ในที่สุด AMD ก็เปิดตัวชิป APU รุ่นใหม่ต่อจาก Llano (ที่เปิดตัวไปเมื่อปีก่อน) ในรหัส Trinity ซึ่งยังผลิตในขนาด 32 นาโนเมตรเท่าเดิม แต่มีขนาด die ที่ใหญ่ขึ้น และ Trinity มีสเปคดังนี้
มีข่าวร้ายเล็กๆ ก็มาดูข่าวดีกันบ้าง AMD ประกาศออก Radeon ตระกูล 7000 ที่ใช้สถาปัตยกรรม Southern Islands สำหรับโน้ตบุ๊กมาแล้ว (Radeon HD 7000M รุ่นก่อนหน้านี้จะใช้สถาปัตยกรรมตัวเก่า)
ข่าวนี้จะชวนให้สับสนอยู่บ้าง เพราะมี 2 ประเด็นปนกันครับ
เส้นแบ่งของการ์ดจอยุคใหม่อยู่ที่ Radeon HD 5000 ซึ่งจะได้ไดรเวอร์ของ Windows 8 ที่รองรับ WDDM 1.2 ด้วย
ทั้งหมดข้างต้นเป็นกรณีของ Windows 8 นะครับ แต่สำหรับผู้ใช้วินโดวส์ที่เก่ากว่านั้น การ์ดจอรุ่น Radeon HD 2000, 3000, 4000 ที่เคยได้อัพเดตไดรเวอร์ Catalyst เดือนละครั้ง จะกลายเป็นไตรมาสละครั้งแทน ด้วยเหตุผลว่ามันเก่าเกินไปแล้วนั่นเอง
AMD ประกาศผ่านบล็อกของบริษัทว่าได้ทำการส่งชิปรุ่นใหม่ไปยังผู้ผลิตแล้ว ตัวแรกมีโค้ดเนมว่า "Trinity" ที่เป็นชิปแบบ APU (มีทั้ง CPU และ GPU ในชิปตัวเดียว) ใช้ CPU รหัส "Piledriver" และ GPU Radeon HD 7000 ในแง่การใช้งาน AMD เคลมว่าให้ประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นก่อนหน้าถึงเท่าตัวในการบริโภคพลังงานเท่ากัน ซึ่งจะมีใช้ในโน๊ตบุ๊คทั่วไป เดสก์ท็อป รวมถึงโน๊ตบุ๊คแบบบางคู่แข่ง ultrabook ที่เรียกว่า ultrathin ด้วย
นอกจากนี้ยังมีชิป APU อีกรุ่นที่ใช้โค้ดเนมว่า "Brazos 2.0" ที่เน้นจับกลุ่มตลาดโน๊ตบุ๊ค และเดสก์ท็อปราคาถูกตามแผนที่วางไว้
เอเอ็มดีรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2012 มีรายได้ 1.59 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ และลดลง 2% เมื่อเทียบกับ
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าอดีตพนักงานอินเทลได้ยอมรับผิดในข้อหาขโมยเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการผลิตชิปที่มีมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ชื่อของอดีตพนักงานที่ว่าคือ Biswamohan Pani ปัจจุบันย้ายไปทำงานกับคู่แข่งอย่างเอเอ็มดี โดยอัยการกลางศาลในบอสตันได้ระบุว่า Pani ดาวน์โหลดข้อมูลบางส่วนของอินเทลที่มีความสำคัญต่อการออกแบบ และผลิตชิปซีรีส์ Itanium เมื่อเดือนมิถุนายน 2008 ในวันสุดท้ายของการทำงานให้กับอินเทล ซึ่งเจ้าหน้าที่พบเอกสารดังกล่าวที่บ้านพักของ Pani เอง
