NVIDIA เคยประกาศไว้ชัดว่าใน Tegra รุ่นต่อไป (น่าจะใช้ชื่อว่า Tegra 5) ที่ใช้รหัส Logan จะยกระดับสมรรถนะด้านกราฟิกอย่างก้าวกระโดด เพราะหน่วยประมวลผลกราฟิกจะยกเอาสถาปัตยกรรม Kepler ที่ใช้กับ GeForce รุ่นล่าสุดในปัจจุบันมาสู่โลกของอุปกรณ์พกพาด้วย (ดังนั้นมันจะรองรับ OpenGL ตัวเต็มและ DirectX 11 ด้วย)
ล่าสุด NVIDIA โชว์แสนยานุภาพของ Kepler รุ่นบนอุปกรณ์พกพาแล้ว โดยเอามันไปรัน Battlefield 3 ซึ่งให้ภาพที่สวยงามระดับเดียวกับพีซีไฮเอนด์ และทำให้กราฟิกบน iPad รุ่นปัจจุบันดูเก่าไปเลย
Kepler Mobile และ Logan มีกำหนดวางขายในปีหน้า 2014 ครับ ปีนี้เราก็อยู่กับ Tegra 4 กันไปก่อน
อินเทลออก Intel Linux Graphics Installer ตัวช่วยอัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอค่ายอินเทลบนลินุกซ์ให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันที่สุด
Intel Linux Graphics Installer จะทำหน้าที่ตรวจสอบเวอร์ชันของการ์ดจอ และเพิ่ม repository ของซอฟต์แวร์ที่ตรงกับการ์ดจอของเราให้ (ใช้ได้กับ Ubuntu 12.04/12.10 และ Fedora 17/18) จากนั้นก็อัพเดตผ่านระบบจัดการแพกเกจตามปกติ
ใครเข้าข่ายทั้งการ์ดจอและระบบปฏิบัติการ ตามไปดาวน์โหลดจากเว็บ Intel Open Source
NVIDIA เปิดตัว GeForce 700M Series ที่อิงอยู่บนสถาปัตยกรรม Kepler รุ่นปรับปรุงเพิ่มเติม (จาก GeForce 600 Series) โดยเริ่มจากเปิดตัวจีพียูฝั่งของโน้ตบุ๊กก่อน ของใหม่มีดังนี้ครับ
วันนี้ (19 ก.พ.) NVIDIA ได้ทำการปล่อยการ์ดจอรุ่นพิเศษ โดยจะใช้ชื่อรุ่นว่า **GeForce GTX Titan** โดยเจ้า Titan ให้มาพร้อม CUDA Cores ที่มากถึง 2688 Cores ส่งผลให้สามารถประมวลผลด้วยความเร็วมากถึง 4.5 Teraflops
NVIDIA นำการ์ดจอใบนี้ ไปทดสอบประมวลผลกับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกอย่าง **TITAN** (ถ้าจำไม่ได้ ย้อนดูข่าวนี้) ที่ Oak Ridge National Laboratory ในรัฐเทนเนสซีเมื่อเดือนตุลาที่ผ่านมา และเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จ NVIDIA จึงสู่การ์ดจอตัวดังกล่าวสู่ตลาดโดยใช้ชื่อ **GeForce GTX Titan** ครับ
ส่วนรายละเอียด ราคา ภาพ และวีดีโอ เชิญหลังเบรค และที่มาเลยครับ
โดยสเปคคร่าวๆ ก็จะมีดังต่อไปนี้:
Ian Romanick ตัวแทนของอินเทลไปพูดที่งานสัมมนาโอเพนซอร์ส FOSDEM 2013 โดยเขาบอกว่าปัญหาของการเล่นเกมบนลินุกซ์ในปัจจุบันคือไม่มีซอฟต์แวร์กลางที่ช่วยให้เกมตรวจสอบฮาร์ดแวร์ภายในเครื่องได้ ส่งผลต่อการปรับแต่งประสิทธิภาพของกราฟิกในเกม
