ภาคต่อจากข่าว กระทรวงยุติธรรมสหรัฐใช้ "อีเมลสตีฟจ็อบส์" เป็นหลักฐานชี้แอปเปิลผูกขาดราคาอีบุ๊ก ทางทนายความของแอปเปิลก็ออกมาตอบโต้ (ตามคาด) โดยบอกว่าแผนการของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐจะเอื้อประโยชน์ทางการแข่งขัน (competitive advantage) ให้อเมซอน
แอปเปิลยังบอกว่าด้วยว่าแผนการของกระทรวงฯ ถือเป็นการกำกับดูแลที่ไม่จำเป็น และจะสร้างความซับซ้อนให้กับตลาดอีบุ๊กที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม แอปเปิลก็ยอมใช้เงื่อนไขของการจัดจำหน่ายอีบุ๊กที่ตัวเองตั้งขึ้นกับ App Store ของตัวเองด้วย จากเดิมที่บังคับใช้เฉพาะกับแอพของบริษัทอื่นๆ เท่านั้น
สุดท้ายแล้วศาลจะเป็นคนตัดสินตามข้อเสนอจากทั้งฝั่งของกระทรวงฯ และฝั่งของแอปเปิลครับ
จากกรณี กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องแอปเปิลกับสำนักพิมพ์ทั้ง 7 ข้อหาสมคบกันกำหนดราคา e-book และ กระทรวงยุติธรรมยื่นข้อเสนอเพื่อแก้ไขความเสียหายจากการผูกขาดอีบุ๊กของแอปเปิล
กระทรวงยุติธรรมได้ยื่นข้อเสนอฉบับปรับแก้จากข่าวล่าสุดก่อนหน้านี้ โดยเพิ่มเนื้อหาด้านนโยบาย in-app purchase ที่แอปเปิลเปลี่ยนเมื่อปี 2011 บังคับให้แอพต้องขายเนื้อหาดิจิทัล (ทุกชนิด ไม่ใช่เฉพาะอีบุ๊ก) ผ่าน iTunes Store เท่านั้น
หนึ่งในหลักฐานที่กระทรวงยุติธรรมนำมายืนยันว่าแอปเปิลจงใจกีดกันคู่แข่ง ก็คืออีเมลของสตีฟ จ็อบส์ ที่ส่งถึงผู้บริหารของแอปเปิล Phil Schiller, Eddy Cue, Joswiak Greg
ความคืบหน้าล่าสุดของมหากาพย์ผูกขาดอีบุ๊กของแอปเปิล หลังจากที่ศาลแขวงได้ตัดสินแอปเปิลมีความผิดฐานสมคบคิดโก่งราคาอีบุ๊กแล้ว ทางกระทรวงยุติธรรมสหรัฐก็ได้ยื่นข้อเสนอเพื่อแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้น (remedy) จากการผูกขาดอีบุ๊กของสโนว์ไวท์แอปเปิลเมื่อวันศุกร์ที่สองที่ผ่านมา
ศาลแขวงใต้ของ New York ได้พิจารณาคดีที่รัฐบาลกลางสหรัฐอเมริกาฟ้อง Apple ฐานละเมิดกฏหมายป้องกันการผูกขาดโดยการรวมหัวกับสำนักพิมพ์หนังสือเพื่อกำหนดราคาอีบุ๊ก และมีคำตัดสินแล้วว่า Apple ผิดจริงตามข้อกล่าวหา
จากการเปิดตัวของ iPad พร้อม iBookstore ร้านขายอีบุ๊กของ Apple ในปี 2010 มีผลให้ราคาเฉลี่ยของอีบุ๊กเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก จากแต่เดิมที่ Amazon เป็นผู้ขายอีบุ๊กรายใหญ่โดยเฉลี่ยเล่มละ 9.99 ดอลลาร์ ราคาก็ปรับสูงขึ้นไปอยู่ในช่วง 12.99-14.99 ดอลลาร์
