European Union
เว็บไซต์ The Verge รายงานว่าคณะกรรมาธิการยุโรป (The European Commission) ลงนามในข้อตกลงจัดตั้งงบประมาณด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ (cybersecurity) อยู่ที่ 450 ล้านยูโร (ประมาณ 17,000 ล้านบาท) เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัย การคิดค้นนวัตกรรม การลงทุนและเสริมสร้างศักยภาพในด้านนี้ในหมู่สมาชิก
เมื่อคืนวันอังคารที่ผ่านมา เป็นวันสุดท้ายที่ชาวบริติชสามารถที่จะลงทะเบียนเพื่อไปเลือกตั้งประชามติ กรณีว่าสหราชอาณาจักรจะยังคงเป็นชาติสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่ ล่าสุดเกิดความวุ่นวายขึ้นเมื่อเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่จะถึงเวลาเที่ยงคืน ซึ่งเป็นเวลาปิดรับลงทะเบียน เว็บลงทะเบียนประชามติของรัฐบาลอังกฤษกลับล่ม ทำให้ชาวบริติชหลายคนที่ตัดสินใจลงทะเบียนนาทีสุดท้าย ไม่สามารถลงทะเบียนได้
วันที่ 7 มิ.ย. เป็นวันสุดท้ายของชาวอังกฤษในการลงทะเบียนยืนยันสิทธิ์การออกเสียงประชามติว่าอังกฤษจะอยู่ในสหภาพยุโรปต่อไปหรือไม่ และเมื่อวันศุกร์ที่ 3 มิ.ย.ที่ผ่านมา Facebook ได้เตือนความจำชาวอังกฤษถึงเรื่องนี้บนสุดของ News Feed ของพวกเขา ในวันเดียวกันนั้นเอง รัฐบาลอังกฤษเผยว่า มีประชาชนกว่า 186,000 คน ลงทะเบียนผ่านทางออนไลน์ยืนยันสิทธิ์ของตน สูงกว่าวันพฤหัสบดีเป็นสองเท่า ส่วนใหญ่มีอายุ 34 ปี หรือน้อยกว่า
พูดยากว่าการเตือนความจำของ Facebook ช่วยกระตุ้นให้มีคนมาลงทะเบียนยืนยันสิทธิ์ เพราะปัจจัยหนุนอาจไม่ได้เกิดจาก Facebook เพียงอย่างเดียว แต่การเพิ่มจำนวนของคนอายุน้อยช่วยตอกย้ำสมมติฐานดังกล่าวได้
ที่มา - The Atlantic
สหภาพยุโรปหรือ EU เตรียมจะออกคำแนะนำในวันพรุ่งนี้ ให้กลุ่มประเทศสมาชิกดำเนินการกับบริษัทด้าน Sharing Economy อย่าง Uber และ Airbnb อย่างเป็นมิตรมากยิ่งขึ้น โดยให้การแบนเป็นทางเลือกสุดท้าย ในกรณีที่ไม่มีบทลงโทษที่เบากว่านี้แล้ว
หากกลุ่มประเทศสมาชิกต้องการจะปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทหรือธุรกิจท้องถิ่น ทาง EU ก็แนะนำว่าควรจะหามาตรการควบคุมเป็นลำดับขั้นไปก่อน เช่นกรณี Airbnb ทางการควรจะกำหนดให้ผู้เช่า Airbnb เช่าได้ไม่เกิน 2-3 วันเท่านั้น
บริษัทไอทีอย่าง Facebook, Twitter, Microsoft และ YouTube เห็นพ้องกับคณะกรรมการสหภาพยุโรป ในการใช้ระเบียบปฏิบัติ ลบข้อความที่แสดงความเกลียดชัง (Hate Speech) ในโซเชียลมีเดีย
ปัญหานี้เกิดจากกลุ่มก่อการร้าย ISIS ใช้โซเชียลมีเดีย เผยแพร่โฆษณาชวนเชื่อและรับสมัครนักรบเข้าร่วมกลุ่ม ISIS
