เราเพิ่งเห็นข่าว อินเทลยืนยันชิป Atom รหัส Clover Trail จะใช้กับ Linux ไม่ได้ ทางฝั่ง AMD ก็มีความเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน
Steve Belt ผู้บริหารของ AMD ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ The Inquirer ว่าชิปตัวใหม่ของบริษัทที่ใช้รหัสว่า "Hondo" ถูกออกแบบมาสำหรับ Windows 8 โดยเฉพาะ และจะยังไม่สนใจ Android อย่างน้อยก็ในช่วงแรกที่วางขาย
อย่างไรก็ตาม AMD ก็ไม่ได้ปิดกั้นลูกค้าหากจะใช้ร่วมกับลินุกซ์ และวิศวกรของบริษัทก็พัฒนาซอฟต์แวร์ฝั่งลินุกซ์อยู่ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะครอบคลุมไปถึง Android ด้วย
AMD ตั้งเป้าว่าต้องการใช้ Hondo เจาะตลาดแท็บเล็ต Windows 8 ได้ให้ประมาณ 15-20% (น่าจะหมายถึงจากแท็บเล็ตฝั่ง x86 เท่านั้น)
บริษัท SeaMicro ผู้ผลิตเซิร์ฟเวอร์ความหนาแน่นสูง (high density) ที่ใส่ซีพียูจำนวนมากๆ เข้าไปในเคสขนาดสูงไม่กี่ U ได้ ออกเซิร์ฟเวอร์รุ่นล่าสุดคือ SM15000 ซึ่งเป็นรุ่นแรกหลังถูกเอเอ็มดีซื้อกิจการ
SM15000 เป็นตู้ขนาด 10U สามารถใส่การ์ดประมวลผลได้ 64 ใบ โดยการ์ดมีขายสองรุ่น
ตัวการ์ดอินเทลและกล่อง SM15000 มีขายแล้ว แต่สำหรับการ์ด Opteron จะต้องรอเดือนพฤศจิกายนนี้
สถาปัตยกรรม AMD64 หรืออีกชื่อหนึ่งคือ x86-64 (อินเทลเรียกว่า EM64T) เป็นสถาปัตยกรรมที่เอเอ็มดีผลักดันมาตั้งแต่ปี 1999 และมีขายจริงในปี 2003 ในการสำรวจความนิยมครั้งล่าสุดของ Debian ก็พบว่าสถาปัตยกรรมนี้ได้รับความนิยมสูงสุดแซงหน้าที่หนึ่งตลอดกาลอย่าง i386 แล้ว
การสำรวจนี้ทำผ่านแพ็กเกจ popularity-contest
สำหรับฝั่ง Ubuntu เองก็มีการสำรวจด้วยแพ็กเกจเดียวกัน สามารถติดตั้งแล้วยืนยันการส่งข้อมูลกลับไปได้ สำหรับฝั่ง Ubuntu นั้น AMD64 ยังตามอยู่ห่างๆ พอสมควร อาจจะเพราะคนใช้งานสำหรับเดสก์ทอปมากกว่าทำให้ไม่ต้องการฟีเจอร์หลายๆ ตัวของสถาปัตยกรรม 64 บิตมากนัก
ที่งาน Hot Chips Symposium ปีนี้เอเอ็มดีขึ้นประกาศสถาปัตยกรรมรุ่นต่อไปของบริษัท คือ Streamroller รุ่นต่อจาก Bulldozer ที่ทำได้ไม่ดีนักในการทดสอบหลายชุด โดย Streamroller จะแก้ปัญหาหลักคือการถอดรหัส (decode) คำสั่งที่เป็นคอขวดของ Bulldozer เพราะใช้ตัวถอดรหัสร่วมกันหลายคอร์ทำให้ถอดรหัสทำได้แค่ 2 คำสั่งต่อสัญญาณนาฬิกาต่อคอร์ ขณะที่อินเทล Sandy Bridge นั้นทำได้ถึง 4 คำสั่งต่อสัญญาญนาฬิกาต่อคอร์
เว็บไซต์ Techpowerup เว็บไซต์รายงานข่าวไอที โพสต์ว่ามีเอกสารหลุดของซีพียูรุ่นต่อไปของ AMD FX-Series
ซึ่งในเอกสารได้ระบุไว้ว่า ซีพียูในยุคต่อไปจะมีโค๊ดเนมว่า "Vishera" จะมีสถาปัตยกรรมที่มีชื่อว่า AMD "Piledriver" จะมาแทนที่สถาปัตยกรรมก่อนหน้า "Zambezi"