แม้ว่าโซนี่จะเป็นผู้บุกเบิกวงการอีบุ๊กมาตั้งแต่เริ่ม แต่ช่วงหลังมานี้ก็ถูกกระแสของ Amazon กลืนไปเสียสิ้น แต่ก็ยังไม่เลิกล้มความพยายาม ล่าสุดออกมาโชว์เครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นต้นแบบตัวใหม่ที่ใช้หน้าจอขนาดใหญ่ถึง 13.3" (น่าจะใหญ่ที่สุดในไลน์อีบุ๊กของโซนี่แล้วด้วย)
เครื่องอ่านอีบุ๊กรุ่นต้นแบบดังกล่าวนอกจากจะใช้หน้าจอ 13.3" บนความละเอียด 1200x1600 พิกเซล (ซึ่งใกล้เคียงกับกระดาษ A4) แล้วยังมาพร้อมกับหน้าจอสัมผัสแบบเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าสำหรับใช้งานร่วมกับสไตลัสที่ติดมาด้วยกัน
แม้ว่าจะหน้าจอจะใหญ่ระดับเดียวกับโน้ตบุ๊ก แต่น้ำหนักของเจ้าเครื่องรุ่นนี้กลับเบาเพียง 358 กรัม แถมยังบางเพียง 6.8 มม. เท่านั้น ตัวแบตเตอรี่เองก็จุใช้ได้ สามารถใช้งานได้ยาวนานถึง 3 สัปดาห์ถ้าหากปิด Wi-Fi
LINE ยังคงทำตามแผนด้วยการขยายบริการใหม่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดบุกเข้าตลาดหนังสือด้วยการเปิดตัวแอพ LINE マンガ (มังงะ=การ์ตูนญี่ปุ่น) สำหรับอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นทั้งบน iOS และ Android มาแล้ว
LINE マンガ ตอนนี้มีการ์ตูนหัวญี่ปุ่นอยู่มากกว่า 30,000 เรื่อง สามารถซื้อได้ด้วย LINE Coin ราคาเริ่มต้นประมาณ 400-500 Coin มีโปรโมชันลดครึ่งราคาสำหรับบางเล่ม และบางเล่มมีแถมสติ๊กเกอร์ไว้ใช้ในแอพ LINE ด้วย
Amazon เสริมทัพผลิตภัณฑ์ด้านหนังสือและอีบุ๊กของตัวเอง ด้วยการซื้อเว็บไซต์แนะนำหนังสือ Goodreads โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
Goodreads เป็นโซเชียลเน็ตเวิร์คสำหรับคนรักหนังสือมาแนะนำหนังสือให้กันและกัน เปิดตั้งแต่ปี 2007 ปัจจุบันมีสมาชิก 16 ล้านราย, ตั้งเป็นชมรมอ่านหนังสือบนเว็บกว่า 30,000 ชมรม, มีรีวิวหนังสือ 23 ล้านรีวิว ซึ่งข้อมูลพวกนี้ช่วยสนับสนุนระบบแนะนำหนังสือของ Amazon ได้เป็นอย่างดี
Amazon สัญญาว่า Goodreads จะยังให้บริการเป็นอิสระดังเดิม (แต่ยังไม่มีความชัดเจนว่า Goodreads จะนำลิงก์ซื้อหนังสือจากร้านคู่แข่งอย่าง Barnes & Noble ออกจากหน้าเว็บของตัวเองหรือไม่) ส่วนทาง Goodreads ก็ประกาศว่าเราจะได้เห็นการผสานกันของ Goodreads กับแพลตฟอร์ม Kindle อย่างแน่นอน
ข่าวดีสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์พกพาที่มีอันต้องเดินทางด้วยเครื่องบินบ่อยๆ เมื่อสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐฯ (FAA) ออกมาประกาศว่าจะมีการลดหย่อนข้อห้ามใช้อุปกรณ์ดังกล่าวระหว่างเครื่องขึ้น และลงจอดแล้ว
