Dell และ Gateway ผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ของสหรัฐได้เริ่มขายพีซีที่ไม่มีฟลอปปี้ไดรว์กันแล้ว หลังจากแอปเปิลเป็นรายแรกที่ถอดฟลอปปี้ไดรว์ออกไป ใน iMac ตัวแรกที่ขายตั้งแต่ปี 1998 ตอนนั้นแอปเปิลโดนวิจารณ์เยอะอยู่บ้าง แต่ปี 2004 นี้ ฟลอปปี้ก็แทบไม่จำเป็นจริงๆ ด้วยการอุดช่องว่างด้านความจุด้วย CD-RW และอุดช่องว่างเรื่องความสะดวกด้วยแฟลชไดรว์ช่วงปีสองปีหลัง
Yahoo! บอกว่า ฟลอปปี้กำลังดำเนินตามรอยของม้าเมื่อมีรถยนต์เกิดขึ้น นั่นคือมันยังมีอยู่ เพียงแต่ไม่สำคัญเหมือนเดิมอีกแล้ว ผู้ซื้อพีซีของเกตเวย์ต้องจ่ายเพิ่มอีก 10-20 เหรียญเพื่อเพิ่มฟลอปปี้ไดรว์เข้ามา (ราคาก็พอๆ กับบ้านเรา ประมาณสี่ร้อยบาท)
ประเด็นน่าปวดหัวในช่วงนี้เกิดขึ้น จากการพัฒนาการของซีพียูในช่วงนี้ที่นิยมการพัฒนาให้มีแกนซีพียูอยู่ถึงสองชุดในชิปเดียวกัน การทำเช่นนี้จะช่วยเพิ่มความเร็วในการทำงานได้โดยไม่ต้องไปเพิ่มความถี่กันแบบบ้าเลือดเหมือนเมื่อก่อน
แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นเมื่อมีคนถามว่า แล้วไอ้ซอฟท์แวร์แพงๆ ที่ขายกันเป็นราคาตามจำนวนซีพียูล่ะ จะคิดราคากันยังไง?
ซอฟท์แวร์ที่ขายแบบคิดเงินตามจำนวนซีพียูนั้น มีมากมายโดยเฉพาะในตลาดงานระดับองค์กรณ์ เช่น Oracle, RedHat, Microsoft SQL server
ยังจำ Deep Blue เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเล่นหมากรุกแล้วชนะคาปารอฟ มือหนึ่งของโลกกันรึเปล่าครับ หลังจากที่ IBM ประสบความสำเร็จจากคอมพิวเตอร์ตัวนี้แล้ว ก็ได้สร้างรุ่นลูกของมันขึ้นมาคือ Blue Gene และจากตอนนั้นก็มีการพัฒนาต่อเนื่องเรื่อยมาก (อย่างเงียบเชียบ)
ถึงเมืองไทยจะยังซื้อไม่ได้ แต่กระแสซื้อเพลงออนไลน์ก็มาแรงมากในช่วงนี้ ผมเลยเรียบเรียงรีวิวจากเว็บเมืองนอกมาให้อ่านกัน
ข้อมูลหลักมาจาก BBspot Reviews: Digital Music Stores และข้อมูลอื่นๆ จาก CNET
คงคุ้นเคยกับ GMail กันมาบ้างจากสื่อต่างๆ GMail บริการอีเมลฟรีเนื้อที่ 1GB จาก Google ตอนนี้มีคนเขียนโปรแกรมให้เขียนบล็อกโดยใช้ GMail ได้แล้ว
theINQUIRER วันนี้หนังสือพิมพ์ Nihon Kaizai Shimbun ของญี่ปุ่นได้รายงานถึงความคืบหน้าของบริษัทมิตซูบิชิ (Misubishi - อันเดียวกับที่ผลิตรถนั่นล่ะครับ) ที่สามารถเร่งความเร็วในการตอบสนองการแสดงผลบนจอ LCD ได้เร็วขึ้นเป็นเท่าตัว
เป็นที่รู้กันมานานแล้วว่าข้อเสียหลักของจอ LCD นั้นมีอยู่สองประการคือมุมมองภาพที่แคบ และการตอบสนองที่ช้า ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นผลเสียต่อการใช้งานจอ LCD ในด้านการบันเทิงไม่ว่าจะเป็นการเล่นเกมหรือการดูภาพยนต์ ทำให้คนบางกลุ่มยังคงยึดกับจอ CRT หรือข้ามไปใช้จอ Plasma แทนจอ LCD เนื่องจากข้อเสียดังกล่าว
