กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ประกาศยกระดับกองบัญชาการไซเบอร์หรือ United States Cyber Command (USCYBERCOM) เป็นกองบัญชาการรบ (unified combatant command หรือ UCC) แบบเต็มขั้น เทียบเท่ากับกองบัญชาการรบตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
ตามระบบของสหรัฐอเมริกา UCC เป็นหน่วยบัญชาการที่มีอำนาจสั่งการหน่วยรบย่อย (ครอบคลุมทั้งกองทัพบก เรือ อากาศ และนาวิกโยธิน) ก่อนหน้านี้ กระทรวงกลาโหมมี UCC ทั้งหมด 9 กอง แบ่งเป็น 6 กองที่ตั้งตามเขตภูมิศาสตร์ (อเมริกาเหนือ-ใต้ ยุโรป แอฟริกา แปซิฟิก ตะวันออกกลาง) และ 3 กองที่ตั้งตามรูปแบบงาน (ยุทธศาสตร์ ขนส่ง ปฏิบัติการพิเศษ) ส่วน USCYBERCOM ถือเป็นกองบัญชาการแห่งที่ 10 ที่ได้สถานะนี้
Yann LeCun หัวหน้าฝ่ายวิจัย AI ของ Facebook เผยว่าจะเปิดแล็บวิจัย AI เพิ่มอีกสองแห่งที่ ซีแอตเติลและพิตส์เบิร์ก โดยจ้างผู้เชี่ยวชาญ AI สามคนจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันและ Carnegie Mellon มาร่วมงานด้วยแบบพาร์ทไทม์
The New York Times รายงานว่า การสร้างแล็บวิจัยใหม่นี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกดดันที่บริษัทเทคโนโลยีมีต่อสถาบันการศึกษาที่กำลังต่อสู้กับการรักษาครูบาอาจารย์ให้ทำงานสอนต่อ เพราะในปี 2015 Uber จ้างนักวิจัยและวิศวกรด้านเทคนิค 40 คนจากห้องปฏิบัติการหุ่นยนต์ของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon เพื่อไปดูงานด้านรถไร้คนขับ และในสัปดาห์ที่ผ่านมา JPMorgan Chase ก็จ้าง Manuela Veloso หัวหน้าฝ่าย Machine Learning ของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ไปอีก
ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยีสายนี้เป็นที่รู้กันว่าหาตัวจับยาก ค่าจ้างแพง และแต่ละบริษัทต่างก็พยายามเฟ้นหาบุคคลที่ดีที่สุด Dan Weld ศาสตราจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยวอชิงตันบอกว่า ปรากฏการณ์นี้เป็นเรื่องน่ากังวล เพราะถ้าเราสูญเสียอาจารย์ทั้งหมด มันจะส่งผลกระทบต่อการสอนนักศึกษาและนักวิจัยในรุ่นต่อๆ ไป
Facebook ประกาศนโยบายลงโฆษณาการเมืองดดยเน้นที่การเปิดเผยตัวตนของผู้ลงโฆษณามากขึ้น Google ก็เช่นกัน โดย Google ประกาศนโยบายลงโฆษณาการเมืองในสหรัฐฯ ผู้ลงต้องแสดงเลขประชาชนพิสูจน์ความเป็นพลเมืองสหรัฐฯ
ภายใต้หลักเกณฑ์ใหม่ Google ให้ผู้ลงโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นบุคคล องค์กรหรือหน่วยงาน ต้องแสดงให้เห็นว่าตัวเองเป็นใคร และให้เปิดเผยข้อมูลที่ชัดเจนว่าใครเป็นผู้ชำระเงินค่าลงโฆษณา