โดย New York Times รายงานว่าเขาได้ข้อมูลจากผู้ที่ทำงานร่วมกับ FAA ที่คาดว่าภายในปีนี้จะมีการยกเลิกข้อบังคับที่ห้ามใช้อุปกรณ์พกพาบนเครื่องบิน โดยอุปกรณ์ที่ใช้ได้ที่ระบุมานั้นจะอยู่ในกลุ่ม "reading devices" ซึ่งอาจครอบคลุมแค่แท็บเล็ต และเครื่องอ่านอีบุ๊ก แต่ยังไม่รวมถึงสมาร์ทโฟนแต่อย่างใด
คาดกันว่า FAA จะประกาศข้อบังคับใหม่ที่ว่านี้ในช่วงกลางปี หลังจากได้รับผลการศึกษาที่ทำร่วมกับบริษัท และองค์กรที่เกี่ยวข้องช่วงปลายเดือนกรกฎาคม
มีคนไปพบโค้ดบนเว็บ Google Play กล่าวถึงบริการใหม่ชื่อ Google Play News ซึ่งน่าจะเป็นบริการสมัครสมาชิกหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของกูเกิล
Google Play ขายอีบุ๊กและนิตยสารอิเล็กทรอนิกส์อยู่ก่อนแล้ว คาดว่าบริการนี้จะตั้งเป้ามาแข่งขันกับ Newsstand ของฝั่งแอปเปิลที่เปิดตัวมานานพอสมควร และมีฐานสมาชิกเป็นจำนวนมาก
ตอนนี้เรายังไม่มีข้อมูลว่ากูเกิลจะเชื่อม Google Play News เข้ากับบริการใกล้เคียงกันอย่าง Google News และ Google Current หรือไม่
ที่มา - The Next Web
สำนักวาติกันกำลังวางแผนที่จะแปลงเอกสารคำจารึกในห้องสมุดวาติกันที่มีกว่า 40 ล้านหน้าให้เป็นไฟล์ดิจิทัลทั้งหมด โดยคาดว่าจะให้เนื้อที่ในการเก็บไฟล์กว่า 2.8 Petabyte หรือกว่า 2,800 Terabyte โดยนับเป็นหนึ่งในโครงการ The Information Heritage Initiative ของ EMC Corporation ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำทางด้านการวางเครือข่ายฐานข้อมูลสารสนเทศขนาดใหญ่
หอสมุดวาติกันนับเป็นหอสมุดที่เก่าแก่ที่สุดของโลกแห่งหนึ่ง โดยเป็นที่เก็บแผ่นจารึกกว่า 80,000 ชิ้น และหนังสือกว่า 1.1 ล้านเล่ม โดยการแปลงเอกสารและจัดเก็บในระบบดิจิทัลนั้นก็เพื่อความสะดวกต่อการเข้าถึงและการรักษาเอกสารเก่าแก่ที่อาจจะเสียหายได้ในอนาคต
แพลตฟอร์มสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิตอลของไทย Ookbee ได้เปิดตัวในประเทศมาเลเซียเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว (iOS, Android) ซึ่งก็เริ่มต้นได้สวยงาม โดยคุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอและผู้ก่อตั้งได้เปิดเผยกับ Tech In Asia ว่า ตอนนี้มีผู้ใช้งานในประเทศมาเลเซียแล้วกว่า 100,000 คน โดยมีนิตยสารให้เลือก 40 ฉบับ และมีหนังสือของมาเลเซียอยู่ 5,000 เล่ม ซึ่งตัวเลขนี้มีการเติบโตทุกวัน