ปัจจุบันวิธีที่ผู้สร้างเกมบนลินุกซ์ใช้กันคืออ่านค่าฮาร์ดแวร์จาก libpci แล้วแกะค่า vendor/device ID มาตรวจสอบหา GPU ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย แถมใช้กับระบบที่มี GPU หลายตัวไม่ได้
อินเทลประกาศว่าจะแก้ปัญหานี้โดยทำที่ระดับของไลบรารี Mesa ซึ่งมีกำหนดเสร็จในปีหน้า ถ้าหากว่าทางแก้นี้ทำงานได้จริงและ NVIDIA/AMD เข้าร่วมด้วย วงการเกมบนลินุกซ์ก็น่าจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว
เว็บไซต์ AnandTech รายงานข้อมูลที่ยังไม่ยืนยันว่า Exynos 5 Octa ชิปรุ่นล่าสุดของซัมซุงที่เพิ่งเปิดตัว เปลี่ยนหน่วยประมวลผลกราฟิกจาก ARM Mali มาเป็น Imagination PowerVR (ตัวเดียวกับที่ชิป AX ของแอปเปิลใช้งานอยู่ในปัจจุบัน)
ซัมซุงเคยใช้จีพียู PowerVR มาแล้วครั้งหนึ่งใน Galaxy S รุ่นแรกที่ใช้ซีพียูรหัส "Hummingbird" แต่หลังจากนั้นใน Galaxy S II เป็นต้นมา ก็เปลี่ยนมาใช้จีพียู Mali ของบริษัท ARM โดยตรง
ใน Exynos 5 Dual รุ่นที่เปิดตัวมาก่อนหน้านี้ ซัมซุงยังเลือกใช้งาน Mali-T604 แต่พอมาเป็น Exynos 5 Octa กลับเปลี่ยนเป็น PowerVR อีกครั้ง
AMD ใช้เวทีงาน CES 2013 เปิดตัว GPU แบรนด์ Radeon HD ซีรีส์ใหม่ที่นับเลขมาถึง 8000 แล้ว โดยแบ่งเป็น 8000 สำหรับเดสก์ท็อป และ 8000M สำหรับโน้ตบุ๊ก
แต่อย่าให้ตัวเลขหลอกครับ เพราะ Radeon HD 8000 ชุดนี้ไม่ใช่ของใหม่ทั้งหมด
ต้องย้อนความก่อนเล็กน้อยว่า Radeon 7000 รุ่นสำหรับเดสก์ท็อป (เปิดตัวครั้งแรกปลายปี 2011) เป็นการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมครั้งใหญ่มาเป็น GCN (Graphics Core Next หรือรหัส Southern Islands) แต่ Radeon HD 7000M สำหรับโน้ตบุ๊ก จะมีบางตัวเฉพาะรุ่นท็อปๆ เท่านั้นที่เป็น GCN และตัวต่ำหน่อยยังใช้สถาปัตยกรรมเดิม Northern Islands อยู่
ในงานแถลงข่าวของ NVIDIA ที่งาน CES 2013 นอกจากเปิดตัว Tegra 4 และเครื่องเล่นเกม Project SHIELD แล้วยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 1 ตัวครับ
ชื่อของมันคือ NVIDIA Grid อธิบายง่ายๆ มันเป็นแร็คที่ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์สีเขียว-ดำ 20 ตัว ภายในอัด GeForce มาทั้งหมด 240 ตัว (ไม่ระบุรุ่น) พลังประมวลผลรวมกัน 200 TFLOPS เทียบได้กับ Xbox 360 จำนวน 700 เครื่อง
สองปีก่อนเราเห็น Creative บริษัทที่ทำตลาดซาวการ์ดและอุปกรณ์ควบคุมเกมเป็นหลักมาลงทุนทำชิป ARM ในบริษัทลูกที่ชื่อว่า ZiiLabs และผลิตออกมาเป็นแท็บเล็ตสองรุ่นที่ไม่ประสบความสำเร็จนัก ในวันนี้อินเทลก็ประกาศเข้าซื้อ "ทรัพย์สิน, วิศวกร, และสิทธิการใช้สิทธิบัตร" ของ ZiiLabs จาก Creative
