TIOBE รายงานอันดับภาษาเขียนโปรแกรมยอดนิยมประจำเดือนพฤศจิกายน 2024 ซึ่งวัดจากจำนวนการค้นหาผ่านช่องทางต่าง ๆ ไฮไลท์ของผลการจัดอันดับเดือนนี้คือ Go ที่มีแนวโน้มความนิยมเพิ่มขึ้นมาระยะหนึ่ง อันดับขยับขึ้นมาเป็นที่ 7 สูงสุดที่เคยทำได้
เมื่อเดือนที่แล้ว TIOBE บอกว่า Rust เป็นภาษาที่ความนิยมเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดดเมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งแนวโน้มยังเป็นเหมือนเดิมโดยเดือนพฤศจิกายนอยู่ในอันดับที่ 14
ส่วน 3 อันดับแรกยังเหมือนเดิมคือ Python, C++ และ Java
ที่มา: TIOBE
GitHub ออกรายงาน Octoverse โดยมีการระบุความนิยมของภาษา Python ที่ปีนี้ขึ้นมาแซงหน้า JavaScript เป็นอันดับ 1 แล้ว หลังจากแซง Java มาอยู่อันดับ 2 ตั้งแต่ 2019 ส่วนอันดับ 3-5 ได้แก่ TypeScript, Java และ C# ซึ่งการลดอันดับของ JavaScript ก็มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเติบโตของ TypeScript ที่เป็น JavaScript เวอร์ชันปรับปรุงนั่นเอง
GitHub ระบุว่าการเติบโตของความนิยมของ Python สอดคล้องกับการเติบโตของ Jupyter Notebooks โดยปัจจุบันมี Repos ที่มี Jupyter กว่า 1.5 ล้าน Repos ซึ่งเติบโตจากปี 2022 ถึง 170%
ที่มา - GitHub
TIOBE รายงานอันดับความนิยมภาษาเขียนโปรแกรมประจำเดือนตุลาคม 2024 โดยวัดจากจำนวนการค้นหาผ่านช่องทางต่าง ๆ ซึ่ง 3 อันดับแรกเป็น Python, C++ และ Java เหมือนกับเดือนกันยายน (Java แซง C มาเป็นอันดับ 3 ตั้งแต่เดือนที่แล้ว)
Paul Jansen ซีอีโอ TIOBE ให้ความเห็นจากอันดับที่ออกมา สะท้อนว่านักพัฒนาเริ่มมองหาภาษาอื่นมาแทน Python บนเงื่อนไข เรียนรู้ได้ง่าย ปลอดภัย และทำงานได้เร็ว โดยเขามองว่ามีภาษาที่สามารถแทนที่ได้เช่น Rust หรือ Mojo
อันดับของ Rust ในเดือนนี้อยู่ที่อันดับ 13 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด และมีโอกาสติด Top 10 เร็ว ๆ นี้ ส่วน Mojo เป็นภาษาที่เพิ่งออกมาใหม่ อันดับล่าสุดอยู่ที่ 49
Python 3.13 ออกรุ่นจริงหลังจากถูกเลื่อนมาเล็กน้อยเนื่องจากพบปัญหาประสิทธิภาพในเบต้าสุดท้าย จุดสำคัญที่สุดคือเวอร์ชั่นนี้เป็นรุ่นแรกที่เพิ่มออปชั่นปิด Global Interpreter Lock (GIL) ที่น่าจะใช้เวลารวมถึง 5 ปีกว่าจะปิดได้หมดจริงๆ
สำหรับฟีเจอร์อื่นๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงจำนวนมาก และน่าจะได้ใช้งานกันก่อนปิด GIL เสียอีก เช่น
ไมโครซอฟท์ประกาศข่าวเกี่ยวกับ Copilot ใน Excel ดังนี้
JetBrains ร่วมกับ Python Software Foundation รายงานผลการสำรวจนักพัฒนา Python ประจำปี 2023 ซึ่งเป็นการทำสำรวจปีที่ 7 ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2023 ถึงกุมภาพันธ์ 2024 กับนักพัฒนา Python มากกว่า 25,000 คน
ผลสำรวจมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น คำถามเกี่ยวกับ Python 2 ซึ่งเวอร์ชันสุดท้ายออกมาในปี 2020 และเข้าสู่สถานะหยุดการสนับสนุนแล้ว พบว่ามีนักพัฒนา 6% ที่ยังใช้ใช้ Python 2 เมื่อลงรายละเอียดมากกว่าครึ่งหนึ่ง เป็นนักพัฒนาที่อายุน้อยกว่า 21 ปี, 1 ใน 3 เป็นนักเรียน จึงอาจมีสาเหตุจากคอร์สเรียนที่ยังใช้ Python 2 อยู่ ขณะที่ 75% ใช้ Python 3 ที่เป็นสามเวอร์ชันล่าสุด
ประเด็นอื่นมีดังนี้
TIOBE ออกรายงานอันดับความนิยมของภาษาโปรแกรมมิ่งเดือนสิงหาคม 2024 โดย 3 อันดับแรกยังคงเป็น Python, C++ และ C เหมือนหลายเดือนที่ผ่านมา
ไฮไลท์รอบนี้คือ Python ที่ได้เรทติ้ง 18.04% สูงที่สุดของ Python ที่ TIOBE เคยสำรวจมา โดยครั้งล่าสุดที่มีภาษาโปรแกรมมิ่งทำได้สูงกว่า 18% คือ Java เมื่อพฤศจิกายน 2016 ส่วนเรทติ้งที่สูงที่สุดตลาดกาลก็ยังเป็น Java ที่ 26.49% เมื่อมิถุนายน 2001
Paul Jansen ซีอีโอ TIOBE บอกว่า คงปฏิเสธไม่ได้แล้วว่า Python คือภาษาที่ครองโลกนี้ (hegemony) ส่วนภาษาที่มีโอกาสจะล้ม Python ก็น่าจะเป็น Rust และ Kotlin ที่เข้ามาติดท็อป 10 ได้รวดเร็ว แต่ก็ต้องใช้เวลาอีกพอสมควรกว่าจะขึ้นมาเทียบ Python ได้
แผนการปลด GIL ออกจาก Python เพื่อให้รันแบบ multithread ได้เต็มทุกคอร์ในซีพียูกำลังเดินหน้าหลังจากโค้ดเข้าโครงการ Python ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตอนนี้ทีมงานจาก Quansight Labs ก็ออกมาปล่อยไบนารีของ Python เวอร์ชั่น Free Threading ที่ใช้ซีพียูได้เต็มทุกคอร์นี้แล้ว
โค้ด Python ที่ปลด GIL จะต้องคอมไพล์ด้วยออปชั่น --disable-gil
เท่านั้นจึงใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ โครงการ Free Threading จะเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้เสมอไม่ว่าโครงการ Python หลักจะตัดสินใจเปิดฟีเจอร์นี้ใน Python 3.13 หรือไม่
โครงการ NumPy ไลบรารีไพธอนสำหรับการจัดการข้อมูล array ขนาดใหญ่ ประกาศออกเวอร์ชั่น 2.0 นับเป็นการออกเวอร์ชั่นหลังหลังจาก 1.0 ออกมาตั้งแต่ปี 2006 โดยวางแผนเวอร์ชั่นนี้ตั้งแต่ปีที่แล้วที่จะปรับโครงสร้างเสียใหม่ ทำให้มี API และ ABI ที่ไม่เข้ากับโค้ดเดิม
จุดเปลี่ยนแปลงของ NumPy 2.0 บางส่วนมีการแจ้งเตือนไว้ก่อนหน้านี้แล้ว โดยจะขึ้นเป็น deprecated warning แต่ความเปลี่ยนแปลงบางส่วนก็ไม่สามารถแจ้งเตือนได้ ทำให้ผู้ที่ต้องการใช้งานควรทดสอบก่อนเสมอ
Thomas Wouters หนึ่งในทีม Python Steering Council เปิดเผยว่าทีมพัฒนา Python ภายในของกูเกิลถูกเลิกจ้างยกทีม รวมถึง Gregory P. Smith ทีมพัฒนาหลักของ CPython