โครงการ Gutenberg เป็นโครงการที่แจกจ่ายหนังสือ e-book ที่เป็นหนังสืออมตะ หรือหนังสือที่หมดลิขสิทธิ์ไปแล้ว และกลายเป็นสมบัติสาธารณะ (public domain) ล่าสุดในโครงการมีหนังสือรวมทั้งสิ้น 40,000 เล่ม ที่สามารถนำไปอ่านได้ทุกอุปกรณ์ ทั้ง Amazon Kindle, Kobo และ Sony (รองรับไฟล์ HTML, MOBI, EPUB)
สองสามวันมานี้ Gutenberg ได้เพิ่มความสามารถใหม่ที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถซิงค์ข้อมูลกับ Dropbox ของตนเองได้ ฟังก์ชั่นนี้ ช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดเก็บหนังสือเป็นอย่างมาก และถึงแม้ Kindle, Kobo หรือ Nook รุ่นต่างๆ จะไม่มีโปรแกรม Dropbox ในตัวเอง แต่การโอนถ่ายไฟล์จากคอมพิวเตอร์ เข้าสู่เครื่อง e-reader เหล่านี้ ก็ทำได้ไม่ยากนัก
Sony บริษัทยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นเอง ก็มีสายการผลิตของอุปกรณ์ e-reader ในตระกูล PRS เช่นกัน แต่ยอดขายตั้งแต่ทำการตลาดมา 7 ปี มีอยู่เพียง 500,000 เครื่องเท่านั้น จากผลการศึกษาของ R.R. Bowker พบว่า จำนวนตัวเลขของผู้ที่ครอบครอง e-reader มีเพียง 8% เท่านั้น เทียบกับตัวเลขในตลาดอเมริกา ที่มีอยู่ 20% นอกจากนี้ 72% ของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่นไม่เคยลอง และไม่คิดจะลองอ่าน e-book เลย
Robin Birtle สำนักพิมพ์ที่จัดทำ e-book ให้ความเห็นไว้ว่า รสนิยมของชาวญี่ปุ่นจะแตกต่างออกไป เพราะชาวญี่ปุ่นต้องการอะไรที่มันจับต้องได้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่อธิบายได้ว่า แม้ในประเทศที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตเร็วที่สุดในโลกอย่างญี่ปุ่นนั้น เรื่องของบรรจุภัณฑ์, หรือ DVD ก็ยังเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน
Amazon ยักษ์ใหญ่แห่งวงการอีคอมเมิร์ซ ได้รับสิทธิบัตรตัวใหม่ ที่บ่งบอกว่า เขากำลังเตรียมบุกตลาด สินค้าดิจิทัลมือสอง (digital resale) ซึ่งประกอบไปด้วยอีบุ๊ก และ ไฟล์เสียง (audio download) ต่อยอดจากแผนธุรกิจดั้งเดิม คือการขายหนังสือ และของใช้อื่นๆ มือสอง
ก่อนหน้านี้ ก็มีบริษัท ReDigi.com ที่เป็นผู้บุกตลาดนี้คนแรกในการขายสิทธิการเป้นเจ้าของไฟล์เพลง (pre-owned digital music) ซึ่งเปิดตัวเมื่อปลายปี 2011 สำหรับการได้รับสิทธิบัตรของ Amazon.com ครั้งนี้ ทาง ReDigi ให้ความเห็นว่า "สิทธิบัตรใบนี้ คือเกราะป้องกันของ Amazon สำหรับตลาดดิจิทัลมือสองในอนาคต และเขาไม่มีทางกลับหลังหันแน่นอน"
