โดยปกติแล้ววิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะมีมาตรการกับการจัดการกับสแปมด้วยการใช้ URL Blacklist แต่เมื่อไม่กี่วันก่อน Jimmy Wales ออกมาเปลี่ยนมาตรการดังกล่าวเป็นการใช้งาน nofollow แทน
บอกก่อนว่า nofollow มันคือแอททริบิวสำหรับแทค rel บน HTML ที่จะทำให้เซิร์จเอนจิ้น "ไม่นับ" ลิงค์นี้เป็นคะแนน (ไม่ใช่ไม่ให้ Spider ตามลิงค์นะครับ) เช่น PageRank
การปรับเปลี่ยนครั้งนี้มีเหตุผลประกอบหลักๆ ก็คือ สแปมจาก SEO World Championship ซึ่งเป็นการแข่งขันว่าใครจะสามารถทำ SEO ได้ดีกว่ากัน โดยตัดสินจากอันดับในเซิร์จเอนจิ้น ณ วันที่ 1 พฤษภาคม
Wordpress เวอร์ชั่น 2.1 ออกแล้วครับพร้อมการแก้บั๊กกว่า 550 จุด ใช้ชื่อรหัสว่า Ella มาจากชื่อของนักร้องเพลงแจ๊ซ Ella Fitzgerald ฟีเจอร์หลักๆ ที่เพิ่มขึ้นมามี
แฟนๆ แอปเปิลในทุกวันนี้จำนวนมากคงซื้อแมคมาเพื่อใช้งานวินโดวส์กันเป็นเรื่องปรกติหลังจากที่มี Bootcamp ออกมาให้ใช้งาน ฟีเจอร์นี้คาดกันว่าจะแถมมากับ Leopard ที่กำลังจะวางจำหน่าย แต่สำหรับคนทีี่ใช้ Tiger แล้วทาง MacScoop ระบุว่ามีรายงานว่าผู้ที่ต้องการใช้ Bootcamp ตัวจริงอาจจะต้องจ่ายเพิ่ม 29 ดอลลาร์เพื่อความสามารถนี้
ก่อนหน้านี้แอปเปิลเพ่ิงประกาศเรียกเก็บเงิน 1.99 ดอลลาร์เพื่อเปิดความสามารถ 802.11n ใน MacBook ของแอปเปิลไปก่อนหน้านี้ ไม่รู้ว่าคนใช้แอปเปิลคิดยังไงกันบ้าง แต่ผมรู้สึกว่าใช้แอปเปิลแล้วถ้าอยากใช้ของถูกลิขสิทธิ์ทั้งหมดนี่ดูค่าใช้จ่ายจะยุ่บยั่บเอาเหมือนกัน
Ubuntu ประกาศโครงการ Ubuntu Studio สำหรับตัดต่อมัลติมีเดียโดยเฉพาะ โดยตั้งเป้าจะออกในเดือนเมษายนพร้อม Feisty Fawn
สิ่งที่เพิ่มเข้ามาแน่ๆ คือแพกเกจเกี่ยวกับการตัดต่อเสียงและวิดีโอจำนวนมาก ตัดแพกเกจที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป (ตัวเต็งคือ OpenOffice.org) และหน้าตาใหม่ที่จะเป็นสีดำ ไปในโทนเดียวกับโปรแกรมในตระกูลนี้อย่าง Aperture หรือ Lightroom (จริงๆ แล้วเค้าจะทำธีมให้เข้าชุดกับโปรแกรม Ardour และกำหนดชุดไอคอน Tango-noir ไว้แล้ว)
ที่มา - Ubuntu Wiki
