วันนี้เข้ามาที่ Google Personalized Homepage เพื่ออ่าน Blognone แต่แล้วก็เจอปุ่มใหม่สดๆ ร้อนๆ เป็น ปุ่ม Select theme แสดงอยู่ด้านข้างข้อความ Add Stuff โดยมีข้อความด้านหน้าว่า new!
มีธีมให้เลือกทั้งหมด 7 แบบดังนี้ คือ Classic(แบบเดิม), Bleach, Bus Stop, City Scape, Sweet Dreams, Tree House และ Seasonal Scape
นอกจากนี้พบว่า ภาพด้านบนของธีมสามารถเปลี่ยนตามเวลา หรือสภาพอากาศตามประเทศที่เรากำหนด
ที่มา - Google Personalized Homepage
โทรทัศน์และมอนิเตอร์ชนิด CRT (Cathode Ray Tube) ซึ่งก็คือที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปนั้น จากผลการสำรวจของบริษัทวิจัยการตลาด iSuppli นั้นแสดงให้เห็นว่ามีการใช้งานลดลงอย่างต่อเนื่องและกำลังจะหมดไป โดยโดย iSuppli คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดของมอนิเตอร์ CRT ลดลงอย่างมากถึง 22% หลังจากปี 2007 ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ลดลงเนื่องมาจากความต้องการที่ลดลงและมีการปิดตัวของหลายโรงงานที่ทำหลอด CRT แต่อย่างไรก็ตาม มอนิเตอร์ชนิด CRT ซึ่งมีราคาถูกยังคงขายได้สำหรับผู้ที่ซื้อคอมพิวเตอร์ใช้ส่วนตัวครั้งแรกในกลุ่มประเทศโลกที่สาม(ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่ยังไม่ได้สนใจเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานเป็นสิ่งสำคัญ)
ที่มา - tgdaily
Appleinsider เว็บข่าวลือแอปเปิลที่โด่งดังในด้านความแม่นยำของข่าวลือได้ออกมารายงานว่ารุ่นต่อไปของ iMac คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะของแอปเปิลจะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านดีไซน์ โดยจะเป็นดีไซน์แนวอุตสาหกรรม (Industrial Design แนวหยาบ ๆ เหมือนโรงงานอุตสาหกรรมน่ะครับ ถ้านึกภาพไม่ออก ใกล้ตัวที่สุดก็คือดีไซน์แบบสนามบินสุวรรณภูมินั่นล่ะ) ในข่าวนั้นได้ใช้การเล่นคำสองความหมายในการอธิบายว่า "เป้าหมายของดีไซน์ใหม่ก็คือทำให้คู่แข่งเหมือนโดนตบเต็ม ๆ และดึงดูดผู้ที่สนใจอย่างแรง" (aimed at leaving both competitors and onlookers smitten)
ออกอัพเดตใหม่อีกครั้งกับเวอร์ชั่น 2.0.0.3 ของ Firefox ซึ่งมีรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงหลักๆ คือแก้ปัญหาเรื่องความปลอดภัยกับ FTP ตัวเดียวครับ (ดูรายละเอียดได้ที่นี่)
พร้อมๆ กันนี้สำหรับผู้ใช้ 1.5 ก็มีอัพเดตเวอร์ชั่น 1.5.0.11 ออกมาพร้อมกัน ซึ่งก็แก้ปัญหาเดียวกันกับ 2.0.0.3 พร้อมระบุด้วยว่าทาง Mozilla จะดูแล 1.5 ต่อไปถึงวันที่ 24 เมษายนนี้เท่านั้น
ที่มา - MozillaZine
