Google Search ประกาศซัพพอร์ตไฟล์รูปภาพแบบ AVIF หรือ AV1 Image File Format ที่ใช้ตัวเข้ารหัสวิดีโอ AV1 มาบีบอัดไฟล์ภาพนิ่ง
กูเกิลมีเครื่องมือหลายอย่างที่เรียกขึ้นมาทันทีเมื่อค้นหาผ่าน Google Search ซึ่งหนึ่งในนั้นคือนาฬิกาจับเวลา (Stopwatch) และตัวจับเวลา (Timer) ที่มีให้ใช้งานมานานแล้ว ล่าสุดกูเกิลปรับปรุงหน้าตาใช้งานให้สะดวกมากขึ้น
กูเกิลประกาศขยายประเทศที่รองรับ Google Search AI Overviews ฟีเจอร์ที่นำ AI มาช่วยตอบคำถามในหน้าผลการค้นหา หลังจากเปิดให้ผู้ใช้งานในอเมริกาทุกคนเมื่อเดือนพฤษภาคม
6 ประเทศที่เพิ่มเติมในรอบนี้ได้แก่ สหราชอาณาจักร อินเดีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย เม็กซิโก และบราซิล พร้อมรองรับการให้คำตอบเป็นภาษาท้องถิ่น ซึ่งกูเกิลบอกว่าได้ทดสอบมาแล้วระยะหนึ่ง
นอกจากนี้ AI Overviews ยังปรับปรุงการแสดงผลลิงก์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง โดยเวอร์ชันเดสก์ท็อปจะแสดงรายการลิงก์ที่ด้านขวา จากเดิมเป็น Card ด้านล่าง ส่วนเวอร์ชันมือถือแสดงลิงก์ที่มุมบนขวา ซึ่งกูเกิลบอกว่าการแสดงลิงก์ประกอบคำตอบนั้น ทำให้ทราฟิกเว็บที่ถูกระบุถึงเพิ่มสูงมากขึ้นด้วย
ซัมซุงประกาศขยายฟีเจอร์ Circle to Search ที่เคยเป็นเอ็กซ์คลูซีฟของมือถือระดับเรือธงอย่าง Galaxy S24 และ Galaxy Z Fold/Flip 6 มายังอุปกรณ์รุ่นอื่นๆ ได้แก่ Galaxy A และ Galaxy Tab S9 FE/FE+ ด้วย
มือถือชุดแรกที่เริ่มได้อัพเดตฟีเจอร์ Circle to Search ในเดือนนี้ (สิงหาคม) คือ Galaxy A55, A54, A35, A34 โดยรุ่นอื่นจะตามมาในระยะถัดไป
ที่มา - Samsung
กูเกิลเพิ่มเครื่องมือใหม่ต้อนรับวันอีโมจิโลก (17 กรกฎาคม) โดยนำฟีเจอร์ผสมอีโมจิ 2 อัน รวมร่างเป็นอีโมจิใหม่หรือ Emoji Kitchen มาให้ใช้งานใน Google Search แล้ว โดยค้นหาคำว่า emoji kitchen จะปรากฏกล่องเครื่องมือผสมอีโมจิ Emoji Kitchen นี้
Emoji Kitchen เป็นฟีเจอร์ที่กูเกิลเปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2020 ใช้งานได้บน Gboard ของ Android
ฟีเจอร์ Emoji Kitchen นี้ ยังขยายไปให้ใช้งานได้ใน Shorts บน YouTube อีกด้วย
ที่มา: Social Media Today
กูเกิลเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของ Circle to Search บนเวทีเปิดตัว Galaxy Z Fold 6 เมื่อวานนี้ ฟีเจอร์ที่ฮือฮาคือการใช้ Circle to Search ช่วยแก้โจทย์และสมการคณิตศาสตร์ แค่ถ่ายรูปโจทย์ เอานิ้ววาดวงกลมบนหน้าจอ แล้วจะได้แนวทางการแก้สมการมาให้เลย
The Information มีรายงานถึงความพยายามของกูเกิล เพื่อลดการพึ่งพาทราฟิกและรายได้โฆษณาจากการค้นหาในกูเกิลผ่าน Safari บน iPhone ซึ่งเป็นที่ทราบอยู่แล้วว่ากูเกิลจ่ายเงินให้แอปเปิล เป็นจำนวนเงินต่อปีที่สูง แลกกับการถูกกำหนดเป็นเสิร์ชเอ็นจินค่าเริ่มต้น ซึ่งตัวเลขในปี 2022 นั้นสูงถึง 2 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยคิดจากส่วนแบ่ง 36% ของรายได้โฆษณา