นอกจาก Web Browser/Email Reader แล้วสิ่งที่ทุกวันนี้ขาดไม่ได้ก็คงเป็น Instant Messenger (IM) ซึ่งมีให้เลือกมากหลาย ทั้งโปรโตคอลและตัวโปรแกรมเอง สำหรับคนที่มีหลายชื่อ หรือใช้หลายยี่ห้อก็คงชอบ IM แบบที่ตัวเดียวใช้ได้ทุกบริการ เพราะอย่างน้อยก็ประหยัดหน่วยความจำได้มากโข และ IM ประเภทนี้ที่โด่งดังมากที่สุดตัวนึงก็คือ Gaim ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีลักษณะแปลกมาก คนใช้เยอะ คนสนใจก็ไม่น้อย แต่เหมือนกับว่าทีมผู้พัฒนาไม่ค่อยจะสนใจด้านโฆษณาตัวเองและโปรเจคซักเท่าไหร่ ส่วนใหญ่ก็เลยเงียบ นานๆ ก็จะออกรุ่นใหม่ซักที ไปกันแบบช้าๆ ไม่กระโชกโฮกฮาก เวลามีรุ่นใหม่ออกมาเลยต้องช่วงกันโปรโมตหน่อย ล่าสุดเมื่อวันก่อนก็ออก 2.0.0 beta6 แล้ว
สงสัยว่า Sony Music และ Universal Music Group จะไม่พอใจในยอดขายของ Zune (ซึ่งทำให้ส่วนแบ่งที่จะได้จากไมโครซอฟท์หดลงไปด้วย) จึงไม่อนุญาตให้เพลงที่ซื้อผ่าน Zune Marketplace สามารถแชร์ให้ Zune เครื่องอื่นผ่าน WiFi ได้ ฟังได้เฉพาะเครื่องเจ้าของอย่างเดียว
เว็บแฟนๆ Zune บางแห่งได้สำรวจคร่าวๆ พบว่าเพลงที่เข้าข่าย (คืออยู่ในสองค่ายนี้) มีประมาณ 50% ของเพลงที่ขายบน Marketplace เลยทีเดียว และน่ากลัวตรงที่ว่าไม่มีอะไรบอกล่วงหน้าว่ามันแชร์ไม่ได้ซะด้วย ยกเว้นจะลองส่งเพลงดูแล้วเจอมันฟ้องว่าทำไม่ได้ (ดูภาพได้ตามลิงก์)
ที่มา - Engadget
เว็บไซต์ Microsoft Watch ได้เก็บข้อมูลจากความคิดเห็นของผู้อ่านในข่าวต่างๆ และพบว่าสำหรับ IE7 มีเสียงบ่นมากกว่าเสียงชม
ประเด็นหลักๆ คือการที่ไมโครซอฟท์ยกระดับความปลอดภัยให้กับ IE7 โดยแลกกับการจำกัด ActiveX ทำให้เว็บไซต์จำนวนมากมีปัญหา สิ่งที่ได้กลับมาอย่างถล่มทลายคือเสียงต่อว่าจากผู้ใช้
นอกจาก ActiveX แล้วยังมีปัญหาด้านมาตรฐานเว็บ เว็บส่วนมากแบ่งเป็น 2 พวก คือ พวกที่เขียนเอาใจ IE6 และพวกเขียนตามมาตรฐานของ W3C (แบบ Blognone อิๆ) แต่เมื่อ IE7 ดันอยู่กึ่งๆ ระหว่างทั้งสองแบบ ทำให้เว็บที่ IE7 อ่านแล้วเละกลับมีมากขึ้นไปอีก จุดนี้ไมโครซอฟท์บอกว่าจะแก้ตัวเรนเดอร์ให้เข้ามาตรฐานมากขึ้นใน IE8
Seamonkey หรือ Mozilla Suite ซึ่งเป็นมรดกตกทอดยาวนานมาตั้งกะ Netscape ได้ออกรุ่น 1.1
สำหรับคนไม่รู้จัก Seamonkey เป็นชุดโปรแกรมที่มีเบราว์เซอร์, อีเมล, ตัวสร้างเว็บ และ IRC ซึ่งภายหลังสองตัวแรกแยกออกมาเป็น Firefox และ Thunderbird ทาง Mozilla เองได้ประกาศหยุดพัฒนา Mozilla Suite ไป แต่มีคนบางกลุ่มนิยมแบบรวมชุดอยู่ เลยพัฒนาต่อในชื่อ Seamonkey
เวอร์ชัน 1.1 ได้เปลี่ยนมาใช้ Gecko เวอร์ชัน 1.8.1 ซึ่งเป็นตัวเดียวกับ Firefox 2 และมีฟีเจอร์ใหม่บางอันยกมาจาก Firefox/Thunderbird เช่น ตัวตรวจสะกดคำ หรือ ใส่ tag ให้อีเมล เป็นต้น
