uber ทราบดีว่าผู้โดยสารมีแนวโน้มที่จะเลือกปฏิบัติในการประเมินผู้ขับขี่แต่ก็ยังคงใช้ระบบนี้ต่อไป
คนขับรถ Uber ในแคลิฟอร์เนียยื่นฟ้องบริษัท Uber โดยระบุว่าทางบริษัทกระทำผิดเนื่องจากใช้อำนาจทางเศรษฐศาสตร์กดดันให้ผู้ขับรถโหวตเห็นด้วยกับ Prop 22
ก่อนหน้านี้ แคลิฟอร์เนียเพิ่งออกกฎหมาย AB5 มาใหม่ โดยกำหนดให้พนักงานใน gig economy ที่บริษัทมักจะเลี่ยงไปใช้คำว่าคู่สัญญาทำให้พนักงานกลุ่มนี้ไม่ได้รับสวัสดิการขั้นพื้นฐานของพนักงาน (แต่ได้อิสระในเวลาทำงาน) ต้องได้รับสวัสดิการขั้นพื้นฐานเหมือนพนักงานประจำ ซึ่งกฎหมายนี้กระทบกับธุรกิจของ Uber, Lyft และบริษัท gig economy อื่น ๆ โดยตรง
ส่วน Prop 22 ที่กำลังจะจัดโหวตขึ้นในแคลิฟอร์เนียในเดือนหน้า กำหนดให้แยกบริษัท gig economy ออกจาก AB5 หรือให้บริษัทยังคงใช้สถานะพาร์ทเนอร์หรือคู่สัญญาต่อไปได้
Uber ประกาศความร่วมมือกับ SK Telecom ผู้ให้บริการเครือข่ายในเกาหลีใต้ โดย Uber จะลงทุนผ่านบริษัทร่วมทุนจัดตั้งใหม่ 100 ล้านดอลลาร์ และอีก 50 ล้านดอลลาร์ ใน T Map Mobility ที่เป็นบริษัทจัดตั้งใหม่นี้โดยตรง ทำให้เงินลงทุนรวมเป็น 150 ล้านดอลลาร์
T Map เป็นบริการแพลตฟอร์มบนมือถือรายใหญ่ของเกาหลีใต้ มีผู้ใช้งานราว 13 ล้านคน มีบริการหลักในเครืออาทิ T Map Taxi แอปเรียกรถแท็กซี่อันดับสองในประเทศ ไปจนถึง T Map Auto ระบบข้อมูลและความบันเทิงในรถยนต์, T Map Public Transportation และ T Map Parking
Uber ประกาศรับเงินทุนซีรี่ส์ A 500 ล้านดอลลาร์ จากกองทุน Greenbriar Equity Group เพื่อลงทุนในธุรกิจขนส่งสินค้า Uber Freight ทำให้มูลค่ากิจการเฉพาะส่วนธุรกิจนี้เพิ่มเป็น 3,300 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ Uber ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดใน Uber Freight โดยจะนำเงินทุนใหม่นี้มาขยายธุรกิจ ตลอดจนพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการขนส่ง
ตัวธุรกิจ Uber Freight นั้น Uber จะเป็นตัวกลางคอยจับคู่คนขับรถบรรทุกกับบริษัทที่ต้องการขนส่งสินค้า ซึ่งเป็นการลดความลำบากในอดีตระหว่างสองฝ่าย ที่ก่อนหน้านี้ใช้การเจรจาตกลงกันเป็นเวลานาน
ปีที่แล้ว Transport for London หรือ TfL หน่วยงานผู้ดูแลการคมนาคมในกรุงลอนดอน ปฏิเสธการต่อใบอนุญาตกิจการของบริษัท Uber เนื่องจากพวว่าระบบของบริษัทปล่อยให้ผู้ขับรถที่ไม่ได้รับอนุญาตอัพโหลดภาพผ่านบัญชีของผู้ขับรถคนอื่น
ล่าสุด ศาลมีคำตัดสินอนุญาตให้ Uber ให้บริการต่อในลอนดอนได้เป็นเวลา 18 เดือน ถือเป็นชัยชนะของบริษัท เพราะลอนดอนเป็นหนึ่งในตลาดสำคัญของ Uber มาตลอด และมีคนขับในระบบถึง 45,000 คน
ผู้พิพากษาชาวแคลิฟอร์เนียปฏิเสธที่จะให้ Uber และ Lyft มีเวลามากขึ้นในการอุทธรณ์คำตัดสินที่กำหนดให้ บริษัทต้องจัดประเภทผู้ขับขี่ในรัฐแคลิฟอร์เนียให้ทัดเทียมกับพนักงาน ยังคงยืนยันตามเดิมว่าต้องทำให้เสร็จสิ้นภายใน 10 วันนับจากวันตัดสิน ซึ่งครบกำหนด 20 สิงหาคมนี้
