European Union
เครือข่าย 3 ในสหราชอาณาจักร (3UK) ได้เปิดแปลน Unlimited Data Roaming ภายในประเทศที่รองรับในทวีปยุโรปแล้ว โดยลูกค้าจะสามารถโหลดได้ไม่จำกัดโดยที่ต้องจ่ายค่าบริการเพียงแค่ 5 ปอนด์ต่อวันเท่านั้น (ประมาณ 250 บาทต่อวัน)
สำหรับข้อจำกัดการใช้งานที่ระบุใน Press Release ก็คือ 3 จะตัดนับวันทุก ๆ เที่ยงคืนตรงตามเวลาในสหราชอาณาจักร และผู้ใช้ไม่สามารถนำไปใช้ tether กับอุปกรณ์อื่น ๆ ได้
ที่มา - Engadget
สหภาพยุโรปเพิ่งผ่านร่างกฏหมายติดตามผู้ใช้ในอินเทอร์เน็ต หรือ Cookie law บังคับให้คนทำเว็บทั้งหมดต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ก่อน จึงจะสามารถติดตามผู้ใช้ด้วย cookie ได้ โดยกฏหมายนี้มีผลบังคับใช้เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา
ขณะที่เว็บไซต์จำนวนมากยังไม่สามารถปรับตัวตามกฏหมายนี้ได้ ในก็มีการร้องเรียนไปยังสำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของอังกฤษ (Information Commissioner’s Office - ICO) แล้วถึง 64 คำร้อง โดยทาง ICO ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่ามีเว็บไซต์ที่ถูกร้องเรียนจำนวนทั้งหมดเท่าใด เพราะคำร้องหลายชุดอาจจะร้องเรียนเว็บไซต์เดียวกันได้
โทษสูงสุดของการละเมิดความเป็นส่วนตัว คือปรับ 500,000 ยูโร
The Pirate Bay เพิ่มหมายเลข IP ใหม่ให้ผู้ใช้งานเพื่อช่วยในการเข้าถึงเว็บไซต์หลังจากประเทศในแถบยุโรปเช่นอังกฤษ และเนเธอร์แลนด์ ต่างเพิ่มมาตรการให้ ISP บล็อค The Pirate Bay โดยได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มผู้ใช้งานภายในประเทศที่มีการบล็อคการเข้าถึงเว็บไซต์
สำหรับการแก้ไขของ The Pirate Bay ในตอนนี้ไม่ใช่การแก้ไขในระยะยาว เพราะ ISP ก็สามารถบล็อคหมายเลข IP ที่ได้รับการเผยแพร่ใหม่นี้ได้เช่นกัน แต่ก็จะเห็นได้ว่าตัวเว็บไซต์ของ The Pirate Bay ยังได้รับการพัฒนาให้สามารถเข้าถึงผ่านทางพร็อกซี่ได้อย่างสะดวกมากขึ้นอีกด้วย
หลังจากมอซิลลาและกูเกิลได้กล่าวหาไมโครซอฟท์ว่าอาจกีดกันเบราว์เซอร์อื่นบน Windows RT ล่าสุดทางคณะกรรมการยุโรป (European Commission หรือ EC) ก็มีปฎิกิริยาต่อประเด็นดังกล่าวแล้ว
โฆษกของคณะกรรมการยุโรปเปิดเผยว่าได้รับทราบถึงข้อกล่าวหาแล้ว และยังคงจับตาดูว่าไมโครซอฟท์ยังดำเนินการตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้ในระหว่างการฟ้องร้องเมื่อปี 2009 ในข้อหาผูกขาดตลาดเบราว์เซอร์หรือไม่
ศาลของกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้มีคำสั่งให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศบล็อคการเข้าถึงเว็บ The Pirate Bay ไม่เช่นนั้นจะต้องถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 10,000 ยูโรต่อวัน โดยประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นประเทศที่สองหลังจากสหราชอาณาจักร ที่ศาลได้สั่งให้ไอเอสพีต่าง ๆ ทำการบล็อคเว็บสัญชาติสวีเดนนี้
ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม ไอเอสพีรายต่าง ๆ ของประเทศก็ได้ออกมาคัดค้าน และบอกว่าในฐานะผู้ประกอบการให้บริการอินเทอร์เน็ต พวกเขาไม่ได้มีหน้าที่ที่จะปิดบังข้อมูลหรือกีดกันการเข้าถึงเว็บใด ๆ
ที่มา - Huffington Post
ศาลยุติธรรมยุโรป ได้ตัดสินคดีที่ SAS Institute ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ทางสถิติ SAS ได้ฟ้องร้องบริษัท World Programming โทษฐานละเมิดลิขสิทธิ์ โดยระบุว่าฟังก์ชันของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และภาษาโปรแกรม ไม่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์แต่อย่างใด
จุดเริ่มต้นของคดีนี้เกิดจากว่า บริษัท World Programming (WPL) ได้ออกผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ในชื่อ World Programming System เพื่อใช้ทำงานร่วมกับสคริปต์ของ SAS โดยผู้ใช้งานสามารถสร้าง แก้ไข และรันสคริปต์รูปแบบที่ใช้ใน SAS ได้ WPL ได้ซื้อไลเซนส์ Learning Edition ของ SAS มาเพื่อทำการศึกษาการใช้งาน และไม่มีสิ่งใดบ่งชี้ว่า WPL ได้เข้าถึงหรือคัดลอกซอร์สโค้ดของ SAS
แอปเปิลได้ออกมาชี้แจงบนหน้าเว็บของตัวเองสำหรับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หลังจากที่ก่อนหน้านี้มีกระแสเรียกร้องว่าสินค้าของแอปเปิลมีประกันสินค้ามาให้เพียง 1 ปีซึ่งขัดกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคสหภาพยุโรป ที่บังคับให้ผู้ขายต้องประกันสินค้าสองปีหลังจากวันซื้อ โดยตามที่แอปเปิลออกมาชี้แจงนั้น พอจะสรุปได้ว่ากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของสหภาพยุโรปนั้น ไม่ใช่การประกันสินค้า และแอปเปิลก็ไม่ได้ดำเนินการผิดกฎหมายแต่อย่างใด
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อตอนต้นปีมีข่าว กูเกิลปรับข้อตกลงการใช้งาน รวมทุกบริการเข้าภายใต้ข้อตกลงเดียว ซึ่งการเป
แอปเปิลได้แจ้งให้ลูกค้าในเยอรมนีทราบว่าบริการ Push Mail ของ iCloud จะไม่สามารถใช้ได้ชั่วคราว เนื่องจากแอปเปิลถูกโมโตโรล่าฟ้องกรณีละเมิดสิทธิบัตร ทำให้ผู้ใช้บริการ iCloud เหลือทางเลือกเพียงแค่สองทางในการรับอีเมลจาก iCloud คือการเข้าไปใน Mail app ด้วยตัวเองทุกครั้ง หรือไม่ก็ตั้งให้ตัวเครื่องเช็คอีเมลทุก ๆ ระยะเวลา (manual fetch)
เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมานี้ ศาลได้ประกาศคำสั่งห้ามไม่ให้แอปเปิลให้บริการที่ไปละเมิดสิทธิบัตรของโมโตโรล่า โดยในขณะนี้แอปเปิลกำลังจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาล ในส่วนของโมโตโรล่าเองก็อาจจะต้องจ่ายค่าเสียหายให้กับแอปเปิล หากศาลตัดสินว่าแอปเปิลไม่ผิดกรณีดังกล่าว
ข่าวนี้จะต่อจากข่าวก่อนหน้านี้ ที่แอปเปิลยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการยุโรป (European Commission หรือ EC) ว่า Motorola Mobility
