KBTG Kampus จับมือ 3 มหาวิทยาลัยชั้นนำของไทย ยกระดับการศึกษาเพื่ออนาคต เปิดหลักสูตรปริญญาโทที่ตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมในยุค AI มุ่งสร้างบุคลากรที่มีทักษะพร้อมรับมือกับเทคโนโลยีล้ำสมัย เสริมศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก
กูเกิลออก Android 16 Developer Preview 1 ตามที่เคยประกาศไว้ว่าจะออก Android API สองรุ่นในปี 2025 โดยจะออกรุ่น Major SDK ในไตรมาส 2 และ Minor SDK ในไตรมาส 4
Android 16 DP1 เป็นรุ่นพรีวิวของ Major SDK ที่จะออกในไตรมาส 2 เพื่อให้สอดคล้องกับการออกมือถือใหม่ของพาร์ทเนอร์ในช่วงไตรมาส 3 ส่วนการออกรุ่น Minor SDK ในไตรมาส 4 ยังไม่ระบุว่าจะใช้เลขเวอร์ชันอย่างไร (เช่น 16.1 หรือ 17)
SpaceX ทำภารกิจทดสอบส่งยาน Starship ครั้งที่ 6 ในช่วงเช้าวันนี้ตามเวลาในไทย โดยครั้งนี้จรวด Super Heavy ได้แยกออกจากยาน Starship เมื่อจรวดยิงออกไป 2 นาที 45 วินาที ตามแผน แต่จรวดไม่ได้เดินทางกลับมาที่ฐานส่งเพื่อถูกคีบแบบการทดสอบครั้งที่ 5 ซึ่งห้องควบคุมแจ้งเพียงให้จรวดเบี่ยงทิศทางลงทะเลที่อ่าวเม็กซิโกแทน
ส่วนยาน Starship เดินทางเข้าสู่วงโคจรได้ตามแผน ซึ่งการทดสอบครั้งนี้มีรายละเอียดใหม่คือ ยานอวกาศได้จุดเครื่องยนต์ Raptor ในภาวะสุญญากาศสำเร็จเป็นครั้งแรก เพื่อทดสอบการพายานอวกาศออกสู่นอกวงโคจรสำหรับภารกิจในอนาคต จากนั้นยาน Starship ก็กลับลงสู่มหาสมุทรอินเดียตามแผน
โซนี่ประกาศเปิดให้เครื่องเล่นเกมพกพา PlayStation Portal รองรับการเล่นเกมผ่านคลาวด์แล้ว จากเดิมทีต้องสตรีมเกมจากเครื่อง PS5 ของตัวเองเท่านั้น
แน่นอนว่าผู้ที่จะเล่นเกมผ่านคลาวด์ได้จำเป็นต้องมีสมาชิก PlayStation Plus Premium ที่รองรับการเล่นเกมจากคลาวด์บนเครื่อง PS5 อยู่ก่อนแล้ว (แต่ผู้เล่นในไทยยังไม่รองรับ) เกมที่รองรับตอนนี้มีประมาณ 150 เกม, คุณภาพการสตรีมสูงสุดที่ 1080p/60fps, ต้องการใช้เน็ตขั้นต่ำ 7 Mbps สำหรับคุณภาพ 720p และ 13 Mbps สำหรับ 1080p
NVIDIA ประกาศความร่วมมือกับทีม Google Quantum AI เพื่อช่วยให้กูเกิลสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ควอนตัมได้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยให้ยืมซูเปอร์คอมพิวเตอร์ NVIDIA Eos ของตัวเอง รันซิมูเลเตอร์ จำลองการประมวลผลควอนตัมผ่านแพลตฟอร์ม CUDA-Q
ที่ผ่านมา กูเกิลมีงานวิจัยด้านคอมพิวเตอร์ควอนตัมมายาวนาน แต่การสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่มีจำนวน qubit สูงๆ และรันการประมวลผลต่อเนื่องไปนานๆ จะเริ่มเจอปัญหา noise เพิ่มขึ้นจนไม่สามารถประมวลผลต่อได้ ถือเป็นข้อจำกัดสำคัญในการสร้างคอมพิวเตอร์ควอนตัมในปัจจุบัน
