Mozilla ออก Firefox 34 (นับเวอร์ชันเป็น 34.0.5) รุ่นเสถียร ของใหม่ได้แก่
ปัจจุบัน search engine หลักของ Safari เป็น Google ซึ่งเคยมีข่าวว่า Google อาจต้องจ่ายให้ Apple ถึงพันล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อให้เป็น search engine หลักของ iOS ซึ่งสัญญานี้ Apple ทำกับ Google ในปี 2010 และจะหมดในปี 2015 ทำให้ Microsoft กับ Yahoo! จึงรีบพยายามเข้าสวมรอยทันที
Yahoo! นำโดยซีอีโอหญิง Marissa Mayer เผยว่าเธออยากให้ Apple ทิ้ง Google จากการเป็น search engine หลักของ iOS โดยก่อนหน้านี้ Yahoo! ประสบความสำเร็จโดยได้เป็น search engine หลักของ Firefox ไปแล้ว และ Yahoo! ก็เป็นผู้ให้ข้อมูลหุ้นในแอพ Stocks บน iOS ด้วย
Cooliris ผู้โด่งดังจากการทำโปรแกรมดูภาพ 3 มิติบนเบราว์เซอร์ที่ตอนหลังมาทำแอพเกี่ยวกับรูปภาพด้วย อาทิ LiveShare, CoolPreview, 3D Wall, PicLens, Cooliris บนมือถือ ตอนนี้ถูก Yahoo! ซื้อไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
บนเว็บไซต์ Cooliris ประกาศไว้ว่าตอนนี้ถูก Yahoo! ควบกิจการแล้ว โดย Cooliris ยังคงให้คำมั่นสัญญาว่าจะยังคงทำผลิตภัณฑ์ที่ดีเพื่อทุกคนต่อไป แม้จะย้ายไปอยู่ภายใต้ชายคา Yahoo! แล้วก็ตาม
Marissa Mayer เขียนบล็อกประกาศว่าทางยาฮูจับมือกับมอสซิลล่าเพื่อเปลี่ยนตัวค้นหามาตรฐานในไฟร์ฟอกซ์จากกูเกิลเป็นยาฮู โดยมีอายุสัญญาห้าปี โดยครอบคลุมทั้งเบราว์เซอร์รุ่นเดส์ทอปและโมบาย
บล็อกของ Marissa ไม่ได้ระบุว่าสัญญานี้จะมีผลนอกสหรัฐฯ แต่ Cnet รายงานว่าสัญญานี้มีผลเฉพาะในสหรัฐฯ เริ่มต้นเดือนธันวาคมนี้ และหน้าจอผลค้นหาในสหรัฐฯ ก็จะเปลี่ยนไป
ทางฝั่งมอสซิลล่าเองหวังว่าจะแตกสัญญาช่องค้นหาเปลี่ยนไปตามภูมิภาค เพื่อสร้างรายได้จากช่องทางที่หลากหลายมากขึ้น จากเดิมที่รายได้ส่วนใหญ่มาจากกูเกิล
สักวันแถวๆ จีนช่องค้นหาอาจจะกลายเป็น Baidu ก็เป็นได้
Reuters รายงานข่าววงในว่าผู้ถือหุ้นยาฮูรายใหญ่ (ระดับติด Top 10) อย่างน้อย 2 รายไม่พอใจผลงานของซีอีโอ Marissa Mayer และเริ่มหาทางออกโดยเสนอให้ AOL มาควบรวมกิจการกับยาฮู (เพราะมีธุรกิจใกล้เคียงกัน)
ตามข่าวบอกว่าผู้ถือหุ้นกลุ่มนี้ได้พบปะกับ Tim Armstrong ซีอีโอของ AOL เพื่อเสนอแนวคิดนี้แล้ว โดย Armstrong สนทนากับผู้ถือหุ้นด้วยดี และรับทราบข้อดีของการควบกิจการตามที่เสนอ แต่ก็บอกว่าการควบกิจการเกิดขึ้นจริงได้ยาก และทางฝั่งของ AOL ยังไม่เคยพูดคุยกับยาฮูในเรื่องนี้เลย