X-Window ที่เราใช้ๆ กันอยู่บนลินุกซ์ทุกวันนี้ คือ X-Window ของโครงการ XFree86 เวอร์ชันท้ายสุดที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างคือ 4.3 แต่หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและองค์กรภายในค่อนข้างมาก ทำให้ XFree86 4.4 นั้นไม่ได้รับการยอมรับจากลินุกซ์ดิสโทรทั้งหลาย และก่อให้เกิดการจัดตั้งองค์กรใหม่ขึ้นมาคือ X.Org และ X-Window ตัวใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงกำลังจะมา
เผอิญผมอยู่ในสายนี้เหมือนกัน เปิดอ่าน Top500 ของ Super Computer ของโลกเราทุกวันนี้ฉบับเดือนมิถุนา 2004 เห็นความเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างครับ
วันนี้จะขอแนะนำหนังสือกันสักเล่มหนึ่ง ซึ่งเขียนโดยพี่เบิ้มแห่งวงการ IT ที่เราทุกคนคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี คือ อันดรูว์ โกรฟ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง Intel บริษัทผู้ผชิตไมโครโพรเซสเซอร์อันดับหนึ่งของโลกนั่นเอง
การเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับเสมอ เมื่อเวลาผ่านไป มันจะพัดเอาสิ่งต่างๆ ให้เปลี่ยนแปลงไปตามมันด้วย แต่ในโลกของ IT กระแสเวลาแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้รุนแรงกว่าโลกในยุคใดๆ ธุรกิจจะอยู่รอดได้อย่างใรในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลงนี้
ปัญหาว่าเว็บบราวเซอร์ไหนนิยมสุดเป็นปัญหาโลกแตกมานานแล้วครับ ถึง SlashDot เว็บยอดฮิต จะทำโพลก็ตาม แต่ก็ไม่ค่อยน่าเชื่อถือนัก เพราะผู้อ่าน /. นั้นมีแต่พวกเทคโนโลยีเข้าไส้ สามารถหาบราวเซอร์ตัวอื่นมาเล่นเองได้ และมีแนวคิดร่วมกันว่าเราจะเป็นศัตรูกับไมโครซอพท์ :)
The Register สำนักข่าวดังจากอังกฤษ วิเคราะห์ความปลอดภัยที่ไมโครซอพท์อ้างว่าเพิ่มขึ้นใน Service Pack 2 ว่าปลอดภัยจริงสมคำโฆษณาหรือไม่
Miguel De Icaza ผู้ก่อตั้งโครงการ Gnome และบริษัท Ximian (ปัจจุบันเป็นผู้บริหารของ Novell) ตอนนี้กำลังทำโครงการ Mono (นำ .NET Framework มาสู่ลินุกซ์) ออกมาให้ความเห็นเรื่องความล่าช้าของ Longhorn ผ่านบล็อกของเขา
เสียหน้าไปไม่น้อยครับ ที่อาทิตย์ที่แล้วโดนเอเอ็มดีชิงธงโชว์ดูอัลคอร์ไปก่อน งานนี้อินเทลเลยประกาศว่ามีดีจะโชว์เหมือนกัน
ข่าวนี้ไม่ได้สร้างความตื่นเต้นอะไร เพราะเหมือนว่าอินเทลจะมาแถลงคั่นเวลาเท่านั้นเอง เรียกว่ากู้หน้ากันหน่อยว่างั้นเถอะ