Google Search ยืนยันการเปลี่ยนแปลงในหน้าผลการค้นหาสำหรับผู้ใช้งาน โดยจะเลิกแสดงผลรูปแบบที่สามารถเลื่อนดูต่อเนื่องยาว ๆ เริ่มมีผลสำหรับเดสก์ท็อปตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และจะมีผลกับมือถือด้วยเช่นกัน โดยเมื่อเลื่อนไปสุดหน้า จะมีปุ่ม Next หรือ More results ที่ต้องกดต่อเพื่อดูเพิ่มเติม
กูเกิลเริ่มเปลี่ยนการแสดงหน้าผลค้นหา เป็นแบบเลื่อนดูต่อเนื่องยาว ๆ ไม่มีแถบแสดงลำดับหน้า มาตั้งแต่ปี 2021 สำหรับการค้นหาบนมือถือ และขยายมายังเดสก์ท็อปในปี 2022 เท่ากับว่ารูปแบบแสดงผลนี้ถูกใช้งานประมาณ 2-3 ปีเท่านั้น
กูเกิลประกาศจัดงาน Search Central Live ที่ประเทศไทย ซึ่งเป็นการกลับมาจัดงานในไทยครั้งแรกในรอบ 5 ปี (ครั้งสุดท้ายปี 2019 ก่อน Covid)
Search Central Live หรือชื่อเดิม Webmaster Conference เป็นงานสัมมนาฝั่ง Google Search มีเนื้อหาเกี่ยวกับ search engine, search console, SEO, Google Trends และเครื่องมืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
งานจัดวันที่ 9 สิงหาคม 2024 ที่โรงแรมคาร์ลตัน กรุงเทพ สุขุมวิท ใครสนใจเข้าร่วมงานสามารถลงทะเบียนได้ตามลิงก์
ที่มา - Google
กูเกิลอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้นของฟีเจอร์ AI Overviews ที่อยู่ด้านบนสุดของหน้าผลการค้นหา โดยให้คำตอบแบบสรุปจากสิ่งที่ถาม ซึ่งเมื่อขยายให้กับผู้ใช้มากขึ้นเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาในอเมริกา ทำให้เกิดรายงานการให้คำตอบแปลก ๆ หลายต่อหลายกรณี
กูเกิลเริ่มต้นด้วยการอธิบายวิธีการทำงานของ AI Overviews โดยย้ำว่าการทำงานนั้นแตกต่างจากแชทบอตหรือ LLM ตัวอื่น เป้าหมายคือการสรุปเนื้อหาเพื่อให้ผู้ใช้งานได้คำตอบเร็วที่สุด การเขียนคำตอบทำด้วยโมเดลภาษาที่ปรับแต่ง อิงจากอันดับผลการค้นหา การทำงานหลักจึงอยู่ที่ส่วนของ Search คำตอบที่ได้จึงมีลิงก์ให้ไปหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วย
กูเกิลทดสอบฟีเจอร์ใช้ Generative AI ช่วยตอบคำถามของผู้ใช้งานผ่านหน้าผลการค้นหามาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งปัจจุบันเรียกชื่อฟีเจอร์นี้ว่า AI Overviews และมีแผนขยายบริการนี้ไปยังผู้ใช้งานทุกคน โดยเริ่มที่สหรัฐอเมริกาในสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงทำให้มีรายงานการตอบคำถามของกูเกิลที่ดูไม่ค่อยดีเท่าใดนักออกมา
ผู้ใช้งานคนหนึ่งแชร์คำตอบของคำถามว่า ทำพิซซ่าอย่างไรให้ชีสไม่ไหลหลุดจากแป้ง ซึ่ง AI Overviews ตอบว่าให้ผสมกาวไป 1/8 ถ้วย จะช่วยได้ คำตอบนี้ย่อมไม่ถูกต้องและทำจริงไม่ได้ ที่น่าสนใจคือใน Reddit มีคนค้นพบว่า เคยมีคนตอบแบบนี้เมื่อ 11 ปีที่แล้ว ซึ่งน่าจะเป็นแหล่งข้อมูลที่กูเกิลนำมาใช้ตอบนั่นเอง
