ขณะที่ SAPRC T3 นั้นถูกโฆษณาว่าเป็นซีพียูตัวแรกในโลกที่ใส่มาถึง 16 คอร์ในชิปเดียว แต่สำหรับ T4 นั้นชิปจะมีเพียง 8 คอร์เท่านั้น เพื่อใช้พื้นที่ไปเพิ่มประสิทธิภาพให้แต่ละคอร์แทนการกระจายงานออกไปมากๆ
แม้ชิปที่มีจำนวนคอร์มากๆ จะทำงานได้ดีเมื่อต้องให้บริการงานเล็กๆ จำนวนมากๆ แต่กับงานฐานข้อมูลหนักๆ เช่นออราเคิลนั้นความเร็วต่อคอร์สำคัญกว่ามาก และ SPARC อยู่ในมือออราเคิลก็เป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่จะออกแบบชิปให้ตอบรับกับซอฟต์แวร์หลักของบริษัทมากยิ่งขึ้น
ออราเคิลระบุว่า T4 ตัวต้นแบบนั้นทำงานจริงในห้องวิจัยแล้ว และจะวางตลาดในปีหน้า ส่วนแผนต่อๆ ไปนั้นคือการขยายเมนบอร์ดให้รองรับซีพียูได้มากขึ้น จาก 4 ซ็อกเก็ตในวันนี้กลายเป็น 8 ซ็อกเก็ตในปี 2013 และ 64 ซ็อกเก็ตในปี 2014
ดูท่าศึกระหว่าง Apple กับ Google จะไม่จบลงง่ายๆ หลังจากที่แอพพลิเคชั่นของ Google อย่าง Google Voice ถูกถอดออกจาก iPhone App Store เมื่อปีก่อน ล่าสุด Google Latitude ซึ่งปรากฏตัวอย่างเงียบๆ ใน App Store ของญี่ปุ่น ก็ถูกถอดออกอย่างรวดเร็วเช่นกัน
เว็บ The Register ได้ไปพบกับ Scott McNealy ซีอีโอของซันตั้งแต่ปี 1985 มาจนถึงปี 2006 ก่อนหน้า Jonathan Schwartz จะเข้ามารับตำแหน่งและขายบริษัทให้กับออราเคิลไปในปีนี้ในบทสัมภาษณ์ McNealy ได้เล่าถึงความสำเร็จและความล้มเหลวของซัน โดยประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือซันกับโอเพนซอร์ส
คำถามที่ The Register ถามกับ McNealy คือบทเรียนที่ได้จากความผิดพลาดของซันนั้นคืออะไร และ McNealy ตอบว่า "เอาใจผู้ถือหุ้นของคุณก่อนเสมอ"
กูเกิลไม่ได้เปลี่ยนแปลง Google Groups มานานมาก คราวนี้ประกาศ Google Groups รุ่นใหม่ให้ลองใช้แล้ว
ถ้าให้ผมอธิบายง่ายๆ Google Groups รุ่นใหม่นี้เพิ่มส่วนประกอบของ Google Wave กับ Gmail เข้ามาด้วย (ลองดูวิดีโอประกอบท้ายข่าวน่าจะเข้าใจง่ายขึ้น) อีกฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาอย่างชัดเจนคือ sidebar ด้านซ้ายมือเหมือนกับ Google Reader สำหรับกลุ่มที่เราใช้งานบ่อยๆ และมีหน้าเว็บเวอร์ชันมือถือให้ใช้ด้วย
ลองกับ Blognone Group ได้ผลดังภาพ สำหรับหน้ารวมบทสนทนาจะคล้าย Google Wave
ผู้อ่าน Blognone คงเริ่มคุ้นกับบริษัท OnLive ที่ให้บริการ cloud gaming ที่การประมวลผลทั้งหมดทำที่ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ ก่อนหน้านี้ไม่นาน OnLive ยังออกเครื่องเล่นเกมของตัวเองในชื่อ MicroConsole ที่ใช้หลักการเดียวกัน