แต่ทั้งสองค่ายนั้นยังโชว์กันนิดหน่อยๆเท่านั้น ประมาณว่าเอามารันให้ดู ในตอนนี้ผมยังเห็นเห็นว่ามีสำนักข่าวไหนได้รับของทดสอบเอามาทดสอบความเร็วให้ประจักษ์กับตากันเลย แต่ไม่ต้องรีบร้อนดูหรอกครับ เพราะกว่าจะวางขายอย่างเร็วคงเป็นกลางปีหน้าโน่น ที่สำคัญออกมาใหม่ๆ มันจะแพง ชนิดซื้อไม่ลงแน่นอน
ข่าวประจำวันนี้รายงานกับเว็บแทบระเบิดกันทุกเว็บคือการเปิดตัวเว็บขายเพลงของไมโครซอฟท์ที่ประกาศว่าจะมีแน่นอนตั้งแต่สามสี่เดือนก่อน ในวันนี้ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวเป็นทางการไปแล้วที่ http://beta.music.msn.com/ แม้จะมีข้อครหาจากหลายสำนักว่าจะเป็นการเลียนแบบ iTunes ของ แอปเปิลก็ตาม
ฉลองกันไปทั่วครับในตอนนี้กับวันครบรอบ 35 ปีของอินเทอร์เน็ต ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ใครจะเชื่อว่าเครือข่ายที่อำนวยความสะดวกให้กับการใช้ชีวิตประจำวันนี้ จะเริ่มต้นด้วยแนวคิดที่ว่าสงครามอาจเกิดได้ทุกเมื่อ สหรัฐจึงต้องการเครือข่ายที่ไร้ศูนย์กลางอย่างแท้จริง เผื่อว่ารัฐไหนโดนระเบิดไป ที่เหลือจะได้สามารถสื่อสารกันได้ จึงได้ให้กำเนิด ARPANET พ่อของอินเทอร์เน็ตในทุกวันนี้
ข่าวใหญ่วันนี้ คือการเปลี่ยนแปลงครั้งที่สามของคอมพิวเตอร์ที่ไปปรากฎตัวในทีวีมากที่สุด iMac
เพิ่งมีโอกาสได้เล่น intel Xeon ตัวใหม่ คือตัวที่มีรหัสว่า Nocona และถือได้ว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญมากตัวหนึ่ง ที่จะทำให้เราได้ก้าวเข้าสู่โลก 64 บิตได้อย่างราบรื่นมากยิ่งขึ้น
ต้องเท้าความก่อนว่า การประมวลผลแบบ 64 บิตนี้จำเป็นจะต้องคอมไพล์โปรแกรมเดิมๆ ที่เราใช้กันอยู่บนระบบ 32 บิตกันใหม่ทั้งหมด เพราะอ้างแอดเดรสความยาวไม่เท่ากัน ปริมาณโปรแกรม 32 บิตที่มีทุกวันนี้ก็มหาศาลจนแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยในการคอมไพล์ใหม่ทั้งหมด
arstechnica เมื่อวานนี้ AMD แถลงการพร้อมกับโชว์เครื่องเซอร์เวอร์ที่รันด้วยไมโครโปรเซสเซอร์แบบดูอัลคอร์ แซงหน้าอินเทลไปอีกหนึ่งก้าวกับเทคโนโลยีใหม่นี้
การแถลงข่าวครั้งนี้อาจเกิดขึ้นเพราะการแถลงการของอินเทลถึงเทคโนโลยี 35 นาโนเมตร เพื่อเรียกความมั่นใจในตัวบริษัทกลับคืนมา
theINQUIRER ข่าวใหญ่วันนี้คงหนีไม่พ้นสามยักษ์ใหญ่วงการเครื่องใช้ไฟฟ้าของญี่ปุ่น คือ ฮิตาชิ โตชิบา และมัตซึชิตะ (เจ้าของยี่ห้อพานาโซนิค) ร่วมกันตั้งบริษัทเพื่อมุ่งตลาดผลิตโทรทัศน์ LCD
งานนี้คนที่ร้อนที่สุดน่าจะเป็นซัมซุงนั่นเองครับ เพราะชั่วโมงนี้ตลาด LCD นั้น ซัมซุงเป็นผู้ครองตลาดเสียส่วนใหญ่
Rio หนึ่งในผู้ชิงตลาด MP3 Player ได้ออกเครื่องเล่นขนาดเล็กที่ออกมา"ฆ่า" iPod Mini ชื่อของมันคือ Carbon
