ทาง Blognone ได้รายงานข่าวเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ว่า iTMS นับถอยหลังสู่พันล้านเพลง โดยวันนั้นจำนวนเพลงที่ถูกดาวโหลดอยู่ที่ประมาณ 953 ล้านเพลง
อีกสิบหกวันถัดมาหรือก็คือวันนี้ iTMS มีลูกค้าดาวโหลดเพลงไปทั้งหมด 1,000,000,000 เพลง แล้ว (หนึ่งพันล้านเพลง!!!)
แอปเปิ้ลยิ้มร่า ลูกค้าร่าเริง...
ถ้าใครเคยใช้โปรแกรมอย่าง eMule คงจะเห็นว่าความสะดวกของมันคือการค้นหาไฟล์ที่ง่ายกว่าการใช้บิตทอร์เรนต์มาก โดยข้อได้เปรียบนี้เกิดจากที่เครือข่าย eDonkey2000 นั้นมีเซิร์ฟเวอร์ให้บริการค้นหาอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเซิร์ฟเวอร์ที่ใหญ่ที่สุดในตอนนี้คือ Razerback2
แต่แล้วในวันนี้ เซิร์ฟเวอร์ที่เป็นเหมือนสันหลังของของเครือข่ายแชร์ไฟล์อันดับหนึ่งของโลก ก็ถูกสั่งปิดพร้อมกับการถูกจับกุมของผู้ต้องสงสัยว่าเป็นแอดมินเครื่องเซิร์ฟเวอร์นี้ โดยการจับกุมนี้เป็นการบุกจับถึงบ้านกันเลยทีเดียว
เพิ่งออกเมื่อวานนี้ ที่ PCMagazine มีรวมภาพ screenshot ให้ดู ผมคัดมาแต่อันสำคัญๆ ล่ะกัน
มันเป็น "จุดศูนย์กลาง" จริงๆ ครับ ลองเปิด Google Maps แล้วไม่ต้องทำอะไร ซูมให้สูงสุด คุณจะเห็นพื้นที่ว่างๆ กับถนน 1 เส้น ของเมือง Coffeyville ในรัฐแคนซัส ซึ่งบริเวณนั้นเป็นฟาร์มม้าของ Kristine Crispel
เนื่องจากเมืองนี้จะเป็นศูนย์กลางของทุกที่ที่ใช้ Google Maps API อย่างเช่น Frappr ทำให้เมืองนี้มีชื่อเสียงโด่งดังอย่างรวดเร็ว
สำหรับ Google Earth จะเป็นเมือง Lawrence ของรัฐแคนซัสแทน ซึ่งทางโฆษกของกูเกิลก็อธิบายเหตุผลที่เลือกเมืองเหล่านี้ไม่ได้
HP Labs หน่วยงานวิจัยหลักของ HP ซึ่งเคยมีผลงานอย่างเลเซอร์พรินเตอร์ได้เปิดบ้านฉลอง 40 ปี โดยมีสิ่งประดิษฐ์หลายอย่างมาโชว์ หนึ่งในนั้นคือ Misto ซึ่งเป็นโต๊ะกินข้าว ที่มีจอสัมผัสขนาดใหญ่ สามารถนำไปใช้เล่นบอร์ดเกม หรือดูแผนที่กลยุทธแบบหนังสงครามก็ได้ เพียงแต่ไม่ต้องหาตัวหมากไปวางแบบเหมือนก่อน จิ้มๆ เอาได้เลย (ลองดูรูปดูครับ เท่ดี)
ที่มา - News.com
หลังจากเป็นคดีกันมานาน ศาลลอสเองเจลลิสก็ตัดสินให้กูเกิลแพ้คดีต่อบริษัท Perfect 10 ผู้ให้บริการภาพนู้ดซึ่งเก็บค่าบริการ โดยศาลให้เวลาทั้งสองบริษัทได้ตกลงกันก่อนวันที่ 8 มีนาคม หากยังตกลงกันไม่ได้ศาลก็จะมีคำสั่งบังคับคดีออกมา
ด้าน EFF ซึ่งเป็นองค์กรเรียกร้องเสรีภาพในอินเทอร์เน็ตออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับผลคำตัดสิน โดยระบุว่าศาลออกคำตัดสินโดยไม่ได้คำนึงถึงว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นอันตรายเพียงไร