Bluesky ประกาศหลักไมล์สำคัญโดยมีจำนวนผู้สมัครใช้งานมากกว่า 20 ล้านบัญชีแล้ว สะท้อนการเติบโตอย่างรวดเร็วจากเมื่อสัปดาห์ที่แล้วบอกว่ามีผู้ใช้งาน 14.5 ล้านบัญชี
ถึงตรงนี้ผู้อ่านอาจมีคำถามว่าแล้วจำนวนผู้ใช้งาน Threads ที่เป็นอีกโซเชียลทางเลือกของคนหนีจาก X เป็นอย่างไร? ตัวเลขที่ Meta รายงานล่าสุดคือมีจำนวนผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (Monthly Active Users - MAUs) 275 ล้านบัญชี
แอปเปิลออกอัปเดตระบบปฏิบัติการ iOS 18.1.1, iPadOS 18.1.1 และ macOS Sequoia 15.1.1 ให้กับผู้ใช้งานในวันนี้ โดยบอกว่าเป็นการแก้ไขปรับปรุงด้านความปลอดภัย
รายละเอียดของช่องโหว่ที่แพตช์แก้ไขรอบนี้มีสองรายการคือ JavaScriptCore (CVE-2024-44308) และ WebKit (CVE-2024-44309) โดยบอกว่ามีรายงานการโจมตีโดยอาศัยช่องโหว่ดังกล่าวแล้วกับ Mac ที่เป็นซีพียูอินเทล ผู้ใช้งานจึงควรอัปเดตแพตช์ที่แก้ไขช่องโหว่นี้ทันที
นอกจากนี้แอปเปิลยังอัปเดตความปลอดภัยให้ระบบปฏิบัติการเวอร์ชันก่อนหน้าด้วย รายละเอียดทั้งหมดเป็นดังนี้
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Windows 365 Link ฮาร์ดแวร์สำหรับการใช้งาน Windows 365 บนคลาวด์โดยเฉพาะ ที่ออกแบบมาให้มีขนาดเล็กเพียง 120 x 120 x 30 มม. ปลอดภัย สำหรับลูกค้าองค์กร
Windows 365 Link รองรับการเชื่อมต่อจอภายนอก 4K สองจอ, สามพอร์ต USB-A 3.2, หนึ่งพอร์ต USB-C 3.2, HDMI, DisplayPort, ช่องหูฟัง 3.5 มม., มี Ethernet, รองรับ Wi-Fi 6E, Bluetooth 5.3 จึงใช้งานได้ทั้งรูปแบบเชื่อมต่อแบบมีสายหรือไร้สาย เนื่องจากฮาร์ดแวร์บูทขึ้นมาเพื่อเชื่อมต่อ Windows 365 ทันที จึงไม่มีการจัดเก็บข้อมูลใดที่อุปกรณ์ ทำให้องค์กรสามารถบริหารจัดการความปลอดภัยได้ง่ายขึ้น
Azure Container Apps บริการรันคอนเทนเนอร์แบบ serverless จ่ายตามเวลาที่ใช้งานจริง เพิ่มตัวเลือกชิปกราฟิกสำหรับการรัน AI เฉพาะทาง โดยมีชิป NVIDIA T4 และ A100 ให้เลือกใช้งาน
แม้จะเปิดใช้งานแล้ว แต่ลูกค้าทั่วไปที่ไม่ได้ทำข้อตกลง Microsoft Enterprise Agreement จะต้องติดต่อไมโครซอฟท์ขอโควต้า serverless GPU ก่อนใช้งาน โดยตอนนี้มีให้ใช้งานสองศูนย์ข้อมูล คือ West US 3 และ Australia East
Azure เปิดบริการ Azure AI Content Understanding สามารถดึงข้อมูลตาม schema ที่ต้องการ จากข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร, ภาพ, ไฟล์เสียง, และวิดีโอ