การพิสูจน์ความเป็นพลเมืองสหรัฐฯ เป็นผลจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2016 มีปัญหาบัญชีปลอมจากรัสเซียซื้อโฆษณาเนื้อหาการเมืองเผยแพร่บนโซเชียลมีเดีย มีคนเห็นเป็นสิบๆ ล้านราย มาตรการนี้จึงตั้งขึ้นมาเพื่อแน่ใจว่าต่างประเทศจะไม่แทรกแซงการเลือกตั้งผ่านช่องทางนี้ได้อีก ซึ่งหลังจาก Facebook, Twitter ตั้งกฎเข้มงวดขึ้นมา Google ก็เอาด้วย
สืบเนื่องจากการเตือนของหน่วยงานด้านข่าวกรองและความมั่นคงของสหรัฐอเมริกา ที่บอกคนอเมริกันว่าอย่าใช้สินค้าของ Huawei และ ZTE จนกระทรวงกลาโหมออสเตรเลียเตรียมจะเลิกใช้ Huawei และ ZTE ล่าสุดกระทรวงกลาโหมสหรัฐตามรอย สั่งให้กองทัพสหรัฐทั่วโลกเลิกใช้งานโทรศัพท์ของทั้งสองแบรนด์แล้ว
สำนักข่าว AP รายงานว่า มีการค้นพบเซลล์ไซต์หรือเสาส่งสัญญาณโทรศัพท์มือถือในกรุงวอชิงตันดีซี แบรนด์ Stingrays ซึ่งดักหมายเลข IMSI ของมือถือเครื่องที่เข้ามาเชื่อมต่อ ทำให้คนร้าย แฮกเกอร์หรือสปายต่างชาติสามารถดักข้อมูล ข้อความ, สายโทรเข้าโทรออก ไปจนถึงตำแหน่งที่ตั้งได้
กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security) ยืนยันข่าวนี้ ซึ่งการค้นพบเซลล์ไซต์ปลอมถูกพูดถึงในหน่วยงานภาครัฐมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ก็เคยมีการค้นพบเซลล์ไซต์ปลอมในพื้นที่กรุงวอชิงตันดีซีมาก่อนแล้วเมื่อปี 2014
ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ข่าวใหญ่ข่าวหนึ่งในประเทศอังกฤษคือเกิดคดีพยายามฆ่าอดีตสายลับรัสเซียผู้แปรพักตร์ การลอบสังหารทำโดยการใช้ยาพิษที่ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาท ผลจากการโจมตีไม่เพียงแต่จะทำร้ายอดีตเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของรัสเซียพร้อมลูกสาวของเขา แต่ผู้คนในละแวกใกล้เคียงเกือบ 40 ราย ต่างก็โดนหางเลขจนเกิดอาการเจ็บป่วยไปด้วย ยังไม่นับเจ้าหน้าที่ตำรวจที่โดนสารพิษและต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยอีก 3 ราย
เช้ามืดของวันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน 1976 ณ มุมหนึ่งใน Rancho Cordova เมืองทางตะวันออกของ Sacramento รัฐ California ประเทศสหรัฐอเมริกา ในยามที่ผู้คนส่วนใหญ่กำลังหลับใหลและเตรียมที่จะตื่นออกไปทำงานอีกวันเฉกเช่นวันปกติที่ผ่านมา แต่สำหรับหญิงสาวคนหนึ่งแล้ว นั่นคือช่วงเวลาฝันร้ายของชีวิต เธอถูกชายแปลกหน้าบุกเข้ามาทำร้ายและข่มขืนถึงในบ้าน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของตำนานอาชญากรที่สุดแสนน่าสะพรึง
สำนักข่าวรอยเตอร์อ้างแหล่งข่าวไม่เปิดเผยตัวตนสี่คนระบุว่ารัฐบาลทรัมป์กำลังพิจารณาสั่งห้ามบริษัทเอกชนสหรัฐฯ ร่วมมือพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์กับบริษัทและรัฐบาลจีน
ฝ่ายบริหารของสหรัฐฯ มีอำนาจสั่งห้ามความร่วมมือกับบริษัทต่างชาติผ่านทางกฏหมาย International Emergency Economic Powers Act และหากมีการสั่งการมาจริงอาจทำให้ความร่วมมือต่างๆ ที่บริษัทสหรัฐฯ เคยร่วมมือกับจีนอาจจะหยุดชะงัก