ในยุคที่หนังสือเริ่มแปลงเป็น E-Book ยุคที่ทุกอย่างดูเหมือนสวยหรูเหมือนหนัง Sci-fi ข้อมูลขนส่งกันทางอิเล็กทรอนิกส์ ประหยัดทั้งเชื้อเพลิง และต้นทุนการพิมพ์ ผู้คนเข้าถึงองค์ความรู้ได้ง่ายดาย แม้จากในห้องนอนตัวเอง E-Book ช่วยอำนวยความสะดวกให้คนทุกกลุ่ม ยกเว้น… "ห้องสุมด"
การมาของ E-Book สร้างปัญหาให้กับห้องสมุดมาอย่างเนิ่นนาน ในขณะที่คนเข้าถึงในง่ายขึ้น ทำให้ยอดหมุนเวียนของการยืมหนังสือสูงขึ้นตามไปด้วย เพราะสามารถยืมหนังสือได้ง่ายขึ้น และส่งผลสะท้อนกลับไปทางสำนักพิมพ์เพราะคนจะซื้อหนังสือน้อยลง เพราะเช่าเอาไม่เสียสตางค์ และสะดวกสบายกว่าเดิมมาก
ช่วงปลายปีเป็นช่วงเทศกาลจับจ่ายที่สำคัญของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมากเพราะการซื้อจะมากกว่าช่วงอื่นๆ ปีที่ผ่านมาอเมซอนประกาศว่ายอดขายสูงสุดเป็นประวัติการ โดยเฉพาะร้านค้าภายนอกที่ใช้ระบบการขายของอเมซอนมียอดโตขึ้นถึง 40% แต่คู่แข่งรายสำคัญอย่าง Barnes & Noble กลับมีปัญหาเมื่อยอดขายกลับสวนทางลดลงถึง 10.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
เฉพาะธุรกิจ NOOK รวมตั้งแต่ตัวเครื่องไปจนถึงคอนเทนต์ต่างๆ รายได้รวมช่วงวันหยุดคือ 311 ล้านดอลลาร์ ลดลง 12.6% ส่วนเฉพาะตัวคอนเทนต์ยอดขายก็ลดลง 13.1%
ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจของวงการอีบุ๊กครับ เพราะเจ้าของคอนเทนต์รายใหญ่อย่างสำนักพิมพ์ Pearson เข้ามาถือหุ้นบางส่วนในบริษัท Nook Media ที่ทำธุรกิจด้านอีบุ๊กโดยตรงแล้ว
Pearson เป็นสำนักพิมพ์รายใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ธุรกิจที่สำคัญคือตำราเรียนทุกระดับชั้น ส่วน Nook Media เป็นบริษัทใหม่ที่เครือร้านหนังสือ Barnes & Noble แยกสายธุรกิจอีบุ๊กของตัวเองออกมา และมีไมโครซอฟท์มาร่วมถือหุ้นด้วย
เดิมทีสัดส่วนหุ้นใน Nook Media คือ Barnes & Noble ถือ 82.4% และไมโครซอฟท์ถือ 17.6% แต่ Pearson เข้ามาถือหุ้น 5% โดยลงเงิน 89.5 ล้านดอลลาร์ ทำให้สัดส่วนหุ้นเดิมลดลงเล็กน้อย (เหลือ 78.2% และ 16.8% ตามลำดับ)
ศาลปักกิ่งสั่งปรับแอปเปิลเป็นเงิน 1.03 ล้านหยวน เนื่องจากขายอีบุ๊กละเมิดลิขสิทธิ์ในประเทศจีน
คดีนี้นักเขียนชื่อดัง 8 รายในจีน รวมตัวกันยื่นฟ้องแอปเปิล หลังจากค้นพบว่าหนังสือของตัวเองถูกแปลงเป็นแอพบน iOS และเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี จนทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์สูญเสียรายได้จากการขายหนังสือเป็นจำนวนมาก ซึ่งศาลก็ตัดสินว่าแอปเปิลทำผิดกฎหมายลิขสิทธิ์ของจีน โดยปล่อยปละละเลยให้มีแอพละเมิดลิขสิทธิ์เกิดขึ้น