ทีมงานนี้เป็นทีมพัฒนาที่ช่วยส่งโค้ดขึ้นโครงการ Python หลักพร้อมๆ กับดูแล Python ภายในกูเกิลเอง รวมถึงไลบรารีต่างๆ ที่กูเกิลดึงเข้าไปใช้งาน เช่น pylint และ black ที่ต้องปรับแต่งให้ตรงกับแนวทางเขียนโค้ดของกูเกิลเอง
ผู้ใช้ Hacker's News ชื่อบัญชี zem ระบุว่าเป็นหนึ่งในทีมที่ถูกเลิกจ้าง เขาระบุว่ากูเกิลกำลังสร้างทีมใหม่ในเมืองมิวนิค เยอรมนี และน่าจะมาสานต่องานส่วนใหญ่
ไลบรารี GNU Portability Library (gnulib-tool) เป็นไลบรารีที่รวบรวมชุดคำสั่งทั่วไปของ GNU สำหรับให้นักพัฒนาใช้อิมพอร์ตเข้าไปในโค้ดตอนเขียนโปรแกรมภาษาต่างๆ
เนื่องจาก gnulib-tool เริ่มต้นสร้างขึ้นมาโดยเน้นด้าน portability เป็นสำคัญ มันจึงถูกเขียนขึ้นโดยใช้ shell script นั่นทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานอาจจะไม่เร็วนักเมื่อเทียบกับไลบรารีที่เขียนด้วยภาษาโปรแกรมอื่น นักพัฒนาหลายคนก็บ่นเรื่องความช้าของ gnulib-tool มาเป็นเวลานาน
Python Package Index หรือ PyPI คลังซอฟต์แวร์ภาษา Python ยังตกเป็นเป้าโจมตีของแฮ็กเกอร์อย่างต่อเนื่อง ตามกระแสการโจมตี supply chain attack คลังแพ็กเกจยี่ห้อต่างๆ เพราะสามารถกระจายมัลแวร์ได้ในวงกว้าง
ล่าสุด PyPI ต้องประกาศปิดรับสมัครบัญชีผู้ใช้ใหม่ และการสร้างโครงการในระบบใหม่เป็นเวลาราว 10 ชั่วโมง โดยระบุคร่าวๆ ว่าเป็นเพราะโดนโจมตีด้วยการสร้างบัญชีผู้ใช้จำนวนมากเพื่ออัพโหลดมัลแวร์เข้าระบบ
ทีมพัฒนา Python รับโค้ดปิด GIL เข้าสู่ main branch เป็นที่เรียบร้อย นับเป็นอีกก้าวเพื่อเข้าสู่ยุค Python ที่สามารถรัน multithread จริงๆ แบบใช้ซีพียูได้เต็มทุกคอร์
โค้ดที่รวมครั้งนี้นับว่าเป็นไปตามกำหนดที่เคยคาดว่าจะออกทัน Python 3.13 หรืออาจจะเลยไป Python 3.14 ผลการเปิดฟีเจอร์นี้โดยรวมไม่มีผลกระทบอะไรมากนัก แต่ยังรันชุดทดสอบทั้งหมดไม่ผ่าน โดยติดที่ชุดทดสอบของ asyncio
GIL เป็นกลไกลสำคัญคือภาษา Python ที่ทำให้โปรแกรมไม่สามารถกระจายโหลดได้ทุกคอร์ในซีพียูอย่างแท้จริง และที่ผ่านมามีความพยายามแก้ข้อจำกัดนี้มาโดยตลอด
อินเทลเปิดซอร์สโค้ด Intel NPU Acceleration Library ไลบรารีภาษา Python สำหรับเรียกใช้งาน Neural Processing Unit (NPU) ในซีพียูรุ่นใหม่ๆ ของอินเทล นับตั้งแต่ Core Ultra (Meteor Lake) เป็นต้นไป
โลกปี 2024 เราคงจะได้ยินการพูดถึงชิป NPU กันมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะผู้ผลิตซีพียูทั้งอินเทลและเอเอ็มดีต่างเริ่มใส่ NPU เข้ามาแล้ว ผนวกกับการดันคำว่า AI PC ของไมโครซอฟท์ในฝั่งการตลาดต่างๆ