ชิปรุ่นต่อไปของ AMD สำหรับเดสก์ทอปคือ Trinity หมายเลขรุ่น A10 ถูกส่งให้กับหลายเว็บไซต์ทดสอบแล้ว เช่น AnandTech, PC Pro, และ Hot Hardware โดยชิปที่ใช้ทดสอบ คือ A10-5800K
ทุกเว็บไซต์มักให้เฉพาะผลทดสอบกราฟิกเป็นหลัก ซึ่งเอเอ็มดีก็ทำได้สูงกว่าอินเทลที่ใช้กราฟิก HD 4000 เป็นเท่าตัว ที่น่าสนใจคือทุกเว็บไซต์แทบไม่มีผลการทดสอบฝั่งซีพียูเลย แม้แต่แอพพลิเคชั่นทั่วไป ก็ยังยกตัวอย่างการเข้ารหัสด้วย OpenCL มีแต่ PC Pro ที่ระบุว่ารันซอฟต์แวร์ทดสอบของตัวเอง พบว่า A10-5800K ได้คะแนน 0.76 ดีกว่า A8-3870K ที่ได้ 0.7 และยกตัวอย่างชิปอินเทลเป็น Core i3 รุ่น Sandy Bridge ที่ได้คะแนนระหว่าง 0.77 ถึง 0.79
Trinity เป็นชิปรุ่นเดสก์ทอปตัวแรกที่ใช้สถาปัตยกรรม Bulldozer ที่เคยใช้กับ Opteron มาก่อน
NVIDIA เปิดตัวการ์ดจอตระกูล Kepler ใหม่อีกสองตัวคือ GeForce GTX 660 และ GeForce GTX 650
GeForce GTX 660 มี CUDA core จำนวน 960 คอร์, หน่วยความจำ 2GB, memory bandwidth 144 GB/s, กินพลังงาน 150 W, ต่อ SLI ได้ 2 ตัว ราคา 229 ดอลลาร์ ถือเป็นรุ่นกลางที่ลดหลั่นลงมาจาก GeForce 670 ที่เปิดตัวในเดือนพฤษภาคม
GeForce GTX 650 มี CUDA core จำนวน 384 คอร์, หน่วยความจำ 1GB, memory bandwidth 80 GB/s, กินพลังงาน 64 W, ต่อ SLI ไม่ได้, ราคา 109 ดอลลาร์ น่าจะเป็น Kepler รุ่นสำหรับเดสก์ท็อปที่ถูกที่สุดไปอีกนาน (อัพเดต มี GT 640 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ ถูกกว่าคือ 99 ดอลลาร์)
ความสัมพันธ์ของ NVIDIA กับโลกของลินุกซ์นั้นไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากบริษัทไม่ยอมปล่อยซอร์สไดรเวอร์ GPU ของตัวเอง และไดรเวอร์แบบปิดซอร์สก็มีคุณภาพไม่ดีเท่าที่ควร
แต่สัญญาณความร่วมมือในช่วงหลังก็เป็นไปในทางบวกมากขึ้น เพราะวิศวกรของ NVIDIA ออกมาให้ข้อมูลว่ากำลังพัฒนาไดรเวอร์ของฟีเจอร์ Optimus (การสลับ GPU อัตโนมัติ) บนลินุกซ์อยู่ โดยจะทำงานร่วมกับนักพัฒนาสายโอเพนซอร์ส ที่เตรียมโครงสร้างของฝั่ง X.Org ให้ใช้งานร่วมกับไดรเวอร์แบบปิดของ NVIDIA ได้ดีขึ้น
ตอนนี้ไดรเวอร์ฝั่ง NVIDIA เพิ่งอยู่ในช่วงทดสอบความสามารถนี้ คนที่อยากใช้คนต้องรอกันอีกหน่อย