เท่ากับตอนนี้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่ Uber, Lyft ต้องปิดให้บริการในแคลิฟอร์เนียไปก่อน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองบริษัทจะยังยื่นอุทธรณ์ต่อไป
จากประเด็นศาลแคลิฟอร์เนียตัดสินให้ Uber และ Lyft ดูแลผู้ขับรถเหมือนพนักงานประจำภายใน 10 วัน ซึ่งเป็นไปตามกฎหมาย AB5 ซึ่งกำหนดให้คนทำงานใน gig economy ต้องได้รับสวัสดิการเทียบเท่าพนักงานประจำ Dara Khosrowshahi ซีอีโอ Uber ออกมาบอกว่า อาจต้องระงับการให้บริการในแคลิฟอร์เนียไปชั่วคราวจนกว่าศาลจะตัดสินใหม่
Ethan Schulman ผู้พิพากษา California Superior Court ได้ออกคำสั่งในขั้นต้น ให้ Uber และ Lyft ต้องจัดให้ผู้ขับรถที่อยู่ภายใต้สัญญาของทั้งสองบริษัทถือเป็นพนักงาน และทั้งสองบริษัทจะต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสถานะให้ถูกต้องภายใน 10 วัน
การตัดสินของศาลแคลิฟอร์เนียครั้งนี้ เป็นไปตามกฎหมาย AB5 ซึ่งกำหนดให้คนทำงานใน gig economy ต้องได้รับสวัสดิการเทียบเท่าพนักงานประจำ โดยผู้พิพากษาระบุว่า ถ้าจำเลยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย AB5 นั้น ธรรมชาติของการดำเนินธุรกิจจะต้องเปลี่ยนอีกมาก
Uber รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 2 ปี 2020 รายได้ 2,241 ล้านดอลลาร์ ลดลง 29% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อนหน้า แบ่งเป็นรายได้จากบริการรถโดยสารลดลง 67% (790 ล้านดอลลาร์) ส่วนบริการเดลิเวอรี่เพิ่มขึ้น 103% (1,211 ล้านดอลลาร์) สุทธิแล้วขาดทุน 1,775 ล้านดอลลาร์ ซึ่งลดลงจากปีก่อน
ซีอีโอ Dara Khosrowshahi กล่าวว่าการระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อธุรกิจรถโดยสารโดยตรง แต่ก็ทำให้ธุรกิจเดลิเวอรี่เติบโตสูง เนื่องจากคนต้องอยู่ที่บ้าน แต่ก็สั่งอาหารมาทานมากขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยเขาอธิบายเพิ่มเติมในช่วงแถลงผลประกอบการว่า ธุรกิจเดลิเวอรี่ถูกเปลี่ยนมาเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันของลูกค้า จากเดิมที่เป็นทางเลือก
Uber ประกาศเข้าซื้อ Autocab บริษัทในอังกฤษให้บริการทำ SaaS ให้กับอุตสาหกรรมรถแท็กซี่และรถเช่าส่วนตัว คาดว่าจะส่งผลประโยชน์แก่ Uber เพื่อจะเข้าถึงผู้ใช้งานในตลาดที่ Uber ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ทาง Uber ยังไม่เปิดเผยราคาเข้าซื้อ
Anthony Levandowski อดีตผู้ก่อตั้ง Otto สตาร์ทอัพรถไร้คนขับถูกศาลตัดสินจำคุก 18 เดือน ฐานขโมยความลับทางการค้าจาก Waymo โดยผู้พิพากษาตัดสินลดลงจากที่สำนักงานอัยการของเขตแคลิฟอร์เนียเหนือ (Northern District of California) ยื่นฟ้องให้จำคุก 27 เดือน หลังเจ้าตัวรับสารภาพไปก่อนหน้านี้