กูเกิลประกาศในงาน Google I/O ว่าบริการค้นหาข้อมูล Google Search ซึ่งมีฟีเจอร์ทดสอบที่ใช้ Generative AI ช่วยตอบคำถาม ตอนนี้มีชื่อเรียกว่า AI Overviews นั้น จะเปิดให้กับผู้ใช้งานทั้งสหรัฐอเมริกาภายในสัปดาห์หน้า และจะขยายไปยังผู้ใช้งานประเทศอื่นต่อไป เป้าหมายคือเข้าถึงมากกว่า 1 พันล้านคนภายในปีนี้
Google Search ยังประกาศเพิ่มเติมเครื่องมือและความสามารถใหม่ให้ AI Overviews ดังนี้
การไต่สวนในคดีที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ฟ้องกูเกิล เรื่องผูกขาดธุรกิจเสิร์ชเอ็นจิน ยังคงดำเนินต่อไป โดยมีเอกสารที่ถูกเผยแพร่ว่ากูเกิลจ่ายเงินให้แอปเปิล เพื่อแลกกับให้กูเกิลเป็นเสิร์ชเอ็นจินค่าเริ่มต้น เฉพาะในปี 2022 มูลค่าดีลอยู่ที่ประมาณ 20,000 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นจากปี 2021 ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 15,000 ล้านดอลลาร์
ดีลระหว่างกูเกิลกับแอปเปิลไม่ใช่เรื่องใหม่ และหลายคนก็ทราบดีอยู่แล้ว แต่มูลค่าที่กูเกิลจ่ายเงินให้แอปเปิลซึ่งเพิ่มสูงขึ้นทุกปี เป็นหัวข้อหนึ่งที่กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ใช้อ้างว่ากูเกิลมีพฤติกรรมพยายามผูกขาดตลาดนี้ไว้นั่นเอง
กูเกิลเปิด Gemini 1.5 Pro ให้คนทั่วไปใช้งานแล้ว หลังจากเปิดตัวแบบจำกัดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา พร้อมกับเพิ่มฟีเจอร์ค้นหาข้อมูลอ้างอิง (grounding) ทั้งการค้นด้วย Google Search และการค้นข้อมูลภายในองค์กรเอง
สำหรับการค้นข้อมูลในองค์กร เดิม Vertex AI มีบริการ Enterprise Search อยู่แล้ว ตอนนี้เพิ่มความสามารถเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลภายนอก เช่น AlloyDB หรือ BigQuery เข้ามาเพิ่ม และยังเชื่อมต่อแอปที่องค์กรใช้งานอยู่ เช่น Workday, Salesforce, ServiceNow, Hadoop, Confluence, และ JIRA
กูเกิลโพสต์บล็อกรายงานผลกระทบที่เกิดขึ้น หลังจากกฎหมายดิจิทัล Digital Markets Act หรือ DMA มีผลบังคับใช้ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เพื่อให้แพลตฟอร์มออนไลน์ขนาดใหญ่ เพิ่มโอกาสในการแข่งขันสำหรับผู้ให้บริการรายเล็ก โดยบอกว่าการเปลี่ยนแปลงนี้อาจมีข้อดี แต่ก็มีบางอย่างที่ต้องแลกด้วย
กูเกิลทดลองฟีเจอร์ แสดงผลลัพธ์จาก Generative AI หรือปัญญาประดิษฐ์สร้างเนื้อหา ในผลค้นหา มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งฟีเจอร์ที่ชื่อ Search Generative Experience (SGE) นี้ ผู้ใช้งานต้องเปิดใช้เองเพราะมีสถานะทดสอบ และกูเกิลดูพร้อมเปิดให้ใช้ทั่วไปแล้ว พร้อมเงื่อนไขนิดหน่อย
