เมื่อสองวันที่ผ่านมาศาลสูงในกรุงปารีสมีคำตัดสินออกมาว่า กฎห้ามขายเกมต่อให้คนอื่นของ Steam นั้นผิดกฎ EU หลังกลุ่มตัวแทนผู้บริโภคยื่นฟ้อง Valve เมื่อ 4 ปีที่แล้วกล่าวหาว่า กฎดังกล่าวของ Valve ละเมิดสิทธิของผู้บริโภค
กฎหมายของสหภาพยุโรปข้อหนึ่งที่ว่าด้วย "การเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้าในสหภาพ" ระบุว่าสินค้าทุกชนิด ไม่เว้นแม้แต่ซอฟต์แวร์ สามารถถูกนำไปขายต่อโดยไม่จำเป็นต้องได้รับอนุญาตจากผู้ผลิตหรือเจ้าของคนก่อนหน้า ซึ่งเกมที่เป็นแผ่นที่ผ่านมาก็มีการขายต่อภายใต้กฎหมายข้อนี้ ทว่าเกมบน Steam Store กลับไม่สามารถทำได้ โดยทาง Valve โต้แย้งกับศาลว่า Steam Store เป็นบริการแบบ subscription ทว่าศาลมองว่าการขายเกมบน Steam เป็นการขายขาด ไม่ได้มีลักษณะขายแล้วหมดอายุในแบบของ subscription
วงการขายเกมแบบดิจิทัลปั่นป่วนอีกครั้ง เมื่อศาลฝรั่งเศสตัดสินให้ผู้ใช้ Steam มีสิทธิ์ที่จะขายต่อเกมของตัวเองได้ จากการโดนฟ้องร้องโดยกลุ่มปกป้องสิทธิ์ผู้บริโภคของฝรั่งเศส UFC-Que Choisir ในปี 2015
ผู้ฟ้องร้องกลุ่มนี้ได้ยื่นฟ้องศาลชั้นต้นแห่งกรุงปารีสว่าด้วยเงื่อนไขการใช้งานระบบ Subscriber ของ Steam ขัดต่อกฎหมายสหภาพยุโรปโดย UFC-Que Choisir แสดงข้อกังวลหลักว่าเกมในรูปแบบดิจิทัลนั้นควรจะเหมือนกับเกมในรูปแบบฟิสิคอลคือมีสิทธิ์ที่จะขายต่อได้
สัปดาห์ก่อนประเด็นในแวดวงความปลอดภัยว่า Valve ปฏิเสธไม่รับแจ้งช่องโหว่ LPE ของ Steam Client ที่นักวิจัยแจ้งผ่านทาง HackerOne เพราะ Valve มองว่ากเป็นช่องโหว่ที่อยู่นอกสโคป ต้องวางไฟล์ในเครื่องเหยื่อก่อนจึงไม่เข้าข่ายที่จะรับรายงาน
ล่าสุด Valve แถลงการณ์ออกมายอมรับความผิดพลาดที่ปฏิเสธไม่รับแจ้งช่องโหว่ดังกล่าวแล้ว พร้อมแก้ไขกฎกติกาบน HackerOne ให้ครอบคลุมช่องโหว่ LPE และจะยอมรับการแจ้งช่องโหว่ลักษณะนี้แล้ว ขณะที่นักวิจัยที่เคยแจ้งช่องโหว่เหล่านี้มาก่อนหน้านี้ Valve ระบุว่าจะดำเนินการต่อไป
Vasily Kravets นักวิจัยความปลอดภัยไซเบอร์จาก Amonitoring บริษัทความปลอดภัยไซเบอร์ในรัสเซีย รายงานถึงช่องโหว่การยกระดับสิทธิ์ซอฟต์แวร์ด้วย steam client ที่เป็นโปรแกรมหน้าร้านขายเกม
รายงานระบุถึงช่องโหว่ของ Steam Client Service ที่ถูกหลอกด้วย symbolic link ใน Windows registry ทำให้แฮกเกอร์ที่อยู่บนเครื่องของเหยื่อ สามารถยกสิทธิ์ของซอฟต์แวร์ตัวเองได้ ทาง Kravets แจ้งช่องโหว่นี้ผ่านทาง HackerOne ตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา แต่ทาง Valve ระบุว่าไม่เข้าข่าย เพราะแฮกเกอร์ต้องสามารถวางไฟล์บนเครื่องของเหยื่อและเข้าถึงตัวเครื่องได้ ซึ่งก็น่าจะเป็นเงื่อนไขปกติของช่องโหว่ local privilege escalation (LPE)