กูเกิลอัพเดตบริการ Gemini Advanced (ที่ตอนนี้น่าจะยังอยู่ในช่วงทดสอบฟรีกันทุกคน) ให้สามารถรันโค้ดภาษา Python ได้ในเว็บ เป็นฟีเจอร์สำหรับผู้ใช้ที่สมัครแพ็กเกจจ่ายเงินเท่านั้น
แนวทางนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถกดรันโค้ดและดูผลลัพธ์ได้ทันที โดยเมื่อผู้ใช้กดรันโค้ดบนหน้าเว็บแล้วเว็บ Gemini จะส่งโค้ดไปรันบนเซิร์ฟเวอร์เพื่อแสดงผล โดยตัว Gemini นั้นไม่ได้อ่านผลการรันด้วยตัวเองแต่อย่างใด ทำให้บางคำถาม ตัว Gemini จะตอบผลที่ผิดแม้จะเขียนโค้ดถูกและเมื่อรันโค้ดแล้วได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้องก็ตาม
Astral บริษัทสร้างเครื่องมือพัฒนาภาษา Python เปิดตัวโครงการ uv โปรแกรมสำหรับติดตั้งแพ็กเกจในภาษา Python ที่ปกตินักพัฒนามักใช้งานโปรแกรม pip หรือ poetry กันเป็นวงกว้าง โดยจุดเด่นของ uv คือประสิทธิภาพสูงมาก
ทีมพัฒนาระบุว่า uv เร็วกว่า pip ประมาณ 10 เท่าตัว เมื่อไม่ได้ใช้แคช และเร็วขึ้นถึง 80-115 เท่าตัวเมื่อใช้แคช นอกจากความสามารถในการติดตั้งแพ็กเกจแล้ว uv ยังสามารถสร้าง virtual environment ทดแทน venv หรือ virtualenv ได้ด้วย โดยยังได้ความเร็วดีขึ้น 7-80 เท่าตัว
วันนี้ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 ทาง PyThaiNLP ชุดคำสั่งเครื่องมือประมวลข้อความภาษาไทยสำหรับงานวิเคราะห์ข้อมูล ภาษาศาสตร์ งานปัญญาประดิษฐ์ แบบโอเพ่นซอร์ส ได้ปล่อย PyThaiNLP รุ่น 5.0 หลังจากที่ปล่อย PyThaiNLP 4.0 ไปเมื่อปีก่อน โดย PyThaiNLP 5.0 มีการเปลี่ยนแปลงสรุปได้ดังนี้
ไลบรารี urllib3 ออกเวอร์ชั่น 2.2.0 เพิ่มฟีเจอร์สำคัญคือการรองรับการใช้งานบน Pyodide รันไทม์ภาษาไพธอนสำหรับ WASM ซึ่งทำให้สามารถรันโค้ดไพธอนได้บนเบราว์เซอร์หรือ Node.js
urllib3 เป็นไลบรารีที่พัฒนาอิสระ แข่งกับโมดูล urllib ที่เป็นไลบรารีมาตรฐานในตัวไพธอนเอง และมันเป็นไบรารีเบื้องหลังโมดูล requests ที่ได้รับความนิยมสูงเนื่องจากออกแบบ API ให้อ่านได้ง่าย
LangChain เปิดตัวเฟรมเวิร์กเวอร์ชัน 0.1.0 แล้ว หลังจากพัฒนามา 1 ปี
LangChain เป็นเฟรมเวิร์กโอเพนซอร์สยอดนิยมที่ออกแบบมาเพื่อช่วยสร้างแอปที่ใช้ LLM โดยเวอร์ชันนี้จะมีทั้ง Python และ JavaScript ซึ่งเป็นการปรับปรุงและเพิ่มความสามารถต่าง ๆ ดังนี้
Django หนึ่งในเฟรมเวิร์คยอดนิยมในภาษา Python ออกเวอร์ชั่น 5.0 สองปีหลัง 4.0 มีการปรับฟีเจอร์เพิ่มไม่มากนัก แต่เป็นการปรับเวอร์ชั่นหลักเนื่องจากถอดฟีเจอร์บางส่วน ร่วมถึงหยุดซัพพอร์ต Python 3.8 และ 3.9 ออก
ส่วนฟีเจอร์ที่เพิ่มขึ้นมา รายการสำคัญๆ ได้แก่
ไมโครซอฟท์ออกอัพเดตส่วนขยาย Python Extension for Visual Studio Code มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือปลด Python 3.7 เข้าสถานะล้าสมัย (deprecated) แล้ว