หลังจาก Novell ออก XGL มาให้ชาวลินุกซ์ได้ตื่นเต้นกันว่า อนาคตเดสก์ท็อปเราจะสดใสอยู่พักนึง ตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนแล้วครับ
เนื่องจากว่าฝั่ง Red Hat/Fedora ได้ออกมาหนุนโครงการแบบเดียวกันชื่อ AIGLX (ย่อมาจาก Accelerated Indirect GL X) ซึ่งผมแนะนำให้ดูวิดีโอสั้นๆ ตามลิงก์นี้ก่อน จะรู้ว่ามันเหมือน XGL แค่ไหน
หลังจากรอมานานถึง 10 ปี วินโดวส์ก็ครองตลาดเซิร์ฟเวอร์เป็นอันดับหนึ่งแซงจากยูนิกซ์มาได้สมใจไมโครซอฟท์ โดยตลอดปี 2005 ที่ผ่านมา ไอดีซีรายงานว่ายอดขายวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์อยู่ที่ 17.7 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ยูนิกซ์อยู่ที่ 17.5 พันล้านดอลลาร์
ทั้งที่มีการคาดการว่าวินโดวส์จะขึ้นแท่นที่หนึ่งได้ก่อนหน้านี้มานานแล้ว แต่วินโดวส์ก็บุกตลาดได้ช้ากว่าที่คาดอยู่มาก ด้วยอุปสรรคหลายประการ เช่นเรื่องของความปลอดภัย ที่บริษัทต่างๆ ยังไม่ให้ความเชื่อถือนักในช่วงแรก
อ่ะแฮ่ม จากข่าว ขอเชิญร่วมสัมมนา TLUG ครั้งที่ 11 และ Blognone
งานนี้เป็นงาน Ubuntu Asia Business Tour ที่คุณ Mark Shuttleworthผู้ก่อตั้ง Ubuntu Linux มาเองครับงานจัดที่ WTC นี่เอง
หลังๆจัดอีเวนท์ได้บ่อยมาก หลังจากเปิดตัว Intel iMac และ MacBook Pro ไปในเดือนก่อน แอปเปิลกำลังจะเปิดต้วผลิตภัณฑ์ใหม่ในวันอังคารหน้าอีกแล้ว (วันที่ 28 กุมภาพันธ์)
จะเป็น iPod video ของจริง อย่างที่ลือกัน หรือจะเป็น iBook ตัวใหม่ อันนี้ก็ดูเป็นไปได้ทีเดียว เดาเอาจากที่ร้านแมคในเมืองไทยตอนนี้ทยอยลดราคา iBook 12" กันไปพอสมควร หรือจะโผล่ล้ำหน้ามาเป็น Apple tablet ต้องรอดูกันต่อไป
กระแส Web 2.0 ยังแรงไม่ตก ZDNet มีรีวิวชุดออฟฟิศออนไลน์ที่เป็น Web 2.0 หลายตัว แยกตามแต่ละประเภทว่าตัวไหนน่าใช้มากที่สุด ประเภทอีเมลนั้น Gmail ชนะขาดตามคาด ส่วน word processor เป็นของ Writely (จำได้ว่าเคยเขียนไปแล้ว) และที่น่าแปลกใจที่สุดคือ ไม่มี presentation ที่เป็น Web 2.0 เลย! (มีแต่ S5 ที่ใกล้เคียง) สนใจก็ลองเล่นกันได้ตามสะดวกครับ
หมายเหตุ: สำหรับปฏิทิน 30 Boxes ผมใช้แล้วลุ้นอยู่ว่าจะแอปเปิลฟ้องหรือเปล่า
ก่อนงาน PMA2006 จะเริ่ม บรรดาบริษัทกล้องก็ทยอยยั่วน้ำลายช่างภาพทั่วโลกด้วยการเปิดตัวกล้องออกมาเป็นระยะ ก่อนหน้านี้ไม่ได้รายงานข่าวของยี่ห้ออื่น เพราะส่วนมากออกตัวกลางถึงเล็ก แต่กับแคนนอนนั้น คงละเลยไม่ได้ เพราะในที่สุด กล้องระดับกลางซึ่งให้ EOS 20D ทำหน้าที่นี้มานาน ก็ได้เวลาปลดระวางไปแล้วให้รุ่นน้องอย่าง 30D มาทำงานแทนแล้วในที่สุด