ตัวอย่างเช่น NVIDIA ส่งมอบชิปตัวอย่างให้กับนักวิจัยเพียง 30 ราย ในจำนวนนั้น 3 รายเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลจีน หรือบริษัทต่างๆ ที่มีศูนย์วิจัยและลูกค้าในจีนอยู่ตอนนี้ก็อาจจะต้องตัดความสัมพันธ์กันไป
สำนักข่าว New York Times รายงานว่า กระทรวงยุติธรรมแห่งสหรัฐฯ หรือ DoJ สั่งสอบสวนการผูกขาดเพื่อระบุว่า AT&T, Verizon รวมถึงกลุ่ม GSM Association หรือ GSMA มีพฤติกรรมสมรู้ร่วมคิดเพื่อพยายามกีดกันผู้ใช้ในการเปลี่ยนเครือข่ายผ่านอุปกรณ์ที่รองรับ eSIM หรือไม่ และ CNBC รายงานว่าตอนนี้ผู้ให้บริการเครือข่ายขนาดใหญ่ทั้งสี่ของสหรัฐฯ คือ AT&T, Verizon, T-Mobile และ Sprint ได้รับคำขอข้อมูลเพื่อการตรวจสอบจาก DoJ แล้ว
Eugene Kaspersky ซีอีโอของบริษัทความปลอดภัยจากรัสเซีย Kaspersky Lab ได้ออกจดหมายเปิดผนึกถึงกรณีที่ Twitter แบนโฆษณาของบริษัท โดยมีจดหมายสั้นจากพนักงาน Twitter ที่ไม่เปิดเผยชื่อว่า เหตุผลที่แบนโฆษณาของ Kaspersky Lab เนื่องจากทางบริษัททำธุรกิจโดยใช้โมเดลธุรกิจที่ขัดแย้งกับหลักการทางธุรกิจที่ยอมรับได้สำหรับการโฆษณาบน Twitter
Kaspersky ยืนยันว่าบริษัทของเขาไม่เคยทำผิดกฎทั้งที่มีระบุเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่มีระบุ ส่วนโมเดลธุรกิจของบริษัท Kaspersky Lab ก็ไม่ได้ซับซ้อน เพราะเหมือนกับบริษัทด้านความปลอดภัยไซเบอร์ทั่ว ๆ ไป คือขายสินค้าและบริการให้ลูกค้า และเมื่อปีที่แล้วทางบริษัทจ่ายเงินกว่า 75,000 ยูโรเป็นค่าโฆษณาใน Twitter ด้วย
Amazon ร่วมกับ Best Buy นำ Fire TV Edition วางขายในร้านค้าในสหรัฐฯและแคนาดา ในระยะแรก Best Buy จะขายสมาร์ททีวีในแบรนด์ Insignia และ Toshiba
ก่อนหน้านี้ Amazon จับมือกับบริษัท Seiki , Westinghouse Electronics และ Element Electronics ในการให้แบรนด์เหล่านี้ขายสมาร์ททีวี 4K ที่มีแพลตฟอร์ม Amazon Fire TV ติดมาด้วย ล่าสุดก็จับมือกับ Best Buy เพื่อตีตลาดลูกค้าในอเมริกาเหนือ
Amazon เปิดตัว Alexa Skill Blueprints โปรแกรมที่ให้เจ้าของสามารถสอนผู้ช่วย Alexa ได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องเขียนโปรแกรมเป็น
วิธีการคือ เข้าไปที่ blueprints.amazon.com. ผู้ใช้จะเห็นทักษะต่างๆ เป็น 4 หมวด คือ Fun & Games, At Home, Storyteller, Learning & Knowledge ซึ่งในแต่ละหมวดหมู่มีทักษะแยกย่อยออกไปอีก
จากประเด็น สหรัฐแบน ห้ามบริษัทอเมริกันค้าขายกับ ZTE อาจกลายเป็นปัญหาของสมาร์ทโฟนยี่ห้อ ZTE ที่ไม่มีสิทธิใช้ระบบปฏิบัติการ Android