ที่มา - Seamonkey 1.1 Release Notes
ข่าวเก่าหน่อยเพราะดันมาช่วงย้ายเซิร์ฟเวอร์พอดี ซึ่งข่าวก็สั้นๆ คือ Ruby on Rails (เฟรมเวิร์คแห่งปี) ออกเวอร์ชัน 1.2 แล้ว ของใหม่ที่เพิ่มมาหลักๆ มีสามเรื่องคือ REST, HTTP status code และ Unicode รายละเอียดก็อ่านได้จากประกาศของ David Heinemeier Hansson
ใครใช้อยู่สามารถอัพเกรดได้จาก Ruby Gems ได้ทันที
ที่มา - Rails 1.2: REST admiration, HTTP lovefest, and UTF-8 celebrations
Linus Torvalds กล่าวถึง Vista ไว้ว่า (ขอยกคำพูดมาตรงๆ เลยนะครับ) "I don't actually think that something like Vista will change how people work that much," และ "I think it, to some degree, has been over-hyped as being something completely new and I don't actually think it is."
ซึ่งพอจะแปลได้ว่า Linus คิดว่า "Vista นั้นไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่จะพลิกโฉมการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราและมีการโฆษณาเกินจริงในหลายๆ อย่าง" และนอกจากนี้ Linus ยังกล่าวด้วยว่า Vista นั้น ต้องการเครื่องคอมพิวเตอร์ในระดับสูงเกินไป ในขณะที่ Linux นั้นทำงานได้ดีกับเครื่องปัจจุบันที่แม้จะไม่สามารถลง Vista ได้เลยก็ตาม
StarHub ผู้ให้บริการทีวีแบบเสียค่าบริการรายเดือน ในสิงคโปร์ ได้ออกบริการ HDTV มา 2 รายการคือ Discovery HD และ National Geographic HD ทำให้สิงคโปร์ เป็นประเทศแรก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ให้บริการ HDTV โดยผู้ที่ต้องการ ดูรายการที่เป็น HDTV จะต้องเสียค่าเปิดบริการเป็นเงิน 299.25 เหรียญสิงค์โปร์ (ประมาณ 6900 บาท)และเสียค่าบริการเพิ่มอีกเดือนละ 15.75 เหรียญสิงค์โปร์ต่อเดือน (ประมาณ 365 บาท) ในขณะที่ค่าบริการ สำหรับดูเคเบิลทีวีความละเอียดปกติคือ 4.2 เหรียญสิงค์โปร์ต่อเดือน (ประมาณ 97 บาท)
ที่มา - iTWire
ทางเวบ Developer.com ได้ประกาศผลรางวัลยอดเยี่ยมประจำปีออกมา(แต่ว่าเป็นปี ค.ศ. 2007 นะ) ออกมาแล้วครับ
News.com คอนเฟิร์มแล้วว่าแอปเปิลจะปล่อยโปรแกรมอนุญาตให้ผู้ที่ใช้ iMac, MacBook, MacBook Pro รุ่น Core 2 Duo และ Mac Pro สามารถที่จะใช้ AirPort ได้ที่ความเร็วมาตราฐาน 802.11n แทนที่จะเป็น 802.11g enhanced เหมือนเมื่อก่อน โดยจะคิดราคา $1.99