Unipage เป็นการจัดเก็บ web page ไว้ในไฟล์เพียงไฟล์เดียวรูปแบบหนึ่ง โดยต่างกับ PDF ตรงที่ รูปแบบของไฟล์จะเป็น HTML ที่มี content แบบ binary ทั้งหลาย เช่น ภาพ หรือ flash animation และ Javascript รวมอยู่ด้วย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
จากข่าวเก่า วิดีโอเดโม XGL เพิ่มเติม (แบบชัดๆ)
Blognone บน Xgl ครับผม (ใช้ Ubuntu Dapper flight 3 กับ GeForce 4MX 440) ลื่นปื้ด
สำหรับคนที่อยากลองขั้นตอนมีตามนี้ครับ
ขณะที่เรากำลังจะได้เห็นเทคโนโลยี 65 นาโนเมตรกันในไม่ช้านี้ ไอบีเอ็มก็ประกาศความสำเร็จในการผลิตชิปที่ความละเอียดขนาด 29.9 นาโนเมตรแล้ว โดยการผลิตที่ความละเอียดขนาดนี้ได้ ก็ด้วยเทคนิคการฉายแสงในน้ำ โดยแผ่นซิลิกอนจะถูกฉายแสงลายวงจรผ่านทางแผ่นน้ำบริสุทธิบางๆ
เทคโนโลยีที่เล็กลง จะทำให้ต้นทุนการผลิตชิปในระยะยาวลดลง และกินพลังงานต่ำลง ถ้าเราไปถึง 30 นาโนเมตรได้ ความฝันของแลปทอปที่ใช้งานได้ต่อเนื่อง 6 ชั่วโมงอาจจะไม่ใช่เรื่องไกลเกินฝัน
การใช้ไอพอดอาจจะไม่ใช่เรื่องส่วนตัวในที่ทำงานอีกต่อไป เมื่อมือดีชื่อ Abe Usher ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย ได้สร้างโปรแกรมชื่อว่า Slurp Audit [เว็บช้ามาก] ที่สามารถนำไปรันบนเครื่องเล่นเพลงอย่างไอพอดได้ โดยโปรแกรมจะรันอัตโนมัติเพียงการเสียบเครื่องเข้าพอร์ตยูเอสบี แล้วรันโปรแกรมนี้ มันจะแสกนโฟลเดอร์ Document an Settings แล้วดูดเอาไฟล์เอกสารต่างๆ เข้าสู่ไอพอดโดยอัตโนมัติ ซึ่งกับไอพอดขนาด 60 กิกะไบต์นั้น อาจจะดูดเอกสารสำคัญไปหมดโดยไม่มีใครรู้ตัวแม้แต่น้่อย
ผมเขียนถึงไปหลายรอบแล้วว่า Office 2007 หรือชื่อเดิม Office 12 จะมีหน้าตาแบบใหม่ ที่เอาเมนูกับทูลบาร์ที่เราคุ้นเคยกันดีออกไป แต่แทนที่ด้วยแถบ Ribbon ที่ปรับการใช้งานตามสภาวะการทำงาน
โดยส่วนตัวแล้วก็ไม่แน่ใจว่ามันจะประสบความสำเร็จเท่าไรนัก แต่หลังจากอ่านเอกสารของ Jensen Harris ซึ่งเป็น Lead UI Designer ของไมโครซอฟท์ว่ามีเหตุผลยังไงถึงต้องเปลี่ยน ผมก็เริ่มรู้สึกว่า เออ ใช้ได้แฮะ เลยเอามาแนะนำให้อ่านกัน (แนะนำให้โหลดสไลด์มาดูรูปประกอบด้วย)
John Dvorak เป็นคอลัมนิสต์ของนิตยสาร PC Magazine ที่ค่อนข้างมีชื่อเสียงในเรื่องไอเดียแปลกๆ ที่ทำให้ชาวบ้านมาเถียงกันอยู่บ่อยๆ แต่คราวนี้ดูท่าจะแรงมาก เนื่องจากคอลัมน์ตอนล่าสุดของ Dvorak ตั้งข้อสังเกตว่า แอปเปิลมีท่าทีหลายอย่างที่จะเลิกใช้ Mac OS X และเปลี่ยนไปใช้วินโดวส์!