รูปแบบการใช้งานมีตั้งแต่การดึงข้อมูลฟิลด์ต่างๆ ออกจากเอกสาร, การขอสรุปจากวิดีโอพร้อมกับการประเมินอารมณ์ลูกค้า, หรือการดึงทรานสคริปต์ออกจากวิดีโอ
ก่อนหน้านี้ไมโครซอฟท์มีบริการ Azure AI Document Intelligence ที่ให้บริการคล้ายกันอยู่ก่อนแล้วแต่ใช้กับงานเอกสารเท่านั้น บริการใหม่นี้ดูจะรวมเอา Document Intelligence เข้ามาทำงานร่วมกับการทำความเข้าใจภาพ, เสียง, และวิดีโอ ทำให้สามรถใช้งานได้หลากหลายขึ้น
ที่มา - Microsoft
ไมโครซอฟท์เพิ่มฟีเจอร์ GraphRAG Solution Accelerator สำหรับ PostgreSQL บน Azure Database ทำให้ลูกค้าที่ต้องการพัฒนาแอปพลิเคชั่น RAG บน Azure สามารถใช้งานฐานข้อมูลสำเร็จรูปได้
ปกติแล้วการพัฒนาแอปพลิเคชั่น RAG (Retrieval Augmented Generation) จะอาศัยการค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับคำค้นหรือคำถามของผู้ใช้เพื่อให้ปัญญาประดิษฐ์ LLM สามารถนำข้อมูลเหล่านั้นมาอ้างอิงในการสร้างคำตอบ แต่ GraphRAG เสนอว่าข้อมูลที่ดึงมาได้ว่าเกี่ยวข้องนั้นหลายครั้งมีข้อมูลที่เชื่อมโยงอยู่ด้วยและควรใช้งานด้วยกัน แม้จะไม่ได้ใกล้เคียงกับคำค้นโดยตรงก็ตาม
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ WSL ในงาน Microsoft Ignite โดยเพิ่ม Red Hat Enterprise Linux อย่างเป็นทางการ โดยทาง Red Hat จะส่งอิมเมจเข้ามาภายในไม่กี่เดือนข้างหน้า เพิ่มทางเลือกให้กับนักพัฒนาที่ต้องการใช้ดิสโทรใกล้เคียงกับโปรดักชั่นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
นอกจากการรับดิสโทรใหม่ ไมโครซอฟท์ยังปรับปรุงแนวทางการสร้างดิสโทรสำหรับ WSL ให้ง่ายขึ้น สามารถ export จาก Docker container เลยก็ได้ ทำให้หลังจากนี้เราน่าจะได้เห็นดิสโทรใหม่ๆ บน WSL กันมากขึ้น
Sony เปิดตัวกล้อง Alpha 1 II ซึ่งเป็นรุ่นถัดจาก Alpha A1 กล้อง Mirrorless ที่รวมฟีเจอร์ต่าง ๆ รวมไว้ในเครื่องเดียว ทั้งความละเอียดของภาพที่สูง ความเร็ว ตลอดจนเทคโนโลยี AI เพิ่มประสิทธิภาพเวิร์กโฟลว์ ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายภาพนิ่งหรือภาพเคลื่อนไหว
Sony Alpha 1 II ใช้เซ็นเซอร์ CMOS 50.1 MP รองรับการถ่ายภาพที่ 30 fps สำหรับโหมด AF/AE มี AI ที่คอยจับวัตถุที่ต้องการ รวมทั้งโหมด Auto ที่สามารถจับวัตถุได้อัตโนมัติ