AMD เปิดตัวการ์ดจอตระกูล Radeon HD รุ่นที่เจ็ดพร้อมสถาปัตยกรรม Graphics Core Next (GCN) ไปเมื่อปลายปีที่แล้วด้วย Radeon HD 7970 รุ่นท็อป จากนั้นช่วงต้นปีนี้ก็ออก Radeon HD รุ่นเล็ก 7700 ตามมา (มีจุดเด่นที่ตัว HD 7770 หน่วยประมวลผ
AMD ยังทำตลาดซีพียู Opteron อย่างต่อเนื่อง โดยออก Opteron 3200 Series ซีพียูเซิร์ฟเวอร์รุ่นถูกแบบ 1 ซ็อคเก็ต ที่กดราคาให้เท่ากับซีพียูเดสก์ท็อป
กลุ่มเป้าหมายของ Opteron 3200 คือลูกค้ากลุ่มเว็บโฮสติ้งแบบ dedicated server ที่ไม่ต้องการพลังซีพียูสูงมากเหมือนกับเซิร์ฟเวอร์แบบแชร์หรือเซิร์ฟเวอร์องค์กร
Opteron 3200 มีคุณสมบัติดังนี้
Matthew Dillon นักพัฒนาในโครงการ Dragonfly BSD พบว่าซีพียูของเอเอ็มดีทำให้โปรแกรมแครชอย่างไม่มีสาเหตุในบางครั้ง หลังจากแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางเอเอ็มดีหลายครั้ง ทางเอเอ็มดีก็ยืนยันว่าเป็นปัญหาในชิปตระกูล E (ตระกูล APU เช่น E-350)
การทำให้บั๊กนี้แสดงผลต้องใช้คำสั่ง pop ต่อเนื่องกันหลายๆ ครั้งใกล้กับคำสั่ง return จะทำให้พอยเตอร์ใน stack ชี้ไปยังจุดที่ผิดพลาด ทำให้โปรแกรมแครชไปในที่สุด
เอเอ็มดีจะออกแนวทางการแก้ปัญหา (revision guide) ออกมาในเร็วๆ นี้ เมื่อคอมไพล์เลอร์หลีกเลี่ยงการใช้ชุดคำสั่งในรูปแบบที่เจอปัญหานี้ก็คงไม่มีผลอีกต่อไป
ที่มา - GMane
GlobalFoundries เป็นความฝันของ AMD ที่ต้องการแตกสายธุรกิจ "โรงงานผลิตชิป" ออกไปเพื่อตอบสนองความต้องการของ AMD เอง ตัวโรงงานเปิดเมื่อปี 2009 โดย AMD ถือหุ้น 34.2% และที่เหลือเป็นของ Advanced Technology Investment Company (ATIC) บริษัทลงทุนของรัฐบาลอาบูดาบี
ช่วงหลังมีข่าวลือหนาหูว่าโซนี่กำลังพัฒนาเครื่องเล่นเกมตัวใหม่หรือ PlayStation 4 นั้น ซึ่งทางโซนี่ได้ออกมายืนยันแล้วว่าจะไม่ได้เห็น PS4 ในปี 2012 แน่นอน (ข่าวเก่า)
ข่าวลือใหม่ได้หลุดออกมาจากอดีตพนักงานของ AMD ได้กล่าวไว้ว่าทางโซนี่กำลังร่วมมือกับ AMD ในการพัฒนาเครื่องเล่นเกมตัวใหม่อยู่ และแหล่งข่าวภายในอุตสาหกรรมเกมบอกกับทางเว็บไซท์เกม Kotaku ว่า โซนี่อาจจะทิ้งชิปประมวลผล Cell และชิปกราฟิกจาก NVIDIA ไปเลือกใช้ชิปของ AMD แทน
บริษัท SeaMicro เป็นบริษัทที่ขายเซิร์ฟเวอร์เฉพาะทาง คือบีบเครื่องให้เหลือขนาดเล็กๆ แล้วรวมเครื่องจำนวนมากๆ เข้าไว้ในตู้เดียวกัน เช่นที่เคยเป็นข่าวคือเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ชิป Atom 256 ตัวในกล่อง 10U แต่ในเร็วๆ นี้เราคงได้เห็นสินค้าในตระกูลเอเอ็มดีมากขึ้น เมื่อทางเอเอ็มดีประกาศเข้าซื้อ SeaMicro ด้วยมูลค่า 334 ล้านดอลลาร์แล้ว