สำหรับจำนวนเงินน้อยแค่นี้ แอปเปิลจำเป็นที่จะต้องเก็บเนื่องจากต้องการให้มีรายได้ทางระบบบัญชีที่ถูกต้องเท่านั้น แหล่งข่าวอื่น ๆ กลับไม่เห็นด้วยกับการเก็บเงินของแอบเปิลครั้งนี้
อีกเรื่องหนึ่งคือตอนนี้ส่วนแบ่งทางตลาดของคอมพิวเตอร์ตระกูลแมคนั้นมากกว่าเดิมครับ จากปลายปี 2005 ที่ 3.6% ของตลาดคอมพิวเตอร์ทั้งหมดในสหรัฐมาอีก 1.1% ขณะนี้อยู่ที่ 4.7%
จากที่ให้ตั้งคำถามไปคราวก่อน คุณ au8ust ก็ตอบมาอย่างรวดเร็ว แต่เนื่องจากคำถามซ้ำกันพอสมควร ผมถือโอกาสจัดหมวด/ตัดต่อ/รวบคำถามที่ใกล้เคียงกันเข้าด้วยกันนะครับ
ekawith: au8ust นี่อ่านว่าอะไรครับ au8ust: มาจากคำว่า august ครับ ที่มาของชื่อก็คือ ผมเกิดเดือนนี้อ่ะนะ มีเท่านั้นแหล่ะ :P
ekawith: อยู่ตรงไหนของหลวงพระบางครับ au8ust: แทบจะติดกับบันไดขึ้นลงภูสีเลยครับ ถ้าขึ้นภูสีเสร็จ เดินลงมาแล้วเดินมาทางขวา ก็จะเห็นร้านที่ผมอยู่เป็นร้านแรกเลย จริงๆนะ...
ทางโฮสต์แจ้งมาว่าพรุ่งนี้ตั้งแต่เวลา 13.00 ทางโฮสต์จะย้ายเครื่องเนื่องจากพบว่า ISP ที่ใช้อยู่ในตอนนี้มีปัญหากับ ADSL บางเจ้า ผลจากการย้ายเครื่องจะทำให้เข้าเว็บเราไม่ได้เป็นเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อให้ DNS อัพเดตได้ครบถ้วน ดังนั้นภายในบ่ายวันเสาร์ก็น่าจะใช้งานกันได้ตามปรกติ แต่บาง ISP อาจจะตั้งค่า DNS Cache ไม่ตรงมาตรฐานก็อาจจะนานกว่านั้น ตรงนี้ถ้ามีปัญหาอาจจะเลือกใช้ OpenDNS โดยการใช้ DNS เป็น 208.67.220.220 และ 208.67.222.222 (จริงๆ ผมใช้ตลอดอยู่แล้ว) หรือถ้าใครไม่อยากพลาดแม้แต่นาทีเดียว เดี๋ยวผมจะถามไอพีให้เอาไปใส่ไฟล์ HOST กันให้ครับ เชื่อว่าคนอ่านแถวนี้คงตั้งค่า HOST กันเป็นอยู่หลายคน
ใครที่ติดตามข่าวด้าน P2P หน่อยอาจจะเคยเห็นชื่อ "Venice Project" มาบ้าง ตอนนี้มันได้ชื่อจริงแล้วคือ "Joost"
Joost เป็นโปรแกรมดูทีวีออนไลน์ ส่งข้อมูลด้วยวิธี P2P (รูปแบบจะคล้ายๆ โปรแกรม Democracy Player ถ้าใครเคยเล่น) แต่สิ่งที่ทำให้ Joost เป็นที่กล่าวขวัญมาตลอด เพราะว่าเป็นโครงการใหม่ของทีมผู้สร้าง Kazaa และ Skype ซึ่งมีผลงานการันตีฝีมือมาแล้ว สื่อต่างประเทศจึงจับตามองว่า Joost จะเข้ามาเป็นคู่แข่งของเคเบิลทีวีได้เหมือนกับ Skype ไปท้าทายโทรทางไกลต่างประเทศหรือไม่ ซึ่งอันนี้ขึ้นกับฝีมือเจรจาของ Joost กับบรรดาผู้ผลิตสื่อวิดีโอต่างๆ เป็นสำคัญ
อันนี้เป็นข่าวรั่วที่หลุดมาจากข้างในซัน ยังไม่ใช่ข่าวเป็นทางการ ซึ่งใจความมันก็มีสั้นๆ ก็คือซันเตรียมจะใช้สัญญาอนุญาตแบบ GPL เจาะจงเวอร์ชัน 3 กับ OpenSolaris คู่ไปกับ CDDL ซึ่งเป็นสัญญาแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน กำหนดการคือหลัง GPLv3 เสร็จเรียบร้อย