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสำนักงาน กสทช. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พร้อมกับจังหวัดภูเก็ต จัดการทดสอบเสมือนจริงระบบแจ้งเตือนภัยฉุกเฉินผ่านมือถือ หรือ Cell Broadcast Service (CBS) ที่จังหวัดภูเก็ต เตรียมเดินหน้าเชื่อมต่อระบบทดสอบร่วมกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเตือนภัย หรือ Cell Broadcast Entity: CBE บนเครือข่ายที่ให้บริการจริง (Live Network) แบบครบวงจร (end-to-end) เพื่อเตรียมความพร้อมอีกขั้นก่อนเปิดให้บริการจริง
SCB10X ร่วมมือกับ Together.ai ผู้ให้บริการ LLM รายสำคัญ เปิดให้บริการโมเดล Typhoon สองรุ่น คือ Typhoon 1.5 8B Instruct และ Typhoon 1.5X 70B-awq (Activation-Aware Weight Quantization - การย่อโมเดลแบบคำนึงถึงความสำคัญของแต่ละพารามิเตอร์)
ตอนนี้ทั้งสองโมเดลใช้งานได้ในหน้า Playground ของ Togeter.ai แล้ว แต่ยังไม่ประกาศราคาที่แน่ชัดออกมา โดยทาง SCB10X ระบุว่าต้องสอบถามทาง Together.ai โดยตรง แต่ยืนยันว่าจะคิดค่าใช้งานเป็นโทเค็น
การเปิดให้บริการ LLM ผ่านคลาวด์แบบคิดค่าใช้งานเป็นโทเค็นสำคัญสำหรับการทดลองความสามารถโมเดล หรือเชื่อมต่อไว้ใช้งานเป็นตัวเลือกเพราะผู้ใช้ไม่ต้องเสียค่าโฮสต์โมเดลตามเวลาซึ่งมักมีราคาแพงและอาจจะไม่คุ้มค่าหากปริมาณการใช้งานไม่มากพอ
Instagram ประกาศเริ่มทดสอบฟีเจอร์ใหม่ ให้ผู้ใช้งานสามารถล้างค่าหรือรีเซตเนื้อหาแนะนำ ที่ Instagram คัดเลือกมาแสดงโดยดูจากประวัติใช้งานในอดีต การล้างค่านี้มีผลกับการเลือกเนื้อหาแนะนำทั้งใน Explore, Reels และหน้าฟีดหลัก
ในการล้างค่าให้ผู้ใช้งานไปที่ Content Preference เลือก Reset suggested content จะเป็นการรีเซตเนื้อหาแนะนำทั้งหมด ระบบจะเริ่มเรียนรู้ใหม่และทยอยแนะนำเนื้อหาอิงตามประวัติใช้งานอีกครั้ง
การทำงานของฟีเจอร์นี้คล้ายกับ Refresh ที่ล้างค่าฟีด For You ใน TikTok ซึ่งมีออกมาตั้งแต่ปีที่แล้ว
Telegram ประกาศอัปเดตฟีเจอร์ใหม่หลายอย่างของ Mini Apps ซึ่ง Telegram ผลักดันส่วนการทำงานนี้มากขึ้นในช่วงที่ผ่านมา
ของใหม่ที่สำคัญคือการใช้งาน Mini App โหมดเต็มหน้าจอ (Full-Screen) รองรับทั้งแนวตั้งและแนวนอน ทำให้นักพัฒนาโดยเฉพาะหมวดเกม สามารถนำเสนอรูปแบบเกมได้หลากหลายมากขึ้น นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถสร้างปุ่มทางลัดที่หน้าโฮม (Home Screen Shortcuts) ของ Mini App แต่ละอัน เพื่อเรียกใช้งานได้สะดวกมากขึ้น
ของใหม่อย่างอื่นที่ Telegram ประกาศเกี่ยวกับ Mini App มีดังนี้
ใครที่คุมโทนหน้าโปรไฟล์ Instagram อาจจะต้องเตรียมปรับอะไรกันอีกหน่อย โดยผู้ใช้งานบางคนได้รับการแจ้งเตือนว่าแถบสตอรีที่ตั้งค่าเป็นไฮไลท์ในหน้าโปรไฟล์ หรือ Story highlights จะถูกนำออกไป โดยย้ายไปเป็นหัวข้อหนึ่งในแถบไอคอนรูปหัวใจในวงกลม ที่รวมไฮไลท์ในแบบตารางรูปภาพของโปรไฟล์แทน