เมื่อปีที่แล้ว Yahoo Mail นำชื่ออีเมลเก่ามารีไซเคิลใหม่ ซึ่งสร้างความกังวลในแง่ความปลอดภัยของเจ้าของอีเมลคนเก่า เพราะอีเมลอาจถูกนำไปใช้รีเซ็ตรหัสผ่านบริการอื่นๆ ได้
Yahoo กับ Facebook ร่วมกันแก้ปัญหานี้โดยพัฒนาเทคนิคที่เรียกว่า RRVS (Require-Recipient-Valid-Since) โดย Facebook จะใส่ timestamp ไปในอีเมลรีเซ็ตรหัสผ่าน เพื่อระบุว่า Facebook ยืนยันตัวเจ้าของอีเมลครั้งสุดท้ายเมื่อใด ถ้าฐานข้อมูลของ Yahoo เทียบแล้วพบว่ามีการเปลี่ยนเจ้าของอีเมลหลังจาก timestamp นั้น เซิร์ฟเวอร์เมลของ Yahoo จะปฏิเสธอีเมลรีเซ็ตฉบับนั้น ช่วยป้องกันบัญชี Facebook ของผู้ใช้งาน
จากที่เคยมีข่าวลือว่า Yahoo! จะเน้นฟีเจอร์ด้านวิดีโอของ Tumblr มากขึ้น วันนี้เราเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลงแล้ว โดย Tumblr ปรับวิธีการแสดงผลวิดีโอดังนี้
ยาฮูรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2014 มีรายได้รวม 1,148 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรจากการดำเนินงาน 42.2 ล้านดอลลาร์ ส่วนกำไรสุทธินั้นสูงกว่ารายได้รวมคือ 6,776 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากมีรายการพิเศษที่บริษัทขายหุ้น Alibaba ออกมา 140 ล้านหุ้น ส่งผลให้ตอนนี้บริษัทมีเงินสดอยู่ในมือมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์ แถมยังเหลือหุ้น Alibaba อีกมูลค่ารวมกว่า 34,000 ล้านดอลลาร์
ในช่วงขวบเดือนที่ผ่านมา Google ได้ทยอยอัพเดตแอพของตัวเอง ให้มีหน้าตาเป็น Material Design เพื่อรองรับ Android 5.0 Lollipop ที่จะได้อัพเดตกันต่อไปในอนาคต ล่าสุดน่าจะเป็นคิวของ Gmail ที่น่าจะได้อัพเดตในเร็วๆ นี้ แถมพ่วงมาด้วยฟีเจอร์ใหม่ในการรองรับแอคเคาท์อีเมลของเจ้าอื่นด้วย
เว็บไซต์ Android Police รายงานว่าแอพ Gmail เวอร์ชัน 5.0 นี้นอกจากจะถูกปรับหน้าตาให้เป็น Material Design แล้ว ยังรองรับแอคเคาท์อีเมลของ Yahoo! และ Outlook อีกด้วย โดยสามารถสลับแอคเคาท์ได้โดยการปาดซ้าย-ขวา ที่บริเวณแถบแอคเคาท์อีเมลเท่านั้น (วิดีโอท้ายข่าว)
ทั้งนี้ยังไม่มีรายงานว่า Google จะปล่อยอัพเดตแอพ Gmail นี้เมื่อใด
ยาฮูออกแอพ Flickr for iPad ปรับปรุง UI ให้เหมาะกับหน้าจอใหญ่ ดูภาพได้เต็มตา รองรับการแสดงภาพ thumbnail ในแนวนอนเพื่อให้เห็นภาพจำนวนเยอะกว่าเดิม