ตรงตามข่าวลือก่อนหน้านี้ วันนี้ Uber ประกาศซื้อกิจการคู่แข่งเดลิเวอรีในสหรัฐ Postmates ในราคาประมาณ 2.65 พันล้านดอลลาร์ ด้วยวิธีการแลกหุ้นทั้งหมด
Uber ระบุว่าถึงแม้ Postmates เป็นคู่แข่งกับ Uber Eats ในสหรัฐอเมริกา แต่ก็เน้นคนละตลาดกัน ทั้งในแง่พื้นที่ให้บริการที่แตกต่างกัน และความถนัดของ Postmates ที่เน้นร้านอาหารขนาดเล็ก-กลาง
ตอนนี้บอร์ดของทั้งสองบริษัทเห็นชอบการซื้อกิจการแล้ว และหลังการควบกิจการเสร็จสิ้นในช่วงไตรมาส 1 ปี 2021 Uber จะยังคงบริการแอพ Postmates แยกต่างหากต่อไป ไม่นำมาผนวกรวมกับ Uber Eats
Uber ประเทศญี่ปุ่น ประกาศเริ่มให้บริการเรียกรถโดยสารในเมืองหลวง โตเกียว แล้ว หลังเข้ามาทำตลาดในญี่ปุ่น 6 ปี แต่ไม่สามารถให้บริการรถโดยสารแบบ Ride-Share ได้ เนื่องจากกฎหมายไม่อนุญาต จึงเน้นทำตลาดเมืองรองแทน ก่อนหน้านี้บริการของ Uber ในโตเกียวมีเพียงส่งอาหาร Uber Eats
บริการเรียกรถของ Uber ในโตเกียว ใช้วิธีเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกับบริษัทรถแท็กซี่ 3 ราย ได้แก่ Hinomaru Limousine, Tokyo MK และ Ecosystem เรียกชื่อบริการว่า Uber Taxi
คู่แข่งของ Uber ในโตเกียว นอกจากบริการแท็กซี่ท้องถิ่นแล้ว ยังมี Didi Chuxing ที่ร่วมมือกับ SoftBank ให้บริการรถแท็กซี่อีกด้วย
The New York Times รายงานข่าววงในว่า Uber กำลังเจรจาซื้อบริการส่งอาหารคู่แข่ง Postmates หลังจากพลาดดีลการซื้อ Grubhub ไปก่อนหน้านี้
สหรัฐอเมริกามีบริการส่งอาหารเดลิเวอรีรายใหญ่ 4 รายคือ Uber Eats, Grubhub, Postmates, DoorDash ซึ่งการควบรวมกันจะช่วยให้สภาพการแข่งขันที่ดุเดือด (จนขาดทุนหนัก) ลดลงไป
การขายกิจการของ Grubhub ให้กับ Just Eat Takeaway ของยุโรปเป็นตัวอย่างของการควบรวมกิจการเพื่อแก้ปัญหาทางการเงินของ Grubhub ส่วนกรณีของ Postmates ย่อมช่วยเรื่องสถานะทางการเงินของบริษัท ที่เคยมีข่าวเมื่อปีที่แล้วว่าคุยกับ DoorDash และ Grubhub เรื่องการควบกิจการเช่นกัน
ก่อนหน้านี้ตอนที่ Airbnb ประกาศปลดพนักงานเพราะ COVID-19 บริษัทได้เปิดเว็บที่รวบรวมข้อมูลโปรไฟล์ของพนักงานที่ถูกปลด เพื่อช่วยเหลือพนักงานเหล่านี้ให้หางานใหม่ได้ง่ายขึ้น ก่อนทีต่อมา Uber จะเปิดเว็บแบบเดียวกัน หลังจากประกาศปลดพนักงาน
เว็บเพจเหล่านี้จะมีข้อมูลของพนักงานที่โดนปลด ตำแหน่ง ประสบการณ์ พร้อมข้อมูลอื่น ๆ ด้วยเช่นสามารถทำงานรีโมต หรือย้ายที่อยู่ได้ด้วยหรือไม่
แต่สำหรับ Agoda ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในไทยด้วย และเพิ่งประกาศปลดพนักงานยังไม่พบเว็บรูปแบบเดียวกัน เพื่อทำการช่วยเหลือพนักงานแต่อย่างใด