Adam Mosseri หัวหน้าทีม Instagram ยืนยันการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่บอกว่าเป็นการทดสอบกับผู้ใช้งานบางส่วนเท่านั้น ยังไม่มีผลกับผู้ใช้งานทั้งหมด โดยบอกว่าเป็นการลองหาวิธีให้คอนเทนต์ในหน้าโปรไฟล์ถูกแสดงขึ้นมามากที่สุด จึงเลือกการสร้างแท็บแยกขึ้นมา แทนการใส่แถวที่ด้านบนทำให้คอนเทนต์หลักถูกดันลงไป
หน่วยงานกำกับดูแลการแข่งขันของอินเดีย ออกคำสั่งปรับ Meta เป็นเงิน 25.4 ล้านดอลลาร์ เนื่องจาก WhatsApp มีการแชร์ข้อมูลผู้ใช้งานเพื่อการโฆษณาไปยังแพลตฟอร์มอื่นของ Meta ซึ่งหน่วยงานของอินเดียบอกว่าการแชร์ข้อมูลระหว่างแอปนั้นทำได้ แต่ต้องไม่ใช่เพื่อการโฆษณา
ทางการอินเดียเริ่มสอบสวนประเด็นนี้มาตั้งแต่ปี 2021 ที่ WhatsApp ปรับปรุงเงื่อนไขการใช้งาน โดยผู้ใช้งานต้องยอมรับเงื่อนไขการแชร์ข้อมูลให้ Facebook
ตัวแทนของ Meta ชี้แจงว่าบริษัทจะยื่นอุทธรณ์ต่อคำสั่งดังกล่าว โดยยืนยันว่าการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการใช้งานในปี 2021 นั้น ไม่ได้เปลี่ยนแปลงเรื่องความเป็นส่วนตัวผู้ใช้งานแต่อย่างใด
Bloomberg อ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้อง บอกว่าแอปเปิลได้ยื่นข้อเสนอใหม่กับทางกระทรวงอุตสาหกรรมของอินโดนีเซีย เป็นการลงทุนในประเทศมูลค่าประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ ภายในระยะเวลา 2 ปี เพิ่มขึ้นจากตัวเลขเดิม 10 ล้านดอลลาร์ ที่แอปเปิลเคยเสนอไว้ โดยเป็นการลงทุนเกี่ยวกับโรงงานผลิตอุปกรณ์เสริมในเมืองบันดุง
แอปเปิลคาดว่าเมื่อข้อเสนอนี้จะทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมยกเลิกคำสั่งแบนการขาย iPhone 16 ที่ทางการอินโดนีเซียให้เหตุผลว่าเพราะแอปเปิลมีการลงทุนน้อยกว่าตัวเลขที่เคยให้คำมั่นสัญญาไว้
สำนักข่าว Reuters รายงานข่าวที่ยังไม่ยืนยันว่า โซนี่กำลังเจรจาซื้อกิจการบริษัทสื่อ Kadokawa ซึ่งเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์ สตูดิโออนิเมะ และสตูดิโอเกมหลายแห่ง รวมถึง FromSoftware ด้วย
Kadokawa หรือชื่อเดิม Kadokawa Shoten ก่อตั้งในปี 1945 ปัจจุบันเป็นเจ้าของสำนักพิมพ์และสตูดิโออนิเมะอย่าง ASCII Media Works, Enterbrain, Media Factory ส่วนสตูดิโอเกมในเครือคือ Spike Chunsoft, FromSoftware (Kadokawa ถือหุ้นประมาณ 70%) และ Acquire สตูดิโอผู้พัฒนา Octopath Traveller ซื้อมาเมื่อต้นปี 2024