แอพ Flickr เวอร์ชันใหม่ต้องใช้กับ iOS 8 ขึ้นไป โดยรองรับฟีเจอร์ Share แบบใหม่ของ iOS 8 ด้วย ดาวน์โหลดกันได้จาก App Store
ที่มา - Flickr Blog
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อต้นปีเราเห็นข่าวลือว่ายาฮูกำลังทำเว็บฝากวิดีโอมาสู้กับ YouTube? โดยชักชวนผู้ผลิตรายการดังๆ บน YouTube ให้ย้ายมาอยู่กับยาฮูแทน
ล่าสุดเริ่มมีรายละเอียดของแผนการนี้ออกมาเพิ่มเติมว่า ยาฮูเตรียมปั้น Tumblr เป็นแหล่งรวมวิดีโอจากดาราออนไลน์ดังๆ ที่ดึงตัวมาจาก YouTube แทนการสร้างเว็บวิดีโอแห่งใหม่ขึ้นมาจากศูนย์
เหตุผลของการใช้ Tumblr คงมาจากฐานผู้ใช้จำนวนมาก แถมยังเป็นกลุ่มวัยรุ่นที่นิยมดูวิดีโอออนไลน์อยู่แล้ว นอกจากนี้ Tumblr ยังมีฟีเจอร์เชิงโซเชียล เช่น การติดตาม (follow/subscribe) และการแชร์บล็อก (reblog) ซึ่งช่วยกระจายเนื้อหาเชิงไวรัลได้ง่าย
ยาฮูออกมายอมรับว่ามีเซิร์ฟเวอร์ของตัวเอง 3 เครื่องที่เปิด API ด้านการถ่ายทอดสดกีฬาผ่านเน็ตนั้นโดนแฮ็ก อย่างไรก็ตาม ยาฮูยืนยันว่าไม่มีข้อมูลผู้ใช้หลุดเนื่องจากการแฮ็กครั้งนี้ และแพตช์ระบบแล้วเรียบร้อย
ตอนแรก ผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัย Jonathan Hall ค้นพบการแฮ็กครั้งนี้และระบุว่าเกิดจากบั๊ก Shellshock แต่ภายหลังยาฮูตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ใช่ Shellshock แต่เป็นบั๊กอื่นที่แฮ็กเกอร์พบระหว่างการสแกนหาเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ Shellshock
ยาฮูบอกว่าตอนแรกทีมงานความปลอดภัยตกใจมากเพราะเซิร์ฟเวอร์ที่ถูกแฮ็กนั้นแพตช์บั๊ก Shellshock มาก่อนแล้ว
ที่มา - PC World
Yahoo ประกาศปิดบริการที่ไม่สำคัญอีก 3 ตัว โดยตัวที่น่าสนใจคือ Yahoo Directory ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของบริษัท Yahoo เมื่อ 20 ปีที่แล้ว (Yahoo เริ่มจากการเป็นไดเรคทอรีเว็บ ก่อนจะขยับมาทำระบบค้นหา)
บริการอื่นที่ประกาศปิดตัวคือ Yahoo Education สำหรับหาสถาบันการศึกษาในพื้นที่ที่ต้องการ และแอพสร้างหนังสั้น Qwiki ที่ซื้อมาเมื่อปี 2013 โดยจะโอนทีม Qwiki ไปทำอย่างอื่นแทน
ที่มา - Yahoo Tumblr