เหตุผลก็ตรงไปตรงมาว่า Android เป็นของกูเกิลที่เป็นบริษัทอเมริกัน และถ้าคิดตามตรรกะนี้ ZTE ก็หมดสิทธิใช้งานระบบปฏิบัติการสัญชาติอเมริกันตัวอื่นๆ ด้วย (ทางออกที่พอเป็นไปได้คือ Tizen ของซัมซุง)
ปัญหานี้ยังไม่ชัดเจนนักว่าหมายถึง Google Android เพียงอย่างเดียวหรือไม่ และ ZTE มีสิทธิใช้ Android เวอร์ชันโอเพนซอร์ส (AOSP) หรือ Android เวอร์ชันจีนอื่นๆ (เช่น MIUI) แทนหรือไม่
T-Mobile หนึ่งในผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ในประเทศสหรัฐฯ ถูกสั่งปรับเป็นเงิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 1,247 ล้านบาท ในข้อหาใช้เสียงริงโทนปลอมหลอกผู้ใช้โทรศัพท์ว่าโทรติดแต่ไม่มีใครรับสาย ทั้งที่ความเป็นจริงคือ T-Mobile ไม่สามารถต่อสัญญาณโทรศัพท์ไปยังหมายเลขปลายทางที่ผู้ใช้ต้องการได้ โดยส่วนใหญ่เป็นกรณีการโทรไปหาปลายทางในเขตชนบท
ถึงแม้ว่าคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารสหรัฐฯ หรือ FCC (กสทช. สหรัฐฯ) จะออกข้อบังคับมาตั้งแต่ปี 2014 ว่าห้ามผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ใช้เสียงริงโทนปลอมหลอกผู้ใช้ว่าโทรติด แต่ทาง T-Mobile ก็ยังคงใช้เทคนิคดังกล่าวเรื่อยมา ทำให้มีผู้ใช้งานโทรศัพท์ร้องเรียนไปยัง FCC ซึ่งนำมาสู่การสืบสวนและการพิจารณาลงโทษในที่สุด
กระทรวงพาณิชย์ของสหรัฐ (U.S. Department of Commerce) นำโดยสำนักงานด้านอุตสาหกรรมและความปลอดภัย (Bureau of Industry and Security - BIS) ที่ดูแลด้านการส่งออกสินค้าทางเทคโนโลยีและการทหาร ออกคำสั่งห้ามไม่ให้บริษัทอเมริกันส่งออกสินค้าไปยัง ZTE Corporation ด้วยเหตุผลว่า ZTE ส่งอุปกรณ์โทรคมนาคมไปขายที่อิหร่านและเกาหลีเหนือ
ในเดือนมีนาคม 2017 ZTE ยอมรับความผิดนี้และยอมจ่ายค่าปรับให้รัฐบาลสหรัฐ 1.17 พันล้านดอลลาร์ และยอมรับข้อตกลงว่าถ้ายังละเมิดเงื่อนไขอีก ก็จะเสียสิทธิด้านการค้ากับบริษัทในสหรัฐไป
เมืองออสตินของรัฐเท็กซัส ทดลองใช้แพลตฟอร์มบล็อคเชนพัฒนาบริการและการจัดการข้อมูลอัตลักษณ์ประชากรคนไร้บ้าน โดย Steve Adler นายกเทศมนตรีเมืองออสตินบอกว่าเป้าหมายคือ รวบรวมข้อมูลประจำตัวและบันทึกที่สำคัญของคนไร้บ้าน โดยข้อมูลถูกเก็บไว้ในที่ที่ปลอดภัยและเป็นความลับ ในขณะเดียวกันผู้ให้บริการเพื่อคนไร้บ้านเข้าถึงข้อมูลได้ ซึ่งบล็อคเชนจะสามารถเชื่อมโยงคนไร้บ้านกับความต้องการของพวกเขาเข้าด้วยกัน
ผู้ให้บริการบัตรเครดิต 4 รายใหญ่ในสหรัฐคือ Visa, Mastercard, American Express, Discover ประกาศนโยบายยกเลิก "การเซ็นสลิป" กับการรูดบัตรในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เริ่มมีผลในวันที่ 13 เมษายน (เมื่อวานนี้)
