รวมข่าว Browser ทั้ง Mac, Linux, และ Windows พร้อมแนะนำ Browser มี Update ใหม่อะไรบ้าง
กูเกิลประกาศผลการทดสอบความเร็วของเบราว์เซอร์ โดยใช้ Speedometer เครื่องมือวัดผลของแอปเปิล ที่พัฒนาโดยทีม WebKit พบว่า Chrome เวอร์ชันล่าสุด 99 บน macOS มีคะแนนที่ 300 ซึ่งสูงที่สุดเท่าที่เคยบันทึกมาของ Speedometer และมากกว่า Safari รุ่นปัจจุบันที่มีมาใน macOS
โดยทั่วไปคะแนนของ Safari ใน Speedometer จะอยู่ที่ประมาณ 277-279
กูเกิลบอกว่า Chrome 99 ใช้การพัฒนาที่เน้นปรับปรุงโค้ดให้ทำงานเร็วขึ้นเป็นหลัก รวมทั้งใช้ V8 Sparkplug เป็นคอมไพเลอร์ มาช่วยปรับแต่ง ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ Chrome 99 ทำงานได้เร็วมากกว่า Chrome เมื่อ 17 เดือนที่แล้วถึง 43% ซึ่งตอนนั้นแอปเปิลเพิ่งเปิดตัว Mac M1
ระบบปฏิบัติการ Fuchsia ของกูเกิลมีพัฒนาการสำคัญคือ สามารถรัน Chromium ตัวเต็มได้แล้ว จากที่ก่อนหน้านี้มีแค่ Simple Browser แบบง่ายๆ เท่านั้น
กูเกิลเริ่มพอร์ต Chrome มารันบน Fuchsia ได้สักพักใหญ่ๆ และตอนนี้เริ่มออกผลเป็นรูปเป็นร่างแล้ว แม้ยังมีบั๊กอยู่บ้างก็ตาม
ที่ผ่านมา กูเกิลนำ Fuchsia มาใช้งานในหน้าจออัจฉริยะ Nest Hub แต่ครอบด้วย UI อีกชั้นทำให้ผู้ใช้ไม่รู้สึกถึงความแตกต่าง การที่ Fuchsia เริ่มทำงานทั่วๆ ไปอย่างเบราว์เซอร์ได้ จึงเป็นการขยายขอบเขตของ Fuchsia ให้ไปไกลกว่าระบบปฏิบัติการเฉพาะอุปกรณ์
แอปเปิล, ไมโครซอฟท์, กูเกิล, มอซิลล่า ผู้ผลิตเบราว์เซอร์หลัก พร้อมกับ Igalia และ Bocoup รวมสนับสนุนการสร้างชุดทดสอบ Interop 2022 สำหรับการทดสอบการทำงานฟีเจอร์ CSS ยุคใหม่ 15 ชุด
ฟีเจอร์ CSS นั้นก้าวหน้าไปมากในช่วงหลัง มีฟีเจอร์เพื่อการรองรับหน้าจอที่ซับซ้อน หรือการจัดการสีชั้นสูง ตลอดจนสามารถคำนวณค่าจากใน CSS ตัวอย่างเช่น viewport units ที่แสดงความกว้างและสูงของหน้าจอ
ปี 2021 ที่ผ่านมาก็เคยมีความร่วมมือแบบเดียวกันนี้ในชื่อชุดทดสอบ Compat 2021 โดยเบราว์เซอร์ต่างๆ ก็ปรับปรุงจนกระทั่งทำคะแนนได้เกิน 90 ทุกตัว สำหรับ Interop 2022 ตอนนี้เบราว์เซอร์ทำคะแนนเริ่มต้นได้ประมาณ 70 คะแนน
กูเกิลและ Mozilla ร่วมกันออกประกาศเตือนสำหรับนักพัฒนาและผู้ดูแลเว็บไซต์ เนื่องจากทั้งเบราว์เซอร์ Chrome และ Firefox กำลังเข้าสู่เลขเวอร์ชัน 3 หลัก คือ 100 ในเวลาอันใกล้นี้