John Backus บิดาแห่งภาษา Fortran เสียชีวิตลงด้วยอายุรวม 82 ปี ด้วยประวัติการทำงานที่น่าสนใจ Backus ถือเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญที่ทำให้โลกคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาเช่นทุกวันนี้ ด้วยการเข้าร่วมกับ IBM Research ตั้งแต่ปี 1950 เขาได้สร้างภาษา Fortran เพื่อลดความยุ่งยากในการเขียนโปรแกรมที่ยุคนั้นมักเขียนเป็นภาษาเครื่องมากกว่าที่เขียนภาษาระดับสูงอื่นๆ ความสำเร็จของภาษานี้ได้รับการพิสูจน์อย่างยาวนานที่ทุกวันนี้ยังมีการใช้งานอยู่จริง
นอกจากภาษา Fortran แล้ว Backus ยังได้ร่วมงานกับ Peter Naur เพื่อเขียนรูปแบบการอธิบายภาษาโปรแกรมมิ่งออกมาเป็น Backus-Naur Form ที่เราหลายๆ คนอาจจะได้เรียนกันสมัยอยู่มหาวิทยาลัยกันแล้ว
Free Software Foundation ประกาศมาตั้งแต่ปี 2005 ว่าจะออก GPLv3 มาในเร็ววัน ซึ่งวันที่ล่าสุดบอกว่าจะออกมาในช่วง "early 2007" แต่นี่จะพ้นไตรมาสแรกแล้ว ยังไม่เห็นวี่แววของ GPLv3 เสียที
ทาง FSF ได้อธิบายว่าเกิดจากสัญญาความร่วมมือระหว่างโนเวลล์กับไมโครซอฟท์ ซึ่งพลิกแพลงในเรื่องสิทธิบัตรเล็กน้อยและทำให้ GPLv2 ไม่สามารถใช้งานกับกรณีนี้ได้ FSF จึงกลับมาไตร่ตรองกันใหม่ว่า GPLv3 ยังมีรูรั่วสำหรับกรณีพิเศษแบบนี้หรือเปล่า ร่างฉบับใหม่ซึ่งน่าจะเป็นฉบับสุดท้ายก่อนตัวจริงจะออกมาก่อนวันที่ 27 มีนาคม ซึ่งเป็นวันประชุมใหญ่ประจำปีของ FSF
GPLv3 ไม่ได้รับการยอมรับจากกลุ่มนักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์เท่าไร แต่โครงการอื่นๆ อย่าง Samba, Java และ MySQL ก็มีปฏิกิริยาตอบรับที่ดี
ผมคงเอามะพร้าวห้าวมาขายสวนเพราะทราบมาว่าคนอ่านของเราจำนวนมากลง Beryl กันอยู่แล้ว แต่เพื่อกระตุ้นให้คนหันมาใช้ลินุกซ์กันเยอะๆ ก็ต้องโฆษณาบ่อยหน่อยแหละ :P
หลังจาก Beryl ออกเวอร์ชันใหญ่ตัวใหม่ 0.2.0 พร้อมฟีเจอร์ใหม่มากมาย เว็บไซต์หลายแห่งพร้อมใจกันเล่นข่าวนี้ ทาง Ars Technica ถึงกับมีสกู๊ปพิเศษว่าด้วย Beryl โดยเฉพาะ สอนตั้งแต่วิธีลงไปจนถึงเอฟเฟคต์เป็นรายตัว ถ้าใครยังไม่เคยลอง นี่ก็อาจจะเป็นโอกาสอันดี (มีปัญหาการใช้งาน มาถามใน forum ของเราได้)
เจอมาจากเว็บคุณ Poakpong คิดว่าแถวนี้มีคนใช้ iPod กันเยอะ น่าจะตรงกลุ่มเป้าหมาย เลยช่วยประชาสัมพันธ์เสียหน่อย
หลังจากที่ทางเราได้่ร่วมลงชื่อเรียกร้องให้ Apple Inc. ทำการอัพเดทระบบการแสดงผลที่รองรับการใช้งานภาษาไทยด้วย ไปเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2548 ที่ผ่านมา (To support Thai language in iPod.) ทางเราได้สังเกตุว่าทาง Apple Inc. ยังนิ่งเฉยไม่มีปฏิกิริยาใดๆ