มีรายงานว่ากูเกิลกำลังพิจารณาให้ SGE เป็นฟีเจอร์ที่ต้อง "จ่ายเงิน" เพื่อใช้งาน ผ่านบริการ Subscription ต่าง ๆ เนื่องจากมองว่าเป็นระบบเสิร์ชที่ได้ AI มาเพิ่มเติม เบื้องต้นอาจพ่วงไปกับ Google One แพ็กเกจ AI Premium ที่ได้ใช้งาน Gemini Advanced อยู่แล้ว
Google Search เพิ่มเครื่องมือใหม่ คราวนี้เป็นวอลเลตเงินคริปโต โดยผู้ใช้งานสามารถเสิร์ชด้วยเลขที่อยู่ (Address) ของกระเป๋าบิตคอยน์ และกูเกิลจะแสดงผลลัพธ์เป็น Card ระบุจำนวนบิตคอยน์ที่มีในกระเป๋านั้น
ข้อมูลการเคลื่อนไหวของบิตคอยน์ทั้งหมดเป็นสาธารณะบนบล็อกเชน จึงสามารถตรวจสอบได้ แต่ไม่สามารถระบุเจ้าของได้
นอกจากบิตคอยน์แล้ว Google Search ยังสามารถค้นหาข้อมูลของบล็อกเชนที่ทำงานบน Ethereum ด้วย ซึ่งเชนที่รองรับตอนนี้ได้แก่ Arbitrum, Avalanche, Fantom, Optimism และ Polygon
ที่มา: 9to5Google
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ใหม่ให้ Circle to Search ค้นหาสิ่งต่างๆ จากภาพบนหน้าจอ ให้รองรับการแปลภาษาด้วย
ปกติแล้วเราอาจใช้ Google Lens หรือฟีเจอร์กล้องใน Google Translate แปลภาษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่ในชีวิตจริงรอบตัว แต่หากเราต้องการแปลหน้าเว็บหรือรูปภาพที่แสดงผลบนหน้าจออาจทำได้ลำบาก (ต้องแคปหน้าจอก่อนแล้วค่อยเข้า Google Translate อีกที)
ฟีเจอร์ Circle to Search ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหานี้ ตัวอย่างการใช้งานคือเข้าหน้าเว็บร้านอาหาร ที่มีภาพเมนูในภาษาต่างประเทศ สิ่งที่ต้องทำมีเพียงกดปุ่ม Home ค้างเพื่อเรียก Google to Search ขึ้นมา มีปุ่มแปลภาษาเข้ามาใหม่ด้านล่าง กดแล้วแปลสิ่งที่อยู่บนจอได้ทันที
กูเกิลปรับเปลี่ยนตำแหน่งฝ่ายบริหาร ส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริการ Search โดยแต่งตั้ง Liz Reid หัวหน้าทีมเสิร์ชหลัก ขึ้นเป็นหัวหน้าฝ่าย Search ที่ดูแลทั้งหมด ขึ้นตรงกับรองประธาน Prabhakar Raghavan ที่ดูแลภาพรวมกูเกิลหลายผลิตภัณฑ์
Liz Reid ทำงานกับกูเกิลตั้งแต่ปี 2003 ดูแล Google Maps ในช่วงแรก ตลอดจน Local Search และการนำ AI มาช่วยพัฒนาแผนที่ ส่วนผลงานช่วงที่ดูแลบริการเสิร์ช ได้แก่ Multisearch, การค้นหาด้วยเสียง และล่าสุดการนำ AI มาผนวกกับเสิร์ชเดิม Search Generative Experience
กูเกิลประกาศแนวทางเพื่อรับมือการค้นหาข้อมูล ที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งทั่วไป ซึ่งปีนี้จะมีการจัดการในหลายประเทศทั่วโลก โดยจำกัดการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้งบนแชทบอต Gemini มีผลแล้วตั้งแต่วันนี้สำหรับผู้ใช้งานในอเมริกาและอินเดียก่อน