Gabe Newell ผู้ก่อตั้ง Valve พูดในงานแถลงข่าวเปิดตัวแว่น Valve Index VR พูดถึงประเด็นที่ทุกคนอยากรู้นั่นคือ Half-Life 3 จะออกเมื่อไร
โดยเขาบอกว่า "หมุดหมาย (milestone) ไม่ใช่จุดจบแต่เป็นจุดเริ่มต้น Half-Life ภาคแรกนำไปสู่ภาค 2, เอนจิน Source ก็นำไปสู่ Source 2, การทดลองใน Team Fortress 2 นำไปสู่ Dota และในสักวัน เลข 2 จะนำเราไปสู่ตัวเลขหนึ่งที่ส่องกระกายบนภูเขาสักแห่ง ขอให้รอกันต่อไป" (maybe someday the number 2 will lead us to that shiny integer glowing on a mountain someplace… we’ll just have to see)
หลังจาก Ubuntu ยอมถอยเรื่องการซัพพอร์ตไลบรารี 32 บิต ล่าสุด Valve ก็ออกมาตอบรับแล้วว่าจะซัพพอร์ต Ubuntu ต่อไป
Valve อธิบายว่าต้องใช้ไลบรารี 32 บิตกับทั้งตัว Steam client และเกมอีกจำนวนมากที่รองรับเฉพาะ 32 บิตเท่านั้น สำหรับคนที่สงสัยว่าทำไม Valve ไม่ทำ Steam client แบบ 64 บิตล้วนๆ คำตอบคือทำได้ในทางเทคนิค แต่จะทำให้เกมจำนวนมากใช้งานไม่ได้ ซึ่งขัดแย้งกับหลักการของ Valve ที่พยายามทำให้คนที่ซื้อเกมไปแล้ว สามารถเล่นเกมของตัวเองให้เยอะที่สุดเท่าที่จะทำได้
นับว่าเดินทางกันมาอย่างยาวนานจนครบ 20 ปีบริบูรณ์สำหรับ Counter-Strke mod สุดคลาสสิกของเกม Half-Life ที่โด่งดังไปทั่วโลกและถูก Valve ซื้อต่อไปพัฒนาเองในภายหลัง และเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบรอบ 20 ปีนี้ CS:GO ได้เพิ่มแผนที่ Dust 2 แบบดั้งเดิมให้ผู้เล่นเข้าไปเล่นเพื่อรำลึกความหลังกันได้
Dust 2 (หรือที่หลายคนคุ้นกันในชื่อ de_dust2) คือหนึ่งในแผนที่ที่ได้รับความนิยมสูงสุดตลอดกาลสำหรับเกมตระกูล Counter-Strike ซึ่ง แผนที่นี้ได้ถูกยกเครื่องใหม่ในเกม CS:GO ไปเมื่อปี 2017 ซึ่ง วันนี้ Valve ได้เปิดให้ทุกคนสามารถเล่น Dust 2 ฉบับดั้งเดิมกันได้อีกครั้ง โดยเลือกเล่นได้ใน Casual Dust 2 map group
หลังจากซุ่มจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และประกาศความร่วมมือกับ Drodoไปเมื่อปลายเดือนก่อน ในที่สุด Valve ก็ไม่ปล่อยให้แฟนๆ รอนาน เปิดตัว Dota Underlords เกมแนว Auto Chess ของตัวเอง ซึ่งสามารถเล่นได้ทั้ง Windows, Mac, Linux, iOS และ Android