ปัญหาสำคัญที่ทำให้ทั้งสองบริษัทออกมาประกาศ คือเว็บไซต์อาจใช้วิธี parsing ตัวเลขเวอร์ชันเบราว์เซอร์ที่ส่งมาจาก User Agent (UA) โดยฮาร์ดโค้ดเป็นเลข 2 หลักเอาไว้ ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้สำหรับการตรวจสอบความเข้ากันของเบราว์เซอร์กับเว็บไซต์ เมื่อค่าตัวเลขเปลี่ยนเป็น 3 หลัก ก็อาจเกิดปัญหาได้ ซึ่งปัญหานี้ก็เคยเกิดขึ้นเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ตอนเบราว์เซอร์ขยับเลขเวอร์ชันเป็น 2 หลักที่เวอร์ชัน 10
กำหนดการออกอัพเดตเวอร์ชัน 100 ของทั้งสองเบราว์เซอร์เป็นดังนี้
ความตื่นตัวเรื่องข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ ทำให้แนวทางการตามรอยข้ามเว็บด้วยคุกกี้ (third-party cookies) เริ่มใช้งานไม่ได้อีกต่อไป กูเกิลในฐานะทั้งผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ Chrome และเจ้าของระบบโฆษณาออนไลน์ขนาดใหญ่ของโลก เคยเสนอแนวทาง Privacy Sandbox ที่ใช้แทนคุกกี้มาตั้งแต่ปี 2019 และเคยประกาศแผนยกเลิกคุกกี้ข้ามเว็บภายในปี 2022 (ภายหลังเลื่อนมาเป็นปี 2023)
Chrome เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ชื่อ Journeys เป็นการค้นหาประวัติการท่องเว็บ (History) แบบใหม่ที่เชื่อมโยงข้อมูลได้ดีขึ้น
เดิมที การค้นหา History ของ Chrome เป็นการค้นหาแบบตรงไปตรงมา หาด้วยคำไหนก็แสดงรายชื่อเว็บที่มีคำสั้น แต่หลายครั้งเราลืมไปแล้วว่าเข้าเว็บอะไร มีคีย์เวิร์ดอะไร แต่จำได้เลาๆ ว่าเป็นเว็บเกี่ยวกับเรื่องไหน ระบบการค้นหาแบบ Journeys จะเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ เช่น หาคำว่า "Travel" จะได้ผลลัพธ์ที่เป็นหน้าเว็บ Google Maps หรือสายการบินติดมาด้วย รวมถึงแสดงคำค้นที่เราเคยใช้ไปในคราวก่อนๆ ให้เห็นด้วย
Firefox ออกอัพเดตเวอร์ชัน 97 มีของใหม่คือรองรับ scrollbar แบบใหม่บน Windows 11 และปรับปรุงการทำงานบน macOS ให้รวดเร็วขึ้น
ในเวอร์ชันนี้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ ฟีเจอร์เปลี่ยนธีมสีที่เรียกว่า colorway ซึ่งออกมาตั้งแต่ Firefox เวอร์ชัน 94 ได้ถูกถอดออกไปในเวอร์ชัน ซึ่งเป็นไปตามที่ Firefox บอกก่อนหน้านี้ว่าจะมีให้ใช้งานแบบจำกัดเวลา ซึ่งหากผู้ใช้งานเลือกสีใดไว้ก่อนหน้า สีนั้นก็จะมีอยู่ให้ใช้งานต่อไป แต่ถ้าไม่ได้เลือกไว้ เวอร์ชัน 97 ก็มี colorway ชุดใหม่ให้เลือก 6 สีสันใน add-ons manager (นี่มันอะไรกันครับเนี่ย?)