การซื้อจะแบ่งเป็นเงินสดมูลค่า 281 ล้านดอลลาร์ ที่น่าสนใจคือในตอนนี้สินค้าทั้งหมดของ SeaMicro ใช้ชิปในตระกูลอินเทลทั้งสิ้น ส่วนเซิร์ฟเวอร์ที่จะใช้ชิป Opteron นั้นจะออกในครึ่งหลังของปีนี้
ข่าวดีของแฟนๆ AMD ครับ เพราะบริษัทเพิ่งประกาศว่าจะออกซีพียูตระกูล FX (ที่เราเรียกกันว่า Bulldozer น่าจะคุ้นกว่า) อีก 2 ตัว ได้แก่
นอกจากนี้ AMD จะลดราคาของ FX-8120 ตัวกลางของสาย 8 คอร์ลงมาอีกเล็กน้อย รายละเอียดอื่นๆ อ่านได้ตามลิงก์
ที่มา - AnandTech
กระแสชิปตระกูล ARM ที่ร้อนแรงขึ้นมาเรื่อยๆ ในรอบปีหลัง สร้างความกดดันต่อผู้ผลิตชิปตระกูล x86 อย่าง Intel และ AMD ไม่น้อย
ในขณะที่ทางออกของ Intel คือพัฒนาชิปแบรนด์ Atom ให้แข่งขันกับ ARM ได้ แต่ทางเลือกของ AMD อาจจะไปในทิศทางอื่น
เว็บไซต์ Wired ได้ถามคำถามนี้กับ Mark Papermaster ซึ่งเป็น CTO ของ AMD (ถ้ายังจำกันได้ แกเคยอยู่กับแอปเปิลมาก่อน) คำตอบที่ได้จากเขาคือ "เราไม่ปฏิเสธ" (not no)
คำตอบนี้ยังไม่ใช่ yes ได้เต็มปาก แต่ก็แสดงให้เห็นโอกาสที่ AMD จะหันมาผลิต ARM ได้ในอนาคต
Papermaster ยังให้สัมภาษณ์ถึงทิศทางของ AMD ในอนาคตอันใกล้ว่าจะทำชิปที่มีลักษณะเป็นโมดูลมากขึ้น ทำให้สามารถผสมผสานส่วนประกอบต่างๆ ของชิปเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็วกว่าเดิม
Roy Read ซีอีโอคนใหม่ของ AMD กล่าวกับนักวิเคราะห์การเงินว่าบริษัทจะทำซีพียูสำหรับแท็บเล็ต และเปิดตัวภายในปีนี้
Read บอกว่า "โอกาสครั้งใหญ่" กำลังอยู่ต่อหน้าเรา วิธีการใช้งานโพรเซสเซอร์กำลังเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ และนี่เป็นจังหวะที่เราต้องออกมาจากเงามืดและมุ่งหน้าเป็นผู้นำ
เอเอ็มดีรายงานผลประกอบการไตรมาสที่ 4 มีรายได้เพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนเป็น 1.69 พันล้านดอลลาร์ ถ้าไม่คิดรายการพิเศษจะมีกำไรสุทธิ 138 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นถึง 30% แต่ถ้าคิดรายการพิเศษจากค่าใช้จ่ายในการย้ายฐานการผลิตชิปออกจาก GlobalFoundries แล้วจะทำให้เอเอ็มดีขาดทุนในไตรมาสนี้ 177 ล้านดอลลาร์
เราเห็นข่าวของเทคโนโลยีการเชื่อมต่อ Thunderbolt ของฝั่งอินเทลมาก็มาก คราวนี้ทางฝั่ง AMD ออกมาโชว์ต้นแบบของเทคโนโลยีคล้ายๆ กันที่เรียกว่า Lightning Bolt
อธิบายง่ายๆ Lightning Bolt ใช้แนวคิด "ทุกอย่างใน 1 สาย" ของ Thunderbolt แต่นำเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วมาใช้แทน โดย 1 สาย Lightning Bolt จะประกอบด้วย