แม้โซเชียลมีเดียเป็นพื้นที่เปิดกว้างทางความคิดเห็น แต่ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา Twitter ระงับบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ ISIS ไปแล้วกว่า 125,000 บัญชี Facebook เองก็ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลเยอรมันตั้งแต่ปี 2015 ดูแลเรื่อง Hate Speech หลังจากนั้น Google และ Twitter ก็เข้าร่วมด้วย
วันนี้ บริษัทยักษ์ใหญ่ไอทีทั้งสี่ ตกลงทำสัญญาอย่างเป็นทางการกับ EU เพื่อให้นโยบายนี้ไม่เพียงบังคับใช้ในบางประเทศ แต่เป็นทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ระเบียบนี้ยังรวมถึงถ้อยคำเหยียดผิว เหยียดชาติพันธุ์ด้วย
กรรมการเพื่อการแข่งขันของสหภาพยุโรปเห็นว่า เอกสารทางวิทยาศาสตร์ ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์จะต้องเข้าถึงได้ฟรี โดยส่วนหนึ่งของเอกสารแถลงระบุว่า
"ปี 2020 เอกสารทางวิทยาศาสตร์ ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ได้รับงบประมาณสาธารณะ จะต้องเข้าถึงได้ฟรี และต้องสามารถนำข้อมูลวิจัยมาใช้ใหม่อย่างเหมาะสมได้ด้วย นอกเสียจากติดปัญหาด้านลิขสิทธิ์และความปลอดภัย"
เป้าหมายของภารกิจนี้ คือต้องหารลดช่องว่างและกำแพงของวิทยาศาสตร์ ให้สังคมได้รับประโยชน์อย่างจับต้องได้มากขึ้น สร้างบรรยากาศที่ดึงดูดการลงทุนในภาคใหญ่ และ Start-Ups จากภูมิภาคอื่นๆด้วย
อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ Sci-Hub แหล่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ออนไลน์ที่ใหญ่มากแห่งหนึ่ง สร้างบัญชีใน Telegram สามารถให้คนทั่วไปเข้าถึงเอกสารทางวิทยาศาสตร์ได้ถึง 48 ล้านชิ้น โดยระบุชื่อเอกสารผ่าน bot ของ Telegram
สตรีมมิ่ง Netflix และ Amazon Prime ถูกเรียกร้องให้มีเนื้อหาที่คณะกรรมาธิการ EU เสนออย่างน้อย 5 รายการในแคตตาล็อก กำหนดให้มีการประกาศในสัปดาห์หน้า เหตุที่มีการเรียกร้องเช่นนี้เพราะทางคณะกรรมาธิการ EU ต้องการเพิ่มการระดมทุนในภาพยนตร์ยุโรปและรายการโทรทัศน์ โดยทำการศึกษามาพบว่า ผู้กระจายเสียงทางวิทยุหรือโทรทัศน์ (broadcaster) ลงทุนราวๆ 20% ของรายได้ไปกับเนื้อหาของยุโรป แต่ได้รับส่วนแบ่งลดลงร้อยละ 1 อันมีสาเหตุจากธุรกิจสตรีมมิ่ง
ปัญหาอย่างหนึ่งของผู้ใช้บริการสตรีมมิ่งก็คือ เมื่อผู้ใช้เดินทางออกไปต่างประเทศแล้ว คอนเทนต์ที่เห็นในบริการก็จะเป็นคอนเทนต์เหมือนของประเทศที่เดินทางไป รวมถึงภาษาก็จะเป็นภาษาต่างประเทศด้วยเช่นกัน
ตอนนี้ EU ได้ออกกฎใหม่ โดยมีใจความสำคัญคือบริการที่บอกรับสมาชิกทั้งหลายจะต้องแสดงเนื้อหาให้ผู้ใช้เหมือนกับอยู่ที่บ้าน แม้ว่าจะเดินทางไปประเทศใดก็ตามในประเทศสมาชิกเป็นการชั่วคราว เช่น หากนักเดินทางชาวอังกฤษเดินทางไปสเปนในช่วงลาพักร้อน ก็ต้องได้ดูเนื้อหาของ Netflix เหมือนกับตอนอยู่บ้านที่อังกฤษทุกประการ