Python 3.7 ที่ออกในปี 2018 เพิ่งหมดระยะซัพพอร์ตในเดือนมิถุนายน 2023 ทำให้ไมโครซอฟท์ปรับสถานะเป็น deprecated ตามไปด้วย ในการใช้งานจริงคงไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง โค้ดน่าจะยังทำงานได้ไปอีกนาน แต่ก็ไม่มีอะไรการันตีว่าจะไม่พังแล้ว
Python Software Foundation ร่วมกับ JetBrains ทำแบบสอบถามข้อมูลนักพัฒนา Python ประจำปี 2022 มีผู้ตอบแบบสอบถามราว 23,000 คนจากทั่วโลก มีสถิติที่น่าสนใจดังนี้
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Python Editor ตัวแก้ไขโค้ดภาษา Python ในโปรแกรม Excel โดยมีรูปแบบเป็นส่วนเสริม (add-in) ของ Excel
Python Editor เป็นฟีเจอร์เสริมของ Python in Excel ที่เปิดตัวไปแล้ว โดยความสามารถของมันคือเป็น code editor เต็มรูปแบบ รันในแถบ sidebar ด้านข้าง มีพื้นที่แสดงโค้ดได้ยาวมากขึ้น ตัว editor ใช้เอนจินเดียวกับ VS Code และมีฟีเจอร์หลายอย่างยกมาด้วย เช่น IntelliSense, formatting, code completion, syntax highlighting
Python Editor ยังมีสถานะเป็นฟีเจอร์ทดลอง (experimental) ผ่านระบบ Excel Labs ที่ทดลองฟีเจอร์ใหม่ๆ ก่อนออกตัวจริง การใช้งานจำเป็นต้องเพิ่มส่วนเสริม Excel Labs ก่อนแล้วจึงค่อยเปิดฟีเจอร์ Python Editor ในภายหลัง
IEEE Spectrum นิตยสารในเครือ IEEE รายงานการจัดอันดับภาษาโปรแกรมยอดนิยมประจำปี ซึ่งปีนี้จัดอันดับเป็นปีที่ 10 โดย Python ยังคงเป็นอันดับ 1 ในคะแนนภาพรวม หรืออันดับ Spectrum รวมทั้งอันดับ 1 ในด้านภาษาที่มาแรงเป็นกระแส (Trending) มี Java, C++ และ JavaScript ในอันดับรองลงมา
อย่างไรก็ตาม ผลการจัดอันดับด้านภาษาโปรแกรมสำหรับการหางาน (Jobs) SQL ยังครองอันดับที่ 1 ด้วยเหตุผลเพราะ SQL มักเป็นทักษะที่อยู่ในเงื่อนไขการรับสมัครงานร่วมกับภาษาอื่น โดยมี Python ตามมาในอันดับ 2 ด้วยคะแนนที่ไม่ห่างกันมากนัก
ในรายงานยังให้ข้อสังเกตของภาษา R ว่ามีประสิทธิภาพแต่ก็มีความเฉพาะตัว ได้รับความนิยมในระดับสูง แต่พอร์ตเป็นภาษาอื่นได้ยาก ซึ่งคล้ายกับสิ่งที่เกิดกับ Fortran และ Cobol
ผู้สร้างภาษาโปรแกรมยอดนิยม 4 คน มารวมตัวกันเป็นครั้งแรกในงานเสวนาเพื่อการกุศล Language Creators Charity Fundraiser โดยรายได้จากการขายบัตรจะมอบให้หน่วยงานด้านการศึกษา Last Mile Education Fund และ NumFOCUS
ผู้สร้างภาษาโปรแกรมทั้ง 4 คนที่เข้าร่วมได้แก่
งานเสวนาครั้งนี้จัดโดยกลุ่ม PyData Seattle วันที่ 19 กันยายน 2023 ที่เมือง Bellevue ในรัฐวอชิงตัน
ก่อนหน้านี้ 3 จาก 4 คนข้างต้น (ไม่รวม Goldberg) เคยขึ้นเวทีร่วมกันมาแล้วครั้งหนึ่งในปี 2019 รวมกับอีกคนคือ Larry Wall ผู้สร้างภาษา Perl