วันนี้ OnLive บุก iPad แล้ว โดยตอนนี้เจ้าของ iPad สามารถ "ดู" การเล่นเกมของเพื่อนๆ บน OnLive ได้ แต่ยังเล่นไม่ได้เพราะยังไม่มีเกมที่ควบคุมด้วยจอสัมผัสให้เล่น
Salesforce.com ประกาศเข้าซื้อบริษัท Heroku (อ่านว่า "เฮอ-โอ-คู") ซึ่งให้บริการกลุ่มเมฆสำหรับแอพพลิเคชันที่เขียนด้วย Ruby
Heroku บอกว่าปัจจุบันให้บริการ PaaS (platform as a service) ให้กับแอพพลิเคชันมากกว่า 100,000 ตัว
ช่วงหลังนี้ Salesforce.com กำลังขายแนวคิด "Cloud 2" ซึ่งเน้น social network และ collaboration มากขึ้น ตัวอย่างบริการแบบ Cloud 2 ได้แก่ Chatter ซึ่งเป็นโปรแกรมสื่อสารภายในองค์กรที่พัฒนาโดย Salesforce.com เอง (อ่านรายละเอียดเรื่อง Cloud 2 ได้จาก Bangkok Post)
จากข่าว Cr-48 ที่รายงานไปก่อนหน้านี้ เราได้ทราบว่า Cr-48 จะแจกฟรีให้แก่ผู้เข้าร่วม Chrome OS Pilot Program เท่านั้น โดย Google บอกว่าจะแจกเพียงจำนวนจำกัด ตอนนี้ Inventec บริษัทที่รับผลิต Cr-48 ให้กับ Google ได้ออกมาให้ข้อมูลว่าส่งมอบเน็ตบุ๊ค Chrome OS รุ่นนี้ให้ทาง Google ไปแล้วจำนวน 60,000 เครื่อง ก็คงเดากันได้ไม่ยากว่าจำนวนจำกัดที่ว่านั้นเป็นเท่าไหร่
กูเกิลออกมาประกาศข่าวดี 2 ข่าวให้กับผู้ใช้บริการ Google Wave ข่าวแรกคือ proposal ของโครงการ Apache Wave ได้รับการอนุมัติเข้า Apache Incubator แล้ว ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนจัดการโครงสร้างภายในและเตรียมส่งมอบให้กับ Apache จัดการต่อ
อีกข่าวนึงคือกูเกิลจะให้บริการ wave.google.com ต่อไปจนกว่าจะสามารถหาผู้มาดูแลข้อมูลทั้งหมดต่อได้ จากเดิมที่เคยออกมาประกาศว่าจะหยุดให้บริการภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งไม่แน่ว่าจะเป็นทาง Apache มาช่วยดูแลให้หรืออาจจะเป็นผู้ให้บริการรายอื่น คงต้องรอดูกันต่อไป
ค่าย Mozilla ออกส่วนเสริมของ Thunderbird ชื่อ Thunderbird Conversations ซึ่งจะเปลี่ยนวิธีการเรียงอีเมลของ Thunderbird ให้เป็น thread conversation แบบเดียวกับ Gmail
ส่วนเสริมนี้ทำงานได้เหมือนกับ Gmail แทบทุกประการ มีทั้ง thread conversation, inline reply และทำงานร่วมกับส่วนเสริมอื่นๆ อย่าง Contacts ได้ด้วย รายละเอียดดูในวิดีโอท้ายข่าว
ตอนนี้มันใช้ได้กับ Thunderbird 3.3 (ซึ่งยังไม่ออกตัวจริง) เป็นต้นไปครับ
ที่มา - Mozilla Labs
iOS 4.2.1 ออกมาแล้วได้ซักระยะนึงก็คงพอทราบกันว่าพอจะมีเครืองมือในการ "แหกคุก" (Jailbreak) แตก็ยังไม่ค่อยสมบูรณ์นัก กล่าวคือถ้าผู้ใช้ต้องการรีบูตเครื่องจะต้องมีวิธีการบางอย่าง (Tethered) เพื่อให้เครื่องกลับมาสู่สถานะ "แหกคุก" (Jailbreak) ดังเดิม