คณะกรรมการสิทธิเสรีภาพในรัฐสภายุโรป เห็นชอบกฎหมายไซเบอร์ใหม่ เพิ่มอำนาจให้หน่วยงานตำรวจของยุโรป หรือ Europol ในการจัดการรับมือการก่อการร้าย ด้วยคะแนนเสียง 40 - 3 ส่งผลให้ Europol จะสามารถทำงานตอบสนองได้ทันทีเมื่อเกิดภัยคุกคามใดๆ โดยเฉพาะการก่ออาชญากรรมข้ามพรมแดน และภัยการก่อการร้าย
หลังจากที่ศาลยุติธรรมของสหภาพยุโรปได้สั่งให้เสิร์ชเอ็นจินต้องลบผลการค้นหาตามคำร้องขอ ผู้ให้บริการเสิร์ชเอ็นจินรายใหญ่อย่างกูเกิลก็ได้ยอมทำตาม โดยที่ผู้ใช้จะไม่สามารถค้นหาผลที่ถูกลบได้ผ่านกูเกิลเวอร์ชันสำหรับประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (อาทิ google.co.uk สำหรับสหราชอาณาจักร) ต่อมาศาลพยายามขยายสิทธิ์ที่จะถูกลืมไปยังส่วนอื่นทั้งหมดของผู้ให้บริการสำหรับการให้บริการในสหภาพยุโรป
สภาผู้แทนสหภาพยุโรป (European Paliament) ลงคะแนนเห็นชอบแถลงการณ์เรียกร้องชาติสมาชิก ให้ยกเลิกคดีความของ Edward Snowden ทั้งหมดพร้อมทั้งให้ความคุ้มครองต่อการส่งตัวข้ามประเทศ เพื่อเป็นการแสดงความตระหนักว่าเขาเป็นผู้ปกป้องสิทธิมนุษยชน
มตินี้เป็นมติที่ไม่เป็นกฎหมาย แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี หากมีชาติในยุโรปที่ตอบรับมตินี้และให้ความคุ้มครอง Snowden ตัว Snowden ก็อาจจะออกจากรัสเซียได้
มติผ่านค่อนข้างฉิวเฉียดด้วยเสียงสนับสนุน 285 เสียงต่อ 281 เสียง พร้อมกับมติเรียกร้องให้ชาติสมาชิกปกป้องประชาชนจากการดักฟังเป็นวงกว้าง ที่ผ่านมาด้วยคะแนน 342 ต่อ 274 เสียง
ตัว Snowden แสดงความยินดีกับมตินี้และแสดงความหวังว่าเขาอาจจะได้ออกจากรัสเซีย
คณะตุลาการของศาลยุติธรรมยุโรปหรือ ECJ ได้มีคำพิพากษาให้ข้อตกลง เซฟ ฮาร์เบอร์ (Safe Harbour) ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ว่าด้วยการอนุญาตให้บริษัทต่างๆ ของสหรัฐ สามารถส่งข้อมูลส่วนตัวพื้นฐานของผู้ใช้และลูกค้าชาวยุโรป กลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ ณ ประเทศแม่ มีผลเป็นโมฆะ
คดีดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่นักศึกษาด้านกฎหมายชาวออสเตรีย ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมาธิการด้านการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของรัฐบาลไอร์แลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานเฟซบุ๊คในยุโรป ให้ตรวจสอบว่าเฟซบุ๊คว่าส่งข้อมูลใดกลับไปยังสหรัฐบ้าง แต่ทางการไอร์แลนด์ปฏิเสธคำร้องดังกล่าว โดยอ้างอำนาจของข้อตกลงเซฟ ฮาร์เบอร์ ทำให้นักศึกษาด้านกฎหมายผู้นี้ยื่นเรื่องต่อศาลยุติธรรมยุโรปแทน
หลังจากคณะกรรมการยุโรป (European Commission) ได้เสนอแผนปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมเมื่อปีก่อน สหภาพยุโรปมีมติยอมรับข้อตกลงยกเลิกการคิดค่าบริการโรมมิ่ง และความเป็นกลางในการให้บริการอินเทอร์เน็ต (net neutrality) แล้ว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการติดต่อสื่อสาร และผลักดันตลาดดิจิทัลร่วม (Digital Single Market) ภายในสหภาพ
ในปี 2016 สหภาพยุโรปจะออกข้อกำหนดด้านโทรคมนาคมใหม่ ที่ครอบคลุมถึงการจัดการคลื่นความถี่ภายในสหภาพยุโรปด้วยข้อกำหนดเดียวกัน โดยเข้าไปยุติข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องของแต่ละประเทศ และสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจเพื่อให้เอื้อต่อตลาดดิจิทัลร่วมและส่งเสริมเศรษฐกิจภายในสหภาพ
Europol จัดตั้งหน่วยเฝ้าระวังทางอินเทอร์เน็ต (internet referral unit) เพื่อค้นหาตัวการหลักของกลุ่ม Isis ที่ปั่นโฆษณาชวนเชื่อลงในสื่อสังคมออนไลน์เพื่อรับสมัครแนวร่วมในต่างแดน โดยกลุ่ม Isis โพสต์ข้อความลงบนสื่อออนไลน์กว่า 100,000 ครั้งต่อวัน จากบัญชีกว่า 50,000 บัญชี
The Financial Times รายงานว่าสหภาพยุโรปกำลังจับตาการเจรจากันระหว่างแอปเปิลกับค่ายเพลงต่าง ๆ เพื่อบริการสตรีมมิ่งเพลงของแอปเปิล โดยทางฝั่งของสหภาพยุโรปในตอนนี้ได้เริ่มสอบถามค่ายเพลงถึงรายละเอียดการเจรจากันดังกล่าวแล้ว
หลังจากที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาได้โหวตเพื่อบังคับให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ต้องให้บริการด้วยความเป็นกลาง (net neutrality) ล่าสุดสหภาพยุโรปกลับมีแผนที่จะทำตรงกันข้าม ด้วยการเสนอให้แบ่งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเป็นแบบเร็วกับแบบช้า โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสามารถเก็บเงินผู้ใช้หรือผู้ให้บริการทางด้านเนื้อหาเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้เร็วกว่าปรกติหากการกระทำดังกล่าวไม่ส่งผลเสียแก่ผู้ใช้รายอื่นที่ไม่ได้จ่ายเงินเพิ่ม
การซื้อแอพบนสมาร์ทโฟนส่วนมากนั้นผู้ใช้ไม่สามารถทดลองใช้แอพก่อนซื้อได้ ทำให้หลายครั้งพบว่าแอพนั้นไม่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ส่งผลให้ผู้ใช้ต้องพึ่งระบบขอคืนเงินและสินค้า ซึ่งแม้ว่าผู้ใช้แอนดรอยด์จะสามารถขอเงินคืนค่าแอพโดยไม่ระบุเหตุผลได้มานานแล้วหากการซื้อนั้นสมบูรณ์ไปไม่เกิน 2 ชั่วโมง และผู้ใช้ iOS ก็สามารถขอเงินคืนได้ผ่านการติดต่อฝ่ายสนับสนุนพร้อมระบุเหตุุผลที่เหมาะสม แต่เงื่อนไขดังกล่าวของทั้งสองฝ่ายขัดต่อกฎของทาง EU ที่ระบุว่าผู้ใช้จะต้องสามารถคืนสินค้าและขอเงินคืนได้โดยไม่ต้องระบุเหตุผลในระยะเวลา 14 วันนับจากวันที่ซื้อ