ถ้าใครดันเส้นเยอะ รู้จักกับแอปเปิลประเทศไทย (หรือแอปเปิลสำนักงานใหญ่) ช่วยส่งต่อก็จะยอดเยี่ยมมาก แต่ถ้าไม่มีเส้นเยอะขนาดนั้น ร่วมลงชื่อกันดีกว่า
Ian Murdock ("ian" ใน "Debian" อีกครึ่งนึงก็ชื่อเมียเค้า) ประกาศในบล็อกตัวเองว่าจะย้ายจาก Linux Foundation ไปรับตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย operating system platform strategy ซึ่ง Ian ใบ้ว่าจะไปดูการพัฒนาของ Solaris ให้ทัดเทียมกับลินุกซ์ในแง่ usability มากยิ่งขึ้น
หลังจากนาย Eliyan Geshev ผู้ดูแลเว็บ Arenabg.com เว็บ BitTorrent ติดอันดับหนึ่งในสิบเว็บที่ถูกเยี่ยมชมมากที่สุดของบัลแกเรีย ถูกจับเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วฐานมีลิงก์ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์กว่า 20 ล้านรายการ และเบื้องต้นศาลได้มีคำสังปล่อยตัวไปแล้วเนื่องจากไม่มีหลักฐานในการจับกุม รัฐมนตรีมหาดไทยของบัลแกเรียก็ได้มีคำสั่งไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายให้ปิดกั้นการเข้าถึงเว็บดังกล่าว และประกาศ "Show no mercy" สำหรับผู้ดูแลเว็บไซต์ที่มีการกระจายสิ่งละเมิดลิขสิทธิ์และจะดำเนินมาตราการบล็อคการเข้าถึงต่อไปสวนทางกับคำตัดสินของศาล อย่างไรก็ตามประชาชนชาวบัลแกเรียดูเหมือนจะไม่ค่อยพอใจกับมาตราการดังกล่าว จนเกิดการเดินขบวนเรียกร้องต่อต้านความไม่ชอบธ
หลังจาก Borland ได้แยก Developer Tools Group ออกมาเป็นบริษัท CodeGear เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา
ในวันที่ 16 มีนาคม เวลาประมาณ 04:30 ทางบริษัท CodeGear ก็ได้ปล่อย Delphi 2007 for Win32 ออกมา ท่ามกลางความโล่งใจของแฟนๆ ที่กลัวว่า Delphi จะล้มหายตายจากไป
โดยในเวอร์ชัน 2007 นี้จะเข้ากันได้กับเวอร์ชัน 2006 ในระดับไบนารี ซึ่งหมายความว่าคอมโพเนนท์ของ Delphi 2006 จะสามารถนำมาใช้กับเวอร์ชันใหม่ได้ทันที โดยไม่ต้องคอมไพล์ใหม่แต่อย่างใด รวมถึงสามารถทำงานเข้ากันได้กับ Windows Vista และสนับสนุน AJAX อย่างเต็มตัว
อโดบีปล่อย Apollo รุ่น alpha ให้ลองไปเล่นกันได้แล้ว ตัว SDK และตัวรันไทมตอนนี้มีเฉพาะรุ่นบนแมคและวินโดวส์เท่านั้น
เนื่องจากปรับแผนนิดหน่อย เตรียมเน้นเรื่อง Internet Censorship/การบล็อกเว็บ เป็นประเด็นสำคัญ เลยต้องขอเวลาเตรียมตัวกับทาง FACT และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ อีกหน่อย
ขอเลื่อนวันจัดงานเป็นเสาร์ 7 เมษายนแทนครับ จึงประกาศให้ทราบทั่วกัน อัพเดต: เนื่องจากลืมดูว่าอาทิตย์นั้นมันหยุดยาว ขอเลื่อนออกไปก่อนไม่มีกำหนด (คงจะต้องหลังสงกรานต์)