พอดีไปเจอมา เห็นว่าน่าสนใจดีเลยแปลเอามาให้อ่านกันครับ กับผลสำรวจในหัวข้อ "ถ้าเว็บไซต์ไหนหยุดให้บริการแล้วจะสร้างความลำบากให้คุณมากที่สุด" ที่เก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศญี่ปุ่นจำนวน 500 คน (รวมทั้งเพศชายและหญิง) ในช่วงอายุระหว่าง 20 - 60 ปี ได้ผลออกมาดังนี้
วันนี้เอกสารลับ 1,500 หน้าเกี่ยวกับคดีระหว่าง Yahoo! และ NSA ในศาล FISC ได้รับอนุมัติให้เปิดเผยต่อสาธารณะ ทำให้ทาง Yahoo! สามารถเล่าเรื่องราวการต่อสู้คดีเพื่อปกป้องข้อมูลผู้ใช้
เอกสารเหล่านี้เป็นคดีระหว่างช่วงปี 2007 ถึง 2008 ที่ Yahoo! พยายามโต้แย้งคำสั่งให้ Yahoo! แชร์ข้อมูลของผู้ใช้เข้าไปยังโครงการ PRISM จนกระทั่งถูกขู่ว่าหากยังไม่ทำตามคำสั่งจะถูกปรับวันละ 250,000 ดอลลาร์ กระบวนการนี้ทำให้บริษัทขนาดใหญ่ เช่น กูเกิล, เฟซบุ๊ก, แอปเปิล, และ AOL ต้องแชร์ข้อมูลเข้าไปยัง PRISM
เอกสารกลุ่มนี้เคยเปิดเผยมาครั้งหนึ่ในปี 2009 แต่มีการคาดทับชื่อบริษัททั้งหมดทำให้ไม่สามารถบอกได้ว่าบริษัทอะไรที่แชร์ข้อมูลให้ NSA บ้าง
ทาง Yahoo! ระบุว่ากำลังเปิดให้เข้าถึงเอกสารทั้งหมดต่อไป
เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ Yahoo! ตัดสินใจเข้าซื้อกิจการของบริษัทอื่น ครั้งนี้เป็นการซื้อบริษัทผู้ให้บริการโฆษณาในภาพบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีชื่อว่า Luminate
หลังโดนซื้อกิจการ Luminate ได้หยุดให้บริการในทันทีตั้งแต่วันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา บรรดาผู้เผยแพร่โฆษณา (ผู้ที่นำโฆษณาของ Luminate ไปแปะไว้บนเว็บไซต์ของตนเอง) จะได้รับเงินตอบแทนงวดสุดท้ายตอนสิ้นเดือนนี้ ในขณะที่ลูกค้าผู้ซื้อโฆษณากับ Luminate ก็จะได้รับเงินคืนเช่นเดียวกัน
ต้องมาดูกันว่าการซื้อกิจการครั้งนี้จะให้ผลงอกเงยแก่ธุรกิจของ Yahoo! ได้แค่ไหน
ที่มา - The Next Web
เว็บไซต์ The Information รายงานว่าบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกไอทีทั้ง Amazon, Yahoo!, ซัมซุง และไมโครซอฟท์ต่างสนใจที่จะเข้ามาเป็นพาร์ทเนอร์หรือซื้อกิจการ Cyanogen, Inc. บริษัทเจ้าของรอมชื่อดังอย่าง CyanogenMod
โดยจากรายงานของ The Information ที่อ้างอิงถึงแหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดกับไมโครซอฟท์ ระบุว่า Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ได้เข้าไปเจรจากับทาง Cyanogen, Inc ด้วยตนเอง (ต้นฉบับเขียนว่า sit-down with Cyanogen Inc.)