การที่ Lightning Bolt ใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว ทำให้ราคาของมันถูกมาก และการทำงานก็ไม่ซับซ้อน สามารถใช้สาย Mini DisplayPort ที่มีอยู่แล้ว แต่นำมาเปลี่ยนพินที่หัวพอร์ตเพียง 2 พินก็ใช้งานได้แล้ว
ปีนี้อินเทลเร่งกระแส Ultrabook อย่างหนัก ภาระเลยมาตกที่เอเอ็มดีว่าจะเอาอะไรกลับไปสู้ และที่งาน CES ทางเอเอ็มดีก็เปิดตัวโน้ตบุ๊กที่ใช้ชิป Trinity ซึ่งจะทำให้บางจนเทียบชั้นได้กับ Ultrabook ของอินเทล แต่ใช้ชื่อเดียวกับไม่ได้เพราะเป็นเครื่องหมายการค้า
Trinity เป็นชิป Bulldozer รุ่นที่สองที่รวมเอา GPU เข้ามาในตัวแล้ว โดยตัว GPU จะเป็นสถาปัตยกรรม Southern Islands เรื่องน่าสนใจคือสถาปัตยกรรมนี้ทำให้ จีพียูสามารถอ้างหน่วยความจำของซีพียูได้โดยตรง หากนำมาวางบนชิปเดียวกันแล้วเชื่อมต่อด้วยบัสความเร็วสูง Trinity ก็อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยจีพียู เพราะ Southern Islands นั้นเป็นจีพียูตัวแรกที่รองรับคำสั่งแบบ RISC MIMD แทน VLIW ด้วย ทำให้การเขียนโปรแกรมน่าจะง่ายลงมาก
สงครามการ์ดจอกลับมาอีกแล้ว เมื่อค่าย AMD เปิดตัว Radeon HD รุ่น 7xxx ตัวแรกคือ Radeon HD 7970 ซึ่งเป็นการ์ดจอที่แรงที่สุดในตอนนี้ (ถ้านับเฉพาะกลุ่มที่ใช้ GPU ตัวเดียว)
HD 7970 หรือโค้ดเนม Tahiti XT ถือเป็นการ์ดจอตัวแรกในตระกูล Southern Islands (7xxx) ซึ่งเปลี่ยนสถาปัตยกรรมภายในใหม่ชื่อ Graphics Core Next (GCN) ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เทียบได้กับ Fermi ของฝั่ง NVIDIA นอกจากนี้ยังใช้การผลิตที่ 28 นาโนเมตร ถือเป็นการ์ดจอตัวแรกที่ใช้การผลิตระดับนี้ (รุ่นเก่าผลิตที่ 40 นาโนเมตร)
HD 7970 มีประสิทธิภาพโดยรวมดีกว่าเดิม 150% (เทียบกับ HD 6970) มีหน่วยประมวลผล stream processor จำนวน 2048 ตัว (6970 มี 1536 ตัว) และทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 925MHz
หลังจากมีข่าวไปเมื่อสองวันก่อนว่าไมโครซอฟท์จะปล่อยอัพเดตเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ Windows
หลังจากที่ AMD เปิดตัว Bulldozer มาและไม่ประสบความสำเร็จมากนักเนื่องจากซีพียูมีผลการทดสอบที่น่าผิดหวัง เพราะสถาปัตยกรรมซีพียูแตกต่างไปจากเดิมทำให้การทำงานของมันไม่สอดคล้องกับระบบปฏิบัติการ
เงียบหายไปสักระยะ แต่ล่าสุด Brian Slattery ผู้จัดการของ AMD ประจำภูมิภาคออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อออสเตรเลีย The Australian ว่าเราจะได้เห็นโน้ตบุ๊กสาย ultrabook ที่ใช้หน่วยประมวลผลจาก AMD ในเดือนหน้า (มกราคม 2012)