ที่มา: Mozilla
Elvin Hu ทีมออกแบบของ Chrome โพสต์อัพเดตผ่านทวิตเตอร์ ว่ากูเกิลปรับดีไซน์ของไอคอน Chrome ใหม่ครั้งแรกในรอบ 8 ปี โดยดูเผินๆ แล้วอาจไม่เห็นความแตกต่าง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงคือเอาเงาสีเข้มออก เปลี่ยนเป็นสีแบบ flat แทน ปรับสีให้สดขึ้นเหมือนไอคอนอื่นของกูเกิล และปรับสัดส่วนภาพเล็กน้อย
โพสต์ของ Elvin Hu มีรายละเอียดเหมาะให้ดีไซเนอร์เรียนรู้หลายเรื่อง ตัวอย่างคือ การปรับสัดส่วนของไอคอนให้สมดุลมากขึ้น (วงกลมสีน้ำเงินใหญ่ขึ้น) และสีแบบ flat นั้นจริงๆ ไม่เป็นสีเดียวอย่างที่เราคิดกัน เพราะกูเกิลลองเอาสีแดงวางติดกับสีเขียวแล้วพบว่าไม่เวิร์ค เลยใช้วิธีไล่สีเล็กน้อย (Green 500 -> 600) เพื่อให้คู่สีวางด้วยกันแล้วสวยขึ้น
Mozilla ประกาศหยุดเลิกทำ Firefox Reality เว็บเบราว์เซอร์สำหรับแว่น VR ที่เริ่มทำในปี 2018 โดยจะยกโครงการให้บริษัท Igalia ทำต่อภายใต้ชื่อใหม่ว่า Wolvic
Igalia เป็นบริษัทซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สจากสเปนที่เชี่ยวชาญการพัฒนาเบราว์เซอร์แบบคัสตอม โดยใช้เอนจินหลากหลายทั้ง WebKit, Blink/Chromium, Firefox/Gecko/Servo เน้นไปที่งานสาย embeded (บริษัทเพิ่งออกเบราว์เซอร์ชื่อ Balena ที่ใช้ WebKit)
เมื่อปี 2019 กูเกิลประกาศแนวทางของ Chrome ที่ต้องการเลิกใช้คุกกี้ตามรอยผู้ใช้ข้ามเว็บ (third party cookie) เพื่อการโฆษณา ด้วยข้อเสนอใหม่ที่เรียกว่า Federated Learning of Cohorts (FLoC)
Opera เปิดตัว Crypto Browser เบราว์เซอร์เวอร์ชันเฉพาะสำหรับชาวคริปโต (ลักษณะคล้ายๆ Opera GX สำหรับเกมเมอร์) โดยเพิ่มฟีเจอร์สำหรับสายเหรียญเข้ามาหลายอย่าง
หน้าตาของ Crypto Browser ใช้โทนสีดำ ให้ดูซิ่งๆ ตามกระแสนิยม ฟีเจอร์ที่เพิ่มเข้ามาได้แก่
มีรายงานว่าผู้ใช้ Firefox ทั้งบน Windows และ macOS พบปัญหาไม่สามารถโหลดเว็บไซต์ขึ้นมาได้ ในช่วงบ่ายที่ผ่านมาตามเวลาในไทย คาดว่าสาเหตุมาจากปัญหาการเชื่อมต่อวนลูปใน HTTP/3 ซึ่งมีรายงานใน Bugzilla โดยสถานะของปัญหาตอนนี้ได้ถูกแก้ไขแล้ว
ทั้งนี้ผู้ใช้งานสามารถสั่งปิดการทำงานของ HTTP/3 ได้ใน about:config และสั่งปิดการทำงานของ network.http.http3.enabled
ปัญหานี้ไม่พบบน Firefox เวอร์ชัน iOS เนื่องจากใช้ WebKit
อัพเดต: Firefox ยืนยันปัญหาดังกล่าว และระบุว่าได้แก้ไขแล้วตั้งแต่เวลา 20:06น. ตามเวลาในไทย
Mozilla ออก Firefox 96 ตามรอบการออกทุก 6 เดือน เวอร์ชันนี้มีการเปลี่ยนแปลงไม่เยอะนัก ได้แก่
ที่มา - Mozilla
Mozilla ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ Total Cookie Protection ให้ Firefox Focus เบราว์เซอร์เน้นความเป็นส่วนตัวบน Android เพื่อจำกัดความสามารถในการติดตามข้ามไซต์และปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน
Total Cookie Protection เป็นฟีเจอร์ของ Mozilla ที่ออกแบบมาเพื่อหยุดไม่ให้คุกกี้ติดตามผู้ใช้งานเว็บไซต์ โดยไอเดียคือการทำโหลเก็บคุกกี้ (cookie jar) ที่แยกกันระหว่างไซต์ ดังนั้นทุกครั้งที่เว็บไซต์หรือคอนเทนต์จาก third-party ฝังคุกกี้ลงเบราว์เซอร์ Firefox Focus จะกำหนด cookie jar อันใหม่ขึ้นมาสำหรับไซต์หนึ่ง ทำให้คุกกี้จากแต่ละไซต์ไม่สามารถไปเก็บข้อมูลจากไซต์อื่นได้