ก่อนหน้านี้ บัตรเครดิตบางรายยกเลิกการเซ็นสลิปมาก่อนแล้ว แต่เฉพาะธุรกรรมที่จำนวนไม่มากนัก (ในบ้านเราก็เริ่มทำบ้างพอสมควรแล้ว) แต่ภายใต้นโยบายใหม่ ผู้ให้บริการบัตรเครดิตจะไม่บังคับให้ลูกค้าต้องเซ็นสลิป รวมถึงร้านค้าไม่จำเป็นต้องเก็บสลิปที่เซ็นแล้ว แต่สุดท้ายการตัดสินใจขึ้นกับร้านค้าแต่ละราย ว่าจะยังต้องการลายเซ็นหรือไม่
อาจจะไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนักสำหรับโพลล์นี้ เมื่อเฟซบุ๊กกำลังตกเป็นเป้าและจำเลยในเรื่องของการรักษาข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ หลัง SurveyMonkey ร่วมมือกับ Recode ทำโพลล์สำรวจว่าบริษัทเทคโนโลยีไหน ที่เชื่อถือน้อยที่สุดในการรักษาข้อมูลส่วนตัวและผลออกมาเป็นเฟซบุ๊กที่คะแนนนำโด่ง
ตัวเลือกในผลสำรวจมีเฟซบุ๊ก, กูเกิล, อูเบอร์, ทวิตเตอร์, Snap, แอปเปิล, แอมะซอน, ไมโครซอฟต์, เน็ทฟลิกซ์, เทสลาและ Lyft ปรากฎเฟซบุ๊กนำโด่งถึง 56% ส่วนตัวเลือกที่เหลือสัดส่วนไม่เกิน 5% เท่านั้น โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 20% ไม่ได้เลือกตัวเลือกข้างต้นและ 4% เลือกจะไม่ตอบแบบสำรวจ
ที่มา - Recode
ผ่านไปแล้วสองวัน เป็นเวลารวมกว่า 10 ชั่วโมง ที่ Mark Zuckerberg ซีอีโอ Facebook ได้เข้าไปให้รายละเอียดประเด็น Facebook และ Cambridge Analytica ต่อหน้าคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และตุลาการวุฒิสภาแห่งสหรัฐฯ
คำถามส่วนมากที่วุฒิสมาชิกสอบถามนั้น Mark Zuckerberg สามารถตอบและชี้แจงได้ บางคำถามเขาก็เลือกปฏิเสธ (เช่น เมื่อคืนนอนโรงแรมไหน?) อย่างไรก็ตามมีคำถามอยู่จำนวนหนึ่งที่ Zuckerberg เลือกตอบว่า ไม่ทราบเพราะไม่มีข้อมูลตอนนี้ และปิดประโยคว่าจะให้ทีมไปหาข้อมูลแล้วนำส่งอีกที ซึ่ง Wired ได้รวบรวมคำถามกลุ่มนี้ เพราะถือว่ารับปากแล้วว่าจะส่งข้อมูลเพิ่มเติมอีก
วันนี้ (11 เมษายน 2018) Mark Zuckerberg เข้าให้รายละเอียดเรื่อง Facebook/Cambridge Analytica ต่อหน้าคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และตุลาการวุฒิสภาแห่งสหรัฐฯ ถือเป็นการเผชิญหน้าอีกครั้งระหว่างบริษัทไอทีและฝ่ายนิติบัญญัติหลังจากปีที่แล้ว Facebook เข้าให้การต่อสภาคองเกรสเรื่องข่าวปลอมรัสเซีย
ในการรับฟังวันนี้ นอกจากเป็นโอกาสที่ Zuckerberg จะได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมต่อประเด็นร้อนแล้ว ยังเป็นช่องทางให้ฝ่ายกฎหมายเพิ่มแรงกดดันต่อบริษัทไอที และเป็นการบอกใบ้ว่าในอนาคต บริษัทไอทีจะต้องเจอกับมาตรการทางกฎหมายมากขึ้น ตัวอย่างคำถามในการรับฟังมีดังนี้
มีรายงานข่าวว่า Google ร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ใช้ AI ช่วยวิเคราะห์ฟุตเทจจากโดรน หรือในชื่อว่า Project Maven เมื่อพนักงาน Google รู้เรื่องความร่วมมือทำให้พวกเขาไม่พอใจอย่างมาก