ก่อนหน้านี้ไม่นาน แอปเปิลเพิ่งโดนคดีคล้ายๆ กันในจีน แต่ผู้ฟ้องเป็นสารานุกรมของจีนแทน และศาลตัดสินให้แอปเปิลต้องชดใช้ค่าเสียหายเช่นกัน
คดีการผูกขาดตลาดอีบุ๊กระหว่างกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ และ แอปเปิลกับสำนักพิมพ์อีก 7 สำนักเสียแนวร่วมต่อสู้ไปอีกรายเมื่อสำนักพิมพ์ Penguin ยอมความกับกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เป็นรายที่สี่ หลังสามสำนักพิมพ์แรกยอมความกันไปก่อนแล้ว
ผลการยอมความยังไม่ชัดเจน แต่ก่อนหน้านี้เมื่อสามสำนักพิมพ์แรกยอมความ ก็ต้องคืนส่วนลดให้กับลูกค้าของอเมซอน ที่ซื้อหนังสือไปในราคาแพง
ถัดจากคดีในสหรัฐฯ ที่ตกลงนอกศาลไปก่อนหน้านี้แล้ว ตอนนี้คดีการผูกขาดตลาดอีบุ๊กมาถึงรอบของคดีในยุโรปที่เพิ่งจบลงในวันนี้ด้วยการตกลงนอกศาลรูปแบบเดียวกัน
สำนักพิมพ์ที่ตกลงกับสหภาพยุโรป ได้แก่ Simon & Schuster, HarperCollins, และ Macmillan
ด้วยการตกลงนอกศาลนี้ สำนักพิมพ์ที่เป็นจำเลยจะยอมยกเลิกเงื่อนไขที่ไม่ยอมให้ร้านค้าตั้งส่วนลดได้เอง และสำนักพิมพ์สามารถตกลงกับร้านค้าเพื่อให้ส่วนลดมากกว่าแอปเปิลได้ จากเดิมข้อตกลงกับแอปเปิลนั้นจะระบุให้แอปเปิลต้องได้ราคาที่ดีที่สุดเสมอ
การตกลงกับสหภาพยุโรปในรอบสำนักพิมพ์จะไม่สร้างข้อตกลงแบบเดียวกันอีกใน 5 ปีข้างหน้า
แม้ว่าจะยังไม่มี Kindle ขายในประเทศจีนอย่างเป็นทางการ แต่วันนี้ Amazon ก็ก้าวไปอีกขั้นด้วยการเปิดตัว Kindle Store และแอพ Kindle สำหรับสมาร์ทโฟนในประเทศจีนเรียบร้อยแล้ว
Kindle Store ที่เปิดตัวในครั้งนี้คาดว่าถูกส่งมาเพื่อจับตลาดสมาร์ทโฟน Android ที่มีจำนวนมหาศาลในจีน ถึงขนาดที่มีหน้าพิเศษสำหรับดาวน์โหลดแอพบน Android เพิ่มเข้ามาด้วย ส่วนผู้ใช้ iOS นั้นสามารถดาวน์โหลดได้จาก iTunes Store ตามปกติ
Ookbee ผู้ให้บริการและพัฒนาช่องทางการนำเสนอสิ่งพิมพ์แบบดิจิตอลและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เผยตัวเลขผู้ใช้งานในแพลตฟอร์มว่าใกล้แตะหลัก 3 ล้านแล้ว
ตัวเลขผู้ใช้ของ Ookbee เปิดเผยโดยคุณณัฐวุฒิ พึงเจริญพงศ์ ซีอีโอของบริษัทในระหว่างงาน Global Brain Alliance Forum ที่จัดขึ้นที่เมืองโตเกียว ซึ่งเป็นการเปิดเผยตัวเลขผู้ใช้ครั้งที่สองหลังจากเคยบอกเมื่อช่วงเดือนสิงหาคมว่ามีราวๆ 1.5 ล้านราย โดยปัจจุบันมีตัวเลขผู้ใช้อยู่ที่ 2.5 ล้านรายจากผู้ใช้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งไทย เวียดนาม มาเลย์เซีย และอินโดนีเซีย ซึ่งถ้ายังเติบโตด้วยอัตราเท่านี้ Ookbee จะมีผู้ใช้แตะ 3 ล้านรายภายใน 3-4 เดือนข้างหน้า