หากใครยังจำได้ถึงต้นกำเนิดของ Dota 2 ที่เริ่มต้นด้วยการเป็นแผนที่แบบคัสคอม ของ Warcraft III ก่อนที่จะถูกแยกออกมาเป็นเกมเดี่ยวๆ ในปัจจุบัน เรื่องราวนี้กำลังจะเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อ Valve ประกาศว่า เขากำลังร่วมมือกับ Drodo เพื่อพัฒนา Dota Auto Chess คัสตอมเกมบน Dota 2 ที่ได้รับความนิยมแบบถล่มทลายจนเกิดกระแสไปทั่วโลก ให้ออกมาเป็นเกมแบบ standalone
ถึงเวลาทุบกระปุกแล้วสำหรับคนที่วางแผนจะไปร่วมงาน The International 2019 ทัวร์นาเมนต์ใหญ่ประจำปีของ Dota 2 ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศจีน เพราะ Valve ได้ประกาศวันเวลาในการขายบัตรรวมถึงราคาออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับราคาของบัตรในปีนี้ถือว่าถีบตัวขึ้นจากปีก่อนค่อนข้างมาก ราคาสำหรับบัตรเข้าชม 2 วัน ของวันธรรมดาอยู่ที่ 499 หยวน (ซึ่งการแข่งขันในวันธรรมดานั้น มีทั้งสิ้น 4 วัน หากต้องการชมให้ครบ ต้องซื้อ 2 ใบ) ส่วนบัตรเข้าชมในวันสุดสัปดาห์อยู่ที่ 2099 หยวน รวมแล้วถ้าไม่อยากพลาดการแข่งขันเลยสักนัด จะต้องจ่ายถึง 3,097 หยวน หรือ ราว 14,300 บาทเลยทีเดียว
หลังจากรอมายาวนานจนอาจลืมไปแล้ว แต่ในที่สุดแอปแคสต์เกม Steam Link ก็เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วบน iOS และ Apple TV ซึ่งก็นานถึงหนึ่งปี นับจากที่แอปเปิลปฏิเสธแอปนี้ ด้วยเหตุผลว่ามีข้อขัดแย้งทางธุรกิจ ซึ่งเวลาต่อมา Phil Schiller หัวหน้าฝ่ายการตลาดแอปเปิลก็บอกว่ากำลังเจรจาหาทางออกเรื่องนี้
ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าแอป Steam Link บน iOS นั้น ผู้ใช้งานไม่สามารถซื้อเกมโดยตรงผ่าน Steam store ได้ เกมที่เล่นต้องมีใน library อยู่ก่อนแล้วจากการซื้อผ่านช่องทางอื่น ซึ่งก็น่าจะเป็นหนึ่งในข้อขัดแย้งทางธุรกิจ
มีเรื่องมาให้ลุ้นกันอีกแล้วสำหรับแฟนๆ Dota 2 เมื่อ Valve ได้ยื่นจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในชื่อ Dota Underlords ไปเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา ซึ่งคาดการณ์ว่าน่าจะเป็นเกมอย่างแน่นอน เพราะจดทะเบียนในหมวดซอฟต์แวร์เกมและวิดีโอเกม โดยยังไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมหลุดออกมา
ทั้งนี้ ในสังคมออนไลน์และเว็บไซต์ต่างประเทศ ได้มีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของ Dota Underlords ซึ่งมีตั้งแต่การเป็นเกมมือถือของ Valve ตัวใหม่ ไปจนถึง อาจจะเป็นอัพเดตยกเครื่องใหม่ของ Artifact การ์ดเกมของ Valve ที่ประสบความล้มเหลวจนต้องหยุดอัพเดตเพื่อปรับปรุงเกม