ย้อนไปเมื่อปี 2009 ที่คณะกรรมการยุโรป (European Commission หรือ EC) ทำข้อตกลงกับไมโครซอฟท์เรื่องหน้าจอเลือกเบราว์เซอร์ ซึ่งมีข้อผูกพันถึงปีนี้ และไมโครซอฟท์ก็ปฏิบัติมาตลอด ถึงแม้จะมีบางช่วงที่ไมโครซอฟท์ไม่ได้ใส่หน้าจอเลือกเบราว์เซอร์ไว้ (อาทิ Windows 7 Service Pack 1 ซึ่งส่งผลให้บริษัทโดนค่าปรับ 561 ล้านยูโร)
ล่าสุดไมโครซอฟท์เผยว่าข้อตกลงดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว และต่อไปบริษัทจะไม่มีหน้าจอเลือกเบราว์เซอร์ชื่อ Browser Choice ให้ผู้ใช้รายใหม่ในยุโรปอีกต่อไปครับ
ที่มา: Microsoft Support
หลังจากที่สภาของสหภาพยุโรป (The European Parliament) ได้ทำการตรวจสอบพฤติกรรมกีดกันการแข่งขันมาเป็นเวลาสี่ปีแล้ว วันนี้ทางสภาฯ ได้ลงมติเห็นชอบสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศเดินหน้าแยกส่วนธุรกิจประเภทค้นหาหรือ Search Engine ของกูเกิลออกจากบริการอื่น ๆ ของกูเกิล
ก่อนหน้านี้ในปี 2010 คู่แข่งของกูเกิลได้ออกมาเรียกร้องว่ากูเกิลได้พยายามผลักดันสินค้าและบริการอื่น ๆ ของบริษัทตัวเองให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ Search Engine ทำให้บริษัทอื่นไม่สามารถแข่งกับกูเกิลได้ และหากนับส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ Search Engine ของกูเกิลที่สูงถึง 90% ในสหภาพยุโรป สภายุโรปจึงได้ตัดสินใจเริ่มการสืบสวนกรณีดังกล่าว
หลังจากที่ศาลยุติธรรมของ EU ได้สั่งให้เสิร์ชเอ็นจินต้องลบผลการค้นหาตามคำร้องขอไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมานั้น ผู้ให้บริการเสิร์ชเอ็นจินรายใหญ่อย่างกูเกิลก็ได้ยอมทำตาม โดยที่ผู้ใช้จะไม่สามารถค้นหาผลที่ถูกลบได้ผ่านกูเกิลเวอร์ชันสำหรับประเทศในกลุ่ม EU เช่น google.co.uk สำหรับสหราชอาณาจักร หรือ google.de สำหรับประเทศเยอรมนี แต่ผู้ใช้ยังสามารถเข้าถึงผลการค้นหาทั้งหมดรวมถึงผลที่ถูกร้องขอให้ลบได้ผ่าน google.com
สหภาพยุโรปต้องการจะให้ Google แยกบริการค้นหา Google Search ออกมาเป็นบริการเดี่ยวโดยไม่ต้องพ่วงบริการอื่นของ Google เพื่อลดการผูกขาดทางการค้าที่ Google มีเหนือตลาดยุโรป
สภาพการณ์ที่หลายฝ่ายในยุโรปแสดงความวิตกว่า Google มีอิทธิพลเหนือการแข่งขันบริการทางอินเทอร์เน็ตเกินไปนั้น เกิดจากความนิยมใช้บริการค้นหา Google Search สูงกว่า 90% ในหมู่ผู้ใช้ในยุโรปเอง ซึ่งในการใช้งานผู้ใช้ก็จะได้รับข้อเสนอให้ใช้งานผลิตภัณฑ์และบริการอื่นของ Google แถมพ่วงมาด้วยตลอด