หลังจากที่ NVIDIA ได้ประกาศ GPU รุ่นใหม่ "GK104" บนสถาปัตยกรรม Kepler ไปเมื่อเดือนมีนาคม ซึ่งก็มีผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใช้ทั่วไป อย่าง GeForce GTX690 และ GeForce GTX670 และการ์ดการคำนวณโดยทั่วไป (general-purpose GPU) อย่าง Tesla K10 ออกมาแล้ว คราวนี้ก็ถึงคราวการ์ดกราฟิกสำหรับมืออาชีพอย่าง Quadro เสียที
Quadro K5000 เป็นการ์ดกราฟิกสำหรับมืออาชีพที่ใช้ชิป GK104 เช่นเดียวกับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ว่ามาแล้วทั้งหมด โดยเป็นรุ่นที่มาแทน Quadro 5000 ซึ่งใช้ชิพรุ่นเก่าบนสถาปัตยกรรม Fermi (GF100) Quadro K5000 จะมีราคาตั้งอยู่ที่ 2,249 เหรียญสหรัฐฯ และจะเริ่มวางขายในเดือนตุลาคมปีนี้
ความสำเร็จของ Mali-400 ที่ ARM สร้างคอร์กราฟิกขายให้กับลูกค้าไปผลิตพร้อมๆ กับซีพียู จากที่ก่อนหน้านี้ต้องไปซื้อคอร์กราฟิกจากผู้ผลิตรายอื่น ทำให้รุ่นที่สองของ Mali ออกมาอย่างรวดเร็ว โดย Mali-T600 ออกมาพร้อมกันสามตัว ได้แก่
ขออนุญาตเขียนข่าวนี้รวมกับข่าวช่องโหว่ในตอนแรกด้วยเลยนะครับ เรื่องมีอยู่ว่าเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา Dave Airlie วิศวกรซอฟต์แวร์ที่ทำงานอยู่กับ Red Hat ฝ่ายกราฟิก ได้แจ้งช่องโหว่ของไดรเวอร์ NVIDIA บนลินุกซ์ โดยในรายละเอียดบอกว่าเขาไม่ได้เป็นผู้ค้นพบช่องโหว่นี้ แต่เขาได้รับช่องโหว่นี้จากบุคคลนิรนามรายนึงซึ่งอ้างว่าได้ส่งช่องโหว่นี้กับให้ทาง NVIDIA แล้ว แต่ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ เลย บุคคลนิรนามที่ค้นพบช่องโหว่แสดงความต้องการให้ช่องโหว่นี้ได้รับการแพตซ์โดยเร็ว เขาจึงจำเป็นต้องประกาศช่องโหว่นี้ออกสู่สาธารณะ (mailling list)
อีกหนึ่งความสามารถของ Retina MacBook Pro ที่ยังไม่มีใครพูดถึงมากนักก็คือการแสดงผลในโหมด scaling หรือว่าง่าย ๆ คือการแสดงผลที่ให้พื้นที่ในการทำงาน (desktop space) เทียบเท่ากับ 1680x1050 หรือ 1920x1200 ซึ่งหากเทียบกับโหมด Retina ปกติแล้ว ถึงแม้ว่าภาพและตัวหนังสือจะมีความละเอียดสูงมากกว่าจอภาพเดิม 4 เท่าด้วยหน้าจอความละเอียด 2880x1800 ก็ตาม แต่พื้นที่ในการใช้งานของผู้ใช้จริง ๆ แล้วก็เทียบเท่ากับหน้าจอ 1440x900 เท่านั้น
สงครามน้ำลายระหว่างโลกโอเพนซอร์สกับกับผู้ผลิตชิปกราฟิกนั้นเป็นไม้เบื่อไม้เมาที่ดูจะไม่มีวันจบ เช่น NVIDIA ที่ถูกไลนัสด่ากลางงานสัมมนา แม้ AMD จะเป็นมิตรด้วยการส่งโปรแกรมเมอร์มาช่วยโครงการโอเพนซอร์สบ้างและเปิดเอกสารบางส่วนแต่ก็ยังล้าหลังไดร์เวอร์ปิดซอร์สอยู่มาก แต่รายที่เป็นมิตรกับลินุกซ์ที่สุดคืออินเทลนั้นวันนี้ก็เดินหน้ามาอีกขั้นด้วยการเปิดเอกสาร API ของซีพียูทั้งหมด ทั้งส่วนของ CPU และ GPU ความหนากว่า 2,400 หน้าอธิบายกระบวนการทำงานภายในอย่างละเอียด