ไมโครซอฟท์เร่งทำตลาด Windows Live Search หลังจากมีส่วนแบ่งตลาดแค่ 6.76% (เทียบกับกูเกิล 60.9%) โดยจ่ายเงินให้องค์กรที่ใช้ Windows Live Search
กรรมวิธีเริ่มจากติดตั้งปลั๊กอินของ IE7 ชื่อ Browser Helper Object ซึ่งจะส่งสถิติการค้นหากลับไปให้ไมโครซอฟท์ นอกจากนั้นมีการสอนให้พนักงานค้นหาผลลัพธ์ที่ต้องการจาก Windows Live Search อย่างมีประสิทธิภาพ, สอนการเอาทูลบาร์ของเสิร์ชเอนจินรายอื่นออก, สอนการตั้ง Live.com เป็นโฮมเพจ ไปจนถึงสอน CEO ให้อีเมลหาพนักงานเกี่ยวกับการใช้ Windows Live Search
ส่วนเงินที่จะจ่ายนั้นอยู่ที่ 2-10 ดอลลาร์ต่อเครื่องพีซีหนึ่งเครื่องต่อปี และเงินพิเศษอีก 25,000 ดอลลาร์ ไมโครซอฟท์ประมาณให้ว่าบริษัทจะได้เงินระหว่าง 100,000-200,000 ดอลลาร์ต่อปี
ถึงแม้จะมีข่าวลือมานานแต่มันก็ยังเป็นแค่ข่าวลือ พอมาคราวนี้ Google Phone ได้รับการยืนยันจาก Isabel Aguilera ผู้บริหารกูเกิลประจำภูมิภาคสเปนและโปรตุเกสว่า "มีวิศวกรบางส่วนถูกมอบหมายให้ทำโครงการนี้" แล้ว
ข่าวจริงมีแค่นั้นครับ ส่วนข่าวลือเก่าๆ ก็มีตั้งแต่เป็นมือถือจากซัมซุง, เป็นสมาร์ทโฟนแบบเดียวกับ BlackBerry และมี VoIP ในตัว, มีบริการต่างๆ จากกูเกิลมาให้ตั้งแต่แรก ฯลฯ รวมถึงรูปภาพ (แบบลือๆ) ของตัวเครื่องด้วย
โฆษกของกูเกิลให้ความเห็นว่า ตลาดมือถือนั้นเป็นสิ่งที่กูเกิลให้ความสำคัญอย่างมาก แต่ยังไม่มีอะไรต้องประกาศในตอนนี้
ที่มา - Ars Technica
สุดยอดวิสัยทัศน์จากรัฐมนตรีระดับโลกของเราเกิดขึ้นอีกครั้งหลังการแสดงวิสัยทัศน์ด้านโอเพนซอร์ส ด้วยการระบุชัดเจนว่าต้องการให้ค่าโทรศัพท์แพงขึ้น เพื่อให้ประชาชนระดับรากหญ้าลดการใช้งานลง เนื่องจากคนกลุ่มนี้มีรายได้ไม่เพียงพออยู่แล้ว
นอกจากนี้นายสิทธิชัยยังแสดงท่าทีไม่พอใจต่อ กทช. ที่ได้ให้ใบอนุญาตประเภทที่สาม คือผู้ให้บริการแบบมีเครือข่ายเป็นของตนเอง กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมกับระบุการเตรียมเสนอแก้กฏหมายให้ลดอำนาจ กทช. ลง
เรื่องน่ารำคาญในวินโดวส์รุ่นหลังๆ คือการที่ผู้ใช้ต้อง Activate ตัววินโดวส์กับทางไมโครซอฟท์เพื่อที่จะใช้งานได้ต่อจากช่วงเวลา 30 วันแรกที่ทางไมโครซอฟท์ให้มา แต่ปรากฏว่าในเว็บซัพพอร์ตของทางไมโครซอฟท์เองมีการพูดถึงวิธีการต่ออายุเครื่องที่ต้องการต่ออายุการใช้งานก่อนที่จะ Activate เอาไว้สำหรับลูกค้าระดับองค์กร
งานนี้เริ่มสนุกเมื่อนาย Brian Livington ได้แกะขั้นตอนดังกล่าวแล้วพบว่าสามารถใช้ได้กับวิสต้าทุกรุ่น แม้แต่รุ่น Home Premium ก็ตาม ด้วยการตั้งค่ารีจิสเตอร์ที่ชื่อว่า SkipReArm แล้วรันโปรแกรมที่มากับวิสต้าเองเพียงเล็กน้อย เครื่องคอมพิวเตอร์นั้นก็สามารถใช้งานไปได้จนครบหนึ่งปี ซึ่งน่าจะนานพอสำหรับหลายๆ คนที่จะลงโปรแกรมทั้งหมดใหม่อีกครั้ง แล้วทำตามกระบวนการเดิมต่อไป