ส่วนอธิบายข่าวนี่ยาวหน่อย การใช้สัญญาอนุญาตแบบคู่ไม่ใช่เรื่องใหม่ อย่าง Firefox เองนี่ใช้ถึง 3 (เรียก tri-license) คือ MPL, GPL และ LGPL (ในกรณีที่เราเขียนโค้ดเพิ่มให้ Firefox เราก็เลือกใช้หนึ่งแบบที่เหมาะกับงานที่สุด)
Ubuntu ได้เริ่มโครงการ Windows-based Installer (หรือชื่อภายในว่า install.exe) ซึ่งจะทำให้เราดับเบิลคลิกที่ไอคอน .exe มีตัวติดตั้งขึ้นมาแบบที่คุ้นเคย กด Next หรือ Yes ไปตามเรื่อง แต่แทนที่จะได้โปรแกรมธรรมดา ก็ได้ Ubuntu มาแทน (นึกภาพตามไม่ออก ดูรูปดีกว่า)
ขั้นตอนการทำงานมันค่อนข้างซับซ้อนเล็กน้อย สรุปได้ดังนี้ครับ
เฝ้ารอมาหลายปี ลินุกซ์ต้องทนใช้ Flash 7 มานานมาก จนกระทั้ง Adobe ใจดีทำ Flash 9 แจกให้ทดลองใช้ฟรีตั้งแต่ปีที่แล้ว 2 ครั้ง (ข่าวเก่า) ในที่สุดวันนี้ Adobe Flash Player 9 สำหรับลินุกซ์ตัวเต็มก็ลืมตาดูโลกซะที ใครใช้ลินุกซ์รีบเอามาลงด่วน ผมขอล่วงหน้าไปก่อนละ วันนี้เน็ตช้าจัง...
ที่มา - Penguin.swf
การต่อสู้ระหว่างผู้ผลิตและฝั่งแฮกเกอร์ก็ยังไม่หยุดลงง่ายๆ เมื่อมีการพบ HD DVD เรื่อง Serenity ถูกอัพโหลดขึ้นเครือข่ายบิตทอร์เรนต์แล้วเมื่อวานนี้ โดยในช่วงเดือนที่ผ่านมา เราได้ข่าวของ muslix64 กับความพยายามในการแครกการเข้ารหัส AACS นี้เรื่อยมา
Drupal 5.0 ออกมาแล้ว ก็เริ่มได้เวลาฟื้นโครงการ Blognone 3.0 ที่ผมพักไว้นาน (รอ 5.0 ออกตัวจริงก่อน) ซึ่งนอกจากจะมีการอัพเกรดตัว Drupal ตามปกติแล้ว ก็ถือโอกาสพิจารณาฟีเจอร์ของตัวเว็บด้วยทีเดียว ว่าจะเพิ่มจะลดอะไร
สิ่งที่จะเพิ่มมาแน่นอนคือ input filter อย่าง markdown (อาจจะ textile ด้วย) และสิ่งที่ตัดออกไปแน่คือ Event Calendar ส่วนอย่างอื่นผมยังไม่ได้ตัดสินใจ
ดังนั้นจึงถือโอกาสถามผู้อ่านว่าอยากให้ Blognone รุ่นหน้ามีอะไรบ้าง เสนอไอเดียกันที่นี่ได้เลย (ถ้าแนะนำ module ของ Drupal มาด้วยก็จะยิ่งง่าย)
Drupal (CMS ที่ Blognone ใช้) เวอร์ชัน 5.0 ออกแล้ว เวอร์ชันนี้มีของใหม่เยอะ ที่เด่นๆ ก็ธีมใหม่, หน้า admin ทำใหม่หมด, มีตัว installer แบบเดียวกับ CMS ตัวอื่นๆ แล้ว อ่านรายละเอียดทั้งหมดได้จากลิงก์ สรุปว่ามีฟีเจอร์ใหม่เยอะพอสมควร คุ้มแก่การอัพเกรดแน่นอน
Blognone มีโครงการจะอัพเกรดเป็น 5.0 ในเร็วๆ นี้ ส่วน Codenone นั้นใช้ 5.0 แต่แรกอยู่แล้ว