หลังจากที่ทาง AMD ได้ออก Radeon HD 7970 รุ่นสุดยอดกราฟิกไปเมื่อปีที่แล้ว ล่าสุดทาง AMD ได้เปิดเผยชิปกราฟิกที่แรงกว่าตัวนี้แต่ยังอยู่ในตระกูลเดิม นั่นคือ Radeon HD 7970 GHz edition ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ชิปตัวนี้ได้กระโดดเข้ามาเป็นความถี่ระดับ GHz พอดี
เอเอ็มดีเพิ่งประกาศร่วมมือกับฝั่ง ARM ทำโครงการ HSA (Heterogeneous System Architecture) ทำหรับการใช้ชิปกราฟิก (และชิปพิเศษอื่นๆ) มาช่วยประมวลผล เมื่อวานนี้ทางพนักงานของเอเอ็มดีก็ระบุว่าในการเปิดตัว HSA นั้นทางเอเอ็มดีได้ประกาศไปแล้วว่าจะเปิดซอฟต์แวร์จำนวนมากที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของแนวคิด HSA ออกมาเป็นโอเพนซอร์ส
การชี้แจงเช่นนี้เป็นการตอบข่าวที่ว่าเอเอ็มดียังคงพัฒนาไดร์เวอร์หลักผ่านทางบนลินุกซ์ ผ่านทางไดร์เวอร์ Catalyst ซึ่งเป็นไดร์เวอร์ปิดของทางเอเอ็มดี และมีปัญหากับการอัพเกรดเคอร์เนลเช่นเดียวกับ NVIDIA แต่ที่ผ่านมาเอเอ็มดีส่งโปรแกรมเมอร์มาช่วยพัฒนาไดร์เวอร์โอเพนซอร์สด้วยกระแสต่อต้านจึงต่ำกว่าพอสมควร
เมื่อวานหลังจากมีข่าว NVIDIA ถูกไลนัสด่ากลางห้องประชุมมหาวิทยาลัย วันนี้ทาง NVIDIA ก็ออกจดหมายข่าวตอบโต้แล้ว โดยระบุว่าปัญหาของเทคโนโลยี Optimus ที่เป็นคำถามจากนักศึกษาว่าทำไมลินุกซ์จึงได้รับซัพพอร์ตเทคโนโลยีนี้ช้ากว่าแพลตฟอร์มอื่น และต้องอาศัยการซัพพอร์ตจากชุมชนผ่านทางโครงการ Bumblebee นั้นทาง NVIDIA ได้ช่วยแก้ตัวติดตั้งไดร์เวอร์และไฟล์ Readme ให้สามารถทำงานร่วมกับ Bumblebee ได้ดีขึ้น
ARM เผยรายละเอียดจีพียูตัวใหม่สำหรับสมาร์ทโฟนตลาดกลางๆ ในรุ่น Mali-450 MP ที่เพิ่มจำนวนคอร์จากรุ่นเดิม (Mali-400 MP) ที่มีสี่คอร์ ไปสูงสุดที่แปดคอร์ คำนวณประสิทธิภาพแล้วอย่างน้อยๆ ควรจะมากขึ้นเท่าตัว (ในส่วนนี้ ARM ไม่ได้ให้รายละเอียดไว้)
รอบออกของ Mali-450 MP จะอยู่ในช่วงกลางปี 2012 ช่วงเดียวกับที่ตัวท็อปอย่าง Mali-T604 กำลังลงตลาดพอดี ส่วน Mali-400 MP ตัวก่อนหน้าจะถูกดันลงไปตลาดล่างแทน
นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดของจีพียูรุ่นท็อปตัวต่อจาก Mali-T658 (ที่จะออกช่วงกลางปี 2013) ในรหัส Skrymir มาด้วย แต่ยังไม่มีรายละเอียดอื่นใดนอกจากว่าจะเริ่มออกในช่วงกลางปี 2014 เท่านั้นเอง
ไม่ใช่เรื่องแปลกที่ไลนัส ทอร์วัลด์ ผู้สร้างลินุกซ์จะจิกกัดใครต่อใครเจ็บๆ แต่การขึ้นเวทีมหาวิทยาลัย Aalto ในฟินแลนด์ก็อาจจะเป็นพัฒนาขั้นใหม่ เมื่อเขาถูกถามความเห็นต่อไดร์เวอร์ของการ์ดจอ NVIDIA ในลินุกซ์ และได้ระเบิดอารมณ์ออกมา