หลังจากที่ปล่อยแบบ snapshot release มาหลายรุ่น มัสแตง (JavaSE 6) ก็ได้ผ่านหลักไมล์ที่สำคัญไปหลายจุดที่พอจะปล่อยรุ่นเบต้า ออกมาให้เราได้ลองใช้กันสักที
เบต้ารุ่นนี้จะมีอายุใช้งานได้ 90 วัน และทางซันเองคงปล่อยตัวเบต้ารุ่นถัดไปออกมาให้ใช้กันเรื่อยๆ โดยสามารถดาว์นโหลดได้ที่เว็บทางการของซัน เบต้าตัวนี้ถูกสร้างขึ้นบนพื้นฐาน build 59 อันเลื่องชื่อลือชา ถึงแม้รุ่น snapshot ปัจจุบันจะวิ่งไปที่ build 71 แล้วก็ตาม สาเหตุเนื่องมาจากการผ่านการทดสอบคุณภาพแล้ว
Merrill Lynch สำนักวิเคราะห์ทางการเงินที่เราได้ยินชื่อกันบ่อยๆ ได้ออกบทวิเคราะห์เกี่ยวกับเครื่องเล่นเกม PS3 ของโซนี่ว่าน่าจะดีเลย์ (หมายถึงวันจำหน่ายในสหรัฐ) ไปถึงต้นปี 2007 และต้นทุนการผลิต (ไม่ใช่ราคาที่วางจำหน่าย) อาจพุ่งไปถึง 900 เหรียญ (เกือบ 4 หมื่นบาทไทย)
ปัญหาอยู่ที่ส่วนประกอบแต่ละอย่างนั้นแพงระเบิดทั้งนั้น แถมยังมีปัญหาในกระบวนการผลิตที่ล่าช้าด้วย การผลิต Cell ที่ 90 นาโนเมตรทำให้โรงงานต้องรื้อกระบวนการผลิตใหม่หมด และมีข่าวลือว่าการ์ดจอรหัส RSX ของ nVidia ก็มีปัญหาด้านการผลิตเหมือนกัน
ก็เหมือนกับ Search Engine ตัวอื่นที่มุ่งไปที่กลุ่มผู้นักพัฒนาและโปรแกรมเมอร์ อย่างเช่น Koders และ Codefetch หากแต่ความแตกต่างของ Krugle ตัวนี้อยู่ที่ index ที่ครอบคลุม document กว่า 11 ล้านหน้า (ประมาณ 3-5 ล้าน terabytes) นอกจากนี้มี tool เพิ่มเติม เช่น ฟังก์ชั่นในการ annotate code และ เอกสาร, สร้าง bookmark และ save search result
Krugle คาดว่าจะเปิดตัวในช่วงเดือนมีนาคมที่จะถึงนี้
เว็บไซต์: http://www.krugle.com/
HDCP ย่อมาจาก High-bandwidth Digital Content Protection เป็นระบบป้องกันทางลิขสิทธิ์ที่จะใช้ใน Blu-Ray และ HD-DVD ยุคหน้า โดยไมโครซอฟท์บอกว่าจะเล่นแผ่น 2 แบบนี้ใน Vista การ์ดจอที่ใช้ต้องสนับสนุน HDCP ด้วย ทั้ง ATI และ Nvidia ได้ออก GPU ที่สนับสนุน HDCP มานานแล้ว แต่เอาเข้าจริง ไม่มีการ์ดจอที่ใช้ HDCP ขายได้ในท้องตลาดเลย
หมายความว่าอะไร? นี่หมายความว่าถ้าคุณออกจากบ้านไปซื้อการ์ดจอใหม่วันนี้ กะว่าอัพเกรดรอ Vista และกะว่าตอนนั้นจะดูหนังโหมดความละเอียดสูงใน Blu-Ray/HD-DVD ได้ คุณจะผิดหวังอย่างแน่นอน และเสียตังค์เปล่า!!!
เกาหลีใต้เตรียมโครงการนำร่อง 1 เมืองและ 1 มหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนมาใช้โอเพนซอร์สเป็นเทคโนโลยีหลัก โดยกระทรวง Information and Communication (ประมาณ ICT บ้านเรา)จะเป็นโต้โผ และต้องการเป้า 5% ของเดสก์ท็อป และ 40% ของเซิร์ฟเวอร์จะต้องใช้โอเพนซอร์สในปี 2010
เมืองและมหาลัยที่สนใจสามารถยื่นใบสมัครได้ในช่วงนี้ และจะคัดเลือกกันปลายเดือนมีนา เกาหลีเองได้เริ่มใช้โอเพนซอร์สในภาครัฐไปบ้างแล้ว เช่น Korea Post หรือกระทรวง Planning and Budget
ที่มา - The Korea Times
พอถึงเวลาที่ GNOME ใกล้ออกรุ่นใหม่ เวอร์ชันหลังๆ จะมีไกด์ของนาย Davyd Madeley ที่เขียนอ่านง่ายมีภาพประกอบ น่าอ่านกว่า changelog ธรรมดาหลายเท่าออกมาให้อ่านกัน ตอนนี้ก็ถึงคิวไกด์ว่า 2.14 มีอะไรใหม่
เรื่องหลักก็คงเป็นความเร็วที่เพิ่มขึ้น เพราะช่วงหลัง GNOME เองก็โดนวิจารณ์เยอะเรื่องช้า +กินแรม นอกจากนั้นก็เพิ่มเครื่องมือในการดูแลระบบหลายอย่าง และเพิ่มความสามารถด้านการค้นหาให้กับโปรแกรมหลายๆ ตัว โปรแกรมที่น่าสนใจคือ Deskbar ซึ่งเป็นโปรแกรมไว้เรียกโปรแกรมอื่น (ดูรูปเอาเองไม่รู้จะอธิบายยังไง ถ้าใครเคยใช้ Spotlight หรือ QuickSilver บนแมคมาจะเข้าใจ)