ล่าสุดพนักงาน Google กว่า 3,100 คน เขียนจดหมายเปิดผนึกเรียกร้องให้ Google ถอนตัวจากโครงการดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า เทคโนโลยีของ Google ไม่ควรเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจด้านสงคราม เพราะการมีส่วนร่วมนี้ไม่สอดคล้องกับแก่นหลักในการดำเนินธุรกิจของ Google
ทางการ California ร่างกฎหมายที่จะบังคับผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook และ Twitter มีหน้าที่ต้องตรวจสอบและรายงานภาครัฐว่ามีบัญชีผู้ใช้ใดบ้างที่ทำงานด้วยระบบอัตโนมัติไม่ได้มีคนเป็นผู้ใช้งานจริงๆ
ที่มาที่ไปของเรื่องนี้ก็มาจากประเด็นข่าวปลอมปั่นกระแสจากทางรัสเซียที่แพร่ระบาดบน Facebook ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากบัญชี Facebook ปลอมที่ไม่ได้มีผู้ใช้งานจริง หากแต่เป็นบอตที่ทำหน้าที่เพียงคอยกระพือโหมการแพร่ข้อมูลและข่าวต่างๆ ซึ่งทางการ California มองว่าเจ้าของแพลตฟอร์มมีหน้าที่ต้องดูแลเรื่องนี้
ปีที่แล้ว Facebook ทดสอบฟีเจอร์ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข่าวได้จากหน้า News Feed โดยไม่ต้องออกจากหน้า Facebook เป็นฟีเจอร์ที่คาดกันว่าจะเป็นไม้ตายสู้ข่าวปลอมที่เป็นปัญหาคาราคาซังอยู่ในขณะนี้ ล่าสุด Facebook เปิดให้ใช้ฟีเจอร์นี้ในสหรัฐฯแล้ว
ฟีเจอร์ใหม่นี้ผู้ใช้จะเห็นปุ่มตัว i หรือ information หรือ about this article ปรากฏใต้ลิงก์ข่าว เมื่อกดเข้าไปผู้ใช้จะพบรายละเอียดเกี่ยวกับเว็บไซต์ผู้เผยแพร่เนื้อหา ทั้งจากเว็บไซต์เองและวิกิพีเดียด้วยว่าเป็นสำนักข่าวใด ก่อตั้งเมื่อไร รวมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับข่าวนั้นๆ จากเว็บไซต์อื่นว่าเขารายงานข่าวไปในทิศทางใดบ้าง เลื่อนลงมาด้านล้างจะเห็นอีกว่าข่าวนี้ได้รับการแชร์ในพื้นที่ใดบนโลก มีเพื่อนคนไหนแชร์บ้าง
วุฒิสมาชิกเดโมแครตได้ตั้งคำถามถึง Ajit Pai ประธาน FCC ในเรื่องแผนการปรับเปลี่ยนโครงการสนับสนุนบรอดแบนด์ Lifeline ซึ่งการปรับเปลี่ยนแผนของประธาน FCC นี้จะส่งผลประทบถึงชาวอเมริกันนับล้านคน และเรียกร้องให้ล้มเลิกข้อเสนอในการเปลี่ยนแปลงโครงการ Lifeline นี้
ปัจจุบัน โครงการ Lifeline ทำให้ครอบครัวที่ยากจนสามารถเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตหรือโทรศัพท์ได้โดยมีค่าใช้จ่ายเพียง 9.25 ดอลลาร์ต่อเดือนเท่านั้น โดย 70% ของผู้ใช้โทรศัพท์ไร้สายภายใต้การสนับสนุนของ Lifeline นั้นซื้อแพลนมาจากตัวแทนจำหน่ายที่ซื้อความจุมาจากผู้ให้บริการเครือข่ายและนำมาขายต่อผู้ใช้ทั่วไปอีกที
สหรัฐอเมริกาเสนอปรับเกณฑ์การขอวีซ่าเข้าประเทศใหม่ โดยผู้ยื่นขอวีซ่าจะต้องกรอกข้อมูลโซเชียลมีเดียของตัวเองด้วย
การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลในแบบฟอร์มการขอวีซ่า (สำหรับคนทั่วไปคือ DS-160 ที่กรอกผ่านอินเทอร์เน็ต) จะมีคำถามเพิ่มเติมดังนี้