และในเอกสารระบุไว้ว่า จะมีซีพียูแปดแกนประมวลผล ซีพียูหกแกนประมวลผล และ ซีพียูสี่แกนประมวลผล
AMD ได้จับเอา APU ชื่อรหัส "Trinity" มาขายในตลาด workstation ด้านกราฟิก โดยใช้ชื่อว่า FirePro A300-series ซึ่งทาง AMD ได้ประกาศชิปออกมาสองตัว นั่นคือ FirePro A300 และ FirePro A320
FirePro A300 และ FirePro A320 นั้นมีสเปคที่ใกล้เคียงกันมาก นั่นคือ เป็น APU ที่มีแกน "PileDriver" ทั้งหมดสี่แกน มี cache ระดับสองขนาด 4MB และมีแกน FirePro ทั้งหมด 384 แกน ส่วนที่แตกต่างกันก็คือความเร็วของสัญญาณนาฬิกาของ CPU (3.4GHz/4.0GHz และ 3.8GHz/4.2GHz ตามลำดับ) และความเร็วของสัญญาณนาฬิกาของ GPU (760MHz และ 800MHz ตามลำดับ) เรียกได้ว่าเป็นการนำ AMD A10-5700 และ A10-5800K มาแปลงโฉมเลยก็ว่าได้ เพราะเมื่อเทียบสเปคแล้วใกล้เคียงกันมาก
เอเอ็มดีประกาศคว้าตัว Jim Keller หัวหน้าแผนกออกแบบชิปของแอปเปิลแล้ว โดย Keller จะเข้ามารับตำแหน่งเป็นรองประธาน และหัวหน้าฝ่ายสถาปัตยกรรมชิปของเอเอ็มดี
ก่อนที่ Keller จะเข้ามาร่วมทีมกับแอปเปิลนั้น เขาเป็นรองประธานอยู่กับบริษัทออกแบบชิป SoC ชื่อว่า P.A. Semi ที่ถูกแอปเปิลซื้อไปด้วยมูลค่ากว่า 278 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเป็นหนึ่งในทีมผู้สร้างชิป Apple A4 และ A5 อีกด้วย
การมาของ Keller ครั้งนี้ เขาจะได้ร่วมงานกับ Mark Papermaster ที่ย้ายมาจากแอปเปิลเช่นกัน (ปัจจุบันเป็น CTO ของเอเอ็มดี)
ดูประวัติของ Keller แล้วช่ำชองด้านการออกแบบชิปใช้พลังงานต่ำมาก น่าจะช่วยพัฒนาชิปในไลน์ Fusion ให้รุกกลับอินเทลได้สนุกขึ้นแน่
เอเอ็มดีรายงานผลประกอบการไตรมาสที่สองของปีนี้ มีรายได้รวม 1.41 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 10% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อน โดยมีกำไรสุทธิ 46 ล้านดอลลาร์ ลดลงถึง 37%
ซีอีโอ Rory Read กล่าวว่าปัญหาเศรษฐกิจโลกและการชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภค ตลอดจนความนิยมในพีซีที่ลดลงได้ส่งผลกระทบอย่างมากในไตรมาสที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทก็จะปรับปรุงประสิทธิภาพภายในให้ดีที่สุด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงในตอนนี้
ที่มา: เอเอ็มดี
หลังจากที่ทาง AMD ได้ออก Radeon HD 7970 รุ่นสุดยอดกราฟิกไปเมื่อปีที่แล้ว ล่าสุดทาง AMD ได้เปิดเผยชิปกราฟิกที่แรงกว่าตัวนี้แต่ยังอยู่ในตระกูลเดิม นั่นคือ Radeon HD 7970 GHz edition ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ชิปตัวนี้ได้กระโดดเข้ามาเป็นความถี่ระดับ GHz พอดี