หลังจากปล่อยภาพทีเซอร์ไปเมื่อเดือนที่แล้ว ในที่สุด Valve เปิดตัวแว่น VR ของตัวเองอย่างเป็นทางการในชื่อ Valve Index
Valve Index เป็นแว่น VR ที่ใช้กับแพลตฟอร์ม SteamVR แบบเดียวกับที่เคยพาร์ทเนอร์กับ HTC ทำแว่นตระกูล Vive (แต่เคสนี้คือ Valve ทำเองทั้งหมดโดยไม่พึ่งพา HTC อีกแล้ว)
ในชุดของ Valve Index ประกอบด้วยอุปกรณ์ทั้งหมด 3 ชิ้นคือ แว่น, คอนโทรลเลอร์ และตัวดักจับความเคลื่อนไหวภายนอก (Base Station)
ประเด็นเรื่องการขายเกมแบบเอ็กซ์คลูซีฟของ Epic Games Store ยังเป็นที่ถกเถียงกันอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด Tim Sweeney ซีอีโอของ Epic Games ก็ออกมาพูดเรื่องนี้ด้วยตนเองแล้ว
Sweeney ตอบคำถามแฟนเกมผ่านทวิตเตอร์ อธิบายว่าทำไม Epic Games ถึงเลือกตัวเลข 12% เป็นส่วนแบ่งรายได้เข้าบริษัท เขาประเมินว่าเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้ว Epic จะได้กำไรประมาณ 5% จากราคาเกม และตัวเลขนี้อาจเพิ่มเป็น 6-7% ได้หากมียอดขายจำนวนมากๆ (economy of scale)
เขายังเปรียบเทียบตัวเลขส่วนแบ่ง 30% ของ Steam ว่ามากเกินไปจนบริษัทเกมอย่าง EA, Ubisoft, Activision รับไม่ไหว จึงต้องไปสร้างร้านขายเกมของตัวเอง และตัวเลขส่วนแบ่งการขายบัตร Steam หรือ iTunes ตามร้านค้าปลีกต่างๆ ร้านก็ได้กำไรเพียง 10-15% เท่านั้น
ประเด็นเรื่องเกม Borderlands 3 ตัดสินใจลง Epic Games Store แบบเอ็กซ์คลูซีฟ สร้างความไม่พอใจให้กับแฟนๆ ไม่น้อย จนโดนรุมถล่มรีวิวเกมภาคเก่าบน Steam และเป็นผลให้ Randy Pitchford ผู้ก่อตั้งบริษัท Gearbox Software ผู้พัฒนาเกมซีรีส์นี้ ต้องออกมาชี้แจงผ่านทวิตเตอร์
Pitchford อธิบายว่ากรณีนี้ ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจนำเกมลง Epic Games Store คือผู้จัดจำหน่าย 2K Games ไม่ใช่ Gearbox ที่เป็นผู้พัฒนา แต่เขาก็ยินดีพูดคุยและรับฟังเสียงจากแฟนๆ เช่นกัน
หลังจากเปิดตัวมาได้เพียงแค่ 4 เดือน Artifact เกมการ์ดธีม Dota 2 จาก Valve ซึ่งไม่ได้รับความนิยมจากผู้เล่นเท่าที่คิดไว้เและกำลังประสบปัญหาผู้เล่นลดลงเรื่อยๆ ก็ออกมาแถลงผ่าน blog ของตัวเองว่า พวกเขากำลังจัดการกับปัญหานี้ผ่านการยกเครื่องพร้อมแก้ปัญหาของตัวเกมครั้งใหญ่ที่ต้องใช้เวลาในการพัฒนาพักใหญ่เลย
เนื้อหาใน blog ดังกล่าวระบุว่า ในช่วงแรกของการเปิดตัว พวกเขาคิดว่าจะค่อยๆ อัพเดตตัวเกมไปเรื่อยๆ ผ่านการสำรวจความคิดเห็นของชุมชนผู้เล่น แต่ผลลัพธ์ไม่ได้ออกมาอย่างที่พวกเขาคาดไว้