The Wall Street Journal อ้างอีเมลภายในจากซีอีโอ Dara Khosrowshahi ถึงพนักงาน Uber ระบุว่า Uber เตรียมปลดพนักงานเพิ่มอีก 3,000 คน จากผลกระทบของ COVID-19 ที่ทำให้จำนวนผู้เรียกใช้รถโดยสารลดลงถึง 80% เพื่อเป็นการรักษาบริษัทให้สามารถดำเนินงานต่อไปได้
การประกาศปลดพนักงานครั้งนี้เป็นจำนวนเพิ่มเติมจากรอบก่อนหน้า ที่ประกาศปลด 3,700 คน คิดเป็น 14% ของพนักงานทั่วโลก
นอกจากลดจำนวนพนักงานแล้ว Uber ยังเตรียมปิดสำนักงาน 45 แห่งทั่วโลก รวมทั้งปรับโครงสร้างบางแผนก โดย Khosrowshahi ระบุว่าเพื่อให้บริษัทกลับมาโฟกัสที่หัวใจหลักนั่นคือ การช่วยเคลื่อนย้ายผู้คน และจัดส่งสิ่งของต่าง ๆ
Uber เตรียมมาตรการรับมือกับ new normal ให้คนขับและผู้โดยสารใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้ง, ภายในรถต้องมีคนนั่งไม่เกิน 3 คน, ไม่ให้ผู้โดยสารนั่งเบาะหน้าคู่กับคนขับ เริ่มมีผลใช้งานวันที่ 18 พ.ค. นี้ และเตรียมให้ให้คนขับถ่ายรูปเซลฟี่ในแอปเพื่อยืนยันว่าใส่หน้ากากอนามัยจริง
Dara Khosrowshahi ซีอีโอ Uber ยังประกาศด้วยว่าได้ลงทุนซื้ออุปกรณ์กันเชื้อให้คนขับ 50 ล้านเหรียญไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ถุงมือป้องกัน นอกจากนี้บริษัทยังได้สำรองหน้ากากอนามัยให้คนทำงานทั้งคนขับรถ Uber และคนส่งอาหารทั่วโลกแล้วกว่า 23 ล้านชิ้น
Uber รายงานผลประกอบการของไตรมาสที่ 1 ปี 2020 ตัวเลขการจ่ายเงินผ่านระบบ (Groess Booking) เพิ่มขึ้น 8% จากช่วงเดียวกันในปีก่อนเป็น 15,776 ล้านดอลลาร์ โดยบริการแชร์รถโดยสารลดลง 3% ขณะที่บริการส่งอาหารโต 54% และคิดเป็นรายได้สำหรับ Uber 3,543 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 14% สุทธิแล้วขาดทุนเพิ่มเป็น 2,936 ล้านดอลลาร์ ปัจจัยหลักจากการบันทึกขาดทุนในบริษัทที่ Uber ลงทุน 2,100 ล้านดอลลาร์
Lime ผู้ให้บริการแชร์จักรยานไฟฟ้าและสกูตเตอร์ ที่ทำตลาดในอเมริกาและหลายประเทศในยุโรป ประกาศรับเงินเพิ่มทุนรอบใหม่ 170 ล้านดอลลาร์ จากกลุ่มนักลงทุนนำโดย Uber และมีผู้ร่วมลงทุนอื่นอาทิ Alphabet, Bain Capital Ventures, GV และนักลงทุนอีกหลายราย
ผลจากดีลนี้ Uber จะโอนธุรกิจแชร์จักรยาน JUMP ไปเป็นส่วนหนึ่งของ Lime และเพิ่มบริการของ Lime เข้ามาในแอป Uber ด้วย นอกจากนี้ Lime จะเปลี่ยนซีอีโอมาเป็น Wayne Ting ที่เคยดูแลฝ่ายโอเปอเรชั่น ส่วนอดีตซีอีโอ Brad Bao จะขึ้นเป็นประธานบริหาร
ดีลนี้ประกาศออกมา เพียงวันเดียวหลังจากที่ Uber ประกาศปลดพนักงาน 14% จากผลกระทบของ COVID-19
Uber ประกาศปลดพนักงาน 3,700 คน หรือประมาณ 14% ของพนักงานทั้งหมดประมาณ 27,000 คน และซีอีโอ Dara Khosrowshahi จะไม่รับเงินเดือนที่เหลือของปี 2020 เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย
เหตุผลที่ Uber ต้องปลดคนก็เป็นเพราะสถานการณ์ COVID-19 ทำให้คนเรียกรถผ่าน Uber น้อยลง บริษัทจึงจำเป็นต้องปลดพนักงานฝ่ายซัพพอร์ตและทรัพยากรบุคคล และคาดว่าจะต้องจ่ายเงินชดเชยทั้งหมดประมาณ 20 ล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ไม่นาน Lyft คู่แข่งของ Uber เพิ่งประกาศปลดคน และ Grab สิงคโปร์ก็ให้พนักงานพักงาน-ลดเงินเดือนผู้บริหาร ซึ่งเป็นผลมาจาก COVID-19 ที่ทำให้คนเรียกรถแบบ ride hailing น้อยลงเช่นกัน
เมื่อใกล้จะเปิดเมือง Uber ก็เตรียมออกนโยบายใหม่ ขอให้ทั้งคนขับและผู้โดยสารต้องใส่หน้ากากอนามัย หรืออุปกรณ์ปกปิดใบหน้าเพื่อป้องกันเชื้อ จะเริ่มมีผลในสหรัฐฯ ก่อน นอกจากนี้ยังมีรายงานอ้างจากบุคคลภายในบริษัทที่ไม่ประสงค์ออกนามด้วยว่า Uber กำลังพัฒนาเทคโนโลยีตรวจจับ ที่ทำให้มั่นใจว่าคนขับต้องสวมหน้ากากก่อนที่จะรับงาน
Uber ปรับตัวสู้วิกฤต COVID-19 ที่ทำให้ผู้โดยสารลดลง ด้วยบริการใหม่ 2 ตัวคือ
บริการ 2 ตัวนี้เริ่มเปิดแล้วในบางเมืองของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย เม็กซิโก โปรตุเกส เป็นต้น
Uber แจ้งข่าวต่อผู้ลงทุน ว่าบริษัทขอยกเลิกตัวเลขประเมินการดำเนินงานตลอดปี 2020 ที่เคยแจ้งไว้ก่อนหน้านี้ทั้งหมด ด้วยเหตุผลจาก COVID-19
โดย Uber บอกว่าภาวะโรคระบาดนี้ กระทบต่อทุกอุตสาหกรรมในทุกส่วนทั่วโลก จึงเป็นไปไม่ได้ในตอนนี้ที่จะประเมินผลกระทบต่อตัวเลขทางการเงินบริษัทออกมา
ที่น่าสนใจคือ Uber บอกว่าอาจต้องบันทึกขาดทุนจากการด้อยมูลค่าของสินทรัพย์ลงทุน (Impairment Charge) โดย Uber นั้นมีการลงทุนที่สำคัญได้แก่ Didi, Grab, Yandex Taxi ซึ่งเป็นบริการรถโดยสารในภูมิภาคต่าง ๆ และ Zomato ที่เป็นบริการส่งอาหารในอินเดีย
ที่มา: TechCrunch
ชัดเจนแล้วว่า โรคระบาด COVID-19 กระทบทุกกิจกรรมทั้งความเสี่ยงทางสุขภาพ และความเสี่ยงที่จะล้มละลาย และกระทบในแทบทุกอุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่อุตสาหกรรมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์
ครั้งหนึ่ง gig economy ได้รับการยอมรับว่าเป็นอนาคตแนวใหม่ของการทำงาน เราสามารถทำงานสร้างรายได้จากแพลตฟอร์มได้หลายๆ ที่ สร้างรายได้หลายทาง ส่งเสริมการทำงานที่ยืดหยุ่น แต่โรคระบาดเผยให้เห็นอีกมุมของคนทำงาน gig economy ว่าชีวิตไม่ง่าย และบางครั้งก็ต้องเลือกระหว่างยอมออกไปหารายได้ทั้งๆ ที่ก็กลัวตัวเองจะติดเชื้อด้วย
New York Times สัมภาษณ์คนทำงาน gig economy ทั้งในสหรัฐฯและยุโรป มีหลากหลายความเห็นแต่ก็สะท้อนไปในทำนองเดียวกัน เช่น
เป็นอีกหนึ่งมหากาพย์คดีความที่เกี่ยวข้องกับบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่อย่าง Waymo ที่ยื่นฟ้อง Uber ว่ารู้เรื่องที่ผู้ก่อตั้ง Otto (บริษัทรถไร้คนขับที่ Uber ซื้อ) ซึ่งเป็นอดีตพนักงานของ Waymo (ตอนนั้นยังเป็นเพียงแผนกรถไร้คนขับใต้ Alphabet) แอบขโมยความลับทางการค้าและเทคโนโลยี แม้ Uber จะขอยอมความและจ่ายค่าเสียหายไปแล้ว แต่คดีความกับ Anthony Levandowski ผู้เป็นต้นเหตุของเรื่องนี้ยังอยู่