Carbon มีความจุ 5 Gb ใช้ฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็กแบบใหม่ของซีเกท Rio อ้างว่าแบตเตอรี่อยู่ได้นานถึง 20 ชั่วโมง (iPod Mini ประมาณ 10 ชม.) ราคาก็ 249 เหรียญเท่ากับ iPod Mini ครับ ฟีเจอร์ที่น่าสนใจคือลากเพลงไปใส่ใน Carbon ได้เลยโดยไม่ต้องใช้ซอพท์แวร์พิเศษช่วย หน้าตาดูแล้ว ผมคิดว่าใช้ได้เลยล่ะ
Yahoo! Financial ข่าวล่าวันนี้คือการที่ อินเทลประกาศถึงความสำเร็จในการผลิตชิปหน่วยความจำที่สร้างบนพื้นฐานของเทคโนโลยีระดับ 35 นาโนเมตร
ข่าวนี้คงทำให้แฟน AMD ใจแป๊วกันไปอีกสักพัก เพราะที่ผ่านมา กว่า AMD จะก้าวขึ้นแท่น 90 นาโนเมตรได้ก็เล่นเอาหืดขึ้นคอ
แม้จะไม่ใช่คนในโลกโอเพ่นซอสต์เต็มตัว แต่ด้วยความพยายามพอร์ตตัวเองไปอยู่ในโลกโอเพ่นซอร์สเรื่อยมา พบกับความประทับใจและไม่ประทับใจหลายประการ วันนี้ขอมาเล่าถึงสิ่งดีๆ ที่ได้เจอในโลกเปิดแห่งนี้กันหน่อยแล้วแล้วกัน
ตัวแรกที่สุดประทับใจและยังใช้มาจนทุกวันนี้คือ JEdit ครับ เป็นเอดิตเตอร์สำหรับคอคนเขียนโปรแกรมที่ใช้งานง่ายสุดๆ ตัวหนึ่ง ความชอบที่โดดเด่นคือหน้าจอที่ปรับได้อย่างอิสระมาก เพราะเวลาเขียนโปรแกรมนั้นการดูซอร์สโค้ดทีละหลายๆไฟล์เป็นเรื่องจำเป็นมากสำหรับผม
ลินุกซ์สัญชาตินิวซีแลนด์ครับ เพิ่งออกเวอร์ชัน 2.1 มาให้ลองใช้กัน ซอพท์แวร์ต่างๆ ก็ใหม่ๆ เพียบ ดังนี้
ดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ ISO แผ่นเดียว
วันนี้มาร์คมาพูดถึงความอยู่รอดของ PDA พอดี
ถ้าถามผมแล้ว PDA จะมีที่ยืนในโลกไปอีกไม่เกิน 5 ปีหรอกครับ เพราะเจอมือถือกับ Tablet PC เข้ามาบีบขนาบ ความจริงแล้วมีคนเรียกร้องให้ปาล์มซอร์ส รีบออกโอเอสที่รับจอความละเอียดสูงได้แล้ว เพื่อดันตัวไปเบียดกับ Tablet บ้าง แต่จนแล้วจนรอด Cobalt ก็ยังไม่รับซะที แต่ปาล์มอาจจะคิดตรงกันข้ามคือ ลงไปลุยกับมือถือดีกว่า เพราะน่าจะขายง่ายกว่ามาก ตลาดกว้างกว่า Tablet มาก
แต่วันก่อนมีเพื่อนที่เรียนครุฯ มาคุยกันแล้วเล่าให้ฟังถึงความคิดของมันว่า กล้องดิจิตอลกำลังจะตายตามปาล์มในอนาคต
ถ้าเป็น ปีที่แล้วผมไม่เชื่อหรอก
ปีนี้มีใครไปเดินงานคอมมาร์ต คอมเทค อีเอ็กซ์โป หรืองานอะไรทำนองนี้บ้างครับ สังเกตเหมือนผมกันรึเปล่าว่า จำนวน PDA ที่มาขายในงาน มีน้อยลงไปเยอะ?
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ไม่ใช่ผมหรือคุณคิดไปเอง การถอนตัวจากตลาด PDA ของโซนี่ยืนยันแนวโน้มนี้ได้เป็นอย่างดี
ทำไมล่ะ? ตลาด PDA แบ่งเป็นสองค่ายใหญ่ คือ ปาล์ม กับพ็อคเก็ตพีซี ค่ายปาล์มมี PalmOne กับ โซนี่ครองตลาดอยู่ ส่วนพ็อคเก็ตพีซีก็มติเอกฉันท์ให้กับ iPAQ เมื่อโซนี่ถอนตัวไป เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอะไรกัน