Sharp เปิดตัวแท็บเล็ตของตัวเองใต้แบรนด์ Galapagos โดยมันแบ่งออกเป็นสองรุ่น
ทั้งสองตัวเน้นการอ่านอีบุ๊กเป็นหลัก แต่ก็สามารถใช้งานด้านมัลติมีเดียอื่นๆ พร้อมมีฟีเจอร์ social network ในตัว ตัวฮาร์ดแวร์ต่อ Wi-Fi b/g ยังไม่บอกว่ามี 3G หรือไม่
Sharp ยังจะเปิดร้านขายอีบุ๊กในชื่อ Automatic Scheduled Delivery Service จะมีหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หนังสือ จำนวน 30,000 เล่มเมื่อเปิดตัวในเดือนธันวาคมพร้อมกับเครื่องอ่าน ทั้งหมดเน้นทำตลาดญี่ปุ่นครับ
สองยักษ์แห่งวงการอีบุ๊กเริ่มปะทะกันแล้ว เมื่อ Amazon ออกโฆษณาสำหรับ Kindle โดยแสดงให้เห็นแท็บเล็ตหน้าตาคุ้นหน้าคุ้นตาอันหนึ่ง ที่อ่านกลางแสงแดดจ้าๆ ไม่ดีเท่ากับ Kindle ที่ใช้จอ E Ink
ข่าวจบสั้นๆ แค่นี้ ที่เหลือดูวิดีโอโฆษณากันเอาเองครับ
ที่มา - CrunchGear
หลังจากปล่อยให้ Amazon, Apple, Barnes & Noble ขโมยความเด่นในวงการเครื่องอ่านอีบุ๊กมาสักระยะ ทางเครือร้านหนังสือ Borders ก็ร่วมวงสงครามราคาด้วยเช่นกัน
Borders ไม่มีเครื่องอ่านของตัวเองแบบเดียวกับ NOOK หรือ Kindle แต่ใช้วิธีจับมือกับบริษัทผู้ผลิตเครื่องอ่านรายเล็ก เช่น Kobo หรือ Aluratek แทน โดยเครื่องอ่านเหล่านี้จะสามารถซื้อหนังสือจากร้านออนไลน์ของ Borders ได้
สำหรับ Kobo eReader เดิมราคา 149 ดอลลาร์ ตอนนี้ลงมาเหลือ 129 ดอลลาร์ และ Aluratek Libre Reader เดิมราคา 119 ดอลลาร์ ราคาเหลือ 99 ดอลลาร์ แม้ว่าจะราคาถูกกว่าคู่แข่ง แต่ทั้งสองตัวไม่มี 3G หรือ Wi-Fi ครับ
ช่วงนี้เราเห็นข่าวลักษณะนี้กันมากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดสำนักพิมพ์ HarperCollins ออกมาให้ข้อมูลว่า นิยายสยองขวัญชื่อ “I’d Know You Anywhere” ของ Laura Lippman ซึ่งเริ่มวางขายเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม มีตัวเลขยอดขาย 5 วันแรกดังนี้
สำนักพิมพ์ระบุว่านี่เป็นครั้งแรกที่ยอดขายฉบับอิเล็กทรอนิกส์แซงหน้าฉบับกระดาษในสัปดาห์แรก และเสริมว่าถ้ารีวิวออกมาดี คนจะซื้อเวอร์ชันอิเล็กทรอนิกส์กันเยอะเพราะซื้อสะดวกกว่า ชนิดว่าอ่านรีวิวจบแล้วกดสั่งได้ทันที
ที่มา - Wall Street Journal
หลังจากมีข่าว นักเขียนชื่อดัง Seth Godin ได้ประกาศเลิกพิมพ์หนังสือ คราวนี้ Nigel Portwood ซีอีโอของ Oxford University Press สำนักพิมพ์พจนานุกรมภาษาอังกฤษยอดฮิต ได้ออกมากล่าว "ตลาดพจนานุกรมที่เป็นเล่มๆ กำลังจะหมดความหมายไป ที่ผ่านๆ มายอดจำหน่ายพจนานุกรมในแต่ละปีลดลงหลายสิบเปอร์เซ็นต์ อันเนื่องมาจากผู้ใช้หันไปใช้บริการทางอินเทอร์เน็ตมากขึ้น" และได้กล่าวต่อมาว่า "เอดิชั่นที่ 3 อาจจะไม่มีการพิมพ์ออกมาเป็นเล่มอีกแล้ว ทั้งๆ ที่ทางบริษัทได้ทำพจนานุกรมฉบับดังกล่าวคืบหน้าไปแล้ว 28 เปอร์เซ็นต์"
วันก่อนได้ข่าวนี้มาจาก Blogger คนนึงใน Silicon Valley และ @markpeak ทวีตมาบอก เพื่อนๆ หลายคนบน Twitter ก็กล่าวกันถึงเรื่องนี้เยอะ ไม่เขียนคงไม่ได้แล้ว --
ตกเป็นข่าวครึกโครมไปทั่วโลก เมื่อ Seth Godin นักคิดนักเขียนด้านธุรกิจและการตลาดชื่อดังในแวดวงธุรกิจออนไลน์ เจ้าของหนังสืออย่าง Linchpin, Tribes, Purple Cow, All Marketers Are Liars, ออกมาประกาศทางบล็อกของตัวเองว่าจะเลิกพิมพ์หนังสือในแบบกระบวนการบรรณาธิกรแบบดั้งเดิม
แอปเปิลคงต้องการสร้างเนื้อหาอีบุ๊กบน iBooks ให้เยอะๆ เลยหนุนฟอร์แมต EPUB ซึ่งเป็นฟอร์แมตเปิดสำหรับอีบุ๊กในปัจจุบัน เพื่อแข่งกับฟอร์แมตปิดของ Kindle
โดยแอปเปิลได้ออกตัวอัพเดตย่อยของ iWork '09 (9.0.4) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือโปรแกรม Pages สามารถสั่ง export ไฟล์ออกมาเป็น EPUB ได้ อนาคตเราคงเห็นแอปเปิลใช้ Pages เป็นฐานสำคัญเพื่อกระตุ้นให้คนสร้างหนังสือเพื่อเผยแพร่บน iBooks มากขึ้น
ที่มา - GigaOm
แฟนๆ ของ NOOK อาจเสียกำลังใจกันนิดหน่อย เพราะ Leonard Riggio ประธานของ Barnes & Noble ให้สัมภาษณ์ว่าเขายังชอบอ่านหนังสือจริงๆ มากกว่า NOOK และไม่ได้พกเครื่องอ่านติดตัว โดยเขาให้เหตุผลว่าเขาแก่และยุ่งเกินกว่าจะอ่านหนังสือในรูปแบบใหม่ๆ แล้ว
เครื่องอ่านอีบุ๊กอาจยังสู้หนังสือไม่ได้ แต่ถ้าไปถาม Jeff Bezos ผู้ก่อตั้ง Amazon เราอาจได้คำตอบที่ต่างออกไป
ที่มา - Engadget
Amazon เริ่มส่งมอบเครื่อง Kindle 3 ที่เปิดตัวไปเมื่อปลายเดือนกรกฎาคม พร้อมระบุว่าเป็น Kindle รุ่นที่ขายดีที่สุด โดยตั้งแต่ช่วงที่เปิดตัว Kindle กลายเป็นสินค้าที่ขายดีที่สุดบน amazon.com และ amazon.co.uk ชนิดว่าขายดีกว่าสินค้าชนิดอื่นๆ รวมกันเสียอีก อย่างไรก็ตาม Amazon ไม่เปิดเผยยอดขายเป็นตัวเลขว่าขายได้แล้วเท่าไร
เราอาจหาสถิติยอดขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งบน Kindle และ iBooks เพื่อดูว่าใครขายดีกว่าใครได้ยาก (Amazon บอกว่ากินส่วนแบ่งตลาด 70% แต่เราไม่รู้ว่าตัวเลขนี้จริงแค่ไหน)
ตัวเลขที่หาได้ในตอนนี้จึงอาจต้องเอายอดขายจากผู้เขียนหนังสือ โดย J. A. Konrath นักเขียนนิยายที่หันมาเอาดีทางการขายอีบุ๊ก (เพราะได้ส่วนแบ่งสูงกว่าเมื่อเทียบกับหนังสือกระดาษ) ได้เปิดเผยว่าเขาขายหนังสือบน Kindle ได้วันละ 200 เล่ม ส่วน iBooks ได้เดือนละ 100 เล่ม ถ้าคำนวณแล้วก็พบว่า Kindle มียอดขายสูงกว่า iBooks ถึง 60 เท่าเลยทีเดียว
อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่านี่เป็นสถิติจากผู้เขียนหนังสือเพียงรายเดียวเท่านั้นนะครับ
Nikkei Electronics Asia ได้ลงบทสัมภาษณ์ Shantanu Narayen CEO ของ Adobe พูดคุยเกี่ยวกับ Flash ซึ่งรวมถึงกรณีพิพาทกับ Apple ซึ่งสอดคล้องกับ ข่าวเก่าจาก Telegraph จุดประสงค์ของ Open Screen Project ที่ใช้แนวคิดแบบเดียวกับ PDF ที่ได้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วโลก จนไปถึงการมาของ HTML5 ว่าจะอยู่ร่วมกับ Flash ได้อย่างไร และบทบาทของเทคโนโลยี Flash ที่จะช่วยให้ E-book มีสีสันมากขึ้น
ที่มา - Nikkei Electronics Asia
Shantanu Narayen CEO ของ Adobe ได้ให้สัมภาษณ์ใน Nikkei Electronics Asia พูดถึง Flash และ E-book ไว้ดังนี้ครับ
เริ่มมีความเป็นไปได้ที่เครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์แบรนด์ Sony Reader จะเปลี่ยนมาใช้ Android (ตามอย่าง NOOK)
สาเหตุก็เพราะโซนี่ประกาศรับสมัครงานตำแหน่ง "Senior Staff Software Engineer (Android) – Digital Reader Business Division at Sony Electronics" ซึ่งต้องการคนที่มีความสามารถด้าน "Programming experience with Google Android SDK"
ปัจจุบัน Sony Reader ใช้ระบบปฏิบัติการลินุกซ์แบบฝังตัวจาก MontaVista
ที่มา - SlashGear, Talk Android
ผมได้อ่าน eBook และเนื้อหาดิจิตอลต่าง ๆ มาตั้งแต่ใช้ PDA และ smartphone ต่าง ๆ มาเรื่อย ๆ ด้วยความสะดวกในการพกพาติดไปกับตัวได้ตลอด แต่ก็มีข้อจำกัดของอุปกรณ์เหล่านี้ นั่นก็คือ หน้าจอของมันมีขนาด 3.2-3.5 นิ้ว ซึ่งถือว่าเล็กเมื่อเทียบกับการอ่านพ็อกเก็ตบุ๊คโดยทั่วไป
กระแสของ iPad และ tablet PC ทำให้พอจะความหวังที่จะได้อ่านเนื้อหาบนอุปกรณ์พกพาจอใหญ่ ๆ บ้าง แต่ก็ติดด้วยราคาและน้ำหนัก ทำให้ลองหันมามอง eReader ซึ่งราคาเริ่มลดลงมาอยู่ในระดับที่น่าสนใจ จนกระทั่งได้ตัดสินใจสั่ง BeBook Mini มาในที่สุด หลังจากใช้เวลากับมันมาประมาณ 1 เดือนแล้วก็ขอนำมาเล่าประสบการณ์ให้อ่านกันครับ
มีข่าวว่า ASUS จะวางขายเครื่องอ่านอีบุ๊กจอขาวดำขนาด 8" (ซึ่งตรงกับรุ่น DR-590 ตามข่าวเก่า รายละเอียดทั้งสองรุ่นของเครื่องอ่าน e-Book จากอัสซุส) ในเดือนตุลาคมนี้
แต่ราคาของมันน่าตกใจมาก คือขายที่ 599 ดอลลาร์ (ประมาณ 20,000 บาท) ซึ่งสูงกว่าคู่แข่งในตลาดมาก แถม ASUS ยังไม่มีร้านขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของตัวเอง เหมือนกับ Amazon หรือ Barnes & Noble ซะด้วย
ที่มา - DigiTimes
เริ่มมีข่าวของ "Zeen" แท็บเล็ตจาก HP ซึ่งออกแบบมาสำหรับอ่านหนังสือโดยเฉพาะ ระบบปฏิบัติการใช้ Android 2.1 และเชื่อมกับร้านขายหนังสือของ Barnes & Noble ได้ (ซึ่ง NOOK เป็น Android เหมือนกัน)
ตอนนี้ยังไม่มีภาพออกมา แต่ข้อมูลฮาร์ดแวร์ที่มีคือมีช่องเสียบ SD, จอสัมผัส capacitive, เล่นวิดีโอได้ และเครื่องต้นแบบมีกล้องมาด้วย (ไม่แน่ว่ารุ่นจริงจะมีหรือไม่) จุดขายสำคัญของมันคือสามารถ "พิมพ์" หนังสือออกมาผ่านเครื่องพิมพ์รหัส "Zeus" ซึ่งมีช่องสำหรับ dock อุปกรณ์กันโดยตรง ราคา Zeen+Zeus อยู่ที่ 399 ดอลลาร์ หรือประมาณ 13,000 บาท
ที่มา - Engadget
Richard Blumenthal อัยการสูงสุดประจำรัฐคอนเนตทิคัต ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องปราบคดีผูกขาด ได้เริ่มสอบสวนบริษัทที่ขายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่สองราย คือ Amazon (Kindle) และแอปเปิล (iBookstore) ว่าเข้าข่ายผูกขาดตลาดหรือไม่
ประเด็นที่อัยการสนใจคือสัญญาระหว่างสำนักพิมพ์กับบริษัทไอทีทั้งสอง เข้าข่ายกรณี Most favoured nation หรือได้ราคาพิเศษต่ำกว่าตลาดหรือไม่ เพราะถ้าเป็นแบบนี้จะส่งผลให้คู่แข่งรายอื่น (เช่น Barnes & Noble) เข้ามาเจาะตลาดได้ยากเพราะทำราคาสู้ไม่ได้
เรื่องนี้คงสู้กันอีกยาวครับ อุตสาหกรรม e-book เพิ่งจะเริ่มต้นเท่านั้น
สำหรับ Kindle รุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว (จะขอเรียกว่า Kindle 3 เพื่อความง่ายในการอ้างอิงนะครับ) แม้ว่าตัวเครื่องจะยังไม่ส่งมอบ แต่ทางเว็บไซต์ Kindle Chronicle ได้เยี่ยมสำนักงานของ Amazon และพบปะกับผู้บริหารของทีม Kindle ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้
Amazon เปิดเผยตัวเลขส่วนแบ่งตลาดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ตัวหนังสือ ไม่ใช่ตัว Kindle) เป็นครั้งแรก
Ian Freed หัวหน้าฝ่าย Kindle ของ Amazon ให้สัมภาษณ์กับ CNET ดังนี้
หลังจาก Amazon ออก Kindle รุ่นที่สาม ซึ่งมีเวอร์ชัน Wi-Fi ที่ขายเพียง 139 ดอลลาร์ ถูกที่สุดในท้องตลาด (และยังรวมถึง NOOK ที่หั่นราคาเหลือ 149 ดอลลาร์ก่อนหน้าไม่นาน)
ทาง Phil Lubell รองประธานฝ่าย e-book ของโซนี่ก็ให้สัมภาษณ์ว่า "โซนี่ไม่ต้องการแข่งขันในตลาดราคา แต่ต้องการคงคุณภาพและการออกแบบซึ่งเป็นจุดขายของเราเอาไว้" เขายังบอกว่าเครื่องอ่านของโซนี่ยังมีฟีเจอร์ที่คู่แข่งไม่มี อย่างการยืมหนังสือกัน (ซึ่ง NOOK มีแล้ว) และจอสัมผัสแบบเต็มจอเพียงรายเดียวในตลาด (NOOK ทำได้แค่จอล่าง)
ผมเห็นโซนี่ออกมาพูดลักษณะนี้ทีไร ผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมันต้องเจ๊งอยู่เรื่อยไปทุกที
Stieg Larsson นักเขียนนวนิยายเจ้าของผลงานชุด Millennium Trilogy กลายเป็นนักเขียนคนแรกที่สามารถขายหนังสือเวอร์ชัน Kindle ได้เกิน 1 ล้านเล่ม ซึ่งทาง Amazon มอบตำแหน่งสมาชิกคนแรกของ "Kindle Million Club" ให้เป็นที่ระลึก
หนังสือทั้งสามเล่มในชุดได้แก่ The Girl With the Dragon Tattoo, The Girl Who Played with Fire และ The Girl Who Kicked the Hornet's Nest
น่าเสียดายว่า Larsson ไม่มีโอกาสรับรู้ผลงานครั้งนี้ เพราะเขาเสียชีวิตในปี 2004 หลังเขียนต้นฉบับของหนังสือทั้งสามเล่มเสร็จไม่นาน
ที่มา - Amazon
Barnes & Noble ร้านหนังสือรายใหญ่ของสหรัฐ เดินตามรอย Amazon Kindle แทบทุกก้าว โดยล่าสุดส่งโปรแกรม NOOK for Android หลังจากที่มีเวอร์ชัน iPhone/iPad แล้ว
ลูกค้า NOOK สามารถซื้อและอ่านหนังสือจากโปรแกรมไหนก็ได้ เช่นเดียวกับ Kindle แต่ที่พิเศษกว่าคือเราสามารถแชร์หนังสือให้เพื่อนอ่านด้วยเป็นเวลา 2 สัปดาห์
นอกจากนี้ Barnes & Noble ยังรีแบรนด์สินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับ e-book ทั้งหมดของตัวเอง ให้อยู่ภายใต้ชื่อ NOOK เพื่อความสม่ำเสมอของแบรนด์ด้วย
ที่มา - TechCrunch
อาจจะตามหลังคู่แข่งอย่างโซนี่ไปสักหน่อย แต่ Sharp ออกมาให้ข้อมูลว่าจะวางขายเครื่องอ่าน e-book ที่เทียบเท่ากับคู่แข่ง โดยจะเริ่มจากประเทศญี่ปุ่นภายในปีนี้
ตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดมากนักเกี่ยวกับเครื่องอ่านตัวนี้ เรารู้แค่เพียงว่ามันจะวางขายในสหรัฐตามหลังญี่ปุ่น และในสหรัฐนั้น Sharp ได้คุยกับ Verizon เพื่อเป็นพันธมิตรสำหรับเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้ว
เครื่องอ่านของ Sharp จะรองรับฟอร์แมต XMDF ของชาร์ปเอง ซึ่งใช้ได้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์หลายตัวของ Sharp รวมถึงทีวีแบรนด์ Aquos ด้วย ฟอร์แมต XMDF เป็นฟอร์แมตเปิดที่ได้การรับรองจาก IEEE แต่นิยมใช้เฉพาะในญี่ปุ่นเท่านั้น สำหรับเครื่องอ่านรุ่นใหม่จะใช้ XMDF เวอร์ชันใหม่ครับ
นี่อาจเป็นข่าวประวัติศาสตร์ของทั้งวงการสิ่งพิมพ์ และวงการ e-book
Amazon ผู้ขายหนังสือรายใหญ่ของโลก ประกาศว่ายอดขายหนังสือในรอบ 3 เดือนล่าสุด พบว่าสามารถขายหนังสือเวอร์ชัน Kindle เทียบกับหนังสือปกแข็ง (hardcover) ได้ในอัตราส่วน 143:100 เล่ม และอัตราส่วนนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยรอบ 4 สัปดาห์ล่าสุดกลายเป็น 180:100 เรียบร้อยแล้ว ตัวเลขนี้ไม่รวมหนังสือฟรีบน Kindle นะครับ
ปัจจุบัน Amazon มีหนังสือขายบน Kindle ประมาณ 630,000 เรื่อง ส่วนหนังสือฉบับกระดาษมีมากกว่าเยอะ (เป็นหลักล้าน)
ห้องสมุดคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เดิมทีมีหนังสือ 80,000 เล่ม แต่หลังจากมหาวิทยาลัยปรับปรุงห้องสมุดแห่งนี้ใหม่ จำนวนหนังสือลดลงเหลือแค่ 10,000 เล่มเท่านั้น
ฟังดูแปลกๆ แต่หลายคนคงเดากันได้ว่าเพราะอะไร
หัวหน้าฝ่ายห้องสมุดของสแตนฟอร์ดให้สัมภาษณ์ว่า ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา มีหนังสือจำนวนมากที่ถูกวางทิ้งไว้บนชั้น โดยไม่มีใครยืมออกไปเลย บวกกับแนวทางของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ใช้ประโยชน์จากหนังสือเฉพาะบางหน้าเท่านั้น (เช่น หาสูตรคำนวณเพียงสูตรเดียว) ทางห้องสมุดจึงตัดสินใจเปลี่ยนหนังสือจำนวนมากเป็นหนังสือดิจิทัล เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นข้อมูลได้จากทุกที่ โดยไม่จำเป็นต้องมาห้องสมุด
นอกจากจะขาย eReader อย่าง Kobo, Aluratek Libre, Sony Touch,