ประเด็นลิขสิทธิ์ของการนำข้อมูลจากเว็บอื่นมาแสดงในเว็บของตัวเอง เช่นการวางวิดีโอจาก YouTube หรือภาพจาก Flickr มาไว้ในเว็บ หากภาพที่มาละเมิดลิขสิทธิ์แล้ว ผู้ที่นำมาใส่เว็บจะละเมิดลิขสิทธิ์หรือไม่เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันทั่วโลก ตอนนี้สหภาพยุโรป (European Union) ก็ได้ข้อสรุปเบื้องต้นแล้ว เมื่อศาลยุติธรรมสหภาพแห่งยุโรปตีความว่าการนำข้อมูลจากเว็บอื่นมาฝังในเว็บตัวเองไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์
การตีความกฎหมายนี้ถูกส่งต่อมาจากศาลเยอรมัน โดยมีคดีระหว่างบริษัท BestWater International และชายสองคนที่นำวิดีโอของบริษัทวางในเว็บของชายทั้งสอง ตัววิดีโอถูกโพสครั้งแรกบน YouTube โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทาง BestWater
ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Surface Pro 3 ผ่านการรับรองจากสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหรัฐ (FAA) และสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติของสหภาพยุโรป (EASA) ให้สายการบินสามารถใช้ทดแทนคู่มือนักบินที่แสดงแผนที่และตารางต่างๆ แบบเป็นเล่มได้แล้ว
บริษัทยังเปิดตัว navAero คู่ค้าผลิตอุปกรณ์เสริมสำหรับ Surface ในการพัฒนาตัวยึดแท็บเล็ตเพื่อเชื่อมต่อกับระบบไฟและข้อมูลในห้องนักบิน และ Jeppesen ผู้พัฒนาแอพ FliteDeck Pro 8.0 ที่ทำให้นักบินสามารถดูข้อมูลเกี่ยวกับการบินที่ได้รับการเข้ารหัสควบคู่กับข้อมูลอื่น อาทิ พยากรณ์อากาศแบบเรียลไทม์ ไปพร้อมกันได้ด้วยฟีเจอร์ split screen ของ Windows 8
Qualcomm ผู้ผลิตชิปบนอุปกรณ์พกพารายใหญ่ของโลก อาจต้องข้อหาผูกขาดและกีดกันทางการค้าจากทางสหประชาชาติยุโรป (EU) เริ่มสอบสวนในประเด็นนี้จากการร้องเรียนโดย Icera บริษัทผู้ผลิตชิปสัญชาติสหราชอาณาจักรที่ถูก NVIDIA ซื้อไปเมื่อปี 2011
รายละเอียดข้อกล่าวหาของ Icera นั้นยังไม่เคยปรากฎแก่สาธารณะ แต่ทว่ามีวงในออกมาเปิดเผยประเด็นดังกล่าวว่า Icera จับได้ว่า Qualcomm เล่นตุกติกในการทำธุรกิจตั้งแต่การใช้สิทธิบัตรมายั่วยวนลูกค้า หรือแม้แต่กีดกันลูกค้าที่ทำธุรกิจกับ Icera เป็นต้น
ต่อจากข่าว EU กำลังสอบสวนกูเกิลผูกขาด Google Mobile Services ทำลายการแข่งขันบน Android Reuters รายงานข่าวว่าหน่วยงานกำกับดูแลด้านการค้าและการผูกขาดของยุโรป เตรียมกระบวนการ "สอบสวนอย่างเป็นทางการ" (formal probe) ต่อกูเกิลในประเด็นเรื่องการกีดกันบริการคู่แข่งบน Android
เหตุผลสำคัญที่หน่วยงานของยุโรปสนใจประเด็นการผูกขาดของกูเกิลคือส่วนแบ่งตลาด Android ที่สูงเกิน 80% ไปแล้ว โดยยุโรปมองว่ากูเกิลใช้ความได้เปรียบนี้โปรโมทบริการออนไลน์ของตัวเอง และกีดกันบริการของคู่แข่ง ซึ่งกรณีเหล่านี้รวมถึงข้อตกลงระหว่างกูเกิลกับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ ที่บังคับให้แสดงแอพของกูเกิลในตำแหน่งที่เด่นชัดด้วย