ทั้งนี้ Cyanogen นั้นเผยว่า ทางบริษัทกำลังมองหานักลงทุนรายใหญ่ในรอบ "Series C" ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าบริษัทเหล่านี้จะกลายเป็นผู้ลงทุนรายใหญ่ หรือไม่ก็เข้าซื้อกิจการมาเลย
Yahoo User Interface Library (YUI) เป็นไลบรารีจาวาสคริปต์ที่ยาฮูพัฒนาขึ้นในปี 2005 และประกาศโอเพนซอร์สในปี 2006 ซึ่งหลังจากนั้นก็มีเว็บไซต์และ CMS จำนวนมากนำ YUI ไปต่อยอดใช้งาน
อย่างไรก็ตาม วงการเว็บเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ทั้งในแง่ความสามารถของเบราว์เซอร์ และการเกิดขึ้นของไลบรารี/เฟรมเวิร์คหน้าใหม่หลายๆ ตัว ส่งผลให้ YUI ได้รับความนิยมลดลงเรื่อยๆ จนยาฮูต้องประกาศว่าจะหยุดพัฒนา YUI เป็นการถาวรแล้ว ในอนาคตออก YUI เวอร์ชันใหม่เฉพาะการแก้บั๊กสำคัญๆ เท่านั้น
ที่มา - Yahoo! Engineering
ถ้าจำกันได้เมื่อต้นปี Yahoo! ได้เข้าซื้อ Aviate Launcher แอพโฮมสกรีนสุดฉลาดบนแอนดรอยด์ที่สามารถจัดการข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้ เรียงแอพ และข้อมูลอื่นๆ อย่างสภาพอากาศ สายรถ เป็นต้น การที่ตัวแอพสามารถจัดเรียงข้อมูลมาให้ได้ ก็แสดงว่าแอพนั้นต้องมีข้อมูลผู้ใช้มากพอเช่นกัน และล่าสุด Yahoo ก็เผยพฤติกรรมผู้ใช้แอนดรอยด์ที่ติดตั้ง Aviate Launcher มาให้ชมกันแล้ว
สถิติที่เก็บมาจาก Aviate Launcher นั้นได้รับความร่วมมือจาก Yahoo Labs มาแปลงผลให้เป็นกราฟิกเข้าใจง่ายขึ้น รายละเอียดคร่าวๆ มีดังนี้ครับ
Eric Jackson ผู้ถือหุ้น Yahoo! และคอลัมนิสต์นิตยสาร Forbes ซึ่งเคยเป็นผู้สนับสนุนซีอีโอ Marissa Mayer ในช่วงที่เธอเข้ามารับตำแหน่งใหม่ๆ เริ่มเปลี่ยนท่าที โดยมองว่าผลงานของเธอตลอด 2 ปีที่ผ่านมาไม่มีอะไรคืบหน้า และตัดสินใจผิดหลายเรื่อง เขาจึงเขียนบทความตีแผ่ผลงานของ Mayer เป็นซีรีส์ ซึ่งมีประเด็นสำคัญดังนี้
Alex Stamos หัวหน้าทีมรักษาความปลอดภัยของข้อมูลกล่าวในงานประชุมด้านความปลอดภัยว่าภายในปี 2015 Yahoo! Mail จะถูกเข้ารหัสแบบ end-to-end และที่สำคัญคือจะสามารถทำงานร่วมกับการเข้ารหัสแบบ end-to-end ของ Gmail ได้ด้วย
ถึงแม้ก่อนหน้านี้ทาง Yahoo! จะสามารถเข้ารหัสศูนย์ข้อมูลทั้งหมดไปเรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่การเข้ารหัสการส่งอีเมลระหว่างต้นทางและปลายทางนั้นค่อนข้างยากกว่ามาก ทั้งนี้ Yahoo! จะใช้วิธีคล้ายๆ กับของกูเกิล โดยอาศัยส่วนเสริมของเบราว์เซอร์ในการเข้าและถอดรหัส
Yahoo! ญี่ปุ่น (ซึ่งบริหารแยกกันกับสหรัฐฯ) เปิดบริการใหม่ Yahoo! Endings ให้ลูกค้าสามารถเตรียมตัวก่อนตายด้วยสามบริการ ได้แก่ บริการส่งคำสั่งเสีย, บริการจัดงานศพ, และบริการจัดหาสุสาน