ปัญหาของไดร์เวอร์การ์ดจอบนลินุกซ์นั้นเป็นปัญหาที่เรื้อรังมายาวนาน ผู้ผลิต (รวมถึง NVIDIA และ ATI) มักอ้างความลับทางการค้าทำให้ไม่ยอมเปิดซอร์สโค้ดของไดร์เวอร์หลัก ทำให้มีปัญหาทุกครั้งที่ต้องอัพเกรดเคอร์เนล ขณะที่ไดร์เวอร์โอเพนซอร์สที่ชุมชนช่วยกันดูแลนั้นจะมีปัญหาเรื่องการอัพเกรดน้อยกว่า แต่ก็รองรับฟีเจอร์ในการ์ดน้อยกว่าเช่นกัน ไลนัสระบุว่ายิ่ง NVIDIA ทำงานร่วมกับแอนดรอยด์มากเพียงใด ก็ยิ่งควรให้ความสำคัญกับลินุกซ์มากขึ้นและซัพพอร์ตให้ดีกว่านี้
AMD ประกาศจับมือกับ ARM และผู้ผลิตชิป ARM อีกสามรายคือ Imagination, MediaTek, Texas Instruments ประกาศตั้งองค์กร HSA Foundation (Heterogeneous System Architecture Foundation) เพื่อสร้างมาตรฐานกลางของการประมวลผลแบบใหม่ "Heterogeneous Processing"
Heterogeneous Processing คือชิปประมวลผลที่ประกอบด้วยหน่วยประมวลผลต่างชนิดกัน (เช่น CPU+GPU) อยู่บนชิปแผ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นแนวทางที่ AMD ผลักดันมาตลอดกับซีพียูตระกูล Fusion/APU และไปกันได้กับทิศทางเรื่อง SoC ในโลกอุปกรณ์พกพา
ใครมีแผนจะซื้อโน้ตบุ๊กมาเล่นเกมคงต้องจำชื่อรุ่น GTX 680M กันไว้ดีๆ เพราะ NVIDIA นำจีพียูสถาปัตยกรรม Kepler ตัวใหม่ล่าสุดมาลงโน้ตบุ๊กแล้ว
NVIDIA GeForce GTX 680M ถือเป็นการ์ดจอ Kepler ตัวท็อปที่มาลงโน้ตบุ๊ก มันได้ฟีเจอร์ของรุ่นพี่ๆ มาครบถ้วนไม่ว่าจะเป็น Optimus, CUDA, PhysX, 3D Vision 2, SLI โดยโน้ตบุ๊กตัวแรกที่จะวางขายพร้อม GTX 680M ก็คือ Alienware M17x (จีพียูเดี่ยว) และ M18x (จีพียูคู่) ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
อย่างไรก็ตาม คนที่เล็งโน้ตบุ๊กที่ใช้การ์ด GeForce 600M Series ต้องดูกันละเอียดหน่อย เพราะหลายรุ่นยังใช้สถาปัตยกรรม Fermi ตัวเก่าอยู่ครับ
AMD ประกาศหยุดอัพเดตไดรเวอร์การ์ดจอตระกูล Catalyst ที่เดิมทีอัพเดตเป็นประจำทุกเดือน โดยเปลี่ยนมาออกรุ่นใหม่ตามช่วงที่บริษัทเห็นว่าเหมาะสมแทน
AMD ให้เหตุผลว่าต้องการออกเฉพาะอัพเดตที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้เท่านั้น โดยจะยังยึดเลขเวอร์ชันแบบเดิมของ Catalyst (ปี.เดือน) อยู่เหมือนเดิม แค่ไม่ได้ออกทุกเดือนแล้วเท่านั้น
ไดรเวอร์รุ่นสุดท้ายที่ออกด้วยระบบเดิมคือ Catalyst 12.6a Beta รายละเอียดว่ามีอะไรใหม่ก็อ่านกันเองตามลิงก์ครับ
ที่มา - AMD Game Blog via Tom's Hardware