Valve เผยภาพแรกของแว่น VR ของบริษัทเอง (ก่อนหน้านี้พาร์ทเนอร์กับ HTC) โดยใช้ชื่อว่า Valve Index
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลอื่นใด นอกจากภาพของตัวเครื่อง Valve Index ที่มีกล้องด้านหน้า 2 ตัว ปุ่มบนตัวเครื่อง กับแถบสไลด์ที่น่าจะเป็นตัวปรับระดับสายตา พร้อมข้อความว่า May 2019
ก่อนหน้านี้ ยุทธศาสตร์ VR ของ Valve คือเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มเทคโนโลยี SteamVR แล้วใช้วิธีพาร์ทเนอร์กับ HTC Vive ช่วยผลิตฮาร์ดแวร์ให้ แต่การมาถึงของ Valve Index ก็แสดงให้เห็นว่า Valve เริ่มเอาจริงกับตลาดนี้ และต้องการสร้างฮาร์ดแวร์ของตัวเอง
เมื่อกลางปีที่แล้ว Steam ประกาศนโยบายเปิดเสรีเกมทุกประเภทให้ขึ้น Store ได้ โดยไม่สนใจเรื่องเนื้อหาที่ขัดแย้ง ทั้งเรื่องเพศ หรือความรุนแรง
สัปดาห์นี้มีนักพัฒนาอิสระรายหนึ่งชื่อ Desk Plant เปิดตัวเกม Rape Day โดยอธิบายว่าเป็นเกมแนว visual novel ในโลกที่เต็มไปด้วยซอมบี้ ผู้เล่นสามารถเลือกฆ่าตัวละครอื่นๆ และข่มขืนตัวละครหญิงได้ถ้าต้องการ
เกมนี้กลายเป็นข้อถกเถียงสำคัญว่าสามารถนำขึ้น Steam ได้หรือไม่ เพราะถึงแม้เนื้อหาเกมดูไม่เหมาะสม แต่ก็ไม่ผิดกฎของ Steam แต่อย่างใด ทำให้หลายคนจับตามองว่าตกลงแล้ว Valve จะตัดสินใจอย่างไรในเรื่องนี้
Steam สรุปสถิติของปี 2018 มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
Steam ประกาศหยุดซัพพอร์ตระบบปฏิบัติการ Windows XP และ Windows Vista โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 เป็นต้นไป
Valve ให้เหตุผลว่าเป็นเพราะไคลเอนต์ของ Steam ต้องเรียกใช้ฟีเจอร์บางอย่างของ Chrome ซึ่งเลิกซัพพอร์ต Windows XP/Vista มาตั้งแต่ปี 2016
มาตรการของ Valve จะหักดิบโดยบังคับให้ Steam หยุดทำงานบน Windows XP/Vista ไปเลย ใครที่ยังอยากเล่นเกมอยู่คงต้องอัพเกรดระบบปฏิบัติการกันสักหน่อยครับ
ทั้งนี้ต้องไม่ลืมว่า Windows 7 มีระยะซัพพอร์ตจากไมโครซอฟท์เหลืออีกแค่ 1 ปีแล้ว
หลังจาก Artifact การ์ดเกมโลก Dota 2 จาก Valve ได้เปิดตัวช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาและมีเสียงตอบรับที่ไม่ค่อยดีนักจากเหล่าเกมเมอร์ ล่าสุด Artifact ปล่อยอัพเดตใหญ่หวังดึงคนกลับมาเล่นมากขึ้น โดยเพิ่มระบบจัดอันดับ Skill Rating การเก็บเลเวลภายในเกมเพื่อรับของรางวัล และ ปรับสมดุลการ์ดบางใบพร้อมมาตรการรับซื้อการคืน
สำหรับรายละเอียดมีดังนี้