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดของ ultrabook เหล่านี้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง แต่คาดว่ามันคงใช้ AMD Fusion ที่มีอยู่ในท้องตลาดแล้ว (หรืออาจเป็นรุ่นใกล้เคียง)
จุดเด่นของแพลตฟอร์มจากค่าย AMD คือการ์ดจอ Radeon ที่แรงกว่าฝั่งอินเทลมาก และข้อกำหนดสำหรับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์โน้ตบุ๊กที่แทบไม่จำกัดอะไรเลย ต่างไปจากฝั่งอินเทลที่กำหนดเงื่อนไขหลายประการ
โครงการ Android-x86 เป็นโครงการโอเพนซอร์สที่พยายามพอร์ต Android มายังสถาปัตยกรรม x86 โดยเป็นฝีมือของนักพัฒนาภายนอกเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาก็ประสบความสำเร็จในการพอร์ต Gingerbread มายัง x86
หลังจากกูเกิลเปิดซอร์สของ Ice Cream Sandwich ออกมา นักพัฒนาทีมนี้ก็เริ่มพอร์ตมันมายัง x86 และในเบื้องต้นก็มีโค้ดที่ทำงานบนซีพียู AMD Brazos ได้แล้ว (AMD ให้ความช่วยเหลือทั้งฮาร์ดแวร์และวิศวกร ในขณะที่อินเทลปฏิเสธคำร้องขอจากทีมงาน)
ยักษ์สีเขียว AMD ที่ประสบปัญหามากมายในช่วงหลัง (ชนิดว่าแฟนๆ เซ็ง) จะประกาศแผนการปฏิรูปบริษัทครั้งใหญ่ในเดือนกุมภาพันธ์ 2012
AMD ยังไม่เผยข้อมูลอะไรมากนัก แต่โฆษกของบริษัทก็ยอมรับว่ากำลังอยู่ในจุดเปลี่ยนสำคัญ และต้องก้าวข้ามความคิดว่า "AMD vs Intel" ที่ดำเนินมาหลายทศวรรษให้จงได้ เพราะตอนนี้สภาพตลาดเปลี่ยนไปเยอะแล้ว และการแข่งขันระหว่างสองบริษัทไม่สำคัญอีกต่อไป
สถานการณ์ของ AMD ตอนนี้ย่ำแย่ในทุกแนวรบ เพราะสงครามซีพียู x86 ก็ตามหลังอินเทลอยู่ไกล ส่วนตลาดมือถือ/แท็บเล็ตก็ยังไม่มีตัวตนอยู่เลยแม้แต่น้อย
AMD ก่อตั้งเมื่อปี 1969 หลังอินเทลหนึ่งปี
ที่มา - MercuryNews.com
เว็บ ExtremeTech อ้างแหล่งข่าวภายในของเอเอ็มดีว่าบริษัทกำลังยกเลิกชิปสองรุ่นคือ Trinity ที่จะมาแทน Llano และ Krishna ที่จะมาแทน Zacate เพื่อย้ายโรงงานผลิตไปยัง TSMC แทน ทำให้ชิปทั้งสองรุ่นน่าจะเปิดตัวล่าช้าออกไป
เหตุผลของการย้ายสาเหตุหลักคือกำลังผลิตที่จำกัดมากของ GlobalFoundries ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของเอเอ็มดีเองไม่สามารถผลิตชิปได้เพียงพอต่อความต้องการของเอเอ็มดีได้ ทำให้ชิป APU ในปีนี้ซึ่งสร้างกระแสมาได้ดีกลับต้องเสียโอกาสไปอย่างน่าเสียดาย ขณะที่เอเอ็มดีเองก็มีความเชื่อมโยงกับ GlobalFoundries น้อยลงเรื่อยๆ โดยถือหุ้นอยู่เพียงร้อยละ 9.6 และ CEO ที่เป็นลูกหม้อเก่าของเอเอ็มดีนั้นก็เพิ่งจะถูกเปลี่ยนตัวออกไป