เอเอ็มดีเพิ่งประกาศร่วมมือกับฝั่ง ARM ทำโครงการ HSA (Heterogeneous System Architecture) ทำหรับการใช้ชิปกราฟิก (และชิปพิเศษอื่นๆ) มาช่วยประมวลผล เมื่อวานนี้ทางพนักงานของเอเอ็มดีก็ระบุว่าในการเปิดตัว HSA นั้นทางเอเอ็มดีได้ประกาศไปแล้วว่าจะเปิดซอฟต์แวร์จำนวนมากที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของแนวคิด HSA ออกมาเป็นโอเพนซอร์ส
การชี้แจงเช่นนี้เป็นการตอบข่าวที่ว่าเอเอ็มดียังคงพัฒนาไดร์เวอร์หลักผ่านทางบนลินุกซ์ ผ่านทางไดร์เวอร์ Catalyst ซึ่งเป็นไดร์เวอร์ปิดของทางเอเอ็มดี และมีปัญหากับการอัพเกรดเคอร์เนลเช่นเดียวกับ NVIDIA แต่ที่ผ่านมาเอเอ็มดีส่งโปรแกรมเมอร์มาช่วยพัฒนาไดร์เวอร์โอเพนซอร์สด้วยกระแสต่อต้านจึงต่ำกว่าพอสมควร
AMD ได้ประกาศว่า ชิพ APU รุ่นใหม่ของตนที่จะวางขายในปี 2013 จะรวมเอา ARM Cortex-A5 เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งด้วย โดยที่น่าสนใจก็คือตัว Cortex-A5 นั้นจะไม่ได้ทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลหลักของระบบ แต่จะเข้ามาทำงานในส่วนของ security platform โดย AMD จะใช้เทคโนโลยี TrustZone ของ ARM ที่ทำงานอยู่บนส่วน Cortex-A5 อีกที
เทคโนโลยี TrustZone นั้นมีลักษณะเป็นเหมือนอีกสถานะหนึ่งของ CPU โดยโค้ดปรกติจะทำงานอยู่บน CPU ในสถานะปรกติ แต่สำหรับโค้ดที่ต้องการความปลอดภัยนั้น CPU จะถูกสลับมาทำงานอยู่บนอีกสถานะหนึ่งเพื่อไม่ให้ข้อมูลนั้นรั่วไหลออกไปยังโค้ดปรกติได้
AMD ประกาศจับมือกับ ARM และผู้ผลิตชิป ARM อีกสามรายคือ Imagination, MediaTek, Texas Instruments ประกาศตั้งองค์กร HSA Foundation (Heterogeneous System Architecture Foundation) เพื่อสร้างมาตรฐานกลางของการประมวลผลแบบใหม่ "Heterogeneous Processing"
Heterogeneous Processing คือชิปประมวลผลที่ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลต่างชนิดกัน (เช่น CPU+GPU) อยู่บนชิปแผ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่ AMD ผลักดันมาตลอดกับซีพียูตระกูล Fusion/APU และไปกันได้กับทิศทางเรื่อง SoC ในโลกอุปกรณ์พกพา
แม้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในตอนนี้ ARM จะครองกระแสเป็นส่วนใหญ่ แต่ฝั่ง x86 ก็ยังมีข่าวอยู่เรื่อยๆ ล่าสุดที่งาน Computex ฝั่ง AMD ก็นำ LiveBox มาโชว์
ตัว LiveBox นั้นเป็นพีซีเต็มตัว มันใช้ซีพียู Fusion C-60 1GHz ที่ใช้กันในเน็ตบุ๊กและโน้ตบุ๊กราคาถูกทุกวันนี้ ภายในใส่แรมมา 1GB และ SSD ขนาด 64GB ของซัมซุง เครื่องเดโมนั้นรัน Windows 7 ที่เด่นกว่าเครื่องทั่วๆ ไปคือเครื่องนี้มีอแดปเตอร์มาในตัวเป็นขาปลั๊กออกมาจากตัวถังโดยตรง