Cerebras ผู้พัฒนาชิปเฉพาะทางในการรันโมเดลปัญญาประดิษฐ์ขนาดใหญ่ โชว์บริการ Cerebras Inference ที่ให้บริการโมเดล Llama 3.1 405B แบบความละเอียดเต็ม 16-bit แต่ได้ความเร็วสูงมากถึง 969 token/s และเริ่มตอบโทเค็นแรกในเวลาเพียง 240ms ใกล้เคียงการตอบแบบทันที
ทาง Cerebras โชว์ความเร็วของชิปตัวเองเป็นระยะ เดือนที่แล้วก็เพิ่งโชว์การรัน Llama 3.2 70B ที่ระดับ 2,100 token/s ไป แต่ก็ไม่เปิดเผยว่าจะให้บริการจริงเมื่อใด แต่มารอบนี้ทาง Cerebras ระบุว่าจะเปิดให้บริการตลาวด์ไตรมาสแรกของปี 2025 และยังประกาศราคาอินพุต 6 ดอลลาร์ต่อล้านโทเค็น และเอาท์พุต 12 ดอลลาร์ต่อล้านโทเค็น (เทียบกับ Azure ที่อินพุต 5.33 ดอลาร์และเอาท์พุต 15 ดอลลาร์)
Alibaba เปิดโมเดล Qwen2.5-Turbo โมเดลปัญญาประดิษฐ์ที่ปรับปรุงขึ้นจากรุ่นโอเพนซอร์ส เน้นขนาดข้อมูลที่รองรับได้ จากเดิม 128,000 โทเค็นเป็น 1 ล้านโทเค็น ทำให้รองรับข้อมูลระดับหนังสือทั้งเล่มได้ คิดเป็นขนาดข้อมูลประมาณ 1 ล้านคำหรืออักษรจีน 1.5 ล้านตัวอักษร
ผลทดสอบของ Qwen2.5-Turbo ค่อนข้างดีมากการถามตอบจากข้อมูลขนาดใหญ่ Passkey Retrieval ได้เต็ม 100 คะแนน ขณะที่ชุดทดสอบ RULER ก็ได้คะแนนสูงกว่า GPT-4 เมื่อใส่ข้อมูลเต็ม 1 ล้านโทเค็นจะเริ่มตอบใน 68 วินาที ราคาต่อ 1 ล้านโทเค็นอยู่ที่ 0.3 หยวน ถูกกว่า GPT-4o-mini อยู่ 4.6 เท่าตัว
Perplexity ผู้พัฒนาบริการค้นหาข้อมูลด้วย AI ประกาศเพิ่มเครื่องมือ ผู้ช่วยค้นหาข้อมูลสินค้าเพื่อประกอบการเลือกซื้อ โดยมีเป้าหมายให้ผู้ใช้งานได้คำตอบที่ตรงจุด ง่าย และสนุก โดยบริการนี้มีผลเฉพาะผู้ใช้งานเสียเงินแบบ Pro ในอเมริกาเท่านั้น
ในการทำงานนั้น เมื่อผู้ใช้งานค้นหาสินค้าตามเงื่อนไขที่ต้องการ Perplexity จะแสดงรายละเอียดสินค้าที่ตรงกับความต้องการ พร้อมข้อมูลสรุปประกอบการตัดสินใจ โดยมีปุ่ม Buy with Pro เพื่อทำคำสั่งซื้อทันทีแบบไม่มีค่าส่ง ทำให้ทุกอย่างจบในที่เดียว แต่หากร้านค้านั้นยังไม่รองรับ Buy with Pro ลิงก์จะเชื่อมต่อไปที่เว็บไซต์ของร้านค้านั้น
Mistral AI ประกาศเพิ่มความสามารถให้แพลตฟอร์มแชทบอต le Chat โดยสามารถค้นหาข้อมูลเว็บได้, เพิ่ม Canvas สำหรับปรับแต่งผลลัพธ์ได้สะดวกขึ้น เป็นฟีเจอร์แบบเดียวกับ ChatGPT, วิเคราะห์รูปภาพ-เอกสาร, สร้างรูปภาพ ด้วยโมเดล FLUX และปรับปรุงความเร็วในการตอบสนอง
เนื่องจากฟีเจอร์ที่ประกาศนี้จัดมาเป็นชุดใหญ่ Mistral จึงทำตารางเปรียบเทียบให้ดูว่าฟีเจอร์เหล่านี้ มีในบริการปัญญาประดิษฐ์คู่แข่งรายอื่นเช่นกัน แต่บางฟีเจอร์จำกัดเฉพาะลูกค้าเสียเงิน หรือจำกัดปริมาณการใช้งาน ขณะที่ Mistral เปิดให้ใช้ฟีเจอร์ทั้งหมดนี้ฟรีในสถานะเบต้า