นอกจากตัวเลขผู้ใช้แล้วยังมีข้อมูลอื่นๆ ออกมาด้วย ดังนี้ครับ
จากข่าวกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องแอปเปิลกับสำนักพิมพ์ทั้ง 7 ข้อหาสมคบกันกำหนดราคา e-book เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ตอนนี้ก็มีการเคลื่อนไหวจากอเมซอนแล้วครับ
อเมซอนส่งจดหมายแจ้งว่าจะคืนเงิน (บางส่วน) ให้คนที่ซื้อหนังสือจาก 3 สำนักพิมพ์อันได้แก่ HarperCollins, Simon & Schuster และ Hachette ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 เมษายน 2010 ถึง 21 พฤษภาคม 2012 ที่ผ่านมา โดยน่าจะได้รับเงินคืนเล่มละ 0.30 ถึง 1.32 ดอลลาร์ โดยจะเป็นเครดิตเงินคืนลงไปที่บัญชีอเมซอน ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องรอให้ศาลอนุมัติการระงับข้อพิพาทดังกล่าว ซึ่งรวมถึงการคืนเงินให้กับลูกค้า ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า
ผู้ที่ซื้อ e-book ของสำนักพิมพ์ HarperCollins Publishers, Hachette Book Group และ Simon & Schuster ในช่วงเดือนเมษายน 2553 ถึงพฤษภาคม 2555 จะได้รับเงินคืน 0.30-1.32 ดอลลาร์ แตกต่างกันไปตามรายการ e-book
การคืนเงินครั้งนี้เป็นผลจากคดีระหว่างสำนักพิมพ์หลายแห่งกับอัยการในหลายรัฐ ในความผิดฐานรวมหัวกันโก่งราคา e-book ซึ่งแม้เหล่าสำนักพิมพ์ทั้ง 3 แห่งข้างต้นจะยืนกรานว่าไม่ได้ทำอะไรผิด แต่ก็ยินดียุติคดีโดยลงขันกัน 69 ล้านดอลลาร์ เพื่อคืนเงินให้แก่ลูกค้าผู้ซื้อ e-book ในขณะที่ยังมีสำนักพิมพ์อีก 2 แห่ง รวมถึง Apple ตัดสินใจสู้คดีต่อไป
เมื่อสัปดาห์ก่อนกูเกิลประสบความสำเร็จในการประนีประนอมยอมความกับเหล่าสำนักพิมพ์ ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ของโครงการห้องสมุดดิจิทัล
คดีนี้เริ่มจาก 7 ปีก่อน โดยเหล่าสำนักพิมพ์และกลุ่มผู้แต่งหนังสือรวมตัวกันฟ้องกูเกิลฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยการเผยแพร่สำเนาหนังสือในรูปแบบสื่อดิจิทัล ก่อนที่ภายหลังจะแยกการพิจารณาคดีออกเป็น 2 ส่วน เป็นคดีระหว่างกูเกิลกับเหล่าสำนักพิมพ์ และคดีระหว่างกูเกิลกับกลุ่มผู้แต่งหนังสือ ซึ่งเป็นคดีในส่วนแรกนี้เองที่มีการตกลงยอมความกัน
เงื่อนไขของข้อตกลงที่ไม่เปิดเผยมูลค่านี้ระบุว่า กูเกิลจะทำสำเนาหนังสือหรือบทความในรูปแบบสื่อดิจิทัลโดยมีเนื้อหาไม่เกิน 20% ของหนังสือหรือบทความ และจะอนุญาตให้ผู้ใช้สั่งซื้อหนังสือทั้งเล่มได้