ดิสโทร Linux Mint ประกาศเซ็นสัญญา "เชิงพาณิชย์" กับ Mozilla เพื่อใช้ Firefox เป็นดีฟอลต์เบราว์เซอร์ในแบบที่ Mozilla ต้องการ
ในอดีต Linux Mint ใช้วิธีนำซอร์สโค้ดของ Firefox มาคัสตอมเอง ปรับค่าคอนฟิกต่างๆ โดยเฉพาะการเปลี่ยนหน้าเริ่มต้นเป็น https://www.linuxmint.com/start/ และใช้เสิร์ชเอนจินที่เป็นพาร์ทเนอร์กับ Mint (เช่น Yahoo, DuckDuckGo)
ภายใต้สัญญาใหม่ Linux Mint จะใช้ Firefox เวอร์ชันของ Mozilla เอง ซึ่งให้ประสบการณ์ใช้งานเหมือนกับบน OS อื่นๆ ซึ่ง Mint ระบุว่าลดภาระการดูแลแพ็กเกจ Firefox ของตัวเองลงด้วย การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใน Firefox 96 เป็นต้นไปบน Linux Mint 19x, 20, 20.1, 20.2 และ LMDE 4 ส่วน Linux Mint 20.3 ตัวใหม่ล่าสุดเปลี่ยนมาใช้ Firefox ตัวใหม่เรียบร้อยแล้ว
Brave เบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยอดีตซีอีโอของ Mozilla ซึ่งชูจุดขายเน้นความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ประกาศสถิติของปี 2021 มีผู้ใช้งานเป็นประจำทุกเดือน (MAUs) มากกว่า 50 ล้านคน เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัวจากปี 2020 ที่มี 24 ล้านคน ตัวเลขผู้ใช้งานเป็นประจำทุกวัน (DAUs) อยู่ที่ 15.5 ล้านคน
บริการ Brave Search มีอัตราการค้นหามากกว่า 2,300 ล้านครั้งต่อปี แม้เพิ่งเปิดตัวช่วงกลางปี ส่วนบริการโฆษณาที่เน้นความเป็นส่วนตัวผู้ใช้งาน Brave Ads มีรายได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 4 เท่า
บริการค้นหา DuckDuckGo มีแอพเบราว์เซอร์บนมือถือมาตั้งแต่ปี 2018 โดยชูว่าเป็น Privacy Browser ที่มีฟีเจอร์ด้านความเป็นส่วนตัวมากมาย
ล่าสุด DuckDuckGo ประกาศทำเบราว์เซอร์สำหรับเดสก์ท็อปแล้ว โดยตั้งเป้าเป็น Privacy Browser ที่ทุกอย่างพร้อมใช้งานทันที ไม่ต้องมาตั้งค่าใดๆ ไม่ต้องเลือก "ระดับความเป็นส่วนตัว" แบบที่เบราว์เซอร์กระแสหลักทำกัน
Chrome มีระบบจำกัดทรัพยากรของแท็บที่ทำงานเบื้องหลังมานานพอสมควร (นับตั้งแต่ Chrome 57 ในปี 2017) ช่วยลดทั้งซีพียู จีพียู แรม ปัญหาคือระบบจำกัดทรัพยากรนี้ทำงานเฉพาะแท็บที่อยู่เบื้องหลังเท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงหน้าต่างที่ไม่ถูกโฟกัส ถูกย่อลง หรือถูกหน้าต่างอื่นบังอยู่
ทีมงาน Chrome พบว่ามีหน้าต่างประมาณ 20% เป็นหน้าต่างที่ถูกบัง การอนุญาตให้แท็บในหน้าต่างเหล่านี้ทำงานจึงเสียทรัพยากรเปล่า ทีมงานจึงพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยเช่นกัน แต่อุปสรรคสำคัญคือตัวระบบปฏิบัติการ (Windows) ไม่มีวิธีการบอกว่าหน้าต่างถูกบังหรือไม่
Mozilla เผยสถิติการใช้งานส่วนขยาย (extension) ของ Firefox ประจำปี 2021 มีการติดตั้งส่วนขยายไปทั้งหมด 109.5 ล้านครั้ง และธีมจำนวน 17.3 ล้านครั้ง (นับตามจำนวน install ต่อเครื่อง) รวม 127 ล้านการติดตั้ง คิดเป็นสัดส่วน 1/3 ของผู้ใช้ Firefox ทั้งหมดประมาณ 400 ล้านคน