บริการส่งคำสั่งเสียจะสามารถตั้งให้เราส่งอีเมลล่วงหน้า 200 ชุด เมื่อทาง Yahoo! ยืนยันว่าเราเสียชีวิตแล้วจึงจะส่งอีเมลทั้งหมดไปยังผู้รับ นอกจากนั้นยังสามารถเปิดเว็บไว้อาลัย, ลบข้อมูลออกจาก Yahoo!, และหากจ่ายบิลผ่าน Yahoo! ก็สามารถส่งคำสั่งหยุดรับบริการต่างๆ ได้
บริการจัดงานศพจะมีแพ็กเกจพื้นฐานสำหรับการจัดงานศพ ระบบประมาณค่าใช้จ่ายและซอฟต์แวร์จัดการงานว่าต้องเตรียมอะไรบ้าง พร้อมกับบริการผู้ช่วยจองสถานที่
Flurry เป็นบริษัทช่วยวิเคราะห์สถิติการใช้งานแอพ โดยให้นักพัฒนาติดตั้งตัวเก็บสถิติของ Flurry ลงในแอพเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ใช้ และนำไปปรับปรุงแอพให้ดีขึ้น ซึ่ง Flurry เองก็นำข้อมูลภาพรวมอุตสาหกรรมมาเผยแพร่อยู่บ่อยๆ (Blognone ก็รายงานข่าวจาก Flurry หลายครั้ง ลองดูข่าวย้อนกันเองนะครับ)
ล่าสุด ยาฮูประกาศซื้อกิจการ Flurry แล้ว โดยยาฮูบอกว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคออนไลน์เปลี่ยนไปมาก จากเดิมที่ต้องเข้าหน้าเว็บ (ซึ่งยาฮูเป็นแชมป์ในเรื่องนี้มานาน) กลายมาเป็นการใช้งานแอพแทน ดังนั้นยาฮูจึงอยากรู้พฤติกรรมเหล่านี้ของผู้ใช้และนำมาปรับปรุงแพลตฟอร์มของตัวเองให้ดีขึ้น
ยาฮูรายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2014 มีรายได้รวม 1,084.2 ล้านดอลลาร์ ลดลง 4% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน มีกำไรสุทธิ 272.6 ล้านดอลลาร์ ลดลง 19%
ซีอีโอ Marissa Mayer กล่าวในรายงานผลประกอบการว่า เนื่องจากเป้าหมายสำคัญของยาฮูคือต้องมีการเติบโตทางด้านรายได้ ฉะนั้นผลลัพธ์ที่ออกมาไตรมาสนี้จึงไม่น่าพอใจ แม้หลายส่วนธุรกิจของยาฮูจะเติบโตได้ดี อาทิ เสิร์ช, บริการบนมือถือ, วิดีโอ แต่ธุรกิจแสดงโฆษณามีรายได้ลดลงมากและถ่วงให้ภาพรวมรายได้ลดลง ซึ่ง Mayer บอกว่ายาฮูจะเร่งแก้ไขปัญหานี้ให้เร็วมากยิ่งขึ้น
ภารกิจการไล่ซื้อกิจการของยาฮูนั้นยังคงดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เข้าซื้อ RayV บริษัทสตาร์ตอัพด้านวิดีโอสตรีมมิ่ง โดยไม่มีการเปิดเผยมูลค่าของดีลครั้งนี้
RayV พัฒนาระบบวิดีโอสตรีมมิ่งความละเอียดสูงแบบครบวงจร ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2005 ที่สหรัฐอเมริกา แต่มีทีมวิจัยและพัฒนาอยู่ที่เมืองเทลอาวีฟ ประเทศอิสราเอล โดยพนักงานส่วนใหญ่ของ RayV ซึ่งเดิมอยู่ที่นิวยอร์ก จะย้ายไปรวมกับทีมวิจัยและพัฒนาของยาฮูที่อิสราเอล ส่วนบริการของ RayV คาดว่าจะปิดตัวลงในไม่ช้า
การซื้อกิจการในครั้งนี้น่าจะเป็นการเสริมทัพให้กับบริการ Yahoo! Screen ของยาฮูเอง ภายหลังจากที่ผิดหวังจากดีล Dailymotion