ในสหภาพยุโรปนั้นเมื่อมีการร่างมาตรฐานอุตสาหกรรมขึ้นมาแล้วมาตรฐานนั้นต้องใช้สิทธิบัตรบ้างชิ้น สิทธิบัตรนั้นจะถูกกำหนดให้อยู่ภายใต้ข้อกำหนด FRAND (fair, reasonable, and non-discriminatory) นั้นคือการให้สิทธิบัตรกับผู้ที่ขอซื้อสิทธิใช้งานในราคาที่เป็นธรรมและไม่เลือกที่รักมักที่ชัง เช่น การให้สิทธิบัตรกับผู้ผลิตรายหนึ่งราคาต่างจากอีกรายหนึ่ง ปัญหาคือในมาตรฐานทางด้านซอฟต์แวร์นั้น ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สไม่สามารถจ่ายค่าสิทธิบัตรได้เลย และข้อกำหนดเช่นนี้ก็ทำให้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สทำตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไม่ได้แม้เจ้าของสิทธิบัตรจะเต็มใจให้ใช้งานฟรีก็ตามที
สภาผู้แทนสหภาพยุโรป (European Paliament - EP) ได้อนุมัติแผนการจัดสรรคลื่นความถี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยแผนดังกล่าวจะเริ่มกำหนดให้รัฐที่เป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปต้องปล่อยคลื่นให้ตรงกัน โดยคลื่นก้อนแรกที่จะนำมาใช้งานคือบล็อค 800MHz ที่จะเปลี่ยนจากโทรทัศน์อนาล็อกมาใช้ในโทรศัพท์มือถือแบบ 4G แทน
ชาติต่างๆ ในสหภาพยุโรปนั้นเริ่มกระบวนการย้ายโทรทัศน์ออกจากระบบอนาล็อกไปแล้ว แต่ใบอนุญาตเดิมก็ยังไม่หมดอายุและยังมีการกระจายสัญญาณภาพบนความถี่เหล่านี้อยู่ แต่ภายในปลายปี 2012 นี้ ใบอนุญาตทั้งหมดจะหมดอายุลง แผนการจัดสรรคลื่นความถี่ของสหภาพยุโรปจะล็อกให้ชาติต่างๆ ต้องเตรียมคลื่นความถี่บล็อคนี้เอาไว้สำหรับเครือข่าย 4G เหมือนๆ กัน ช่วยลดปัญหาการใช้ช่องสัญญาณไม่ตรงกันในแต่ละชาติได้มาก
ต่อเนื่องจากข่าว กูเกิลใกล้ได้รับคำอนุมัติให้ซื้อโมโตโรลา จากรัฐบาลสหรัฐ-ยุโรป วันนี้ข่าวเป็นทางการมาแล้วครับ
กระบวนการซื้อกิจการระหว่างกูเกิล-โมโตโรลาใกล้สิ้นสุดลงเรื่อยๆ โดยล่าสุดสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานข่าววงในว่า หน่วยงานกำกับดูแลการผูกขาดของทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ใกล้จะอนุมัติเรื่องนี้เต็มที
บริษัทซัมซุง กำลังจะโดนคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) เข้าสอบสวนในข้อกล่าวหาละเมิดกฎหมายด้านการแข่งขันทางการค้า จากการใช้สิทธิบัตรฟ้องร้องคู่แข่ง
ประเด็นสำคัญในกรณีของซัมซุงคือ สิทธิบัตรที่ซัมซุงใช้ในการฟ้องร้องนั้น เป็นสิทธิบัตรสำคัญในมาตรฐานโทรคมนาคม 3G ที่ซัมซุงเคยให้สัญญาไว้กับสถาบันมาตรฐานโทรคมนาคมของยุโรปเมื่อปี 1998 ว่า จะอนุญาตให้เข้าถึงเทคโนโลยีในเงื่อนไขที่เป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ (fair, reasonable and non-discriminatory หรือ FRAND) ซึ่งเป็นจุดที่ซัมซุงจะโดนเพ่งเล็งมากที่สุดว่าได้ละเมิดสัญญาดังกล่าวหรือไม่
กรมป้องกันการผูกขาดของประเทศอิตาลี ได้ปรับบริษัทในเครือแอปเปิลสามบริษัทได้แก่ Apple Sales International, Apple Italia Srl และ Apple Retail Italia เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้นประมาณ 1.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐเนื่องจาก "พฤติกรรมการค้าที่ไม่ยุติธรรม"
จากรายงานของ WSJ ประเทศอิตาลีมีกฎหมายให้ผู้ขายสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ทุกรายต้องยินยอมให้การรับประกันหลังการขายสองปี และแจ้งให้ลูกค้าทราบ แต่แอปเปิลกลับไม่แจ้งข้อมูลดังกล่าวให้ลูกค้า อีกทั้งยังพยายามที่จะขาย AppleCare Protection Plan หรือการต่ออายุการรับประกันไปโดยไม่บอกว่า 2 ปีที่ได้การรับประกันเพิ่มมานั้น 1 ปีแรกมันไปทับกับสิทธิที่ลูกค้าทุกคนพึงได้อยู่แล้วตามกฎหมาย
การต่อสู้คดีกันในชั้นศาลระหว่างแอปเปิลกับซัมซุงเริ่มเป็นที่จับตามองโดยหน่วยงานรัฐหลาย ๆ ประเทศ ล่าสุดกรมส่งเสริมการแข่งขันของสหภาพยุโรป (EU Competition Commission) ได้ดำเนินการสืบสวนการต่อสู้ระหว่างสองบริษัทนี้แล้ว เนื่องจากกังวลว่าการต่อสู้ระหว่างสองบริษัทจะทำให้การแข่งขันในธุรกิจมือถือหยุดชะงักลงได้
หัวหน้ากรมส่งเสริมการแข่งขัน Joaquin Almunia ได้ขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิทธิบัตรที่กำลังเป็นข้อครหาจากทั้งสองบริษัทไปแล้ว และยังกล่าวอีกว่า แม้ว่าเคสนี้อาจจะไม่ใช่กรณีที่เอาสิทธิบัตรมาต่อสู้กันเพื่อหวังผลอื่น ๆ ในตลาด แต่การเกิดการฟ้องร้องกว่า 20 ครั้งใน 10 ประเทศทำให้เคสนี้ถือว่าเป็นเคสที่ใหญ่และควรให้ความสำคัญ
นับว่าเป็นครั้งแรก ที่พรรคการเมืองใหม่อย่าง The Pirate Party ได้ส่งตัวแทนเข้าทำงานจริงในสภารัฐเบอร์ลิน แห่งประเทศเยอรมนี และได้มีคะแนนนำพรรคของผู้นำประเทศอย่าง Free Democrats ไปได้โดยปริยาย โดยพรรคได้รับคะแนนทั้งหมด 8.9%
สมาชิกของพรรค Pirate Party ล้วนแล้วแต่มีอายุประมาณ 20-30 ปี (และยังใส่เสื้อฮูดแขนยาวกับเสื้อยืด Captain America อยู่) มีนโยบายหลักคือการส่งเสริมอิสระภาพบนโลกอินเทอร์เน็ต ที่น่าแปลกใจคือด้วยนโยบายที่ไม่อาจจะมีความสำคัญกับประชาชนที่มีอายุมากกว่าเลย แต่พรรคนี้ก็สามารถกวาดคะแนนได้มากกว่าพรรคเก่าแก่ของเยอรมนีหลาย ๆ พรรค
วันนี้ ศาลสูงภูมิภาคดุสเซลดอร์ฟของเยอรมนี ยังคงตัดสินเข้าข้างคำตัดสินเดิมของศาลชั้นต้น ที่ได้ตัดสินไว้เมื่อเดือนที่แล้วว่าให้มีการแบน Galaxy Tab 10.1 ของซัมซุงทั้งประเทศ โดยผู้พิพากษาได้กล่าวว่าสินค้าตระกูลแท็บเล็ตของซัมซุง มีความใกล้เคียงกับไอแพ็ดอย่างชัดเจน
นอกจากนี้ศาลยังบอกว่าดีไซน์ลักษณะ "minimalist" และ "modern form" แบบไอแพ็ดไม่ใช่วิธีเดียวในการดีไซน์แท็บเล็ต การดีไซน์แท็บเล็ตออกมาในแบบอื่น ๆ ซัมซุงก็สามารถทำได้
ต่อเนื่องจากกรณี Galaxy Tab 10.1 ถูกสั่งห้ามขายในยุโรป เนื่องจากคดีระหว่างซัมซุงกับแอปเปิล มีคนไปค้นพบข้อมูลในคำร้องของฝ่ายซัมซ
ศาลเยอรมนีที่เขต Dusseldorf รับคำร้องของแอปเปิล มีคำสั่งคุ้มครองให้ Samsung Galaxy Tab 10.1 หยุดวางขายในยุโรปเป็นการชั่วคราว (ยกเว้นประเทศเนเธอร์แลนด์ ที่แอปเปิลยื่นฟ้องเป็นอีกคดีแยกกัน) เนื่องจากแอปเปิลยื่นฟ้องว่าซัมซุงละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และก็อปปี้บางส่วนของ iPad 2
ซัมซุงสามารถอุทธรณ์คำสั่งนี้ได้ แต่กระบวนการยื่นอุทธรณ์ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 4 สัปดาห์ต่อจากนี้
โฆษกของแอปเปิลระบุว่า ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ผลิตภัณฑ์ช่วงหลังของซัมซุงหน้าตาคล้ายกับ iPhone/iPad และแอปเปิลต้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของตัวเอง
Facebook งานเข้าเสียแล้ว เพราะฟีเจอร์ Facial Recognition ที่เปิดให้ผู้ใช้ทั่วโลกเมื่อวาน กลายเป็นประเด็นถูกเพ่งเล็งด้านข้อมูลส่วนบุคคล
หลังเปิดตัวฟีเจอร์นี้ ก็มีองค์กรในยุโรป 3 องค์กรเข้ามาสนใจเรื่องนี้ โดยคณะกรรมการด้านข้อมูลข่าวสารของอังกฤษและไอร์แลนด์ เข้ามาหาข้อมูลว่าละเมิดกฎหมายด้านข้อมูลส่วนบุคคลหรือไม่ ประเด็นปัญหาคือการตั้งค่าของ Facebook เองที่ค่า default อนุญาตให้ผู้ใช้ถูกแท็กอัตโนมัติได้
องค์กรที่สามเป็นกลุ่ม NGO ด้านข้อมูลส่วนบุคคลของยุโรปชื่อ Article 29 Data Protection Working Party ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนจาก 27 ประเทศ และมีอิทธิพลต่อการออกกฎเกณฑ์ด้านข้อมูลส่วนตัวในยุโรปมาก
บริการของกูเกิลตัวหนึ่งที่สร้างเรื่องอื้อฉาวให้มากที่สุดคือบริการ AdSense ที่ขายโฆษณาบนหน้าค้นหาของกูเกิลเอง ปัญหาสำคัญของเรื่องนีคือเมื่อมีการขายโฆษณาบนหน้าค้นหาที่เป็นคำที่เป็นเครื่องหมายการค้า คู่แข่งโดยตรงอาจจะมาไล่ซื้อโฆษณาบนหน้านั้นๆ เพื่อเรียกลูกค้าเข้าไปยังหน้าเว็บของตัวเอง โดยที่ผ่านมาคำตัดสินของศาลดูจะอยู่ข้างกูเกิลตลอดมา แต่ข้อเรียกร้องใหม่จากเจ้าของแบรนด์ก็อาจจะทำให้มีการเพิ่มข้อกำหนดให้กูเกิลได้
ข้อเรียกร้องก่อนหน้านี้ของเจ้าของแบรนด์เหล่านี้ คือการห้ามไม่ให้กูเกิล (และผู้บริการโฆษณารายอื่นๆ ที่เล็กกว่ามาก) ขายโฆษณาบนคำที่เป็นเครื่องหมายการค้าเหล่านี้ แต่คำร้องเหล่านี้ก็ตกไปทั้งในสหรัฐฯ และในสหภาพยุโรป
กูเกิลถูกกำลังถูกคณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission - EC) สอบสวนหาหลักฐานว่ากูเกิลสามารถทำลายคู่แข่ง หรือกำหนดให้ผู้ลงโฆษณาไม่สามารถใช้บริการของผู้ให้บริการค้นหารายอื่นๆ ได้จริงหรือไม่ โดยขั้นตอนอยู่ระหว่างรอคำชี้แจงจากทางกูเกิลก่อนจะตัดสินใจดำเนินการต่อไป
หนึ่งในบริษัทที่ยื่นคำร้องไปยังคณะกรรมาธิการยุโรปคือบริษัท 1plusV ที่กูเกิลถอดเว็บไซต์ของบริษัทออกไปจากผลการค้นหาตั้งแต่ปีที่แล้วทำให้บริษัทเสียรายได้ไปนับล้านยูโร โดยบริษัท 1plusV ระบุว่าการถอดเว็บของบริษัทออกจากผลการค้นหาเป็นการปิดกั้นผู้ใช้ไม่ให้เข้าถึงเทคโนโลยีการค้นหาของบริษัท
ข่าวนี้ต่อจากข่าว คณะกรรมการของ EU ได้รับการร้องเรียนจากเว็บไซต์ในยุโรป 3 ราย เมื่อต้นปี หลังจาก EU ขอข้อมูลจากกูเกิลมาได้ระยะเวลาหนึ่ง ก็ตัดสินใจเริ่มกระบวนการสอบสวนอย่างเป็นทางการแล้ว
ข้อหาที่กูเกิลโดนร้องเรียน (ตามข่าวที่แล้ว) คือการลดคะแนนของเว็บคู่แข่งในผลการค้นหา แต่ EU จะสอบสวนเพิ่มอีก 2 ข้อหา ซึ่งเกี่ยวกับอันดับของโฆษณา AdWords และข้อจำกัดของการย้ายแคมเปญโฆษณาไปยังเว็บคู่แข่ง (เช่น Bing)
ถ้าพบว่ากูเกิลผิดจริง EU มีสิทธิ์ปรับเงินได้ไม่เกิน 10% ของรายได้ของบริษัท ซึ่งสถิติสูงสุดที่เคยโดนปรับคืออินเทล โดนไป 1.06 พันล้านยูโร