ซึ่งทีมพัฒนาเครื่องมือ (dev-team) ดังกล่าวก็สัญญาว่าจะออกเวอร์ชั่นที่ทำงานได้สมบูรณ์เมื่อเครื่องต้องทำการรีบูต (Untethered)โดยเร็ว
ซึ่งในตอนนี้มีคนแอบไปเห็นการเปลี่ยนแปลงในหน้าเว๊บหลักของทีมพัฒนา ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าคงเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อออกเครื่องมือดังที่กล่าวมาข้างต้น
ถ้ามีความคืบหน้าประการใดจะมาแจ้งข่าวให้ทราบครับ
มีคนถามทีมโทรศัพท์มือถือของ LG ประเทศสหรัฐอเมริกาผ่านทาง Facebook ว่าเมื่อไหร่ Optimus One ถึงจะได้รับการอัพเกรดเป็น Android 2.3
ทาง LG ได้ตอบกลับมาว่า "Optimus จะไม่ได้รับการอัพเกรดเป็น Gingerbread เพราะมันมีหน่วยประมวลผลที่มีความเร็วเพียง 600MHz ซึ่งความต้องการขั้นต่ำนั้นระบุว่าต้องมีความเร็ว 1GHz เป็นอย่างน้อย อีกนัยนึง มันเป็นไปไม่ได้ที่จะอัพเกรดหน่วยประมวลผล"
จากนั้น Dan Morrill ผู้ซึ่งเป็น Technical Lead ของ Android ได้โพสต์ข้อความบน Twitter ว่า "ไม่มีความต้องการขั้นต่ำเกี่ยวกับหน่วยประมวลผลบน Gingerbread ...เชื่อเถอะ ถ้ามันมีจริงผมก็ต้องรู้"
เมื่อเดือนกันยายน Amazon เปิดบริการ Kindle for the Web ซึ่งเป็นการ "พรีวิว" บทแรกของหนังสือให้อ่านบนเว็บ โดยมีเป้าหมายเพื่อขายหนังสือเป็นหลัก (ถือเป็น affiliate แบบหนึ่ง)
วันนี้ Amazon ขยายความสามารถของ Kindle for the Web ให้เป็น "ตัวอ่านอีบุ๊ก" เหมือนกับ Kindle Reading Apps บนอุปกรณ์พกพาชนิดต่างๆ ที่เปิดตัวมาก่อนแล้ว เพียงแต่คราวนี้มันอยู่บนเว็บโดยตรงเท่านั้น
หน้าเว็บแบบใหม่ของ Twitter ที่ใช้กันในปัจจุบัน (มันมีชื่อเรียกว่า New Twitter) มีฟีเจอร์สำคัญคือการพรีวิวลิงก์ เช่น ภาพใน Twitpic, พิกัดใน Foursquare (รายละเอียดดูข่าวเก่า Twitter.com โฉมใหม่ ฝัง content ได้ในตัว)
ล่าสุดทาง Twitter ประกาศว่า New Twitter รองรับการพรีวิวลิงก์อีก 5 ชนิด ได้แก่
ที่มา - Twitter Blog
หลังจากเป็นข่าวมานานนับปี ในที่สุดกูเกิลก็เผยโฉม Chrome OS แบบจริงจังเสียที
หน้าตาของมันไม่มีอะไรน่าตกใจ เพราะกูเกิลเองก็โฆษณาว่า "Nothing but the web" เปิดมาแล้วก็เจอแต่เบราว์เซอร์ Chrome ล้วนๆ
แต่ข้อมูลที่กูเกิลประกาศรอบนี้ มีหลายอย่างที่น่าสนใจครับ
การตั้งค่าเริ่มต้นจะมีเพียง 4 หน้าจอเท่านั้น คือ
เรารู้กันตั้งแต่งาน Google I/O เดือนพฤษภาคม ว่ากูเกิลจะเปิด Chrome Web Store สำหรับขายเว็บแอพพลิเคชันและส่วนเสริมของ Chrome วันนี้มันมาแล้วครับ
เพื่อให้เห็นภาพ ผมแนะนำให้กดเข้าไปเล่นกันก่อนที่ Chrome Web Store