ยังไม่มีราคาหรือประกาศว่าจะมีผู้ผลิตรายได้ผลิตออกมาขายจริงๆ หรือไม่ แต่ถ้าทำราคาต่ำๆ ไม่ได้งานนี้อาจจะลำบากหน่อย
ที่มา - Engadget
AMD ประกาศหยุดอัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอตระกูล Catalyst ที่เดิมทีอัพเดตเป็นประจำทุกเดือน โดยเปลี่ยนมาออกรุ่นใหม่ตามช่วงที่บริษัทเห็นว่าเหมาะสมแทน
AMD ให้เหตุผลว่าต้องการออกเฉพาะอัพเดตที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้เท่านั้น โดยจะยังยึดเลขเวอร์ชันแบบเดิมของ Catalyst (ปี.เดือน) อยู่เหมือนเดิม แค่ไม่ได้ออกทุกเดือนแล้วเท่านั้น
ไดรเวอร์รุ่นสุดท้ายที่ออกด้วยระบบเดิมคือ Catalyst 12.6a Beta รายละเอียดว่ามีอะไรใหม่ก็อ่านกันเองตามลิงก์ครับ
ที่มา - AMD Game Blog via Tom's Hardware
งานแถลงข่าวของ AMD ที่งาน Computex อาจจะเงียบๆ เพราะโดน Intel/ARM ดับรัศมีไปเสียเยอะ แถมบริษัทก็เปิดตัว APU A-Series รุ่นบน "Trinity" ไปก่อนหน้านี้แล้ว ในงานนี้จึงเป็นการโชว์ความสามารถของ Trinity เสียมาก
แต่งานของ AMD ก็ไม่ถึงกับไม่มีของใหม่เลยทีเดียว เพราะบริษัทเปิดเผยข้อมูลของ APU E-Series รุ่นล่างรหัส "Brazos 2.0" เพิ่มเติม
Brazos 2.0 แบ่งออกเป็น 2 รุ่นย่อยคือ E1-1200 และ E2-1800 เป็นซีพียูแบบดูอัลคอร์ทั้งคู่ (ความถี่สัญญาณนาฬิกา 1.4GHz และ 1.7GHz ตามลำดับ) ส่วนจีพียูอัพเกรดมาเป็น Radeon HD 7310/7340 รองรับ DirectX 11
AMD เป็นเสือปืนไว ออกไดรเวอร์การ์ดจอตระกูล Catalyst สำหรับ Windows 8 Release Preview มาแล้ว
Neal Robinson ผู้บริหารของ AMD ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ The Inquirer ยอมรับว่าบริษัทของเขายังสนับสนุนแพลตฟอร์มลินุกซ์ไม่ดีเท่าที่ควร โดยเฉพาะประเด็นเรื่อง OpenCL บนลินุกซ์
เขาให้เหตุผลว่าลินุกซ์มีดิสโทรจำนวนมาก ซึ่งต่างไปจากแพลตฟอร์มวินโดวส์ที่มีความแตกต่างกันน้อยกว่า แต่ก็ยืนยันว่า AMD จะลงทุนพัฒนา OpenCL บนลินุกซ์ให้ดีขึ้น โดยจ่ายเงินสนับสนุนนักพัฒนาของโครงการโอเพนซอร์สต่างๆ เช่น GIMP, x264, Handbrake, Videolan, FFMpeg ให้พัฒนาซอฟต์แวร์ของตัวเองให้ทำงานบน GPGPU ของ AMD ได้ดีกว่าเดิม
ในที่สุด AMD ก็เปิดตัวชิป APU รุ่นใหม่ต่อจาก Llano (ที่เปิดตัวไปเมื่อปีก่อน) ในรหัส Trinity ซึ่งยังผลิตในขนาด 32 นาโนเมตรเท่าเดิม แต่มีขนาด die ที่ใหญ่ขึ้น และ Trinity มีสเปคดังนี้
มีข่าวร้ายเล็กๆ ก็มาดูข่าวดีกันบ้าง AMD ประกาศออก Radeon ตระกูล 7000 ที่ใช้สถาปัตยกรรม Southern Islands สำหรับโน้ตบุ๊กมาแล้ว (Radeon HD 7000M รุ่นก่อนหน้านี้จะใช้สถาปัตยกรรมตัวเก่า)