ส่วนขยายยอดนิยมอันดับหนึ่งคือ AdBlock Plus มีผู้ใช้เฉลี่ยต่อวัน 6.13 ล้านคน ตามมาด้วย uBlock Origin ที่ 5 ล้านคน โดย uBlock Origin ได้รับความนิยมเพิ่มอย่างรวดเร็ว และถ้ายังสร้างโมเมนตัมได้ต่อเนื่อง อาจแซงหน้า Adblock Plus ได้่สำเร็จในช่วงต้นปี 2022
Mozilla เผยข้อมูลของ RLBox เทคนิคการทำ sandbox แบบใหม่ที่จะเริ่มใช้ใน Firefox 95 โดยเป็นความร่วมมือกับงานวิจัยของมหาวิทยาลัย UC San Diego และ University of Texas
เว็บเบราว์เซอร์ยุคปัจจุบันมีการทำ sandbox ห่อหุ้มเว็บไซต์ไว้ในโพรเซสของตัวเอง ป้องกันไม่ให้เว็บอันตรายสามารถเข้าถึงเว็บอื่นๆ หรือออกมาสร้างอันตรายนอกเบราว์เซอร์ได้
Mozilla บอกว่าเมื่อห่อหุ้มเว็บเพจได้แล้ว เป้าหมายต่อไปคือการแยกคอมโพเนนต์แต่ละส่วนของเบราว์เซอร์ ไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกันได้ (เช่น แยกโพรเซสประมวลผลวิดีโอออกมา ไม่ต้องยุ่งกับเบราว์เซอร์หลัก) โดยเฉพาะไลบรารีภายนอกที่อาจมีช่องโหว่ แต่ Mozilla ไม่สามารถควบคุมคุณภาพของโค้ดได้เอง (ปํญหา supply-chain attack ที่เกิดขึ้นบ่อยในช่วงหลัง)
ผู้ใช้ Microsoft Edge น่าจะเคยเล่นหรือผ่านตากันมาบ้างกับเกมเซิร์ฟเล่นแก้เบื่อเวลาเน็ตใช้งานไม่ได้ในตัวเบราว์เซอร์ ล่าสุดเพื่อเป็นการต้อนรับฤดูหนาวไมโครซอฟท์ได้เปลี่ยนธีมของเกมจากกระดานโต้คลื่นมาเป็นเล่นสกีแทนแล้ว
เบราว์เซอร์ Vivaldi ออกเวอร์ชัน 5.0 มีของใหม่ที่น่าสนใจดังนี้
ไมโครซอฟท์ออก Edge 96 Stable โดยมีฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจคือ
กูเกิลออก Chrome 96 รุ่นเสถียร การเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่เป็นงานเบื้องหลังที่ตัวเอนจินแสดงผล
ของใหม่ที่น่าสนใจคือ Chrome เริ่มทดสอบความเข้ากันได้กับเว็บไซต์ต่างๆ เมื่อถึงเวอร์ชัน 100 โดยเพิ่มตัวเลือกการตั้ง User-Agent เป็นค่า 100 (chrome://flags/#force-major-version-to-100) ให้ลองทดสอบกันดูก่อน ตามแนวทางที่ Firefox นำร่องไปก่อนแล้ว
ของใหม่อย่างอื่นได้แก่การทำ Back-forward Cache ให้สามารถกด Back/Forward ข้ามโดเมนได้เร็วขึ้น เพราะเก็บแคชไว้ให้แล้ว, การเปิดให้เว็บแอพแบบ PWA สามารถลงทะเบียนแอพกับ OS เพื่อเปิด url ของบางโดเมนได้ (เช่น เว็บแอพ Twitter จะทำงานเมื่อคลิกลิงก์ twitter.com จากที่ไหนก็ได้ใน OS)
โฆษกของไมโครซอฟท์ชี้แจงกับ The Verge ว่าการบังคับเปิดลิงก์ด้วย Edge จะช่วยให้ประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ดีขึ้น เพราะกระบวนการบางอย่างของ Windows ถูกออกแบบมาให้ใช้โซลูชันของไมโครซอฟท์ตั้งแต่ต้นจนจบ (end-to-end) เช่น การค้นเว็บจาก taskbar ที่จะเปิดใน Edge เท่านั้น
ไมโครซอฟท์ยังพูดถึงกรณีของ EdgeDeflector ที่พยายามแก้ค่าให้เปิดด้วยเบราว์เซอร์ตัวอื่น ว่าเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะสม (improper) และจะออกแพตช์ Windows 11 บล็อคการทำงานของ EdgeDeflector ในเร็วๆ นี้