กูเกิลบอกว่าคำค้นหาที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง เป็นหัวข้อที่ต้องให้ข้อมูลคุณภาพสูงและแม่นยำ จึงจำกัดการค้นหาที่เกี่ยวข้องนี้บนผลิตภัณฑ์ที่เป็น Generative AI ทั้งหมด อยู่ในระดับเดียวกับคำค้นหาอื่นที่เป็นการก่อกวนซึ่งถูกจำกัดอยู่แล้ว
กูเกิลประกาศปฏิบัติตามกฎหมาย Digital Markets Act (DMA) ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในสัปดาห์นี้
ประเด็นเรื่อง third-party app store บนระบบปฏิบัติการ Android นั้น กูเกิลบอกว่าไม่ต้องปรับแก้อะไรเลย เพราะทุกวันนี้ก็เปิดให้มี third-party app store รวมถึงการติดตั้งแอพแบบ sideloading อยู่แล้ว แถม Android 14 ยังปรับเพิ่มฟีเจอร์ให้ third-party app store อัพเดตแอพที่ติดตั้งในเครื่องได้ง่ายขึ้นอีกต่างหาก
ส่วนเรื่อง alternative billing นั้น กูเกิลยินยอมให้ใช้งานมาตั้งแต่ปี 2022 และบอกว่าจะเปิดให้แอพกลุ่มเกมสามารถโชว์วิธีการจ่ายเงิน 2 แบบเทียบกันได้เลย (user-choice billing) ในสัปดาห์นี้
Google Search ประกาศปรับปรุงอัลกอริทึม โดยบอกว่าเพื่อให้ผู้ใช้งานได้ผลลัพธ์การค้นหาเป็นคอนเทนต์ที่มีคุณภาพดีขึ้น ซึ่งเป็นการปรับปรุงต่อเนื่องจากการปรับอัลกอริทึมครั้งใหญ่เมื่อปี 2022 ที่ลดคอนเทนต์คุณภาพต่ำและตั้งใจทำมาเพื่อ SEO โดยเฉพาะ
กูเกิลเชื่อว่าอัลกอริทึมใหม่จะลดการแสดงคอนเทนต์คุณภาพต่ำ และเพิ่มผลลัพธ์จากเว็บเนื้อหาคุณภาพดีได้มากขึ้น จากการทดสอบเบื้องหลังพบผลลัพธ์คุณภาพต่ำน้อยลง 40%
กูเกิลอัพเดตความสามารถใหม่หลายอย่างให้กับ Chrome เพื่อช่วยแนะนำ (Search Suggestion) และปรับการค้นหาสิ่งต่าง ๆ เพื่อได้ไอเดียใหม่และทำให้การค้นหาง่ายมากขึ้น มีรายละเอียดดังนี้
ที่มา: กูเกิล
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์สถานะการทดลองใน Search Labs ชื่อว่า "Talk to a Live Representative" ที่กูเกิลจะโทรไปยังศูนย์บริการลูกค้าของหน่วยงาน ซึ่งปกติจะต้องรอสายเป็นเวลานานหากต้องการคุยกับเจ้าหน้าที่ โดยฟีเจอร์นี้จะช่วยตั้งแต่การกดหมายเลข ให้ไปถึงสิ่งที่ต้องการ ช่วยรอสายจนกว่าจะได้คุยกับเจ้าหน้าที่ แล้วแจ้งเตือนเมื่อถึงคิว เพื่อให้เราได้ไปสนทนา ทุ่นเวลาในการรอคอย
ฟีเจอร์นี้คล้ายกับ Hold for Me ที่มีเฉพาะลูกค้า Google Pixel แต่มีการปรับปรุงหลายอย่าง และ Talk to a Live Representative ก็เปิดให้ใช้งานได้กับทุกสมาร์ทโฟน ไม่จำกัดเฉพาะ Pixel อีกด้วย
เอกสารของซัมซุงเนเธอร์แลนด์ ยืนยันสิ่งที่หลายคนคาดเดาว่าฟีเจอร์ Circle to Search ของกูเกิลที่เริ่มใช้ใน Galaxy S24 และ Pixel 8 นั้นเป็นเอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะสมาร์ทโฟนของซัมซุงและกูเกิลเท่านั้น
ข้อมูลจากซัมซุงเนเธอร์แลนด์ในตอนแรก บอกว่าระยะเวลาเอ็กซ์คลูซีฟจะมีถึงวันที่ 5 ตุลาคม 2024 แต่ภายหลังข้อมูลนี้ถูกลบออกไป ทำให้ยังไม่ชัดเจนว่าตกลงแล้วระยะเวลายาวนานแค่ไหนกันแน่
ที่มา - Talk Android