ข่าวนี้จะชวนให้สับสนอยู่บ้าง เพราะมี 2 ประเด็นปนกันครับ
เส้นแบ่งของการ์ดจอยุคใหม่อยู่ที่ Radeon HD 5000 ซึ่งจะได้ไดรเวอร์ของ Windows 8 ที่รองรับ WDDM 1.2 ด้วย
ทั้งหมดข้างต้นเป็นกรณีของ Windows 8 นะครับ แต่สำหรับผู้ใช้วินโดวส์ที่เก่ากว่านั้น การ์ดจอรุ่น Radeon HD 2000, 3000, 4000 ที่เคยได้อัพเดตไดรเวอร์ Catalyst เดือนละครั้ง จะกลายเป็นไตรมาสละครั้งแทน ด้วยเหตุผลว่ามันเก่าเกินไปแล้วนั่นเอง
AMD ประกาศผ่านบล็อกของบริษัทว่าได้ทำการส่งชิปรุ่นใหม่ไปยังผู้ผลิตแล้ว ตัวแรกมีโค้ดเนมว่า "Trinity" ที่เป็นชิปแบบ APU (มีทั้ง CPU และ GPU ในชิปตัวเดียว) ใช้ CPU รหัส "Piledriver" และ GPU Radeon HD 7000 ในแง่การใช้งาน AMD เคลมว่าให้ประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นก่อนหน้าถึงเท่าตัวในการบริโภคพลังงานเท่ากัน ซึ่งจะมีใช้ในโน๊ตบุ๊คทั่วไป เดสก์ท็อป รวมถึงโน๊ตบุ๊คแบบบางคู่แข่ง ultrabook ที่เรียกว่า ultrathin ด้วย
นอกจากนี้ยังมีชิป APU อีกรุ่นที่ใช้โค้ดเนมว่า "Brazos 2.0" ที่เน้นจับกลุ่มตลาดโน๊ตบุ๊ค และเดสก์ท็อปราคาถูกตามแผนที่วางไว้
เอเอ็มดีรายงานผลประกอบการไตรมาสแรกของปี 2012 มีรายได้ 1.59 พันล้านดอลลาร์ ลดลง 6% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้านี้ และลดลง 2% เมื่อเทียบกับ
สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่าอดีตพนักงานอินเทลได้ยอมรับผิดในข้อหาขโมยเอกสารสำคัญเกี่ยวกับการผลิตชิปที่มีมูลค่าหลายล้านดอลลาร์ไปแล้วเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ชื่อของอดีตพนักงานที่ว่าคือ Biswamohan Pani ปัจจุบันย้ายไปทำงานกับคู่แข่งอย่างเอเอ็มดี โดยอัยการกลางศาลในบอสตันได้ระบุว่า Pani ดาวน์โหลดข้อมูลบางส่วนของอินเทลที่มีความสำคัญต่อการออกแบบ และผลิตชิปซีรีส์ Itanium เมื่อเดือนมิถุนายน 2008 ในวันสุดท้ายของการทำงานให้กับอินเทล ซึ่งเจ้าหน้าที่พบเอกสารดังกล่าวที่บ้านพักของ Pani เอง
AMD เปิดตัวการ์ดจอตระกูล Radeon HD รุ่นที่เจ็ดพร้อมสถาปัตยกรรม Graphics Core Next (GCN) ไปเมื่อปลายปีที่แล้วด้วย Radeon HD 7970 รุ่นท็อป จากนั้นช่วงต้นปีนี้ก็ออก Radeon HD รุ่นเล็ก 7700 ตามมา (มีจุดเด่นที่ตัว HD 7770 หน่วยประมวลผ
AMD ยังทำตลาดซีพียู Opteron อย่างต่อเนื่อง โดยออก Opteron 3200 Series ซีพียูเซิร์ฟเวอร์รุ่นถูกแบบ 1 ซ็อคเก็ต ที่กดราคาให้เท่ากับซีพียูเดสก์ท็อป
กลุ่มเป้าหมายของ Opteron 3200 คือลูกค้ากลุ่มเว็บโฮสติ้งแบบ dedicated server ที่ไม่ต้องการพลังซีพียูสูงมากเหมือนกับเซิร์ฟเวอร์แบบแชร์หรือเซิร์ฟเวอร์องค์กร
Opteron 3200 มีคุณสมบัติดังนี้