Google Summer of Code เริ่มมาได้ครึ่งเดือนแล้ว (ข่าวเก่า [2005, 2006, 2007]) ช่วงที่ผ่านมาเป็นการรับสมัคร Mentoring Organization ซึ่งก็ผ่านไปได้ด้วยดี ลองเข้าไปดูผลได้ที่หน้าหลัก ขั้นตอนถัดไปก็เป็นการรับสมัครนักเรียนนักศึกษาทุกระดับชั้น รวมถึงป.โท และป.เอกด้วย ใครสนใจจะเข้าร่วมก็ต้องรีบเลือกหน่วยงานที่ต้องการแล้วเขียนโครงการส่งได้ทันที บางหน่วยงานจะมีโครงการไว้แล้ว ถ้าคิดว่าทำได้ก็อาสาได้ทันที
หลังจากที่ Gmail ได้หยุดเพิ่มเนื้อที่ไปหนึ่งวันตอนปีใหม่ เพราะลืมอัพเดตโค้ด และได้ใส่โค้ดเพิ่มเนื้อท่ีไปจนถึงวันที่ 1 เมษายนปีนี้ ถึงวันนี้ทาง Gmail ได้อัพเดตโค้ดอีกครั้ง โดยคราวนี้ได้ใส่โค้ดเพิ่มเนื้อที่ไปจนถึงปี 2012 ด้วยอัตราการเพิ่มเนื้อที่เฉลี่ยปีละ 145MB หรือวันละ 0.4MB สรุปแล้วถึงวันที่ 1 เมษายน ปี 2012 ผู้ใช้ Gmail จะมีเนื้อที่ในการเก็บเมล์ถึง 3560MB โดยส่วนของโค้ดที่เพิ่มมาใหม่ดูได้ที่นี่ครับ
ส่วน Picasa web album ที่บอกว่าจะเพิ่มเนื้อที่ขึ้นเรื่อยๆ เหมือนกัน จนถึงวันนี้ยังไม่มีการใส่โค้ดเพิ่มเนื้อที่ ที่หน้าเว็บเลย
ช่วงนี้ทั้ง Blu-ray และ HD DVD เริ่มบุกยุโรปโดยเริ่มจากงาน CeBIT ที่เยอรมนี ฝั่ง HD DVD ประกาศตัว European HD DVD Promotional Group มีเป้าหมายผลักดัน HD DVD ในยุโรป นาย Ken Graffeo จากยูนิเวอร์แซลให้ความเห็นว่า "HD DVD เป็นแบรนด์ที่คนรู้จักมากที่สุดในโลกของ HD"
ส่วนฝั่ง Blu-ray สนุกกว่านั้นเยอะ เพราะนาย Frank Simonis ประธานกลุ่ม Blu-ray ยุโรปให้สัมภาษณ์แบบมั่นใจว่า Blu-ray ไม่ได้มีเป้าหมายแค่เอาชนะ HD DVD แต่มุ่งไปถึงการเข้ามาแทน DVD ภายในสามปี
ถ้าเอาตัวเลขเดิมมาเทียบ สามปีแรก DVD มีส่วนแบ่งตลาดยังไม่ถึง 15%
ที่มา - Ars Technica
กลุ่ม OpenNET Initiative ซึ่งดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด, ออกซ์ฟอร์ด, แคมบริดจ์ และโตรอนโต ออกมารายงานผลการวิจัยว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกมีการเซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตมากขึ้น สาเหตุเพราะว่ามีการเรียนรู้วิธีจากประเทศกลุ่มที่เริ่มอย่างเช่น จีน และตัวเทคโนโลยีที่ใช้เซ็นเซอร์เองก็ก้าวหน้ามากขึ้น
กลุ่มประเทศที่ทำการเซ็นเซอร์หนักๆ ได้แก่ จีน, อิหร่าน, ซาอุดิอาระเบีย, ตูนิเซีย, พม่า และอุซเบกิสถาน ส่วนประเทศไทยไม่อยู่ในกลุ่มนี้ แต่อยู่ในแผนที่ประกอบบทความ ซึ่งเขียนไว้ว่า "Following last year’s military coup some news sites were censored, including the BBC and CNN."