Chrome Web Store มี "สินค้า" ทั้งหมด 3 อย่าง
แอปเปิลอัพเดต VoiceOver Kit 1.4 สำหรับ iPod shuffle และ iPod nano ซึ่งใช้ในการอ่านออกเสียงชื่อเพลงและชื่ออัลบัม โดยในเวอร์ชันนี้มีการปรับปรุงการออกเสียงภาษาเกาหลี เยอรมัน และรัสเซีย และทำให้ iPod shuffle รุ่นล่าสุดรองรับภาษาเพิ่มคือภาษาอังกาเรียน โรมาเนีย สโลวัก และไทย
ป.ล. iPod nano รุ่นล่าสุดรองรับภาษาไทยอยู่แล้ว เช่นเดียวกับ iPhone และ iPod touch แต่ต้องเปิดโหมดสำหรับผู้พิการก่อน
ที่มา: iLounge ผ่าน iClarified
แม้ว่า Chrome จะเป็นผู้นำในตลาดจาวาสคริปต์ด้วยเอนจิน V8 มาตั้งแต่เปิดตัว แต่เมื่อคู่แข่งเริ่มไล่กวดมาใกล้ทันในช่วงหลัง ทางกูเกิลก็ต้องหนีโดยออก "Crankshaft" ซึ่งกูเกิลบอกว่ามันคือ compilation infrastructure สำหรับ V8 ที่ประมวลผลจาวาสคริปต์เร็วกว่าเดิมหนึ่งเท่าตัว (วัดจากเบนช์มาร์คของ V8 เอง)
Crankshaft เป็นชื่อเรียกขององค์ประกอบย่อย 4 อย่างสำหรับการประมวลผลจาวาสคริปต์ ได้แก่ base compiler, runtime profiler, optimizing compiler, deoptimization support รายละเอียดอ่านได้จากที่มา
แอพพลิเคชันที่ได้ประโยชน์จาก Crankshaft คือแอพพลิเคชันที่มีการประมวลผลจาวาสคริปต์หนักๆ ส่วนเร็วขึ้นแค่ไหนก็ดูกันเองตามกราฟ
Google ยังคงไม่หยุดเปิดตัวสินค้าใหม่ ด้วยการแนะนำ "Cr-48" แล็ปท็อปเครื่องแรกที่ใช้ Chrome OS อย่างเป็นทางการ โดย "Cr-48" ถูกวางตัวให้เป็นเครื่องสำหรับนักพัฒนา เช่นเดียวกับ Nexus One จากสาย Android โดยตัวเครื่องจะไม่มีวางขายทั่วไป Google จะแจกให้กับสมาชิกโครงการ Chrome OS Pilot Program เท่านั้น และไม่มีการระบุยี่ห้อสินค้า
สำหรับคุณสมบัติตัวเครื่องมีดังนี้
ActiveState ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์เพื่ออำนวยความสะดวกในการพัฒนาภาษาสคริปต์ได้เปิดตัว ActivePython Amazon EC2 AMI สำหรับการพัฒนาแอพลิเคชั่นด้วยภาษาไพธอนบนกลุ่มเมฆประมวลผลของอเมซอน
ทาง ActiveState ระบุว่าสินค้าใหม่นี้ไม่ได้เป็นคู่แข่งกับ Google App Engine โดยตรงเพราะ App Engine นั้นจำกัดการประมวลผลอยู่ที่แต่ละครั้งของการเรียกขอข้อมูลเท่านั้น และการคิดราคาก็เป็นการคิดราคาต่อครั้งที่มีการเรียกใช้โดยตรง ขณะที่ EC2 ของอเมซอนนั้นเราสามารถเลือกซื้อทรัพยากรสำหรับการประมวลผลจากอเมซอนได้อย่างอิสระ
ผลัดจากฝั่งอุปกรณ์มือถือ ฝั่งเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลเองก็มีการอัพเดตบริการ App Engine เป็นรุ่น 1.4 ที่นับว่าเป็นการอัพเดตที่ใหญ่ที่สุดในปีนี้ โดยมีสามความสามารถหลักเพิ่มเข้ามา