Valve ประกาศเปลี่ยนโมเดลการขายรายได้ของเกม Counter-Strike: Global Offensive (CS:GO) จากเดิมขายราคาเกมละ 15 ดอลลาร์ เปลี่ยนมาเป็นเปิดให้เล่นฟรี (free-to-play) บน Steam
ประกาศนี้มาพร้อมกับโหมด Danger Zone ซึ่งเป็นโหมดใหม่แนว Battle Royale ตามสมัยนิยม ใช้แนวคิดกระโดดลงจากเฮลิคอปเตอร์ เก็บไอเทมที่ตกอยู่ตามจุดต่างๆ เหมือนกับเกมแนว Battle Royale อื่นๆ
โหมดนี้จะมีผู้เล่นสูงสุด 18 คนพร้อมกัน แต่เลือกได้ว่าจะเล่นคนเดียว หรือเล่นเป็นทีม (สูงสุดทีม 3 คน ต้องเลือกก่อนเริ่มเกม) ทาง Valve บอกว่าเฉลี่ยแล้วเกมจะจบภายใน 10 นาที
ที่มา - Counter-Strike, Steam News
เมื่่อวันที่ 28 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รัฐบาลเซี่ยงไฮ้ได้จัดพิธีลงนามเซ็นสัญญาด้าน esports ขึ้นที่สนาม Mercedes-Benz Arena โดยมีหน่วยงาน esports ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมกันอย่างพร้อมหน้า ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดจำหน่ายอย่าง Tencent, NetEase และ Perfect Wrold รวมถึงแพล็ตฟอร์มสตรีมมิ่งอย่าง PandaTV และ ShihouTV โดยเป้าหมายของการลงนามครั้งนี้คือการทำให้เซี่ยงไฮ้มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางด้าน esports ของโลก
Valve ประกาศเปลี่ยนแปลงการคิดส่วนแบ่งรายได้ของเกมที่ขายผ่าน Steam มีผลสำหรับยอดขายตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2018 เป็นต้นไป จากเดิมที่คิดอัตราคงที่ 30% มาเป็นแบบใหม่ที่ให้ประโยชน์กับเกมที่ได้รับความนิยมสูง
รายละเอียดคือส่วนแบ่งจะยังคงเป็น 30% จนกระทั่งเกมนั้นทำรายได้สูงกว่า 10 ล้านดอลลาร์ ส่วนแบ่งจะลดเหลือ 25% และหากทำรายได้สูงกว่า 50 ล้านดอลลาร์ ส่วนแบ่งจะลดลงอีกเหลือ 20%
จากเงื่อนไขใหม่นั้นเห็นได้ว่าผู้ได้ประโยชน์คือผู้พัฒนาเกมรายใหญ่ ซึ่ง Valve บอกว่า จากการรับฟังและพยายามปรับหาสมดุล Valve จึงต้องปรับเงื่อนไขนี้ เพื่อให้แพลตฟอร์มยังคงดึงดูดกับนักพัฒนารายใหญ่ที่สร้างผลกระทบในวงกว้างต่อไป
Valve เปิดขายเกมการ์ด Artifact อย่างเป็นทางการตามที่สัญญาไว้ หลังเปิดทดสอบรุ่นเบต้ามาไม่นานนี้
เบื้องต้น Artifact ออกขายเวอร์ชันพีซี (Windows, Mac, Linux) ในราคา 20 ดอลลาร์ ซื้อได้จาก Steam และมีกำหนดออกรุ่นมือถือ (Android, iOS) ในปี 2019
การ์ดเซ็ตแรกที่เปิดตัวเรียกว่า Call to Arms มีทั้งหมด 280 ใบ ประกอบด้วยการ์ด 8 ประเภท ได้แก่ Heroes, Creeps, Spells, Improvement, Weapons, Accesory, Armor, Consumables