Red Hat Enterprise Linux 5 ออกมาตามกำหนด เรื่องว่าตัว RHEL มีอะไรใหม่ลองอ่านดูในข่าวเก่าๆ ใต้แท็ก Red Hat หรือไม่ก็ดูจากเว็บของ RHEL โดยตรง
ที่น่าสนใจกว่าตัว RHEL คือกลยุทธ์ของ Red Hat ซึ่งช่วงหลังถูกตีกระหนาบโดย Novell+Microsoft และ Oracle ดังนั้น Red Hat จึงต้องมีอะไรที่เข้มแข็งกว่านั้นมาสู้ บริษัทจึงเน้นไปทางแอพพลิเคชันมากขึ้น จะเห็นได้จากการเข้าซื้อ JBoss ส่วนกลยุทธ์ใหม่ที่มากับ RHEL5 คือ RHX (Red Hat Exchange) ซึ่งเป็นตัวกลางในการซื้อซัพพอร์ตจากแอพพลิเคชันจากผู้ผลิตรายอื่นๆ ตัวอย่างเช่น MySQL หรือ SugarCRM
RHX จึงเป็นจิ๊กซอตัวใหม่ที่จะช่วยให้ Red Hat ชิงตลาด Enterprise ได้อย่างเบ็ดเสร็จมากขึ้น จับตาดูกลยุทธ์นี้ดีๆ
GNOME 2.18 ออกแล้ว เวอร์ชันนี้เน้นหน้าตาให้ดูสมบูรณ์มากขึ้น เพิ่มโปรแกรมอำนวยความสะดวก เช่น Seahorse สำหรับจัดการ PGP หรือโปรแกรมวิเคราะห์การใช้งานดิสก์ ที่น่าสนใจเป็นพิเศษคือการเพิ่มพจนานุกรมภาษาไทยเข้าไปในตัว GNOME เลย
รายละเอียดสามารถอ่านได้จาก Release Notes เวอร์ชันภาษาไทยที่แปลโดยคุณเทพพิทักษ์ ถ้าใครร้อนใจอยากรีบลอง เดี๋ยวนี้เค้ามีเวอร์ชัน LiveCD ให้พร้อม แต่ถ้าเป็นคนปกติทั่วไป รออีกซักนิดเดี๋ยวได้ใช้กันทั้งใน Ubuntu 7.04 Feisty Fawn และ Fedora 7 ที่จะออกช่วงปลายเดือนเมษายน
วันที่ 9 กุมภาพันธ์ กลุ่ม FACT - Freedom Against Censorship Thailand ได้ส่งคำถาม 20 ข้อเกี่ยวกับการบล็อคเว็บไซต์ในประเทศไทย (ข่าวเก่า) ตอนนี้ทางกระทรวงตอบมาแล้วครับ
กระทรวงตอบมาเป็นหนังสือราชการลงวันที่ 8 มีนาคม 2550 โดยมีนายไกรสร พรสุธี ปลัดกระทรวงไอซีทีเป็นผู้ลงนาม ใจความสำคัญในหนังสือนำมีดังนี้
ในปัจจุบันชิปที่เราๆ ใช้กันอยู่มักเป็นชิปที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีระดับ 90 นาโนเมตร ส่วนชิปรุ่นใหม่ๆ จะเป็นเทคโนโลยี 65 นาโนเมตรกัน และเทคโนโลยีรุ่นต่อไปที่เราจะได้เห็นกันนั้นน่าจะเป็นเทคโนโลยี 40 นาโนเมตรที่เริ่มเข้าสู่สายการผลิตกันบ้างแล้ว
แต่เกาหลีก็ทำให้โลกประหลาดใจ ด้วยการที่ประกาศความสำเร็จในการผลิตหน่วยความจำแบบแฟลชด้วยเทคโนโลยี 8 นาโนเมตร ที่ทำให้ผู้ผลิตสามารถใส่หน่วยความจำระดับเทราบิตลงไปในชิปได้ไม่ยากนัก