ที่มา - Drupal 5.0 Announcement
หน่วยงานด้านการอนุรักษ์พลังงาน (Environmental Protection Agency - EPA) ของสหรัฐเตรียมเข้าไปศึกษาการใช้พลังงานใน data center หลังกฎหมายด้านนี้ผ่านรัฐสภาสหรัฐไปเรียบร้อย
ตัวกฎหมายระบุว่า EPA ต้องเข้าไปวิเคราะห์แนวโน้มการใช้พลังงานในห้องเซิร์ฟเวอร์ ทั้งของภาครัฐและเอกชน โดยจะอยู่ใต้โครงการ Energy Star (ที่เราเห็นใน BIOS ตอนเปิดเครื่อง) และมีเป้าหมายให้ "การประหยัดพลังงาน" เป็นปัจจัยสำคัญอีกปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจเลือกซื้อเซิร์ฟเวอร์ นอกเหนือไปจาก "ประสิทธิภาพ" และ "ความคุ้มค่า"
ในงาน IDF ของอินเทลที่ผ่านมา คนของ Google ให้ความเห็นว่าพลังงานที่ผ่านพาวเวอร์ซัพพลาย 30-45% นั้นสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ซึ่งถ้าคำนวณจากขนาดของ data center ของ Google ก็เป็นจำนวนไม่น้อยเลย
เผื่อใครไม่ค่อยได้เข้าเว็บข่าวอย่าง CNN.com จากเวลาล่าสุดที่ตรวจสอบเมื่อเที่ยงคืนที่ผ่านมา อินเทอร์เน็ตของไทยถูกบล็อคทำให้ไม่สามารถเข้าเว็บ CNN.com ได้ โดยจากการตรวจสอบ การบล็อคครั้งนี้เป็นการบล็อคในระดับไอพี เท่าที่ตรวจสอบได้ในตอนนี้รายการไอพีที่ถูกบล็อคมีดังนี้ 64.236.16.20, 64.236.16.52, 64.236.16.84, 64.236.16.116, 64.236.24.12, 64.236.24.20, 64.236.24.28 และ 64.236.29.120 โดยเป็นการบล็อคแบบเจาะจงไอพีทำให้ไอพีข้างเคียงซึ่งอาจจะเป็นเว็บอื่นๆ ยังคงใช้งานได้ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด โดยในเวลาที่เขียนข่าวนี้ระบบ DNS ในไทยยังสามารถ Resolve ไอพีเหล่านี้ออกมาได้อย่างถูกต้อง อนึ่งการบล็อคในครั้งนี้แตกต่่างจากการบล็อคเว็บอื่นๆ ในไทยที่ผ่านมา เนื่องจากไม่มีการส่งข้อมูลหลอกเช่น favicon.ico not found
แบบเดียวกับ ShipIt ของ Ubuntu คราวนี้ซันแจกดีวีดีซึ่งในแผ่นมี Solaris 10 ทั้งเวอร์ชัน x86 และ SPARC (แล้วเราจะมี SPARC ไว้รันเหรอเนี่ย) กับ Sun Studio 11 ซึ่งเป็นเครื่องมือพัฒนาภาษา C, C++ และ Fortran
ดีวีดีชุดนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะในสหรัฐเหมือนการร่วมสนุกหลายๆ อันที่อาจจะเคยเจอ ใครสนใจก็เข้าไปขอกันได้ เค้าบอกว่าจะส่งให้ภายใน 10 business day คิดซะว่าเอามาลอง ZFS ก่อนใช้ใน Leopard ก็ได้มั้ง
ที่มา - Free Solaris 10 and Sun Studio Software Media Kit, Slashdot