เจ้าแห่งแอพพลิเคชันองค์กรผ่านกลุ่มเมฆอย่าง Salesforce.com เปิดระบบฐานข้อมูลที่ตัวเองพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นฐานของบริการทั้งหมด ออกมาเป็นบริการฐานข้อมูลผ่านกลุ่มเมฆในชื่อ Database.com
Database.com คือฐานข้อมูลแบบ relational database ที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของ Salesforce.com จุดเด่นของมันก็คือตัดภาระเรื่องการดูแลฐานข้อมูลออกไป (DBA ตกงานแน่) และรองรับโหลดได้ไม่จำกัด (ถ้ามีเงินจ่ายนะ)
ผู้ผลิตฮาร์ดแวร์จำนวนมากเข้ามาเป็นสมาชิกของ Linux Foundation เพื่อดูแลให้ฮาร์ดแวร์ของตัวเองทำงานร่วมกับลินุกซ์ได้สมบูรณ์กันเป็นเรื่องปรกติ และวันนี้ชุมชนลินุกซ์ก็ได้ต้อนรับผู้ผลิตรายใหม่คือหัวเหว่ย (Huawei)
หัวเหว่ยระบุว่าบริษัทเองมีนักพัฒนาเคอร์เนลทำงานอยู่ในบริษัทมาระยะเวลาหนึ่งก่อนหน้านี้แล้ว และทีมงานนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ โดยที่หัวเหว่ยใช้ลินุกซ์เพื่อการพัฒนาอุปกรณ์เครือข่ายของตัวเองหลายต่อหลายชิ้น
ทางฝั่ง Linux Foundation เองก็กล่าวต้อนรับหัวเหว่ยกันเป็นธรรมเนียมพร้อมกับแสดงความเชื่อมั่นว่าหัวเหว่ยจะนำลินุกซ์ให้บุกไปในตลาดเครือข่ายพื้นฐาน และอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้มากกว่านี้
นับแต่วันที่ 5 ธันวาคมที่ผ่านมา ผู้ให้บริการต่างๆ ก็พร้อมที่จะให้บริการการย้ายค่ายโดยใช้หมายเลขเดิม หรือ Mobile Number Portabiblity (MNP) นับเป็นชาติที่ 8 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มีบริการนี้ใช้งานกัน ถึงตอนนี้หลายๆ คนที่อยากเปลี่ยนค่ายก็คงได้เวลาพิจารณากันว่า จะเปลี่ยนไปใช้ค่ายไหน หรือจะต้องทำอย่างไรบ้างกับการเปลี่ยนค่ายนี้
เป็นภาคต่อของ และแล้วสงครามก็เริ่มต้น Apache ขู่ว่าจะถอนตัวจากจาวา และ ออราเคิลขอให้ Apache ทบทวนเรื่องโหวตค้านใน JCP, Apache ไม่สนใจ ถ้ายังไม่เคยอ่านตอนเก่า ควรย้อนกลับไปอ่านเพื่อความเข้าใจที่ดีขึ้นนะครับ
หลังจากเปิดสงครามน้ำลายมาได้พอสมควร การโหวตรับ Java 7 (JSR #336) ก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อวานนี้ (6 ธ.ค.) ผลปรากฎว่าฝ่ายของออราเคิลชนะใสด้วยคะแนน 12 เสียง ส่วนฝ่ายของ Apache ที่ขอให้โหวตค้าน มีเพียง 3 เสียงเท่านั้น
ในงานเดียวกับที่ Andy Rubin โชว์แท็บเล็ต Android Honeycomb เขาก็โชว์โปรแกรม Google Maps รุ่นใหม่สำหรับ Android ที่จะเปิดตัวเร็วๆ นี้
Google Maps ตัวนี้จะต่างจากรุ่นก่อนๆ ทั้งหมด เพราะใช้ข้อมูลแผนที่ถนนแบบเวกเตอร์ และวาดแผนที่ใหม่ทุกครั้งเมื่อเรนเดอร์